คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
ชื่อบทความนี้มาจากส่วนหนึ่งของคำนำในหนังสือ “ข่ายใยแห่งชีวิต (The Web of Life)” ซึ่งสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง เป็นผู้จัดแปลและพิมพ์ ผู้แต่งหนังสือชื่อ Fritjof Cabra (ด็อกเตอร์ทางฟิสิกส์ผู้โด่งดังไปทั่วจากหนังสือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” เมื่อ 40 ปีก่อน) สำหรับคำนำที่ผมยกมานี้เป็นย่อหน้าหนึ่งซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ประเวศ วะสี
ความทั้งหมดของย่อหน้านี้ยาว 3 บรรทัด คือ
“ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์ และพฤติกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ออกจากการเห็น และคิดแยกส่วนตายตัว มาเป็นเห็นความโยงใยของสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ผมไม่ได้ตั้งใจจะแนะนำหนังสือเล่มนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าข้อความในชื่อบทความนั้นสอดคล้องกับเรื่องราวที่ผมได้เขียนถึงอยู่เป็นประจำคือ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่นับวันยิ่งเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นทั้งความหวังของคนทั้งโลกด้วย
บทความนี้ผมตั้งใจกล่าวถึง “โลกทัศน์” หรือทัศนะในการมองโลก แล้วตบท้ายด้วยข้อมูลจริงของสถานการณ์พลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน สาเหตุที่เราไม่ได้รับรู้กันก็เพราะว่า เราถูกสอน หรือถูกล้างสมองให้ “คิดแยกส่วนตายตัว” ดังที่ท่านอาจารย์ประเวศ ได้เกริ่นนำไว้
แต่ก่อนจะไปตรงนั้น ผมขอขอบคุณทางมูลนิธิโกมลคีมทองที่ได้กรุณาส่งหนังสือดีๆ มาให้ผมอ่านฟรีมานานครบ 10 ปีพอดี (นับจากปีที่ผมได้รับเชิญให้เป็นปาฐก “โกมล คีมทอง” ประจำปี 2547) ผมประมาณว่าน่าจะเกือบ 100 เล่มแล้ว “โกมล คีมทอง” เป็นชื่อครูในชนบทที่มีบทบาทเป็นนักกิจกรรม นักคิด นักอุดมการณ์เพื่อสังคมตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 แต่เขาได้ถูกฆ่าด้วยความเข้าใจผิดในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิโกมลคีมทอง ก็เพื่อกระตุ้นเตือน และสนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ เป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องตามแบบอย่างของครูโกมล คีมทอง ผู้สูญเสียชีวิตเมื่อปี 2514 ขณะอุทิศตนเป็นครูอยู่ในถิ่นทุรกันดาร หนังสือดีๆ ที่ผมได้รับอย่างสม่ำเสมอมายาวนานก็คือ “ใบเตือน” ที่มีค่ามากสำหรับผมครับ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องหลักที่ผมจะเขียนถึงครับ
ผมอยากจะกลับมาที่คำนำของท่านอาจารย์ประเวศ วะสี อีกครั้งครับ เอาเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การคิดแยกส่วนตายตัว” แทนที่จะคิดแบบ “ความโยงใยถึงสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ถ้าพูดตามภาษาของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า (Fritjof Capra) ก็คือคนเรามักมีแนวโน้มที่จะคิดถึงแต่ “วัตถุ (object)” แทนที่จะคิดถึง “ความสัมพันธ์ (Relationship)” ระหว่างวัตถุนั้นๆ เวลาเจอกับปัญหาวิกฤตทางการเมืองในโลก คนเรามักจะมองปัญหาแบบแยกส่วนโดยไม่มีความสามารถพุ่งเป้าไปมองหาความสัมพันธ์ที่แท้จริงของส่วนต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ในระบบนิเวศวิทยา เหตุผลหนึ่งที่เราทำลายระบบนิเวศเพราะเราไม่มีความเข้าใจต่อระบบนิเวศอย่างดีพอ (คำว่า “นิเวศวิทยา(Ecology)” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “บ้าน”) นิเวศวิทยาจึงเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุกสมาชิกในโลก
ผมเองโชคดีที่ศึกษา และสอนทางคณิตศาสตร์มาร่วม 40 ปี หัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องความสัมพันธ์นี่แหละครับ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมใช้สอนนักศึกษาในเรื่องการคิดอย่างเชื่อมโยงหรือ “โยงใย” (ในภาษาของอาจารย์ประเวศ) ก็คือ เรื่องล้อจักรยาน
เราได้ถูกทำให้มีความเชื่อว่าล้อจักรยานจะต้องเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเราก็เชื่อว่าล้อรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปสี่เหลี่ยมจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราคิดเช่นนี้ก็เพราะว่าเราคิดแบบแยกส่วน กล่าวคือ คิดถึงเฉพาะรูปทรงของล้อจักรยานเพียงอย่างเดียว แต่เราไม่ได้คิดถึงรูปทรงของถนนที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงของล้อจักรยานด้วย
ในทางคณิตศาสตร์แล้ว เราสามารถออกแบบล้อจักรยานให้มีรูปทรงใดๆ ก็ได้ จากนั้นเราก็สามารถออกแบบรูปทรงของถนนให้สอดรับกับรูปทรงของล้อจักรยานได้ โดยสามารถขับขี่ได้เรียบไม่กระโดกกระเดกขึ้นๆ ลงๆ สูงๆ ต่ำๆ
วิธีการออกแบบรูปทรงถนนก็คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างล้อกับถนนนั่นเอง โดยสรุปก็คือมันมีความเป็นไปได้สำหรับทุกรูปทรงของล้อ ไม่ว่าจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปกลีบดอกไม้ เป็นต้น
เพื่อความ “บันเทิง” ผมขอนำรูปมาให้ดูกันเล่นๆ ก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ (ตามสัญญา) ต่อไป
ภาพแรก ถ้าล้อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถนนก็จะต้องออกแบบถนนให้เป็นรูปโค้งๆ ดังรูป
ถ้าล้อเป็นกลีบแบบนี้ ถนนก็จะเป็นฟันเลื่อย ดังรูป
และล้อเป็นดังรูปแปลกๆ ถนนก็จะแปลกๆ ดังรูป แต่ผมยืนยันว่าการเคลื่อนของจักรยานยังคงเรียบ โดยไม่กระโดกกระเดก หลักคิดของเรื่องนี้มาจากวิชาคณิตศาสตร์ครับ
ประเด็นที่ผมขอสรุปในตอนนี้ก็คือ เพราะเรามีความคิด หรือโลกทัศน์แบบแยกส่วน โดยไม่มีความสามารถที่จะไปทำความเข้าใจในความสัมพันธ์โยงใยระหว่างสิ่งที่เราสนใจกับสิ่งอื่นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เชื่อว่าล้อจักรยานที่มีรูปทรงต่างไปจากปัจจุบันจะเป็นไปได้จริง
คราวนี้กลับมาที่เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ครับ’
เมื่อวันที่ 17 เมษายน ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมาสารภาพในบทความของเขา (ที่ชื่อ Salvation Gets Cheap- การฟื้นฟูโลกมีราคาถูกลง) ว่า “ความคิดที่จะนำพลังงานลม และแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดของพวกสติเฟื่องของพวกฮิปปี้”
แต่แล้วเขาก็ได้ออกมายอมรับว่า “ความคิดของผมผิดไปแล้ว” (รูปข้างล่างนี้ไม่เกี่ยวกับพอล ครุกแมน แต่เนื้อหาตรงกันครับ)
สิ่งที่ทำให้ความคิดของพอล ครุกแมน ผิดพลาดไปเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ต่ำลงมาก และ (2) ความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่จะหนีออกจากวัฏจักรของพลังงานสกปรก ผูกขาดและเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
ดร.ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เรียกความผิดพลาดในประการที่สองนี้ว่า เป็นผลสะท้อนกลับ (Feed back) กล่าวคือ ยิ่งมีมีความต้องการมาก ยิ่งทำให้ราคาถูกลง และยิ่งมีราคาถูกลงก็ยิ่งทำให้เกิดความต้องการมาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามีกระบวนการควบคุมและปรับตัวเองเกิดขึ้นในระบบ (Self Organization)
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนีเมื่อสิ้นปี 2556 เท่ากับ 11% ของราคาเมื่อ 22 ปีก่อน
ในเดือนตุลาคม 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ในกรุงเทพฯ) ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในราคากิโลวัตต์ละ 1.36 แสนบาท แต่ในกลางปี 2556 คณะกรรมการกิจการพลังงานได้ให้ข้อมูลว่ากิโลวัตต์ละ 6 หมื่นบาท ต่อมาจากเอกสาร “นโยบายพลังงาน” (ฉบับที่ 101 ค้นได้จากกูเกิล) มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะในปี 2557 ขนาด 40 กิโลวัตต์ๆ ละ 5 หมื่นบาทเท่านั้น
ผมเชื่อว่า การลดลงอย่างรวดเร็วมากของราคาดังกล่าวได้ทำให้คนที่ไม่ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจริงๆ จะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ แม้แต่คนที่อยู่ในวงการธุรกิจแผงโซลาร์เซลล์เองก็ตาม มันคล้ายๆ กับคนที่เชื่ออย่างตายตัวว่าล้อจักรยานต้องมีรูปวงกลมเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ตอบข้อซักถามของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อปลายเดือนมีนาคม 57 ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ว่า “ค่าไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูงที่ประมาณหน่วยละ 3 บาท บวกอีกประมาณ 8 บาท (ซึ่งเรียกว่า Adder) จึงทำให้ค่าไฟฟ้าแพง”
คำชี้แจงดังกล่าวได้สะท้อนถึงการตามไม่ทันสถานการณ์ที่เป็นจริงที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” ที่ประกาศจะรับซื้อในราคา 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ไม่ใช่ประมาณ 11 บาทที่ผู้บริหาร กฟผ.ชี้แจง
แต่โครงการนี้ของ กกพ.ก็ไปไม่ถึงไหนเพราะส่วนหนึ่งติดขัดระเบียบหยุมหยิมของกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่เรียกว่า รง 4) โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่า แผงโซลาร์เซลล์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ มีสภาพเป็นโรงงานทั้งๆ ที่ไม่มีเสียงดัง ไม่ปล่อยควัน และน้ำเสีย
ถ้าคิดกันแบบซื่อๆ ก็เพราะคิดไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ คิดแยกส่วน ไม่โยงใยกับสรรพสิ่งอื่นและตามไม่ทันโลก แต่ถ้าคิดกันแบบตุกติกก็น่าจะได้
ภาพสุดท้ายของบทความนี้ เป็นภาพที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 57 นี้เอง เป็นภาพบนหลังคาทำเนียบขาวในวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาครับ จะเรียกว่าเป็น “การเมืองเรื่องโซลาร์เซลล์ในทำเนียบขาว” ก็ว่าได้
เมื่อปี 2522 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ลงทุนจำนวน 32,000 เหรียญ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์พลังงานหลังจากกลุ่มโอเปกได้รวมตัวกันขึ้นราคาน้ำมันดิบประมาณ 400% ในประมาณปี 2516 (จริงๆ แล้วเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกจากการทำสงครามอินโดจีน)
แต่ในปี 2524 เมื่อประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ขึ้นมาก็ได้สั่งรื้อแผงโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ปรัชญาความเชื่อของเรแกนก็คือ “ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ”
จากเอกสารที่ชื่อว่า A Brief History of White House Solar Panels ยังได้กล่าวต่อไปว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งได้ยกเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้นมาหาเสียงได้ประกาศว่าเขาจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาทำเนียบขาวในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 แต่เพิ่งมาติดเสร็จเอาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2556
ทำไมมันนานจัง?
เจ้าหน้าที่ในทำเทียบขาวระบุว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันติดกัน ข่าวไม่ได้บอกว่าได้ลงทุนไปจำนวนเท่าใด แต่ระบุว่าจะได้ไฟฟ้าปีละ 19,700 หน่วย หรือเดือนละ 1,642 (หรือประมาณ 10 เท่าของบ้านผม) หน่วยและจะคุ้มทุนภายใน 8 ปี ในสหรัฐอเมริกา ทุกๆ 4 นาที อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และบ้านเรือนจะติดแผงโซลาร์เซลล์ 1 หลัง
มาถึงบทที่จะต้องสรุปครับ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า แผนพีดีพี 2013 มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ประมาณ 10-12 โรง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่หลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และชุมพร โดยทุกที่จะมีการคัดค้านจากจากชาวบ้าน เพราะชาวบ้านเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสุขภาพต่อพวกเขา ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า แต่เขาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทาง กฟผ.อ้างว่า แผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง กลางคืนไม่มีแสงแดดแล้วจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้ หรือเวลาฝนตกติดต่อกันหลายวันแล้วจะทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องเลือกถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีราคาถูกกว่า
วิธีคิดของ กฟผ.ก็คือ คิดแยกส่วน ไม่ได้สนใจความทุกข์ของชาวบ้าน โดยอ้างแบบข้างๆ คูๆ ว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
แต่ความจริงก็คือ (1) เห็นแล้วหรือยังว่าทั้งๆ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อยยังสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 8 ปี
(2) จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทั้งๆ ที่การไฟฟ้าฯ ไม่รับซื้อ (และลงทุนค่อนข้างแพง) แต่ผลตอบแทนที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้คิดเป็นร้อยละประมาณ 6% ต่อปี
(3) เยอรมนีเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงแดดประมาณ 60% ของไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากถึง 29,300 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าจำนวนนี้มากกว่าที่คนอีสานใน 20 จังหวัดและคนใต้ 14 จังหวัดใช้รวมกันเสียอีก
เรื่องฝนตกติดต่อกันหลายวัน เขามีวิธีแก้ไขครับ ใช้แสงแดดนี่แหละครับแต่ขออุบไว้ก่อน
สรุปอีกครั้งครับ “ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่!” ไม่ใช่ให้ชาวบ้านที่อ่อนแอกว่าต้องเสียสละอีกต่อไป
โดย...ประสาท มีแต้ม
ชื่อบทความนี้มาจากส่วนหนึ่งของคำนำในหนังสือ “ข่ายใยแห่งชีวิต (The Web of Life)” ซึ่งสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง เป็นผู้จัดแปลและพิมพ์ ผู้แต่งหนังสือชื่อ Fritjof Cabra (ด็อกเตอร์ทางฟิสิกส์ผู้โด่งดังไปทั่วจากหนังสือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” เมื่อ 40 ปีก่อน) สำหรับคำนำที่ผมยกมานี้เป็นย่อหน้าหนึ่งซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ประเวศ วะสี
ความทั้งหมดของย่อหน้านี้ยาว 3 บรรทัด คือ
“ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์ และพฤติกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ออกจากการเห็น และคิดแยกส่วนตายตัว มาเป็นเห็นความโยงใยของสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ผมไม่ได้ตั้งใจจะแนะนำหนังสือเล่มนี้นะครับ แต่ผมคิดว่าข้อความในชื่อบทความนั้นสอดคล้องกับเรื่องราวที่ผมได้เขียนถึงอยู่เป็นประจำคือ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่นับวันยิ่งเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นทั้งความหวังของคนทั้งโลกด้วย
บทความนี้ผมตั้งใจกล่าวถึง “โลกทัศน์” หรือทัศนะในการมองโลก แล้วตบท้ายด้วยข้อมูลจริงของสถานการณ์พลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน สาเหตุที่เราไม่ได้รับรู้กันก็เพราะว่า เราถูกสอน หรือถูกล้างสมองให้ “คิดแยกส่วนตายตัว” ดังที่ท่านอาจารย์ประเวศ ได้เกริ่นนำไว้
แต่ก่อนจะไปตรงนั้น ผมขอขอบคุณทางมูลนิธิโกมลคีมทองที่ได้กรุณาส่งหนังสือดีๆ มาให้ผมอ่านฟรีมานานครบ 10 ปีพอดี (นับจากปีที่ผมได้รับเชิญให้เป็นปาฐก “โกมล คีมทอง” ประจำปี 2547) ผมประมาณว่าน่าจะเกือบ 100 เล่มแล้ว “โกมล คีมทอง” เป็นชื่อครูในชนบทที่มีบทบาทเป็นนักกิจกรรม นักคิด นักอุดมการณ์เพื่อสังคมตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 แต่เขาได้ถูกฆ่าด้วยความเข้าใจผิดในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิโกมลคีมทอง ก็เพื่อกระตุ้นเตือน และสนับสนุนให้บุคคลมีความเสียสละเพื่อสังคม มีอุดมคติ เป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องตามแบบอย่างของครูโกมล คีมทอง ผู้สูญเสียชีวิตเมื่อปี 2514 ขณะอุทิศตนเป็นครูอยู่ในถิ่นทุรกันดาร หนังสือดีๆ ที่ผมได้รับอย่างสม่ำเสมอมายาวนานก็คือ “ใบเตือน” ที่มีค่ามากสำหรับผมครับ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
คราวนี้มาถึงเรื่องหลักที่ผมจะเขียนถึงครับ
ผมอยากจะกลับมาที่คำนำของท่านอาจารย์ประเวศ วะสี อีกครั้งครับ เอาเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การคิดแยกส่วนตายตัว” แทนที่จะคิดแบบ “ความโยงใยถึงสรรพสิ่งและคำนึงถึงทั้งหมด”
ถ้าพูดตามภาษาของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า (Fritjof Capra) ก็คือคนเรามักมีแนวโน้มที่จะคิดถึงแต่ “วัตถุ (object)” แทนที่จะคิดถึง “ความสัมพันธ์ (Relationship)” ระหว่างวัตถุนั้นๆ เวลาเจอกับปัญหาวิกฤตทางการเมืองในโลก คนเรามักจะมองปัญหาแบบแยกส่วนโดยไม่มีความสามารถพุ่งเป้าไปมองหาความสัมพันธ์ที่แท้จริงของส่วนต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ในระบบนิเวศวิทยา เหตุผลหนึ่งที่เราทำลายระบบนิเวศเพราะเราไม่มีความเข้าใจต่อระบบนิเวศอย่างดีพอ (คำว่า “นิเวศวิทยา(Ecology)” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “บ้าน”) นิเวศวิทยาจึงเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทุกสมาชิกในโลก
ผมเองโชคดีที่ศึกษา และสอนทางคณิตศาสตร์มาร่วม 40 ปี หัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์ก็คือเรื่องความสัมพันธ์นี่แหละครับ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมใช้สอนนักศึกษาในเรื่องการคิดอย่างเชื่อมโยงหรือ “โยงใย” (ในภาษาของอาจารย์ประเวศ) ก็คือ เรื่องล้อจักรยาน
เราได้ถูกทำให้มีความเชื่อว่าล้อจักรยานจะต้องเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเราก็เชื่อว่าล้อรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปสี่เหลี่ยมจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราคิดเช่นนี้ก็เพราะว่าเราคิดแบบแยกส่วน กล่าวคือ คิดถึงเฉพาะรูปทรงของล้อจักรยานเพียงอย่างเดียว แต่เราไม่ได้คิดถึงรูปทรงของถนนที่ต้องมีความสัมพันธ์กับรูปทรงของล้อจักรยานด้วย
ในทางคณิตศาสตร์แล้ว เราสามารถออกแบบล้อจักรยานให้มีรูปทรงใดๆ ก็ได้ จากนั้นเราก็สามารถออกแบบรูปทรงของถนนให้สอดรับกับรูปทรงของล้อจักรยานได้ โดยสามารถขับขี่ได้เรียบไม่กระโดกกระเดกขึ้นๆ ลงๆ สูงๆ ต่ำๆ
วิธีการออกแบบรูปทรงถนนก็คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างล้อกับถนนนั่นเอง โดยสรุปก็คือมันมีความเป็นไปได้สำหรับทุกรูปทรงของล้อ ไม่ว่าจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปกลีบดอกไม้ เป็นต้น
เพื่อความ “บันเทิง” ผมขอนำรูปมาให้ดูกันเล่นๆ ก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ (ตามสัญญา) ต่อไป
ภาพแรก ถ้าล้อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ถนนก็จะต้องออกแบบถนนให้เป็นรูปโค้งๆ ดังรูป
ถ้าล้อเป็นกลีบแบบนี้ ถนนก็จะเป็นฟันเลื่อย ดังรูป
และล้อเป็นดังรูปแปลกๆ ถนนก็จะแปลกๆ ดังรูป แต่ผมยืนยันว่าการเคลื่อนของจักรยานยังคงเรียบ โดยไม่กระโดกกระเดก หลักคิดของเรื่องนี้มาจากวิชาคณิตศาสตร์ครับ
ประเด็นที่ผมขอสรุปในตอนนี้ก็คือ เพราะเรามีความคิด หรือโลกทัศน์แบบแยกส่วน โดยไม่มีความสามารถที่จะไปทำความเข้าใจในความสัมพันธ์โยงใยระหว่างสิ่งที่เราสนใจกับสิ่งอื่นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เชื่อว่าล้อจักรยานที่มีรูปทรงต่างไปจากปัจจุบันจะเป็นไปได้จริง
คราวนี้กลับมาที่เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ครับ’
เมื่อวันที่ 17 เมษายน ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลได้ออกมาสารภาพในบทความของเขา (ที่ชื่อ Salvation Gets Cheap- การฟื้นฟูโลกมีราคาถูกลง) ว่า “ความคิดที่จะนำพลังงานลม และแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีบทบาทสำคัญนั้นเป็นความคิดของพวกสติเฟื่องของพวกฮิปปี้”
แต่แล้วเขาก็ได้ออกมายอมรับว่า “ความคิดของผมผิดไปแล้ว” (รูปข้างล่างนี้ไม่เกี่ยวกับพอล ครุกแมน แต่เนื้อหาตรงกันครับ)
สิ่งที่ทำให้ความคิดของพอล ครุกแมน ผิดพลาดไปเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ต่ำลงมาก และ (2) ความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่จะหนีออกจากวัฏจักรของพลังงานสกปรก ผูกขาดและเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
ดร.ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เรียกความผิดพลาดในประการที่สองนี้ว่า เป็นผลสะท้อนกลับ (Feed back) กล่าวคือ ยิ่งมีมีความต้องการมาก ยิ่งทำให้ราคาถูกลง และยิ่งมีราคาถูกลงก็ยิ่งทำให้เกิดความต้องการมาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามีกระบวนการควบคุมและปรับตัวเองเกิดขึ้นในระบบ (Self Organization)
ราคาแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนีเมื่อสิ้นปี 2556 เท่ากับ 11% ของราคาเมื่อ 22 ปีก่อน
ในเดือนตุลาคม 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ในกรุงเทพฯ) ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในราคากิโลวัตต์ละ 1.36 แสนบาท แต่ในกลางปี 2556 คณะกรรมการกิจการพลังงานได้ให้ข้อมูลว่ากิโลวัตต์ละ 6 หมื่นบาท ต่อมาจากเอกสาร “นโยบายพลังงาน” (ฉบับที่ 101 ค้นได้จากกูเกิล) มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะในปี 2557 ขนาด 40 กิโลวัตต์ๆ ละ 5 หมื่นบาทเท่านั้น
ผมเชื่อว่า การลดลงอย่างรวดเร็วมากของราคาดังกล่าวได้ทำให้คนที่ไม่ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจริงๆ จะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ แม้แต่คนที่อยู่ในวงการธุรกิจแผงโซลาร์เซลล์เองก็ตาม มันคล้ายๆ กับคนที่เชื่ออย่างตายตัวว่าล้อจักรยานต้องมีรูปวงกลมเท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ตอบข้อซักถามของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อปลายเดือนมีนาคม 57 ที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ว่า “ค่าไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูงที่ประมาณหน่วยละ 3 บาท บวกอีกประมาณ 8 บาท (ซึ่งเรียกว่า Adder) จึงทำให้ค่าไฟฟ้าแพง”
คำชี้แจงดังกล่าวได้สะท้อนถึงการตามไม่ทันสถานการณ์ที่เป็นจริงที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” ที่ประกาศจะรับซื้อในราคา 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ไม่ใช่ประมาณ 11 บาทที่ผู้บริหาร กฟผ.ชี้แจง
แต่โครงการนี้ของ กกพ.ก็ไปไม่ถึงไหนเพราะส่วนหนึ่งติดขัดระเบียบหยุมหยิมของกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่เรียกว่า รง 4) โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่า แผงโซลาร์เซลล์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ มีสภาพเป็นโรงงานทั้งๆ ที่ไม่มีเสียงดัง ไม่ปล่อยควัน และน้ำเสีย
ถ้าคิดกันแบบซื่อๆ ก็เพราะคิดไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ คิดแยกส่วน ไม่โยงใยกับสรรพสิ่งอื่นและตามไม่ทันโลก แต่ถ้าคิดกันแบบตุกติกก็น่าจะได้
ภาพสุดท้ายของบทความนี้ เป็นภาพที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 57 นี้เอง เป็นภาพบนหลังคาทำเนียบขาวในวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาครับ จะเรียกว่าเป็น “การเมืองเรื่องโซลาร์เซลล์ในทำเนียบขาว” ก็ว่าได้
เมื่อปี 2522 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ลงทุนจำนวน 32,000 เหรียญ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์พลังงานหลังจากกลุ่มโอเปกได้รวมตัวกันขึ้นราคาน้ำมันดิบประมาณ 400% ในประมาณปี 2516 (จริงๆ แล้วเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกจากการทำสงครามอินโดจีน)
แต่ในปี 2524 เมื่อประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ขึ้นมาก็ได้สั่งรื้อแผงโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ปรัชญาความเชื่อของเรแกนก็คือ “ให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ”
จากเอกสารที่ชื่อว่า A Brief History of White House Solar Panels ยังได้กล่าวต่อไปว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ซึ่งได้ยกเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้นมาหาเสียงได้ประกาศว่าเขาจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาทำเนียบขาวในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 แต่เพิ่งมาติดเสร็จเอาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2556
ทำไมมันนานจัง?
เจ้าหน้าที่ในทำเทียบขาวระบุว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยที่ชาวอเมริกันติดกัน ข่าวไม่ได้บอกว่าได้ลงทุนไปจำนวนเท่าใด แต่ระบุว่าจะได้ไฟฟ้าปีละ 19,700 หน่วย หรือเดือนละ 1,642 (หรือประมาณ 10 เท่าของบ้านผม) หน่วยและจะคุ้มทุนภายใน 8 ปี ในสหรัฐอเมริกา ทุกๆ 4 นาที อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และบ้านเรือนจะติดแผงโซลาร์เซลล์ 1 หลัง
มาถึงบทที่จะต้องสรุปครับ ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า แผนพีดีพี 2013 มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ประมาณ 10-12 โรง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่หลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และชุมพร โดยทุกที่จะมีการคัดค้านจากจากชาวบ้าน เพราะชาวบ้านเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสุขภาพต่อพวกเขา ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า แต่เขาคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทาง กฟผ.อ้างว่า แผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนสูง กลางคืนไม่มีแสงแดดแล้วจะเอาไฟฟ้าที่ไหนใช้ หรือเวลาฝนตกติดต่อกันหลายวันแล้วจะทำอย่างไร จึงจำเป็นต้องเลือกถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีราคาถูกกว่า
วิธีคิดของ กฟผ.ก็คือ คิดแยกส่วน ไม่ได้สนใจความทุกข์ของชาวบ้าน โดยอ้างแบบข้างๆ คูๆ ว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด”
แต่ความจริงก็คือ (1) เห็นแล้วหรือยังว่าทั้งๆ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ซึ่งมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อยยังสามารถคุ้มทุนได้ภายใน 8 ปี
(2) จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทั้งๆ ที่การไฟฟ้าฯ ไม่รับซื้อ (และลงทุนค่อนข้างแพง) แต่ผลตอบแทนที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้คิดเป็นร้อยละประมาณ 6% ต่อปี
(3) เยอรมนีเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงแดดประมาณ 60% ของไทย แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้มากถึง 29,300 ล้านหน่วยต่อปี ไฟฟ้าจำนวนนี้มากกว่าที่คนอีสานใน 20 จังหวัดและคนใต้ 14 จังหวัดใช้รวมกันเสียอีก
เรื่องฝนตกติดต่อกันหลายวัน เขามีวิธีแก้ไขครับ ใช้แสงแดดนี่แหละครับแต่ขออุบไว้ก่อน
สรุปอีกครั้งครับ “ถ้ามนุษย์จะมีสังคมที่เป็นสุข จะต้องมีโลกทัศน์และพฤติกรรมใหม่!” ไม่ใช่ให้ชาวบ้านที่อ่อนแอกว่าต้องเสียสละอีกต่อไป