3 ลูกเรือไทย ผู้ต้องหาฆ่า 2 ทหารอินโดนีเซียโยนทิ้งทะเล สารภาพพร้อมกล่าวหาไต๋เรือสั่ง เผยไม่คิดว่าเป็นทหารจริง เหตุไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ด้านกงสุลเผยยังไม่ยกเลิกปิดน่านน้ำห้ามเรือไทยทำการประมง เพราะคดียังไม่สิ้นสุด วอนช่วยจับผู้ต้องหาที่เหลือโดยเร็ว
วานนี้ (27 มี.ค.)ที่ห้องประชุมกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พล.ต.ท จักรทิพย์ ชัยจินดา ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท พิสิฎฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ ผบช.ภ. 9 พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ รองผบช.ภ. 9 พ.ต.อ สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบก.ภ.จว.สงขลา และคณะทูตประเทศอินโดนีเซีย ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม 3 ลูกเรือประมงไทย "ส.นาฎยา 7" ประกอบด้วย นายสุริวงศ์ เชื้อหอม อายุ 37 ปีชาว อ.ขุนหาญ จ.ศรีษะเกษ นายศรีไพร สุวรรณประภา อายุ 41 ปีชาวอ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา และนายสรสิทธิ์ โสอินทร์ อายุ 36 ปี ชาว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พร้อมของกลางฆ้อนและมีดปลายแหลมที่ใช้ก่อเหตุ
เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ อ้างว่าไต๋เรือเป็นคนสั่ง ซึ่งรู้สึกเสียใจ และขอโทษต่อคณะทูตที่มาร่วมฟังแถลงข่าว โดยไม่คิดว่าเหตุการณ์จะบานปลาย โดยให้การว่าขณะเกิดเหตุมีนายโอภาส เจริญพร ไต๋เรือได้นำเรือ ส.นาฏยา 7พร้อมลูกเรือคนไทย 12 คน ไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เมื่อประมาณเดือนธันวาคม 2556 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะกำลังจับปลาในน่านน้ำอินโดนิเซีย มีเรือเล็กขนาดประมาณ 40 ฟุต พร้อมคน 4 คนแล่นเข้ามาเทียบข้างเรือ ส.นาฏยา 7
ซึ่งแต่ละคนสะพายอาวุธปืนอาก้าคนละกระบอก ขึ้นมาบนเรือ ส.นาฏยา 7 เพื่อขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการทำประมง ก่อนควบคุมคนบนเรือทั้งหมดเอาไว้ และสั่งให้ไต๋เรือส.นาฎยา 7 ขับเรือไปเกาะแสลมบาร์ ซึ่งขณะนั้นลูกเรือทุกคนไม่มั่นใจว่าชายฉกรรจ์ที่บุกขึ้นมาเป็นทหารเรืออินโดนิเซียจริงหรือไม่ เนื่องจากเรือที่ใช้คล้ายเรือหาปลา และไม่ได้แต่งตัวเหมือนทหารเรืออินโดนีเซีย ไม่ใส่รองเท้า
โดยขณะที่เรือแล่นเข้าเกาะแสลมบาร์ ไต๋เรือได้วางแผนสั่งให้ลูกเรือฆ่าทั้งสองคน โดยลูกเรือทั้งหมดได้ร่วมกันจับล๊อกคอใช้ฆ้อนทุบตีและใช้มีดแทง ก่อนโยนทิ้งลงทะเล โดยไม่มีใครรู้ว่าเสียชีวิตแล้วหรือไม่ จากนั้นได้นำเรือ ส.นาฎยา 7 หลบหนีการจับ จนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ไต๋พร้อมลูกเรือได้นำเรือเข้าจอดเทียบท่าของนายเฉลียว ทองมา ใน จ.สงขลา และต่อมาถูกตำรวจยึดเรือไว้ตรวจสอบเมื่อวันที่ 22 มีนาคม และถูกจับกุมได้ในที่สุด
ด้านนายเฮรู วิจักโซโน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สั่งยกเลิกปิดน่านน้ำอินโดนิเซีย ห้ามเรือประมงไทยเข้าทำการประมง เนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด และอยากขอความร่วมมือให้ตำรวจไทยเร่งจับคนร้ายที่เหลืออีก 9 คนให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะนายโอภาสที่สั่งฆ่าทหารเรือ 2 คนตามที่ลูกเรือกล่าวอ้าง
ทั้งนี้ เรือ ส.นาฎยา 7 เดิมชื่อเรือสมุทรธรรม 5 เป็นของนายสมศักดิ์ เอกอุรุ กรรมการกลางสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ขายต่อให้นายเฉลียว ทองมา อดีตนายกสมาคมประมงมิตรสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอดีตรองนายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา ในราคา 2.2 ล้านบาท เมื่อปี 2556 แต่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ และยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์.
วานนี้ (27 มี.ค.)ที่ห้องประชุมกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พล.ต.ท จักรทิพย์ ชัยจินดา ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท พิสิฎฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ ผบช.ภ. 9 พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ รองผบช.ภ. 9 พ.ต.อ สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบก.ภ.จว.สงขลา และคณะทูตประเทศอินโดนีเซีย ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม 3 ลูกเรือประมงไทย "ส.นาฎยา 7" ประกอบด้วย นายสุริวงศ์ เชื้อหอม อายุ 37 ปีชาว อ.ขุนหาญ จ.ศรีษะเกษ นายศรีไพร สุวรรณประภา อายุ 41 ปีชาวอ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา และนายสรสิทธิ์ โสอินทร์ อายุ 36 ปี ชาว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พร้อมของกลางฆ้อนและมีดปลายแหลมที่ใช้ก่อเหตุ
เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ อ้างว่าไต๋เรือเป็นคนสั่ง ซึ่งรู้สึกเสียใจ และขอโทษต่อคณะทูตที่มาร่วมฟังแถลงข่าว โดยไม่คิดว่าเหตุการณ์จะบานปลาย โดยให้การว่าขณะเกิดเหตุมีนายโอภาส เจริญพร ไต๋เรือได้นำเรือ ส.นาฏยา 7พร้อมลูกเรือคนไทย 12 คน ไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เมื่อประมาณเดือนธันวาคม 2556 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะกำลังจับปลาในน่านน้ำอินโดนิเซีย มีเรือเล็กขนาดประมาณ 40 ฟุต พร้อมคน 4 คนแล่นเข้ามาเทียบข้างเรือ ส.นาฏยา 7
ซึ่งแต่ละคนสะพายอาวุธปืนอาก้าคนละกระบอก ขึ้นมาบนเรือ ส.นาฏยา 7 เพื่อขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการทำประมง ก่อนควบคุมคนบนเรือทั้งหมดเอาไว้ และสั่งให้ไต๋เรือส.นาฎยา 7 ขับเรือไปเกาะแสลมบาร์ ซึ่งขณะนั้นลูกเรือทุกคนไม่มั่นใจว่าชายฉกรรจ์ที่บุกขึ้นมาเป็นทหารเรืออินโดนิเซียจริงหรือไม่ เนื่องจากเรือที่ใช้คล้ายเรือหาปลา และไม่ได้แต่งตัวเหมือนทหารเรืออินโดนีเซีย ไม่ใส่รองเท้า
โดยขณะที่เรือแล่นเข้าเกาะแสลมบาร์ ไต๋เรือได้วางแผนสั่งให้ลูกเรือฆ่าทั้งสองคน โดยลูกเรือทั้งหมดได้ร่วมกันจับล๊อกคอใช้ฆ้อนทุบตีและใช้มีดแทง ก่อนโยนทิ้งลงทะเล โดยไม่มีใครรู้ว่าเสียชีวิตแล้วหรือไม่ จากนั้นได้นำเรือ ส.นาฎยา 7 หลบหนีการจับ จนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ไต๋พร้อมลูกเรือได้นำเรือเข้าจอดเทียบท่าของนายเฉลียว ทองมา ใน จ.สงขลา และต่อมาถูกตำรวจยึดเรือไว้ตรวจสอบเมื่อวันที่ 22 มีนาคม และถูกจับกุมได้ในที่สุด
ด้านนายเฮรู วิจักโซโน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สั่งยกเลิกปิดน่านน้ำอินโดนิเซีย ห้ามเรือประมงไทยเข้าทำการประมง เนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด และอยากขอความร่วมมือให้ตำรวจไทยเร่งจับคนร้ายที่เหลืออีก 9 คนให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะนายโอภาสที่สั่งฆ่าทหารเรือ 2 คนตามที่ลูกเรือกล่าวอ้าง
ทั้งนี้ เรือ ส.นาฎยา 7 เดิมชื่อเรือสมุทรธรรม 5 เป็นของนายสมศักดิ์ เอกอุรุ กรรมการกลางสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ขายต่อให้นายเฉลียว ทองมา อดีตนายกสมาคมประมงมิตรสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอดีตรองนายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา ในราคา 2.2 ล้านบาท เมื่อปี 2556 แต่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระ และยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์.