ASTVผู้จัดการรายวัน- " ประจิน" ประธานบอร์ดการบินไทย เร่งแผนแก้ปัญหาองค์กรเสร็จใน 6 เดือน พาสายการบินแห่งชาติผงาดขึ้นที่หนึ่งในอาเซียน ยันยังไม่แปรรูป ยอมรับ 2 ไตรมาสปี57 ขาดทุนต่อเนื่อง ขอแรงผู้บริหารและพนง.ร่วมมือกันนำพาบริษัทฝ่าวิกฤตมั่นใจปีนี้พลิกเป็นกำไร และปีหน้าตั้งเป้ากำไรไว้ที่ 4,500 ล้านบาท "บรรยง"อดีตบอร์ดฯ ชี้ต้องอุดรั่่วไหลจัดซื้อ การเมืองเลิกล้วงลูก ส่วนทีดีอาร์ไอ แนะตั้งมืออาชีพนั่งบอร์ดฯแทนระบบโควต้า
วานนี้ (17 เม.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย (สร.การบินไทย) ได้จัดเสวนา"ฝ่าวิกฤติการบินไทย จะรอดอย่างไร? ใครกำหนด?"โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดการเสวนา โดยได้ร่วมรับทุกฝ่ายและมุมมองนักวิชาการผู้มีประสบการณ์การบริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อตอบโจทย์และหาแนวทางการพัฒนาและการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เนื่องจากทุกครั้งที่การบินไทยเกิดวิกฤติ ทั้งผลประกอบการ การบริหารจัดการและธรรมาภิบาล ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเหมือนไม่มีทางออกสำหรับสายการบินแห่งชาติในการดำรงอยู่ต่อไปอย่างมั่นคง เพื่อให้เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเหมือนในอดีต
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การบินไทยสูญเสียโอกาสในการแข่งขันมาหลายปี ในวันนี้ยืนยันว่าต้องรักษาให้เป็นสายการบินแห่งชาติที่สามารถแข่งขันได้ในรูปแบบรัฐวิสาหกินที่เป็นบริษัทมหาชนต่อไป เพราะการบินไทยตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง เป็นภาพลักษณ์ของประเทศที่จะสื่อถึงวัฒนธรรมต่างๆ โดยอาจจะต้องใช้เวลาปรับปรุงแก้ไขปัญหา 6 เดือน -1 ปี หรืออาจจะถึง 1 ปีครึ่ง เพื่อให้กลับมาเป็นที่หนึ่งของภูมิภาค ฃ
ส่วนอนาคตจะปรับปรุงหรือจะแปรรูปหรือไม่ ต้องหารือกับทั้งผู้ถือหุ้น พนักงานบริษัทฯ สหภาพฯ อีกครั้ง ข้อเสนอแนะในการเสวนาจะเป็นตัวกระตุ้นที่ดีซึ่งเรื่องเร่งด่วนคือทุกคนในบริษัทต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา
โดยใน 6 เดือนนับจากเดือนมีนาคม จะกำหนดแผนปรับปรุงและกลยุทธ์ที่จะทำให้การบินไทยกลับมาเป็นที่หนึ่งในภูมิภาคอาเซียนแล้วเสร็จ ซึ่งจะเห็นแผนชัดเจนว่าในระยะสั้นช่วง 6เดือน-1 ปี ต้องทำอะไรบ้าง ระยะกลางใน 3-5 ปี ทำอะไร ซึ่งในวันนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของพนักงานและฝ่ายบริหารการบินไทยที่จะร่วมมือกัน เพราะเข้าใจว่าฝ่ายการเมืองเองได้ให้โอกาส
หากสามารถพิสูจน์ผลงานได้ เชื่อว่าการเมืองจะไม่เข้ามาและปล่อยให้การบินไทยทำงานด้วยตัวเอง เชื่อว่าหลังจากนี้ 6 เดือนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ส่วนกรณีที่สหภาพฯ เรียกร้องให้นายอำพน กิตติอำพน ออกจากบอร์ดฯนั้น ได้ขี้แจงสหภาพฯแล้วว่า ตามขั้นตอนนายอำพน ได้รับเสนอชื่อเข้ามาเป็นบอร์ดอีกครั้ง และในฐานะที่เพิ่งได้แต่งตั้งเป็นประธานบอร์ดฯต้องการแก้ปัญหาองค์กรก่อน จะแก้ขัดแย้งตัวบุคคลทันทีคงไม่เหมาะ และประธานบอร์ดฯคงไม่มีสิทธิ์บังคับให้ใครออกได้ ต้องเป็นความสมัครใจของคนๆนั้น
