คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
บทสรุปสำหรับผู้มีเวลาน้อย
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำลังรับฟังความคิดเห็นเพื่อขึ้นค่าเอฟทีไฟฟ้าช่วง 4 เดือนนี้อีกหน่วยละ 10 สตางค์ ผมได้พิจารณาเหตุผลจากเอกสารของ กกพ.แล้วมีความเห็นว่า
1.ยังไม่มีสัญญาณในระยะสั้นใดๆ เลยว่าราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นตามที่ทาง กกพ.อ้าง จากการติดตามเอกเอสารที่ กกพ.อ้างถึง พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าถึง 67% ของไฟฟ้าทั้งหมดไม่ได้มีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นตามการคาดการณ์ของ กกพ.แต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังอีกพบว่าราคาเชื้อเพลิงที่ทาง กกพ.นำมาอ้างเพื่อขอขึ้นราคานั้นสูงกว่าราคาที่ กฟผ.ได้รายงานต่อสาธารณะ และราคาดังกล่าวยังสูงกว่าราคาก๊าซที่ปากหลุมซึ่งเป็นราคาเพื่อการคิดค่าภาคหลวงค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า กกพ. คัดลอกข้อมูลของ กฟผ. มา “อย่างผิดๆ ถูกๆ”
2.แทนที่จะติดกับดักของพ่อค้าเชื้อเพลิงที่นับวันจะแพงขึ้น เราน่าจะหาทางออกที่ยั่งยืน จากข้อมูลในวารสารนโยบายพลังงาน (ฉบับที่ 101 ก.ค. ถึง ก.ย.56) ของกระทรวงพลังงาน พบว่า ราคาสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 40 กิโลวัตต์ เท่ากับ 2 ล้านบาท โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 52,000 หน่วย หากอัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 3.45 บาทต่อหน่วย ตามที่ทาง กกพ. เสนอ และหากทาง กกพ.รับซื้อไฟฟ้าทั้งหมดในราคา 3.45 บาทต่อหน่วย (โดยไม่มีการชดเชย) ก็จะส่งผลให้ผู้ลงทุนติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีผลตอบแทนเป็นตัวเงินคิดเป็นร้อยละ 9.0 ต่อปี หรือสามารถคุ้มทุนภายใน 11 ปีเศษเท่านั้น แต่ถ้ารับซื้อในราคา 5 บาทต่อหน่วย ก็จะคุ้มทุนภายใน 8 ปี
ผู้ที่ไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดอาจจะไม่มั่นใจว่า พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเป็นไปได้ แต่ข้อมูลจากประเทศเยอรมนีพบว่า ในปี 2556 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่าที่คนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสาน และ 14 จังหวัดภาคใต้ใช้รวมกัน สำหรับราคาในปี 2557 ที่บริษัทรับซื้อจากผู้ผลิตหน่วยละประมาณ 6.50 บาท ทั้งที่แสงแดดในเยอรมนีมีประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของประเทศไทยเท่านั้น
ทำไม กกพ.จึงไม่รับซื้อ แต่กลับบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ผูกขาด และมีราคาแพงขึ้นตลอดไป
คำนำ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศจะขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่เรียกว่า “ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที” สำหรับการใช้ในช่วงเดือน 4 เดือนข้างหน้า คือ พฤษภาคมถึงสิงหาคม 2557 เพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย คำประกาศนี้เกิดขึ้นในคราวการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 พร้อมกับเชิญชวนให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นภายในวันที่ 9 พฤษภาคม โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.erc.or.th
ปัจจุบัน คนไทยใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 1.7 แสนล้านหน่วย ดังนั้น หากราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไปจากเดิมอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย การไฟฟ้าทั้ง 3 องค์กรก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมกันอีก 1.7 หมื่นล้านบาท จำนวนเงินดังกล่าวไม่ใช่ก้อนเล็กๆ แต่จะมีผลกระทบ และขยายตัวเป็นทอดๆ ไปทุกภาคส่วน
ในบทความนี้ ผมไม่ได้ต่อต้านการขึ้นราคา แต่กำลังถามหาเหตุผลของการขึ้นราคา โดยจะค่อยๆ ทำความเข้าใจพร้อมกับแสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อ 1.การให้ข้อมูลของ กกพ. สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง” (โดยให้ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่จนป่านนี้ผ่านมาแล้วเกือบ 7 ปีแล้ว กฎหมายก็ยังไม่ออก) และมาตรา 78 ว่าด้วยแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งกำหนดว่า “การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน”
โดยสรุปมี 2 คำถาม คือ ข้อมูลเป็นจริงหรือไม่ และประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้มากน้อยแค่ไหน
ข้อ 2.ความหมายของค่าเอฟที
