เมื่อเช้าวานนี้ (25 มี.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 โดยมีคณะกรรมการบริหารพรรค คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค และสมาชิกพรรคเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียง โดยทุกคนแต่งชุดสีดำ เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้กับคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกพรรค ได้เดินทางมาสมทยในช่วงบ่าย ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมครม. ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน จ.นครปฐม โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นั่งรถวีลแชร์ เนื่องจากยังมีอาการเจ็บที่ข้อเท้า มาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 10.00 น. มีการบรรยายธรรมในหัวข้อ “มรรคา ประชาธิปไตย”หรือหนทางของประชาธิปไตย โดย พระครูปลัดบัณทิต อินฺทเมธี (สิทธิพล) วัดสังข์กระจาย ก่อนที่จะมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจาก 19 คน เป็น 22 คน เพิ่มเติมในส่วนของตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค 3 คน ประกอบ ด้วย นายชวลิต วิชยสุทธิ์ นายธวัชชัย สุทธิบงกช และ น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์
ต่อมาเวลา 13.00 น. เริ่มเข้าสู่การประชุมอย่างเป็นทางการ โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวช่วงหนึ่งว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีใครเป็นที่พึ่ง มีแต่พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ให้การสนับสนุน วันนี้เราอาจจะแพ้ ประชาชนรู้ว่าอะไร คืออะไร เราแพ้มาหลายครั้ง ถึงแพ้ก็แพ้ไม่นาน ก็จะกลับเข้ามาด้วยการเลือกตั้ง อยากให้สมาชิกพรรคไปชี้แจงประชาชนในพื้นที่ของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น มีความจำเป็นต้องต่อสู้ จะทำในวิถีทางประชาธิปไตย ส่วนเรื่องนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คงอยู่ได้ไม่นาน เพราะไม่ได้มาจากประชาชน
** "ยิ่งลักษณ์"บอกขาเจ็บ แต่ใจยังสู้
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า แม้ตอนนี้ตนขายังเจ็บอยู่ แต่ก็ใจสู้ การที่ตัดสินใจยุบสภา เพราะอยากเห็นความขัดแย้งต่างๆ ลดลงไป ตามกติกาสากล เมื่อยุบสภาฯ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลใหม่ แต่กลับมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ต้องขอขอบคุณสมาชิกพรรคทุกคน ที่อดทนมาโดยตลอด ตอนนี้มีการแสดงออกมาก แต่ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ในกรอบกฎหมาย สิ่งที่อยากเห็นคือ ทุกคนยึดมั่นกติกาความสมดุลของ 3 เสาหลัก ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกัน จะลดความขัดแย้งลงไป จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในหัวใจของทุกคนและเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการประคองสถานการณ์ต่างๆให้เกิดความเสมอภาค ลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยของเรากับเข้าสู่กลไกของระบอบประชาธิปไตย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ผู้นำรัฐบาลภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้มีการว่างเว้น หากมีการว่างเว้น จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทำให้ตนต้องรักษาการจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ แต่อุปสรรคต่างๆ มีมากมาย เชื่อว่าด้วยอุดมการณ์ของพรรคเพื่อไทย ที่มีความมุ่งมั่นในการรักษากรอบของประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทำให้เราได้ใช้หลักตรงนี้เดินในวิธีทางของประชาธิปไตย
" ดิฉันไม่ยึดติด พร้อมที่จะส่งมอบหน้าที่นี้กับผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลใหม่ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ต้องขอขอบคุณสมาชิกพรรคทุกคนอีกครั้งหนึ่ง ต้องขอให้ร่วมกันอดทน อดกลั้น และช่วยกันประคองเหตุการณ์ต่างๆให้ไปต่อได้ โดยไม่ให้เกิดความรุนแรง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือพ.ร.บ.ความมั่นคงมาร่วม 4 เดือน เราผ่านกันมาด้วยความอดทน ถึงแม้ในหลายๆกรณีรัฐบาลไม่สามารถที่จะดำเนินนโยบายที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายข้อ แต่ ครม.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามทุกวิธีทางที่จะทำให้ดำเนินการได้ เท่าที่ทำได้ ไม่ให้พี่น้องประชาชนต้องติดขัด อยากให้สมาชิกทุกคนไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนนั้นอยู่ในใจของเราตลอดเวลา อะไรที่เราเคยทำได้ตลอด 2 ปีกว่า เราทำทุกงานที่เราทำได้ ถึงแม้ตอนนี้จะมีข้อจำกัดต่างๆ แต่เราจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด สุดท้ายนี้หวังว่าถนนหนทางที่เราต้องเดินข้างหน้าไปสู่เส้นทางประชาธิปไตย แม้จะมีทางแยกมากมายที่จะทำให้เราต้องเดินไปคนละทางสองทาง แต่ถ้าเราเดินด้วยความสุขุม เดินด้วยเป้าหมายของประชาธิปไตยด้วยกัน แม้ตอนแรกอาจจะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวแต่สักพักเราจะมีคนร่วมเดินไปกับเราด้วยกัน" นายกฯยิ่งลักษณ์ กล่าว