"ปัญหาที่ผ่านมาคงแก้ไขไม่ได้ กรณีที่ตั้งข้าราชการมาเป็นบอร์ดฯแล้วไม่มีเวลาทำงานไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่อยู่ที่จะให้เวลากับการบริหารการบินไทยเท่าไร ไม่ใช่รู้ตัวว่ามีข้อจำกัดแต่ยังมาเป็นบอร์ดฯ แต่ก็ไม่ใล่ จะไม่ให้โอกาสข้าราชการ"
พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ผลประกอบการใน 3 เดือนแรกปี2557 (ม.ค.-มี.ค.) ยังติดลบและจะมีผลกระทบไปถึงไตรมาส 2/2557 (เม.ย.-มิ.ย.) แน่นอน แต่ยังคาดหวังว่าในไตรมาส 3/2557 ช่วงเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว(High Season) และ ไตรมาส 4/2557 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว สถานการณ์ด้านท่องเที่ยวจะดีขึ้นซึ่งบริษัทต้องเพิ่มโอกาสการขายเพื่อเพิ่มรายได้ควบคุมค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบริการ สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย เชื่อมั่นหากฝ่ายบริหารและพนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใน ภายใน 2 เดือนนี้ และอีก 2 ไตรมาสที่เหลือจะมีกำไรมาชดเชยขาดทุนใน 2 ไตรมาสแรก ซึ่งคาดว่าทั้งปี 57 จะไม่ขาดทุน โดยตั้งเป้ากำไรทั้งปีไว้ที่
100 ล้านบาท โดยยังคงแผนปลดระวางเครื่องบินกว่า 10 ลำในปีนี้ ซึ่งขึ้นกับว่าจะหาผู้ซื้อได้หรือไม่
ส่วนปี 2558 ตั้งเป้ากำไรที่ 4,500 ล้านบาท โดยจะแก้ปัญหา เพื่อลดการสูญเสียจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากผลงานในปี 2556 พบว่า การขายตั๋วเป็นเงินกว่า 50 สกุลและแลกกลับมาเป็น 4 สกุลหลักทำให้สูญเสียจากอัตราแลกเปลี่ยน 4,000-5,000 ล้านบาท เชื่อว่าหากบริหารให้ดีจะไม่เกิดการสูญเสียอีกรวมถึงลดค่าใข้จ่ายและเพิ่มรายได้จากการขายตั๋วอีก5-10% ของที่นั่งจากปัจจุบัน60% ให้เป็น 65-70%
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า การบินไทยมีการบริหารที่อ่อนแอ ขาดกลยุทธ์ระยะสั้น และต้นทุนไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเปรียบเทียบเส้นทางภายในประเทศต่อกิโลเมตร การบินไทยอยู่ที่ 3.60 บาท บางกอกแอร์เวย์ 3.10 บาท นกแอร์ 2.40 บาท แอร์เอเชีย 1.65 บาท
เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเดียวที่แข่งขันโดยสมบูรณ์ไม่มีสิทธิพิเศษ ภายหลังเปิดเสรีการบิน แต่ยังคงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบรัฐวิสาหกิจจึงไม่คล่องตัว มีการแต่งตั้งบอร์ดโดยเป็นข้าราชการประจำและผู้ทรงคุณวุฒิตามโอกาสของนักการเมือง ฝ่ายละครึ่ง และบอร์ดลงไปช่วยบริหารหรือล้วงลูกมากเกินควร ซึ่งไม่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่อยู่ในระดับโลกทั้งสิ้น
นอกจากนี้ การบินไทยยังมีปัญหารั่วไหลจากการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่คล่องตัวตามภาวะตลาด,ต้องประมูล,ต้องผ่านเอเย่นต์,ซื้อเป็นรายปีครั้งละมากๆ ,การต้องใช้ระเบียบสำนักนายกฯ ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าสายการบินที่มีแผนจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เช่น การบินไทยจัดซื้อปีละ 4 หมื่นล้านบาท สายการบินอื่นจะใช้เงินเพียง 6,000-10,000 ล้านบาทเท่านั้น
การเป็นรัฐวิสาหกินทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอ เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายไม่ได้มาจากผลงานแต่มาจากเป็นคนของใคร ซึ่งขณะนี้หลายสายการบินเดินหน้าแปรรูปเป็นเอกชนโดยสมบูรณ์
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งของการบินไทย คือ โครงสร้างบอร์ดที่ไม่ได้คัดสรรบุคคลที่เป็นมืออาชีพในด้านต่างๆที่ช่วยบริหารธุรกิจการบินให้แข่งขันได้ ส่วนใหญ่ตั้งจากรมว.คลังและรมว.คมนาคม แบ่งโควต้ากัน บางคนไม่มีความรู้เรื่องการบินเลย
จากการศึกษาสิงคโปร์แอร์ไลน์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นกันแต่ บอร์ด 6 คนคัดสรรจากนักบริหารมืออาชีพระดับโลกที่เชี่ยวชาญจริงทั้ง ด้านการเงิน,การตลาด,การขนส่ง, เทรดดิ้ง นอกจากนี้การเมืองยังไม่เข้าไปแทรกแซงในการสรรหาซีอีโอโดยมีKPI ชี้วัดการทำงานชัดเจน ทั้งนี้ จุดแข็งที่จะช่วยการบินไทยคือ โอกาสด้านการท่องเที่ยว,การเปิด AEC, เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแต่จุดอ่อนคือปัญหาภายในองค์กร การจัดซื้อจัดจ้างรั่วไหล ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลและให้บุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบบัญชีจะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง
วานนี้ (17 เม.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย (สร.การบินไทย) ได้จัดเสวนา"ฝ่าวิกฤติการบินไทย จะรอดอย่างไร? ใครกำหนด?"โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดการเสวนา โดยได้ร่วมรับทุกฝ่ายและมุมมองนักวิชาการผู้มีประสบการณ์การบริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อตอบโจทย์และหาแนวทางการพัฒนาและการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เนื่องจากทุกครั้งที่การบินไทยเกิดวิกฤติ ทั้งผลประกอบการ การบริหารจัดการและธรรมาภิบาล ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเหมือนไม่มีทางออกสำหรับสายการบินแห่งชาติในการดำรงอยู่ต่อไปอย่างมั่นคง เพื่อให้เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเหมือนในอดีต
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การบินไทยสูญเสียโอกาสในการแข่งขันมาหลายปี ในวันนี้ยืนยันว่าต้องรักษาให้เป็นสายการบินแห่งชาติที่สามารถแข่งขันได้ในรูปแบบรัฐวิสาหกินที่เป็นบริษัทมหาชนต่อไป เพราะการบินไทยตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง เป็นภาพลักษณ์ของประเทศที่จะสื่อถึงวัฒนธรรมต่างๆ โดยอาจจะต้องใช้เวลาปรับปรุงแก้ไขปัญหา 6 เดือน -1 ปี หรืออาจจะถึง 1 ปีครึ่ง เพื่อให้กลับมาเป็นที่หนึ่งของภูมิภาค ฃ
