ถ้าคิดในเชิงบวกก็ต้องบอกว่าการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนชนะมาเป็นขั้นเป็นตอนเรื่อยมา
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่งมีมติ 6 : 3 วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ ให้กกต.ปรึกษากับรัฐบาลกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปใหม่
แต่การต่อสู้ยังไม่จบลงง่าย ๆ หรอก
อย่างน้อยก็อีก 5 - 6 เดือนข้างหน้าโน่นแหละที่จะพอเห็นเค้าลางได้บ้าง
การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งกระบวนการ สถานการณ์จากนี้ไปหลายเดือนก็จะเป็นการต่อสู้ที่เข้มข้น โดยเฉพาะในสนามเจรจาต่อรอง
แน่นอนว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ แต่จะไม่ง่าย และไม่เร็ว
จะขอยกเหตุการณ์คล้ายกันมาก ๆ เมื่อปี 2549 มาเป็นตัวต้นแบบเปรียบเทียบ
8 พฤษภาคม 2549 - ศาลรัฐธรรมนูญยุคนั้นวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบ (มติ 8 : 6) ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งกระบวนการ (มติ 9 : 5) ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องมา เป็นสถานการณ์ที่เหมือนวันนี้โดยบังเอิญ
20 กรกฎาคม 2549 - ประกาศพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 75 ก. วันที่ 21 กรกฎาคม 2549)
24 สิงหาคม 2549 – วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
15 ตุลาคม 2549 – วันเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดขึ้นใหม่
จะเห็นได้ว่านับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ใช้เวลาถึง 2 เดือน 12 วันจึงจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และแทนที่จะให้พระราชกฤษฎีกาให้มีผลใช้บังคับทันทีอันจะทำให้การเลือกตั้งใหม่ต้องทำภายในไม่เกิน 60 วันตามรัฐธรรมนูญ ยังใช้เทคนิคทางกฎหมายให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับในอีก 1 เดือน 4 วันข้างหน้า แล้วกำหนดวันเลือกตั้งในอีกเกือบ 60 วันตามบังคับ
รวมแล้วนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กว่าจะถึงวันกำหนดเลือกตั้งใหม่ยังใช้เวลาอีก 5 เดือนเศษโดยประมาณ
กระนั้นก็ไม่ได้เลือกตั้งใหม่อยู่ดี เพราะมีเหตุเกิดขึ้นก่อน 26 วัน
สถานการณ์ ณ ปี 2549 ก็มีการชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณเหมือนวันนี้ แม้จะไม่ใช่ปักหลักพักค้างต่อเนื่องโดยตลอด แต่ก็ถือว่าอยู่ในบรรยากาศการชุมนุมเกือบตลอด และการเลือกตั้งครั้งแรกพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ลงสมัครเหมือนวันนี้
ระยะเวลา 2 เดือน 12 วันแรกคือระยะเจรจาระหว่างกกต.กับทุกฝ่าย
เมื่อลงตัวพอสมควรแล้วยังทอดระยะเวลาอีก 1 เดือน 4 วันจึงจะมีผลเริ่มต้นกระบวนการใหม่
เชื่อว่าวันนี้ปีนี้เทคนิคทางกฎหมายแบบเดียวกันก็จะถูกนำมาใช้อีก หลายคนหลายฝ่ายเริ่มพูดถึงกันมากแล้ว
ดังนั้นแม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะไปแล้ว กว่าจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ กกต.จึงมีเวลาเจรจาหาข้อสรุปกับทุกฝ่ายได้อีก 1 - 2 เดือน และมีระยะทอดเวลาให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับหลังประกาศอีก 1 เดือน นี่เปรียบเทียบกับตัวแบบของปี 2549 แต่เมื่อความขัดแย้งวันนี้หนักหนาสาหัสกว่า บางทีระยะเวลาอาจจะนานกว่าก็เป็นได้ แต่ตรงนี้ขอคิดแค่เท่าปี 2549 ก่อนแล้วกัน
สรุปแล้วกว่าจะถึงกำหนดวันเลือกตั้งใหม่คงไม่เร็วกว่าปลายเดือนสิงหาคม 2557
และระหว่างทางจากนี้ไปก็จะมีปรากฏการณ์ทางกฎหมายอื่นส่งผลลบต่อรัฐบาลเหมือนเมื่อปี 2549 เช่นกัน หนักหนาสาหัสกว่าด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ปปช.จะชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีในคดีจำนำข้าวเดือนเมษายน 2557 นี้แน่นอน อาจจะก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ แล้วยังมีการชี้มูลความผิดคดีอื่น ตั้งแต่ประธานวุฒิสภาที่โดนไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557 อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรจะตามมา และสุดท้ายก็จะเป็นอดีตส.ส.อดีตส.ว.ระหว่าง 200 – 300 คน
และแน่นอนว่าการขุมนุมมวลชนก็ยังคงดำรงอยู่คู่ขนานกันไปเหมือนกัน
โดยน่าจะมีชุมนุมใหญ่อีกครั้งใกล้ ๆ นี้
แต่ทุกประการก็เหมือนปี 2549 สถานการณ์โดยภาพรวมยังคงไม่ลงตัวเหมือนกัน
สถานการณ์เช่นนี้ การเมืองที่เล่นกันหลังฉากโดยทุกฝ่ายเข้มข้นยิ่งนัก !
