วานนี้ (17เม.ย.) นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต. ) กล่าวภายหลังการประชุม กกต. ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณากรอบการหารือที่ กกต.จะนำไปหารือกับพรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย. เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสม โดยจะมีการเสนอกรอบเวลา พร้อมกับเหตุผลให้กับพรรคการเมืองได้พิจารณา โดยกกต.เห็นว่าควรมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายใน 60 วัน นับแต่พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่มีผลบังคับใช้ รวมทั้งจะบอกถึงการแก้ไขระเบียบฯ ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค ทำให้การเลือกตั้งไม่สำเร็จ ซึ่งก็น่าจะเป็นไปตามที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้งเสนอก่อนหน้านี้
โดยขณะนี้มี 42 พรรคการเมือง ตอบรับเข้าร่วมประชุมแล้ว แต่ยังขาดพรรคการเมืองใหญ่ อย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการประสานงาน จึงอยากขอเชิญหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้มาร่วมประชุม เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่งานของกกต. แต่เป็นงานของประเทศ อีกทั้งหน้าที่ของพรรคการเมืองคือ การต้องส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จึงควรที่จะได้มาพูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน
อย่างไรก็ตาม หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมประชุมหารือกฎหมาย ก็ไม่ให้อำนาจ กกต.หรือนายทะเบียนพรรคการเมืองไปสั่งการอะไร และโดยข้อเท็จจริงแล้ว กกต.สามารถพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งได้เอง แต่ ที่เชิญทุกพรรคการเมืองมาหารือ เพราะ กกต.ให้เกียรติ อยากจะรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเมื่อประชุมแล้วเสียงส่วนใหญ่ของพรรคการเมืองเห็นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่า กกต.ต้องดำเนินการตามนั้น แต่จะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าสอดคล้องกับความเห็นของฝ่ายความมั่นคงหรือไม่ ก่อนที่จะเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสม และหารือกับรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตามที่ประชุมกกต.วันนี้ ยังมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 3 รายด้วย
เมื่อถามว่า ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ออกแถลงการณ์จี้ให้กกต.เร่งจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว และระบุว่า มีกกต.คนหนึ่งมีพฤติเอนเอียง ที่เข้าข่ายดำเนินคดีได้ นายศุภชัย กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า “ เขามาสั่งไม่ได้หรอก เพราะอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าเขาจะดำเนินคดีอาญาก็ทำไป ไม่ได้หวั่นไหวอะไร”
**พท.พร้อมดีเบตปชป.-ยอมถ่ายทอดสด
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมระหว่าง กกต. กับรัฐบาล และพรรคการเมืองต่างๆ ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหาต่อการที่จะมี หรือไม่มีถ่ายทอดสดการประชุมดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ กกต.ในฐานะผู้จัดการประชุมต้องพิจารณา โดยเบื้องต้นทราบมาว่า ทางกกต.ก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ก็สามารถที่จะติดต่อขอ เข้าทำการถ่ายทอดสดได้
