ถ้าวันหนึ่งคุณพบว่ามีบิลเก็บค่าไฟ 4 แสนบาทส่งมาที่บ้าน! คุณจะทำอย่างไร? เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงและไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ท่ามกลางอากาศร้อนระอุของช่วงเดือนเมษายน ไม่แปลกหากหลายคนจะหมดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งไปกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้น หลังจากค่าไฟฟ้าถีบตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ล่าสุดกับบิลค่าไฟที่สูงถึงหลักแสนจากความผิดพลาด ก่อให้เกิดข้อวิพากษ์ถึงการทำงานที่ผ่านมาของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ค่าไฟมาจากไหน
ปัญหาการคิดค่าไฟเกินจริงมีเกิดขึ้นอยู่พอสมควรโดยมีสาเหตุมาจากหลากหลายกรณีด้วยกัน ในช่วงปี2556 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่ามีประชาชนร้องเรียนเรื่องการคิดค่าน้ำ - ค่าไฟ ไม่ตรงความเป็นจริงเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ต้นปี2556 - ก.ค.2556 พบแล้วประมาณ 200 ราย
มีผู้ที่ใช้บริการไฟฟ้า ใน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ร้องเรียนว่า ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง จากที่เคยจ่ายเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 600 บาท แต่เดือน มี.ค.ถึงปัจจุบันต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงถึงเดือนละกว่า 1,000 บาท ทั้งที่ช่วงเวลากลางวันไม่มีคนอยู่บ้าน จึงร้องเรียนไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ขอนแก่น แต่ได้รับการชี้แจงว่า อาจเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าเสีย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
นอกจากผู้บริโภคที่เกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แล้วยังมีความผิดพลาดหลักแสนเกิดขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์สุขภาพเพื่อพึ่งพาตนเองในเครือข่ายของหมอเขียว หรือนายใจเพชร กล้าจนได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม 2556 ระบุว่าต้องชำระเงินสูงถึง 475,257.01 บาท เทียบกับบิลค่าไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์2556 มียอดต้องจ่ายเพียง 1,460.55 บาทเท่านั้น
กระทั่งจนกรณีล่าสุดเกิดกับนางกฤษณา โต้มทอง ที่ได้รับบิลค่าไฟฟ้าเป็นเงินจำนวนกว่า 4 แสนบาททั้งที่อาศัยอยู่ในบ้านเพียงคนเดียวภายในบ้านมีทีวี 3 เครื่องไม่เคยเปิดพร้อมกัน มีเครื่องปรับอากาศในห้องนอน 1 เครื่อง พัดลม 2 ตัว เครื่องซักผ้า 1 เครื่อง และไฟนีออนไม่ถึง 10 ดวง โดยที่ผ่านมาเสียค่าไฟแพงสุดไม่เกิน 1,000 บาท และเดือนล่าสุดเสียเพียงแค่ 400 กว่าบาทเท่านั้น แม้ล่าสุดก็ได้รับการแก้ไขโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระบุสาเหตุว่ามาจากการพิมพ์ใบเสร็จผิด
โดยที่มาของใบเสร็จค่าไฟฟ้านั้น แท้จริงแล้วก็ปมปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอยู่ วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เผยว่ามีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกให้มีการเปลี่ยนแปลงการคิดค่าไฟที่ปัจจุบันประกอบไปด้วย ค่าไฟฐาน ค่าเอฟที และค่าบริการหรือเรียกอีกอย่างว่า ค่าจดมิเตอร์
