ASTVผู้จัดการรายวัน - จับตาดิจิตอลทีวี 5ปี ดันธุรกิจเกี่ยวข้องทะลุ 100,000 ล้านบาท เปิดศึกยกแรก เกมชิงตัวซื้อคนเริ่มฉุดไม่อยู่ “ครีเอทีฟ-โปรดิวเซอร์-ฝ่ายเทคนิค” สามตำแหน่งเนื้อหอมสุด แต่ละช่องจีบเข้าสังกัดจ้าละหวั่น ฟันค่าตัวพุ่งร่วม 100% หวังได้หัวกระทิปั้นคอนเทนต์ออกมาโดนใจผู้ชม ขณะที่ทั้งภาพรวม 24 ช่องดิจิตอลทีวีที่จะเกิดขึ้นใหม่เชื่อยังขาดบุคคลากรคุณภาพโดยรวมกว่า 70%
ถึงวินาทีนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกความเคลื่อนไหวในทุกมิติ จากการเกิดของดิจิตอลทีวี กำลังเป็นที่ถูกจับตามองอย่างมาก ด้วยมูลค่าเม็ดเงินการลงทุนกว่า 39,650 ล้านบาท ของการประมูลของอุตสาหกรรมนี้ที่ถือว่าสูงมากแล้ว ยังมีเม็ดเงินในเรื่องของการลงทุนด้านคอนเทนต์ที่จะตามมาอีกไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทในปีนี้
ส่งผลให้ความต้องการในเรื่องบุคคลากรในวงการสื่อสารมวลชนทั้งระบบ จึงมีเพิ่มสูงขึ้งจากปกติถึง 24 เท่าตัวตามจำนวนช่องที่เกิดขึ้นใหม่เช่นกัน เชื่อว่าจะส่งให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเติบโตสูงตามไปด้วย
ดังนั้นดิจิตอลทีวีจึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจของใครหลายๆคน จนยากที่จะปฏิเสธได้
นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (BMB) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ช่อง PPTVHD ช่อง36 เปิดเผยว่า ผลของการเกิดดิจิตอลทีวี เชื่อว่าต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีมูลค่ารวมกันประมาณ 100,000 ล้านบาท เช่น 1.แพลทฟอร์มIPTV/Cable ประเภทโฮม ชอปปิ้ง จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,000-10,000 ล้านบาท 2.วิทยุ จะมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท 3.ธุรกิจผลิตรายการ มีมูลค่า 5,000 ล้านบาท 4.ผลิตจานดาวเทียม ( Set Top Box) มูลค่า 10,000 ล้านบาท 5.รีเสิร์ช มูลค่า 2,000 ล้านบาท 6.ติดตั้งระบบโครงข่ายการออกอากาศ 7,000-10,000 ล้านบาท 7.ทาเล้นท์ 2,000 ล้านบาท และ 8.โทรทัศน์/ขายอุปกรณ์บรอดคาส 10,000 ล้านบาท
และแม้ว่า BMB จะเป็นผู้ชนะการประมูลช่องวาไรตี้ HD ด้วยราคา 3,460 ล้านบาท สูงเป็นอันดับสองรองจาก บีอีซี มัลติมีเดียก็ตาม แต่ในแง่ของการฟอร์มทีม การจัดการและการจัดเตรียมบุคคลากรรับมือกับการแข่งขันดิจิตอลทีวี ที่พร้อมออนแอร์ก่อนใครแบบ 24 ชม. ในวันที่ 7 เม.ย. นี้ ทางช่องPPTV HD กลับเน้นบุคคลากรในรูปแบบกะทัดรัด และพนักงานจะต้องทำงานแบบมัลติ สกิลได้ ซึ่งถึงเวลานี้ PPTV HD มีจำนวนพนักงานทั้งหมดเพียง 140 คนเท่านั้น แต่ในภาพรวมต้องการมีบุคคลากรเข้าร่วมทำงานทั้งระบบไม่เกิน 400 คน
“PPTV HD ถือเป็นผู้เล่นใหม่ในอุตสาหกรรมทีวี และได้ประมูลช่องด้วยเม็ดเงินที่สูงมาก อีกทั้งการบริหารคอนเทนต์ปีแรกยังพร้อมใช้ทุนอีก 2,000 ล้านบาท ดังนั้นในการบริหารจัดการองค์กร จึงต้องระมัดระวังและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยต้องการที่จะเป็นองค์กรไม่ใหญ่มาก ไม่เกิน 400 คน มีมัลติ สกิล ทำงานได้หลากหลาย เพื่อแข่งขันได้ในสถานการณ์ที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีการแข่งขันสูงชิงตัวสูง โดยเฉพาะตำแหน่งโปรดิวเซอร์ และครีเอทีฟ ที่ทาง PPTV HD เองยังขาดอยู่มากเช่นกัน” นายเขมทัตต์ กล่าว
คนทีวีมีมาก แต่คนสุดเจ๋งขาด70%
นายภูษิต ไล้ทอง รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด กล่าวว่า ความต้องการด้านบุคคลากรของตลาดโทรทัศน์ หลังเกิดดิจิตอลทีวีสูงมาก ตามจำนวนช่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ ถือเป็นโอกาสที่ดีของเด็กจบใหม่ที่จะเข้าสู่แวดวงธุรกิจนี้ได้ไม่ยาก ทำให้ในภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดแคลนบุคคลากรแต่อย่างใดแต่ถ้ามองในแง่ของบุคคลากรที่มีคุณภาพแล้ว ต้องยอมรับว่าทั้งตลาดยังขาดอยู่กว่า 70% และในความเป็นจริงยังมีบุคคลากรบางตำแหน่งกลับเป็นที่ต้องการสูงของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะตำแหน่งโปรดิวเซอร์ ช่างเทคนิค และฝ่ายการตลาด เป็นต้น ทำให้เกิดการซื้อตัว หรือย้ายงานของบุคคลากรด้านนี้สูงในช่วงนี้
“คนดีมีคุณภาพในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ยังขาดอยู่กว่า 70% เพราะส่วนใหญ่เป็นเด็กจบใหม่ หรือยังมีประสบการณ์น้อย โดยเฉพาะในฟรีทีวี ปัจจุบันจะพบว่า รายการที่ดีมีคุณภาพทั้งในแง่เรตติ้ง เนื้อหารายการ รวมถึงมีรายได้ที่ดีนั้น มีเพียง 20%เท่านั้น และอีก 80% ยังเป็นรายการที่พอไปได้ แต่ไม่เอื้อต่อธุรกิจนัก ดันนั้นตำแหน่งงานทางด้านโปรดิวเซอร์ หรือฝ่ายการตลาด รวมถึงครีเอทีฟ ที่มีฝีมือ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดสูง ในส่วนของทีวีธันเดอร์ยังไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนพนักงานทั้งหมดกว่า 100 คน ถือเป็นองค์กรขนาดกลาง”
ครีเอทีฟ-โปรดิวเซอร์ ค่าตัวพุ่ง 100%สอดคล้อง
กับทาง เจเอสแอล ที่มองเห็นสถานการณ์การโยกย้ายงาน หรือการชิงตัว ของตำแหน่งงานเหล่านี้ ที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงมาก นายวัชระ แวววุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอส แอลโกลบอล มีเดีย จำกัด กล่าวเสริมว่า บุคคลากรในธุรกิจโทรทัศน์ที่มีฝีมือจริงๆถือว่ายังมีน้อย และเป็นที่ต้องการสูงมาก โดยเฉพาะตำแหน่งครีเอทีฟที่ชำนาญมีประสบการณ์คิดงานออกมาอย่างมีศิลป์ และมีเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างดีนั้น ยังมีน้อย
ทั้งที่ความต้องการของตำแหน่งงานนี้ ปกติต่อรายการจะต้องมี 2คน ยิ่งมีดิจิตอลทีวีเพิ่มเข้ามาอีก 24 ช่อง ทำให้ตำแหน่งงานเหล่านี้ไหลไปอยู่ในดิจิตอลทีวีมากขึ้น ทำให้บริษัทผลิตคอนเทนต์อาจจะต้องเจอปัญหาขาดครีเอทีฟเช่นกัน ส่งผลให้ค่าตอบแทนของตำแหน่งงานเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50-100%ไปแล้วในเวลานี้
และจากปัญหาความไม่พร้อมทั้งทางด้านบุคคลากร การฟอร์มทีมของแต่ละสถานี รวมถึงการจัดหาคอนเทนต์เพื่อให้ทันการออกอากาศช่วงเม.ย.-มิ.ย นี้นั้น ทำให้การออกอากาศของดิจิตอลทีวีในช่วงแรกนี้ อาจจะเป็นแค่การทดลองออกอากาศเท่านั้น และจะได้เห็นความชัดเจน ของรูปแบบรายการต่างๆ ตามผังรายการเต็ม ในช่วงครึ่งปีหลังแทน ทำให้ภาพรวมรายได้ของบางช่องรวมถึงผู้ผลิตคอนต์บางราย อาจจะต้องปรับเป้าลงไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว เครื่องมือสำคัญของดิจิตอลทีวี ยังคงเป็นเรื่องของ “คอนเทนต์อยู่ดี”
