ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน (Paul Krugman) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2551 ได้เขียนบทความที่สะท้อนถึงความคิด ความเชื่อส่วนหนึ่งของตัวเขาเองไว้อย่างน่าสนใจมาก บทความนี้ได้ลงในหนังสือพิมพ์ “เดอะนิวยอร์กไทม์” เมื่อ 17 เมษายน 2557 เรียกว่ากำลังสดๆ ร้อนๆ ทีเดียวครับ
บทความของผู้มีชื่อเสียงก้องโลกวัย 61 ท่านนี้ชื่อ “Salvation Gets Cheap” ถ้าแปลให้สอดคล้องกับเนื้อหาก็น่าจะชื่อว่า “การกู้ให้โลกรอดปลอดภัยมีราคาถูกลง” แต่ก่อนจะเล่าต่อไปผมขอขอบคุณ Dr. John Farrell แห่ง Institute For Local Self-Reliance (สถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้องถิ่น - http://www.ilsr.org) ที่ทำให้ผมได้พบบทความที่มีคุณค่านี้ ผมขอเรียนย้ำว่านี่คือพลังของการสื่อสารในโลกยุคใหม่ที่เราควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของมนุษยชาติตามคำขวัญที่ว่า “สร้างความรู้เพื่อประชาชน สร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา” ถ้า Dr.Farrell ซึ่งผมเป็นสมาชิกอยู่ไม่ลิงก์ไว้ ผมคงไม่พบบทความนี้แน่นอน
บทความของศาสตราจารย์พอล ครุกแมน เริ่มต้นจากการเล่าเรื่องร่างรายงานขั้นสุดท้ายของ “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (IPCC) ซึ่งแต่งตั้งโดยสหประชาชาติเมื่อปี 2531 แต่ ศ.ครุกแมนกล่าวว่า “เรากำลังเดินอยู่บนถนนแห่งความหายนะมาหลายปีแล้ว โดยไม่มีนโยบายอะไรที่สำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย”
แต่สิ่งที่เป็นความหวังได้ก็คือการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ก็จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในความเข้าใจของคนบางกลุ่มเชื่อว่า “การเพิ่มขึ้นของจีดีพีคือการเพิ่มขึ้นของมลพิษ” แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น
แนวทางในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นต้นเหตุของสภาวะโลกร้อนมีหลายแนวทาง เช่น โครงการจำกัดการปล่อยก๊าซและการขายโควตาส่วนที่เหลือให้บริษัทอื่น (cap- and- trade program) การใช้พลังงานนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานหมุนเวียน
แต่สิ่งหนึ่งที่ ศ.ครุกแมน กล่าวถึงพร้อมสะท้อนความเชื่อเดิมของท่านเองว่า “แนวทางหนึ่งที่คนจำนวนมากไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจังก็คือ พลังงานลมและแสงแดด เป็นความจริงอยู่ว่านโยบาย cap- and- trade เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับพลังงานลมและแสงแดด แต่สุดท้ายแล้ว แหล่งพลังงานเหล่านั้นจะกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญได้จริงหรือ? และผมเอง (คือ ศ.ครุกแมน) ยอมรับว่าเป็นคนหนึ่งที่ได้ร่วมแชร์ในข้อกังขาดังกล่าวด้วย ถ้าพูดกันตามความจริงแล้ว ผมเคยคิดว่า ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงแดดให้มามีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดแบบสติเฟื่องของพวกฮิปปี้ (hippy-dippy wishful thinking)” และในย่อหน้าต่อมา ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า
“แต่ผมคิดผิด” พร้อมกับได้แนบเอกสารทั้งที่เป็นร่างรายงานขั้นสุดท้ายของ IPCC และข้อมูลที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าของพลังงานลมและแสงแดดจำนวน 2 ชิ้นให้เราได้อ่านประกอบ
ผมคิดว่านี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของบทความชิ้นนี้ครับ สำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมายืนยันถึงบทบาทของพลังงานที่ชาวโลกส่วนใหญ่ได้ถูกล้างสมองให้รู้สึกดูถูกดูแคลนต่อแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับชาวโลกอย่างใกล้ชิด และได้พัดมาสัมผัสแก้มและสายตาเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
แต่ก่อนจะกล่าวถึงความก้าวหน้าของแหล่งพลังงานดังกล่าว ผมขออนุญาตสะท้อนถึงความรู้สึกของผมเองบ้างครับ
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมเองได้รับมอบหมายจากประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่อง “การเปิดเสรีพลังงานทดแทนเพื่อการแก้ไขการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผมได้นำเสนอข้อมูลว่า “ขณะนี้ 2556 ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (คำเดียวกับพลังงานทดแทน แต่ความหมายต่างกัน) ได้ถึง 25% ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่เยอรมนีมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเยอะ แต่เขาสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด (โดยโซลาร์เซลล์) ได้มากกว่าที่คนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสานและ 14 จังหวัดใต้ใช้รวมกันเสียอีก”
แต่ผู้แทนของบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย 2 บริษัทได้กล่าวเสริมกันว่า “พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศไทย หากเปรียบกับอาหารก็ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้ เป็นได้อย่างมากก็แค่อาหารเสริมหรือวิตามินเท่านั้น”
นี่ขนาดว่าคนที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยตรงก็ยังไม่เชื่อมั่นในพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานลมและแสงแดดเลย ผมนั่งคิดในใจ (เพราะที่ประชุมมีเวลาน้อย) ว่า “อาหารเสริมประเภทไหนกันนะ จึงได้มีสัดส่วนสูงถึง 25% ของอาหารทั้งหมด!”
เยอรมนีเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จด้านพลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว (หรือ พ.ศ. 2543) มีสัดส่วนเพียง 6.2% และในอนาคตอันใกล้คือปี 2563 พรรครัฐบาล (FDP และ CDU) และพรรคฝ่ายค้าน (พลังสังคมประชาธิปไตย) มีเป้าหมายในนโยบายของตนเองว่าจะเพิ่มพลังงานหมุนเวียนเป็น 35% และ 45% ตามลำดับ ในขณะที่พรรคกรีนตั้งโด่งไว้ที่ 75% โน่น แต่ทุกพรรคตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 50% ในปี 2573
นี่หรืออาหารเสริม!
ผมได้เรียนต่อที่ประชุมว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีประสบความสำเร็จคือการออกกฎหมายที่มีสาระสำคัญ 3 ข้อ คือ (1) ใครก็ตามที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้สามารถขายส่งเข้าสู่ระบบได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่มีโควตา (2) สัญญาระยะยาว 25 ปี และ (3) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นถือว่าเป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
ที่น่าแปลกมากสำหรับคอการเมืองไทยก็คือ กฎหมายฉบับนี้เสนอโดย ส.ส.ของพรรคฝ่ายค้านจำนวน 2-3 คนเท่านั้น เหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดในเมืองไทย ทำไมพรรครัฐบาลจึงยอมได้!
ตอนนี้ประเทศไทยกำลังส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนค่อนข้างมาก แต่มีระบบโควตาซึ่งขัดแย้งอย่างร้ายกาจกับหลักการข้อที่หนึ่งข้างต้น นอกจากนี้การกำหนดค่าไฟฟ้าที่เรียกว่า Adder ก็อยู่ในระดับที่สูงมาก ผมเกรงว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมอยู่ในขณะนี้จะกลายเป็น “ค่าโง่ในภาคไฟฟ้า” ซึ่งจะมีอายุนานถึง 25 ปีในอนาคต คล้ายๆ กับ “ค่าโง่ทางด่วน”
ผู้ที่จุดประกายให้ผมหันมาสนใจพลังงานหมุนเวียนคือ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ อดีตนักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวเยอรมัน เขาได้รับรางวัลโนเบลทางเลือก (Alternative Nobel Prize) เมื่อปี 2542 ผมได้มีโอกาสฟังคำบรรยายของเขาโดยตรง 3 ครั้ง ยอมรับว่าประทับใจมากตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากนั้นก็ติดตามผลงานเขียนของเขามาตลอด แต่น่าเสียดายที่เขาได้เสียชีวิตเมื่อปี 2553 ด้วยวัย 66 ปี
ในฐานะที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์และสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดจนการขับเคลื่อนสังคม ผมให้ความสนใจแนวคิดของ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์มากกว่า ดร.ครุกแมน
อย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกดีใจมากๆ ที่ ดร.พอล ครุกแมนให้ความสำคัญกับพลังงานลมและแสงแดดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาในกระบวนการขับเคลื่อนพลังงานหมุนเวียนที่ ดร.เชียร์ได้สรุปไว้คือ การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ จากนั้นประชาชนนั่นแหละจะเป็นพลังในการผลักดันและขับเคลื่อนไปสู่ระดับนโยบายต่อไป
คนไทยเราชอบเชื่อคนเด่น คนดังพูด ดังนั้นเมื่อคนดังออกมาพูดในเรื่องที่ผมสนใจ ผมจึงดีใจมาก
ส่วนที่เหลือในบทความนี้ผมจะนำเสนอ 2 เรื่องครับ เรื่องแรกเป็นข้อมูลที่ศาสตราจารย์ครุกแมนแนบมาครับ ผมสรุปมาให้ดูกันแบบสบายๆ เอกสารนี้ใช้ชื่อว่า “Revolution Now : The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” (ปฏิวัติเดี๋ยวนี้ : อนาคตมาถึงแล้วสำหรับ 4 เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด) ผมขอนำปกมาให้ดูด้วยครับ แบบสบายๆ สี่เทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่ (1) พลังงานลม (2) แผงโซลาร์เซลล์ (3) หลอด LED (หลอดขนาด 9 วัตต์ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดนีออน 60 วัตต์ ราคาต่อหน่วยก็ลดลงประมาณกว่า 5 เท่าตัว จากปี 2551 ถึงปี 2555) และ(4) รถไฟฟ้า (ซึ่งผมจะไม่ขอนำเสนอในที่นี้)