ค่าเอฟทีก็คือ ค่าไฟฟ้าที่แปรผันไปจากค่าปกติ (ซึ่งได้กำหนดไว้นานแล้วเช่น เมื่อ 2-3 ปีก่อน ค่าปกตินี้เรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน) การกำหนดค่าเอฟทีจะเกิดขึ้นทุก 4 เดือน การกำหนดค่าเอฟทีก็เพื่อไม่ต้องการให้มีการประกาศค่าไฟฟ้ากันบ่อยๆ อันเนื่องจากการแปรผันของต้นทุนที่ต่างไปจากค่าปกติ
ตามปกติค่าเอฟทีจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ (1) ค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนไปจากค่าปกติ (ซึ่งทาง กฟผ.ใช้ผลิต) และค่าซื้อไฟฟ้า (ที่ กฟผ.ซื้อจากเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ) และ (2) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล เช่น คนจนใช้ไฟฟ้าฟรี และค่ากองทุนรอบโรงไฟฟ้า เป็นต้น
อนึ่ง การคิดค่าเอฟทีเคยนำเอาอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินระหว่างประเทศมาเป็นส่วนประกอบด้วย แต่มติคณะรัฐมนตรี (30 สิงหาคม 2548) ได้ประกาศยกเลิกไปโดยให้ถือว่าค่าดังกล่าวเป็นภาระของการไฟฟ้า แต่น่าแปลกใจที่เอกสารเหตุผลของ กกพ. ในครั้งนี้ยังคงกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยกล่าวคือ อ้างว่าเพราะค่าเงินอ่อน (แต่ก็ไม่ได้บอกวิธีคิดให้ชัดเจนพอที่คนทั่วไปจะรู้เรื่องได้)
ข้อ 3.ค่าเอฟทีขึ้นปีละ 28% ค่าไฟฟ้าขึ้นปีละ 3.9%
จากสถิติย้อนหลัง 2 งวดๆ ละ 4 เดือนของค่าเอฟทีรวม 8 เดือน จากกันยายน-ธันวาคม 56 และ มกราคม-เมษายน 57 พบว่า มีการเพิ่มขึ้น คือ จากเท่ากับ 54.00 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 59.00 สตางค์ต่อหน่วย และในงวดหน้าคือ พฤษภาคม-สิงหาคม 57 จะเป็น 69.00 สตางค์
จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า เฉพาะค่าเอฟทีอย่างเดียวเพิ่มขึ้นในเวลา 12 เดือนเท่ากับ 28% (69.00 ลบ 54.00 หารด้วย 54.00) คำถามคือ แล้วค่าเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นในอัตรานี้หรือเปล่า?
คราวนี้ลองตั้งคำถามใหม่ว่า ในรอบหนึ่งปีค่าไฟฟ้าได้ขึ้นราคาไปร้อยละเท่าใด จากบิลค่าไฟฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์ (บ้านผมเอง) ผมใช้ไฟฟ้า 141 หน่วย ค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 2.76 บาท (ไม่รวมค่าเอฟที) ดังนั้น เมื่อรวมค่าไฟฟ้าทั้งหมดพบว่า ในหนึ่งปีค่าไฟฟ้าได้ขึ้นราคาจากหน่วยละ 3.30 เป็น 3.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และสูงกว่าอัตราการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาที่ประมาณปีละ 2%
ข้อ 4.สัดส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
ในปี 2556 ประเทศไทยมีการผลิต และรับซื้อไฟฟ้าจำนวน 177,398 ล้านหน่วย แต่มีการบริโภค 1.64 ล้านหน่วย (ที่หายไปส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียในระบบประมาณ 7%) คิดเป็นมูลค่า 5.4 แสนล้านบาท (เฉลี่ยหน่วยละ 3.29 บาท) ปริมาณการผลิตร้อยละ 45 เป็นการผลิตโดย กฟผ. โดยการซื้อจากเอกชน 48% และนำเข้า 7%
หากจำแนกเป็นประเภทเชื้อเพลิง พบว่า ร้อยละ 67.3 ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล (ซึ่งทาง กกพ. นำมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคา) มีส่วนร่วมรวมกันแค่ร้อยละ 0.8 เท่านั้น หรือ 1,471 ล้านหน่วยเท่านั้น
สำหรับปริมาณก๊าซธรรมชาติซึ่งมีส่วนร่วมในการผลิตประมาณ 2 ใน 3 ของไฟฟ้าทั้งหมดนั้น พบว่า ร้อยละ 82 เป็นก๊าซที่ผลิตจากภายในประเทศ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่อาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเอฟทีจึงน่าจะเป็นราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากทรัพยากรในประเทศไทยเรานี่เอง
ข้อ 5.ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากประเทศไทย
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอด 14 เดือน (มกราคม 56 ถึงกุมภาพันธ์ 57) พบประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคือ
(1) ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเลย (2) ราคาอยู่ที่ประมาณ 230 ถึง 240 บาทต่อล้านบีทียู โดยที่ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ปากหลุม (เพื่อคิดค่าภาคหลวงที่ฐบาลเรียกเก็บจากผู้รับสัมปทาน) ยังไม่ผ่านท่อของบริษัท ปตท.
อนึ่ง ปริมาณก๊าซ 1 ล้านบีทียูสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 125 หน่วย ดังนั้น ถ้าราคาก๊าซธรรมชาติเปลี่ยนไป 10 บาทต่อล้านบีทียู ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าเอฟทีที่เกิดจากค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเปลี่ยนไป 8 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า
6.ข้อสงสัยเรื่องราคาเชื้อเพลิงของ กกพ.
