สธ.เร่งสร้างความเข้าใจกับชาวแพรกษาที่พักใกล้บ่อขยะไม่ยอมย้ายออก ระบุผู้ป่วยมาขอรับบริการมีถึง 833 ราย จากอาการแสบตา จมูก ขณะที่เด็ก 1 ขวบปอดติดเชื้ออาการดีขึ้น ส่งกรมอนามัยสุ่มตรวจน้ำประปา-น้ำกองขยะ 1 สัปดาห์รู้ผล ด้านทอ.ส่งเครื่องบินบีที-67 โปรยน้ำช่วยดับเพลิง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมวอร์รูมกรณีไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา จ.สมุทรปราการ วานนี้ (20 มี.ค.) ว่า สธ.ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น นักผจญเพลิง นักข่าว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง อาสาสมัคร รปภ. และชุมชนริมกองขยะที่ไม่ยอมย้ายออกแล้วประมาณ 700 ราย ภายในสัปดาห์หน้าจะทำการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ทั้งการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด การทำงานตับ ไต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเจาะเลือดชาวบ้านที่อยู่ในรัศมี 200 เมตรรอบบ่อขยะ ทั้งที่ย้ายมาอยู่ในศูนย์อพยพ และยังอาศัยอยู่ในบ้านแล้วจำนวน 127 ราย โดยจะทยอยตรวจต่อไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
"ที่น่าห่วงคือ ทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 12 ทีมได้ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านรอบบ่อขยะ 500 เมตร พบยังมีประชาชนอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อาศัยอยู่ในระยะ 50 เมตรด้วย ซึ่งจะเร่งทำความเข้าใจและสร้างความตระหนักในอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยอยากให้ย้ายออก รวมทั้งกรมอนามัยได้สุ่มตรวจน้ำประปา/บาดาล 2 จุด น้ำที่ไหลจากกองขยะ 1 จุดและน้ำผิวดิน 1 จุดคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์จึงจะทราบผล และเตรียมสุ่มตรวจอาหารในบริเวณดังกล่าวด้วย" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สมุทรปราการ ในฐานะผู้บัญชาการวอร์รูม กล่าวว่า มีประชาชนมาเข้ารับบริการในการตรวจรักษาทั้งที่ รพ.บางพลี หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่วัดแพรกษา รพ.สต.แพรกษาและ รพ.สมุทรปราการ ประมาณ 833 รายส่วนใหญ่มีอาการแสบตา แสบจมูก ระคายเคืองผิวหนัง เจ็บคอ ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ 1 ราย เป็นเด็กชาย 1 ขวบ 8 เดือน ตรวจพบการติดเชื้อในปอด แพทย์ให้การรักษา ขณะนี้อาการดีขึ้น แต่ยังคงให้ออกซิเจน
นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิน นายแพทย์ สสจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ผลตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า หลายพื้นที่ดีขึ้นกว่าช่วง 4 วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณ อบต.แพรกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์อพยพ พบไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
"เรายังคงต้องติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากยังมีประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้บ่อขยะในรัศมีไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร อีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ยอมย้ายออก เพราะกลัวทรัพย์สินสูญหาย แม้ผู้ว่าฯจะได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติก็ตาม" นพ.อัษฎางค์ กล่าว
*** ผบ.ทอ.ส่งบีที-67ช่วยดับเพลิง
พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผช.ผบ.ทอ.) ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ กล่าวว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ จัดเครื่องบินปฏิบัติภารกิจบินโปรยน้ำสลายหมอกควันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ
โดยเมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) ทางกองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินลำเลียง แบบที่ 2 ก หรือบีที-67 จากฝูงบิน 461 กองบิน 46 จ.พิษณุโลก ปฏิบัติภารกิจบินโปรยน้ำสลายหมอกควันที่เป็นมลพิษ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของบ่อขยะ โดยทำการบินจำนวน 4 เที่ยวบิน บรรจุน้ำจากกองบิน 6 ดอนเมือง ใส่แทงก์ที่บริเวณใต้ท้องเครื่องซึ่งมีความจุ 3,000 ลิตร ไปโปรยบริเวณทางด้านทิศใต้ลมของบ่อขยะ ซึ่งในการโปรยน้ำในแต่ละครั้ง จะครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1 ไร่