“เราเรียกร้องมานานแล้วว่า ค่าบริการที่คิดจริงๆ 40 บาท แต่เขาเขียนในใบเสร็จแค่ 38 บาท ซึ่งตรงนี้เขาบอกว่าคือค่าจดมิเตอร์ ทีนี้ผู้ใช้รายเล็กก็เสีย 40 บาท รายใหญ่อุตสาหกรรมก็เสีย 40 บาท แล้วมาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านที่เสียค่าไฟ 200 บาทแต่ต้องจ่ายค่าบริการ 40 บาทมันคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วมันยุติธรรมเหรอ? แล้วชาวบ้านบางคนยังต้องเสียค่าทำเนียมโอนเงินอีกถ้าไปใช้บริการพวกเคาน์เตอร์ให้บริการชำระค่าไฟตามสถานที่ที่สะดวก เราต่อสู้มาตลอดว่าให้เลิกโดยเฉพาะกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย”
เขาเผยว่า สิ่งนี้เกิดจากความเคยชินและมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยผู้ให้บริการจดค่าไฟคือกลุ่มเดียวกับบริษัทที่รับตัดไฟเวลาไม่ได้ชำระค่าไฟเกินกำหนด ผลประโยชน์ที่สอดรับจาก กฟผ.ที่มอบหมายให้
“และจริงๆเขาไม่ได้ไปจดมิเตอร์ด้วย เขาคำนวณเอา อย่างที่บ้านผม เฮ่ย! มันไม่ได้จดจริงนี่หว่า เดือนนี้เราไม่ได้อยู่บ้านทั้งเดือนค่าไฟมันก็เท่าเดิม ทำไปทำมาก็รู้ว่ามันไม่มาจดหรอก เรื่องพวกนี้มันกลายเป็นธุรกิจที่ทำกันมานาน ถามว่า มันมีการคิดค่าไฟด้วยวิธีอื่นมั้ย ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะคำนวณหรือให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันเองให้จดให้ก็ทำได้ และไม่ต้องทำทุกเดือนก็ได้ คือมันมีระบบอื่นที่ทำได้แต่ไม่ทำเพราะมันไม่สมประโยชน์”
ในส่วนของการร้องเรียนเมื่อพบว่ามีความผิดปกติ เขาบอกเลยว่า สามารถร้องเรียนได้แต่คำถามคือจะคุ้มหรือเปล่า? จากการเสียเวลาที่กว่าเงินจะได้คืนนั้นแสนยากลำบาก
“เรื่องพวกนี้ระบบผูกขาดที่มีอยู่มันทำให้ระบบแบบนี้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาไม่มีการเคลื่อนไหวปรับปรุง”
ใช้ไฟน้อยลงแต่ค่าไฟแพงขึ้น?
ค่าไฟฟ้ามีฐานการคิดมาจาก 2 ค่าด้วยกัน 1 คือค่าไฟฐาน 2 คือค่าเอฟที โดยค่าเอฟทีจะมีการทบทวนปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน และโดยมากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและลดลงนั้นก็จะมาจากค่าเอฟทีเป็นหลัก โดยฐานการคิดค่าเอฟทีนั้นจะมาจากสภาพเศรษฐกิจตลอดจนค่าเงินบาทที่ผันแปรไปตามช่วงเวลานั้นๆ
ทว่าปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองของ วิฑูรย์ในฐานะที่เคลื่อนไหวด้านพลังงานมาหลายปีก็คือ ยิ่งประเทศไทยใช้ไฟฟ้าน้อยลง ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยกลับยิ่งสูงขึ้น! แทนที่ความต้องการที่น้อยลงจะทำให้ราคาของสิ่งของถูกลงเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในกลไกตลาดทั่วไป ทว่าค่าเอฟทีกลับทำให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยสูงขึ้นแทนที่
“ในความเห็นผมสิ่งที่เป็นปัญหาคือ ความจริงแล้วการใช้ไฟฟ้าในประเทศเราลดลงอย่างต่อเนื่องแต่มีการคาดการณ์รายได้ และการประเมินราคาไว้สูงเกินจริง ผลคือเมื่อคาดการณ์และวางแผนการผลิตไว้สูง ทุนที่ใช้ก็ต้องสูงตาม ค่าเอฟทีคือค่าที่ใช้เรียกคืนสิ่งเหล่านั้นหากความต้องการจริงๆไม่สูงเทียบเท่า”
และสิ่งนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะจากนโยบายที่อยากให้มีการประหยัดไฟงดใช้พลังงานที่ทำให้ยอดการใช้ไฟฟ้าลดลง แต่แทนที่จะส่งผลดีกลับกลายทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นแทน
“มันกลายเป็นว่า หากเราใช้ไฟน้อยลงกว่าที่เขาคาดไว้ ค่าไฟแพงขึ้น อันนี้มันไม่สมเหตุสมผล นโยบายอยากให้ประหยัดไฟ นี่คือคำถามใหญ่เป็นตัวสะท้อนว่า ระบบการคิดค่าไฟบ้านเรานี้มีปัญหา”
เมื่อย้อนกลับไปดูต้นต่อของปัญหา เขาชี้ว่า มาจากการที่ กฟผ.หรือหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้งหมดมีผลประโยชน์มาจากการขายไฟฟ้าให้มาก ยิ่งมากก็ยิ่งได้กำไรเสมือนเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว ไฟฟ้าไม่ใช่สินค้าทั่วๆไป หากแต่เป็นสาธารณูปโภคที่หากประชาชนใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพก็ควรจะต้องถูกลง เพราะไม่จำเป็นต้องไปสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม และก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า
“หน่วยงานผลิตไฟฟ้ามีเป้าหมายที่จะต้องขายให้มาก ลงทุนให้มาก สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ให้มาก แต่สิ่งที่เป็นอยู่คือเขาขายได้น้อยลงเพราะเศรษฐกิจมันไม่ดี คนใช้ไฟได้น้อยลงแต่ตามกฎหมายเราไปประกันรายได้ของกฟผ. คือจะบริหารแย่ยังไง ค่าเอฟทีจะเป็นตัวเติมรายได้ที่เขาคาดว่าจะได้ ที่เขาได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ก็มาเพิ่มเข้าไป นี่คือที่มาของการเพิ่มครั้งนี้”
ทางออกของหน้าร้อน
สิ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มคือต้นทุนจากการผลิตโรงไฟฟ้าเพิ่ม และสิ่งที่ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มก็คือความต้องการในการใช้ไฟฟ้าสูงสุด อธิบายให้เห็นภาพเขาเผยว่า เหมือนกับการให้บริการรถโดยสาร หากปกติมีการใช้รถให้บริการเพียง 50 คัน แต่ช่วงเทศกาลต้องใช้รถ 100 คัน การซื้อรถไว้ 100 คันเพื่อให้บริการเฉพาะช่วงที่คนเดินทางมากที่สุด ช่วงเวลาที่ไม่ใช่เทศกาลต้นทุนก็เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
“มันเหมือนรถไม่ได้วิ่ง ไฟฟ้าบางครั้งคนใช้มากที่สุดแค่ 2 อาทิตย์ช่วงหน้าร้อน ความต้องการสูงสุดโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ต้องทำงาน แต่เมื่อไม่ได้อยู่ในช่วงนี้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้ มันไม่จำเป็น ผมถามว่า ตัวอย่างรถโดยสารหากจัดซื้อมาให้พอช่วงเทศกาลแล้วปกติไม่ได้ใช้จะเป็นอย่างไร ก็เจ๊งสิ แต่ไฟฟ้ามันผูกขาดก็เลยต้องเอาค่าไฟมาให้เพียงพอต่อต้นทุนที่มีอยู่ทั้งหมด”
เขาเผยว่า มีวิธีอื่นๆมากมายในการทำให้การใช้ไฟฟ้าลดลงเพื่อทำให้ต้นทุนลดลง วิธีง่ายๆ เพียงแค่ทำให้คนไม่ใช้ไฟฟ้าในช่วงเดียวกันมากเกินไป อย่างในช่วงหน้าร้อนที่บ้านเรือนเปิดแอร์มากเป็นพิเศษก็อาจให้ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้ไฟฟ้าลง หรือใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าของตัวเอง อาจให้ลดการผลิตจากช่วงบ่ายเป็นกลางคืนเพราะช่วงบ่ายมีผู้ใช้ไฟฟ้าเยอะ
“กระจายเพื่อให้ไม่เกิดช่วงพีก กฟผ.ก็รู้ว่ามีวิธีการตั้งเยอะแยะ เหมือนที่บอกว่าให้ภาคเอกชนช่วยกันซึ่งก็เคยทำมาแล้ว เขาทำได้ถ้าอยากทำ ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่”
ทั้งนี้ ทั่วโลกในประเทศที่เจริญแล้วมักจะเลือกไม่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะมีต้นทุนที่แพงกว่าการประหยัดหรือทำให้ผู้บริโภคใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การทำเบอร์ 5 ประหยัดไฟ หรือทำให้อุตสาหกรรมมีความต้องการน้อยลง หรือการเกลี่ยจุดพีกของช่วงฤดูร้อนที่คนต่างใช้ไฟฟ้า
“กฟผ.ไม่ทำเพราะจะทำให้ตัวเองรายได้ลดลง นโยบายจริงๆ คือไม่ต้องการให้คนประหยัดหรือใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องการกระตุ้นให้คนบริโภคไฟฟ้าให้มากขึ้น”
ถึงตอนนี้ เขามองว่า กฟผ.ต้องมีการเลื่อนฐานะตัวเองให้เหมือนหน่วยงานในต่างประเทศ ลดการผลิตไฟฟ้าแล้วหันมาได้ประโยชน์จากการทำให้ประเทศบริโภคไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพแทน อย่างไรก็ตาม เขาเผยว่า ในต่างประเทศนั้นไม่มีการผูกขาด การแข่งขันทำให้ต้องคำนวณการใช้จ่ายอย่างดีเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
“มันมีกฎแข่งขัน เขาต้องคำนวณว่า สมมติต้องการไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ ระหว่างการทำให้ระบบความต้องการไฟฟ้าลดลง 100 เมกะวัตต์กับการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 100 เมกะวัตต์อะไรแพงกว่ากัน ซึ่งหลายที่เขาก็พบว่า การทำให้ความต้องการไฟฟ้าลดลงนั้นถูกกว่า ประเทศไทยก็มีตัวเลขนั้น แต่กรณีบ้านเรากฟผ.ไม่เลือกวิธีนี้ไปเลือกวิธีสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แทน”
...
ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นมีเบื้องหลังเบื้องลึกระหว่างผลประโยชน์ของ กฟผ.ที่ขัดกับประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้า แทนที่การประหยัดพลังงานจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกลับกลายเป็นตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงระบบการคิดที่ผิดพลาดมาโดยตลอด
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE
ท่ามกลางอากาศร้อนระอุของช่วงเดือนเมษายน ไม่แปลกหากหลายคนจะหมดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งไปกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้น หลังจากค่าไฟฟ้าถีบตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ล่าสุดกับบิลค่าไฟที่สูงถึงหลักแสนจากความผิดพลาด ก่อให้เกิดข้อวิพากษ์ถึงการทำงานที่ผ่านมาของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ค่าไฟมาจากไหน
ปัญหาการคิดค่าไฟเกินจริงมีเกิดขึ้นอยู่พอสมควรโดยมีสาเหตุมาจากหลากหลายกรณีด้วยกัน ในช่วงปี2556 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่ามีประชาชนร้องเรียนเรื่องการคิดค่าน้ำ - ค่าไฟ ไม่ตรงความเป็นจริงเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ต้นปี2556 - ก.ค.2556 พบแล้วประมาณ 200 ราย
มีผู้ที่ใช้บริการไฟฟ้า ใน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ร้องเรียนว่า ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง จากที่เคยจ่ายเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 600 บาท แต่เดือน มี.ค.ถึงปัจจุบันต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงถึงเดือนละกว่า 1,000 บาท ทั้งที่ช่วงเวลากลางวันไม่มีคนอยู่บ้าน จึงร้องเรียนไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ขอนแก่น แต่ได้รับการชี้แจงว่า อาจเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าเสีย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
นอกจากผู้บริโภคที่เกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แล้วยังมีความผิดพลาดหลักแสนเกิดขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์สุขภาพเพื่อพึ่งพาตนเองในเครือข่ายของหมอเขียว หรือนายใจเพชร กล้าจนได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม 2556 ระบุว่าต้องชำระเงินสูงถึง 475,257.01 บาท เทียบกับบิลค่าไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์2556 มียอดต้องจ่ายเพียง 1,460.55 บาทเท่านั้น
กระทั่งจนกรณีล่าสุดเกิดกับนางกฤษณา โต้มทอง ที่ได้รับบิลค่าไฟฟ้าเป็นเงินจำนวนกว่า 4 แสนบาททั้งที่อาศัยอยู่ในบ้านเพียงคนเดียวภายในบ้านมีทีวี 3 เครื่องไม่เคยเปิดพร้อมกัน มีเครื่องปรับอากาศในห้องนอน 1 เครื่อง พัดลม 2 ตัว เครื่องซักผ้า 1 เครื่อง และไฟนีออนไม่ถึง 10 ดวง โดยที่ผ่านมาเสียค่าไฟแพงสุดไม่เกิน 1,000 บาท และเดือนล่าสุดเสียเพียงแค่ 400 กว่าบาทเท่านั้น แม้ล่าสุดก็ได้รับการแก้ไขโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระบุสาเหตุว่ามาจากการพิมพ์ใบเสร็จผิด
โดยที่มาของใบเสร็จค่าไฟฟ้านั้น แท้จริงแล้วก็ปมปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอยู่ วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เผยว่ามีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกให้มีการเปลี่ยนแปลงการคิดค่าไฟที่ปัจจุบันประกอบไปด้วย ค่าไฟฐาน ค่าเอฟที และค่าบริการหรือเรียกอีกอย่างว่า ค่าจดมิเตอร์
“เราเรียกร้องมานานแล้วว่า ค่าบริการที่คิดจริงๆ 40 บาท แต่เขาเขียนในใบเสร็จแค่ 38 บาท ซึ่งตรงนี้เขาบอกว่าคือค่าจดมิเตอร์ ทีนี้ผู้ใช้รายเล็กก็เสีย 40 บาท รายใหญ่อุตสาหกรรมก็เสีย 40 บาท แล้วมาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านที่เสียค่าไฟ 200 บาทแต่ต้องจ่ายค่าบริการ 40 บาทมันคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วมันยุติธรรมเหรอ? แล้วชาวบ้านบางคนยังต้องเสียค่าทำเนียมโอนเงินอีกถ้าไปใช้บริการพวกเคาน์เตอร์ให้บริการชำระค่าไฟตามสถานที่ที่สะดวก เราต่อสู้มาตลอดว่าให้เลิกโดยเฉพาะกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย”
เขาเผยว่า สิ่งนี้เกิดจากความเคยชินและมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยผู้ให้บริการจดค่าไฟคือกลุ่มเดียวกับบริษัทที่รับตัดไฟเวลาไม่ได้ชำระค่าไฟเกินกำหนด ผลประโยชน์ที่สอดรับจาก กฟผ.ที่มอบหมายให้
“และจริงๆเขาไม่ได้ไปจดมิเตอร์ด้วย เขาคำนวณเอา อย่างที่บ้านผม เฮ่ย! มันไม่ได้จดจริงนี่หว่า เดือนนี้เราไม่ได้อยู่บ้านทั้งเดือนค่าไฟมันก็เท่าเดิม ทำไปทำมาก็รู้ว่ามันไม่มาจดหรอก เรื่องพวกนี้มันกลายเป็นธุรกิจที่ทำกันมานาน ถามว่า มันมีการคิดค่าไฟด้วยวิธีอื่นมั้ย ระบบคอมพิวเตอร์ที่จะคำนวณหรือให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันเองให้จดให้ก็ทำได้ และไม่ต้องทำทุกเดือนก็ได้ คือมันมีระบบอื่นที่ทำได้แต่ไม่ทำเพราะมันไม่สมประโยชน์”
ในส่วนของการร้องเรียนเมื่อพบว่ามีความผิดปกติ เขาบอกเลยว่า สามารถร้องเรียนได้แต่คำถามคือจะคุ้มหรือเปล่า? จากการเสียเวลาที่กว่าเงินจะได้คืนนั้นแสนยากลำบาก
“เรื่องพวกนี้ระบบผูกขาดที่มีอยู่มันทำให้ระบบแบบนี้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาไม่มีการเคลื่อนไหวปรับปรุง”
ใช้ไฟน้อยลงแต่ค่าไฟแพงขึ้น?
ค่าไฟฟ้ามีฐานการคิดมาจาก 2 ค่าด้วยกัน 1 คือค่าไฟฐาน 2 คือค่าเอฟที โดยค่าเอฟทีจะมีการทบทวนปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน และโดยมากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและลดลงนั้นก็จะมาจากค่าเอฟทีเป็นหลัก โดยฐานการคิดค่าเอฟทีนั้นจะมาจากสภาพเศรษฐกิจตลอดจนค่าเงินบาทที่ผันแปรไปตามช่วงเวลานั้นๆ
ทว่าปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองของ วิฑูรย์ในฐานะที่เคลื่อนไหวด้านพลังงานมาหลายปีก็คือ ยิ่งประเทศไทยใช้ไฟฟ้าน้อยลง ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยกลับยิ่งสูงขึ้น! แทนที่ความต้องการที่น้อยลงจะทำให้ราคาของสิ่งของถูกลงเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในกลไกตลาดทั่วไป ทว่าค่าเอฟทีกลับทำให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยสูงขึ้นแทนที่
“ในความเห็นผมสิ่งที่เป็นปัญหาคือ ความจริงแล้วการใช้ไฟฟ้าในประเทศเราลดลงอย่างต่อเนื่องแต่มีการคาดการณ์รายได้ และการประเมินราคาไว้สูงเกินจริง ผลคือเมื่อคาดการณ์และวางแผนการผลิตไว้สูง ทุนที่ใช้ก็ต้องสูงตาม ค่าเอฟทีคือค่าที่ใช้เรียกคืนสิ่งเหล่านั้นหากความต้องการจริงๆไม่สูงเทียบเท่า”
และสิ่งนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะจากนโยบายที่อยากให้มีการประหยัดไฟงดใช้พลังงานที่ทำให้ยอดการใช้ไฟฟ้าลดลง แต่แทนที่จะส่งผลดีกลับกลายทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นแทน
“มันกลายเป็นว่า หากเราใช้ไฟน้อยลงกว่าที่เขาคาดไว้ ค่าไฟแพงขึ้น อันนี้มันไม่สมเหตุสมผล นโยบายอยากให้ประหยัดไฟ นี่คือคำถามใหญ่เป็นตัวสะท้อนว่า ระบบการคิดค่าไฟบ้านเรานี้มีปัญหา”
เมื่อย้อนกลับไปดูต้นต่อของปัญหา เขาชี้ว่า มาจากการที่ กฟผ.หรือหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้งหมดมีผลประโยชน์มาจากการขายไฟฟ้าให้มาก ยิ่งมากก็ยิ่งได้กำไรเสมือนเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้ว ไฟฟ้าไม่ใช่สินค้าทั่วๆไป หากแต่เป็นสาธารณูปโภคที่หากประชาชนใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพก็ควรจะต้องถูกลง เพราะไม่จำเป็นต้องไปสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม และก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า
“หน่วยงานผลิตไฟฟ้ามีเป้าหมายที่จะต้องขายให้มาก ลงทุนให้มาก สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ให้มาก แต่สิ่งที่เป็นอยู่คือเขาขายได้น้อยลงเพราะเศรษฐกิจมันไม่ดี คนใช้ไฟได้น้อยลงแต่ตามกฎหมายเราไปประกันรายได้ของกฟผ. คือจะบริหารแย่ยังไง ค่าเอฟทีจะเป็นตัวเติมรายได้ที่เขาคาดว่าจะได้ ที่เขาได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ก็มาเพิ่มเข้าไป นี่คือที่มาของการเพิ่มครั้งนี้”
ทางออกของหน้าร้อน
สิ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มคือต้นทุนจากการผลิตโรงไฟฟ้าเพิ่ม และสิ่งที่ทำให้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มก็คือความต้องการในการใช้ไฟฟ้าสูงสุด อธิบายให้เห็นภาพเขาเผยว่า เหมือนกับการให้บริการรถโดยสาร หากปกติมีการใช้รถให้บริการเพียง 50 คัน แต่ช่วงเทศกาลต้องใช้รถ 100 คัน การซื้อรถไว้ 100 คันเพื่อให้บริการเฉพาะช่วงที่คนเดินทางมากที่สุด ช่วงเวลาที่ไม่ใช่เทศกาลต้นทุนก็เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
