การทุจริตคอร์รัปชันเป็นมะเร็งร้ายของแผ่นดินที่กัดกร่อนการบริหารราชการแผ่นดินให้พังพินาศลง ล้างผลาญงบประมาณแผ่นดิน ทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผล ทำร้ายจิตวิญญาณผู้คนและข้าราชการให้กลายเป็นอาชญากรที่ปล้นสะดมบ้านเมืองและราษฎรอย่างอำมหิต
ระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของชาติประสบความล้มเหลวอย่างยับเยิน จนการทุจริตคอร์รัปชันงอกเงยเต็มไปทั้งแผ่นดิน และทำให้เหล่าคนชั่วฮึกเหิมลำพอง ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง ตั้งหน้าโกงบ้านกินเมืองกันอย่างอึกทึกครึกโครม
กระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกลายเป็นกระบวนการปกป้องคุ้มครองการทุจริตแห่งชาติ มีเรื่องราวการทุจริตคอร์รัปชันเต็มล้นจนคดีจำนวนมากขาดอายุความ และจำนวนมากก็ได้แต่นั่งดูตาปริบๆ ปล่อยให้บ้านเมืองถูกโกงอย่างหน้าตาเฉย แม้ว่าจะมีการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดก็ได้แต่ลม เพราะไม่สามารถได้รับการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ เนื่องจากผู้รับผิดตายบ้าง ไม่มีทรัพย์สินชดใช้ให้แก่รัฐบ้าง จึงเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
ตัวอย่างทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่รู้เห็นอยู่เต็มอกว่าโกงกันทุกขั้นทุกตอนตลอดโครงการ เห็นเต็มตาเป็นเวลากว่าสองปีก็ทำอะไรไม่ได้ จนชาติบ้านเมืองขาดทุนย่อยยับอย่างน้อย 425,000 ล้านบาท เป็นความเสียหายใหญ่หลวงครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศที่ปล้นสะดมกันต่อหน้าต่อตา
เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งนักการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่โกงกันจนอ้วนตัวเป็นขน แสดงบัญชีทรัพย์สินร่ำรวยมหาศาล ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอาชีพหรือรายได้อันควรแก่ฐานะที่เป็นอยู่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยง่ายจากแบบแสดงรายการเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี 10 ปี ก็ยังปล่อยให้อวดร่ำอวดรวยอวดโกงกันทั้งบ้านทั้งเมือง
กระบวนการแจ้งและตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน กระบวนการหยุดยั้งการทุจริตคอร์รัปชันและกระบวนการเอาผิดกับคนโกงไร้ประสิทธิภาพเกือบจะสิ้นเชิง ไม่คุ้มค่า ไม่บังเกิดประโยชน์อันสมควร จึงจำเป็นจะต้องปฏิรูปกันเป็นการใหญ่ที่สุดดังนี้
ประการแรก ต้องปฏิรูประบบการตรวจสอบทรัพย์สินเสียใหม่ จากระบบที่ ป.ป.ช.ต้องเป็นฝ่ายตรวจสอบพิสูจน์ เป็นระบบที่ผู้ที่มีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติต้องพิสูจน์ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน โดยวิธีการคือ
(1) เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดร่ำรวยผิดปกติ ให้อายัดบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของผู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ถือในนามตนเอง หรือในนามบุคคลอื่น ยกเว้นสังหาริมทรัพย์ให้ทำการยึดไว้ และให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ที่มีหน้าที่เก็บรักษา
(2) ความร่ำรวยผิดปกติหมายถึง การมีทรัพย์สินมากกว่ารายได้ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีย้อนหลัง 10 ปี
(3) ผู้ใดถูกอายัดทรัพย์สิน ผู้นั้นต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนการดำรงตำแหน่ง หรือได้มาโดยไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ภายใน 120 วัน ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
(4) ถ้าทรัพย์สินใดพิสูจน์ว่าได้มาโดยชอบ ให้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ต่อไปว่าการได้มานั้นได้เสียภาษีถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ ถ้ายังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ก็ให้หักค่าภาษีค้างพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับเป็นค่าภาษีก่อน ทรัพย์สินที่เหลือให้คืนไป
(5) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้าทรัพย์สินที่แจ้งเบาะแสนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีทะเบียน และสามารถยึดเป็นของแผ่นดิน ให้ผู้แจ้งเบาะแสได้รับเงินสินบน 20% ของเงินที่ตกเป็นของแผ่นดินและให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
(6) ให้ตรวจสอบบัญชีแสดงทรัพย์สินของข้าราชการระดับรองอธิบดีขึ้นไป หรือรองผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจขึ้นไป และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันแสดงแบบรายการทรัพย์สิน ในการนี้ ป.ป.ช.อาจว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินด้วยก็ได้ โดยต้องมีกรรมการ ป.ป.ช.อย่างน้อย 3 คน เป็นผู้กำกับดูแล
ประการที่สอง ให้อำนาจแก่ ป.ป.ช.ในการสั่งหยุดโครงการหรือการดำเนินการใดๆ ของหน่วยงานรัฐไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าหน่วยงานของรัฐนั้นจะได้พิสูจน์ให้ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามิได้มีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ โดยต้องพิสูจน์ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน เพื่อการนี้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิสูจน์ ไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร
ถ้าโครงการหรือการดำเนินการใดที่มีการทุจริตคอร์รัปชันหรือประพฤติมิชอบ ป.ป.ช.มีอำนาจสั่งหยุด สั่งเลิก หรือสั่งเปลี่ยนแปลงโครงการนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการชี้มูลความผิดต่อไป
ประการที่สาม ปฏิรูประบบการสืบสวนสอบสวนและการไต่สวนของ ป.ป.ช.ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต หรือละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนจำนวน 9 คน ประกอบด้วยกรรมการ ป.ป.ช.อย่างน้อย 2 คน และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์อีก 7 คน รวมเป็น 9 คน ทำการไต่สวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 180 วัน เมื่อทำการไต่สวนเสร็จแล้วให้ทำรายงานเสนอ ป.ป.ช.เพื่อชี้มูลความผิด
(2) เมื่อมีการชี้มูลความผิด ให้ส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อดำเนินการถอดถอน และให้ฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 60 วัน ในการฟ้องคดีต่อศาลดังกล่าว ป.ป.ช.จะให้อัยการเป็นผู้ฟ้องคดีหรือจะว่าจ้างทนายความเป็นผู้ฟ้องคดีก็ได้ตามที่เห็นสมควร
(3) ผู้ใดถูกชี้มูลความผิด ให้ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าได้กระทำการโดยชอบด้วยอำนาจหน้าที่และชอบด้วยกฎหมาย ตามหลักปรัชญากฎหมายสมัยใหม่ที่ว่า ผู้ใดครองข้อมูล ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ เช่นเดียวกับคดีความผิดในการสำแดงเท็จตามกฎหมายฝ่ายศุลกากร หรือคดีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยื่นพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ เพื่อพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำความผิด
(5) เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดถูกชี้มูลว่ากระทำความผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และห้ามมิให้ผู้นั้นใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือมีสิทธิในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนกว่าคดีจะถึงที่สุดด้วย
(6) ในกรณีที่ ป.ป.ช.เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ให้ ป.ป.ช.มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และห้ามมิให้ผู้นั้นจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินใดๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดด้วย
ประการที่สี่ ต้องยกเลิกการผูกขาดคุณสมบัติของกรรมการ ป.ป.ช.ที่ผูกขาดไว้สำหรับข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ โดยกำหนดคุณสมบัติให้ต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช.โดยให้ประกาศรายนามผู้ที่มีความประสงค์จะดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.โดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์โต้แย้ง คัดค้าน และวิธีการนี้ให้ใช้สำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.ด้วย สำหรับอนุกรรมการไต่สวนนั้นให้ประกาศรับสมัครโดยเปิดเผย และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสคัดค้านโต้แย้งอย่างเต็มที่ อนุกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยคะแนนเสียงเกินครึ่ง
หากได้ปฏิรูปในลักษณะเช่นนี้ก็เป็นที่มั่นใจว่า จะสามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนับแต่ประเทศไทยเคยมีองค์กรแบบนี้มา!
ระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของชาติประสบความล้มเหลวอย่างยับเยิน จนการทุจริตคอร์รัปชันงอกเงยเต็มไปทั้งแผ่นดิน และทำให้เหล่าคนชั่วฮึกเหิมลำพอง ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง ตั้งหน้าโกงบ้านกินเมืองกันอย่างอึกทึกครึกโครม
กระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกลายเป็นกระบวนการปกป้องคุ้มครองการทุจริตแห่งชาติ มีเรื่องราวการทุจริตคอร์รัปชันเต็มล้นจนคดีจำนวนมากขาดอายุความ และจำนวนมากก็ได้แต่นั่งดูตาปริบๆ ปล่อยให้บ้านเมืองถูกโกงอย่างหน้าตาเฉย แม้ว่าจะมีการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดก็ได้แต่ลม เพราะไม่สามารถได้รับการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ เนื่องจากผู้รับผิดตายบ้าง ไม่มีทรัพย์สินชดใช้ให้แก่รัฐบ้าง จึงเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า
ตัวอย่างทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่รู้เห็นอยู่เต็มอกว่าโกงกันทุกขั้นทุกตอนตลอดโครงการ เห็นเต็มตาเป็นเวลากว่าสองปีก็ทำอะไรไม่ได้ จนชาติบ้านเมืองขาดทุนย่อยยับอย่างน้อย 425,000 ล้านบาท เป็นความเสียหายใหญ่หลวงครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศที่ปล้นสะดมกันต่อหน้าต่อตา
เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งนักการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่โกงกันจนอ้วนตัวเป็นขน แสดงบัญชีทรัพย์สินร่ำรวยมหาศาล ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอาชีพหรือรายได้อันควรแก่ฐานะที่เป็นอยู่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยง่ายจากแบบแสดงรายการเสียภาษีย้อนหลัง 5 ปี 10 ปี ก็ยังปล่อยให้อวดร่ำอวดรวยอวดโกงกันทั้งบ้านทั้งเมือง
กระบวนการแจ้งและตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน กระบวนการหยุดยั้งการทุจริตคอร์รัปชันและกระบวนการเอาผิดกับคนโกงไร้ประสิทธิภาพเกือบจะสิ้นเชิง ไม่คุ้มค่า ไม่บังเกิดประโยชน์อันสมควร จึงจำเป็นจะต้องปฏิรูปกันเป็นการใหญ่ที่สุดดังนี้
ประการแรก ต้องปฏิรูประบบการตรวจสอบทรัพย์สินเสียใหม่ จากระบบที่ ป.ป.ช.ต้องเป็นฝ่ายตรวจสอบพิสูจน์ เป็นระบบที่ผู้ที่มีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติต้องพิสูจน์ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน โดยวิธีการคือ
(1) เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดร่ำรวยผิดปกติ ให้อายัดบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของผู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ถือในนามตนเอง หรือในนามบุคคลอื่น ยกเว้นสังหาริมทรัพย์ให้ทำการยึดไว้ และให้กรมธนารักษ์เป็นผู้ที่มีหน้าที่เก็บรักษา
(2) ความร่ำรวยผิดปกติหมายถึง การมีทรัพย์สินมากกว่ารายได้ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีย้อนหลัง 10 ปี
(3) ผู้ใดถูกอายัดทรัพย์สิน ผู้นั้นต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนการดำรงตำแหน่ง หรือได้มาโดยไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ภายใน 120 วัน ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
(4) ถ้าทรัพย์สินใดพิสูจน์ว่าได้มาโดยชอบ ให้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ต่อไปว่าการได้มานั้นได้เสียภาษีถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ ถ้ายังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ก็ให้หักค่าภาษีค้างพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับเป็นค่าภาษีก่อน ทรัพย์สินที่เหลือให้คืนไป
(5) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้าทรัพย์สินที่แจ้งเบาะแสนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีทะเบียน และสามารถยึดเป็นของแผ่นดิน ให้ผู้แจ้งเบาะแสได้รับเงินสินบน 20% ของเงินที่ตกเป็นของแผ่นดินและให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
(6) ให้ตรวจสอบบัญชีแสดงทรัพย์สินของข้าราชการระดับรองอธิบดีขึ้นไป หรือรองผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจขึ้นไป และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันแสดงแบบรายการทรัพย์สิน ในการนี้ ป.ป.ช.อาจว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินด้วยก็ได้ โดยต้องมีกรรมการ ป.ป.ช.อย่างน้อย 3 คน เป็นผู้กำกับดูแล
ประการที่สอง ให้อำนาจแก่ ป.ป.ช.ในการสั่งหยุดโครงการหรือการดำเนินการใดๆ ของหน่วยงานรัฐไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าหน่วยงานของรัฐนั้นจะได้พิสูจน์ให้ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามิได้มีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ โดยต้องพิสูจน์ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน เพื่อการนี้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิสูจน์ ไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร
ถ้าโครงการหรือการดำเนินการใดที่มีการทุจริตคอร์รัปชันหรือประพฤติมิชอบ ป.ป.ช.มีอำนาจสั่งหยุด สั่งเลิก หรือสั่งเปลี่ยนแปลงโครงการนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการชี้มูลความผิดต่อไป
ประการที่สาม ปฏิรูประบบการสืบสวนสอบสวนและการไต่สวนของ ป.ป.ช.ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบ หรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต หรือละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนจำนวน 9 คน ประกอบด้วยกรรมการ ป.ป.ช.อย่างน้อย 2 คน และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์อีก 7 คน รวมเป็น 9 คน ทำการไต่สวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 180 วัน เมื่อทำการไต่สวนเสร็จแล้วให้ทำรายงานเสนอ ป.ป.ช.เพื่อชี้มูลความผิด
(2) เมื่อมีการชี้มูลความผิด ให้ส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อดำเนินการถอดถอน และให้ฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 60 วัน ในการฟ้องคดีต่อศาลดังกล่าว ป.ป.ช.จะให้อัยการเป็นผู้ฟ้องคดีหรือจะว่าจ้างทนายความเป็นผู้ฟ้องคดีก็ได้ตามที่เห็นสมควร
(3) ผู้ใดถูกชี้มูลความผิด ให้ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าได้กระทำการโดยชอบด้วยอำนาจหน้าที่และชอบด้วยกฎหมาย ตามหลักปรัชญากฎหมายสมัยใหม่ที่ว่า ผู้ใดครองข้อมูล ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ เช่นเดียวกับคดีความผิดในการสำแดงเท็จตามกฎหมายฝ่ายศุลกากร หรือคดีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยื่นพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ เพื่อพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำความผิด
(5) เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดถูกชี้มูลว่ากระทำความผิด ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และห้ามมิให้ผู้นั้นใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือมีสิทธิในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนกว่าคดีจะถึงที่สุดด้วย
(6) ในกรณีที่ ป.ป.ช.เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ให้ ป.ป.ช.มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และห้ามมิให้ผู้นั้นจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินใดๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดด้วย
ประการที่สี่ ต้องยกเลิกการผูกขาดคุณสมบัติของกรรมการ ป.ป.ช.ที่ผูกขาดไว้สำหรับข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ โดยกำหนดคุณสมบัติให้ต้องเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช.โดยให้ประกาศรายนามผู้ที่มีความประสงค์จะดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.โดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์โต้แย้ง คัดค้าน และวิธีการนี้ให้ใช้สำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.ด้วย สำหรับอนุกรรมการไต่สวนนั้นให้ประกาศรับสมัครโดยเปิดเผย และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสคัดค้านโต้แย้งอย่างเต็มที่ อนุกรรมการ ป.ป.ช.จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยคะแนนเสียงเกินครึ่ง
หากได้ปฏิรูปในลักษณะเช่นนี้ก็เป็นที่มั่นใจว่า จะสามารถป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนับแต่ประเทศไทยเคยมีองค์กรแบบนี้มา!