ส่วนเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้พรรคเพื่อไทยส่งตัวแทนไปดีเบตนั้น ก็ไม่มีความขัดข้อง เพียงแต่เวทีในวันที่ 22 เม.ย.นั้นเป็นการจัดของ กกต. หากพรรคประชาธิปัตย์ต้องการดีเบตจริง ก็สามารถนัดหมายวัน เวลา และสถานที่มายังพรรคเพื่อไทยได้ โดยทางพรรคจะเตรียมบุคลากรในระดับแกนนำ ที่มีความรู้ความสามารถและสามารถตัดสินใจทิศทางของพรรคเข้าร่วมการดีเบตดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง โพสต์ ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า คาดการณ์ว่าจะมีการจัดเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้นั้น พรรคเพื่อไทยเห็นว่า ในสถานการณ์ที่เข้าข่ายสุญญากาศทางการเมืองในปัจจุบัน มีความจำเป็น ที่ต้องเร่งให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และไม่ควรเกิน 60 วัน นับจากนี้ เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตย สามารถเดินหน้าต่อไปได้
นายอนุสรณ์ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึง การสไกป์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาว่า ยังมีความพยายามผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อต้องการให้ได้คืนทรัพย์สินที่ถูกอายัด 4.6 หมื่นล้านบาท ว่า ขอยืนยันว่าเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถือว่าจบไปแล้ว และทางพรรคเพื่อไทย ไม่มีนโยบายเรื่องนี้แต่อย่างใด อีกทั้งในการสไกป์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่มีข้อความใด ที่แสดงว่าต้อง
การให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม หรือต้องการอยากได้เงินคืนใดๆ การแสดงความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์์ ในเรื่องนี้ ถือเป็นการยืนยันอีกครั้งว่า นายอภิสิทธิ์ ดีแต่พูด และยังก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนกระแสข่าวว่าสมาชิกพรรคเพื่อไทย เตรียมบินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เกาะฮ่องกง ในช่วงสุดสัปดาห์นี้นั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก การที่คนในพรรคเพื่อไทยจะไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ซึ่งไม่เหมือนนักการเมืองต่างพรรคบางคน เคยไปรอแล้วไม่ได้พบ
“อยากถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เดือดร้อน หรือตื่นเต้นอะไรกับการมีคนไปรดน้ำอดีตนายกรัฐมนตรี ผมว่าพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเอาเวลาไปตัดสินใจว่าจะลงเลือกตั้ง หรือจะบอยคอตการเลือกตั้ง เพื่อสร้างสุญญากาศให้บ้านเมืองดีกว่า”นายอนุสรณ์ กล่าว
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ขอฝากถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการที่จะไปคุยกับ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารกิจการเลือกตั้ง ที่จริงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดสดเลย แต่หากนายอภิสิทธิ์ อยากจะถ่ายทอด ก็ไปนั่งคุยกับนายสมชัย สองต่อสอง ก็ตกลงกันว่า จะเลือกตั้งวันไหน เอาที่ประชาธิปัตย์สบายใจว่า ลงเลือกตั้งแล้วจะมีคนเลือก หรือมีโอกาสจะชนะ ก็เอากันเต็มที่ไปเลย เพราะพรรคการเมือง 70 กว่าพรรค ต้องการเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว หากประสานขออำนวยความสะดวกเรื่องการถ่ายทอดสด ผมก็พร้อมประสานให้ ถ้ามีโอกาสทำได้ ทั้งนี้ อยู่ที่สิทธิของสื่อแต่ละช่องด้วย" นายสุรพงษ์ กล่าว
**"มาร์ค"เตือน "สมชัย"ระมัดระวัง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมากล่าวเตือน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านการบริหารจัดการเลือกตั้ง ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ควรมีความระมัดระวังในฐานะ กกต. เพราะการแสดงออกในลักษณะที่ตอบโต้ หรือเป็นเสมือนเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนั้น คงไม่เหมาะสม เกรงว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนบางกลุ่ม กล่าวหาโจมตีว่าเลือกข้างได้ ทั้งนี้ เชื่อว่ากกต. ทุกคน พยายามจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยง ธรรม แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน จึงขอให้กำลังใจ และให้มีความอดทน กับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมือง ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่า คืบหน้าไปมาก ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำเป็นรายงาน เพื่อเชื่อมโยงกับนโยบายต่างๆ ที่ได้มีการปรับปรุง ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ต้องดู และแก้ปัญหาคือ ผลพวงที่เกิดขึ้นจากประชานิยม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่ละนโยบาย เช่น กรณี จำนำข้าว ที่ต้องสะสาง ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินชาวนาเท่านั้น แต่จะช่วยชาวนาต่ออย่างไร รวมถึงสภาพตลาดข้าว สถานภาพของข้าวไทย และข้าวที่อยู่ในการครอบครองของรัฐ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร และเรื่องที่ใหญ่กว่านั้นคือ ถ้าเราจะหยุดยั้งปัญหาประชานิยม โดยต้องหาวิธีการช่วยเหลือประชาชนคนยากคนจนอย่างเป็นระบบ อาจต้องมีการรื้อหลายอย่างกันครั้งใหญ่ เพื่อให้สามารถที่จะทำให้รัฐบาล หรือรัฐ มีเครื่องมือในการที่จะช่วยเหลือคนยากคนจนได้อย่างตรงเป้า เมื่อรัฐบาลใช้นโยบายที่แบบเหมารวมไป สุดท้ายนโยบายเหล่านี้ ก็ไปช่วยลดปัญหาความยากจน แต่ก็ช่วยคนที่ไม่ได้จนไปด้วย ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มมาก จึงต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้รัฐ มีทั้งกลไก มีทั้งข้อมูล ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่เดือดร้อน หรือยากจนได้ตรงเป้ามากขึ้น พร้อมกับการลดทรัพยากรที่รัฐจะต้องใช้ในการทำเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ต้องรั่วไหลไปสู่คนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องช่วยเหลือ
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่า ประชาชนเสพติดประชานิยมไปแล้วนั้น ตนคิดว่า เป็นเรื่องปกติที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย เป็นธรรมชาติที่เขาก็อยากจะได้ประโยชน์ต่อ ไม่ขอตำหนิใดๆ แต่ว่าส่วนที่น่ากลัวกว่านั้น คือ พรรคการเมือง หรือรัฐบาล ก็ติดประชานิยมเหมือนกัน เพราะว่า 1. ทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ที่ให้คุณ ให้โทษได้ มีอำนาจมากขึ้น ทำให้ประชาชนต้องหวังมาพึ่งพิงมากขึ้น ซึ่งอันนี้คือปัญหาที่ต้องแก้ไข หนึ่งในประเด็นคือ กกต. สามารถที่จะใช้อำนาจหน้าที่ของตัวเองตามกฎหมาย ออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีการหาเสียงได้ ในเรื่องเหล่านี้
โดยขณะนี้มี 42 พรรคการเมือง ตอบรับเข้าร่วมประชุมแล้ว แต่ยังขาดพรรคการเมืองใหญ่ อย่างพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการประสานงาน จึงอยากขอเชิญหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้มาร่วมประชุม เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่งานของกกต. แต่เป็นงานของประเทศ อีกทั้งหน้าที่ของพรรคการเมืองคือ การต้องส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จึงควรที่จะได้มาพูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน
อย่างไรก็ตาม หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมประชุมหารือกฎหมาย ก็ไม่ให้อำนาจ กกต.หรือนายทะเบียนพรรคการเมืองไปสั่งการอะไร และโดยข้อเท็จจริงแล้ว กกต.สามารถพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งได้เอง แต่ ที่เชิญทุกพรรคการเมืองมาหารือ เพราะ กกต.ให้เกียรติ อยากจะรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเมื่อประชุมแล้วเสียงส่วนใหญ่ของพรรคการเมืองเห็นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่า กกต.ต้องดำเนินการตามนั้น แต่จะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าสอดคล้องกับความเห็นของฝ่ายความมั่นคงหรือไม่ ก่อนที่จะเสนอวันเลือกตั้งที่เหมาะสม และหารือกับรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตามที่ประชุมกกต.วันนี้ ยังมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 3 รายด้วย
