"สมชัย" ล็อบบี้หลวงปู่พุทธะอิสระขอให้ช่วยสื่อสารกับเวที กปปส. เปิดโอกาสให้ 6 องค์กรอิสระ ทำการเจรจาเพื่อหาทางออกประเทศ ตามที่จะมีการเสนอโรดแมปในวันนี้ เผย 4 ประเด็นเจรจา 6 ขั้นตอนความสำเร็จ เตรียมชงรัฐบาล–กปปส. ทั้งพันธสัญญาก่อน และหลังเลือกตั้ง อายุรัฐบาลควรอยู่รักษาการ แค่วันเลือกตั้งโดยไม่ขัด รธน. "เฉลิม" ดักคออย่าเสนอนายกฯ ม. 7 หยัน กสม.-ผู้ตรวจฯ ไม่มีเครดิต ด้าน "สุเทพ" เตือนองค์กรอิสระ อย่าคาดหวังมาก เพราะ กปปส. มีจุดยืนชัดเจนว่า"ยิ่งลักษณ์" ต้องออกไป ให้คนกลางปฏิรูป ก่อนเลือกตั้ง
วานนี้ (16 มี.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าของการร่วมมือระหว่าง 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอทางออกของความขัดแย้งภายในประเทศ ที่จะมีการแถลง ในเวลา 13.30 น. วันนี้ (17 มี.ค.) ที่สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ชั้น 9 อาคารบี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แต่มีบางองค์กรแถลงถอนตัวว่า อย่างองค์กรอัยการ เราก็เข้าใจเหตุผล เพราะมีความเป็นห่วงของความเป็นวิชาชีพ เนื่องจากอัยการ จะต้องเป็นผู้ที่ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อผู้กระทำความผิด ถ้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจา จะเหมือนว่า ไม่ได้ดำเนินการตามหน้าที่ จึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ ส่วนศาลปกครองนั้น ไม่ได้อยู่ในกลุ่มองค์กรตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้น เข้าใจว่า อาจจะเข้าใจผิด เพราะในกลุ่มที่ประชุมกัน ไม่เคยมีศาลปกครองอยู่ด้วย
ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) การประชุมที่ผ่านมา ก็มี กสม. อยู่ท่านหนึ่งได้เข้าร่วมประชุมแล้วก็ให้การสนับสนุนการเจรจา และให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ ในรูปแบบและแนวทางในการเจรจา ส่วนความเป็นเอกภาพใน กสม. เป็นอย่างไร คงไม่สามารถไปรับทราบได้
นายสมชัย กล่าวถึง การทาบทามอีก 2 องค์กร คือ สภาพัฒนาการเมือง และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เข้าร่วมประชุมว่า อยู่ระหว่างการทาบทาม ซึ่งยอมรับว่า มีการพูดคุยกัน เพียงแต่การตัดสินใจเข้าร่วมของ 2 องค์กรนั้น ไม่ได้อยู่ในฐานะของ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการทาบทาม ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทั้ง 2 องค์กร ไม่แน่ใจว่า การตัดสินใจดังกล่าว จะต้องนำเข้าที่ประชุมขององค์กรนั้นๆหรือไม่ ดังนั้นก็ต้องรอดูอีกครั้งว่า จะสามารถเข้าร่วมได้ทัน ในวันที่ 17 มี.ค.นี้หรือไม่ ถ้าไม่ทัน ก็คงต้องเข้าร่วมภายหลัง อย่างไรก็ตาม องค์กรใดที่ถอนตัวจากการเข้าร่วมครั้งนี้ ก็คงไม่เป็นปัญหาในการประชุม เหลือองค์กรเท่าไร ก็ประชุมเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเรื่องไม่ต้องมาคำนึงว่า การเข้าร่วมครั้งนี้จะดำเนินการสำเร็จหรือไม่ ตนคิดว่าสิ่งสำคัญ คือ การเริ่มต้นได้ลงมือทำ โดยกลุ่มคนที่เห็นปัญหาของบ้านเมือง และอยากจะเห็นบ้านเมืองมีทางออก
ล็อบบี้"หลวงปู่ฯ"เชิญ กปปส.ร่วม
ต่อมา นายสมชัย ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ตนได้ไปทำธุระ พบแพทย์ที่โรงพยาบาลมงกุฏรัตนะ แล้วทราบว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ แกนนำ กปปส. ได้จัดกิจกรรมอยู่ที่ อาคารบี ศูนย์ราชการ จึงได้แวะมานมัสการหลวงปู่ เมื่อเวลา 12.40 น. เพื่อเรียนให้ทราบถึงความคืบหน้าในการเจรจาแก้ไขความขัดแย้ง ซึ่งองค์กรอิสระองค์กรต่างๆ จะร่วมกันแถลงเสนอโรดแมปทางออกประเทศไทย ในวันนี้ ที่สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการ โดยจะกล่าวถึงกรอบเนื้อหาในการสร้างการเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้ง 4 ประเด็น และ แสดงโรดแมปในการเจรจา 6 ขั้นตอน ซึ่งจะเปิดเผยในวันนี้ จึงกราบเรียนหลวงปู่พุทธะอิสระ ให้ช่วยสนับสนุน ให้เกิดความสำเร็จในการจัดการเจรจา โดยอาจจะช่วยส่งข่าวสารไปยังเวที กปปส. เวทีอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระ เดินหน้าจัดการเจรจาได้สำเร็จ
นายสมชัย ยังระบุเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่กลุ่มองค์กรอิสระ ได้หารือว่าจะจัดการแถลงข่าวเสนอโรดแมปทางออกประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เว้นแต่เรื่องที่สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ถอนตัวออกไป เพราะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด และคู่เจรจาบางส่วนได้ถูกออกหมายจับ จึงอาจจะดูไม่เหมาะสม ที่จะร่วมเป็นตัวกลาง
เปิด4ปมเจรจา 6 ขั้นความสำเร็จ
รายงานข่าวแจ้งว่าในการแถลงของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอตัวเป็นคนกลางในการให้คู่ขัดแย้งคือ รัฐบาล และ กปปส. ได้เจรจาเพื่อทางออกประเทศนั้น จะมีการเสนอกรอบเนื้อหาการเจรจากับสองฝ่ายรวม 4 ประเด็น และแผนที่ความสำเร็จหรือ Road Map การเจรจา 6 ขั้นตอน
โดยกรอบเนื้อหาการเจรจา 4 ประเด็น ประกอบด้วย
1. ท่าทีต่อการเลือกตั้งในฐานะทางออกของประเทศ ในประเด็นว่าจะเดินหน้าเลือกตั้ง หรือปฏิรูปการเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนอใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
2. พันธสัญญาในประเด็นปฏิรูปประเทศ ที่จะทำก่อนการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้งในประเด็นว่า ก่อนเลือกตั้งต้องปฏิรูปอะไร หลังเลือกตั้งจะปฏิรูปอะไร และมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ
3. รูปแบบของรัฐบาลรักษาการ ที่เป็นกลาง และเป็นที่เชื่อถือในช่วงก่อนเลือกตั้ง ในประเด็นว่า รัฐบาลปัจจุบันควรรักษาการ จนวันเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนออื่น เพื่อให้มีรัฐบาลที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับโดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
4. การยุติความรุนแรง และพฤตกรรมทำร้ายประเทศ ในประเด็นว่า จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อยุติความรุนแรง และพฤติกรรมการทำร้ายประเทศโดยแต่ละฝ่ายมีข้อเสนอต่ออีกฝ่าย และแนวทางของฝ่ายตนเอง
ส่วนโรดแมป การเจรจา 6 ขั้นตอน ก็จะประกอบด้วย
1. การประกาศต่อสาธารณะ และให้สังคมมีส่วนร่วมในการส่งเสริม กดดันให้เกิดการเจรจา
2. การเดินสายเพื่อรับฟังแนวคำตอบของแต่ละฝ่าย
3 . การสังเคราะห์ ข้อเสนอทั้งสองฝ่าย และสร้างข้อเสนอใหม่ที่เป็นกลาง และคาดว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะยอมรับได้
4. การประสานและเจรจาทางลับเพื่อปรับข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใกล้กันมากที่สุด
5. การประชุมอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างข้อยุติที่ยอมรับได้โดยมี 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่คนกลางในการประชุม
6. การร่วมแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้ โดยจะมีการแถลงถึงความห่วงใยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันและความจำเป็นในการเจรจาหาทางออกด้วย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่มาของการแถลงเสนอตัวเป็นคนกลางของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น มาจากเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้พูดคุยถึงปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง โดย นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอให้ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญในขณะนั้น (รวมอัยการสูงสุด) ควรเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้กับประเทศ โดยอาจจะเป็นผู้จัดเวทีทั้งแบบลับ และเปิดเผยเพื่อให้คู่ขัดแย้งมีการเจรจา โดยมีการระบุให้ใช้สถานที่ราชการแห่งหนึ่ง เป็นที่เจรจา รวมถึงมีการระบุว่า การรวมพลังของ 7 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญในฐานะคนกลาง เพื่อทำหน้าที่ผู้ประสานการเจรจานั้น ผู้บัญชาการทหารบก เห็นว่าแนวทางดังกล่าว มีความเหมาะสม และยินดีเข้าร่วมกับ 7 องค์กร ในการเปิดเวทีเจรจาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งถือว่าอยู่ในจังหวะเหมาะสมที่สุด และเห็นว่ากรณีที่รัฐบาลจะให้ต่างชาติมาร่วมเจรจา เกรงว่าไม่เหมาะสมและนายโอกาส รับที่จะเป็นคนไปพูดคุยกับฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เกี่ยวกับการจัดเวทีการเจราจาและนำไปหารือกับ ผบ.ทบ. โดยที่ประชุมในวันนั้นได้ข้อสรุปในการเห็นควรว่า 7 องค์กรเจ้าภาพ และเป็นสักขีพยานในการจัดเวทีเจรจาให้แก่คู่ขัดแย้ง แต่ยังไม่ได้ว่าผู้ใดที่มีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นทูต หรือคนกลางในการเจรจา กรอบเจรจา และประเด็นควรเป็นอย่างไร จึงได้มีการนัดประชุมในวันที่ 14 มี.ค. จนที่สุด ก็ได้กรอบเนื้อหาเจรจา 4 ประเด็น และแผนที่ความสำเร็จ 6 ขั้นตอนที่นำไปสู่การแถลงรายละเอียดในวันนี้
"เหลิม"ดักคออย่าเสนอนายกฯ ม.7
ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี กลุ่มองค์กรอิสระ จะแถลงเป็นตัวกลางและเสนอโรดแมปเพื่อหาทางออกประเทศในวันนี้ ว่า ตนมองในแง่ดีว่า อาจจะเจตนาดี หากคิดดีไม่เป็นไร แต่จริงๆ ไม่ใช่หน้าที่ และไม่มีหน้าที่ แล้วใน 6 องค์กรอิสระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ไม่มีใครเชื่อถือ ควรมองดูตัวเอง เพราะไม่มีเครดิต ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดิน หากมีการปฏิรูป ต้องยกเลิกองค์กรนี้ เพราะเปลืองเงินเดือน ไม่มีประโยชน์อะไรต่อบ้านเมืองเลย
ส่วนที่อ้างว่า อัยการเข้าร่วมประชุมนั้น เป็นอัยการที่เกษียณอายุราชการแล้ว บ้านอยู่ จ.นครปฐม พวกตนเอง ตัวองค์กรอัยการเองมาร่วมไม่ได้ ทั้งนี้ หากวันที่ 17 มี.ค. แถลงออกมาในลักษณะไม่ยึดบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำตัวเหมือนรับคำสั่ง นึกว่าคนอื่นจะเชื่อถือ หากเสนอนายกฯ คนกลางเมื่อไร เดือดร้อนทั้งครอบครัว เขาจะด่าโคตรพ่อโคตรแม่กลับไป ตนจะด่าด้วย หากคิดอย่างนั้นขอให้ยุติเสียเถอะ ไม่มีใครฟัง ต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และหากออกมาค้านสายตาประชาชน กระทบต่อความเชื่อถือในคดีที่พิจารณาอยู่ล้านเปอร์เซ็นต์
"ถ้าจะเอานายกฯ มาตรา 7 ผมยอมไม่ได้ คุณถูกด่าแหลก ครอบครัวเดือดร้อน บ้านเมืองไปไกลแล้ว ที่เสนอก็เพราะจะเอาพวกมันมาเป็นนายกฯ ไม่มีใครยอมใครแล้วล่ะ แล้วหากจะมาบอกให้ถอยคนละก้าว บอกเลยไม่ต้องถอย ถอยทำไม อย่าเกียร์ว่าง เดินหน้าอย่างเดียว ไปจัดเลือกตั้งให้ครบ มีรัฐบาลแล้วค่อยปฏิรูป”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ส่วนเรื่องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหานายกฯว่า ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยมาตราดังกล่าวมี 2 ท่อน คือ ปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กับปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าโดยทุจริต เรื่องทุจริตนายกฯหลุดไปแล้ว เพราะไม่ได้แสวงหาประโยชน์ จึงเหลือแค่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนายกฯ ตั้งตนเป็นประธานตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวแล้ว จึงรอทนายความติดต่อมาจนจะเป็นพยานให้ เพราะนายกฯ ไม่ได้ผิด
ปชป.ขอให้ฟังข้อเสนอ7องค์กรก่อน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโรดแมป แก้ปัญหาประเทศ ที่ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เตรียมนำเสนอต่อสังคม ในวันนี้( 17 มี.ค.) ว่า เป็นการช่วยหาทางออกแก้วิกฤตของประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องโดยทุกฝ่ายควรช่วยกันรับฟัง และร่วมกันหาทางออก อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าทางออกจะเป็นอย่างไร แต่กลับมีกลุ่มบุคคล และบางพรรคการเมืองออกมาตั้งข้อสังเกตในลักษณะไม่ยอมรับการหาทางออกให้กับประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งตนขอเรียกร้องไปยังทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ทุกพรรคการเมือง และทุกฝ่ายในสังคม ให้รับฟังข้อเสนอของ 7 องค์กรอิสระ ก่อนว่ามีเนื้อหาเป็นอย่างไร ไม่ควรติเรือทั้งโกลน เมื่อรับฟังแล้วจะยอมรับหรือไม่ เป็นสิทธิของแต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กร จะวินิจฉัยในข้อเสนอนั้น การรับฟังจะเป็นผลดีมากกว่าการไม่รับฟังข้อเสนอจากใครเลยทั้งสิ้น เพราะถ้าเดินหน้าเช่นนี้ บ้านเมืองจะหาทางออกร่วมกันลำบาก
"ขอเรียกร้องไปทุกภาคส่วน ควรจะรับฟังข้อเสนอแล้วพิจารณาดูว่า พร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้วิกฤตบ้านเมืองตามข้อเสนอ องค์กรอิสระหรือไม่ จะเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองมากกว่า" นายองอาจ กล่าว
องค์กรอิสระอย่าคาดหวังจากกปปส.
เวลา 20.00 น. วานนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณเลขาธิการกปปส. ได้ปราศรัย ที่เวทีสวนลุมพินี ถึงกรณี 6 องค์กรอิสระ ต้องการให้ กปปส. เจรจากับรัฐบาลว่า เข้าใจเจตนาที่ดีขององค์กรเหล่านี้ คงต้องฟังข้อเสนอ ของ 6 องค์กรก่อน แต่ทางฝ่ายรัฐบาลพูดมาชัดว่าไม่ยอมรับข้อเสนอ อย่างเช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช.คนใหม่ พูดออกมาเลยว่า ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรอิสระที่จะมาเป็นคนกลาง เพราะรู้ว่าพวกนี้ต้องการนายกฯ คนกลาง ซึ่งเป็นไปไม่ได้
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ที่องค์กรอิสระอยากให้ถอยคนละก้าว ก็อยากรู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหน ถ้ายิ่งลักษณ์ยอมถอย โดยออกจากนายกฯรักษาการ แล้วให้มีการเลือกตั้ง เรายอมรับได้ แต่ถ้าให้เราถอยโดยให้กลับบ้าน ยิ่งลักษณ์ยังอยู่ต่อ แล้วบอกว่าเลือกตั้งก่อนแล้วปฏิรูป อันนี้เรายอมรับไม่ได้
อยากให้ตัวแทนองค์กรอิสระมาดูการชุมนุมของพวกเรา ว่าเป็นไปโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เราทุท่มเททุกอย่าง มาสู้เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน เพื่ออนาคตของลูกหลาน ด้วยการขจัดระบอบทักษิณ ที่โกงชาติ โกงแผ่นดิน ให้พ้นแผ่นดินไทย เพราะถ้ามีรัฐบาลที่ดีอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องมาชุมนุม จึงอยากให้เข้าใจเจตนารมย์ของผู้ที่มาชุมนุม
ดังนั้น คนที่จะมาเป็นคนกลาง จึงต้องเข้าใจในจุดนี้ และขอให้เตรียมตัวเตรียมใจ เพราะแกนนำกปปส. ต้องทำตามความคิดเห็นของมวลมหาประชาชน ถ้ามีขอเสนอที่ประชาชนรับได้ ก็ยินดีรับข้อเสนอ แต่ถ้าประชาชนรับไม่ได้ ตนก็ต้องปฏิเสธ เพราะตนทำหน้าที่รับใช้มวลมหาประชาชน
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ส่งที่แกนนำเสื้อแดงกล่าวหาว่า กปปส. สู้เพื่ออำมาตย์นั้น ขอปฏิเสธ เพราะเราเป็นประชาชนที่มีความจริงใจ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมอะไรทั้งสิ้น สู้มา 4 เดือน ไม่เห็นมีอำมาตย์มาดูแล มาบงการใดใดทั้งสิ้น แต่ศัตรูของเรา คือ ระบอบทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอันตรายต่อชาติต่อบ้านเมือง พูดอย่าง ทำอีกอย่าง ทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่เคยยอมรับการตรวจสอบ การถ่วงดุลอำนาจ แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร พอทำผิด ใช้อำนาจเกินขอบเขต แล้วถูกศาลตัดสิน ก็หาว่าถูกกลั่นแกล้ง ไม่ยอมรับอำนาจศาล อ้างอย่างเดียวว่าประชาชนเลือกมา
ดังนั้น พวกโลกสวย ที่อยากเห็นการเจรจา อยากให้จบ อาจจะผิดหวังก็ได้ เพราะกปปส.และรัฐบาลมีจุดยืนคนละขั้ว เพราะจุดยืนเราชัดเจนว่า ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ถ้ายิ่งลักษณ์ยอมออกไป ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยว ให้คนกลางมาทำหน้าที่ปฏิรูป แล้วเลือกตั้ง จะให้เรากลับบ้านเราก็ยินดี ถ้านอกเหนือจากนี้ เรายอมรับไม่ได้เด็ดขาด
สำหรับกิจกรรมของกปปส. ในวันนี้ (17 มี.ค.) จะมีเวทีเสวนาแนวทางปฏิรูปการทำงานของตำรวจไทย.
วานนี้ (16 มี.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้าของการร่วมมือระหว่าง 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอทางออกของความขัดแย้งภายในประเทศ ที่จะมีการแถลง ในเวลา 13.30 น. วันนี้ (17 มี.ค.) ที่สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ชั้น 9 อาคารบี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แต่มีบางองค์กรแถลงถอนตัวว่า อย่างองค์กรอัยการ เราก็เข้าใจเหตุผล เพราะมีความเป็นห่วงของความเป็นวิชาชีพ เนื่องจากอัยการ จะต้องเป็นผู้ที่ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อผู้กระทำความผิด ถ้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจา จะเหมือนว่า ไม่ได้ดำเนินการตามหน้าที่ จึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ ส่วนศาลปกครองนั้น ไม่ได้อยู่ในกลุ่มองค์กรตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มต้น เข้าใจว่า อาจจะเข้าใจผิด เพราะในกลุ่มที่ประชุมกัน ไม่เคยมีศาลปกครองอยู่ด้วย
ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) การประชุมที่ผ่านมา ก็มี กสม. อยู่ท่านหนึ่งได้เข้าร่วมประชุมแล้วก็ให้การสนับสนุนการเจรจา และให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ ในรูปแบบและแนวทางในการเจรจา ส่วนความเป็นเอกภาพใน กสม. เป็นอย่างไร คงไม่สามารถไปรับทราบได้
นายสมชัย กล่าวถึง การทาบทามอีก 2 องค์กร คือ สภาพัฒนาการเมือง และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เข้าร่วมประชุมว่า อยู่ระหว่างการทาบทาม ซึ่งยอมรับว่า มีการพูดคุยกัน เพียงแต่การตัดสินใจเข้าร่วมของ 2 องค์กรนั้น ไม่ได้อยู่ในฐานะของ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการทาบทาม ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทั้ง 2 องค์กร ไม่แน่ใจว่า การตัดสินใจดังกล่าว จะต้องนำเข้าที่ประชุมขององค์กรนั้นๆหรือไม่ ดังนั้นก็ต้องรอดูอีกครั้งว่า จะสามารถเข้าร่วมได้ทัน ในวันที่ 17 มี.ค.นี้หรือไม่ ถ้าไม่ทัน ก็คงต้องเข้าร่วมภายหลัง อย่างไรก็ตาม องค์กรใดที่ถอนตัวจากการเข้าร่วมครั้งนี้ ก็คงไม่เป็นปัญหาในการประชุม เหลือองค์กรเท่าไร ก็ประชุมเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเรื่องไม่ต้องมาคำนึงว่า การเข้าร่วมครั้งนี้จะดำเนินการสำเร็จหรือไม่ ตนคิดว่าสิ่งสำคัญ คือ การเริ่มต้นได้ลงมือทำ โดยกลุ่มคนที่เห็นปัญหาของบ้านเมือง และอยากจะเห็นบ้านเมืองมีทางออก
ล็อบบี้"หลวงปู่ฯ"เชิญ กปปส.ร่วม
ต่อมา นายสมชัย ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ตนได้ไปทำธุระ พบแพทย์ที่โรงพยาบาลมงกุฏรัตนะ แล้วทราบว่า หลวงปู่พุทธะอิสระ แกนนำ กปปส. ได้จัดกิจกรรมอยู่ที่ อาคารบี ศูนย์ราชการ จึงได้แวะมานมัสการหลวงปู่ เมื่อเวลา 12.40 น. เพื่อเรียนให้ทราบถึงความคืบหน้าในการเจรจาแก้ไขความขัดแย้ง ซึ่งองค์กรอิสระองค์กรต่างๆ จะร่วมกันแถลงเสนอโรดแมปทางออกประเทศไทย ในวันนี้ ที่สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการ โดยจะกล่าวถึงกรอบเนื้อหาในการสร้างการเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้ง 4 ประเด็น และ แสดงโรดแมปในการเจรจา 6 ขั้นตอน ซึ่งจะเปิดเผยในวันนี้ จึงกราบเรียนหลวงปู่พุทธะอิสระ ให้ช่วยสนับสนุน ให้เกิดความสำเร็จในการจัดการเจรจา โดยอาจจะช่วยส่งข่าวสารไปยังเวที กปปส. เวทีอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระ เดินหน้าจัดการเจรจาได้สำเร็จ
นายสมชัย ยังระบุเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่กลุ่มองค์กรอิสระ ได้หารือว่าจะจัดการแถลงข่าวเสนอโรดแมปทางออกประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เว้นแต่เรื่องที่สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ถอนตัวออกไป เพราะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด และคู่เจรจาบางส่วนได้ถูกออกหมายจับ จึงอาจจะดูไม่เหมาะสม ที่จะร่วมเป็นตัวกลาง
