แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้วินิจฉัยไปแล้วหลายวันว่าการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะเสียงวิพากษ์วิจารณ์ยังไม่จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทยนั้นถึงกับประกาศออกมาก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยด้วยซ้ำว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัย
ไม่ยอมรับแล้วจะทำอย่างไร?
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ทางเดินต่อไปของฝ่ายรัฐบาลก็คือ ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะต้องเตรียมการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยของศาลไม่ได้ให้หยุดการเลือกตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ลาออกตั้งแต่ที่ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่รัฐบาลพยายามจะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสมุนบริวารที่ออกมาเผาบ้านเผาเมืองเมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน 2553 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 ตุลาคมจนถึงวันนี้ 4-5 เดือนแล้ว รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์จะมีเสถียรภาพมั่นคง นางสาวยิ่งลักษณ์สามารถรักษาการอยู่ได้จนเลือกตั้งทั่วไปใหม่อีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือนางสาวยิ่งลักษณ์จะกระเด็นพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งไม่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
การประกาศไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญของพวกเขาเพียงต้องการที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของศาลเพราะฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศ และออกกฎหมายที่เสี่ยงกับการทำผิดกฎหมายตลอดมา โดยถือว่าตัวมีเสียงข้างมาก และสิ่งที่เขาต้องการก็ล้วนแต่ขัดกับตัวบทกฎหมายทั้งสิ้น เป็นต้น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้ว ยังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของวุฒิสภาที่ต้องการให้สมัครพรรคพวกบริษัทบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่วุฒิสภาเพราะอำนาจของวุฒิสภาคือ แต่งตั้งองค์กรอิสระ และถอดถอนนักการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวกับการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องให้สภาฯ รับทราบ เพื่อความคล่องตัวในการที่จะแสวงหาประโยชน์กับต่างชาติ โดยที่ต้องการปิดบังประชาชนไม่ให้ตัวแทนของประชาชนรับรู้ก่อน
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกหมด
โดยที่ก่อนหน้าที่คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ชี้มูลความผิดนายนิคม ไวยรัชพานิช รักษาการประธานวุฒิสภา จนต้องหยุดทำหน้าที่เพราะการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมรัฐสภาของนายนิคมได้ใช้อำนาจความเป็นประธาน ไม่เปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยที่แปรญัตติในร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แสดงความคิดเห็นหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ พวกเขาโฆษณาป่าวร้องว่า เป็นการสมคบคิด เป็นการทำรัฐประหารเงียบโดยศาล
ดังได้กล่าวแล้วว่าหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นโมฆะก็ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ศาลไม่มีอำนาจว่า ต้องหยุดการเลือกตั้ง หรือพักการเลือกตั้งเอาไว้ก่อน ไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการเลือกตั้ง จะบอกว่าเป็นการรัฐประหารเงียบ อำนาจก็ยังคงเป็นของรัฐบาลอยู่ จะออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่เมื่อไรก็สุดแท้แต่รัฐบาล
อำนาจรัฐยังคงเป็นของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่
นอกจากนี้เพื่อที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของศาล พวกเขาเอาตัวเลขคนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามี 20 ล้านคน บวกกับตุลาการเสียงข้างน้อย 3 ท่านแล้วตั้งข้อสงสัยว่า แพ้ตุลาการที่มี 6 เสียงได้อย่างไร?
ตัวเลขที่เขายกมามันคนละเรื่อง ตุลาการ 3 ท่านแพ้ 6 ท่านนั้นถูก แต่ผู้ที่ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียงนั้นไม่ใช่ตุลาการ ไม่มีหน้าที่พิจารณาคดีไม่เกี่ยวข้องเลย อย่าว่าแต่ในจำนวน 20 ล้านเสียงที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 20 ล้านเสียงที่ว่านี้ก็อาจจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่านไปใช้สิทธิเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์รวมอยู่ด้วยก็ได้
ต่อให้มีผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 99 เปอร์เซ็นต์หรือเต็มร้อย ถ้าหากคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลมีความเห็นว่าโมฆะก็ต้องโมฆะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ไม่ต้องไปสนใจเลยว่าใน 20 ล้านเสียงนี้ลงให้พรรคเพื่อไทยกี่คะแนน โหวตโนกี่คะแนน เขียนในบัตรเลือกตั้งเพื่อให้กลายเป็นบัตรเสียด้วยคำหยาบกี่ใบ เขียนว่าอีโง่กี่ใบ เขียนว่านางปัญญาอ่อนและอื่นๆ อีกกี่ใบ
จะต้องมีเรื่องเช่นนี้อีกในเวลาอันไม่นานนี้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะได้พิจารณาคดีสำคัญที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่แน่นักว่าถึงเวลานั้น ก็อาจจะมีตรรกะในทำนองเดียวกันนี้ออกมาอีก เพราะจำนวนคณะกรรมการ ป.ป.ช.นั้นมีไม่กี่คน เทียบกันไม่ได้เลยกับจำนวนผู้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยเลือกนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
คนที่สนับสนุนรัฐบาล สนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ มักจะอ้างเสมอในความเป็นประชาธิปไตย ในการมาจากการเลือกตั้ง ชะรอยคนเหล่านี้จะเข้าใจผิดเข้าใจว่า เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วก็จะทำได้สารพัดทั้งผิดทั้งถูก ทั้งชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เขาจะมีฝ่ายค้านไว้ทำไม มีกฎระเบียบไว้ทำไม มีกฎหมายไว้ทำไม มีอัยการ มีศาล และมีคุกไว้ทำไม
เข้าใจหรือยัง?
ไม่ยอมรับแล้วจะทำอย่างไร?
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ทางเดินต่อไปของฝ่ายรัฐบาลก็คือ ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะต้องเตรียมการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยของศาลไม่ได้ให้หยุดการเลือกตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ลาออกตั้งแต่ที่ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่รัฐบาลพยายามจะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสมุนบริวารที่ออกมาเผาบ้านเผาเมืองเมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน 2553 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 ตุลาคมจนถึงวันนี้ 4-5 เดือนแล้ว รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์จะมีเสถียรภาพมั่นคง นางสาวยิ่งลักษณ์สามารถรักษาการอยู่ได้จนเลือกตั้งทั่วไปใหม่อีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หรือนางสาวยิ่งลักษณ์จะกระเด็นพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้งไม่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
การประกาศไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญของพวกเขาเพียงต้องการที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของศาลเพราะฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศ และออกกฎหมายที่เสี่ยงกับการทำผิดกฎหมายตลอดมา โดยถือว่าตัวมีเสียงข้างมาก และสิ่งที่เขาต้องการก็ล้วนแต่ขัดกับตัวบทกฎหมายทั้งสิ้น เป็นต้น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้ว ยังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของวุฒิสภาที่ต้องการให้สมัครพรรคพวกบริษัทบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่วุฒิสภาเพราะอำนาจของวุฒิสภาคือ แต่งตั้งองค์กรอิสระ และถอดถอนนักการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวกับการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องให้สภาฯ รับทราบ เพื่อความคล่องตัวในการที่จะแสวงหาประโยชน์กับต่างชาติ โดยที่ต้องการปิดบังประชาชนไม่ให้ตัวแทนของประชาชนรับรู้ก่อน
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกหมด
โดยที่ก่อนหน้าที่คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ชี้มูลความผิดนายนิคม ไวยรัชพานิช รักษาการประธานวุฒิสภา จนต้องหยุดทำหน้าที่เพราะการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมรัฐสภาของนายนิคมได้ใช้อำนาจความเป็นประธาน ไม่เปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยที่แปรญัตติในร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แสดงความคิดเห็นหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ พวกเขาโฆษณาป่าวร้องว่า เป็นการสมคบคิด เป็นการทำรัฐประหารเงียบโดยศาล
ดังได้กล่าวแล้วว่าหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นโมฆะก็ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ศาลไม่มีอำนาจว่า ต้องหยุดการเลือกตั้ง หรือพักการเลือกตั้งเอาไว้ก่อน ไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการเลือกตั้ง จะบอกว่าเป็นการรัฐประหารเงียบ อำนาจก็ยังคงเป็นของรัฐบาลอยู่ จะออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่เมื่อไรก็สุดแท้แต่รัฐบาล
อำนาจรัฐยังคงเป็นของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่
นอกจากนี้เพื่อที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของศาล พวกเขาเอาตัวเลขคนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามี 20 ล้านคน บวกกับตุลาการเสียงข้างน้อย 3 ท่านแล้วตั้งข้อสงสัยว่า แพ้ตุลาการที่มี 6 เสียงได้อย่างไร?
ตัวเลขที่เขายกมามันคนละเรื่อง ตุลาการ 3 ท่านแพ้ 6 ท่านนั้นถูก แต่ผู้ที่ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียงนั้นไม่ใช่ตุลาการ ไม่มีหน้าที่พิจารณาคดีไม่เกี่ยวข้องเลย อย่าว่าแต่ในจำนวน 20 ล้านเสียงที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 20 ล้านเสียงที่ว่านี้ก็อาจจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่านไปใช้สิทธิเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์รวมอยู่ด้วยก็ได้
ต่อให้มีผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 99 เปอร์เซ็นต์หรือเต็มร้อย ถ้าหากคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลมีความเห็นว่าโมฆะก็ต้องโมฆะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ไม่ต้องไปสนใจเลยว่าใน 20 ล้านเสียงนี้ลงให้พรรคเพื่อไทยกี่คะแนน โหวตโนกี่คะแนน เขียนในบัตรเลือกตั้งเพื่อให้กลายเป็นบัตรเสียด้วยคำหยาบกี่ใบ เขียนว่าอีโง่กี่ใบ เขียนว่านางปัญญาอ่อนและอื่นๆ อีกกี่ใบ
จะต้องมีเรื่องเช่นนี้อีกในเวลาอันไม่นานนี้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะได้พิจารณาคดีสำคัญที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่แน่นักว่าถึงเวลานั้น ก็อาจจะมีตรรกะในทำนองเดียวกันนี้ออกมาอีก เพราะจำนวนคณะกรรมการ ป.ป.ช.นั้นมีไม่กี่คน เทียบกันไม่ได้เลยกับจำนวนผู้คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยเลือกนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
คนที่สนับสนุนรัฐบาล สนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ มักจะอ้างเสมอในความเป็นประชาธิปไตย ในการมาจากการเลือกตั้ง ชะรอยคนเหล่านี้จะเข้าใจผิดเข้าใจว่า เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วก็จะทำได้สารพัดทั้งผิดทั้งถูก ทั้งชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เขาจะมีฝ่ายค้านไว้ทำไม มีกฎระเบียบไว้ทำไม มีกฎหมายไว้ทำไม มีอัยการ มีศาล และมีคุกไว้ทำไม
เข้าใจหรือยัง?