เมื่อถามว่า ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ออกแถลงการณ์จี้ให้กกต.เร่งจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว และระบุว่า มีกกต.คนหนึ่งมีพฤติเอนเอียง ที่เข้าข่ายดำเนินคดีได้ นายศุภชัย กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า “ เขามาสั่งไม่ได้หรอก เพราะอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าเขาจะดำเนินคดีอาญาก็ทำไป ไม่ได้หวั่นไหวอะไร”
**พท.พร้อมดีเบตปชป.-ยอมถ่ายทอดสด
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมระหว่าง กกต. กับรัฐบาล และพรรคการเมืองต่างๆ ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหาต่อการที่จะมี หรือไม่มีถ่ายทอดสดการประชุมดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ กกต.ในฐานะผู้จัดการประชุมต้องพิจารณา โดยเบื้องต้นทราบมาว่า ทางกกต.ก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ก็สามารถที่จะติดต่อขอ เข้าทำการถ่ายทอดสดได้
ส่วนเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้พรรคเพื่อไทยส่งตัวแทนไปดีเบตนั้น ก็ไม่มีความขัดข้อง เพียงแต่เวทีในวันที่ 22 เม.ย.นั้นเป็นการจัดของ กกต. หากพรรคประชาธิปัตย์ต้องการดีเบตจริง ก็สามารถนัดหมายวัน เวลา และสถานที่มายังพรรคเพื่อไทยได้ โดยทางพรรคจะเตรียมบุคลากรในระดับแกนนำ ที่มีความรู้ความสามารถและสามารถตัดสินใจทิศทางของพรรคเข้าร่วมการดีเบตดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง โพสต์ ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า คาดการณ์ว่าจะมีการจัดเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้นั้น พรรคเพื่อไทยเห็นว่า ในสถานการณ์ที่เข้าข่ายสุญญากาศทางการเมืองในปัจจุบัน มีความจำเป็น ที่ต้องเร่งให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และไม่ควรเกิน 60 วัน นับจากนี้ เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตย สามารถเดินหน้าต่อไปได้
นายอนุสรณ์ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึง การสไกป์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาว่า ยังมีความพยายามผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อต้องการให้ได้คืนทรัพย์สินที่ถูกอายัด 4.6 หมื่นล้านบาท ว่า ขอยืนยันว่าเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถือว่าจบไปแล้ว และทางพรรคเพื่อไทย ไม่มีนโยบายเรื่องนี้แต่อย่างใด อีกทั้งในการสไกป์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่มีข้อความใด ที่แสดงว่าต้อง
การให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม หรือต้องการอยากได้เงินคืนใดๆ การแสดงความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์์ ในเรื่องนี้ ถือเป็นการยืนยันอีกครั้งว่า นายอภิสิทธิ์ ดีแต่พูด และยังก้าวไม่พ้น พ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนกระแสข่าวว่าสมาชิกพรรคเพื่อไทย เตรียมบินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เกาะฮ่องกง ในช่วงสุดสัปดาห์นี้นั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก การที่คนในพรรคเพื่อไทยจะไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ซึ่งไม่เหมือนนักการเมืองต่างพรรคบางคน เคยไปรอแล้วไม่ได้พบ
“อยากถามว่า พรรคประชาธิปัตย์เดือดร้อน หรือตื่นเต้นอะไรกับการมีคนไปรดน้ำอดีตนายกรัฐมนตรี ผมว่าพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเอาเวลาไปตัดสินใจว่าจะลงเลือกตั้ง หรือจะบอยคอตการเลือกตั้ง เพื่อสร้างสุญญากาศให้บ้านเมืองดีกว่า”นายอนุสรณ์ กล่าว