ส่วนอนาคตจะปรับปรุงหรือจะแปรรูปหรือไม่ ต้องหารือกับทั้งผู้ถือหุ้น พนักงานบริษัทฯ สหภาพฯ อีกครั้ง ข้อเสนอแนะในการเสวนาจะเป็นตัวกระตุ้นที่ดีซึ่งเรื่องเร่งด่วนคือทุกคนในบริษัทต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา
โดยใน 6 เดือนนับจากเดือนมีนาคม จะกำหนดแผนปรับปรุงและกลยุทธ์ที่จะทำให้การบินไทยกลับมาเป็นที่หนึ่งในภูมิภาคอาเซียนแล้วเสร็จ ซึ่งจะเห็นแผนชัดเจนว่าในระยะสั้นช่วง 6เดือน-1 ปี ต้องทำอะไรบ้าง ระยะกลางใน 3-5 ปี ทำอะไร ซึ่งในวันนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของพนักงานและฝ่ายบริหารการบินไทยที่จะร่วมมือกัน เพราะเข้าใจว่าฝ่ายการเมืองเองได้ให้โอกาส
หากสามารถพิสูจน์ผลงานได้ เชื่อว่าการเมืองจะไม่เข้ามาและปล่อยให้การบินไทยทำงานด้วยตัวเอง เชื่อว่าหลังจากนี้ 6 เดือนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ส่วนกรณีที่สหภาพฯ เรียกร้องให้นายอำพน กิตติอำพน ออกจากบอร์ดฯนั้น ได้ขี้แจงสหภาพฯแล้วว่า ตามขั้นตอนนายอำพน ได้รับเสนอชื่อเข้ามาเป็นบอร์ดอีกครั้ง และในฐานะที่เพิ่งได้แต่งตั้งเป็นประธานบอร์ดฯต้องการแก้ปัญหาองค์กรก่อน จะแก้ขัดแย้งตัวบุคคลทันทีคงไม่เหมาะ และประธานบอร์ดฯคงไม่มีสิทธิ์บังคับให้ใครออกได้ ต้องเป็นความสมัครใจของคนๆนั้น
"ปัญหาที่ผ่านมาคงแก้ไขไม่ได้ กรณีที่ตั้งข้าราชการมาเป็นบอร์ดฯแล้วไม่มีเวลาทำงานไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่อยู่ที่จะให้เวลากับการบริหารการบินไทยเท่าไร ไม่ใช่รู้ตัวว่ามีข้อจำกัดแต่ยังมาเป็นบอร์ดฯ แต่ก็ไม่ใล่ จะไม่ให้โอกาสข้าราชการ"
พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ผลประกอบการใน 3 เดือนแรกปี2557 (ม.ค.-มี.ค.) ยังติดลบและจะมีผลกระทบไปถึงไตรมาส 2/2557 (เม.ย.-มิ.ย.) แน่นอน แต่ยังคาดหวังว่าในไตรมาส 3/2557 ช่วงเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว(High Season) และ ไตรมาส 4/2557 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว สถานการณ์ด้านท่องเที่ยวจะดีขึ้นซึ่งบริษัทต้องเพิ่มโอกาสการขายเพื่อเพิ่มรายได้ควบคุมค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบริการ สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย เชื่อมั่นหากฝ่ายบริหารและพนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใน ภายใน 2 เดือนนี้ และอีก 2 ไตรมาสที่เหลือจะมีกำไรมาชดเชยขาดทุนใน 2 ไตรมาสแรก ซึ่งคาดว่าทั้งปี 57 จะไม่ขาดทุน โดยตั้งเป้ากำไรทั้งปีไว้ที่
100 ล้านบาท โดยยังคงแผนปลดระวางเครื่องบินกว่า 10 ลำในปีนี้ ซึ่งขึ้นกับว่าจะหาผู้ซื้อได้หรือไม่