**ฟ้องกราวรูดพวกทำลาย ปชต.
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า รัฐบาลจะเป็นรัฐบาลรักษาการนานไม่ได้ หากมีคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญออกมา 53 พรรคการเมือง ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง จะหารือร่วมกับ กกต.เพื่อร่วมกำหนดความเป็นไปได้ในการจัดการเลือกตั้ง
ใหม่ การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่เป็นโมฆะ พรรคประชาธิปัตย์ กปปส. ต้องรับผิดชอบ เมื่อมีคำวินิจฉัยกลางออกมา เราจะฟ้องทั้งทางแพ่ง ทางอาญาต่อ พรรคประชาธิปัตย์ กปปส. กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้ที่ไปเลือกตั้ง 20 ล้านเสียง
จากนั้นมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้แสดงความเห็น โดยนายอดิศร เพียงเกษ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. กล่าวว่า พรรคได้รับความเสียหายจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมา 3 ครั้ง นักกฎหมายต่างเห็นว่า คำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลเดียวที่มีคำตัดสินออกมาแล้วผู้เสียหายไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ หากจะพึ่งพาแนวทางกฎหมายคงไม่มีแสงแสงสว่าง เคยประชุมร่วมกับคณะกรรมการกิจการพรรคจึงเสนอไปว่าเราต้องยึดโยงกับมิตรแท้คือประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ไปออกเสียงลงคะแนน 20 ล้านเสียง อยากให้พรรคจัดชุมนุมคนที่เสียสิทธิ์ในทุกจังหวัดโดยเร็วที่สุด เชื่อว่าถ้าทำ จ.ขอนแก่น จ.เชียงราย จะมีคนมาร่วมชุมนุมเป็นแสนคน
นายอดิศร กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เชื่อระบบกฎหมายจะเมตตาฝ่ายเราอยู่แล้ว อนาคตนำไปสู่นายกฯ มาตรา 7 แน่นอน วันนี้เปิดไพ่เล่นกันหมดแล้ว คนไปลงคะแนนผิดตรงไหน คนไปลงคะแนนปวดร้าว ก็ไม่อยากเป็นคนไทย ไม่ไปเลือกตั้งก็ถูกตัดสิทธิ์ พอไปเลือกตั้งการเลือกตั้งก็โมฆะอีก ตกลงประเทศนี้จะเอาอย่างไรกัน
