ASTVผู้จัดการรายวัน-ประมูลสายสีเขียว(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วุ่น บมจ.ยูนิคฯ ร้องรฟม.กำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์ประมูลสองมาตรฐาน เข้าข่ายกีดกันให้มีผู้ยื่นแข่งขันได้น้อยราย ไม่ทบทวน จ่อชงป.ป.ช.ตรวจสอบ วงในเชื่อหลักเกณฑ์เปิดกว้างจริง แต่แอบล็อคสเปคเอื้อบางรายได้ จับตาบอร์ดรฟม. 22 พ.ค.นี้ ยืนตามเงื่อนไขเดิม
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่รฟม.ต้องเลื่อนการยื่นเอกสารประกวดราคางานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ออกไปจากเดิมที่กำหนดให้ยื่นวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมานั้น นอกจากมีเอกชนซื้อเอกสารจำนวนมากถึง 31 รายจึงทำให้มีคำถามข้อสงสัยเข้ามาที่ รฟม.จำนวนมากทำให้ชี้แจงไม่ทันแล้ว ยังมีประเด็นที่บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร้องเรียนว่า การกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขด้านเทคนิคในบางสัญญา มีลักษณะกีดกันให้มีผู้ยื่นแข่งขันได้น้อยราย ซึ่งบอร์ดได้ให้รฟม.รับไปดำเนินการแล้ว โดยยืนยันหลักการจัดทำทีโออาร์ที่พยายามเปิดกว้างให้มีเอกชนมากรายเข้าร่วมแข่งขันได้
แหล่งข่าวจากรฟม.กล่าวว่า ทาง บมจ.ยูนิคฯได้ทำหนังสืออร้องเรียนว่ารฟม.กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาไม่เป็นธรรม โดยหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการประกวดราคา และการให้คะแนนที่กำหนดรายได้เฉลี่ยจากการก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปี ไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน โดยสัญญาที่ 1 งานโยธา ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มูลค่างาน 14,021 ล้านบาทกำหนดรายได้เฉลี่ยจากการก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปีที่ 10,000 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธา ช่วงสะพานใหม่-คูคต มูลค่างาน 6,126 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 5,000 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ก่อสร้างงานโยธา ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาและอาคารจอดรถ มูลค่างาน 3,709 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 2,000 ล้านบาท และสัญญาที่ 4 งานออกแบบ จัดหาและติดตั้ง งานระบบรางรถไฟฟ้า มูลค่างาน 2,609 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 2,000 ล้านบาทนั้นไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เนื่องจากสัญญาที่1 กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปี ที่ 10,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.5 เท่าของมูลค่างาน ดังนั้น สัญญาที่ 2,3,4 ควรกำหนดกำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 4,000 ,2,500 และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ยังกำหนดหลักการให้คะแนนเต็ม สำหรับมูลค่างานในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองการให้เครดิตของธนาคารและหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งบ่งถึงความสามารถทางการเงินของผู้เสนอราคาที่ผ่านการกลั่นกรองของธนาคารซึ่งมีระบบกลั่นกรองเครดิตลูกค้าดีอยู่แล้ว การกำหนดหลักการให่คะแนนสำหรับมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้นจึงไม่จำเป็นอีกทั้งบริษัทรับเหมาไทยชที่มีมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย3 ปี ย้อนหลังมากกว่า 2,500 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 3 รายเท่านั้น คือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์,บมจ. ช.การช่าง และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จึงเป็นเหตุให้เชื่อว่า เป็นการเอื้อประโยชน์บางรายและกีดกันรับเหมารายอื่นๆ ที่มีความสามารถทำงานเสียโอกาส เป็นการจัดแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือกีดกันผู้เสนอราคาบางรายไม่ให้เข้าเสนอราคาได้
อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ดังนั้นจึงขอให้ทบทวนแก้ไขประกาศประกวดราคาดังกล่าว มิฉะนั้นจะร้องขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เข้ามาตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีในวงการผู้รับเหมาว่า การประมูลโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีมูลค่างานสูงหลายพันล้านบาท บางสัญญากว่าหมื่นล้านบาทนั้น ย่อมมีการแข่งขันสูง และปัจจุบันมีการเปิดกว้างให้บริษัทต่างชาติเข้าประมูลได้โดยร่วมทุนกับบริษัทไทย ในขณะที่การจัดสรรเพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแต่ละกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีมานานแล้ว โดยรฟม.ยืนยันกำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขด้านเทคนิคเปิดกว้างเต็มที่ ไม่ปิดกั้นหรือเอื้อให้รายใดรายหนึ่ง ให้เข้าร่วมได้หรือเข้าร่วมไม่ได้แน่นอน
ซึ่งกรณีคุณสมบัติและหลักการให้คะแนนของการประมูลสายสีเขียว(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 4 สัญญาที่ บมจ. ยูนิคฯ ร้องเรียนนั้นมีความซับซ้อนและมีความเป็นไปได้ที่จะผูกพันมาจากการประมูลสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งทางบมจ.ช.การช่างเป็นผู้รับงานทั้งสัญญางานโยธาและสัญญาวางราง ส่วนทางบมจ.อิตาเลียนไทย ได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคมในขณะนั้นแต่ไม่เป็นผล จึงต้องจับตากันต่อไปว่า สัญญา1 ที่มีมูลค่างานสูงที่สุดจะเป็นของ ผู้รับเหมารายใด
นอกจากนี้กรณีที่กำหนดผลงานมูลค่าสูงโดยอ้างเป็นการเปิดกว้างให้ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติได้นั้น ผู้รับเหมาไทยมีความกังวลมากเพราะมีกรณีตัวอย่าง จากการประมูลสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีการร่วมทุนกับบริษัทจีน แล้วเกิดปัญหาเข้าข่ายฮั้วเพราะบริษัทจีนส่วนใหญ่ มีรัฐบาลถือหุ้นเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่อยากเสี่ยงที่จะร่วมทุนกับบริษัทจีน อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงที่รฟม.จะยืนยันตามหลักเกณฑ์เดิม โดยบอร์ดรฟม.จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้
///
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่รฟม.ต้องเลื่อนการยื่นเอกสารประกวดราคางานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ออกไปจากเดิมที่กำหนดให้ยื่นวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมานั้น นอกจากมีเอกชนซื้อเอกสารจำนวนมากถึง 31 รายจึงทำให้มีคำถามข้อสงสัยเข้ามาที่ รฟม.จำนวนมากทำให้ชี้แจงไม่ทันแล้ว ยังมีประเด็นที่บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร้องเรียนว่า การกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขด้านเทคนิคในบางสัญญา มีลักษณะกีดกันให้มีผู้ยื่นแข่งขันได้น้อยราย ซึ่งบอร์ดได้ให้รฟม.รับไปดำเนินการแล้ว โดยยืนยันหลักการจัดทำทีโออาร์ที่พยายามเปิดกว้างให้มีเอกชนมากรายเข้าร่วมแข่งขันได้
แหล่งข่าวจากรฟม.กล่าวว่า ทาง บมจ.ยูนิคฯได้ทำหนังสืออร้องเรียนว่ารฟม.กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาไม่เป็นธรรม โดยหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการประกวดราคา และการให้คะแนนที่กำหนดรายได้เฉลี่ยจากการก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปี ไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน โดยสัญญาที่ 1 งานโยธา ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มูลค่างาน 14,021 ล้านบาทกำหนดรายได้เฉลี่ยจากการก่อสร้างของผู้เสนอราคาย้อนหลัง 3 ปีที่ 10,000 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธา ช่วงสะพานใหม่-คูคต มูลค่างาน 6,126 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 5,000 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ก่อสร้างงานโยธา ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาและอาคารจอดรถ มูลค่างาน 3,709 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 2,000 ล้านบาท และสัญญาที่ 4 งานออกแบบ จัดหาและติดตั้ง งานระบบรางรถไฟฟ้า มูลค่างาน 2,609 ล้านบาท กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 2,000 ล้านบาทนั้นไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เนื่องจากสัญญาที่1 กำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปี ที่ 10,000 ล้านบาท หรือเท่ากับ 2.5 เท่าของมูลค่างาน ดังนั้น สัญญาที่ 2,3,4 ควรกำหนดกำหนดรายได้ย้อนหลัง 3 ปีที่ 4,000 ,2,500 และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ยังกำหนดหลักการให้คะแนนเต็ม สำหรับมูลค่างานในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองการให้เครดิตของธนาคารและหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งบ่งถึงความสามารถทางการเงินของผู้เสนอราคาที่ผ่านการกลั่นกรองของธนาคารซึ่งมีระบบกลั่นกรองเครดิตลูกค้าดีอยู่แล้ว การกำหนดหลักการให่คะแนนสำหรับมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้นจึงไม่จำเป็นอีกทั้งบริษัทรับเหมาไทยชที่มีมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย3 ปี ย้อนหลังมากกว่า 2,500 ล้านบาทขึ้นไปมีเพียง 3 รายเท่านั้น คือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์,บมจ. ช.การช่าง และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จึงเป็นเหตุให้เชื่อว่า เป็นการเอื้อประโยชน์บางรายและกีดกันรับเหมารายอื่นๆ ที่มีความสามารถทำงานเสียโอกาส เป็นการจัดแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือกีดกันผู้เสนอราคาบางรายไม่ให้เข้าเสนอราคาได้
อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ดังนั้นจึงขอให้ทบทวนแก้ไขประกาศประกวดราคาดังกล่าว มิฉะนั้นจะร้องขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เข้ามาตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีในวงการผู้รับเหมาว่า การประมูลโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีมูลค่างานสูงหลายพันล้านบาท บางสัญญากว่าหมื่นล้านบาทนั้น ย่อมมีการแข่งขันสูง และปัจจุบันมีการเปิดกว้างให้บริษัทต่างชาติเข้าประมูลได้โดยร่วมทุนกับบริษัทไทย ในขณะที่การจัดสรรเพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแต่ละกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีมานานแล้ว โดยรฟม.ยืนยันกำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขด้านเทคนิคเปิดกว้างเต็มที่ ไม่ปิดกั้นหรือเอื้อให้รายใดรายหนึ่ง ให้เข้าร่วมได้หรือเข้าร่วมไม่ได้แน่นอน
ซึ่งกรณีคุณสมบัติและหลักการให้คะแนนของการประมูลสายสีเขียว(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 4 สัญญาที่ บมจ. ยูนิคฯ ร้องเรียนนั้นมีความซับซ้อนและมีความเป็นไปได้ที่จะผูกพันมาจากการประมูลสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งทางบมจ.ช.การช่างเป็นผู้รับงานทั้งสัญญางานโยธาและสัญญาวางราง ส่วนทางบมจ.อิตาเลียนไทย ได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคมในขณะนั้นแต่ไม่เป็นผล จึงต้องจับตากันต่อไปว่า สัญญา1 ที่มีมูลค่างานสูงที่สุดจะเป็นของ ผู้รับเหมารายใด
นอกจากนี้กรณีที่กำหนดผลงานมูลค่าสูงโดยอ้างเป็นการเปิดกว้างให้ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติได้นั้น ผู้รับเหมาไทยมีความกังวลมากเพราะมีกรณีตัวอย่าง จากการประมูลสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีการร่วมทุนกับบริษัทจีน แล้วเกิดปัญหาเข้าข่ายฮั้วเพราะบริษัทจีนส่วนใหญ่ มีรัฐบาลถือหุ้นเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่อยากเสี่ยงที่จะร่วมทุนกับบริษัทจีน อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงที่รฟม.จะยืนยันตามหลักเกณฑ์เดิม โดยบอร์ดรฟม.จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้
///