ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
แม้ว่าหลายคนจะทราบดีว่าการกินแป้งและน้ำตาลมากจะทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าที่ว่าเกิดโรคเบาหวานนั้นคืออะไรกันแน่
คำอธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือ "เรามีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเรามากเกินไป"
เวลาเรารับประทานอาหารแป้งมากๆ กินอาหารรสหวานมาก น้ำตาลส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดมากเกินไป การที่น้ำตาลในเลือดมากจะทำให้เลือดข้น แข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวเกาะติดกันแน่นกับผนังหลอดเลือด เม็ดเลือดแดงมีโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี และยังมีผลทำให้เกิดภาวะขาดเลือดหรือขาดออกซิเจนได้
และการที่เราถ่ายปัสสาวะพร้อมกับน้ำตาลที่บริโภคมากๆ เราจึงเรียกว่า "ถ่ายเบาหวาน" หรือเบาหวาน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
เมื่อมีน้ำตาลตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ "อินซูลิน" ที่จะมีหน้าที่ออกฤทธิ์ "นำน้ำตาลจากเลือดเข้าไปในเซลล์ของร่างกาย" เพื่อใช้เป็นพลังงาน
น้ำตาลอาศัยอินซูลินเข้าไปในเซลล์ ร่างกายเราก็สามารถแปลงเป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมเก็บเอาไว้ที่กล้ามเนื้อและตับได้ แต่เมื่อเรารับประทานแป้งและน้ำตาลมากจนแปลงน้ำตาลายเป็นไกลโคเจนสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและที่ตับอย่างเต็มพิกัดจนจะใกล้จะล้นแล้ว กลไกในร่างกายก็จะเริ่มเกิดภาวะ "ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือที่เรียกว่า Insulin Resistance" ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นกลไกในร่างกายที่ฉลาดมากที่พยายามปิดกั้นไม่ให้สารอาหารที่มากเกินเข้าไปในเซลล์จนล้นเกินได้
ถ้าน้ำตาลมีประมาณค้างอยู่ในกระแสเลือดมากๆ ก็จะทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหายและอักเสบ จึงเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด ในขณะเดียวกันหากเซลล์ขาดอาหารเพราะไม่สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้ได้อีกเซลล์ก็ตายได้อีกเช่นกัน คนที่เป็นเบาหวานนานๆหลอดเลือดจะเสื่อมสภาพ เพราะน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำลายหลอดเลือดและส่งผลทำให้เกิดวัสดุที่เรียกว่า พลาก (plauge) มาพอกจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและอัมพาตตามมาได้ด้วย
ดังนั้นคนที่อ้วนและเป็นเบาหวานด้วย ถึงแม้ตับอ่อนจะสามารถหลั่งอินซูลินได้จำนวนมาก แต่อินซูลินก็ไม่สามารถไปสะสมไว้ที่ใดได้อีกร่างกายอีกในกรณีนี้น้ำตาลก็จะยังคงอยู่ในหลอดเลือดต่อไป เมื่อนานไปในบางกรณีตับอ่อนต้องหยุดผลิตอินซูลินหรือผลิตอินซูลินให้น้อยลงเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ตับอ่อนมีความอ่อนล้า ผลก็คือเราก็จะมีน้ำตาลอยู่ตามหลอดเลือดโดยเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณีคือ ทั้งร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลิน หรือตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ต่างก็เกิดจากปัญหาเดียวกันคือบริโภคแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
เมื่อมีน้ำตาลในหลอดเลือดนานๆ นอกจากหลอดเลือดจะอักเสบและเสียหายก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและหัวใจได้แล้ว ในขณะเดียวกันเมื่อน้ำตาลไม่สามารถส่งเป็นอาหารให้กับเซลล์ได้ ก็ทำให้เซลล์ตายได้ด้วย จึงส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมแม้กระทั่งเซลล์สมองได้ และเป็นผลทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม พาร์กินสัน อัมพาต ฯลฯ ตามมาได้
คำถามสำคัญคือคนที่เป็นเบาหวานจะฉีดอินซูลินเพิ่มหรือใช้ยากระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มจะเป็นหนทางที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งๆที่กลไกในร่างกายไม่ว่าจะไม่ตอบสนองกับอินซูลิน หรือตับอ่อนหยุดผลิตอินซูลินล้วนแล้วแต่เป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายเราปกป้องตัวเองเพื่อส่งสัญญาณให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเราเอง
คำถามนี้ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้ตั้งคำถามการใช้ยานี้เอาไว้ในหนังสือ ที่ชื่อ "พิชิตโรคอ้วน และเบาหวาน" ความตอนหนึ่งว่า:
"การให้ยากระตุ้นการหลังอินซูลินถูกต้องหรือไม่ คนกินแป้งกินหวานมากตับย่อมสร้างน้ำตาลมากกว่าปกติ การให้ยาระงับน้ำตาลที่ตับแล้วสารอาหารที่ล้นเกินจะซุกไว้อย่างไรและส่วนใดของร่างกาย การกินยาลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ต่างกับการหยุดกินหวานลดกินแป้งอย่างไร
การใช้ยา TZD ช่วยผันกรดไขมันที่ทะลักจาเซลล์ไขมันพุงไปซุกที่เซลล์ใต้ผิวหนัง ทำให้ตับได้กรดไขมันลดลงและผลิตน้ำตาลน้อยลง แต่เซลล์ใต้ผิวหนังจะสะสมไขมันเพิ่มได้มากและนานแค่ไหน และเมื่อเต็มยาจะยังได้ผลอีกหรือไม่
การรักษาเบาหวานหากไม่สามารถตอบโจทย์ที่กล่าวมา ไม่คำนึงว่าเบาหวานและน้ำตาลเลือดสูงมีสาเหตุจากอะไร หรือยาที่ใช้แก้เพื่ออะไร ก็คงเข้าข่ายให้การรักษาแบบ "จ่ายยาตามตัวเลข" (อ้างอิง N Eng J Med 2007) คือน้ำตาลสูงก็จ่ายยาลดน้ำตาลแรง ยามื้อเดียวขนาดเดียวเอาไม่อยู่ก็เพิ่มเป็นยาหลายมื้อหลายขนาน ถ้ายังไม่อยู่ก็เพิ่มฉีดอินซูลิน ถ้าคุมไม่อยู่ก็ฉีดอินซูลินเพิ่ม จนเกิดหิวบ่อย กินจุ และอ้วนมากขึ้น หรืออาจเกิดช็อกน้ำตาล และเสี่ยงเกิดอาการหลับไม่ตื่น…
…เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำ ร่างกายจำต้องมีปฏิกิริยาปรับสมดุล (homeostasis) เพื่อไม่ให้น้ำตาลเลือดต่ำเกินไป โดยศูนย์สมอง VMH (Ventromedial hypothylamus) กระตุ้นให้เกิดอาการหิวและหลั่งฮอร์โมนเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด (อ้างอิง Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol 2005; 289: R 936) แต่การปรับสมดุลมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดกลับมีระดับสูงกว่าปกติตามมา
เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำจากการได้ยาเกิน คนไข้จะมีอาการโหย บางครั้งรู้สึกหิวแทบขาดใจ สัญชาตญาณบอให้รีบหาของหวานกินเพื่อประทั่ชีวิตเป็นสำคัญ... บางคนกินยาเบาหวานตอนมื้อเย็น ก็มักต้องแอบหาของหวานกินช่วงก่อนนอน"
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ กำลังอธิบายว่าเพราะเหตุใดหลายคนกินยาลดเบาหวานแต่กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดได้ แล้วเหตุในคนที่กินยาลดเบาหวานต้องกินยาเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ผมจึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ จึงได้คำตอบว่าเบาหวานส่วนหนึ่งเพราะเรากินยามากเกินไปโดยไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หรืออาจไม่รู้ว่าเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
โดยเฉพาะการแก้ไขโรคเบาหวานที่ตรงประเด็นที่สุดคือ "การลดแป้งและน้ำตาล"
ซึ่งแน่นอนมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าเมื่อลดแป้งและน้ำตาลที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานแล้วจะเกิดอาหารหิวโหยอย่างหนักด้านหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่งเราจะเอาสารอาหารอะไรไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายเรา และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งที่จะเป็นคำตอบได้ก็คือการบริโภคไขมันที่พึ่งอินซูลินให้น้อยที่สุดหรือไม่พึ่งเลย
น้ำมันมะพร้าวเป็นคำตอบหนึ่งในเรื่องนี้ได้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบหลักคือกรดไขมันสายปานกลางมากที่สุด (ต่างจากน้ำมันชนิดอื่นทั้งหมดในโลกที่เป็นกรดไขมันสายยาว) ทำให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดูดซึมเร็ว ส่งไปยังที่ตับเป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เพิ่มอัตราการเผาผลาญ และข้อสำคัญในยามที่เราลดแป้งและน้ำตาล เราจะได้สารอาหารที่ชื่อ "คีโตน" ซึ่งได้จากกรดไขมันสายปานกลางไปเลี้ยงอาหารให้กับเซลล์โดยเฉพาะเซลล์สมองได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งพาการผลิตอินซูลิน
ประการสำคัญถัดมากคือ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้อธิบายเพิ่มเติมให้ผมลองไปค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยว่า การบริโภคไขมันดังเช่นที่เราบริโภคน้ำมันมะพร้าว จะทำให้เรารู้สึกหิวน้อยลงได้เพราะอะไรนั้น นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "เป็นเพราะร่างกายหลั่งฮอร์โมน CCK เพิ่มขึ้น"
เมื่อร่างกายบริโภคไขมัน ร่างกายเราจะฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "โคลีซิสโทไคนิน (cholecystokinin หรือ CCK ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยยับยั้งความรู้สึกหิว (appetite) ทำให้คนเรากินน้อยลง และนี้คือเคล็ดลับสำคัญของคนที่บริโภคไขมันแล้วไม่อ้วนเพราะ การหิวน้อยลง และการโหยจากแป้งและน้ำตาลจึงลดน้อยลงไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราบริโภคกรดไขมันจากกรดไขมันสายปานกลางที่มีอยู่มากในน้ำมันมะพร้าว
และเป็นที่ทราบดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า น้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้สูงขึ้น เพิ่มการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนจะสูงขึ้น โดยอุณหภูมิในร่างกายจะอุ่นขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2537 Thampan, P.K. ได้ทำการศึกษาและรายงานในหัวข้อ "Facts and Fallacies about Coconut Oil" ในการประชุมในระดับรัฐบาลหลายประเทศที่ชื่อ ประชาคมมะพร้าวแห่งเอเชียแปซิฟิก The Asian and Pacific Coconut Community (APCC) ในคราวประชุมที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ระบุว่า
"น้ำมันมะพร้าวสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จึงช่วยเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม ส่งผลให้มีการเพิ่มการผลิตอินซูลิน และการดูดซึมน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าว จึงช่วยลดความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาอินซูลินในการรักษาเบาหวาน น้ำมั้นมะพร้าวจึงช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานได้"
ดร.บรูซ ไฟฟ์ ประธานศูนย์วิจัยมะพร้าว มลรัฐโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหลายเล่มที่ให้ข้อมูลยืนยันว่า กรดไขมันสายปานกลางในน้ำมันมะพร้าวหลายชนิด เช่น กรดลอริก กรดคาปริก กรดคาปริลิก และกรดคาโปรอิก ต่างช่วยเพิ่มกระบวนอัตราการเผาผลาญเมแทบอลิซึม และส่งผลทำให้เพิ่มการสร้างอินซูลิน และการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ โดยเมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ดร.บรูซ ไฟฟ์ ได้เขียนรายงานในการสัมมนาเชิงปฏิบัติงานระดับนานาชาติด้านเกี่ยวกับสมุนไพรโดยระบุว่า "การบริโภคน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ภายใน 30 นาที"
การยืนยันที่ว่านี้ยังพบในการศึกษาก่อนหน้านี้ในทำนองเดียวกัน โดยในปี พ.ศ. 2535 ของ Garfinkel และคณะที่ศึกษาในหัวข้อ "Insulino tropic potency of lauric acid: A metabolic rational for medium chain fatty acids (MCF) in TPN formulation โดยระบุว่า "ในกรณีที่เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำมันมะพร้าวจะช่วยแก้อาการนนี้ได้ โดยการทำให้เซลล์เปิดให้รับน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ได้มากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นที่ตับอ่อนจะต้องสร้างอินซูลินมากเกินความจำเป็น แลน้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้"
สรุปสั้นๆ ให้ได้ใจความคือ 1.พยายามลดแป้งและน้ำตาล 2. ดื่มน้ำมันมะพร้าว และ 3. พยามลดยาเคมีเกี่ยวกับเบาหวานทั้งปวง!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
แม้ว่าหลายคนจะทราบดีว่าการกินแป้งและน้ำตาลมากจะทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าที่ว่าเกิดโรคเบาหวานนั้นคืออะไรกันแน่
คำอธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือ "เรามีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเรามากเกินไป"
เวลาเรารับประทานอาหารแป้งมากๆ กินอาหารรสหวานมาก น้ำตาลส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดมากเกินไป การที่น้ำตาลในเลือดมากจะทำให้เลือดข้น แข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวเกาะติดกันแน่นกับผนังหลอดเลือด เม็ดเลือดแดงมีโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี และยังมีผลทำให้เกิดภาวะขาดเลือดหรือขาดออกซิเจนได้
และการที่เราถ่ายปัสสาวะพร้อมกับน้ำตาลที่บริโภคมากๆ เราจึงเรียกว่า "ถ่ายเบาหวาน" หรือเบาหวาน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
เมื่อมีน้ำตาลตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ "อินซูลิน" ที่จะมีหน้าที่ออกฤทธิ์ "นำน้ำตาลจากเลือดเข้าไปในเซลล์ของร่างกาย" เพื่อใช้เป็นพลังงาน
น้ำตาลอาศัยอินซูลินเข้าไปในเซลล์ ร่างกายเราก็สามารถแปลงเป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมเก็บเอาไว้ที่กล้ามเนื้อและตับได้ แต่เมื่อเรารับประทานแป้งและน้ำตาลมากจนแปลงน้ำตาลายเป็นไกลโคเจนสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและที่ตับอย่างเต็มพิกัดจนจะใกล้จะล้นแล้ว กลไกในร่างกายก็จะเริ่มเกิดภาวะ "ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือที่เรียกว่า Insulin Resistance" ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นกลไกในร่างกายที่ฉลาดมากที่พยายามปิดกั้นไม่ให้สารอาหารที่มากเกินเข้าไปในเซลล์จนล้นเกินได้
ถ้าน้ำตาลมีประมาณค้างอยู่ในกระแสเลือดมากๆ ก็จะทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหายและอักเสบ จึงเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด ในขณะเดียวกันหากเซลล์ขาดอาหารเพราะไม่สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้ได้อีกเซลล์ก็ตายได้อีกเช่นกัน คนที่เป็นเบาหวานนานๆหลอดเลือดจะเสื่อมสภาพ เพราะน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำลายหลอดเลือดและส่งผลทำให้เกิดวัสดุที่เรียกว่า พลาก (plauge) มาพอกจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและอัมพาตตามมาได้ด้วย
ดังนั้นคนที่อ้วนและเป็นเบาหวานด้วย ถึงแม้ตับอ่อนจะสามารถหลั่งอินซูลินได้จำนวนมาก แต่อินซูลินก็ไม่สามารถไปสะสมไว้ที่ใดได้อีกร่างกายอีกในกรณีนี้น้ำตาลก็จะยังคงอยู่ในหลอดเลือดต่อไป เมื่อนานไปในบางกรณีตับอ่อนต้องหยุดผลิตอินซูลินหรือผลิตอินซูลินให้น้อยลงเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ตับอ่อนมีความอ่อนล้า ผลก็คือเราก็จะมีน้ำตาลอยู่ตามหลอดเลือดโดยเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณีคือ ทั้งร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลิน หรือตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ต่างก็เกิดจากปัญหาเดียวกันคือบริโภคแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
เมื่อมีน้ำตาลในหลอดเลือดนานๆ นอกจากหลอดเลือดจะอักเสบและเสียหายก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและหัวใจได้แล้ว ในขณะเดียวกันเมื่อน้ำตาลไม่สามารถส่งเป็นอาหารให้กับเซลล์ได้ ก็ทำให้เซลล์ตายได้ด้วย จึงส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมแม้กระทั่งเซลล์สมองได้ และเป็นผลทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม พาร์กินสัน อัมพาต ฯลฯ ตามมาได้
คำถามสำคัญคือคนที่เป็นเบาหวานจะฉีดอินซูลินเพิ่มหรือใช้ยากระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินเพิ่มจะเป็นหนทางที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งๆที่กลไกในร่างกายไม่ว่าจะไม่ตอบสนองกับอินซูลิน หรือตับอ่อนหยุดผลิตอินซูลินล้วนแล้วแต่เป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายเราปกป้องตัวเองเพื่อส่งสัญญาณให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเราเอง
คำถามนี้ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้ตั้งคำถามการใช้ยานี้เอาไว้ในหนังสือ ที่ชื่อ "พิชิตโรคอ้วน และเบาหวาน" ความตอนหนึ่งว่า:
"การให้ยากระตุ้นการหลังอินซูลินถูกต้องหรือไม่ คนกินแป้งกินหวานมากตับย่อมสร้างน้ำตาลมากกว่าปกติ การให้ยาระงับน้ำตาลที่ตับแล้วสารอาหารที่ล้นเกินจะซุกไว้อย่างไรและส่วนใดของร่างกาย การกินยาลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ต่างกับการหยุดกินหวานลดกินแป้งอย่างไร
การใช้ยา TZD ช่วยผันกรดไขมันที่ทะลักจาเซลล์ไขมันพุงไปซุกที่เซลล์ใต้ผิวหนัง ทำให้ตับได้กรดไขมันลดลงและผลิตน้ำตาลน้อยลง แต่เซลล์ใต้ผิวหนังจะสะสมไขมันเพิ่มได้มากและนานแค่ไหน และเมื่อเต็มยาจะยังได้ผลอีกหรือไม่
การรักษาเบาหวานหากไม่สามารถตอบโจทย์ที่กล่าวมา ไม่คำนึงว่าเบาหวานและน้ำตาลเลือดสูงมีสาเหตุจากอะไร หรือยาที่ใช้แก้เพื่ออะไร ก็คงเข้าข่ายให้การรักษาแบบ "จ่ายยาตามตัวเลข" (อ้างอิง N Eng J Med 2007) คือน้ำตาลสูงก็จ่ายยาลดน้ำตาลแรง ยามื้อเดียวขนาดเดียวเอาไม่อยู่ก็เพิ่มเป็นยาหลายมื้อหลายขนาน ถ้ายังไม่อยู่ก็เพิ่มฉีดอินซูลิน ถ้าคุมไม่อยู่ก็ฉีดอินซูลินเพิ่ม จนเกิดหิวบ่อย กินจุ และอ้วนมากขึ้น หรืออาจเกิดช็อกน้ำตาล และเสี่ยงเกิดอาการหลับไม่ตื่น…
…เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำ ร่างกายจำต้องมีปฏิกิริยาปรับสมดุล (homeostasis) เพื่อไม่ให้น้ำตาลเลือดต่ำเกินไป โดยศูนย์สมอง VMH (Ventromedial hypothylamus) กระตุ้นให้เกิดอาการหิวและหลั่งฮอร์โมนเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด (อ้างอิง Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol 2005; 289: R 936) แต่การปรับสมดุลมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดกลับมีระดับสูงกว่าปกติตามมา
เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำจากการได้ยาเกิน คนไข้จะมีอาการโหย บางครั้งรู้สึกหิวแทบขาดใจ สัญชาตญาณบอให้รีบหาของหวานกินเพื่อประทั่ชีวิตเป็นสำคัญ... บางคนกินยาเบาหวานตอนมื้อเย็น ก็มักต้องแอบหาของหวานกินช่วงก่อนนอน"
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ กำลังอธิบายว่าเพราะเหตุใดหลายคนกินยาลดเบาหวานแต่กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดได้ แล้วเหตุในคนที่กินยาลดเบาหวานต้องกินยาเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ผมจึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ จึงได้คำตอบว่าเบาหวานส่วนหนึ่งเพราะเรากินยามากเกินไปโดยไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หรืออาจไม่รู้ว่าเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
โดยเฉพาะการแก้ไขโรคเบาหวานที่ตรงประเด็นที่สุดคือ "การลดแป้งและน้ำตาล"
ซึ่งแน่นอนมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าเมื่อลดแป้งและน้ำตาลที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานแล้วจะเกิดอาหารหิวโหยอย่างหนักด้านหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่งเราจะเอาสารอาหารอะไรไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายเรา และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งที่จะเป็นคำตอบได้ก็คือการบริโภคไขมันที่พึ่งอินซูลินให้น้อยที่สุดหรือไม่พึ่งเลย
น้ำมันมะพร้าวเป็นคำตอบหนึ่งในเรื่องนี้ได้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบหลักคือกรดไขมันสายปานกลางมากที่สุด (ต่างจากน้ำมันชนิดอื่นทั้งหมดในโลกที่เป็นกรดไขมันสายยาว) ทำให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดูดซึมเร็ว ส่งไปยังที่ตับเป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เพิ่มอัตราการเผาผลาญ และข้อสำคัญในยามที่เราลดแป้งและน้ำตาล เราจะได้สารอาหารที่ชื่อ "คีโตน" ซึ่งได้จากกรดไขมันสายปานกลางไปเลี้ยงอาหารให้กับเซลล์โดยเฉพาะเซลล์สมองได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งพาการผลิตอินซูลิน
ประการสำคัญถัดมากคือ นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้อธิบายเพิ่มเติมให้ผมลองไปค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยว่า การบริโภคไขมันดังเช่นที่เราบริโภคน้ำมันมะพร้าว จะทำให้เรารู้สึกหิวน้อยลงได้เพราะอะไรนั้น นพ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "เป็นเพราะร่างกายหลั่งฮอร์โมน CCK เพิ่มขึ้น"
เมื่อร่างกายบริโภคไขมัน ร่างกายเราจะฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "โคลีซิสโทไคนิน (cholecystokinin หรือ CCK ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยยับยั้งความรู้สึกหิว (appetite) ทำให้คนเรากินน้อยลง และนี้คือเคล็ดลับสำคัญของคนที่บริโภคไขมันแล้วไม่อ้วนเพราะ การหิวน้อยลง และการโหยจากแป้งและน้ำตาลจึงลดน้อยลงไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อเราบริโภคกรดไขมันจากกรดไขมันสายปานกลางที่มีอยู่มากในน้ำมันมะพร้าว
และเป็นที่ทราบดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า น้ำมันมะพร้าวจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้สูงขึ้น เพิ่มการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนจะสูงขึ้น โดยอุณหภูมิในร่างกายจะอุ่นขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2537 Thampan, P.K. ได้ทำการศึกษาและรายงานในหัวข้อ "Facts and Fallacies about Coconut Oil" ในการประชุมในระดับรัฐบาลหลายประเทศที่ชื่อ ประชาคมมะพร้าวแห่งเอเชียแปซิฟิก The Asian and Pacific Coconut Community (APCC) ในคราวประชุมที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ระบุว่า
"น้ำมันมะพร้าวสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จึงช่วยเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม ส่งผลให้มีการเพิ่มการผลิตอินซูลิน และการดูดซึมน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าว จึงช่วยลดความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาอินซูลินในการรักษาเบาหวาน น้ำมั้นมะพร้าวจึงช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานได้"
ดร.บรูซ ไฟฟ์ ประธานศูนย์วิจัยมะพร้าว มลรัฐโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหลายเล่มที่ให้ข้อมูลยืนยันว่า กรดไขมันสายปานกลางในน้ำมันมะพร้าวหลายชนิด เช่น กรดลอริก กรดคาปริก กรดคาปริลิก และกรดคาโปรอิก ต่างช่วยเพิ่มกระบวนอัตราการเผาผลาญเมแทบอลิซึม และส่งผลทำให้เพิ่มการสร้างอินซูลิน และการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ โดยเมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ดร.บรูซ ไฟฟ์ ได้เขียนรายงานในการสัมมนาเชิงปฏิบัติงานระดับนานาชาติด้านเกี่ยวกับสมุนไพรโดยระบุว่า "การบริโภคน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ภายใน 30 นาที"
การยืนยันที่ว่านี้ยังพบในการศึกษาก่อนหน้านี้ในทำนองเดียวกัน โดยในปี พ.ศ. 2535 ของ Garfinkel และคณะที่ศึกษาในหัวข้อ "Insulino tropic potency of lauric acid: A metabolic rational for medium chain fatty acids (MCF) in TPN formulation โดยระบุว่า "ในกรณีที่เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำมันมะพร้าวจะช่วยแก้อาการนนี้ได้ โดยการทำให้เซลล์เปิดให้รับน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ได้มากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นที่ตับอ่อนจะต้องสร้างอินซูลินมากเกินความจำเป็น แลน้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้"
สรุปสั้นๆ ให้ได้ใจความคือ 1.พยายามลดแป้งและน้ำตาล 2. ดื่มน้ำมันมะพร้าว และ 3. พยามลดยาเคมีเกี่ยวกับเบาหวานทั้งปวง!!!