แผงโซลาร์เซลล์ (ชนิด Polysilicon) ราคาในปี 2555 ได้ลดลงมาเหลือแค่ 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และถ้านับเฉพาะจากปี 2551 จนถึง 2555 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกาลดลงจากวัตต์ละ 3.40 เหรียญสหรัฐลงมาเหลือ 0.80 เหรียญสหรัฐ (25 บาทซึ่งเท่ากับราคาในประเทศไทย) หรือลดลงเหลือ 24% ในเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น ด้วยราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ทำให้ปริมาณการติดตั้งเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวคือจาก 735 เมกะวัตต์เป็น 7,200 เมกะวัตต์ ดังกราฟประกอบ
สำหรับข้อมูลด้านกังหันลม ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา ราคาต้นทุนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลม (บนบก) ได้ลดลงจากหน่วยละ 56 เซ็นต์มาเหลือแค่ประมาณ 11 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท ค่าไฟฟ้าในเมืองไทยหน่วยละประมาณ 3.80 บาท) ในปี 2555 ในแง่ของจำนวนการติดตั้งสะสมได้เพิ่มจาก 25 กิกะวัตต์เป็น 60 กิกะวัตต์ในปี 2555
เท่าที่ผมได้ศึกษาเบื้องต้นจากการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า แม้ว่าการไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อไฟฟ้าเลย (แต่รับไฟฟ้าไปฟรีๆ ในวันหยุดราชการซึ่งสำนักงานปิด) แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 11 กิโลวัตต์สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ระดับหนึ่ง มูลค่าที่ลดได้คิดเป็นผลตอบแทนต่อปีประมาณร้อยละ 6.4 ของเงินลงทุน ดังนั้นหากมีการรับซื้อไฟฟ้าในวันหยุดแล้ว ผลตอบแทนจะต้องสูงกว่านี้อีก
อนึ่ง ในโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)” ที่ทางรัฐบาลรับซื้อ (แต่มีการจำกัดโควตา) หน่วยละ 6.96 บาทต่อหน่วย ถ้าคิดจากฐานข้อมูลอย่างคร่าวๆ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทำให้ผมรู้สึกว่าอัตราการรับซื้อดังกล่าวนี้น่าจะสูงเกินไปสักหน่อยครับ
นั่นหมายความว่า ภาระของประชาชนต่อการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์กำลังลดลงอย่างมากครับ ไม่แพงอย่างที่เราเคยกังวลกัน ดังนั้นอาคารใดที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากๆ ในเวลากลางวัน เช่น สถานศึกษา จึงมีความเป็นไปได้มากที่จะติดแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองและน่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ในขณะที่บ้านอยู่อาศัยทั่วไปจะไม่คุ้มทุนอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการรับซื้อจากการไฟฟ้า
ประเด็นสุดท้ายที่พลังงานแสงแดดถูกโจมตี คือ ตอนกลางคืนหรือตอนฝนตกนานๆ จะเอาแสงแดดที่ไหนมาผลิตไฟฟ้า คำตอบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้วิธีรวมแสงแดดไปต้มน้ำให้เดือดโดยการเติมเกลือบางชนิดลงไป ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำสูงถึง 550 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถเรียกได้ว่า ถึงไม่มีแสงแดดก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นทั้งหมด เช่น ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ในทันที
ภาพข้างล่างนี้เป็นการจำแนกชนิดของไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงในวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 ของประเทศเยอรมนี วันดังกล่าวเป็นฤดูร้อน เป็นวันหยุด ศูนย์การค้าปิด คนออกไปพักผ่อนนอกบ้าน จึงมีการใช้ไฟฟ้าน้อย พบว่าในตอนเที่ยงวันซึ่งเป็นเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีสัดส่วนพอๆ กับไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินและนิวเคลียร์รวมกัน