จากเอกสารประกอบการรับฟังความเห็นของ กกพ. ข้อ 3.1 เรื่อง ค่าเชื้อเพลิงฐานซึ่งผมขอตัดมาเพียงบางส่วนในแผ่นภาพนี้ ผมมีข้อสงสัยว่าทาง กกพ.ได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงต่อผู้บริโภคหรือไม่ ดังนี้
ข้อสงสัย 1 กกพ.ระบุว่า ราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่า (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 54) เท่ากับ 250.05 บาทต่อล้านบีทียู แต่จากการใช้ข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพบว่า ราคาก๊าซในประเทศไทย (ทั้งอ่าวไทย และบนบก แต่ไม่รวมก๊าซจากพม่าและ JDA) ราคา 181.42 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น
ไม่มีการเปิดเผยว่า ทางบริษัท ปตท. คิดค่าผ่านท่อในอัตราใด ผมลองสมมติดูนะครับ ถ้ารวมค่าผ่านท่อ (ประมาณ 15% ของมูลค่าก๊าซซึ่งถือว่าสูงมาก) และไม่รวมค่าแยกก๊าซ ก็อยู่ที่ 208 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น ยังต่ำกว่าที่ กกพ.นำเสนอถึง 42 บาท จากข้อมูลที่ผมค้นจากเอกสารของ กฟผ. พบว่า ก๊าซ 1 ล้านบีทียูสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 125 หน่วย ดังนั้น ส่วนต่างของราคา 42 บาทดังกล่าวมีผลทำให้การคำนวณค่าเอฟทีต่างกันถึง 34 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า
ข้อสงสัย 2 กกพ.รายงานว่า ราคาก๊าซจากน้ำพอง และภูฮ่อม 303.78 บาทต่อล้านบีทียู แต่ราคาจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเท่ากับ 261 บาทต่อล้านบีทียู ถ้าคิดค่าผ่านท่อ 12% (เพราะอยู่ใกล้) ก็จะเป็น 292 บาทต่อล้านบีทียู ยังต่ำกว่าที่ กกพ.เสนอตั้งเกือบ 12 บาท
ข้อสงสัย 3 ข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย (ถึงแม้สมมติว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง) เพราะไม่ได้บอกสัดส่วนปริมาณการใช้ ในกรณีนี้ ปริมาณการใช้ของแหล่งน้ำพอง และภูฮ่อมมีไม่ถึง 2% ของประมาณก๊าซที่ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น
สรุปในหัวข้อนี้ก็คือ ทาง กกพ.ได้ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนพอที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจได้ จึงถือว่าน่าจะส่อไปในทางขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ข้อ 7.ข้อสงสัยเรื่องการประเมินราคาเชื้อเพลิงในอนาคต
จากตารางที่ 2 ของเอกสารคำชี้แจงที่มีความยาว 6 หน้า พบว่ามีการคาดหมายราคาเชื้อเพลิงในช่วง 4 เดือนข้างหน้าว่าจะสูงขึ้นกว่าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ดังตาราง
ประเด็นนี้ผมมีข้อสงสัย 2 ประการ คือ
(1) ในช่วง ม.ค.-เม.ย.57 กกพ.ให้ข้อมูลว่าราคาก๊าซเท่ากับ 316.88 บาทต่อล้านบีทียู แต่ข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เท่ากับ 306.6 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น (ข้อมูล กฟผ. จาก http://www3.egat.co.th/ft/Web/Fuel%20may57_aug57.htm)
กกพ. ช่วยตอบหน่อยครับ
ความต่าง 10.28 บาท มีผลทำให้การคำนวณค่าเอฟทีต่างกัน 8 สตางค์ (อย่าลืมว่า 10 สตางค์จะรวมกันเป็น 1.7 หมื่นล้านบาทดังที่ได้กล่าวนำมาตั้งแต่ต้น)
ในขณะที่ กกพ.นำเสนอราคาถ่านหินนำเข้าในราคา 2,415 บาทต่อตัน (ซึ่งคาดว่าจะขึ้นราคา 0.37%) แต่ข้อมูลของ กฟผ. กลับมีแต่ราคาลิกไนต์เท่านั้น คือ ราคา 570 บาทต่อตัน (และโดยไม่มีการขึ้นราคาเลย) โดยไม่มีราคาถ่านหินนำเข้าเลย
และเมื่อผมลองค้นข้อมูลราคาถ่านหินในตลาดโลก ก็พบว่าราคาคงที่มาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา และจากการคาดหมายของ E.I.A. พบว่า จะคงที่ต่อไปจนถึงปี 2558 นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาส่งถึงโรงไฟฟ้าตันละประมาณ 1,665 บาทเท่านั้น (ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดต้องขออภัย เพราะเรื่องนี้เพิ่งค้นใหม่)
ในขณะที่ กกพ.ให้ข้อมูลว่าราคาน้ำมันเตาจะขึ้นราคาจาก 23.22 เป็น 31.45 แต่ข้อมูลของ กฟผ. (ซึ่งเป็นต้นฉบับ) กลับบอกว่าจะขึ้นจาก 29.05 เป็น 31.45 บาทต่อลิตร
นี่มันอะไรกันครับ กกพ.!