** เล็งรือโผผู้สมัครที่ติดบ่วงป.ป.ช.
นายพีรพันธ์ พาลุสุข รักษาการ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และอดีต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งหลังจากนี้ ก็จะเกิดการขัดขวางอีก และก็จะมีการยื่นฟ้องศาล สุดท้ายการเลือกตั้งก็จะกลายเป็นโมฆะอีก ดังนั้นเราจึงต้องพยายามเรียกร้อง และกำชับให้กกต. จัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงและเรียบร้อย แต่หากการเลือกตั้งยังไม่สำเร็จเรียบร้อย รัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่รักษาการต่อไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการบริหารประเทศ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของกกต. ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วง โดยเร็ว
นายพีรพันธ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางพรรคกำลังพิจารณาในส่วนของผู้สมัคร ที่อาจมีปัญหาเรื่องคดีความที่อยู่ในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเฉพาะกลุ่ม 308 ส.ส- ส.ว. ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ซึ่งรอการชี้มูลจากป.ป.ช. จึงทำให้มีความเป็นไปได้ ที่อาจจะเปลี่ยนตัวผู้สมัคร หรือดันบางคนขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ
**ดัน"พงศ์เทพ"เบอร์1 ถ้า"ปู"มีปัญหา
ส่วนการพิจารณาผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทยนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า ทางพรรคจะยังเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อยู่ เพราะเป็นบุคคลที่มีความพร้อม สามารถดึงคะแนนนิยมได้มาก
ขณะที่รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือกันในพรรค ถึงการปรับเปลี่ยนคนที่จะสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ซึ่งอาจไม่ใช่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากยังมีคดีหลายคดีที่รอการตัดสินเป็นอุปสรรคอยู่ โดยคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และอีกเหตุหนึ่งก็เป็นการลดกระแสต้านตระกูลชินวัตร จากฝ่ายตรงข้าม
อย่างไรก็ตาม ในการหารือยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด นอกจากนี้ก็ยังมีการพูดถึงสูตรที่ว่า ไม่ต้องเปลี่ยนตัวผู้สมัคร คือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลงสมัครเลือกตั้งลำดับที่ 1 เพื่อรักษาฐานเสียง คนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยเอาไว้ และเมื่อถึงเวลาที่ถูกตัดสินในคดีต่างๆก็เป็นเพียงนายกฯ ที่หลุดจากตำแหน่ง แล้วก็ให้คนอื่นขึ้นมาเป็นนายกฯ สำรองต่อไป แต่หากมีการตัดสินใจว่า คนในตระกูลชินวัตร จะเว้นวรรคทางการเมือง เพื่อลดแรงเสียดทาน ก็ได้มีการหารือถึงตัวบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 แทน โดยในระยะหลังมีการเสนอชื่อของ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกฯ ที่จะถูกดันขึ้นมาเพื่อเตรียมตัวเป็นนายกฯหากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เนื่องจากนายพงศ์เทพ มีบุคลิคส่วนตัวที่ค่อนข้างประนีประนอม และเป็นที่ไว้ใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากร่วมงานมาตั้งแต่สมัยพรรคพลังธรรม
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกพรรค ได้เดินทางมาสมทยในช่วงบ่าย ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมครม. ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน จ.นครปฐม โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นั่งรถวีลแชร์ เนื่องจากยังมีอาการเจ็บที่ข้อเท้า มาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 10.00 น. มีการบรรยายธรรมในหัวข้อ “มรรคา ประชาธิปไตย”หรือหนทางของประชาธิปไตย โดย พระครูปลัดบัณทิต อินฺทเมธี (สิทธิพล) วัดสังข์กระจาย ก่อนที่จะมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจาก 19 คน เป็น 22 คน เพิ่มเติมในส่วนของตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค 3 คน ประกอบ ด้วย นายชวลิต วิชยสุทธิ์ นายธวัชชัย สุทธิบงกช และ น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์
ต่อมาเวลา 13.00 น. เริ่มเข้าสู่การประชุมอย่างเป็นทางการ โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวช่วงหนึ่งว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีใครเป็นที่พึ่ง มีแต่พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ให้การสนับสนุน วันนี้เราอาจจะแพ้ ประชาชนรู้ว่าอะไร คืออะไร เราแพ้มาหลายครั้ง ถึงแพ้ก็แพ้ไม่นาน ก็จะกลับเข้ามาด้วยการเลือกตั้ง อยากให้สมาชิกพรรคไปชี้แจงประชาชนในพื้นที่ของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น มีความจำเป็นต้องต่อสู้ จะทำในวิถีทางประชาธิปไตย ส่วนเรื่องนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คงอยู่ได้ไม่นาน เพราะไม่ได้มาจากประชาชน