ทั้งนี้ จะมีการประเมินการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในทุกวัน หากการปฏิบัติภารกิจโปรยน้ำได้ผลดี จะปฏิบัติภารกิจไปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคลี่คลายเหตุการณ์ให้กลับคืนภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินบีที-67 สามารถรับมือกับภารกิจทางการทหารในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ทั้งในภารกิจทำฝนหลวง ดับไฟป่า กู้ภัยและลำเลียง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมวอร์รูมกรณีไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา จ.สมุทรปราการ วานนี้ (20 มี.ค.) ว่า สธ.ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น นักผจญเพลิง นักข่าว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง อาสาสมัคร รปภ. และชุมชนริมกองขยะที่ไม่ยอมย้ายออกแล้วประมาณ 700 ราย ภายในสัปดาห์หน้าจะทำการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ทั้งการเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด การทำงานตับ ไต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเจาะเลือดชาวบ้านที่อยู่ในรัศมี 200 เมตรรอบบ่อขยะ ทั้งที่ย้ายมาอยู่ในศูนย์อพยพ และยังอาศัยอยู่ในบ้านแล้วจำนวน 127 ราย โดยจะทยอยตรวจต่อไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
"ที่น่าห่วงคือ ทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 12 ทีมได้ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านรอบบ่อขยะ 500 เมตร พบยังมีประชาชนอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อาศัยอยู่ในระยะ 50 เมตรด้วย ซึ่งจะเร่งทำความเข้าใจและสร้างความตระหนักในอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยอยากให้ย้ายออก รวมทั้งกรมอนามัยได้สุ่มตรวจน้ำประปา/บาดาล 2 จุด น้ำที่ไหลจากกองขยะ 1 จุดและน้ำผิวดิน 1 จุดคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์จึงจะทราบผล และเตรียมสุ่มตรวจอาหารในบริเวณดังกล่าวด้วย" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สมุทรปราการ ในฐานะผู้บัญชาการวอร์รูม กล่าวว่า มีประชาชนมาเข้ารับบริการในการตรวจรักษาทั้งที่ รพ.บางพลี หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่วัดแพรกษา รพ.สต.แพรกษาและ รพ.สมุทรปราการ ประมาณ 833 รายส่วนใหญ่มีอาการแสบตา แสบจมูก ระคายเคืองผิวหนัง เจ็บคอ ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ 1 ราย เป็นเด็กชาย 1 ขวบ 8 เดือน ตรวจพบการติดเชื้อในปอด แพทย์ให้การรักษา ขณะนี้อาการดีขึ้น แต่ยังคงให้ออกซิเจน
นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิน นายแพทย์ สสจ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ผลตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า หลายพื้นที่ดีขึ้นกว่าช่วง 4 วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณ อบต.แพรกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์อพยพ พบไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
"เรายังคงต้องติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากยังมีประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้บ่อขยะในรัศมีไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร อีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ยอมย้ายออก เพราะกลัวทรัพย์สินสูญหาย แม้ผู้ว่าฯจะได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติก็ตาม" นพ.อัษฎางค์ กล่าว
*** ผบ.ทอ.ส่งบีที-67ช่วยดับเพลิง
พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผช.ผบ.ทอ.) ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ กล่าวว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ จัดเครื่องบินปฏิบัติภารกิจบินโปรยน้ำสลายหมอกควันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ
โดยเมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) ทางกองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินลำเลียง แบบที่ 2 ก หรือบีที-67 จากฝูงบิน 461 กองบิน 46 จ.พิษณุโลก ปฏิบัติภารกิจบินโปรยน้ำสลายหมอกควันที่เป็นมลพิษ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของบ่อขยะ โดยทำการบินจำนวน 4 เที่ยวบิน บรรจุน้ำจากกองบิน 6 ดอนเมือง ใส่แทงก์ที่บริเวณใต้ท้องเครื่องซึ่งมีความจุ 3,000 ลิตร ไปโปรยบริเวณทางด้านทิศใต้ลมของบ่อขยะ ซึ่งในการโปรยน้ำในแต่ละครั้ง จะครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1 ไร่
ทั้งนี้ จะมีการประเมินการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในทุกวัน หากการปฏิบัติภารกิจโปรยน้ำได้ผลดี จะปฏิบัติภารกิจไปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคลี่คลายเหตุการณ์ให้กลับคืนภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เครื่องบินบีที-67 สามารถรับมือกับภารกิจทางการทหารในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ทั้งในภารกิจทำฝนหลวง ดับไฟป่า กู้ภัยและลำเลียง