เครือข่ายระบอบทักษิณนั้นรู้ทั้งรู้ว่าเลือกตั้งเป็นโมฆะแน่ และพวกเขาก็ต้องการเสียด้วย เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องกลับมาลงสมัครแข่ง แต่ในการแสดงออกเขาก็ยืนหยัดคัดค้านอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลรัฐธรรมนูญอย่างแข็งกร้าว
เพราะอะไรหรือ ?
ผมเชื่อว่าเพราะต้องการสะสมแต้มสั่งสมความไม่พอใจไว้ในหมู่มวลชนของเขา เป็นการใช้กระบวนท่าจากฝ่ายตรงข้ามมาบ่มเพาะพัฒนาพลังของฝ่ายตน
ทิศทางเดียวกันนี้จะเกิดกับการตัดสินคดีสำคัญขององค์กรอิสระอื่น อาทิ คดีชี้มูลความผิดนายกฯหญิงของปปช.ก่อนสงกรานต์นี้
เขารู้ว่าโดนแน่ และก็จะยอมให้โดน แต่เมื่อโดนก็จะแสดงอาการยืนหยัดคัดค้านอย่างแข็งขันเช่นกัน !
ไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากสะสมแต้มสั่งสมความไม่พอใจในหมู่มวลชนของตัวเอง
สะสมแต้มสั่งสมความแค้นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงครามใหญ่ที่พวกเขาเชื่อว่าจะต้องมาถึงวันหนึ่งข้างหน้า
ถ้าเครือข่ายฝ่ายตรงข้ามระบอบทักษิณยังคงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้แค่กระพี้ในสงครามรอบนี้ และพอใจอยู่เพียงการชนะศึกเล็กศึกใหญ่รายทาง ก็น่าเป็นห่วงยิ่งว่าจะตกเป็นรองในสงครามใหญ่ที่อย่างไรก็จะมาถึงแน่ในไม่ช้า
มวลชนทำทุกอย่างที่ทำได้มากที่สุดในกรอบของสันติอหิงสาแล้ว
ไม่มีใครทำได้มากกว่านี้อีกแล้ว
องค์กรอิสระและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาล ทั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ก็กำลังทำและจะทำอย่างมากที่สุด
แต่พ้นจากนี้เป็นเรื่องของ “ส่วนอื่น” ที่จะทำแค่ไหนอย่างไรขึ้นกับวิสัยทัศน์และธรรมะจัดสรร
เบี้ยนอกกระดานอย่างผมมิอาจก้าวล่วง
ที่เขียนมานี้ก็เพื่อแลกเปลี่ยนกัน และอดเป็นห่วงไม่ได้ว่าถ้า “ส่วนอื่น” ประเมินสถานการณ์สงครามที่ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนี้ต่ำกว่าความเป็นจริง เหมือนเมื่อครั้งปี 2549, 2551 และ 2552 - 2553 แล้วคิดว่าทำ “แค่นี้” ก็ “พอ” จะยิ่งเป็นการช่วยสั่งสมพลังและกำลังให้ฝ่ายตรงข้าม
ระบอบเผด็จการรัฐสภาของกลุ่มทุนเจ้าของพรรคการเมืองจะยังคงดำรงอยู่และ/หรือกลับมาเถลิงอำนาจใหม่ในเร็ววัน
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่งมีมติ 6 : 3 วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ ให้กกต.ปรึกษากับรัฐบาลกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปใหม่
แต่การต่อสู้ยังไม่จบลงง่าย ๆ หรอก
อย่างน้อยก็อีก 5 - 6 เดือนข้างหน้าโน่นแหละที่จะพอเห็นเค้าลางได้บ้าง
การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งกระบวนการ สถานการณ์จากนี้ไปหลายเดือนก็จะเป็นการต่อสู้ที่เข้มข้น โดยเฉพาะในสนามเจรจาต่อรอง
แน่นอนว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ แต่จะไม่ง่าย และไม่เร็ว
จะขอยกเหตุการณ์คล้ายกันมาก ๆ เมื่อปี 2549 มาเป็นตัวต้นแบบเปรียบเทียบ
8 พฤษภาคม 2549 - ศาลรัฐธรรมนูญยุคนั้นวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบ (มติ 8 : 6) ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งกระบวนการ (มติ 9 : 5) ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องมา เป็นสถานการณ์ที่เหมือนวันนี้โดยบังเอิญ
20 กรกฎาคม 2549 - ประกาศพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 75 ก. วันที่ 21 กรกฎาคม 2549)
24 สิงหาคม 2549 – วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
15 ตุลาคม 2549 – วันเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดขึ้นใหม่
จะเห็นได้ว่านับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ใช้เวลาถึง 2 เดือน 12 วันจึงจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และแทนที่จะให้พระราชกฤษฎีกาให้มีผลใช้บังคับทันทีอันจะทำให้การเลือกตั้งใหม่ต้องทำภายในไม่เกิน 60 วันตามรัฐธรรมนูญ ยังใช้เทคนิคทางกฎหมายให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับในอีก 1 เดือน 4 วันข้างหน้า แล้วกำหนดวันเลือกตั้งในอีกเกือบ 60 วันตามบังคับ
รวมแล้วนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กว่าจะถึงวันกำหนดเลือกตั้งใหม่ยังใช้เวลาอีก 5 เดือนเศษโดยประมาณ
กระนั้นก็ไม่ได้เลือกตั้งใหม่อยู่ดี เพราะมีเหตุเกิดขึ้นก่อน 26 วัน
สถานการณ์ ณ ปี 2549 ก็มีการชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณเหมือนวันนี้ แม้จะไม่ใช่ปักหลักพักค้างต่อเนื่องโดยตลอด แต่ก็ถือว่าอยู่ในบรรยากาศการชุมนุมเกือบตลอด และการเลือกตั้งครั้งแรกพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ลงสมัครเหมือนวันนี้
ระยะเวลา 2 เดือน 12 วันแรกคือระยะเจรจาระหว่างกกต.กับทุกฝ่าย
เมื่อลงตัวพอสมควรแล้วยังทอดระยะเวลาอีก 1 เดือน 4 วันจึงจะมีผลเริ่มต้นกระบวนการใหม่
เชื่อว่าวันนี้ปีนี้เทคนิคทางกฎหมายแบบเดียวกันก็จะถูกนำมาใช้อีก หลายคนหลายฝ่ายเริ่มพูดถึงกันมากแล้ว
ดังนั้นแม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะไปแล้ว กว่าจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ กกต.จึงมีเวลาเจรจาหาข้อสรุปกับทุกฝ่ายได้อีก 1 - 2 เดือน และมีระยะทอดเวลาให้พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับหลังประกาศอีก 1 เดือน นี่เปรียบเทียบกับตัวแบบของปี 2549 แต่เมื่อความขัดแย้งวันนี้หนักหนาสาหัสกว่า บางทีระยะเวลาอาจจะนานกว่าก็เป็นได้ แต่ตรงนี้ขอคิดแค่เท่าปี 2549 ก่อนแล้วกัน
สรุปแล้วกว่าจะถึงกำหนดวันเลือกตั้งใหม่คงไม่เร็วกว่าปลายเดือนสิงหาคม 2557
และระหว่างทางจากนี้ไปก็จะมีปรากฏการณ์ทางกฎหมายอื่นส่งผลลบต่อรัฐบาลเหมือนเมื่อปี 2549 เช่นกัน หนักหนาสาหัสกว่าด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ปปช.จะชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีในคดีจำนำข้าวเดือนเมษายน 2557 นี้แน่นอน อาจจะก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ แล้วยังมีการชี้มูลความผิดคดีอื่น ตั้งแต่ประธานวุฒิสภาที่โดนไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2557 อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรจะตามมา และสุดท้ายก็จะเป็นอดีตส.ส.อดีตส.ว.ระหว่าง 200 – 300 คน
และแน่นอนว่าการขุมนุมมวลชนก็ยังคงดำรงอยู่คู่ขนานกันไปเหมือนกัน
โดยน่าจะมีชุมนุมใหญ่อีกครั้งใกล้ ๆ นี้
แต่ทุกประการก็เหมือนปี 2549 สถานการณ์โดยภาพรวมยังคงไม่ลงตัวเหมือนกัน
สถานการณ์เช่นนี้ การเมืองที่เล่นกันหลังฉากโดยทุกฝ่ายเข้มข้นยิ่งนัก !
เครือข่ายระบอบทักษิณนั้นรู้ทั้งรู้ว่าเลือกตั้งเป็นโมฆะแน่ และพวกเขาก็ต้องการเสียด้วย เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องกลับมาลงสมัครแข่ง แต่ในการแสดงออกเขาก็ยืนหยัดคัดค้านอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินและศาลรัฐธรรมนูญอย่างแข็งกร้าว
เพราะอะไรหรือ ?
ผมเชื่อว่าเพราะต้องการสะสมแต้มสั่งสมความไม่พอใจไว้ในหมู่มวลชนของเขา เป็นการใช้กระบวนท่าจากฝ่ายตรงข้ามมาบ่มเพาะพัฒนาพลังของฝ่ายตน
ทิศทางเดียวกันนี้จะเกิดกับการตัดสินคดีสำคัญขององค์กรอิสระอื่น อาทิ คดีชี้มูลความผิดนายกฯหญิงของปปช.ก่อนสงกรานต์นี้
เขารู้ว่าโดนแน่ และก็จะยอมให้โดน แต่เมื่อโดนก็จะแสดงอาการยืนหยัดคัดค้านอย่างแข็งขันเช่นกัน !
ไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากสะสมแต้มสั่งสมความไม่พอใจในหมู่มวลชนของตัวเอง
สะสมแต้มสั่งสมความแค้นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงครามใหญ่ที่พวกเขาเชื่อว่าจะต้องมาถึงวันหนึ่งข้างหน้า
ถ้าเครือข่ายฝ่ายตรงข้ามระบอบทักษิณยังคงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้แค่กระพี้ในสงครามรอบนี้ และพอใจอยู่เพียงการชนะศึกเล็กศึกใหญ่รายทาง ก็น่าเป็นห่วงยิ่งว่าจะตกเป็นรองในสงครามใหญ่ที่อย่างไรก็จะมาถึงแน่ในไม่ช้า
มวลชนทำทุกอย่างที่ทำได้มากที่สุดในกรอบของสันติอหิงสาแล้ว
ไม่มีใครทำได้มากกว่านี้อีกแล้ว
องค์กรอิสระและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาล ทั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ก็กำลังทำและจะทำอย่างมากที่สุด
แต่พ้นจากนี้เป็นเรื่องของ “ส่วนอื่น” ที่จะทำแค่ไหนอย่างไรขึ้นกับวิสัยทัศน์และธรรมะจัดสรร
เบี้ยนอกกระดานอย่างผมมิอาจก้าวล่วง
ที่เขียนมานี้ก็เพื่อแลกเปลี่ยนกัน และอดเป็นห่วงไม่ได้ว่าถ้า “ส่วนอื่น” ประเมินสถานการณ์สงครามที่ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนี้ต่ำกว่าความเป็นจริง เหมือนเมื่อครั้งปี 2549, 2551 และ 2552 - 2553 แล้วคิดว่าทำ “แค่นี้” ก็ “พอ” จะยิ่งเป็นการช่วยสั่งสมพลังและกำลังให้ฝ่ายตรงข้าม
ระบอบเผด็จการรัฐสภาของกลุ่มทุนเจ้าของพรรคการเมืองจะยังคงดำรงอยู่และ/หรือกลับมาเถลิงอำนาจใหม่ในเร็ววัน