** "ยิ่งลักษณ์"บอกขาเจ็บ แต่ใจยังสู้
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า แม้ตอนนี้ตนขายังเจ็บอยู่ แต่ก็ใจสู้ การที่ตัดสินใจยุบสภา เพราะอยากเห็นความขัดแย้งต่างๆ ลดลงไป ตามกติกาสากล เมื่อยุบสภาฯ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลใหม่ แต่กลับมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ต้องขอขอบคุณสมาชิกพรรคทุกคน ที่อดทนมาโดยตลอด ตอนนี้มีการแสดงออกมาก แต่ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ในกรอบกฎหมาย สิ่งที่อยากเห็นคือ ทุกคนยึดมั่นกติกาความสมดุลของ 3 เสาหลัก ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกัน จะลดความขัดแย้งลงไป จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในหัวใจของทุกคนและเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการประคองสถานการณ์ต่างๆให้เกิดความเสมอภาค ลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยของเรากับเข้าสู่กลไกของระบอบประชาธิปไตย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ผู้นำรัฐบาลภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้มีการว่างเว้น หากมีการว่างเว้น จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทำให้ตนต้องรักษาการจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ แต่อุปสรรคต่างๆ มีมากมาย เชื่อว่าด้วยอุดมการณ์ของพรรคเพื่อไทย ที่มีความมุ่งมั่นในการรักษากรอบของประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทำให้เราได้ใช้หลักตรงนี้เดินในวิธีทางของประชาธิปไตย
" ดิฉันไม่ยึดติด พร้อมที่จะส่งมอบหน้าที่นี้กับผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลใหม่ ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ต้องขอขอบคุณสมาชิกพรรคทุกคนอีกครั้งหนึ่ง ต้องขอให้ร่วมกันอดทน อดกลั้น และช่วยกันประคองเหตุการณ์ต่างๆให้ไปต่อได้ โดยไม่ให้เกิดความรุนแรง การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือพ.ร.บ.ความมั่นคงมาร่วม 4 เดือน เราผ่านกันมาด้วยความอดทน ถึงแม้ในหลายๆกรณีรัฐบาลไม่สามารถที่จะดำเนินนโยบายที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลใหม่ได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายข้อ แต่ ครม.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามทุกวิธีทางที่จะทำให้ดำเนินการได้ เท่าที่ทำได้ ไม่ให้พี่น้องประชาชนต้องติดขัด อยากให้สมาชิกทุกคนไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนนั้นอยู่ในใจของเราตลอดเวลา อะไรที่เราเคยทำได้ตลอด 2 ปีกว่า เราทำทุกงานที่เราทำได้ ถึงแม้ตอนนี้จะมีข้อจำกัดต่างๆ แต่เราจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด สุดท้ายนี้หวังว่าถนนหนทางที่เราต้องเดินข้างหน้าไปสู่เส้นทางประชาธิปไตย แม้จะมีทางแยกมากมายที่จะทำให้เราต้องเดินไปคนละทางสองทาง แต่ถ้าเราเดินด้วยความสุขุม เดินด้วยเป้าหมายของประชาธิปไตยด้วยกัน แม้ตอนแรกอาจจะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวแต่สักพักเราจะมีคนร่วมเดินไปกับเราด้วยกัน" นายกฯยิ่งลักษณ์ กล่าว
**ฟ้องกราวรูดพวกทำลาย ปชต.
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า รัฐบาลจะเป็นรัฐบาลรักษาการนานไม่ได้ หากมีคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญออกมา 53 พรรคการเมือง ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง จะหารือร่วมกับ กกต.เพื่อร่วมกำหนดความเป็นไปได้ในการจัดการเลือกตั้ง
ใหม่ การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่เป็นโมฆะ พรรคประชาธิปัตย์ กปปส. ต้องรับผิดชอบ เมื่อมีคำวินิจฉัยกลางออกมา เราจะฟ้องทั้งทางแพ่ง ทางอาญาต่อ พรรคประชาธิปัตย์ กปปส. กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้ที่ไปเลือกตั้ง 20 ล้านเสียง
จากนั้นมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้แสดงความเห็น โดยนายอดิศร เพียงเกษ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. กล่าวว่า พรรคได้รับความเสียหายจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมา 3 ครั้ง นักกฎหมายต่างเห็นว่า คำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลเดียวที่มีคำตัดสินออกมาแล้วผู้เสียหายไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ หากจะพึ่งพาแนวทางกฎหมายคงไม่มีแสงแสงสว่าง เคยประชุมร่วมกับคณะกรรมการกิจการพรรคจึงเสนอไปว่าเราต้องยึดโยงกับมิตรแท้คือประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ไปออกเสียงลงคะแนน 20 ล้านเสียง อยากให้พรรคจัดชุมนุมคนที่เสียสิทธิ์ในทุกจังหวัดโดยเร็วที่สุด เชื่อว่าถ้าทำ จ.ขอนแก่น จ.เชียงราย จะมีคนมาร่วมชุมนุมเป็นแสนคน
นายอดิศร กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เชื่อระบบกฎหมายจะเมตตาฝ่ายเราอยู่แล้ว อนาคตนำไปสู่นายกฯ มาตรา 7 แน่นอน วันนี้เปิดไพ่เล่นกันหมดแล้ว คนไปลงคะแนนผิดตรงไหน คนไปลงคะแนนปวดร้าว ก็ไม่อยากเป็นคนไทย ไม่ไปเลือกตั้งก็ถูกตัดสิทธิ์ พอไปเลือกตั้งการเลือกตั้งก็โมฆะอีก ตกลงประเทศนี้จะเอาอย่างไรกัน
** เล็งรือโผผู้สมัครที่ติดบ่วงป.ป.ช.
นายพีรพันธ์ พาลุสุข รักษาการ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และอดีต ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งหลังจากนี้ ก็จะเกิดการขัดขวางอีก และก็จะมีการยื่นฟ้องศาล สุดท้ายการเลือกตั้งก็จะกลายเป็นโมฆะอีก ดังนั้นเราจึงต้องพยายามเรียกร้อง และกำชับให้กกต. จัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงและเรียบร้อย แต่หากการเลือกตั้งยังไม่สำเร็จเรียบร้อย รัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่รักษาการต่อไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการบริหารประเทศ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของกกต. ที่จะต้องจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วง โดยเร็ว
นายพีรพันธ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางพรรคกำลังพิจารณาในส่วนของผู้สมัคร ที่อาจมีปัญหาเรื่องคดีความที่อยู่ในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเฉพาะกลุ่ม 308 ส.ส- ส.ว. ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ซึ่งรอการชี้มูลจากป.ป.ช. จึงทำให้มีความเป็นไปได้ ที่อาจจะเปลี่ยนตัวผู้สมัคร หรือดันบางคนขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ
**ดัน"พงศ์เทพ"เบอร์1 ถ้า"ปู"มีปัญหา
ส่วนการพิจารณาผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทยนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า ทางพรรคจะยังเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อยู่ เพราะเป็นบุคคลที่มีความพร้อม สามารถดึงคะแนนนิยมได้มาก
ขณะที่รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือกันในพรรค ถึงการปรับเปลี่ยนคนที่จะสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ซึ่งอาจไม่ใช่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากยังมีคดีหลายคดีที่รอการตัดสินเป็นอุปสรรคอยู่ โดยคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และอีกเหตุหนึ่งก็เป็นการลดกระแสต้านตระกูลชินวัตร จากฝ่ายตรงข้าม
อย่างไรก็ตาม ในการหารือยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด นอกจากนี้ก็ยังมีการพูดถึงสูตรที่ว่า ไม่ต้องเปลี่ยนตัวผู้สมัคร คือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลงสมัครเลือกตั้งลำดับที่ 1 เพื่อรักษาฐานเสียง คนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยเอาไว้ และเมื่อถึงเวลาที่ถูกตัดสินในคดีต่างๆก็เป็นเพียงนายกฯ ที่หลุดจากตำแหน่ง แล้วก็ให้คนอื่นขึ้นมาเป็นนายกฯ สำรองต่อไป แต่หากมีการตัดสินใจว่า คนในตระกูลชินวัตร จะเว้นวรรคทางการเมือง เพื่อลดแรงเสียดทาน ก็ได้มีการหารือถึงตัวบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 แทน โดยในระยะหลังมีการเสนอชื่อของ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกฯ ที่จะถูกดันขึ้นมาเพื่อเตรียมตัวเป็นนายกฯหากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เนื่องจากนายพงศ์เทพ มีบุคลิคส่วนตัวที่ค่อนข้างประนีประนอม และเป็นที่ไว้ใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากร่วมงานมาตั้งแต่สมัยพรรคพลังธรรม