ASTVผู้จัดการรายวัน - ช่วง 7 วันอันตรายวันที่ 4 ตาย 43 ราย เจ็บ 502 ราย รวมเกิดอุบัติเหตุ 2,027 ครั้ง เพิ่มขึ้น 130 ครั้งจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ยอดเจ็บรวม 2,142คน เพิ่มขึ้น 122 คน ขณะที่ “นครศรีธรรมราช” ครองตำแหน่งอุบัติเหตุและเจ็บสะสมสูงสุด พร้อมรับมือขากลับฉลองสงกรานต์ สั่งตั้งจุดตรวจบนถนนสายหลัก สายรอง รอบพื้นที่เล่นน้ำ กำชับเข้มการใช้กฎหมายตรวจจับถี่ขึ้นโดยเฉพาะรถบรรทุกและรถโดยสารเพื่อลดอุบัติเหตุ เตือนผู้เดินทางพักผ่อนร่างกายและเช็กสภาพรถให้พร้อม และพักการเดินทางทุก 2 ชม. ขณะที่ประชาชนแห่ไหว้พระ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับ ส่งผลรถขากลับหนาแน่นไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้ เหตุบางคนลาหยุดถึง 20 เม.ย. สธ.สั่งรพ.ริมทางหลวงสายหลัก 5 สาย จัดทีมแพทย์รับมืออุบัติเหตุขากลับ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย. 57 ซึ่งเป็นวันที่สี่ของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 488 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 43 ราย ผู้บาดเจ็บ 502 คน สาเหตุหลักคือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 43.03 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 22.34 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.23 รถปิกอัพ ร้อยละ 12.30 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.02 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.50 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 43.03 ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 32.58 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 31.35 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 - 49 ปี) ร้อยละ 53.58
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,274 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,526 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 676,982 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 116,797 ราย โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 36,511 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 33,310 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ราชบุรี 21 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุทัยธานี 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 23 คน
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 4 วัน (วันที่ 11 - 14 เมษายน 2557) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,027 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 130 ครั้ง หรือ ร้อยละ 6.85 ผู้เสียชีวิตรวม 204 ราย ลดลงจากปีที่ผ่านมา 15 ราย หรือ ร้อยละ 6.85 ผู้บาดเจ็บรวม 2,142 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 122 คน หรือ ร้อยละ 6.04 ขณะที่ จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุเป็นศูนย์) ได้แก่ ชัยภูมิ จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) รวม 12 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยนาท นครนายก เพชรบุรี ลพบุรี อ่างทอง นราธิวาส พังงา และยะลา จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 75 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 11 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 82 คน
“เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเทศกาลสงกรานต์ปี 2556 พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตลดลง ขณะที่จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุและจำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด สาเหตุเมาแล้วขับ การขับรถเร็ว บนถนน อบต./หมู่บ้าน จึงขอให้จังหวัดติดตามตรวจสอบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อวางแผนกำหนดมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจัยเสี่ยง ”
ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวว่า ประชาชนบางส่วนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับและบางส่วนยังคงเล่นน้ำสงกรานต์อยู่ในพื้นที่ จึงกำชับให้จังหวัดวางแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยให้เน้นหนักการตั้งจุดตรวจ จุดบริการทั้งบนเส้นทางสายหลัก เส้นทางสายรอง โดยรอบพื้นที่เล่นน้ำ เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เข้มข้นการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัดในทุกพื้นที่และเพิ่มความถี่ในการตรวจจับ โดยเฉพาะรถกระบะบรรทุกผู้โดยสาร รถโดยสารสาธารณะ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หลายพื้นที่ของประเทศมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ไม่ขับรถเร็ว เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุทางถนน สามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
***แห่ทำบุญไหว้พระ ก่อนเริ่มงานวันนี้(16เม.ย.)
วานนี้(15 เม.ย.) หลายจังหวัดยังมีประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน โดยที่จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าตามวัดต่างๆ เช่น วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิงวรวิหาร รวมถึงวัดกษัตราธิราช วัดหน้าพระเมรุ และวันอื่นๆ ใน จ.พระนครศรีอยูธยา ได้มีประชาชน และนักท่องเที่ยวพากันเข้าวัดทำบุญไหว้พระขอพรกันอย่างเนืองแน่น เพื่อเป็นสิริมงคลในครอบครัวเนื่องในวันหยุดสงกรานต์วันสุดท้าย ก่อนที่จะกลับไปทำงานในวันนี้(16 เม.ย.)
**ปชช.ทยอยกลับกรุงหลังสงกรานต์
พล.ต.ต.พงษ์สิทธิ์ แสงเพชร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง คาดว่าประชาชนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งจะทำให้ปริมาณรถเริ่มหนาแน่นในช่วงเย็นของวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางถนนมิตรภาพ ประชาชนจึงควรหลีกเลี่ยงให้ใช้เส้นทางแก่งคอย เข้าเส้นทางรังสิต-นครนายก เพื่อบรรเทาปริมาณรถ ทั้งนี้ ตำรวจทางหลวงมีความพร้อมดูแลประชาชนในการเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในทุกเส้นทาง โดยได้ตั้งจุดตรวจคอยให้บริการประชาชนในพื้นที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยทางหลวงที่คอยให้บริการประชาชน 192 หน่วยทั่วประเทศด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาฉลองสงกรานต์ยังภูมิลำเนาและตามสถานที่ต่างๆ เริ่มทยอยเดินทางกลับกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมพร้อมในการทำงาน อย่างประชาชนใน 8 จังหวัดอีสานใต้เริ่มเดินทางกลับ ส่งผลให้ถนนสาย 24 สายโชคชัย-เดชอุดม ช่วงอำเภอนางรอง บุรีรัมย์ มีรถสัญจรคับคั่ง ซึ่งเป็นอำเภอหน้าด่านก่อนจะมุ่งสู่ จ.นครราชสีมา และกรุงเทพฯ ได้มีรถสัญจรคับคั่งแล้ว และคาดว่าจะหนาแน่นไปจนถึงวันนี้ (16 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันหยุดวันสุดท้าย
พล.ต.ต.ชัยเดช ปานรักษา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกพื้นที่เพิ่มมาตรการในการตรวจจับรถที่สัญจรบนท้องถนน โดยเน้นกวดขันรถจับกุมผู้กระทำผิด 10 ข้อหาหลักเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยพบว่า 4 วันเกิดอุบัติเหตุแล้ว 34 ครั้ง บาดเจ็บ 33 ราย เสียชีวิต 3 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มากกว่า 54 % เกิดจากการเมาแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่กว่า 82 % เป็นรถจักรยานยนต์ และเกิดตามถนนในหมู่บ้าน ตำบลเป็นส่วนใหญ่
พ.ต.ต.เจริญพงษ์ ขันติโล สารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 2 ชุมพร กล่าวถึงการจราจร บนถนนสายเอเชีย 41 และถนนหลวงหมายเลข 4 เพชรเกษม ช่วงผ่านจังหวัดชุมพรว่า ปริมาณรถขากลับขึ้นกรุงเทพฯเริ่มหนาแน่นขึ้น จากการประเมินคาดว่า ปริมาณรถขาขึ้นกรุงเทพฯจะมีปริมาณมากไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้ เพราะบางคนลาหยุดต่อถึงวันที่ 20 เม.ย. นี้
***บขส.พร้อมรองรับเดินทางกลับกรุง
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ระบุว่า บขส.ได้เตรียมมาตรการรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานครหลังเทศกาลสงกรานต์เป็นที่เรียบร้อย แต่อาจมีปัญหาเล็กน้อยในเรื่องของเวลาเดินรถ
***สั่งรพ.ริมทางหลวง 5 สายหลักรับมือ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ และโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า ทั้ง 2 จังหวัดนี้มักเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย เพราะฉะนั้น ในช่วงเวลาที่ประชาชนจะทยอยเดินทางกลับจากฉลองเทศกาลสงกรานต์วันที่ 15-16 เม.ย.นี้ จึงได้กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะที่อยู่ตามเส้นทางหลวงสายหลัก 5 สาย คือ ถนนพหลโยธิน เอเชีย มิตรภาพ เพชรเกษม และสุขุมวิท ซึ่งมีประมาณ 50 % ของโรงพยาบาลทั้งหมด และโรงพยาบาลที่อยู่แถบปริมณฑลใกล้ กทม. ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมืออุบัติเหตุในช่วงขากลับ
ปลัด สธ. กล่าวต่อว่า เรื่องที่เป็นห่วงหลังเทศกาลสงกรานต์มี อีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารทะลุ เนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก จะพบได้ทุกปีหลังเทศกาลประมาณ 2-3 วัน ดังนั้น จึงให้โรงพยาบาลสำรองคลังเลือดทุกหมู่ไว้ให้เพียงพอ รองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ และเรื่องที่ 2 คือให้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเกิดจาการเล่นน้ำสงกรานต์
****วัยรุ่นโทรป่วน 1669
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ได้รับรายงานจาก เจ้าหน้าประจำศูนย์สื่อสารรับแจ้งเหตุของโรงพยาบาล เกี่ยวกับการใช้บริการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 ว่า ตลอด 4 วันเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนโทรแจ้งมากขึ้นถึงร้อยละ 70 โดยโทรแจ้งเหตุเดียวกันซ้ำกันถึง 5 สาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี แสดงว่าประชาชนให้ความไว้ใจ 1669 และมั่นใจระบบการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ แต่เรื่องน่ากังวลคือ มีการใช้หมายเลข 1669ในทางที่ผิด เช่น โทรสั่งพิซซ่า สั่งอาหารจานด่วน หรือโทรแจ้งข่าวเท็จ โทรลวนลามเจ้าหน้าที่สุภาพสตรี ซึ่งพบถึง 50 % ของสายโทรจริงทั้งหมด เฉลี่ยวัน 40 -50 สาย ทั้งนี้ ผู้ที่โทรป่วนส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่น ใช้โทรศัพท์มือถือ มักโทรช่วงกลางวัน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครอง ช่วยกันย้ำเตือนลูกหลานในเรื่องที่กล่าวมา เพื่อช่วยกันสร้างสำนึกการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย สร้างสังคมไทยให้น่าอยู่
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย. 57 ซึ่งเป็นวันที่สี่ของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 488 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 43 ราย ผู้บาดเจ็บ 502 คน สาเหตุหลักคือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 43.03 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 22.34 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.23 รถปิกอัพ ร้อยละ 12.30 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.02 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.50 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 43.03 ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 32.58 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 31.35 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 - 49 ปี) ร้อยละ 53.58
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,274 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 66,526 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 676,982 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 116,797 ราย โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 36,511 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 33,310 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ราชบุรี 21 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ อุทัยธานี 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 23 คน
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 4 วัน (วันที่ 11 - 14 เมษายน 2557) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,027 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 130 ครั้ง หรือ ร้อยละ 6.85 ผู้เสียชีวิตรวม 204 ราย ลดลงจากปีที่ผ่านมา 15 ราย หรือ ร้อยละ 6.85 ผู้บาดเจ็บรวม 2,142 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 122 คน หรือ ร้อยละ 6.04 ขณะที่ จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุเป็นศูนย์) ได้แก่ ชัยภูมิ จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) รวม 12 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยนาท นครนายก เพชรบุรี ลพบุรี อ่างทอง นราธิวาส พังงา และยะลา จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 75 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 11 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 82 คน
“เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเทศกาลสงกรานต์ปี 2556 พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตลดลง ขณะที่จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุและจำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น โดยรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด สาเหตุเมาแล้วขับ การขับรถเร็ว บนถนน อบต./หมู่บ้าน จึงขอให้จังหวัดติดตามตรวจสอบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อวางแผนกำหนดมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจัยเสี่ยง ”
ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวว่า ประชาชนบางส่วนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับและบางส่วนยังคงเล่นน้ำสงกรานต์อยู่ในพื้นที่ จึงกำชับให้จังหวัดวางแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยให้เน้นหนักการตั้งจุดตรวจ จุดบริการทั้งบนเส้นทางสายหลัก เส้นทางสายรอง โดยรอบพื้นที่เล่นน้ำ เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เข้มข้นการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัดในทุกพื้นที่และเพิ่มความถี่ในการตรวจจับ โดยเฉพาะรถกระบะบรรทุกผู้โดยสาร รถโดยสารสาธารณะ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า จากการติดตามสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หลายพื้นที่ของประเทศมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ไม่ขับรถเร็ว เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุทางถนน สามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
***แห่ทำบุญไหว้พระ ก่อนเริ่มงานวันนี้(16เม.ย.)
วานนี้(15 เม.ย.) หลายจังหวัดยังมีประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์อย่างสนุกสนาน โดยที่จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าตามวัดต่างๆ เช่น วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิงวรวิหาร รวมถึงวัดกษัตราธิราช วัดหน้าพระเมรุ และวันอื่นๆ ใน จ.พระนครศรีอยูธยา ได้มีประชาชน และนักท่องเที่ยวพากันเข้าวัดทำบุญไหว้พระขอพรกันอย่างเนืองแน่น เพื่อเป็นสิริมงคลในครอบครัวเนื่องในวันหยุดสงกรานต์วันสุดท้าย ก่อนที่จะกลับไปทำงานในวันนี้(16 เม.ย.)
**ปชช.ทยอยกลับกรุงหลังสงกรานต์
พล.ต.ต.พงษ์สิทธิ์ แสงเพชร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง คาดว่าประชาชนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งจะทำให้ปริมาณรถเริ่มหนาแน่นในช่วงเย็นของวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางถนนมิตรภาพ ประชาชนจึงควรหลีกเลี่ยงให้ใช้เส้นทางแก่งคอย เข้าเส้นทางรังสิต-นครนายก เพื่อบรรเทาปริมาณรถ ทั้งนี้ ตำรวจทางหลวงมีความพร้อมดูแลประชาชนในการเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในทุกเส้นทาง โดยได้ตั้งจุดตรวจคอยให้บริการประชาชนในพื้นที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยทางหลวงที่คอยให้บริการประชาชน 192 หน่วยทั่วประเทศด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาฉลองสงกรานต์ยังภูมิลำเนาและตามสถานที่ต่างๆ เริ่มทยอยเดินทางกลับกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมพร้อมในการทำงาน อย่างประชาชนใน 8 จังหวัดอีสานใต้เริ่มเดินทางกลับ ส่งผลให้ถนนสาย 24 สายโชคชัย-เดชอุดม ช่วงอำเภอนางรอง บุรีรัมย์ มีรถสัญจรคับคั่ง ซึ่งเป็นอำเภอหน้าด่านก่อนจะมุ่งสู่ จ.นครราชสีมา และกรุงเทพฯ ได้มีรถสัญจรคับคั่งแล้ว และคาดว่าจะหนาแน่นไปจนถึงวันนี้ (16 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันหยุดวันสุดท้าย
พล.ต.ต.ชัยเดช ปานรักษา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกพื้นที่เพิ่มมาตรการในการตรวจจับรถที่สัญจรบนท้องถนน โดยเน้นกวดขันรถจับกุมผู้กระทำผิด 10 ข้อหาหลักเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยพบว่า 4 วันเกิดอุบัติเหตุแล้ว 34 ครั้ง บาดเจ็บ 33 ราย เสียชีวิต 3 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มากกว่า 54 % เกิดจากการเมาแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่กว่า 82 % เป็นรถจักรยานยนต์ และเกิดตามถนนในหมู่บ้าน ตำบลเป็นส่วนใหญ่
พ.ต.ต.เจริญพงษ์ ขันติโล สารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 2 ชุมพร กล่าวถึงการจราจร บนถนนสายเอเชีย 41 และถนนหลวงหมายเลข 4 เพชรเกษม ช่วงผ่านจังหวัดชุมพรว่า ปริมาณรถขากลับขึ้นกรุงเทพฯเริ่มหนาแน่นขึ้น จากการประเมินคาดว่า ปริมาณรถขาขึ้นกรุงเทพฯจะมีปริมาณมากไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้ เพราะบางคนลาหยุดต่อถึงวันที่ 20 เม.ย. นี้
***บขส.พร้อมรองรับเดินทางกลับกรุง
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ระบุว่า บขส.ได้เตรียมมาตรการรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานครหลังเทศกาลสงกรานต์เป็นที่เรียบร้อย แต่อาจมีปัญหาเล็กน้อยในเรื่องของเวลาเดินรถ
***สั่งรพ.ริมทางหลวง 5 สายหลักรับมือ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ และโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า ทั้ง 2 จังหวัดนี้มักเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย เพราะฉะนั้น ในช่วงเวลาที่ประชาชนจะทยอยเดินทางกลับจากฉลองเทศกาลสงกรานต์วันที่ 15-16 เม.ย.นี้ จึงได้กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะที่อยู่ตามเส้นทางหลวงสายหลัก 5 สาย คือ ถนนพหลโยธิน เอเชีย มิตรภาพ เพชรเกษม และสุขุมวิท ซึ่งมีประมาณ 50 % ของโรงพยาบาลทั้งหมด และโรงพยาบาลที่อยู่แถบปริมณฑลใกล้ กทม. ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมืออุบัติเหตุในช่วงขากลับ
ปลัด สธ. กล่าวต่อว่า เรื่องที่เป็นห่วงหลังเทศกาลสงกรานต์มี อีก 2 เรื่อง คือ ปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารทะลุ เนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก จะพบได้ทุกปีหลังเทศกาลประมาณ 2-3 วัน ดังนั้น จึงให้โรงพยาบาลสำรองคลังเลือดทุกหมู่ไว้ให้เพียงพอ รองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ และเรื่องที่ 2 คือให้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเกิดจาการเล่นน้ำสงกรานต์
****วัยรุ่นโทรป่วน 1669
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ได้รับรายงานจาก เจ้าหน้าประจำศูนย์สื่อสารรับแจ้งเหตุของโรงพยาบาล เกี่ยวกับการใช้บริการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 ว่า ตลอด 4 วันเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนโทรแจ้งมากขึ้นถึงร้อยละ 70 โดยโทรแจ้งเหตุเดียวกันซ้ำกันถึง 5 สาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี แสดงว่าประชาชนให้ความไว้ใจ 1669 และมั่นใจระบบการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ แต่เรื่องน่ากังวลคือ มีการใช้หมายเลข 1669ในทางที่ผิด เช่น โทรสั่งพิซซ่า สั่งอาหารจานด่วน หรือโทรแจ้งข่าวเท็จ โทรลวนลามเจ้าหน้าที่สุภาพสตรี ซึ่งพบถึง 50 % ของสายโทรจริงทั้งหมด เฉลี่ยวัน 40 -50 สาย ทั้งนี้ ผู้ที่โทรป่วนส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่น ใช้โทรศัพท์มือถือ มักโทรช่วงกลางวัน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครอง ช่วยกันย้ำเตือนลูกหลานในเรื่องที่กล่าวมา เพื่อช่วยกันสร้างสำนึกการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย สร้างสังคมไทยให้น่าอยู่