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ขอฝากถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการที่จะไปคุยกับ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารกิจการเลือกตั้ง ที่จริงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดสดเลย แต่หากนายอภิสิทธิ์ อยากจะถ่ายทอด ก็ไปนั่งคุยกับนายสมชัย สองต่อสอง ก็ตกลงกันว่า จะเลือกตั้งวันไหน เอาที่ประชาธิปัตย์สบายใจว่า ลงเลือกตั้งแล้วจะมีคนเลือก หรือมีโอกาสจะชนะ ก็เอากันเต็มที่ไปเลย เพราะพรรคการเมือง 70 กว่าพรรค ต้องการเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว หากประสานขออำนวยความสะดวกเรื่องการถ่ายทอดสด ผมก็พร้อมประสานให้ ถ้ามีโอกาสทำได้ ทั้งนี้ อยู่ที่สิทธิของสื่อแต่ละช่องด้วย" นายสุรพงษ์ กล่าว
**"มาร์ค"เตือน "สมชัย"ระมัดระวัง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมากล่าวเตือน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านการบริหารจัดการเลือกตั้ง ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ควรมีความระมัดระวังในฐานะ กกต. เพราะการแสดงออกในลักษณะที่ตอบโต้ หรือเป็นเสมือนเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนั้น คงไม่เหมาะสม เกรงว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนบางกลุ่ม กล่าวหาโจมตีว่าเลือกข้างได้ ทั้งนี้ เชื่อว่ากกต. ทุกคน พยายามจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยง ธรรม แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน จึงขอให้กำลังใจ และให้มีความอดทน กับสิ่งที่เกิดขึ้น
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมือง ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่า คืบหน้าไปมาก ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำเป็นรายงาน เพื่อเชื่อมโยงกับนโยบายต่างๆ ที่ได้มีการปรับปรุง ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ต้องดู และแก้ปัญหาคือ ผลพวงที่เกิดขึ้นจากประชานิยม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่ละนโยบาย เช่น กรณี จำนำข้าว ที่ต้องสะสาง ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินชาวนาเท่านั้น แต่จะช่วยชาวนาต่ออย่างไร รวมถึงสภาพตลาดข้าว สถานภาพของข้าวไทย และข้าวที่อยู่ในการครอบครองของรัฐ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร และเรื่องที่ใหญ่กว่านั้นคือ ถ้าเราจะหยุดยั้งปัญหาประชานิยม โดยต้องหาวิธีการช่วยเหลือประชาชนคนยากคนจนอย่างเป็นระบบ อาจต้องมีการรื้อหลายอย่างกันครั้งใหญ่ เพื่อให้สามารถที่จะทำให้รัฐบาล หรือรัฐ มีเครื่องมือในการที่จะช่วยเหลือคนยากคนจนได้อย่างตรงเป้า เมื่อรัฐบาลใช้นโยบายที่แบบเหมารวมไป สุดท้ายนโยบายเหล่านี้ ก็ไปช่วยลดปัญหาความยากจน แต่ก็ช่วยคนที่ไม่ได้จนไปด้วย ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มมาก จึงต้องคิดว่า จะทำอย่างไรให้รัฐ มีทั้งกลไก มีทั้งข้อมูล ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่เดือดร้อน หรือยากจนได้ตรงเป้ามากขึ้น พร้อมกับการลดทรัพยากรที่รัฐจะต้องใช้ในการทำเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ต้องรั่วไหลไปสู่คนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องช่วยเหลือ
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่า ประชาชนเสพติดประชานิยมไปแล้วนั้น ตนคิดว่า เป็นเรื่องปกติที่ได้ประโยชน์จากนโยบาย เป็นธรรมชาติที่เขาก็อยากจะได้ประโยชน์ต่อ ไม่ขอตำหนิใดๆ แต่ว่าส่วนที่น่ากลัวกว่านั้น คือ พรรคการเมือง หรือรัฐบาล ก็ติดประชานิยมเหมือนกัน เพราะว่า 1. ทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ที่ให้คุณ ให้โทษได้ มีอำนาจมากขึ้น ทำให้ประชาชนต้องหวังมาพึ่งพิงมากขึ้น ซึ่งอันนี้คือปัญหาที่ต้องแก้ไข หนึ่งในประเด็นคือ กกต. สามารถที่จะใช้อำนาจหน้าที่ของตัวเองตามกฎหมาย ออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีการหาเสียงได้ ในเรื่องเหล่านี้