ส่วนปี 2558 ตั้งเป้ากำไรที่ 4,500 ล้านบาท โดยจะแก้ปัญหา เพื่อลดการสูญเสียจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากผลงานในปี 2556 พบว่า การขายตั๋วเป็นเงินกว่า 50 สกุลและแลกกลับมาเป็น 4 สกุลหลักทำให้สูญเสียจากอัตราแลกเปลี่ยน 4,000-5,000 ล้านบาท เชื่อว่าหากบริหารให้ดีจะไม่เกิดการสูญเสียอีกรวมถึงลดค่าใข้จ่ายและเพิ่มรายได้จากการขายตั๋วอีก5-10% ของที่นั่งจากปัจจุบัน60% ให้เป็น 65-70%
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า การบินไทยมีการบริหารที่อ่อนแอ ขาดกลยุทธ์ระยะสั้น และต้นทุนไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเปรียบเทียบเส้นทางภายในประเทศต่อกิโลเมตร การบินไทยอยู่ที่ 3.60 บาท บางกอกแอร์เวย์ 3.10 บาท นกแอร์ 2.40 บาท แอร์เอเชีย 1.65 บาท
เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเดียวที่แข่งขันโดยสมบูรณ์ไม่มีสิทธิพิเศษ ภายหลังเปิดเสรีการบิน แต่ยังคงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบรัฐวิสาหกิจจึงไม่คล่องตัว มีการแต่งตั้งบอร์ดโดยเป็นข้าราชการประจำและผู้ทรงคุณวุฒิตามโอกาสของนักการเมือง ฝ่ายละครึ่ง และบอร์ดลงไปช่วยบริหารหรือล้วงลูกมากเกินควร ซึ่งไม่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่อยู่ในระดับโลกทั้งสิ้น
นอกจากนี้ การบินไทยยังมีปัญหารั่วไหลจากการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่คล่องตัวตามภาวะตลาด,ต้องประมูล,ต้องผ่านเอเย่นต์,ซื้อเป็นรายปีครั้งละมากๆ ,การต้องใช้ระเบียบสำนักนายกฯ ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าสายการบินที่มีแผนจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เช่น การบินไทยจัดซื้อปีละ 4 หมื่นล้านบาท สายการบินอื่นจะใช้เงินเพียง 6,000-10,000 ล้านบาทเท่านั้น
การเป็นรัฐวิสาหกินทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอ เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายไม่ได้มาจากผลงานแต่มาจากเป็นคนของใคร ซึ่งขณะนี้หลายสายการบินเดินหน้าแปรรูปเป็นเอกชนโดยสมบูรณ์
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งของการบินไทย คือ โครงสร้างบอร์ดที่ไม่ได้คัดสรรบุคคลที่เป็นมืออาชีพในด้านต่างๆที่ช่วยบริหารธุรกิจการบินให้แข่งขันได้ ส่วนใหญ่ตั้งจากรมว.คลังและรมว.คมนาคม แบ่งโควต้ากัน บางคนไม่มีความรู้เรื่องการบินเลย
จากการศึกษาสิงคโปร์แอร์ไลน์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นกันแต่ บอร์ด 6 คนคัดสรรจากนักบริหารมืออาชีพระดับโลกที่เชี่ยวชาญจริงทั้ง ด้านการเงิน,การตลาด,การขนส่ง, เทรดดิ้ง นอกจากนี้การเมืองยังไม่เข้าไปแทรกแซงในการสรรหาซีอีโอโดยมีKPI ชี้วัดการทำงานชัดเจน ทั้งนี้ จุดแข็งที่จะช่วยการบินไทยคือ โอกาสด้านการท่องเที่ยว,การเปิด AEC, เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแต่จุดอ่อนคือปัญหาภายในองค์กร การจัดซื้อจัดจ้างรั่วไหล ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลและให้บุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบบัญชีจะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง