ASTVผู้จัดการรายวัน-เผย 5 หมู่บ้านอันตราย พบสารพิษเกินมาตรฐาน ต้องอพยพทันที 2 หมู่บ้าน อีก 3 หมู่บ้านให้ระวังหญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว ต้องย้ายออก น่าเป็นห่วง ประชาชนอีกนับหมื่นไม่ยอมย้าย "ปลัดณรงค์"ส่งทีมเคาะประตูบ้านให้คำแนะนำ พร้อมแบ่ง 3 กลุ่มนัดตรวจสุขภาพ ปตท.-กทม.เร่งดับไฟ ดีเอสไอลั่นเอาผิดโรงงานลักลอบทิ้งขยะ
นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะผู้บัญชาการวอร์รูมไฟไหม้บ่อขยะ ซ.แพรกษา จ.สมุทรปราการ เปิดเผยว่า จากการตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า 1.พื้นที่ในบ่อขยะมีคาร์บอนมอนอกไซด์สูงถึง 175 ppm 2.พื้นที่รัศมีรอบบ่อขยะ 200 เมตร มีคาร์บอนมอนอกไซด์ 10-15 ppm ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10-12 ppm 3.พื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตร มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5-8 ppm ซึ่งภายในรัศมีดังกล่าวถือว่าเป็นโซนสีแดง ต้องอพยพชาวบ้านออกทั้งหมด แต่ปัญหา คือ ประชาชนเกือบแทบทั้งหมดยังไม่ยอมย้ายออก ซึ่งหมู่บ้านในรัศมีดังกล่าวมี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านธันยพร และหมู่บ้านสหกรณ์ 4.พื้นที่รัศมี 2 กิโลเมตร มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2-4 ppm จัดเป็นพื้นที่สีเหลือง กลุ่มเสี่ยง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว ต้องย้ายออก สำหรับพื้นที่ในรัศมีนี้มี 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านเนเชอรา หมู่บ้านศุภาลัย และหมู่บ้านปัญฐิญา และ 5.พื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจัดเป็นพื้นที่สีเขียว
"ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังมีประชาชนเรือนหมื่นที่ยังไม่ยอมอพยพออก ที่น่ากังวลนอกจากนี้ คือ หากกระแสลมมีการพัดเปลี่ยนทิศทาง โดยพัดลงมาทางใต้บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีชุมชนตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ก็จะมีผู้ได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น"นพ.นำพลกล่าว
สำหรับการกระจายของควันและสารพิษ มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยบานขึ้นไปทางเหนือ เนื่องจากลมทะเลพัดจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ทำให้ฝุ่น ควัน และสารพิษกระจายตัวออกไป
***แบ่ง3กลุ่มเฝ้าระวังด้านสุขภาพ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้แบ่งการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับการสัมผัส คือ 1.กลุ่มเสี่ยงสูงสุดที่มีการสัมผัสรุนแรง เช่น นักผจญเพลิง ผู้สื่อข่าว วินมอเตอร์ไซค์ อาสาสมัคร รักษาความปลอดภัยตามหมู่บ้านต่างๆ ที่ใกล้บ่อขยะ และทหาร คาดประมาณกว่า 500 คน โดยภายในสัปดาห์จะเริ่มนัดให้มาตรวจสุขภาพที่ รพ.สมุทรปราการทุกคน ซึ่งจะต้องมีการตรวจอย่างละเอียด เจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด สมรรถภาพปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หาสารก่อมะเร็งต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2.กลุ่มปานกลาง คือ ประชาชนที่อยู่ในรัศมีรอบบ่อขยะ 200 เมตร ก็จะมีแนวทางตรวจสุขภาพเบื้องต้น และ 3.กลุ่มนอกพื้นที่ 200 เมตรขึ้นไป จะมีการซักประวัติคัดกรองความเสี่ยง และขึ้นทะเบียนเพื่อติดตามต่อเนื่องระยะยาว
สำหรับการให้บริการเฉพาะหน้า ได้มีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 จุด คือ อบต.แพรกษา ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งศูนย์อพยพ และวัดแพรกษา โดยสิ่งที่จะเพิ่มเติมจากการบริการตรวจรักษา คือ มีทีมสุขภาพจิตดูแลประชาชนด้วย รวมถึงมีทีมเข้าไปประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำ ประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่อพยพแบบเคาะประตูบ้าน เพราะขณะนี้ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่ยอมอพยพ โดยกลางคืนที่ศูนย์อพยพมีจำนวนผู้อพยพเพียง 200 คนเท่านั้น โดยจะอธิบายให้เข้าใจถึงอันตรายของสารพิษต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ถ้าหากไม่ย้ายออกจะเกิดอันตรายได้ง่ายกว่าคนปกติ สำหรับการตรวจสภาพอากาศของศูนย์อพยพขณะนี้ยังคงปลอดภัย แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
"ขอแนะนำให้ผู้ที่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ คือ งดออกกำลังกายกลางแจ้ง ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด และเปิดเครื่องปรับอากาศ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องสัมผัสกับควัน หากมีอาการ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ แน่นหน้าอกหายใจลำบากควรไปพบแพทย์ทันที"
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมกันเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมทั้งน้ำ ดิน และอาหาร โดยจะมีการสำรวจค่าสารอันตราย เช่น โลหะหนัก สารที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะจากพลาสติก ยาง และโฟม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ไขต่อไป
***ดีเอสไอเร่งเอาผิดโรงงานขนขยะมาทิ้ง
วันเดียวกันนี้ นายสมพงษ์ ไตรอุดม ผู้จัดการด้านบริหารความมั่นคงปลอดภัยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นายสุรเกียรติ ลิ้มเจริญ รองผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พร้อมเจ้าหน้าที่ และนายภูวิช ยมนา ผู้อำนวยการส่วนบริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เดินทางมายังบ่อขยะ ซ.8 แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากบ่อขยะ และหาวิธีดับไฟจากบ่อขยะให้เร็วที่สุด โดยได้มีการปรับแผนการดับเพลิงใหม่ เป็นการใช้รถแม็คโครสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ขุดขยะและกดให้จมลงในน้ำ ส่วนเจ้าหน้าที่ปตท. ได้ใช้เครื่องมือพิเศษที่คิดค้นมา เจาะลงไปใต้บ่อขยะ และฉีดน้ำเข้าไปเพื่อดับไฟใต้บ่อ ส่วนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะเร่งดำเนินคดีกับโรงงานอุตสาหกรรมที่นำขยะโรงงานมาทิ้ง และจะทำการตรวจสอบบ่อขยะทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
***ควันจ่อลามสุวรรณภูมิ
นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือจีสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำภาพจากดาวเทียมไทยโชต บริเวณต.แพรกษา เมื่อวันที่ 18 มี.ค. มามอบให้ จากภาพจะเห็นจุดที่เกิดเพลิงไหม้ชัดเจน และมีแนวควันพุ่งไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กม. ลอยปกคลุมในบริเวณอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี มุ่งเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ และเขตลาดกระบัง เขตประเวศ กทม. ประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการสูดควัน
นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะผู้บัญชาการวอร์รูมไฟไหม้บ่อขยะ ซ.แพรกษา จ.สมุทรปราการ เปิดเผยว่า จากการตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า 1.พื้นที่ในบ่อขยะมีคาร์บอนมอนอกไซด์สูงถึง 175 ppm 2.พื้นที่รัศมีรอบบ่อขยะ 200 เมตร มีคาร์บอนมอนอกไซด์ 10-15 ppm ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10-12 ppm 3.พื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตร มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5-8 ppm ซึ่งภายในรัศมีดังกล่าวถือว่าเป็นโซนสีแดง ต้องอพยพชาวบ้านออกทั้งหมด แต่ปัญหา คือ ประชาชนเกือบแทบทั้งหมดยังไม่ยอมย้ายออก ซึ่งหมู่บ้านในรัศมีดังกล่าวมี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านธันยพร และหมู่บ้านสหกรณ์ 4.พื้นที่รัศมี 2 กิโลเมตร มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2-4 ppm จัดเป็นพื้นที่สีเหลือง กลุ่มเสี่ยง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว ต้องย้ายออก สำหรับพื้นที่ในรัศมีนี้มี 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านเนเชอรา หมู่บ้านศุภาลัย และหมู่บ้านปัญฐิญา และ 5.พื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจัดเป็นพื้นที่สีเขียว
"ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังมีประชาชนเรือนหมื่นที่ยังไม่ยอมอพยพออก ที่น่ากังวลนอกจากนี้ คือ หากกระแสลมมีการพัดเปลี่ยนทิศทาง โดยพัดลงมาทางใต้บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีชุมชนตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ก็จะมีผู้ได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น"นพ.นำพลกล่าว
สำหรับการกระจายของควันและสารพิษ มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยบานขึ้นไปทางเหนือ เนื่องจากลมทะเลพัดจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ทำให้ฝุ่น ควัน และสารพิษกระจายตัวออกไป
