ASTVผู้จัดการรายวัน – ช.การช่าง ระบุพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านแท้ง แค่งานก่อสร้างล่าช้า สุดท้ายต้องสร้างอยู่ดี แถมลดปัญหาแรงงาน วัสดุขาดตลาด ยันไม่กระทบรายได้ เหตุมีแบ็กล็อกตุนในมือเกือบ 1.2 แสนล้านบาท สร้างรายได้ปี 57 กว่า 3 หมื่นล้านบาทแน่นอน เผยเตรียมยื่นประมูลงานใหม่ 8.6 หมื่นล้าน คาดได้งาน 20-25%
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CKกล่าวว่า แม้พระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะถูกศาลตัดสินว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้าง แต่จะไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัทอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีงานก่อสร้างรอรับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ในมือสูงถึง 112,473 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2559 และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่บริษัทไม่ต่ำกว่าปีละกว่า 30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีงานที่รอเซ็นสัญญาในปีนี้อีก ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น เฟส 2 มูลค่าประมาณ 4,750 ล้านบาท โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำบากใน สปป.ลาว มูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท มูลค่ารวม 21,750 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างเพิ่มเติมสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท และงานเพิ่มเติมอื่นๆในโครงการที่ดำเนินอยู่
สำหรับปี 2557 มีโครงการที่เตรียมยื่นประมูลอีก 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร 2. โครงการรถไฟทางคู่ คลอง 19 - แก่งคอย และ 3. โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 มูลค่ารวม 85,968 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดว่าจะได้งานประมาณ 20-25% ของมูลค่างานทั้งหมด
“การที่ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญ แค่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะไม่ทำแล้ว เพราะระบบสาธารณูปโภคถือเป็นความจำเป็นของประเทศ ดังนั้นไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการต่อเนื่อง แต่อาจจะต้องแยกออกมาทำเป็นรายโครงการ ซึ่งก็มีข้อดีไม่ทำให้ระบบอุตสาหกรรมก่อสร้างเสีย ไม่เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานทั้งระดับกรรมกรจนถึงระดับบริหาร ไม่เกิดการขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง จนราคาพุ่งขึ้นไปสูงมากเกินไป อย่างไรก็ดี เชื่อว่างานภาครัฐคงจะล่าช้าออกไปประมาณ 1 ปี หรือกรณีเลวร้ายสุด 3 ปี แต่เชื่อว่าภาพรวมงานในประเทศยังเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง” นายปลิวกล่าว
ขณะเดียวกันกลยุทธ์ของบริษัทที่ไม่ได้มุ่งหางานภาครัฐอย่างเดียว แต่ยังเน้นการลงทุนผ่านบริษัทในเครือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง โดยปัจจุบันมีรายได้จากบริษัทในเครือประมาณ 70% ขณะที่รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทแม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานภาครัฐประมาณ 30 % และหากแบ่งรายได้จากในและต่างประเทศ จะพบว่า รายได้จากต่างประเทศมีสูงถึง 60%
นายปลิว กล่าวต่อว่า บริษัทจะเข้าไปรุกตลาดรับงานก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการรับเหมาก่อสร้างและการลงทุนในสัมปทานที่ประเทศพม่าและสปป.ลาว ที่เห็นยังมีโอกาสเข้ารับงานได้สูง ซึ่งสปป.ลาวบริษัทมีชื่อเสียงและได้รับความไว้ว่างใจจากรัฐบาลลาวและเชื่อว่าจะได้งานอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศพม่ามองว่ามีโอกาสมาก เพราะยังขาดระบบสาธารณูปโภคเกือบอีกมหาศาล ทั้งระบบถนนหนทาง ระบบประปา รวมถึงการสร้างเขื่อน ขณะที่เวียดนามและกัมพูชาระบบสาธารณูปโภคจำเป็นน้อยกว่าพม่า
"ในพม่ารีบร้อนไม่ได้ ต้องมีกฎหมาย มีระบบธนาคาร ตลาดทุน ตลาดเสรีเกิดขึ้น แต่โอกาสงานมีเยอะ ถ้ารีบก็จะเกิดความเสี่ยง โครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่ทำแค่ 3-4 ปี ไทยพัฒนามา 40 ปีแล้วยังต้องทำต่อเนื่องดังนั้นจึงไม่รับร้อนแต่ก็ยังศึกษาติดตามอยู่ตลอดเวลา "นายปลิว กล่าว
นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CKกล่าวว่า แม้พระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะถูกศาลตัดสินว่าขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้าง แต่จะไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัทอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีงานก่อสร้างรอรับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ในมือสูงถึง 112,473 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 2559 และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่บริษัทไม่ต่ำกว่าปีละกว่า 30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีงานที่รอเซ็นสัญญาในปีนี้อีก ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น เฟส 2 มูลค่าประมาณ 4,750 ล้านบาท โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำบากใน สปป.ลาว มูลค่าประมาณ 17,000 ล้านบาท มูลค่ารวม 21,750 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างเพิ่มเติมสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท และงานเพิ่มเติมอื่นๆในโครงการที่ดำเนินอยู่
สำหรับปี 2557 มีโครงการที่เตรียมยื่นประมูลอีก 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร 2. โครงการรถไฟทางคู่ คลอง 19 - แก่งคอย และ 3. โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 มูลค่ารวม 85,968 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดว่าจะได้งานประมาณ 20-25% ของมูลค่างานทั้งหมด
“การที่ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญ แค่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะไม่ทำแล้ว เพราะระบบสาธารณูปโภคถือเป็นความจำเป็นของประเทศ ดังนั้นไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการต่อเนื่อง แต่อาจจะต้องแยกออกมาทำเป็นรายโครงการ ซึ่งก็มีข้อดีไม่ทำให้ระบบอุตสาหกรรมก่อสร้างเสีย ไม่เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานทั้งระดับกรรมกรจนถึงระดับบริหาร ไม่เกิดการขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง จนราคาพุ่งขึ้นไปสูงมากเกินไป อย่างไรก็ดี เชื่อว่างานภาครัฐคงจะล่าช้าออกไปประมาณ 1 ปี หรือกรณีเลวร้ายสุด 3 ปี แต่เชื่อว่าภาพรวมงานในประเทศยังเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง” นายปลิวกล่าว
ขณะเดียวกันกลยุทธ์ของบริษัทที่ไม่ได้มุ่งหางานภาครัฐอย่างเดียว แต่ยังเน้นการลงทุนผ่านบริษัทในเครือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง โดยปัจจุบันมีรายได้จากบริษัทในเครือประมาณ 70% ขณะที่รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทแม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานภาครัฐประมาณ 30 % และหากแบ่งรายได้จากในและต่างประเทศ จะพบว่า รายได้จากต่างประเทศมีสูงถึง 60%
นายปลิว กล่าวต่อว่า บริษัทจะเข้าไปรุกตลาดรับงานก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการรับเหมาก่อสร้างและการลงทุนในสัมปทานที่ประเทศพม่าและสปป.ลาว ที่เห็นยังมีโอกาสเข้ารับงานได้สูง ซึ่งสปป.ลาวบริษัทมีชื่อเสียงและได้รับความไว้ว่างใจจากรัฐบาลลาวและเชื่อว่าจะได้งานอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศพม่ามองว่ามีโอกาสมาก เพราะยังขาดระบบสาธารณูปโภคเกือบอีกมหาศาล ทั้งระบบถนนหนทาง ระบบประปา รวมถึงการสร้างเขื่อน ขณะที่เวียดนามและกัมพูชาระบบสาธารณูปโภคจำเป็นน้อยกว่าพม่า
"ในพม่ารีบร้อนไม่ได้ ต้องมีกฎหมาย มีระบบธนาคาร ตลาดทุน ตลาดเสรีเกิดขึ้น แต่โอกาสงานมีเยอะ ถ้ารีบก็จะเกิดความเสี่ยง โครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่ทำแค่ 3-4 ปี ไทยพัฒนามา 40 ปีแล้วยังต้องทำต่อเนื่องดังนั้นจึงไม่รับร้อนแต่ก็ยังศึกษาติดตามอยู่ตลอดเวลา "นายปลิว กล่าว