(2) ผมไม่ทราบว่า กกพ. คาดการณ์อย่างไรจึงได้ผลลัพธ์ว่า ราคาก๊าซในช่วง 4 เดือนข้างหน้า (พ.ค. ถึง ส.ค.57) จึงเพิ่มขึ้นจาก 4 เดือนก่อนที่ 316.88 บาทต่อล้านบีทียู เป็นเท่ากับ 325.99 บาทต่อล้านบีทียู ทั้งๆ ที่ราคาก๊าซในประเทศไทยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
ถ้าเราเปรียบเทียบราคาของ กฟผ. (ซึ่งสูงกว่าของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมาก) กับราคาที่ กกพ.คาดการณ์ พบว่าต่างกันถึง 19.39 บาท (325.99 ลบ 306.6 บาท) ส่งผลต่อการคำนวณค่าเอฟทีให้เพิ่มขึ้นถึง 16 สตางค์ต่อหน่วย
ข้อ 8.ตรวจสอบการประมาณการของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า
ผมพยายามศึกษา “สูตร” การคำนวณค่าเอฟทีของกระทรวงพลังงานหลายรอบ (มากกว่า 10 รอบ) แต่ขอสารภาพว่า ผมอ่านไม่รู้เรื่องครับ (ทั้งๆ ที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ประยุกต์) ผมรู้สึกว่าภาษาที่เขียนมีปัญหา หรือว่าผมโง่เองก็ไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ผมก็พยายามแกะวิธีการคำนวณออกมาได้ดังตาราง
หากผมเข้าใจอะไรผิดไป ผมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า และพร้อมที่จะแก้ไขครับ แต่ที่ต้องนำเสนอออกไปก่อนก็เพราะทาง กกพ.กำหนดว่าต้องเสนอความเห็นภายในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้
ผลการ “แกะรอย” ของผมพบว่า การประมาณการของ กฟผ. สูงกว่าความเป็นจริงเกือบตลอดเวลารวม 4 งวด (ม.ค. 56-เม.ย.57) สูงทั้งจำนวนหน่วยไฟฟ้า(เกือบ 1 หมื่นล้านหน่วย แต่ไม่ได้แสดงในภาพ) และสูงทั้งค่าใช้จ่าย “ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงจากแผน” (ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของค่าเอฟที) โดยช่วงที่มีการคาดการณ์สูงเกินจริงมากที่สุดเกิดขึ้นในช่วง ม.ค.-เม.ย.56 ถึงกว่า 4,500 ล้านบาท
ถ้าคิดเป็นต่อหน่วยไฟฟ้าก็เท่ากับ 8.60 สตางค์ โดยเกินทุกช่วง 4 เดือนที่มีการประมาณการ
ข้อ 9.ทางออกจากกับดักราคาเชื้อเพลิง
จากที่กล่าวมาแล้วพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าในประเทศไทยขยับตัวสูงขึ้นประมาณ 4% ต่อปี (ในขณะที่สหรัฐอเมริกา 2%) นอกจากนี้ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และชีวมวลสร้างผลกระทบต่อชุมชน ในขณะที่ราคาต้นทุนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว
จากวารสารนโยบายพลังงาน (ฉบับที่ 101 ก.ค.-ก.ย.56) สามารถคำนวณได้ว่า หากผู้ผลิตสามารถขายไฟฟ้าได้ทั้งหมดในราคาหน่วยละ 3.45 บาทโดยไม่มีการชดเชยจะทำให้ได้ผลตอบแทนในการลงทุนร้อยละ 9 ต่อปี หรือได้ทุนคืนภายใน 12 ปี (ข้อมูลในวารสาร - แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 40 กิโลวัตต์ ลงทุน 2 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 52,000 หน่วย) ในขณะที่คนในวงการสภาอุตสาหกรรมเคยเปิดเผยต่อที่ประชุมแห่งหนึ่ง (เมื่อกลางปี 2555) ว่า “หากได้ Adder ในอัตราปัจจุบันจะได้ทุนคืนภายใน 4 ปีเท่านั้น”
เยอรมนี เป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จในด้านพลังงานหมุนเวียนสูงสุดในโลก ในปี 2556 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 29,300 ล้านหน่วย ไฟฟ้าจำนวนนี้มากพอสำหรับคนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสาน และ 14 จังหวัดภาคใต้ใช้รวมกัน ทั้งๆ ที่ความเข้มของแสงแดดในเยอรมันมีแค่ 2 ใน 3 ของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับราคาหรือต้นทุนการผลิตกลับลดลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ในปี 2557 อยู่ที่หน่วยละ 6.50 บาท ดังแผ่นภาพข้างล่างนี้
ผมขอจบบทความที่ค่อนข้างยาวนี้ด้วยคำถามสุดท้ายว่า ทำไม กกพ. จึงไม่รับซื้อไฟฟ้าที่นับวันจะมีราคาถูกลง และไม่ก่อมลพิษกับชุมชน แต่กลับบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ผูกขาด ก่อมลพิษต่อชุมชน และมีราคาแพงขึ้นตลอดไป
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ประสาท มีแต้ม
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
โดย...ประสาท มีแต้ม
บทสรุปสำหรับผู้มีเวลาน้อย
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำลังรับฟังความคิดเห็นเพื่อขึ้นค่าเอฟทีไฟฟ้าช่วง 4 เดือนนี้อีกหน่วยละ 10 สตางค์ ผมได้พิจารณาเหตุผลจากเอกสารของ กกพ.แล้วมีความเห็นว่า
1.ยังไม่มีสัญญาณในระยะสั้นใดๆ เลยว่าราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นตามที่ทาง กกพ.อ้าง จากการติดตามเอกเอสารที่ กกพ.อ้างถึง พบว่าราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าถึง 67% ของไฟฟ้าทั้งหมดไม่ได้มีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นตามการคาดการณ์ของ กกพ.แต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังอีกพบว่าราคาเชื้อเพลิงที่ทาง กกพ.นำมาอ้างเพื่อขอขึ้นราคานั้นสูงกว่าราคาที่ กฟผ.ได้รายงานต่อสาธารณะ และราคาดังกล่าวยังสูงกว่าราคาก๊าซที่ปากหลุมซึ่งเป็นราคาเพื่อการคิดค่าภาคหลวงค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า กกพ. คัดลอกข้อมูลของ กฟผ. มา “อย่างผิดๆ ถูกๆ”
2.แทนที่จะติดกับดักของพ่อค้าเชื้อเพลิงที่นับวันจะแพงขึ้น เราน่าจะหาทางออกที่ยั่งยืน จากข้อมูลในวารสารนโยบายพลังงาน (ฉบับที่ 101 ก.ค. ถึง ก.ย.56) ของกระทรวงพลังงาน พบว่า ราคาสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 40 กิโลวัตต์ เท่ากับ 2 ล้านบาท โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 52,000 หน่วย หากอัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 3.45 บาทต่อหน่วย ตามที่ทาง กกพ. เสนอ และหากทาง กกพ.รับซื้อไฟฟ้าทั้งหมดในราคา 3.45 บาทต่อหน่วย (โดยไม่มีการชดเชย) ก็จะส่งผลให้ผู้ลงทุนติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีผลตอบแทนเป็นตัวเงินคิดเป็นร้อยละ 9.0 ต่อปี หรือสามารถคุ้มทุนภายใน 11 ปีเศษเท่านั้น แต่ถ้ารับซื้อในราคา 5 บาทต่อหน่วย ก็จะคุ้มทุนภายใน 8 ปี
ผู้ที่ไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดอาจจะไม่มั่นใจว่า พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเป็นไปได้ แต่ข้อมูลจากประเทศเยอรมนีพบว่า ในปี 2556 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่าที่คนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสาน และ 14 จังหวัดภาคใต้ใช้รวมกัน สำหรับราคาในปี 2557 ที่บริษัทรับซื้อจากผู้ผลิตหน่วยละประมาณ 6.50 บาท ทั้งที่แสงแดดในเยอรมนีมีประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของประเทศไทยเท่านั้น
ทำไม กกพ.จึงไม่รับซื้อ แต่กลับบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ผูกขาด และมีราคาแพงขึ้นตลอดไป
คำนำ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศจะขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในส่วนที่เรียกว่า “ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที” สำหรับการใช้ในช่วงเดือน 4 เดือนข้างหน้า คือ พฤษภาคมถึงสิงหาคม 2557 เพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย คำประกาศนี้เกิดขึ้นในคราวการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 พร้อมกับเชิญชวนให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นภายในวันที่ 9 พฤษภาคม โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.erc.or.th
ปัจจุบัน คนไทยใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 1.7 แสนล้านหน่วย ดังนั้น หากราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไปจากเดิมอีก 10 สตางค์ต่อหน่วย การไฟฟ้าทั้ง 3 องค์กรก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมกันอีก 1.7 หมื่นล้านบาท จำนวนเงินดังกล่าวไม่ใช่ก้อนเล็กๆ แต่จะมีผลกระทบ และขยายตัวเป็นทอดๆ ไปทุกภาคส่วน
ในบทความนี้ ผมไม่ได้ต่อต้านการขึ้นราคา แต่กำลังถามหาเหตุผลของการขึ้นราคา โดยจะค่อยๆ ทำความเข้าใจพร้อมกับแสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อ 1.การให้ข้อมูลของ กกพ. สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นจริง” (โดยให้ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่จนป่านนี้ผ่านมาแล้วเกือบ 7 ปีแล้ว กฎหมายก็ยังไม่ออก) และมาตรา 78 ว่าด้วยแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งกำหนดว่า “การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน”
โดยสรุปมี 2 คำถาม คือ ข้อมูลเป็นจริงหรือไม่ และประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้มากน้อยแค่ไหน
ข้อ 2.ความหมายของค่าเอฟที
ค่าเอฟทีก็คือ ค่าไฟฟ้าที่แปรผันไปจากค่าปกติ (ซึ่งได้กำหนดไว้นานแล้วเช่น เมื่อ 2-3 ปีก่อน ค่าปกตินี้เรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน) การกำหนดค่าเอฟทีจะเกิดขึ้นทุก 4 เดือน การกำหนดค่าเอฟทีก็เพื่อไม่ต้องการให้มีการประกาศค่าไฟฟ้ากันบ่อยๆ อันเนื่องจากการแปรผันของต้นทุนที่ต่างไปจากค่าปกติ
ตามปกติค่าเอฟทีจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ (1) ค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนไปจากค่าปกติ (ซึ่งทาง กฟผ.ใช้ผลิต) และค่าซื้อไฟฟ้า (ที่ กฟผ.ซื้อจากเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ) และ (2) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล เช่น คนจนใช้ไฟฟ้าฟรี และค่ากองทุนรอบโรงไฟฟ้า เป็นต้น
อนึ่ง การคิดค่าเอฟทีเคยนำเอาอัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินระหว่างประเทศมาเป็นส่วนประกอบด้วย แต่มติคณะรัฐมนตรี (30 สิงหาคม 2548) ได้ประกาศยกเลิกไปโดยให้ถือว่าค่าดังกล่าวเป็นภาระของการไฟฟ้า แต่น่าแปลกใจที่เอกสารเหตุผลของ กกพ. ในครั้งนี้ยังคงกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยกล่าวคือ อ้างว่าเพราะค่าเงินอ่อน (แต่ก็ไม่ได้บอกวิธีคิดให้ชัดเจนพอที่คนทั่วไปจะรู้เรื่องได้)
ข้อ 3.ค่าเอฟทีขึ้นปีละ 28% ค่าไฟฟ้าขึ้นปีละ 3.9%
จากสถิติย้อนหลัง 2 งวดๆ ละ 4 เดือนของค่าเอฟทีรวม 8 เดือน จากกันยายน-ธันวาคม 56 และ มกราคม-เมษายน 57 พบว่า มีการเพิ่มขึ้น คือ จากเท่ากับ 54.00 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 59.00 สตางค์ต่อหน่วย และในงวดหน้าคือ พฤษภาคม-สิงหาคม 57 จะเป็น 69.00 สตางค์
จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า เฉพาะค่าเอฟทีอย่างเดียวเพิ่มขึ้นในเวลา 12 เดือนเท่ากับ 28% (69.00 ลบ 54.00 หารด้วย 54.00) คำถามคือ แล้วค่าเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นในอัตรานี้หรือเปล่า?
คราวนี้ลองตั้งคำถามใหม่ว่า ในรอบหนึ่งปีค่าไฟฟ้าได้ขึ้นราคาไปร้อยละเท่าใด จากบิลค่าไฟฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์ (บ้านผมเอง) ผมใช้ไฟฟ้า 141 หน่วย ค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 2.76 บาท (ไม่รวมค่าเอฟที) ดังนั้น เมื่อรวมค่าไฟฟ้าทั้งหมดพบว่า ในหนึ่งปีค่าไฟฟ้าได้ขึ้นราคาจากหน่วยละ 3.30 เป็น 3.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และสูงกว่าอัตราการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาที่ประมาณปีละ 2%
ข้อ 4.สัดส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
ในปี 2556 ประเทศไทยมีการผลิต และรับซื้อไฟฟ้าจำนวน 177,398 ล้านหน่วย แต่มีการบริโภค 1.64 ล้านหน่วย (ที่หายไปส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียในระบบประมาณ 7%) คิดเป็นมูลค่า 5.4 แสนล้านบาท (เฉลี่ยหน่วยละ 3.29 บาท) ปริมาณการผลิตร้อยละ 45 เป็นการผลิตโดย กฟผ. โดยการซื้อจากเอกชน 48% และนำเข้า 7%
หากจำแนกเป็นประเภทเชื้อเพลิง พบว่า ร้อยละ 67.3 ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล (ซึ่งทาง กกพ. นำมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคา) มีส่วนร่วมรวมกันแค่ร้อยละ 0.8 เท่านั้น หรือ 1,471 ล้านหน่วยเท่านั้น
สำหรับปริมาณก๊าซธรรมชาติซึ่งมีส่วนร่วมในการผลิตประมาณ 2 ใน 3 ของไฟฟ้าทั้งหมดนั้น พบว่า ร้อยละ 82 เป็นก๊าซที่ผลิตจากภายในประเทศ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่อาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเอฟทีจึงน่าจะเป็นราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากทรัพยากรในประเทศไทยเรานี่เอง
ข้อ 5.ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากประเทศไทย
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอด 14 เดือน (มกราคม 56 ถึงกุมภาพันธ์ 57) พบประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคือ
(1) ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเลย (2) ราคาอยู่ที่ประมาณ 230 ถึง 240 บาทต่อล้านบีทียู โดยที่ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ปากหลุม (เพื่อคิดค่าภาคหลวงที่ฐบาลเรียกเก็บจากผู้รับสัมปทาน) ยังไม่ผ่านท่อของบริษัท ปตท.
อนึ่ง ปริมาณก๊าซ 1 ล้านบีทียูสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 125 หน่วย ดังนั้น ถ้าราคาก๊าซธรรมชาติเปลี่ยนไป 10 บาทต่อล้านบีทียู ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าเอฟทีที่เกิดจากค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเปลี่ยนไป 8 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า
6.ข้อสงสัยเรื่องราคาเชื้อเพลิงของ กกพ.