แต่หัวใจสำคัญยิ่งกว่านั้น คือ รูปแบบคอนเทนต์ ที่จะต้องโดนใจผู้ชม จนก่อให้เกิดเรตติ้ง โดนใจเอเจนซี่จนตามมาด้วยเม็ดเงินโฆษณา ตำแหน่งงานด้าน โปรดิวเซอร์ ครีเอทีฟ การตลาด และช่างเทคนิค จึงเป็นคีย์สำคัญที่จะปลดล็อก ว่าสุดท้ายแล้ว ที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่า จะเหลือผู้แข็งแกร่งจริงๆไม่เกิน 5 ช่องเท่านั้น จะเป็นค่ายใดบ้าง
ถึงวินาทีนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกความเคลื่อนไหวในทุกมิติ จากการเกิดของดิจิตอลทีวี กำลังเป็นที่ถูกจับตามองอย่างมาก ด้วยมูลค่าเม็ดเงินการลงทุนกว่า 39,650 ล้านบาท ของการประมูลของอุตสาหกรรมนี้ที่ถือว่าสูงมากแล้ว ยังมีเม็ดเงินในเรื่องของการลงทุนด้านคอนเทนต์ที่จะตามมาอีกไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทในปีนี้
ส่งผลให้ความต้องการในเรื่องบุคคลากรในวงการสื่อสารมวลชนทั้งระบบ จึงมีเพิ่มสูงขึ้งจากปกติถึง 24 เท่าตัวตามจำนวนช่องที่เกิดขึ้นใหม่เช่นกัน เชื่อว่าจะส่งให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเติบโตสูงตามไปด้วย
ดังนั้นดิจิตอลทีวีจึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจของใครหลายๆคน จนยากที่จะปฏิเสธได้
นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (BMB) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ช่อง PPTVHD ช่อง36 เปิดเผยว่า ผลของการเกิดดิจิตอลทีวี เชื่อว่าต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีมูลค่ารวมกันประมาณ 100,000 ล้านบาท เช่น 1.แพลทฟอร์มIPTV/Cable ประเภทโฮม ชอปปิ้ง จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,000-10,000 ล้านบาท 2.วิทยุ จะมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท 3.ธุรกิจผลิตรายการ มีมูลค่า 5,000 ล้านบาท 4.ผลิตจานดาวเทียม ( Set Top Box) มูลค่า 10,000 ล้านบาท 5.รีเสิร์ช มูลค่า 2,000 ล้านบาท 6.ติดตั้งระบบโครงข่ายการออกอากาศ 7,000-10,000 ล้านบาท 7.ทาเล้นท์ 2,000 ล้านบาท และ 8.โทรทัศน์/ขายอุปกรณ์บรอดคาส 10,000 ล้านบาท
และแม้ว่า BMB จะเป็นผู้ชนะการประมูลช่องวาไรตี้ HD ด้วยราคา 3,460 ล้านบาท สูงเป็นอันดับสองรองจาก บีอีซี มัลติมีเดียก็ตาม แต่ในแง่ของการฟอร์มทีม การจัดการและการจัดเตรียมบุคคลากรรับมือกับการแข่งขันดิจิตอลทีวี ที่พร้อมออนแอร์ก่อนใครแบบ 24 ชม. ในวันที่ 7 เม.ย. นี้ ทางช่องPPTV HD กลับเน้นบุคคลากรในรูปแบบกะทัดรัด และพนักงานจะต้องทำงานแบบมัลติ สกิลได้ ซึ่งถึงเวลานี้ PPTV HD มีจำนวนพนักงานทั้งหมดเพียง 140 คนเท่านั้น แต่ในภาพรวมต้องการมีบุคคลากรเข้าร่วมทำงานทั้งระบบไม่เกิน 400 คน
“PPTV HD ถือเป็นผู้เล่นใหม่ในอุตสาหกรรมทีวี และได้ประมูลช่องด้วยเม็ดเงินที่สูงมาก อีกทั้งการบริหารคอนเทนต์ปีแรกยังพร้อมใช้ทุนอีก 2,000 ล้านบาท ดังนั้นในการบริหารจัดการองค์กร จึงต้องระมัดระวังและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยต้องการที่จะเป็นองค์กรไม่ใหญ่มาก ไม่เกิน 400 คน มีมัลติ สกิล ทำงานได้หลากหลาย เพื่อแข่งขันได้ในสถานการณ์ที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีการแข่งขันสูงชิงตัวสูง โดยเฉพาะตำแหน่งโปรดิวเซอร์ และครีเอทีฟ ที่ทาง PPTV HD เองยังขาดอยู่มากเช่นกัน” นายเขมทัตต์ กล่าว
คนทีวีมีมาก แต่คนสุดเจ๋งขาด70%
นายภูษิต ไล้ทอง รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด กล่าวว่า ความต้องการด้านบุคคลากรของตลาดโทรทัศน์ หลังเกิดดิจิตอลทีวีสูงมาก ตามจำนวนช่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ ถือเป็นโอกาสที่ดีของเด็กจบใหม่ที่จะเข้าสู่แวดวงธุรกิจนี้ได้ไม่ยาก ทำให้ในภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดแคลนบุคคลากรแต่อย่างใดแต่ถ้ามองในแง่ของบุคคลากรที่มีคุณภาพแล้ว ต้องยอมรับว่าทั้งตลาดยังขาดอยู่กว่า 70% และในความเป็นจริงยังมีบุคคลากรบางตำแหน่งกลับเป็นที่ต้องการสูงของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะตำแหน่งโปรดิวเซอร์ ช่างเทคนิค และฝ่ายการตลาด เป็นต้น ทำให้เกิดการซื้อตัว หรือย้ายงานของบุคคลากรด้านนี้สูงในช่วงนี้
“คนดีมีคุณภาพในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ยังขาดอยู่กว่า 70% เพราะส่วนใหญ่เป็นเด็กจบใหม่ หรือยังมีประสบการณ์น้อย โดยเฉพาะในฟรีทีวี ปัจจุบันจะพบว่า รายการที่ดีมีคุณภาพทั้งในแง่เรตติ้ง เนื้อหารายการ รวมถึงมีรายได้ที่ดีนั้น มีเพียง 20%เท่านั้น และอีก 80% ยังเป็นรายการที่พอไปได้ แต่ไม่เอื้อต่อธุรกิจนัก ดันนั้นตำแหน่งงานทางด้านโปรดิวเซอร์ หรือฝ่ายการตลาด รวมถึงครีเอทีฟ ที่มีฝีมือ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดสูง ในส่วนของทีวีธันเดอร์ยังไม่พบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนพนักงานทั้งหมดกว่า 100 คน ถือเป็นองค์กรขนาดกลาง”
ครีเอทีฟ-โปรดิวเซอร์ ค่าตัวพุ่ง 100%สอดคล้อง
กับทาง เจเอสแอล ที่มองเห็นสถานการณ์การโยกย้ายงาน หรือการชิงตัว ของตำแหน่งงานเหล่านี้ ที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงมาก นายวัชระ แวววุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอส แอลโกลบอล มีเดีย จำกัด กล่าวเสริมว่า บุคคลากรในธุรกิจโทรทัศน์ที่มีฝีมือจริงๆถือว่ายังมีน้อย และเป็นที่ต้องการสูงมาก โดยเฉพาะตำแหน่งครีเอทีฟที่ชำนาญมีประสบการณ์คิดงานออกมาอย่างมีศิลป์ และมีเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างดีนั้น ยังมีน้อย
ทั้งที่ความต้องการของตำแหน่งงานนี้ ปกติต่อรายการจะต้องมี 2คน ยิ่งมีดิจิตอลทีวีเพิ่มเข้ามาอีก 24 ช่อง ทำให้ตำแหน่งงานเหล่านี้ไหลไปอยู่ในดิจิตอลทีวีมากขึ้น ทำให้บริษัทผลิตคอนเทนต์อาจจะต้องเจอปัญหาขาดครีเอทีฟเช่นกัน ส่งผลให้ค่าตอบแทนของตำแหน่งงานเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50-100%ไปแล้วในเวลานี้
และจากปัญหาความไม่พร้อมทั้งทางด้านบุคคลากร การฟอร์มทีมของแต่ละสถานี รวมถึงการจัดหาคอนเทนต์เพื่อให้ทันการออกอากาศช่วงเม.ย.-มิ.ย นี้นั้น ทำให้การออกอากาศของดิจิตอลทีวีในช่วงแรกนี้ อาจจะเป็นแค่การทดลองออกอากาศเท่านั้น และจะได้เห็นความชัดเจน ของรูปแบบรายการต่างๆ ตามผังรายการเต็ม ในช่วงครึ่งปีหลังแทน ทำให้ภาพรวมรายได้ของบางช่องรวมถึงผู้ผลิตคอนต์บางราย อาจจะต้องปรับเป้าลงไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว เครื่องมือสำคัญของดิจิตอลทีวี ยังคงเป็นเรื่องของ “คอนเทนต์อยู่ดี”
แต่หัวใจสำคัญยิ่งกว่านั้น คือ รูปแบบคอนเทนต์ ที่จะต้องโดนใจผู้ชม จนก่อให้เกิดเรตติ้ง โดนใจเอเจนซี่จนตามมาด้วยเม็ดเงินโฆษณา ตำแหน่งงานด้าน โปรดิวเซอร์ ครีเอทีฟ การตลาด และช่างเทคนิค จึงเป็นคีย์สำคัญที่จะปลดล็อก ว่าสุดท้ายแล้ว ที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่า จะเหลือผู้แข็งแกร่งจริงๆไม่เกิน 5 ช่องเท่านั้น จะเป็นค่ายใดบ้าง