วานนี้ ( 7 พ.ค.) นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรวม.กลาโหม สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี จากกรณีโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ(สมช.) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ว่า การสิ้นภาพของรักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่กระทบต่อการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ที่กำลังจะมีขึ้น โดยหลังจากนี้ กกต. ยังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป และไม่ว่ารัฐมนตรีคนใดจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯ ถวายพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจากกกต.ไม่มีอำนาจทูลเกล้าฯ เองได้ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องรอหารือถึง การยกร่างพระราชกฤษฎีกา กับทางรัฐบาลอีกครั้ง
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริการงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้ เลือกตั้งเป็นตามกำหนดเดิม คือ ในวันที่ 20 ก.ค.นั้น กกต.กับรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จะต้องมีการหารือ และได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์ นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไป ตามลำดับ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณีศาลรธน. ตัดสินให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสภาพนายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ประเทศไทย ไม่มีนายกรัฐมนตรี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นั้นยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรี โดยอยู่ในส่วนของคณะรัฐมนตรี ที่ต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 แต่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตามมติของคณะรัฐมนตรี ที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อฯ ตามมาตรา 10 วรรคสี่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ 2534 แก้ไขเพิ่มเติม 2545
ซึ่งความเป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี มีข้อจำกัด เพราะยังไงก็ไม่ใช่ และไม่มีทางใช่นายกรัฐมนตรี
ข้อจำกัดสำคัญที่สุดคือ ไม่ใช่ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. เลือกตั้งทั่วไป 9 ธันวาคม 2556 ร่วมกับประธานกกต. ใน เมื่อไม่ใช่ผู้รักษาการฯ จึงไม่มีอำนาจมาเจรจากับกกต. เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพราะร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น คือ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขพ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไป 9 ธันวาคม 2556 ฉบับเดิมที่เสียไป เฉพาะวันเลือกตั้งทั่วไป วันเดิม 2 กุมภาพันธ์ 2557 เท่านั้น นอกจากจะไม่มีอำนาจเจรจากับกกต.แล้วยัง ไม่มีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการด้วย
นี่คือข้อเสียของการที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว แล้วทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เพราะแม้คณะรัฐมนตรี จะยังต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่ก็อยู่อย่างไม่มีนายกรัฐมนตรี มีแต่รองนายกรัฐมนตรี (หรือรัฐมนตรี) ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น มีข้อจำกัดมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่อยู่ระหว่างยุบสภา อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
" จุดอ่อนสำคัญที่สุด คือ นายนิวัฒน์ธำรง ไม่ใช่ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไปร่วมกับประธาน กกต. จึงไม่มีอำนาจเจรจากับกกต. เรื่องร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และไม่มีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคสอง จึงกำหนดให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยเร็วไงครับ" นายคำนูณ กล่าว
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรักษาการนายกรัฐมนตรี จะ สามารถนำพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ว่า ตามข้อกฎหมายจะถือว่า ผู้ที่ปฏิบัติราชการแทนผู้ใด สามารถมีดำเนินการได้ตามผู้นั้น ดังนั้นนายนิวัฒน์ธำรง สามารถทูลเกล้าฯ และเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการได้
"จากนี้ ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงต้องเร่งเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่อำนาจต่อรองของรัฐบาลชุดนี้จะลดลง และกกต. จะมีอำนาจในการต่อรอง ในเรื่องการจัดการเลือกตั้งมากขึ้น คาดว่ารัฐบาลน่าจะยอมตรงไหนที่ยอมได้ แต่ที่ต้องจับตาดูว่า ต่อไปนี้ กลุ่ม กปปส. จะกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้กันอย่างไร ในการชุมนุมใหญ่ จะกดดันกับรัฐบาลอย่างไรต่อไป แต่ก็มีคนติดใจเรื่องที่ว่า คนร้องมีการฟ้องเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี แต่เวลาศาลตัดสินให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พ้นไปทั้งคณะ โดยหลักแล้วการพิพากษาจะไม่นอกเหนือไปจากผู้ขอ แต่คิดว่าศาลคงมีข้อมูลเบื้องหลังว่า ใครเข้าร่วมประชุมบ้าง หรือมีใครโต้แย้งอย่างไรบ้าง คิดว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะหยิบเรื่องนี้ มาต่อสู้อ้างว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆไม่ได้มีโอกาสต่อสู้คดีทำไมต้องหลุดจากตำแหน่งไปด้วย" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากผลการหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต. ตกลงให้มีการเลือกตั้งแรงสวิงจะกลับไปที่พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ 2 เงื่อนไข คือ การเลือกตั้งต้องมีความเรียบร้อย และปลอดภัย และ ต้องมีหลักประกันในการปฏิรูปที่ชัดเจน เพียงแต่ว่า หากพรรคไม่ลงเลือกตั้ง ก็สุ่มเสี่ยงต่อการยุบพรรค ก็ต้องยอมแลกกัน เพราะหากในอีก 2 ปีข้างหน้ามีการเลือกตั้งใหม่แล้วพรรคลงเลือกตั้งก็ต้องมีชื่อพรรคใหม่ จะใช้ชื่อประชาธิปัตย์อีกไม่ได้ เป็นเรื่องที่พรรคต้องคิดให้หนักเหมือนกัน
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริการงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้ เลือกตั้งเป็นตามกำหนดเดิม คือ ในวันที่ 20 ก.ค.นั้น กกต.กับรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จะต้องมีการหารือ และได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์ นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไป ตามลำดับ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวถึงกรณีศาลรธน. ตัดสินให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสภาพนายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ประเทศไทย ไม่มีนายกรัฐมนตรี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นั้นยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรี โดยอยู่ในส่วนของคณะรัฐมนตรี ที่ต้องอยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 แต่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตามมติของคณะรัฐมนตรี ที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อฯ ตามมาตรา 10 วรรคสี่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ 2534 แก้ไขเพิ่มเติม 2545
ซึ่งความเป็นรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี มีข้อจำกัด เพราะยังไงก็ไม่ใช่ และไม่มีทางใช่นายกรัฐมนตรี
ข้อจำกัดสำคัญที่สุดคือ ไม่ใช่ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. เลือกตั้งทั่วไป 9 ธันวาคม 2556 ร่วมกับประธานกกต. ใน เมื่อไม่ใช่ผู้รักษาการฯ จึงไม่มีอำนาจมาเจรจากับกกต. เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพราะร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น คือ ร่าง พ.ร.ฎ.แก้ไขพ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไป 9 ธันวาคม 2556 ฉบับเดิมที่เสียไป เฉพาะวันเลือกตั้งทั่วไป วันเดิม 2 กุมภาพันธ์ 2557 เท่านั้น นอกจากจะไม่มีอำนาจเจรจากับกกต.แล้วยัง ไม่มีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการด้วย
นี่คือข้อเสียของการที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว แล้วทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เพราะแม้คณะรัฐมนตรี จะยังต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่ก็อยู่อย่างไม่มีนายกรัฐมนตรี มีแต่รองนายกรัฐมนตรี (หรือรัฐมนตรี) ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น มีข้อจำกัดมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่อยู่ระหว่างยุบสภา อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
" จุดอ่อนสำคัญที่สุด คือ นายนิวัฒน์ธำรง ไม่ใช่ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เลือกตั้งทั่วไปร่วมกับประธาน กกต. จึงไม่มีอำนาจเจรจากับกกต. เรื่องร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และไม่มีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคสอง จึงกำหนดให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยเร็วไงครับ" นายคำนูณ กล่าว
ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรักษาการนายกรัฐมนตรี จะ สามารถนำพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ว่า ตามข้อกฎหมายจะถือว่า ผู้ที่ปฏิบัติราชการแทนผู้ใด สามารถมีดำเนินการได้ตามผู้นั้น ดังนั้นนายนิวัฒน์ธำรง สามารถทูลเกล้าฯ และเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการได้
"จากนี้ ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงต้องเร่งเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่อำนาจต่อรองของรัฐบาลชุดนี้จะลดลง และกกต. จะมีอำนาจในการต่อรอง ในเรื่องการจัดการเลือกตั้งมากขึ้น คาดว่ารัฐบาลน่าจะยอมตรงไหนที่ยอมได้ แต่ที่ต้องจับตาดูว่า ต่อไปนี้ กลุ่ม กปปส. จะกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้กันอย่างไร ในการชุมนุมใหญ่ จะกดดันกับรัฐบาลอย่างไรต่อไป แต่ก็มีคนติดใจเรื่องที่ว่า คนร้องมีการฟ้องเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี แต่เวลาศาลตัดสินให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พ้นไปทั้งคณะ โดยหลักแล้วการพิพากษาจะไม่นอกเหนือไปจากผู้ขอ แต่คิดว่าศาลคงมีข้อมูลเบื้องหลังว่า ใครเข้าร่วมประชุมบ้าง หรือมีใครโต้แย้งอย่างไรบ้าง คิดว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะหยิบเรื่องนี้ มาต่อสู้อ้างว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆไม่ได้มีโอกาสต่อสู้คดีทำไมต้องหลุดจากตำแหน่งไปด้วย" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากผลการหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต. ตกลงให้มีการเลือกตั้งแรงสวิงจะกลับไปที่พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ 2 เงื่อนไข คือ การเลือกตั้งต้องมีความเรียบร้อย และปลอดภัย และ ต้องมีหลักประกันในการปฏิรูปที่ชัดเจน เพียงแต่ว่า หากพรรคไม่ลงเลือกตั้ง ก็สุ่มเสี่ยงต่อการยุบพรรค ก็ต้องยอมแลกกัน เพราะหากในอีก 2 ปีข้างหน้ามีการเลือกตั้งใหม่แล้วพรรคลงเลือกตั้งก็ต้องมีชื่อพรรคใหม่ จะใช้ชื่อประชาธิปัตย์อีกไม่ได้ เป็นเรื่องที่พรรคต้องคิดให้หนักเหมือนกัน