จากเอกสารประกอบการรับฟังความเห็นของ กกพ. ข้อ 3.1 เรื่อง ค่าเชื้อเพลิงฐานซึ่งผมขอตัดมาเพียงบางส่วนในแผ่นภาพนี้ ผมมีข้อสงสัยว่าทาง กกพ.ได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงต่อผู้บริโภคหรือไม่ ดังนี้
ข้อสงสัย 1 กกพ.ระบุว่า ราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่า (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 54) เท่ากับ 250.05 บาทต่อล้านบีทียู แต่จากการใช้ข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพบว่า ราคาก๊าซในประเทศไทย (ทั้งอ่าวไทย และบนบก แต่ไม่รวมก๊าซจากพม่าและ JDA) ราคา 181.42 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น
ไม่มีการเปิดเผยว่า ทางบริษัท ปตท. คิดค่าผ่านท่อในอัตราใด ผมลองสมมติดูนะครับ ถ้ารวมค่าผ่านท่อ (ประมาณ 15% ของมูลค่าก๊าซซึ่งถือว่าสูงมาก) และไม่รวมค่าแยกก๊าซ ก็อยู่ที่ 208 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น ยังต่ำกว่าที่ กกพ.นำเสนอถึง 42 บาท จากข้อมูลที่ผมค้นจากเอกสารของ กฟผ. พบว่า ก๊าซ 1 ล้านบีทียูสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 125 หน่วย ดังนั้น ส่วนต่างของราคา 42 บาทดังกล่าวมีผลทำให้การคำนวณค่าเอฟทีต่างกันถึง 34 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า
ข้อสงสัย 2 กกพ.รายงานว่า ราคาก๊าซจากน้ำพอง และภูฮ่อม 303.78 บาทต่อล้านบีทียู แต่ราคาจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเท่ากับ 261 บาทต่อล้านบีทียู ถ้าคิดค่าผ่านท่อ 12% (เพราะอยู่ใกล้) ก็จะเป็น 292 บาทต่อล้านบีทียู ยังต่ำกว่าที่ กกพ.เสนอตั้งเกือบ 12 บาท
ข้อสงสัย 3 ข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย (ถึงแม้สมมติว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง) เพราะไม่ได้บอกสัดส่วนปริมาณการใช้ ในกรณีนี้ ปริมาณการใช้ของแหล่งน้ำพอง และภูฮ่อมมีไม่ถึง 2% ของประมาณก๊าซที่ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น
สรุปในหัวข้อนี้ก็คือ ทาง กกพ.ได้ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนพอที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจได้ จึงถือว่าน่าจะส่อไปในทางขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ข้อ 7.ข้อสงสัยเรื่องการประเมินราคาเชื้อเพลิงในอนาคต
จากตารางที่ 2 ของเอกสารคำชี้แจงที่มีความยาว 6 หน้า พบว่ามีการคาดหมายราคาเชื้อเพลิงในช่วง 4 เดือนข้างหน้าว่าจะสูงขึ้นกว่าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ดังตาราง
ประเด็นนี้ผมมีข้อสงสัย 2 ประการ คือ
(1) ในช่วง ม.ค.-เม.ย.57 กกพ.ให้ข้อมูลว่าราคาก๊าซเท่ากับ 316.88 บาทต่อล้านบีทียู แต่ข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เท่ากับ 306.6 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น (ข้อมูล กฟผ. จาก http://www3.egat.co.th/ft/Web/Fuel%20may57_aug57.htm)
กกพ. ช่วยตอบหน่อยครับ
ความต่าง 10.28 บาท มีผลทำให้การคำนวณค่าเอฟทีต่างกัน 8 สตางค์ (อย่าลืมว่า 10 สตางค์จะรวมกันเป็น 1.7 หมื่นล้านบาทดังที่ได้กล่าวนำมาตั้งแต่ต้น)
ในขณะที่ กกพ.นำเสนอราคาถ่านหินนำเข้าในราคา 2,415 บาทต่อตัน (ซึ่งคาดว่าจะขึ้นราคา 0.37%) แต่ข้อมูลของ กฟผ. กลับมีแต่ราคาลิกไนต์เท่านั้น คือ ราคา 570 บาทต่อตัน (และโดยไม่มีการขึ้นราคาเลย) โดยไม่มีราคาถ่านหินนำเข้าเลย
และเมื่อผมลองค้นข้อมูลราคาถ่านหินในตลาดโลก ก็พบว่าราคาคงที่มาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา และจากการคาดหมายของ E.I.A. พบว่า จะคงที่ต่อไปจนถึงปี 2558 นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาส่งถึงโรงไฟฟ้าตันละประมาณ 1,665 บาทเท่านั้น (ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดต้องขออภัย เพราะเรื่องนี้เพิ่งค้นใหม่)
ในขณะที่ กกพ.ให้ข้อมูลว่าราคาน้ำมันเตาจะขึ้นราคาจาก 23.22 เป็น 31.45 แต่ข้อมูลของ กฟผ. (ซึ่งเป็นต้นฉบับ) กลับบอกว่าจะขึ้นจาก 29.05 เป็น 31.45 บาทต่อลิตร
นี่มันอะไรกันครับ กกพ.!