“มันเหมือนรถไม่ได้วิ่ง ไฟฟ้าบางครั้งคนใช้มากที่สุดแค่ 2 อาทิตย์ช่วงหน้าร้อน ความต้องการสูงสุดโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ต้องทำงาน แต่เมื่อไม่ได้อยู่ในช่วงนี้โรงไฟฟ้าเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้ มันไม่จำเป็น ผมถามว่า ตัวอย่างรถโดยสารหากจัดซื้อมาให้พอช่วงเทศกาลแล้วปกติไม่ได้ใช้จะเป็นอย่างไร ก็เจ๊งสิ แต่ไฟฟ้ามันผูกขาดก็เลยต้องเอาค่าไฟมาให้เพียงพอต่อต้นทุนที่มีอยู่ทั้งหมด”
เขาเผยว่า มีวิธีอื่นๆมากมายในการทำให้การใช้ไฟฟ้าลดลงเพื่อทำให้ต้นทุนลดลง วิธีง่ายๆ เพียงแค่ทำให้คนไม่ใช้ไฟฟ้าในช่วงเดียวกันมากเกินไป อย่างในช่วงหน้าร้อนที่บ้านเรือนเปิดแอร์มากเป็นพิเศษก็อาจให้ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้ไฟฟ้าลง หรือใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าของตัวเอง อาจให้ลดการผลิตจากช่วงบ่ายเป็นกลางคืนเพราะช่วงบ่ายมีผู้ใช้ไฟฟ้าเยอะ
“กระจายเพื่อให้ไม่เกิดช่วงพีก กฟผ.ก็รู้ว่ามีวิธีการตั้งเยอะแยะ เหมือนที่บอกว่าให้ภาคเอกชนช่วยกันซึ่งก็เคยทำมาแล้ว เขาทำได้ถ้าอยากทำ ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่”
ทั้งนี้ ทั่วโลกในประเทศที่เจริญแล้วมักจะเลือกไม่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะมีต้นทุนที่แพงกว่าการประหยัดหรือทำให้ผู้บริโภคใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การทำเบอร์ 5 ประหยัดไฟ หรือทำให้อุตสาหกรรมมีความต้องการน้อยลง หรือการเกลี่ยจุดพีกของช่วงฤดูร้อนที่คนต่างใช้ไฟฟ้า
“กฟผ.ไม่ทำเพราะจะทำให้ตัวเองรายได้ลดลง นโยบายจริงๆ คือไม่ต้องการให้คนประหยัดหรือใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องการกระตุ้นให้คนบริโภคไฟฟ้าให้มากขึ้น”
ถึงตอนนี้ เขามองว่า กฟผ.ต้องมีการเลื่อนฐานะตัวเองให้เหมือนหน่วยงานในต่างประเทศ ลดการผลิตไฟฟ้าแล้วหันมาได้ประโยชน์จากการทำให้ประเทศบริโภคไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพแทน อย่างไรก็ตาม เขาเผยว่า ในต่างประเทศนั้นไม่มีการผูกขาด การแข่งขันทำให้ต้องคำนวณการใช้จ่ายอย่างดีเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
“มันมีกฎแข่งขัน เขาต้องคำนวณว่า สมมติต้องการไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ ระหว่างการทำให้ระบบความต้องการไฟฟ้าลดลง 100 เมกะวัตต์กับการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 100 เมกะวัตต์อะไรแพงกว่ากัน ซึ่งหลายที่เขาก็พบว่า การทำให้ความต้องการไฟฟ้าลดลงนั้นถูกกว่า ประเทศไทยก็มีตัวเลขนั้น แต่กรณีบ้านเรากฟผ.ไม่เลือกวิธีนี้ไปเลือกวิธีสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แทน”
...
ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นมีเบื้องหลังเบื้องลึกระหว่างผลประโยชน์ของ กฟผ.ที่ขัดกับประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้า แทนที่การประหยัดพลังงานจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกลับกลายเป็นตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงระบบการคิดที่ผิดพลาดมาโดยตลอด
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE