ตรวจวัดสารพิษ 5 ชนิด ในบ้านห่างจุดไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา 1 กิโลเมตร พบยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ยังอาศัยในบ้านได้ ยกเว้นกลุ่มเสี่ยง ส่วนนอกบ้านพบกลิ่นเหม็นและควันคละคลุ้ง ด้านวอร์รูมจัดพื้นที่ 3 โซน ระบุโซนสีแดงรอบบ่อขยะรัศมี 200-300 เมตร ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงเกิน 5 ppm ต้องออกจากพื้นที่ทันที พบป่วยแล้ว 15 ราย
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณุสข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมวอร์รูมไฟไหม้บ่อขยะ ซ.แพรกษา จ.สมุทราปราการ ว่า จากการส่งทีมออกไปตรวจวัดค่ามลพิษในอากาศภายในบ้านเพิ่มเติมอีก 5 ตัว โดยตรวจหมู่บ้านบริเวณใต้ลม ห่างจากจุดเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อตรวจสอบดูว่าภายในบ้านยังสามารถใช้อยู่อาศัยได้อยู่หรือไม่ พบว่า สารพิษทั้ง 5 ตัว ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 30 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง คาร์บอนไดออกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 5,000 ppm ไนโตรเจนไดออกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.17 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง โอโซน ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.10 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง และฝุ่นอนุภาคต่ำกว่า 10 ไมครอน (PM10) ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ล้วนยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดทั้งสิ้น ส่วนอากาศภายนอกบ้านพบว่ายังมีกลิ่นเหม็นและควันเป็นจำนวนมาก
“ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีความจำเป็นยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้ ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงคือ หญิงตั้งครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือน เพราะสารพิษสามารถผ่านรกและสายสะดือไปสู่เด็กได้ อาจทำให้เด็กผิดปกติหรือเสียชีวิต 2.เด็กแรกเกิด ซึ่งปอดจะสามารถดูดซึมสารเคมีได้ดีกว่าผู้ใหญ่ อาจดูดซึมเข้ากระแสเลือด รวมทั้งระบบทางเดินหายใจยังไม่สมบูรณ์ การไอขับฝุ่นยังไม่ดี 3.ผู้สูงอายุ หัวใจจะทำงานหนัก และ 4.ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ จะมีความไวต่อมลพิษในอากาศมากกว่ากลุ่มอื่น อาการอาจรุนแรง นอกจากนี้ ควรปิดบ้านให้สนิทมิดชิดด้วย” นพ.พิบูล กล่าว
ด้าน นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์ สสจ.สมุทรปราการ ฐานะผู้บัญชาการวอร์รูม กล่าวว่า จากการประชุมสรุปผลแนวทางการดำเนินงานของ สธ.ใน 3 ประเด็น คือ 1.การจัดบริการทางการแพทย์ โดยมีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 หน่วยคือ ที่ อบต.แพรกษา ซึ่งมีประชาชนอพยพไปอยู่ที่นั่น และ วัดแพรกษา ซึ่งนายกเทศมนตรีแจ้งมาว่าบริเวณดังกล่าวเริ่มมีประชาชนร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบ โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่จาก รพ.สมุทรปราการเข้าไปดูแล สำหรับผู้ป่วยจากการได้รับผลกระทบที่มารับการตรวจและรักษาที่ รพ.สต.แพรกษา มีทั้งสิ้น 15 ราย มีอาการแสบตา แสบจมูก และแสบทางเดินหายใจ แต่อาการไม่รุนแรงนัก 2.การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงละประชาชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ นักผจญเพลิง ชาวบ้านในรอบรัศมีบ่อขยะ 200 เมตร ก็จะมีการตรวจร่างกายเพื่อหาสารก่อมะเร็ง กลุ่มปานกลาง และน้อยตามลำดับ
นพ.นำพล กล่าวอีกว่า และ 3.การให้ความรู้และการป้องกัน ซึ่งขณะนี้มีการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนแล้วตามปริมาณที่สัมผัสฝุ่นละอองและสารพิษ พร้อมมีการรณรงค์ให้ความรู้ผ่านรถกระจายเสียง แผ่นพับ และไวนิล นอกจากนี้ จะมีการจัดโซนเพื่อวางมาตรการป้องกัน 3 ระดับคือ พื้นที่ Hot Zone หรือพื้นที่สีแดง คือมีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากกว่า 5 ppm ในระยะ 300-500 เมตรรอบบ่อขยะ ต้องอพยพออกจากพื้นที่ทันที พื้นที่ Intermediate Zone หรือพื้นที่สีเหลือง มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ที่ 2-5 ppm ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรรอบบ่อขยะ แนะนำให้กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโครประจำตัวต้องออกจากพื้นที่ และพื้นที่ Cold Zone หรือพื้นที่สีเขียว ระยะทางมากกว่า 1 กิโลเมตรขึ้นไป พื้นที่นี้ยังต้องเฝ้าระวัง เพราะหลังจากดับเพลิงลงแล้ว ควันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พื้นที่สีเหลืองกินระยะเพิ่มออกไปมากขึ้น ซึ่งจะวางแผนกับกรมควบคุมมลพิษในการกำหนดพื้นที่ต่อไป
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณุสข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมวอร์รูมไฟไหม้บ่อขยะ ซ.แพรกษา จ.สมุทราปราการ ว่า จากการส่งทีมออกไปตรวจวัดค่ามลพิษในอากาศภายในบ้านเพิ่มเติมอีก 5 ตัว โดยตรวจหมู่บ้านบริเวณใต้ลม ห่างจากจุดเกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อตรวจสอบดูว่าภายในบ้านยังสามารถใช้อยู่อาศัยได้อยู่หรือไม่ พบว่า สารพิษทั้ง 5 ตัว ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 30 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง คาร์บอนไดออกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 5,000 ppm ไนโตรเจนไดออกไซด์ ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.17 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง โอโซน ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.10 ppm ต่อ 1 ชั่วโมง และฝุ่นอนุภาคต่ำกว่า 10 ไมครอน (PM10) ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ล้วนยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดทั้งสิ้น ส่วนอากาศภายนอกบ้านพบว่ายังมีกลิ่นเหม็นและควันเป็นจำนวนมาก
“ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีความจำเป็นยังสามารถอยู่อาศัยภายในบ้านได้ ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงคือ หญิงตั้งครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือน เพราะสารพิษสามารถผ่านรกและสายสะดือไปสู่เด็กได้ อาจทำให้เด็กผิดปกติหรือเสียชีวิต 2.เด็กแรกเกิด ซึ่งปอดจะสามารถดูดซึมสารเคมีได้ดีกว่าผู้ใหญ่ อาจดูดซึมเข้ากระแสเลือด รวมทั้งระบบทางเดินหายใจยังไม่สมบูรณ์ การไอขับฝุ่นยังไม่ดี 3.ผู้สูงอายุ หัวใจจะทำงานหนัก และ 4.ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ จะมีความไวต่อมลพิษในอากาศมากกว่ากลุ่มอื่น อาการอาจรุนแรง นอกจากนี้ ควรปิดบ้านให้สนิทมิดชิดด้วย” นพ.พิบูล กล่าว
ด้าน นพ.นำพล แดนพิพัฒน์ รองนายแพทย์ สสจ.สมุทรปราการ ฐานะผู้บัญชาการวอร์รูม กล่าวว่า จากการประชุมสรุปผลแนวทางการดำเนินงานของ สธ.ใน 3 ประเด็น คือ 1.การจัดบริการทางการแพทย์ โดยมีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 หน่วยคือ ที่ อบต.แพรกษา ซึ่งมีประชาชนอพยพไปอยู่ที่นั่น และ วัดแพรกษา ซึ่งนายกเทศมนตรีแจ้งมาว่าบริเวณดังกล่าวเริ่มมีประชาชนร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบ โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่จาก รพ.สมุทรปราการเข้าไปดูแล สำหรับผู้ป่วยจากการได้รับผลกระทบที่มารับการตรวจและรักษาที่ รพ.สต.แพรกษา มีทั้งสิ้น 15 ราย มีอาการแสบตา แสบจมูก และแสบทางเดินหายใจ แต่อาการไม่รุนแรงนัก 2.การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงละประชาชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ นักผจญเพลิง ชาวบ้านในรอบรัศมีบ่อขยะ 200 เมตร ก็จะมีการตรวจร่างกายเพื่อหาสารก่อมะเร็ง กลุ่มปานกลาง และน้อยตามลำดับ
นพ.นำพล กล่าวอีกว่า และ 3.การให้ความรู้และการป้องกัน ซึ่งขณะนี้มีการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนแล้วตามปริมาณที่สัมผัสฝุ่นละอองและสารพิษ พร้อมมีการรณรงค์ให้ความรู้ผ่านรถกระจายเสียง แผ่นพับ และไวนิล นอกจากนี้ จะมีการจัดโซนเพื่อวางมาตรการป้องกัน 3 ระดับคือ พื้นที่ Hot Zone หรือพื้นที่สีแดง คือมีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากกว่า 5 ppm ในระยะ 300-500 เมตรรอบบ่อขยะ ต้องอพยพออกจากพื้นที่ทันที พื้นที่ Intermediate Zone หรือพื้นที่สีเหลือง มีค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ที่ 2-5 ppm ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรรอบบ่อขยะ แนะนำให้กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโครประจำตัวต้องออกจากพื้นที่ และพื้นที่ Cold Zone หรือพื้นที่สีเขียว ระยะทางมากกว่า 1 กิโลเมตรขึ้นไป พื้นที่นี้ยังต้องเฝ้าระวัง เพราะหลังจากดับเพลิงลงแล้ว ควันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พื้นที่สีเหลืองกินระยะเพิ่มออกไปมากขึ้น ซึ่งจะวางแผนกับกรมควบคุมมลพิษในการกำหนดพื้นที่ต่อไป