***แบ่ง3กลุ่มเฝ้าระวังด้านสุขภาพ
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้แบ่งการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับการสัมผัส คือ 1.กลุ่มเสี่ยงสูงสุดที่มีการสัมผัสรุนแรง เช่น นักผจญเพลิง ผู้สื่อข่าว วินมอเตอร์ไซค์ อาสาสมัคร รักษาความปลอดภัยตามหมู่บ้านต่างๆ ที่ใกล้บ่อขยะ และทหาร คาดประมาณกว่า 500 คน โดยภายในสัปดาห์จะเริ่มนัดให้มาตรวจสุขภาพที่ รพ.สมุทรปราการทุกคน ซึ่งจะต้องมีการตรวจอย่างละเอียด เจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด สมรรถภาพปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หาสารก่อมะเร็งต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2.กลุ่มปานกลาง คือ ประชาชนที่อยู่ในรัศมีรอบบ่อขยะ 200 เมตร ก็จะมีแนวทางตรวจสุขภาพเบื้องต้น และ 3.กลุ่มนอกพื้นที่ 200 เมตรขึ้นไป จะมีการซักประวัติคัดกรองความเสี่ยง และขึ้นทะเบียนเพื่อติดตามต่อเนื่องระยะยาว
สำหรับการให้บริการเฉพาะหน้า ได้มีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 จุด คือ อบต.แพรกษา ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งศูนย์อพยพ และวัดแพรกษา โดยสิ่งที่จะเพิ่มเติมจากการบริการตรวจรักษา คือ มีทีมสุขภาพจิตดูแลประชาชนด้วย รวมถึงมีทีมเข้าไปประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำ ประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่อพยพแบบเคาะประตูบ้าน เพราะขณะนี้ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่ยอมอพยพ โดยกลางคืนที่ศูนย์อพยพมีจำนวนผู้อพยพเพียง 200 คนเท่านั้น โดยจะอธิบายให้เข้าใจถึงอันตรายของสารพิษต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ถ้าหากไม่ย้ายออกจะเกิดอันตรายได้ง่ายกว่าคนปกติ สำหรับการตรวจสภาพอากาศของศูนย์อพยพขณะนี้ยังคงปลอดภัย แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
"ขอแนะนำให้ผู้ที่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ คือ งดออกกำลังกายกลางแจ้ง ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด และเปิดเครื่องปรับอากาศ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องสัมผัสกับควัน หากมีอาการ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ แน่นหน้าอกหายใจลำบากควรไปพบแพทย์ทันที"
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมกันเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมทั้งน้ำ ดิน และอาหาร โดยจะมีการสำรวจค่าสารอันตราย เช่น โลหะหนัก สารที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะจากพลาสติก ยาง และโฟม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ไขต่อไป
***ดีเอสไอเร่งเอาผิดโรงงานขนขยะมาทิ้ง
วันเดียวกันนี้ นายสมพงษ์ ไตรอุดม ผู้จัดการด้านบริหารความมั่นคงปลอดภัยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นายสุรเกียรติ ลิ้มเจริญ รองผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พร้อมเจ้าหน้าที่ และนายภูวิช ยมนา ผู้อำนวยการส่วนบริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เดินทางมายังบ่อขยะ ซ.8 แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากบ่อขยะ และหาวิธีดับไฟจากบ่อขยะให้เร็วที่สุด โดยได้มีการปรับแผนการดับเพลิงใหม่ เป็นการใช้รถแม็คโครสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ขุดขยะและกดให้จมลงในน้ำ ส่วนเจ้าหน้าที่ปตท. ได้ใช้เครื่องมือพิเศษที่คิดค้นมา เจาะลงไปใต้บ่อขยะ และฉีดน้ำเข้าไปเพื่อดับไฟใต้บ่อ ส่วนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะเร่งดำเนินคดีกับโรงงานอุตสาหกรรมที่นำขยะโรงงานมาทิ้ง และจะทำการตรวจสอบบ่อขยะทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
***ควันจ่อลามสุวรรณภูมิ
นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือจีสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำภาพจากดาวเทียมไทยโชต บริเวณต.แพรกษา เมื่อวันที่ 18 มี.ค. มามอบให้ จากภาพจะเห็นจุดที่เกิดเพลิงไหม้ชัดเจน และมีแนวควันพุ่งไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กม. ลอยปกคลุมในบริเวณอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี มุ่งเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ และเขตลาดกระบัง เขตประเวศ กทม. ประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการสูดควัน