ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ในเวลานี้ดูเหมือนว่าจะมีคนให้ความสนใจเรื่องน้ำมันมะพร้าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คนไทยจำนวนไม่น้อยเริ่มได้รับข้อมูลมากขึ้น ซึ่งถ้าเรารู้คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวมากขึ้น ก็จะทำให้คนไทยได้พึ่งพาน้ำมันพืชจากผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยด้วยกันเอง โดยเฉพาะมะพร้าวของประเทศไทยขึ้นชื่ออย่างมากว่าสามารถผลิตกะทิและน้ำมันมะพร้าวได้มากที่สุดและคุณภาพดีที่สุดในโลก
เหลือเพียงอย่างเดียวว่าคนไทยส่วนใหญ่มักไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเกษตรไร้สารพิษ เนื่องจากผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมักเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพมากกว่าราคาที่ต้องจ่ายไปเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น ถ้าประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกมะพร้าวไร้สารพิษมากขึ้น ก็สามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
คำถามมีอยู่ว่าบริโภคน้ำมันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับร่างกายเรา?
ในหนังสือเรื่อง "น้ำมันมะพร้าว รักษาโรค" เขียนโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวถึงประมาณแคลอรี กับ น้ำมันมะพร้าวความตอนหนึ่งดังนี้
"น้ำมันมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็น "น้ำมันแคลอรีต่ำ" และมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้ แม้จะได้ชื่อว่าแคลอรีต่ำก็ยังอยู่ที่ 6.8 แคลอรีต่อกรัม ซึ่งก็ยังสูงกว่าแป้งและโปรตีนอยู่ดี แต่สาเหตุที่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนักได้ ก็เพราะเมื่อกินนน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหารอย่างเหมาะสม จะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง ไม่กระวนกระวายอยากกินของจุบจิบ ซึ่งเป็นปกตินิสัยที่ไม่ค่อยดีของคนอ้วนทั้งหลายอยู่แล้ว"
ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีกรดไขมันสายปานกลางสูงมากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น จึงพบว่าอัตราการเผาผลาญเป็นพลังงานของร่างกายจะสูงขึ้นไปด้วย
งานวิจัยของสกาฟี (Scalfi, L., et Al. Pospandial thermogenesis in lean and obese subjects after meals supplemented with medium-chain and long-chain triglycerides. ตีพิมพ์ใน Am J Clin Nutr 1991; 53:1130-1133) โดยเขาศึกษาพลังงานที่ใช้ก่อนและหลังมื้ออาหารที่ใส่น้ำมันสายโซ่ปานกลาง พบว่าในคนรูปร่างปกติเมื่อดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้ว อัตราเผาผลาญพลังงานจะเพิ่มขึ้นถึง 48% ในขณะที่คนอ้วนพบว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้อัตราเผาผลาญเพิ่มขึ้นถึง 65% หมายความว่าคนอ้วนจะถูกกระตุ้นให้เผาผลาญอาหารได้เร็วขึ้นด้วยน้ำมันมะพร้าวมากกว่าคนผอม
นั่นคือตัวอย่างคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันมะพร้าว แต่ถ้าจะสรุปให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสำหรับการดื่มหรือมาทำอาหารนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
1.ในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวมากที่สุดในโลก หมายความว่าสายโซ่คาร์บอนได้จับกับไฮโดรเจนครบแขน ทำให้ไม่เปิดช่องให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงไม่เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเป็นไขมันที่แทบไม่เกิดอนุมูลอิสระจึงทำให้ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์
2.คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวที่อิ่มตัวมากที่สุดในโลก เมื่อโดนความร้อนก็ไม่เปิดโอกาสให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาเกิดโครงสร้างบิดตัวกลายเป็นไขมันทรานส์ได้ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดอุดตัน และเป็นโรคหัวใจ
3.น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันและไตรกลีเซอร์ไรด์สายโซ่ปานกลางมากที่สุดในโลก ทำให้ดูดซึมเป็นพลังงานแก่ตับได้เร็วมากภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่เหลือไขมันตกค้าง
4.เป็นอาหารแก่เซลล์ได้รวดเร็วมาก โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ต่างจากการได้สารอาหารจากแป้งหรือกลูโคสในน้ำตาล หรือจากกรดไขมันสายยาวชนิดอื่น จึงเหมาะกับเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ทีป่วยเป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคสมองเสื่อม (ความจำเสื่อม, พาร์กินสัน, ลมชัก, อัมพาต) และรวมไปถึงโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วิธีการบริโภคกลุ่มนี้คือ งดแป้ง งดน้ำตาล และบริโภคน้ำมันมะพร้าวเสริม
5.กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญร่างกายได้สูงขึ้น ทำร่างกายสามารถแปลงคอเลสเตอรอล เป็นฮอร์โมน เยื่อหุ้มเซลล์ และน้ำดีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวแทบทุกคนจะมี ไลโปโปรตีนชนิดหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein หรือ HDL (ไขมันตัวดี)เพิ่มขึ้นทุกคน เพราะตับจะผลิต HDL ดึงคอเลสเตอรอลและ Low Density Lipoprotein หรือ LDL (ไขมันตัวเลว)ส่งไปใช้งานที่ตับได้มากขึ้น
6.เมื่ออัตราการเผาผลาญสูงขึ้น จึงทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ในช่วงแรกๆของนักบริโภคมือใหม่ จึงอาจต้องค่อยๆปรับระดับการบริโภคให้ทยอยเพิ่มขึ้นจากน้อยไปหามากเพราะอาจมีอาการคล้ายท้องเสีย
7.โมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดลอริก โมโนคาโปรอินซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดคารปริลิก โมโนคาปริลินของกรดคาปริก ซึ่งอยู่ในน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยิสต์ โปรโตซัว ที่ก่อโรค และยังกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T เซลล์ จึงเป็นน้ำมันที่ฆ่าเชื้อก่อโรคได้มีประสิทธิภาพมาก และหากโมโนลอรินฆ่าเชื้อในลำไส้ร่างกายก็อาจจะต้องมีการขับถ่ายออกมาได้มากเช่นเดียวกัน
8.มีสารต้านอนุมูลอิสระ ในรูปของ วิตามินอี สารฟีนอล และสารไฟโตสเตอรอล
คำถามมีอยู่ว่าจะบริโภคอย่างไรจึงจะดีที่สุด จึงขอรวบรวมคำแนะตามของสูตรต่างๆดังนี้
1.ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่ต้องผัดและทอด ให้ใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันชนิดอื่นทั้งหมด
2.สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก คือกินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ตามสัดส่วนของน้ำหนักตัว การกินอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง พร้อมกับกินผัก โปรตีน และไขมัน และให้ลดหรืองด แป้งและอาหารรสหวาน
3.ถ้าจะรับประทานตามที่สมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ก็คือ กินน้ำมันไม่เกิน 30% ของแคลอรีรวม
นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้ยกตัวอย่างว่า:
"ถ้าคนปกติ กินวันละ 2,500 แคลลอรี ก็ควรเป็นน้ำมัน = 750 แคลลอรี
ในจำนวนนี้เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว = 250 แคลลอรี
น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี.) ถ้ากิน 2 ช้อนโต๊ะ = 30 ซีซี
คิดเป็นแคลอรี 30 x 9 = 270 แคลลอรี
แปลว่าถ้าเดินสายกลาง ควรกินน้ำมันมะพร้าววันละ = 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนใครที่กินมังสวิรัติ ไม่รับประทานทั้งเนื้อ นม ไข่ ชีส ก็อาจกินน้ำมันมะพร้าวได้ถึงวันละ 6 ช้อนโต๊ะ
ส่วน ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้แนะนำว่า ถ้าน้ำหนักตัว 34 - 44 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 45 -56 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, น้ำหนักตัว 57 - 67 กิโลกรัม ให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 68-78 กิโลกรัมให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, ส่วนน้ำหนักตัว 79 กิโลกรัมขึ้นไป ให้บริโภค 4 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน
สำหรับการบริโภคเพื่อบำบัดโรคสมองเสื่อม ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวว่าไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางที่ใช้สำหรับการรักษา อยู่ที่ 20 กรัมต่อวัน หากคำนวณปริมาณน้ำมันมะพร้าว จะอยู่ที่ 35 มิลลิกรัม หรือ 7 ช้อนชา อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมาก มีความทนทานต่อน้ำมันมะพร้าวต่างกัน ดังนั้น จึงควรบริโภคน้อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึง 7 ช้อนชา โดยเริ่มจาก 1 ช้อนชา รับประทานร่วมกับอาหารในตอนเช้า จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุก 2-3 วัน จนกระทั่งท่านสามารถทนต่อการบริโภคทีเดียว 7 ช้อนชา การบริโภคน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหลว เป็นวิธีที่ดีสุด เพื่อที่จะป้องกันปัญหาท้องเดิน
อย่างไรก็ตาม นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เราแนะนำให้คนทั่วไปกินน้ำมันมะพร้าวประมาณ 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัวซึ่งกลับจะลดน้ำหนักหรือไขมันเลือด แต่ทั้งนี้เมื่อน้ำหนักลดลงแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วย อย่ากินแป้ง ข้าวขัดขาว อาหารขยะ นม รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมวัว น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ให้หันมากินข้าวกล้องและผักผลไม้มากขึ้น รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินออกไปด้วย
แม้ว่ากะทิ 4-5 ส่วน จะมีน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน แม้จะให้ผลเท่ากันในเชิงเปรียบเทียบปริมาณการบริโภค แต่ก็ต้องระวังด้วยเพราะกะทิมักจะกินกับแป้งขัดขาว ในขณะที่ขนมที่มีกะทิก็ต้องไม่ให้หวานเกินเช่นกัน
นอกจากนี้แล้วผมยังเห็นว่ามื้อที่เหมาะแก่การดื่มสดมากที่สุดคือมื้อเช้า เพราะเป็นมื้อที่มีการอดอาหารมาหลายชั่วโมง โดยเฉพาะหากมีการลดแป้งและน้ำตาลตอนมื้อเย็นก่อนหน้า สารคีโตนในน้ำมันมะพร้าวจะมาเลี้ยงเซลล์สมองได้ดีกว่ามื้ออื่น แต่ถึงกระนั้นสำหรับบางคนที่ไม่สามารถดื่มน้ำมันมะพร้าวในคราวเดียวได้ ก็สามารถแบ่งดื่มได้ระหว่างแต่ละมื้อตามความเหมาะสมของร่างกาย แต่แนะนำให้ดื่มก่อนมื้ออาหารสัก 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าหลังได้รับพลังงานจากน้ำมันมะพร้าวแล้ว เราจะรู้สึกอยากกินอาหารอีกเท่าไหร่ให้พอดีกับความต้องการหลังดื่มน้ำมันมะพร้าว (ทั้งไม่ให้มากไปและน้อยไป)
ในความเห็นของผมเพิ่มเติม น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นอาหารฤทธิ์ร้อน ดังนั้นก็จะต้องพิจารณาสมดุลร้อนเย็นอีกด้วย ดังนั้นการวัดอุณหภูมิในร่างกายถ้าในช่วงร้อนเกินหากจะบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะต้องจัดสมดุลอาหารฤทธิ์เย็นเข้าช่วยด้วย เช่น น้ำใบบัวบก ใบเตย ฯลฯ แต่ถ้าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วหรือผู้ชายที่มีอุณหภูมิใต้ลิ้นเฉลี่ย 5 วันในช่วงเช้าต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส หรือในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส น้ำมันมะพร้าวจะเหมาะที่จะบริโภคอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ดีคนที่รับประทานยากเพราะความมันของน้ำมันนั้น ก็มีเทคนิคเล็กน้อยคือดื่มน้ำอุ่นๆตามเล็กน้อย ส่วนถ้ามีเครื่องดื่มอย่างอื่นเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำเอนไซม์ให้ดื่มหลัง หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นที่มีรสชาติหวานให้ดื่มหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ส่วนคนที่รับประทานสดๆ ไม่ได้ความจริงแล้วก็ยังสามารถผสมในอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น การใช้น้ำมันสกัดเย็นไปร่วมผสมหุงข้าวเสมือนเป็นข้าวมันมะพร้าวร่วมกับธัญพืชงอกหลายๆชนิด หรือเมนูผัดทอดที่เหมาะกับน้ำมันสกัดเย็นที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นเมนูไข่ ทั้งไข่ดาว ไข่เจียว ไข่กวน กลิ่นมะพร้าวจะมีความกลมกลืนคล้ายเนยได้อย่างลงตัว แต่ถ้าเป็นไปได้การดื่มสดจะมีคุณภาพมากที่สุด
ส่วนน้ำมันสำหรับปรุงอาหารที่เป็นสีเหลืองนั้น คุณภาพไม่เหมาะกับการดื่มสด เพราะคุณสมบัติด้อยกว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เพียงแต่เราใช้ไปเพื่อไม่ต้องไปใช้น้ำมันชนิดอื่นที่มีโทษต่อสุขภาพร่างกายเราเท่านั้น
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ในเวลานี้ดูเหมือนว่าจะมีคนให้ความสนใจเรื่องน้ำมันมะพร้าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คนไทยจำนวนไม่น้อยเริ่มได้รับข้อมูลมากขึ้น ซึ่งถ้าเรารู้คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวมากขึ้น ก็จะทำให้คนไทยได้พึ่งพาน้ำมันพืชจากผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยด้วยกันเอง โดยเฉพาะมะพร้าวของประเทศไทยขึ้นชื่ออย่างมากว่าสามารถผลิตกะทิและน้ำมันมะพร้าวได้มากที่สุดและคุณภาพดีที่สุดในโลก
เหลือเพียงอย่างเดียวว่าคนไทยส่วนใหญ่มักไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเกษตรไร้สารพิษ เนื่องจากผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมักเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพมากกว่าราคาที่ต้องจ่ายไปเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น ถ้าประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกมะพร้าวไร้สารพิษมากขึ้น ก็สามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
คำถามมีอยู่ว่าบริโภคน้ำมันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับร่างกายเรา?
ในหนังสือเรื่อง "น้ำมันมะพร้าว รักษาโรค" เขียนโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวถึงประมาณแคลอรี กับ น้ำมันมะพร้าวความตอนหนึ่งดังนี้
"น้ำมันมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็น "น้ำมันแคลอรีต่ำ" และมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้ แม้จะได้ชื่อว่าแคลอรีต่ำก็ยังอยู่ที่ 6.8 แคลอรีต่อกรัม ซึ่งก็ยังสูงกว่าแป้งและโปรตีนอยู่ดี แต่สาเหตุที่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนักได้ ก็เพราะเมื่อกินนน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหารอย่างเหมาะสม จะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง ไม่กระวนกระวายอยากกินของจุบจิบ ซึ่งเป็นปกตินิสัยที่ไม่ค่อยดีของคนอ้วนทั้งหลายอยู่แล้ว"
ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีกรดไขมันสายปานกลางสูงมากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น จึงพบว่าอัตราการเผาผลาญเป็นพลังงานของร่างกายจะสูงขึ้นไปด้วย
งานวิจัยของสกาฟี (Scalfi, L., et Al. Pospandial thermogenesis in lean and obese subjects after meals supplemented with medium-chain and long-chain triglycerides. ตีพิมพ์ใน Am J Clin Nutr 1991; 53:1130-1133) โดยเขาศึกษาพลังงานที่ใช้ก่อนและหลังมื้ออาหารที่ใส่น้ำมันสายโซ่ปานกลาง พบว่าในคนรูปร่างปกติเมื่อดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้ว อัตราเผาผลาญพลังงานจะเพิ่มขึ้นถึง 48% ในขณะที่คนอ้วนพบว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้อัตราเผาผลาญเพิ่มขึ้นถึง 65% หมายความว่าคนอ้วนจะถูกกระตุ้นให้เผาผลาญอาหารได้เร็วขึ้นด้วยน้ำมันมะพร้าวมากกว่าคนผอม
นั่นคือตัวอย่างคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันมะพร้าว แต่ถ้าจะสรุปให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสำหรับการดื่มหรือมาทำอาหารนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
1.ในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวมากที่สุดในโลก หมายความว่าสายโซ่คาร์บอนได้จับกับไฮโดรเจนครบแขน ทำให้ไม่เปิดช่องให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงไม่เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเป็นไขมันที่แทบไม่เกิดอนุมูลอิสระจึงทำให้ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์
2.คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวที่อิ่มตัวมากที่สุดในโลก เมื่อโดนความร้อนก็ไม่เปิดโอกาสให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาเกิดโครงสร้างบิดตัวกลายเป็นไขมันทรานส์ได้ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดอุดตัน และเป็นโรคหัวใจ
3.น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันและไตรกลีเซอร์ไรด์สายโซ่ปานกลางมากที่สุดในโลก ทำให้ดูดซึมเป็นพลังงานแก่ตับได้เร็วมากภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่เหลือไขมันตกค้าง
4.เป็นอาหารแก่เซลล์ได้รวดเร็วมาก โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ต่างจากการได้สารอาหารจากแป้งหรือกลูโคสในน้ำตาล หรือจากกรดไขมันสายยาวชนิดอื่น จึงเหมาะกับเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ทีป่วยเป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคสมองเสื่อม (ความจำเสื่อม, พาร์กินสัน, ลมชัก, อัมพาต) และรวมไปถึงโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วิธีการบริโภคกลุ่มนี้คือ งดแป้ง งดน้ำตาล และบริโภคน้ำมันมะพร้าวเสริม
5.กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญร่างกายได้สูงขึ้น ทำร่างกายสามารถแปลงคอเลสเตอรอล เป็นฮอร์โมน เยื่อหุ้มเซลล์ และน้ำดีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวแทบทุกคนจะมี ไลโปโปรตีนชนิดหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein หรือ HDL (ไขมันตัวดี)เพิ่มขึ้นทุกคน เพราะตับจะผลิต HDL ดึงคอเลสเตอรอลและ Low Density Lipoprotein หรือ LDL (ไขมันตัวเลว)ส่งไปใช้งานที่ตับได้มากขึ้น
6.เมื่ออัตราการเผาผลาญสูงขึ้น จึงทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ในช่วงแรกๆของนักบริโภคมือใหม่ จึงอาจต้องค่อยๆปรับระดับการบริโภคให้ทยอยเพิ่มขึ้นจากน้อยไปหามากเพราะอาจมีอาการคล้ายท้องเสีย
7.โมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดลอริก โมโนคาโปรอินซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดคารปริลิก โมโนคาปริลินของกรดคาปริก ซึ่งอยู่ในน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยิสต์ โปรโตซัว ที่ก่อโรค และยังกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T เซลล์ จึงเป็นน้ำมันที่ฆ่าเชื้อก่อโรคได้มีประสิทธิภาพมาก และหากโมโนลอรินฆ่าเชื้อในลำไส้ร่างกายก็อาจจะต้องมีการขับถ่ายออกมาได้มากเช่นเดียวกัน
8.มีสารต้านอนุมูลอิสระ ในรูปของ วิตามินอี สารฟีนอล และสารไฟโตสเตอรอล
คำถามมีอยู่ว่าจะบริโภคอย่างไรจึงจะดีที่สุด จึงขอรวบรวมคำแนะตามของสูตรต่างๆดังนี้
1.ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่ต้องผัดและทอด ให้ใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันชนิดอื่นทั้งหมด
2.สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก คือกินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ตามสัดส่วนของน้ำหนักตัว การกินอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง พร้อมกับกินผัก โปรตีน และไขมัน และให้ลดหรืองด แป้งและอาหารรสหวาน
3.ถ้าจะรับประทานตามที่สมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ก็คือ กินน้ำมันไม่เกิน 30% ของแคลอรีรวม
นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้ยกตัวอย่างว่า:
"ถ้าคนปกติ กินวันละ 2,500 แคลลอรี ก็ควรเป็นน้ำมัน = 750 แคลลอรี
ในจำนวนนี้เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว = 250 แคลลอรี
น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี.) ถ้ากิน 2 ช้อนโต๊ะ = 30 ซีซี
คิดเป็นแคลอรี 30 x 9 = 270 แคลลอรี
แปลว่าถ้าเดินสายกลาง ควรกินน้ำมันมะพร้าววันละ = 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนใครที่กินมังสวิรัติ ไม่รับประทานทั้งเนื้อ นม ไข่ ชีส ก็อาจกินน้ำมันมะพร้าวได้ถึงวันละ 6 ช้อนโต๊ะ
ส่วน ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้แนะนำว่า ถ้าน้ำหนักตัว 34 - 44 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 45 -56 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, น้ำหนักตัว 57 - 67 กิโลกรัม ให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 68-78 กิโลกรัมให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, ส่วนน้ำหนักตัว 79 กิโลกรัมขึ้นไป ให้บริโภค 4 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน
สำหรับการบริโภคเพื่อบำบัดโรคสมองเสื่อม ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวว่าไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางที่ใช้สำหรับการรักษา อยู่ที่ 20 กรัมต่อวัน หากคำนวณปริมาณน้ำมันมะพร้าว จะอยู่ที่ 35 มิลลิกรัม หรือ 7 ช้อนชา อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมาก มีความทนทานต่อน้ำมันมะพร้าวต่างกัน ดังนั้น จึงควรบริโภคน้อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึง 7 ช้อนชา โดยเริ่มจาก 1 ช้อนชา รับประทานร่วมกับอาหารในตอนเช้า จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุก 2-3 วัน จนกระทั่งท่านสามารถทนต่อการบริโภคทีเดียว 7 ช้อนชา การบริโภคน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหลว เป็นวิธีที่ดีสุด เพื่อที่จะป้องกันปัญหาท้องเดิน
อย่างไรก็ตาม นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เราแนะนำให้คนทั่วไปกินน้ำมันมะพร้าวประมาณ 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัวซึ่งกลับจะลดน้ำหนักหรือไขมันเลือด แต่ทั้งนี้เมื่อน้ำหนักลดลงแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วย อย่ากินแป้ง ข้าวขัดขาว อาหารขยะ นม รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมวัว น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ให้หันมากินข้าวกล้องและผักผลไม้มากขึ้น รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินออกไปด้วย
แม้ว่ากะทิ 4-5 ส่วน จะมีน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน แม้จะให้ผลเท่ากันในเชิงเปรียบเทียบปริมาณการบริโภค แต่ก็ต้องระวังด้วยเพราะกะทิมักจะกินกับแป้งขัดขาว ในขณะที่ขนมที่มีกะทิก็ต้องไม่ให้หวานเกินเช่นกัน
นอกจากนี้แล้วผมยังเห็นว่ามื้อที่เหมาะแก่การดื่มสดมากที่สุดคือมื้อเช้า เพราะเป็นมื้อที่มีการอดอาหารมาหลายชั่วโมง โดยเฉพาะหากมีการลดแป้งและน้ำตาลตอนมื้อเย็นก่อนหน้า สารคีโตนในน้ำมันมะพร้าวจะมาเลี้ยงเซลล์สมองได้ดีกว่ามื้ออื่น แต่ถึงกระนั้นสำหรับบางคนที่ไม่สามารถดื่มน้ำมันมะพร้าวในคราวเดียวได้ ก็สามารถแบ่งดื่มได้ระหว่างแต่ละมื้อตามความเหมาะสมของร่างกาย แต่แนะนำให้ดื่มก่อนมื้ออาหารสัก 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าหลังได้รับพลังงานจากน้ำมันมะพร้าวแล้ว เราจะรู้สึกอยากกินอาหารอีกเท่าไหร่ให้พอดีกับความต้องการหลังดื่มน้ำมันมะพร้าว (ทั้งไม่ให้มากไปและน้อยไป)
ในความเห็นของผมเพิ่มเติม น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นอาหารฤทธิ์ร้อน ดังนั้นก็จะต้องพิจารณาสมดุลร้อนเย็นอีกด้วย ดังนั้นการวัดอุณหภูมิในร่างกายถ้าในช่วงร้อนเกินหากจะบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะต้องจัดสมดุลอาหารฤทธิ์เย็นเข้าช่วยด้วย เช่น น้ำใบบัวบก ใบเตย ฯลฯ แต่ถ้าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วหรือผู้ชายที่มีอุณหภูมิใต้ลิ้นเฉลี่ย 5 วันในช่วงเช้าต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส หรือในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส น้ำมันมะพร้าวจะเหมาะที่จะบริโภคอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ดีคนที่รับประทานยากเพราะความมันของน้ำมันนั้น ก็มีเทคนิคเล็กน้อยคือดื่มน้ำอุ่นๆตามเล็กน้อย ส่วนถ้ามีเครื่องดื่มอย่างอื่นเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำเอนไซม์ให้ดื่มหลัง หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นที่มีรสชาติหวานให้ดื่มหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ส่วนคนที่รับประทานสดๆ ไม่ได้ความจริงแล้วก็ยังสามารถผสมในอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น การใช้น้ำมันสกัดเย็นไปร่วมผสมหุงข้าวเสมือนเป็นข้าวมันมะพร้าวร่วมกับธัญพืชงอกหลายๆชนิด หรือเมนูผัดทอดที่เหมาะกับน้ำมันสกัดเย็นที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นเมนูไข่ ทั้งไข่ดาว ไข่เจียว ไข่กวน กลิ่นมะพร้าวจะมีความกลมกลืนคล้ายเนยได้อย่างลงตัว แต่ถ้าเป็นไปได้การดื่มสดจะมีคุณภาพมากที่สุด
ส่วนน้ำมันสำหรับปรุงอาหารที่เป็นสีเหลืองนั้น คุณภาพไม่เหมาะกับการดื่มสด เพราะคุณสมบัติด้อยกว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เพียงแต่เราใช้ไปเพื่อไม่ต้องไปใช้น้ำมันชนิดอื่นที่มีโทษต่อสุขภาพร่างกายเราเท่านั้น