รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 60 แห่ง ได้จัดตั้งขึ้นเป็นส่วนมากในยุคสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และได้จัดตั้งต่อเนื่องหลังจากรัฐบาลดังกล่าว โดยรวมความได้ว่ารัฐวิสาหกิจเกือบทั้งหมดได้จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นทหาร
มีรัฐวิสาหกิจเพียงน้อยนิดที่จัดตั้งขึ้นในยุคที่รัฐบาลเป็นพลเรือน หรือบริหารบ้านเมืองโดยพรรคการเมือง
เพียงเท่านี้ก็น่าคิดว่าการบริหารบ้านเมืองโดยพรรคการเมืองนั้นมักจะมุ่งประโยชน์ในส่วนพรรคมากกว่าส่วนของประเทศชาติและประชาชน ยิ่งไม่ต้องพูดถึงปัจจุบันนี้ที่การบริหารโดยพรรคการเมืองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนครอบครัวเดียวเท่านั้น ในขณะที่ชาติบ้านเมืองและประชาชนพากันฉิบหายวายวอดหมด
รัฐวิสาหกิจมีทั้งหมดประมาณ 60 แห่ง มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 10 ล้านล้านบาท หรือมากกว่านั้น เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวยังไม่รวมหรือยังไม่ได้ตีราคาที่ดินที่รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นใช้สอยหรือได้มา และยังไม่รวมเอาสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ ที่ได้รับจากรัฐในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
ที่น่าแปลกใจก็คือ รัฐวิสาหกิจเกือบทั้งหมดมิได้มีการตีราคาเป็นทุนเรือนหุ้น จึงกลายเป็นทรัพย์สินนอกบัญชีหรือเป็นทรัพย์สินนอกระบบ จนอาจกล่าวได้ว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันแม้จะถือว่ากระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นมูลค่าเท่าใด แบ่งเป็นกี่หุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าใด มูลค่าที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด
รวมความก็คือ สินทรัพย์กว่า 10 ล้านล้านบาทของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเป็นสินทรัพย์นอกระบบและนอกบัญชี จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ความมั่งคั่งของประเทศหายไป 10 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย
หนทางปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่จะต้องดำเนินการเป็นเรื่องด่วนก็คือ จะต้องตีราคาสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งว่ามีมูลค่าเท่าใด เพื่อจะได้ทราบมูลค่าที่แท้จริงและต้องนำมูลค่าสินทรัพย์เหล่านั้นไปลงบัญชี ซึ่งขณะนี้ไม่มีบัญชีที่จะรองรับสินทรัพย์ดังกล่าว
กรณีจึงต้องทำการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2502 ซึ่งกฎหมายปัจจุบันล้าสมัยเต็มที และมีเฉพาะบัญชีที่เป็นตัวเงิน ไม่ว่าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 หรือบัญชีที่ 2 หรือที่ 3 หรือที่ 4 ก็ตาม
ดังนั้นจึงต้องแก้ไขกฎหมายเงินคงคลังดังกล่าวให้เพิ่มบัญชีพิเศษขึ้นอีกบัญชีหนึ่ง อาจจะใช้ชื่อว่าบัญชีสินทรัพย์คงคลัง และเมื่อมีการตีมูลค่าสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ก็ให้เอามูลค่านั้นในรูปของหุ้นก็ดี หรือในรูปของตราสารแสดงสิทธิ์ใดๆ ก็ดี มาเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล และลงบัญชีในบัญชีสินทรัพย์คงคลังนั้น
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สินทรัพย์นอกระบบหรือนอกบัญชีอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาทได้ถูกนำกลับเข้ามาในบัญชีเป็นสินทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาท
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยและรัฐบาลไทยมีหนี้สาธารณะประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท ระดับของหนี้ดังกล่าวกำลังทำให้ประเทศไทยใกล้ขีดล้มละลาย กระทบต่อฐานะและความเชื่อมั่นทั้งหลาย แต่เมื่อใดก็ตามที่บัญชีเงินคงคลังมีสินทรัพย์คงคลังเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้ประเทศไทยมีสินทรัพย์คงคลังมากกว่าหนี้สาธารณะถึง 2 เท่า
นั่นเป็นส่วนการปฏิรูปในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชี อยู่นอกระบบ และจัดให้เข้าระบบเสีย จากนั้นยังคงต้องปฏิรูปเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงของชาติบ้านเมืองในปัจจุบัน
เพราะมีการจัดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งไปสังกัดอยู่ในกระทรวงหรือส่วนราชการต่างๆ อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนักการเมืองและส่วนใหญ่ก็เป็นมหาโจรทางการเมือง เป็นเหตุให้งานในส่วนนโยบายและการกำกับดูแลไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นอกจากนั้นแต่ละรัฐวิสาหกิจก็มีคณะกรรมการเป็นองค์กรบริหาร ที่เกือบทั้งหมดตั้งมาจากข้าราชการที่เป็นลิ่วล้อบริหารหรือยอมเป็นมือเป็นไม้ให้กับนักการเมือง และได้ใช้รัฐวิสาหกิจในการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนและพวกพ้องอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้รัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์รวมกัน 10 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อยไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐ จากอดีตที่เคยมีรายได้เข้ากระทรวงการคลังปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ก็กลายเป็นรัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนกลับคืนไปประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปีเช่นเดียวกัน ยังไม่รวมถึงการก่อภาระค้ำประกันที่ผูกพันรัฐ อันเป็นข้อจำกัดการพัฒนาของรัฐบาลด้วย
ที่สำคัญคือ ภายใต้การกำกับของนักการเมืองและการจัดเอาลิ่วล้อบริวารหรือผู้ที่ยอมเป็นมือเป็นไม้มาเป็นคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจก็มีการวางคนลงเป็นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจนั้น ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นถูกฉ้อฉลปล้นสะดม จนกำลังพินาศวายวอดทั่วทั้งระบบอยู่ในขณะนี้
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิรูปการบริหารจัดการเสียใหม่ให้เป็นแบบทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ดังเช่นหลายประเทศได้ดำเนินการมาแล้วไม่ว่า ญี่ปุ่น จีน คูเวต ไต้หวัน เป็นต้น
นั่นคือจะต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้นบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจเป็นการเฉพาะ อาจจะใช้ชื่อเหมือนกับที่ประเทศต่างๆ เขาใช้ คือ “สำนักงานลงทุนแห่งชาติของราชอาณาจักรไทย”
ให้ตรากฎหมายฉบับหนึ่งโอนรัฐวิสาหกิจทั้งหมดมาขึ้นสังกัดสำนักงานลงทุนแห่งชาติ ให้ยุบเลิกคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด และให้ถือว่าคณะกรรมการสำนักงานลงทุนแห่งชาติคือคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
สำหรับสำนักงานลงทุนแห่งชาตินั้น ให้ถือเป็นองค์กรอิสระ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการ และให้มีกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่จ้างจากสถาบันการเงินระดับโลกจำนวน 10 คน จาก 10 สถาบัน เข้ามาเป็นกรรมการบริหาร
การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในลักษณะนี้เคยมีแบบอย่างเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศไทยให้ปรากฏมาแล้ว
การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นกรรมการสำนักงานลงทุนแห่งชาติเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไป โดยเฉพาะสำนักงานลงทุนแห่งชาติของคูเวตและสิงคโปร์
ประเทศคูเวตได้ตั้งสำนักงานลงทุนแห่งชาติไว้ที่กรุงลอนดอน พระราชาธิบดีทรงเป็นประธานคณะกรรมการ มีพระบรมราชวงศ์เป็นเลขานุการและรองประธาน จากนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก 10 กองทุนใหญ่ของโลก เป็นกรรมการบริหาร
คนทั้งหลายอาจจะเข้าใจว่ารายได้ลำดับหนึ่งของประเทศคูเวตมาจากการขุดและขายน้ำมัน แต่แท้จริงไม่ใช่ รายได้ลำดับแรกของประเทศคูเวตคือรายได้จากสำนักงานลงทุนแห่งชาติ ที่นอกจากลงทุนในประเทศแล้วยังลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย สร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำจำนวนมหาศาลแก่คูเวต
กิจการใดที่จำเป็นต่อประเทศ แต่ไม่มีใครทำ หรือทุนไม่พอ สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็เข้าไปทำหน้าที่ลงทุน กิจการใดจำเป็นต่อประเทศแต่เอกชนบริหารจัดการไม่ไหว สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู
สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศและในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ดีกว่าที่จะให้พวกอัปรีย์และจัญไรผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปล้นสะดมดังที่เป็นอยู่!
มีรัฐวิสาหกิจเพียงน้อยนิดที่จัดตั้งขึ้นในยุคที่รัฐบาลเป็นพลเรือน หรือบริหารบ้านเมืองโดยพรรคการเมือง
เพียงเท่านี้ก็น่าคิดว่าการบริหารบ้านเมืองโดยพรรคการเมืองนั้นมักจะมุ่งประโยชน์ในส่วนพรรคมากกว่าส่วนของประเทศชาติและประชาชน ยิ่งไม่ต้องพูดถึงปัจจุบันนี้ที่การบริหารโดยพรรคการเมืองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนครอบครัวเดียวเท่านั้น ในขณะที่ชาติบ้านเมืองและประชาชนพากันฉิบหายวายวอดหมด
รัฐวิสาหกิจมีทั้งหมดประมาณ 60 แห่ง มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 10 ล้านล้านบาท หรือมากกว่านั้น เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวยังไม่รวมหรือยังไม่ได้ตีราคาที่ดินที่รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นใช้สอยหรือได้มา และยังไม่รวมเอาสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ ที่ได้รับจากรัฐในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
ที่น่าแปลกใจก็คือ รัฐวิสาหกิจเกือบทั้งหมดมิได้มีการตีราคาเป็นทุนเรือนหุ้น จึงกลายเป็นทรัพย์สินนอกบัญชีหรือเป็นทรัพย์สินนอกระบบ จนอาจกล่าวได้ว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันแม้จะถือว่ากระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นมูลค่าเท่าใด แบ่งเป็นกี่หุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าใด มูลค่าที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด
รวมความก็คือ สินทรัพย์กว่า 10 ล้านล้านบาทของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเป็นสินทรัพย์นอกระบบและนอกบัญชี จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ความมั่งคั่งของประเทศหายไป 10 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อย
หนทางปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่จะต้องดำเนินการเป็นเรื่องด่วนก็คือ จะต้องตีราคาสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งว่ามีมูลค่าเท่าใด เพื่อจะได้ทราบมูลค่าที่แท้จริงและต้องนำมูลค่าสินทรัพย์เหล่านั้นไปลงบัญชี ซึ่งขณะนี้ไม่มีบัญชีที่จะรองรับสินทรัพย์ดังกล่าว
กรณีจึงต้องทำการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2502 ซึ่งกฎหมายปัจจุบันล้าสมัยเต็มที และมีเฉพาะบัญชีที่เป็นตัวเงิน ไม่ว่าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 หรือบัญชีที่ 2 หรือที่ 3 หรือที่ 4 ก็ตาม
ดังนั้นจึงต้องแก้ไขกฎหมายเงินคงคลังดังกล่าวให้เพิ่มบัญชีพิเศษขึ้นอีกบัญชีหนึ่ง อาจจะใช้ชื่อว่าบัญชีสินทรัพย์คงคลัง และเมื่อมีการตีมูลค่าสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ก็ให้เอามูลค่านั้นในรูปของหุ้นก็ดี หรือในรูปของตราสารแสดงสิทธิ์ใดๆ ก็ดี มาเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล และลงบัญชีในบัญชีสินทรัพย์คงคลังนั้น
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สินทรัพย์นอกระบบหรือนอกบัญชีอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาทได้ถูกนำกลับเข้ามาในบัญชีเป็นสินทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาท
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยและรัฐบาลไทยมีหนี้สาธารณะประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท ระดับของหนี้ดังกล่าวกำลังทำให้ประเทศไทยใกล้ขีดล้มละลาย กระทบต่อฐานะและความเชื่อมั่นทั้งหลาย แต่เมื่อใดก็ตามที่บัญชีเงินคงคลังมีสินทรัพย์คงคลังเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 ล้านล้านบาท ก็จะทำให้ประเทศไทยมีสินทรัพย์คงคลังมากกว่าหนี้สาธารณะถึง 2 เท่า
นั่นเป็นส่วนการปฏิรูปในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชี อยู่นอกระบบ และจัดให้เข้าระบบเสีย จากนั้นยังคงต้องปฏิรูปเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงของชาติบ้านเมืองในปัจจุบัน
เพราะมีการจัดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งไปสังกัดอยู่ในกระทรวงหรือส่วนราชการต่างๆ อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนักการเมืองและส่วนใหญ่ก็เป็นมหาโจรทางการเมือง เป็นเหตุให้งานในส่วนนโยบายและการกำกับดูแลไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นอกจากนั้นแต่ละรัฐวิสาหกิจก็มีคณะกรรมการเป็นองค์กรบริหาร ที่เกือบทั้งหมดตั้งมาจากข้าราชการที่เป็นลิ่วล้อบริหารหรือยอมเป็นมือเป็นไม้ให้กับนักการเมือง และได้ใช้รัฐวิสาหกิจในการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนและพวกพ้องอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้รัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์รวมกัน 10 ล้านล้านบาทเป็นอย่างน้อยไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐ จากอดีตที่เคยมีรายได้เข้ากระทรวงการคลังปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ก็กลายเป็นรัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนกลับคืนไปประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปีเช่นเดียวกัน ยังไม่รวมถึงการก่อภาระค้ำประกันที่ผูกพันรัฐ อันเป็นข้อจำกัดการพัฒนาของรัฐบาลด้วย
ที่สำคัญคือ ภายใต้การกำกับของนักการเมืองและการจัดเอาลิ่วล้อบริวารหรือผู้ที่ยอมเป็นมือเป็นไม้มาเป็นคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจก็มีการวางคนลงเป็นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจนั้น ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นถูกฉ้อฉลปล้นสะดม จนกำลังพินาศวายวอดทั่วทั้งระบบอยู่ในขณะนี้
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิรูปการบริหารจัดการเสียใหม่ให้เป็นแบบทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ดังเช่นหลายประเทศได้ดำเนินการมาแล้วไม่ว่า ญี่ปุ่น จีน คูเวต ไต้หวัน เป็นต้น
นั่นคือจะต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้นบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจเป็นการเฉพาะ อาจจะใช้ชื่อเหมือนกับที่ประเทศต่างๆ เขาใช้ คือ “สำนักงานลงทุนแห่งชาติของราชอาณาจักรไทย”
ให้ตรากฎหมายฉบับหนึ่งโอนรัฐวิสาหกิจทั้งหมดมาขึ้นสังกัดสำนักงานลงทุนแห่งชาติ ให้ยุบเลิกคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด และให้ถือว่าคณะกรรมการสำนักงานลงทุนแห่งชาติคือคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
สำหรับสำนักงานลงทุนแห่งชาตินั้น ให้ถือเป็นองค์กรอิสระ ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการ และให้มีกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่จ้างจากสถาบันการเงินระดับโลกจำนวน 10 คน จาก 10 สถาบัน เข้ามาเป็นกรรมการบริหาร
การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในลักษณะนี้เคยมีแบบอย่างเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศไทยให้ปรากฏมาแล้ว
การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นกรรมการสำนักงานลงทุนแห่งชาติเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไป โดยเฉพาะสำนักงานลงทุนแห่งชาติของคูเวตและสิงคโปร์
ประเทศคูเวตได้ตั้งสำนักงานลงทุนแห่งชาติไว้ที่กรุงลอนดอน พระราชาธิบดีทรงเป็นประธานคณะกรรมการ มีพระบรมราชวงศ์เป็นเลขานุการและรองประธาน จากนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก 10 กองทุนใหญ่ของโลก เป็นกรรมการบริหาร
คนทั้งหลายอาจจะเข้าใจว่ารายได้ลำดับหนึ่งของประเทศคูเวตมาจากการขุดและขายน้ำมัน แต่แท้จริงไม่ใช่ รายได้ลำดับแรกของประเทศคูเวตคือรายได้จากสำนักงานลงทุนแห่งชาติ ที่นอกจากลงทุนในประเทศแล้วยังลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย สร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำจำนวนมหาศาลแก่คูเวต
กิจการใดที่จำเป็นต่อประเทศ แต่ไม่มีใครทำ หรือทุนไม่พอ สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็เข้าไปทำหน้าที่ลงทุน กิจการใดจำเป็นต่อประเทศแต่เอกชนบริหารจัดการไม่ไหว สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู
สำนักงานลงทุนแห่งชาติก็จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศและในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ดีกว่าที่จะให้พวกอัปรีย์และจัญไรผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปล้นสะดมดังที่เป็นอยู่!