ผมอยากจะสรุปบทความนี้พร้อมๆ กับการถือโอกาสประชาสัมพันธ์หนังสือที่ผมเขียนชื่อว่า “หนึ่งล้างสมองสองปล้น : รหัสลับแผนพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์” ครับ ชื่อดังกล่าวเป็นการสะท้อนถึงขั้นตอนและวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนา” ทั่วๆ ไป
สำหรับกรณีพลังงาน พ่อค้าพลังงานฟอสซิลจะทำการล้างสมองคนทั้งโลกว่า พลังงานที่มั่นคงคือพลังงานฟอสซิล เมื่อคนเริ่มรู้สึกกลัวต่อมลพิษของพลังงานฟอสซิลซึ่งส่งผลกระทบระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศระดับโลก พ่อค้าพลังงานก็เริ่มชูคำขวัญว่า “ถ่านหินสะอาด”
เมื่อผู้คนเริ่มสนใจพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานที่กระจายตัวทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ไม่มีการผูกขาด ไม่ก่อมลพิษ บางชนิดไม่ต้องใช้น้ำและไม่ปล่อยน้ำเสีย พวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นพลังงานที่พวกเขาสามารถผูกขาดได้ก็ใส่ร้ายป้ายสีต่างๆนานา
นี่แหละคือกระบวนการพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์ครับผม
บทความของผู้มีชื่อเสียงก้องโลกวัย 61 ท่านนี้ชื่อ “Salvation Gets Cheap” ถ้าแปลให้สอดคล้องกับเนื้อหาก็น่าจะชื่อว่า “การกู้ให้โลกรอดปลอดภัยมีราคาถูกลง” แต่ก่อนจะเล่าต่อไปผมขอขอบคุณ Dr. John Farrell แห่ง Institute For Local Self-Reliance (สถาบันเพื่อการพึ่งตนเองของท้องถิ่น - http://www.ilsr.org) ที่ทำให้ผมได้พบบทความที่มีคุณค่านี้ ผมขอเรียนย้ำว่านี่คือพลังของการสื่อสารในโลกยุคใหม่ที่เราควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของมนุษยชาติตามคำขวัญที่ว่า “สร้างความรู้เพื่อประชาชน สร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา” ถ้า Dr.Farrell ซึ่งผมเป็นสมาชิกอยู่ไม่ลิงก์ไว้ ผมคงไม่พบบทความนี้แน่นอน
บทความของศาสตราจารย์พอล ครุกแมน เริ่มต้นจากการเล่าเรื่องร่างรายงานขั้นสุดท้ายของ “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (IPCC) ซึ่งแต่งตั้งโดยสหประชาชาติเมื่อปี 2531 แต่ ศ.ครุกแมนกล่าวว่า “เรากำลังเดินอยู่บนถนนแห่งความหายนะมาหลายปีแล้ว โดยไม่มีนโยบายอะไรที่สำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย”
แต่สิ่งที่เป็นความหวังได้ก็คือการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ก็จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในความเข้าใจของคนบางกลุ่มเชื่อว่า “การเพิ่มขึ้นของจีดีพีคือการเพิ่มขึ้นของมลพิษ” แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น
แนวทางในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นต้นเหตุของสภาวะโลกร้อนมีหลายแนวทาง เช่น โครงการจำกัดการปล่อยก๊าซและการขายโควตาส่วนที่เหลือให้บริษัทอื่น (cap- and- trade program) การใช้พลังงานนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานหมุนเวียน
แต่สิ่งหนึ่งที่ ศ.ครุกแมน กล่าวถึงพร้อมสะท้อนความเชื่อเดิมของท่านเองว่า “แนวทางหนึ่งที่คนจำนวนมากไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจังก็คือ พลังงานลมและแสงแดด เป็นความจริงอยู่ว่านโยบาย cap- and- trade เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับพลังงานลมและแสงแดด แต่สุดท้ายแล้ว แหล่งพลังงานเหล่านั้นจะกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญได้จริงหรือ? และผมเอง (คือ ศ.ครุกแมน) ยอมรับว่าเป็นคนหนึ่งที่ได้ร่วมแชร์ในข้อกังขาดังกล่าวด้วย ถ้าพูดกันตามความจริงแล้ว ผมเคยคิดว่า ความคิดที่จะนำพลังงานลมและแสงแดดให้มามีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดแบบสติเฟื่องของพวกฮิปปี้ (hippy-dippy wishful thinking)” และในย่อหน้าต่อมา ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า
“แต่ผมคิดผิด” พร้อมกับได้แนบเอกสารทั้งที่เป็นร่างรายงานขั้นสุดท้ายของ IPCC และข้อมูลที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าของพลังงานลมและแสงแดดจำนวน 2 ชิ้นให้เราได้อ่านประกอบ
ผมคิดว่านี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของบทความชิ้นนี้ครับ สำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมายืนยันถึงบทบาทของพลังงานที่ชาวโลกส่วนใหญ่ได้ถูกล้างสมองให้รู้สึกดูถูกดูแคลนต่อแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับชาวโลกอย่างใกล้ชิด และได้พัดมาสัมผัสแก้มและสายตาเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
แต่ก่อนจะกล่าวถึงความก้าวหน้าของแหล่งพลังงานดังกล่าว ผมขออนุญาตสะท้อนถึงความรู้สึกของผมเองบ้างครับ
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมเองได้รับมอบหมายจากประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่อง “การเปิดเสรีพลังงานทดแทนเพื่อการแก้ไขการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ซึ่งจัดโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผมได้นำเสนอข้อมูลว่า “ขณะนี้ 2556 ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (คำเดียวกับพลังงานทดแทน แต่ความหมายต่างกัน) ได้ถึง 25% ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่เยอรมนีมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเยอะ แต่เขาสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด (โดยโซลาร์เซลล์) ได้มากกว่าที่คนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสานและ 14 จังหวัดใต้ใช้รวมกันเสียอีก”
แต่ผู้แทนของบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย 2 บริษัทได้กล่าวเสริมกันว่า “พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศไทย หากเปรียบกับอาหารก็ไม่สามารถเป็นอาหารหลักได้ เป็นได้อย่างมากก็แค่อาหารเสริมหรือวิตามินเท่านั้น”
นี่ขนาดว่าคนที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยตรงก็ยังไม่เชื่อมั่นในพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานลมและแสงแดดเลย ผมนั่งคิดในใจ (เพราะที่ประชุมมีเวลาน้อย) ว่า “อาหารเสริมประเภทไหนกันนะ จึงได้มีสัดส่วนสูงถึง 25% ของอาหารทั้งหมด!”
เยอรมนีเป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จด้านพลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว (หรือ พ.ศ. 2543) มีสัดส่วนเพียง 6.2% และในอนาคตอันใกล้คือปี 2563 พรรครัฐบาล (FDP และ CDU) และพรรคฝ่ายค้าน (พลังสังคมประชาธิปไตย) มีเป้าหมายในนโยบายของตนเองว่าจะเพิ่มพลังงานหมุนเวียนเป็น 35% และ 45% ตามลำดับ ในขณะที่พรรคกรีนตั้งโด่งไว้ที่ 75% โน่น แต่ทุกพรรคตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 50% ในปี 2573
นี่หรืออาหารเสริม!
ผมได้เรียนต่อที่ประชุมว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีประสบความสำเร็จคือการออกกฎหมายที่มีสาระสำคัญ 3 ข้อ คือ (1) ใครก็ตามที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้สามารถขายส่งเข้าสู่ระบบได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน ไม่มีโควตา (2) สัญญาระยะยาว 25 ปี และ (3) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นถือว่าเป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
ที่น่าแปลกมากสำหรับคอการเมืองไทยก็คือ กฎหมายฉบับนี้เสนอโดย ส.ส.ของพรรคฝ่ายค้านจำนวน 2-3 คนเท่านั้น เหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดในเมืองไทย ทำไมพรรครัฐบาลจึงยอมได้!
ตอนนี้ประเทศไทยกำลังส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนค่อนข้างมาก แต่มีระบบโควตาซึ่งขัดแย้งอย่างร้ายกาจกับหลักการข้อที่หนึ่งข้างต้น นอกจากนี้การกำหนดค่าไฟฟ้าที่เรียกว่า Adder ก็อยู่ในระดับที่สูงมาก ผมเกรงว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมอยู่ในขณะนี้จะกลายเป็น “ค่าโง่ในภาคไฟฟ้า” ซึ่งจะมีอายุนานถึง 25 ปีในอนาคต คล้ายๆ กับ “ค่าโง่ทางด่วน”
ผู้ที่จุดประกายให้ผมหันมาสนใจพลังงานหมุนเวียนคือ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ อดีตนักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวเยอรมัน เขาได้รับรางวัลโนเบลทางเลือก (Alternative Nobel Prize) เมื่อปี 2542 ผมได้มีโอกาสฟังคำบรรยายของเขาโดยตรง 3 ครั้ง ยอมรับว่าประทับใจมากตั้งแต่ครั้งแรก หลังจากนั้นก็ติดตามผลงานเขียนของเขามาตลอด แต่น่าเสียดายที่เขาได้เสียชีวิตเมื่อปี 2553 ด้วยวัย 66 ปี
ในฐานะที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์และสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดจนการขับเคลื่อนสังคม ผมให้ความสนใจแนวคิดของ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์มากกว่า ดร.ครุกแมน
อย่างไรก็ตาม ผมรู้สึกดีใจมากๆ ที่ ดร.พอล ครุกแมนให้ความสำคัญกับพลังงานลมและแสงแดดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาในกระบวนการขับเคลื่อนพลังงานหมุนเวียนที่ ดร.เชียร์ได้สรุปไว้คือ การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ จากนั้นประชาชนนั่นแหละจะเป็นพลังในการผลักดันและขับเคลื่อนไปสู่ระดับนโยบายต่อไป
คนไทยเราชอบเชื่อคนเด่น คนดังพูด ดังนั้นเมื่อคนดังออกมาพูดในเรื่องที่ผมสนใจ ผมจึงดีใจมาก
ส่วนที่เหลือในบทความนี้ผมจะนำเสนอ 2 เรื่องครับ เรื่องแรกเป็นข้อมูลที่ศาสตราจารย์ครุกแมนแนบมาครับ ผมสรุปมาให้ดูกันแบบสบายๆ เอกสารนี้ใช้ชื่อว่า “Revolution Now : The Future Arrives for Four Clean Energy Technologies” (ปฏิวัติเดี๋ยวนี้ : อนาคตมาถึงแล้วสำหรับ 4 เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด) ผมขอนำปกมาให้ดูด้วยครับ แบบสบายๆ สี่เทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่ (1) พลังงานลม (2) แผงโซลาร์เซลล์ (3) หลอด LED (หลอดขนาด 9 วัตต์ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดนีออน 60 วัตต์ ราคาต่อหน่วยก็ลดลงประมาณกว่า 5 เท่าตัว จากปี 2551 ถึงปี 2555) และ(4) รถไฟฟ้า (ซึ่งผมจะไม่ขอนำเสนอในที่นี้)
แผงโซลาร์เซลล์ (ชนิด Polysilicon) ราคาในปี 2555 ได้ลดลงมาเหลือแค่ 1% ของเมื่อ 35 ปีก่อน และถ้านับเฉพาะจากปี 2551 จนถึง 2555 ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในสหรัฐอเมริกาลดลงจากวัตต์ละ 3.40 เหรียญสหรัฐลงมาเหลือ 0.80 เหรียญสหรัฐ (25 บาทซึ่งเท่ากับราคาในประเทศไทย) หรือลดลงเหลือ 24% ในเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น ด้วยราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ทำให้ปริมาณการติดตั้งเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวคือจาก 735 เมกะวัตต์เป็น 7,200 เมกะวัตต์ ดังกราฟประกอบ
สำหรับข้อมูลด้านกังหันลม ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา ราคาต้นทุนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลม (บนบก) ได้ลดลงจากหน่วยละ 56 เซ็นต์มาเหลือแค่ประมาณ 11 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท ค่าไฟฟ้าในเมืองไทยหน่วยละประมาณ 3.80 บาท) ในปี 2555 ในแง่ของจำนวนการติดตั้งสะสมได้เพิ่มจาก 25 กิกะวัตต์เป็น 60 กิกะวัตต์ในปี 2555
เท่าที่ผมได้ศึกษาเบื้องต้นจากการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า แม้ว่าการไฟฟ้านครหลวงไม่รับซื้อไฟฟ้าเลย (แต่รับไฟฟ้าไปฟรีๆ ในวันหยุดราชการซึ่งสำนักงานปิด) แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 11 กิโลวัตต์สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ระดับหนึ่ง มูลค่าที่ลดได้คิดเป็นผลตอบแทนต่อปีประมาณร้อยละ 6.4 ของเงินลงทุน ดังนั้นหากมีการรับซื้อไฟฟ้าในวันหยุดแล้ว ผลตอบแทนจะต้องสูงกว่านี้อีก
อนึ่ง ในโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)” ที่ทางรัฐบาลรับซื้อ (แต่มีการจำกัดโควตา) หน่วยละ 6.96 บาทต่อหน่วย ถ้าคิดจากฐานข้อมูลอย่างคร่าวๆ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทำให้ผมรู้สึกว่าอัตราการรับซื้อดังกล่าวนี้น่าจะสูงเกินไปสักหน่อยครับ
นั่นหมายความว่า ภาระของประชาชนต่อการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์กำลังลดลงอย่างมากครับ ไม่แพงอย่างที่เราเคยกังวลกัน ดังนั้นอาคารใดที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากๆ ในเวลากลางวัน เช่น สถานศึกษา จึงมีความเป็นไปได้มากที่จะติดแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองและน่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ในขณะที่บ้านอยู่อาศัยทั่วไปจะไม่คุ้มทุนอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการรับซื้อจากการไฟฟ้า
ประเด็นสุดท้ายที่พลังงานแสงแดดถูกโจมตี คือ ตอนกลางคืนหรือตอนฝนตกนานๆ จะเอาแสงแดดที่ไหนมาผลิตไฟฟ้า คำตอบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้วิธีรวมแสงแดดไปต้มน้ำให้เดือดโดยการเติมเกลือบางชนิดลงไป ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำสูงถึง 550 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถเรียกได้ว่า ถึงไม่มีแสงแดดก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นทั้งหมด เช่น ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ในทันที
ภาพข้างล่างนี้เป็นการจำแนกชนิดของไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงในวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 ของประเทศเยอรมนี วันดังกล่าวเป็นฤดูร้อน เป็นวันหยุด ศูนย์การค้าปิด คนออกไปพักผ่อนนอกบ้าน จึงมีการใช้ไฟฟ้าน้อย พบว่าในตอนเที่ยงวันซึ่งเป็นเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีสัดส่วนพอๆ กับไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินและนิวเคลียร์รวมกัน
ผมอยากจะสรุปบทความนี้พร้อมๆ กับการถือโอกาสประชาสัมพันธ์หนังสือที่ผมเขียนชื่อว่า “หนึ่งล้างสมองสองปล้น : รหัสลับแผนพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์” ครับ ชื่อดังกล่าวเป็นการสะท้อนถึงขั้นตอนและวัตถุประสงค์ของ “การพัฒนา” ทั่วๆ ไป
สำหรับกรณีพลังงาน พ่อค้าพลังงานฟอสซิลจะทำการล้างสมองคนทั้งโลกว่า พลังงานที่มั่นคงคือพลังงานฟอสซิล เมื่อคนเริ่มรู้สึกกลัวต่อมลพิษของพลังงานฟอสซิลซึ่งส่งผลกระทบระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศระดับโลก พ่อค้าพลังงานก็เริ่มชูคำขวัญว่า “ถ่านหินสะอาด”
เมื่อผู้คนเริ่มสนใจพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานที่กระจายตัวทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ไม่มีการผูกขาด ไม่ก่อมลพิษ บางชนิดไม่ต้องใช้น้ำและไม่ปล่อยน้ำเสีย พวกพ่อค้าพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นพลังงานที่พวกเขาสามารถผูกขาดได้ก็ใส่ร้ายป้ายสีต่างๆนานา
นี่แหละคือกระบวนการพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์ครับผม