(2) ผมไม่ทราบว่า กกพ. คาดการณ์อย่างไรจึงได้ผลลัพธ์ว่า ราคาก๊าซในช่วง 4 เดือนข้างหน้า (พ.ค. ถึง ส.ค.57) จึงเพิ่มขึ้นจาก 4 เดือนก่อนที่ 316.88 บาทต่อล้านบีทียู เป็นเท่ากับ 325.99 บาทต่อล้านบีทียู ทั้งๆ ที่ราคาก๊าซในประเทศไทยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
ถ้าเราเปรียบเทียบราคาของ กฟผ. (ซึ่งสูงกว่าของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมาก) กับราคาที่ กกพ.คาดการณ์ พบว่าต่างกันถึง 19.39 บาท (325.99 ลบ 306.6 บาท) ส่งผลต่อการคำนวณค่าเอฟทีให้เพิ่มขึ้นถึง 16 สตางค์ต่อหน่วย
ข้อ 8.ตรวจสอบการประมาณการของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า
ผมพยายามศึกษา “สูตร” การคำนวณค่าเอฟทีของกระทรวงพลังงานหลายรอบ (มากกว่า 10 รอบ) แต่ขอสารภาพว่า ผมอ่านไม่รู้เรื่องครับ (ทั้งๆ ที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ประยุกต์) ผมรู้สึกว่าภาษาที่เขียนมีปัญหา หรือว่าผมโง่เองก็ไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ผมก็พยายามแกะวิธีการคำนวณออกมาได้ดังตาราง
หากผมเข้าใจอะไรผิดไป ผมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า และพร้อมที่จะแก้ไขครับ แต่ที่ต้องนำเสนอออกไปก่อนก็เพราะทาง กกพ.กำหนดว่าต้องเสนอความเห็นภายในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้
ผลการ “แกะรอย” ของผมพบว่า การประมาณการของ กฟผ. สูงกว่าความเป็นจริงเกือบตลอดเวลารวม 4 งวด (ม.ค. 56-เม.ย.57) สูงทั้งจำนวนหน่วยไฟฟ้า(เกือบ 1 หมื่นล้านหน่วย แต่ไม่ได้แสดงในภาพ) และสูงทั้งค่าใช้จ่าย “ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงจากแผน” (ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของค่าเอฟที) โดยช่วงที่มีการคาดการณ์สูงเกินจริงมากที่สุดเกิดขึ้นในช่วง ม.ค.-เม.ย.56 ถึงกว่า 4,500 ล้านบาท
ถ้าคิดเป็นต่อหน่วยไฟฟ้าก็เท่ากับ 8.60 สตางค์ โดยเกินทุกช่วง 4 เดือนที่มีการประมาณการ
ข้อ 9.ทางออกจากกับดักราคาเชื้อเพลิง
จากที่กล่าวมาแล้วพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าในประเทศไทยขยับตัวสูงขึ้นประมาณ 4% ต่อปี (ในขณะที่สหรัฐอเมริกา 2%) นอกจากนี้ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และชีวมวลสร้างผลกระทบต่อชุมชน ในขณะที่ราคาต้นทุนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว
จากวารสารนโยบายพลังงาน (ฉบับที่ 101 ก.ค.-ก.ย.56) สามารถคำนวณได้ว่า หากผู้ผลิตสามารถขายไฟฟ้าได้ทั้งหมดในราคาหน่วยละ 3.45 บาทโดยไม่มีการชดเชยจะทำให้ได้ผลตอบแทนในการลงทุนร้อยละ 9 ต่อปี หรือได้ทุนคืนภายใน 12 ปี (ข้อมูลในวารสาร - แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 40 กิโลวัตต์ ลงทุน 2 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 52,000 หน่วย) ในขณะที่คนในวงการสภาอุตสาหกรรมเคยเปิดเผยต่อที่ประชุมแห่งหนึ่ง (เมื่อกลางปี 2555) ว่า “หากได้ Adder ในอัตราปัจจุบันจะได้ทุนคืนภายใน 4 ปีเท่านั้น”
เยอรมนี เป็นประเทศที่ประสบผลสำเร็จในด้านพลังงานหมุนเวียนสูงสุดในโลก ในปี 2556 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 29,300 ล้านหน่วย ไฟฟ้าจำนวนนี้มากพอสำหรับคนไทยใน 20 จังหวัดภาคอีสาน และ 14 จังหวัดภาคใต้ใช้รวมกัน ทั้งๆ ที่ความเข้มของแสงแดดในเยอรมันมีแค่ 2 ใน 3 ของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับราคาหรือต้นทุนการผลิตกลับลดลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ในปี 2557 อยู่ที่หน่วยละ 6.50 บาท ดังแผ่นภาพข้างล่างนี้
ผมขอจบบทความที่ค่อนข้างยาวนี้ด้วยคำถามสุดท้ายว่า ทำไม กกพ. จึงไม่รับซื้อไฟฟ้าที่นับวันจะมีราคาถูกลง และไม่ก่อมลพิษกับชุมชน แต่กลับบีบบังคับให้ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่ผูกขาด ก่อมลพิษต่อชุมชน และมีราคาแพงขึ้นตลอดไป
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ประสาท มีแต้ม
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน