ชื่อบทความนี้มาจากส่วนหนึ่งของคำนำในหนังสือ “ข่ายใยแห่งชีวิต (The Web of Life)” ซึ่งสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองเป็นผู้จัดแปลและพิมพ์ ผู้แต่งหนังสือชื่อ Fritjof Cabra (ด็อกเตอร์ทางฟิสิกส์ผู้โด่งดังไปทั่วจากหนังสือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” เมื่อ 40 ปีก่อน) สำหรับคำนำที่ผมยกมานี้เป็นย่อหน้าหนึ่งซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ประเวศ วะสี
ความทั้งหมดของย่อหน้านี้ยาว 3 บรรทัด คือ
“ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ออกจากการเห็นและคิดแยกส่วนตายตัว มาเป็นเห็นความโยงใยของสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ผมไม่ได้ตั้งใจจะแนะนำหนังสือเล่มนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าข้อความในชื่อบทความนั้นสอดคล้องกับเรื่องราวที่ผมได้เขียนถึงอยู่เป็นประจำคือ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่นับวันยิ่งเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์และเป็นทั้งความหวังของคนทั้งโลกด้วย
บทความนี้ผมตั้งใจกล่าวถึง “โลกทัศน์” หรือทัศนะในการมองโลก แล้วตบท้ายด้วยข้อมูลจริงของสถานการณ์พลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน สาเหตุที่เราไม่ได้รับรู้กันก็เพราะว่า เราถูกสอนหรือถูกล้างสมองให้ “คิดแยกส่วนตายตัว” ดังที่ท่านอาจารย์ประเวศได้เกริ่นนำไว้
แต่ก่อนจะไปตรงนั้น ผมขอขอบคุณทางมูลนิธิโกมลคีมทองที่ได้กรุณาส่งหนังสือดีๆ มาให้ผมอ่านฟรีมานานครบ 10 ปีพอดี (นับจากปีที่ผมได้รับเชิญให้เป็นปาฐก “โกมล คีมทอง” ประจำปี 2547) ผมประมาณว่าน่าจะเกือบ 100 เล่มแล้ว “โกมล คีมทอง” เป็นชื่อครูในชนบทที่มีบทบาทเป็นนักกิจกรรม นักคิด นักอุดมการณ์เพื่อสังคมตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 แต่เขาได้ถูกฆ่าด้วยความเข้าใจผิดในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิโกมลคีมทองก็เพื่อกระตุ้นเตือนและสนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ เป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องตามแบบอย่างของครูโกมล คีมทอง ผู้สูญเสียชีวิตเมื่อปี 2514 ขณะอุทิศตนเป็นครูอยู่ในถิ่นทุรกันดารหนังสือดีๆ ที่ผมได้รับอย่างสม่ำเสมอมายาวนานก็คือ “ใบเตือน” ที่มีค่ามากสำหรับผมครับ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องหลักที่ผมจะเขียนถึงครับ
ผมอยากจะกลับมาที่คำนำของท่านอาจารย์ประเวศ วะสีอีกครั้งครับ เอาเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การคิดแยกส่วนตายตัว” แทนที่จะคิดแบบ “ความโยงใยถึงสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ถ้าพูดตามภาษาของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า (Fritjof Capra) ก็คือคนเรามักมีแนวโน้มที่จะคิดถึงแต่ “วัตถุ (object)” แทนที่จะคิดถึง “ความสัมพันธ์ (Relationship)” ระหว่างวัตถุนั้นๆ เวลาเจอกับปัญหาวิกฤตทางการเมืองในโลก คนเรามักจะมองปัญหาแบบแยกส่วนโดยไม่มีความสามารถพุ่งเป้าไปมองหาความสัมพันธ์ที่แท้จริงของส่วนต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ในระบบนิเวศวิทยา เหตุผลหนึ่งที่เราทำลายระบบนิเวศเพราะเราไม่มีความเข้าใจต่อระบบนิเวศน์อย่างดีพอ (คำว่า “นิเวศวิทยา(Ecology)” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “บ้าน”) นิเวศวิทยาจึงเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุกสมาชิกในโลก
ผมเองโชคดีที่ศึกษาและสอนทางคณิตศาสตร์มาร่วม 40 ปี หัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องความสัมพันธ์นี่แหละครับ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมใช้สอนนักศึกษาในเรื่องการคิดอย่างเชื่อมโยงหรือ “โยงใย” (ในภาษาของอาจารย์ประเวศ) ก็คือเรื่องล้อจักรยาน
เราได้ถูกทำให้มีความเชื่อว่าล้อจักรยานจะต้องเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเราก็เชื่อว่าล้อรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปสี่เหลี่ยมจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราคิดเช่นนี้ก็เพราะว่าเราคิดแบบแยกส่วน กล่าวคือคิดถึงเฉพาะรูปทรงของล้อจักรยานเพียงอย่างเดียว แต่เราไม่ได้คิดถึงรูปทรงของถนนที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงของล้อจักรยานด้วย
ในทางคณิตศาสตร์แล้ว เราสามารถออกแบบล้อจักรยานให้มีรูปทรงใดๆ ก็ได้ จากนั้นเราก็สามารถออกแบบรูปทรงของถนนให้สอดรับกับรูปทรงของล้อจักรยานได้ โดยสามารถขับขี่ได้เรียบไม่กระโดกกระเดกขึ้นๆ ลงๆ สูงๆ ต่ำๆ
วิธีการออกแบบรูปทรงถนนก็คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างล้อกับถนนนั่นเอง โดยสรุปก็คือมันมีความเป็นไปได้สำหรับทุกรูปทรงของล้อ ไม่ว่าจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปกลีบดอกไม้ เป็นต้น
เพื่อความ “บันเทิง” ผมขอนำรูปมาให้ดูกันเล่นๆ ก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ (ตามสัญญา) ต่อไป
ภาพแรก ถ้าล้อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถนนก็จะต้องออกแบบถนนให้เป็นรูปโค้งๆ ดังรูป
ถ้าล้อเป็นกลีบแบบนี้ ถนนก็จะเป็นฟันเลื่อย ดังรูป
และล้อเป็นดังรูปแปลกๆ ถนนก็จะแปลกๆ ดังรูป แต่ผมยืนยันว่าการเคลื่อนของจักรยานยังคงเรียบ โดยไม่กระโดกกระเดก หลักคิดของเรื่องนี้มาจากวิชาคณิตศาสตร์ครับ
ประเด็นที่ผมขอสรุปในตอนนี้ก็คือ เพราะเรามีความคิดหรือโลกทัศน์แบบแยกส่วน โดยไม่มีความสามารถที่จะไปทำความเข้าใจในความสัมพันธ์โยงใยระหว่างสิ่งที่เราสนใจกับสิ่งอื่นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เชื่อว่าล้อจักรยานที่มีรูปทรงต่างไปจากปัจจุบันจะเป็นไปได้จริง
คราวนี้กลับมาที่เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ครับ’
เมื่อวันที่ 17 เมษายน ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมาสารภาพในบทความของเขา (ที่ชื่อ Salvation Gets Cheap- การฟื้นฟูโลกมีราคาถูกลง) ว่า “ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดของพวกสติเฟื่องของพวกฮิปปี้”
แต่แล้วเขาก็ได้ออกมายอมรับว่า “ความคิดของผมผิดไปแล้ว” (รูปข้างล่างนี้ไม่เกี่ยวกับพอล ครุกแมน แต่เนื้อหาตรงกันครับ)
สิ่งที่ทำให้ความคิดของพอล ครุกแมนผิดพลาดไปเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ต่ำลงมาก และ (2) ความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่จะหนีออกจากวัฏจักรของพลังงานสกปรก ผูกขาดและเป็นอันตรายกับระบบนิเวศ
ดร.ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เรียกความผิดพลาดในประการที่สองนี้ว่า เป็นผลสะท้อนกลับ (Feed back) กล่าวคือ ยิ่งมีมีความต้องการมาก ยิ่งทำให้ราคาถูกลง และยิ่งมีราคาถูกลงก็ยิ่งทำให้เกิดความต้องการมาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามีกระบวนการควบคุมและปรับตัวเองเกิดขึ้นในระบบ (Self Organization)
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนีเมื่อสิ้นปี 2556 เท่ากับ 11% ของราคาเมื่อ 22 ปีก่อน
ในเดือนตุลาคม 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ในกรุงเทพฯ) ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในราคากิโลวัตต์ละ 1.36 แสนบาท แต่ในกลางปี 2556 คณะกรรมการกิจการพลังงานได้ให้ข้อมูลว่ากิโลวัตต์ละ 6 หมื่นบาท ต่อมาจากเอกสาร “นโยบายพลังงาน” (ฉบับที่ 101 ค้นได้จากกูเกิ้ล) มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะในปี 2557 ขนาด 40 กิโลวัตต์ๆ ละ 5 หมื่นบาทเท่านั้น
ผมเชื่อว่า การลดลงอย่างรวดเร็วมากของราคาดังกล่าว ได้ทำให้คนที่ไม่ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจริงๆ จะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ แม้แต่คนที่อยู่ในวงการธุรกิจแผงโซลาร์เซลล์เองก็ตาม มันคล้ายๆ กับคนที่เชื่ออย่างตายตัวว่าล้อจักรยานต้องมีรูปวงกลมเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ตอบข้อซักถามของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อปลายเดือนมีนาคม 57 ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ว่า “ค่าไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูงที่ประมาณหน่วยละ 3 บาทบวกอีกประมาณ 8 บาท (ซึ่งเรียกว่า Adder) จึงทำให้ค่าไฟฟ้าแพง”
คำชี้แจงดังกล่าวได้สะท้อนถึงการตามไม่ทันสถานการณ์ที่เป็นจริงที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” ที่ประกาศจะรับซื้อในราคา 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ไม่ใช่ประมาณ 11 บาทที่ผู้บริหาร กฟผ.ชี้แจง
แต่โครงการนี้ของ กกพ.ก็ไปไม่ถึงไหนเพราะส่วนหนึ่งติดขัดระเบียบหยุมหยิมของกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่เรียกว่า รง 4) โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่า แผงโซลาร์เซลล์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์มีสภาพเป็นโรงงานทั้งๆ ที่ไม่มีเสียงดัง ไม่ปล่อยควันและน้ำเสีย
ถ้าคิดกันแบบซื่อๆ ก็เพราะคิดไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ คิดแยกส่วน ไม่โยงใยกับสรรพสิ่งอื่นและตามไม่ทันโลก แต่ถ้าคิดกันแบบตุกติกก็น่าจะได้
ภาพสุดท้ายของบทความนี้ เป็นภาพที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 57 นี้เอง เป็นภาพบนหลังคาทำเนียบขาวในวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาครับ จะเรียกว่าเป็น “การเมืองเรื่องโซลาร์เซลล์ในทำเนียบขาว” ก็ว่าได้
เมื่อปี 2522 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ได้ลงทุนจำนวน 32,000 เหรียญเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์พลังงานหลังจากกลุ่มโอเปกได้รวมตัวกันขึ้นราคาน้ำมันดิบประมาณ 400% ในประมาณปี 2516 (จริงๆ แล้วเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกจากการทำสงครามอินโดจีน)
แต่ในปี 2524 เมื่อประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนขึ้นมาก็ได้สั่งรื้อแผงโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ปรัชญาความเชื่อของเรแกนก็คือ “ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ”
จากเอกสารที่ชื่อว่า A Brief History of White House Solar Panels ยังได้กล่าวต่อไปว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ซึ่งได้ยกเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้นมาหาเสียงได้ประกาศว่าเขาจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาทำเนียบขาวในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 แต่เพิ่งมาติดเสร็จเอาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2556
ทำไมมันนานจัง?
เจ้าหน้าที่ในทำเทียบขาวระบุว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันติดกัน ข่าวไม่ได้บอกว่าได้ลงทุนไปจำนวนเท่าใด แต่ระบุว่าจะได้ไฟฟ้าปีละ 19,700 หน่วย หรือเดือนละ 1,642 (หรือประมาณ 10 เท่าของบ้านผม) หน่วยและจะคุ้มทุนภายใน 8 ปี ในสหรัฐอเมริกา ทุกๆ 4 นาที อาคารธุรกิจขนาดเล็กและบ้านเรือนจะติดแผงโซลาร์เซลล์ 1 หลัง
มาถึงบทที่จะต้องสรุปครับ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า แผนพีดีพี 2013 มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ประมาณ 10-12 โรง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่หลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และชุมพร โดยทุกที่จะมีการคัดค้านจากจากชาวบ้าน เพราะชาวบ้านเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพต่อพวกเขา ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า แต่เขาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทาง กฟผ.อ้างว่าแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง กลางคืนไม่มีแสงแดดแล้วจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้ หรือเวลาฝนตกติดต่อกันหลายวันแล้วจะทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องเลือกถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีราคาถูกกว่า
วิธีคิดของ กฟผ.ก็คือคิดแยกส่วน ไม่ได้สนใจความทุกข์ของชาวบ้าน โดยอ้างแบบข้างๆ คูๆ ว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
แต่ความจริงก็คือ (1) เห็นแล้วหรือยังว่าทั้งๆ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อยยังสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 8 ปี
(2) จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทั้งๆ ที่การไฟฟ้าไม่รับซื้อ (และลงทุนค่อนข้างแพง) แต่ผลตอบแทนที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้คิดเป็นร้อยละประมาณ 6% ต่อปี
(3) เยอรมนีเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงแดดประมาณ 60% ของไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากถึง 29,300 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าจำนวนนี้มากกว่าที่คนอีสานใน 20 จังหวัดและคนใต้ 14 จังหวัดใช้รวมกันเสียอีก
เรื่องฝนตกติดต่อกันหลายวัน เขามีวิธีแก้ไขครับ ใช้แสงแดดนี่แหละครับแต่ขออุบไว้ก่อน
สรุปอีกครั้งครับ “ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่!” ไม่ใช่ให้ชาวบ้านที่อ่อนแอกว่าต้องเสียสละอีกต่อไป
ความทั้งหมดของย่อหน้านี้ยาว 3 บรรทัด คือ
“ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ออกจากการเห็นและคิดแยกส่วนตายตัว มาเป็นเห็นความโยงใยของสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ผมไม่ได้ตั้งใจจะแนะนำหนังสือเล่มนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าข้อความในชื่อบทความนั้นสอดคล้องกับเรื่องราวที่ผมได้เขียนถึงอยู่เป็นประจำคือ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่นับวันยิ่งเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์และเป็นทั้งความหวังของคนทั้งโลกด้วย
บทความนี้ผมตั้งใจกล่าวถึง “โลกทัศน์” หรือทัศนะในการมองโลก แล้วตบท้ายด้วยข้อมูลจริงของสถานการณ์พลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน สาเหตุที่เราไม่ได้รับรู้กันก็เพราะว่า เราถูกสอนหรือถูกล้างสมองให้ “คิดแยกส่วนตายตัว” ดังที่ท่านอาจารย์ประเวศได้เกริ่นนำไว้
แต่ก่อนจะไปตรงนั้น ผมขอขอบคุณทางมูลนิธิโกมลคีมทองที่ได้กรุณาส่งหนังสือดีๆ มาให้ผมอ่านฟรีมานานครบ 10 ปีพอดี (นับจากปีที่ผมได้รับเชิญให้เป็นปาฐก “โกมล คีมทอง” ประจำปี 2547) ผมประมาณว่าน่าจะเกือบ 100 เล่มแล้ว “โกมล คีมทอง” เป็นชื่อครูในชนบทที่มีบทบาทเป็นนักกิจกรรม นักคิด นักอุดมการณ์เพื่อสังคมตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 แต่เขาได้ถูกฆ่าด้วยความเข้าใจผิดในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิโกมลคีมทองก็เพื่อกระตุ้นเตือนและสนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ เป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องตามแบบอย่างของครูโกมล คีมทอง ผู้สูญเสียชีวิตเมื่อปี 2514 ขณะอุทิศตนเป็นครูอยู่ในถิ่นทุรกันดารหนังสือดีๆ ที่ผมได้รับอย่างสม่ำเสมอมายาวนานก็คือ “ใบเตือน” ที่มีค่ามากสำหรับผมครับ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องหลักที่ผมจะเขียนถึงครับ
ผมอยากจะกลับมาที่คำนำของท่านอาจารย์ประเวศ วะสีอีกครั้งครับ เอาเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การคิดแยกส่วนตายตัว” แทนที่จะคิดแบบ “ความโยงใยถึงสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ถ้าพูดตามภาษาของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า (Fritjof Capra) ก็คือคนเรามักมีแนวโน้มที่จะคิดถึงแต่ “วัตถุ (object)” แทนที่จะคิดถึง “ความสัมพันธ์ (Relationship)” ระหว่างวัตถุนั้นๆ เวลาเจอกับปัญหาวิกฤตทางการเมืองในโลก คนเรามักจะมองปัญหาแบบแยกส่วนโดยไม่มีความสามารถพุ่งเป้าไปมองหาความสัมพันธ์ที่แท้จริงของส่วนต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ในระบบนิเวศวิทยา เหตุผลหนึ่งที่เราทำลายระบบนิเวศเพราะเราไม่มีความเข้าใจต่อระบบนิเวศน์อย่างดีพอ (คำว่า “นิเวศวิทยา(Ecology)” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “บ้าน”) นิเวศวิทยาจึงเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุกสมาชิกในโลก
ผมเองโชคดีที่ศึกษาและสอนทางคณิตศาสตร์มาร่วม 40 ปี หัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องความสัมพันธ์นี่แหละครับ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมใช้สอนนักศึกษาในเรื่องการคิดอย่างเชื่อมโยงหรือ “โยงใย” (ในภาษาของอาจารย์ประเวศ) ก็คือเรื่องล้อจักรยาน
เราได้ถูกทำให้มีความเชื่อว่าล้อจักรยานจะต้องเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเราก็เชื่อว่าล้อรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปสี่เหลี่ยมจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราคิดเช่นนี้ก็เพราะว่าเราคิดแบบแยกส่วน กล่าวคือคิดถึงเฉพาะรูปทรงของล้อจักรยานเพียงอย่างเดียว แต่เราไม่ได้คิดถึงรูปทรงของถนนที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงของล้อจักรยานด้วย
ในทางคณิตศาสตร์แล้ว เราสามารถออกแบบล้อจักรยานให้มีรูปทรงใดๆ ก็ได้ จากนั้นเราก็สามารถออกแบบรูปทรงของถนนให้สอดรับกับรูปทรงของล้อจักรยานได้ โดยสามารถขับขี่ได้เรียบไม่กระโดกกระเดกขึ้นๆ ลงๆ สูงๆ ต่ำๆ
วิธีการออกแบบรูปทรงถนนก็คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างล้อกับถนนนั่นเอง โดยสรุปก็คือมันมีความเป็นไปได้สำหรับทุกรูปทรงของล้อ ไม่ว่าจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปกลีบดอกไม้ เป็นต้น
เพื่อความ “บันเทิง” ผมขอนำรูปมาให้ดูกันเล่นๆ ก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ (ตามสัญญา) ต่อไป
ภาพแรก ถ้าล้อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถนนก็จะต้องออกแบบถนนให้เป็นรูปโค้งๆ ดังรูป
ถ้าล้อเป็นกลีบแบบนี้ ถนนก็จะเป็นฟันเลื่อย ดังรูป
และล้อเป็นดังรูปแปลกๆ ถนนก็จะแปลกๆ ดังรูป แต่ผมยืนยันว่าการเคลื่อนของจักรยานยังคงเรียบ โดยไม่กระโดกกระเดก หลักคิดของเรื่องนี้มาจากวิชาคณิตศาสตร์ครับ
ประเด็นที่ผมขอสรุปในตอนนี้ก็คือ เพราะเรามีความคิดหรือโลกทัศน์แบบแยกส่วน โดยไม่มีความสามารถที่จะไปทำความเข้าใจในความสัมพันธ์โยงใยระหว่างสิ่งที่เราสนใจกับสิ่งอื่นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เชื่อว่าล้อจักรยานที่มีรูปทรงต่างไปจากปัจจุบันจะเป็นไปได้จริง
คราวนี้กลับมาที่เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ครับ’
เมื่อวันที่ 17 เมษายน ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมาสารภาพในบทความของเขา (ที่ชื่อ Salvation Gets Cheap- การฟื้นฟูโลกมีราคาถูกลง) ว่า “ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดของพวกสติเฟื่องของพวกฮิปปี้”
แต่แล้วเขาก็ได้ออกมายอมรับว่า “ความคิดของผมผิดไปแล้ว” (รูปข้างล่างนี้ไม่เกี่ยวกับพอล ครุกแมน แต่เนื้อหาตรงกันครับ)
สิ่งที่ทำให้ความคิดของพอล ครุกแมนผิดพลาดไปเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ต่ำลงมาก และ (2) ความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่จะหนีออกจากวัฏจักรของพลังงานสกปรก ผูกขาดและเป็นอันตรายกับระบบนิเวศ
ดร.ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เรียกความผิดพลาดในประการที่สองนี้ว่า เป็นผลสะท้อนกลับ (Feed back) กล่าวคือ ยิ่งมีมีความต้องการมาก ยิ่งทำให้ราคาถูกลง และยิ่งมีราคาถูกลงก็ยิ่งทำให้เกิดความต้องการมาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามีกระบวนการควบคุมและปรับตัวเองเกิดขึ้นในระบบ (Self Organization)
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนีเมื่อสิ้นปี 2556 เท่ากับ 11% ของราคาเมื่อ 22 ปีก่อน
ในเดือนตุลาคม 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ในกรุงเทพฯ) ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในราคากิโลวัตต์ละ 1.36 แสนบาท แต่ในกลางปี 2556 คณะกรรมการกิจการพลังงานได้ให้ข้อมูลว่ากิโลวัตต์ละ 6 หมื่นบาท ต่อมาจากเอกสาร “นโยบายพลังงาน” (ฉบับที่ 101 ค้นได้จากกูเกิ้ล) มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะในปี 2557 ขนาด 40 กิโลวัตต์ๆ ละ 5 หมื่นบาทเท่านั้น
ผมเชื่อว่า การลดลงอย่างรวดเร็วมากของราคาดังกล่าว ได้ทำให้คนที่ไม่ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจริงๆ จะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ แม้แต่คนที่อยู่ในวงการธุรกิจแผงโซลาร์เซลล์เองก็ตาม มันคล้ายๆ กับคนที่เชื่ออย่างตายตัวว่าล้อจักรยานต้องมีรูปวงกลมเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ตอบข้อซักถามของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อปลายเดือนมีนาคม 57 ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ว่า “ค่าไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูงที่ประมาณหน่วยละ 3 บาทบวกอีกประมาณ 8 บาท (ซึ่งเรียกว่า Adder) จึงทำให้ค่าไฟฟ้าแพง”
คำชี้แจงดังกล่าวได้สะท้อนถึงการตามไม่ทันสถานการณ์ที่เป็นจริงที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” ที่ประกาศจะรับซื้อในราคา 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ไม่ใช่ประมาณ 11 บาทที่ผู้บริหาร กฟผ.ชี้แจง
แต่โครงการนี้ของ กกพ.ก็ไปไม่ถึงไหนเพราะส่วนหนึ่งติดขัดระเบียบหยุมหยิมของกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่เรียกว่า รง 4) โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่า แผงโซลาร์เซลล์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์มีสภาพเป็นโรงงานทั้งๆ ที่ไม่มีเสียงดัง ไม่ปล่อยควันและน้ำเสีย
ถ้าคิดกันแบบซื่อๆ ก็เพราะคิดไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ คิดแยกส่วน ไม่โยงใยกับสรรพสิ่งอื่นและตามไม่ทันโลก แต่ถ้าคิดกันแบบตุกติกก็น่าจะได้
ภาพสุดท้ายของบทความนี้ เป็นภาพที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 57 นี้เอง เป็นภาพบนหลังคาทำเนียบขาวในวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาครับ จะเรียกว่าเป็น “การเมืองเรื่องโซลาร์เซลล์ในทำเนียบขาว” ก็ว่าได้
เมื่อปี 2522 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ได้ลงทุนจำนวน 32,000 เหรียญเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์พลังงานหลังจากกลุ่มโอเปกได้รวมตัวกันขึ้นราคาน้ำมันดิบประมาณ 400% ในประมาณปี 2516 (จริงๆ แล้วเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกจากการทำสงครามอินโดจีน)
แต่ในปี 2524 เมื่อประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนขึ้นมาก็ได้สั่งรื้อแผงโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ปรัชญาความเชื่อของเรแกนก็คือ “ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ”
จากเอกสารที่ชื่อว่า A Brief History of White House Solar Panels ยังได้กล่าวต่อไปว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ซึ่งได้ยกเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้นมาหาเสียงได้ประกาศว่าเขาจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาทำเนียบขาวในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 แต่เพิ่งมาติดเสร็จเอาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2556
ทำไมมันนานจัง?
เจ้าหน้าที่ในทำเทียบขาวระบุว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันติดกัน ข่าวไม่ได้บอกว่าได้ลงทุนไปจำนวนเท่าใด แต่ระบุว่าจะได้ไฟฟ้าปีละ 19,700 หน่วย หรือเดือนละ 1,642 (หรือประมาณ 10 เท่าของบ้านผม) หน่วยและจะคุ้มทุนภายใน 8 ปี ในสหรัฐอเมริกา ทุกๆ 4 นาที อาคารธุรกิจขนาดเล็กและบ้านเรือนจะติดแผงโซลาร์เซลล์ 1 หลัง
มาถึงบทที่จะต้องสรุปครับ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า แผนพีดีพี 2013 มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ประมาณ 10-12 โรง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่หลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และชุมพร โดยทุกที่จะมีการคัดค้านจากจากชาวบ้าน เพราะชาวบ้านเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพต่อพวกเขา ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า แต่เขาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทาง กฟผ.อ้างว่าแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง กลางคืนไม่มีแสงแดดแล้วจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้ หรือเวลาฝนตกติดต่อกันหลายวันแล้วจะทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องเลือกถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีราคาถูกกว่า
วิธีคิดของ กฟผ.ก็คือคิดแยกส่วน ไม่ได้สนใจความทุกข์ของชาวบ้าน โดยอ้างแบบข้างๆ คูๆ ว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
แต่ความจริงก็คือ (1) เห็นแล้วหรือยังว่าทั้งๆ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อยยังสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 8 ปี
(2) จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทั้งๆ ที่การไฟฟ้าไม่รับซื้อ (และลงทุนค่อนข้างแพง) แต่ผลตอบแทนที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้คิดเป็นร้อยละประมาณ 6% ต่อปี
(3) เยอรมนีเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงแดดประมาณ 60% ของไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากถึง 29,300 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าจำนวนนี้มากกว่าที่คนอีสานใน 20 จังหวัดและคนใต้ 14 จังหวัดใช้รวมกันเสียอีก
เรื่องฝนตกติดต่อกันหลายวัน เขามีวิธีแก้ไขครับ ใช้แสงแดดนี่แหละครับแต่ขออุบไว้ก่อน
สรุปอีกครั้งครับ “ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่!” ไม่ใช่ให้ชาวบ้านที่อ่อนแอกว่าต้องเสียสละอีกต่อไป