เปิด4ปมเจรจา 6 ขั้นความสำเร็จ
รายงานข่าวแจ้งว่าในการแถลงของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอตัวเป็นคนกลางในการให้คู่ขัดแย้งคือ รัฐบาล และ กปปส. ได้เจรจาเพื่อทางออกประเทศนั้น จะมีการเสนอกรอบเนื้อหาการเจรจากับสองฝ่ายรวม 4 ประเด็น และแผนที่ความสำเร็จหรือ Road Map การเจรจา 6 ขั้นตอน
โดยกรอบเนื้อหาการเจรจา 4 ประเด็น ประกอบด้วย
1. ท่าทีต่อการเลือกตั้งในฐานะทางออกของประเทศ ในประเด็นว่าจะเดินหน้าเลือกตั้ง หรือปฏิรูปการเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนอใหม่ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
2. พันธสัญญาในประเด็นปฏิรูปประเทศ ที่จะทำก่อนการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้งในประเด็นว่า ก่อนเลือกตั้งต้องปฏิรูปอะไร หลังเลือกตั้งจะปฏิรูปอะไร และมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ
3. รูปแบบของรัฐบาลรักษาการ ที่เป็นกลาง และเป็นที่เชื่อถือในช่วงก่อนเลือกตั้ง ในประเด็นว่า รัฐบาลปัจจุบันควรรักษาการ จนวันเลือกตั้ง หรือจะมีข้อเสนออื่น เพื่อให้มีรัฐบาลที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับโดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
4. การยุติความรุนแรง และพฤตกรรมทำร้ายประเทศ ในประเด็นว่า จะมีวิธีการอย่างไร เพื่อยุติความรุนแรง และพฤติกรรมการทำร้ายประเทศโดยแต่ละฝ่ายมีข้อเสนอต่ออีกฝ่าย และแนวทางของฝ่ายตนเอง
ส่วนโรดแมป การเจรจา 6 ขั้นตอน ก็จะประกอบด้วย
1. การประกาศต่อสาธารณะ และให้สังคมมีส่วนร่วมในการส่งเสริม กดดันให้เกิดการเจรจา
2. การเดินสายเพื่อรับฟังแนวคำตอบของแต่ละฝ่าย
3 . การสังเคราะห์ ข้อเสนอทั้งสองฝ่าย และสร้างข้อเสนอใหม่ที่เป็นกลาง และคาดว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะยอมรับได้
4. การประสานและเจรจาทางลับเพื่อปรับข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใกล้กันมากที่สุด
5. การประชุมอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างข้อยุติที่ยอมรับได้โดยมี 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่คนกลางในการประชุม
6. การร่วมแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้ โดยจะมีการแถลงถึงความห่วงใยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันและความจำเป็นในการเจรจาหาทางออกด้วย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ที่มาของการแถลงเสนอตัวเป็นคนกลางของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น มาจากเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้พูดคุยถึงปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง โดย นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอให้ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญในขณะนั้น (รวมอัยการสูงสุด) ควรเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และหาทางออกให้กับประเทศ โดยอาจจะเป็นผู้จัดเวทีทั้งแบบลับ และเปิดเผยเพื่อให้คู่ขัดแย้งมีการเจรจา โดยมีการระบุให้ใช้สถานที่ราชการแห่งหนึ่ง เป็นที่เจรจา รวมถึงมีการระบุว่า การรวมพลังของ 7 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญในฐานะคนกลาง เพื่อทำหน้าที่ผู้ประสานการเจรจานั้น ผู้บัญชาการทหารบก เห็นว่าแนวทางดังกล่าว มีความเหมาะสม และยินดีเข้าร่วมกับ 7 องค์กร ในการเปิดเวทีเจรจาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งถือว่าอยู่ในจังหวะเหมาะสมที่สุด และเห็นว่ากรณีที่รัฐบาลจะให้ต่างชาติมาร่วมเจรจา เกรงว่าไม่เหมาะสมและนายโอกาส รับที่จะเป็นคนไปพูดคุยกับฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เกี่ยวกับการจัดเวทีการเจราจาและนำไปหารือกับ ผบ.ทบ. โดยที่ประชุมในวันนั้นได้ข้อสรุปในการเห็นควรว่า 7 องค์กรเจ้าภาพ และเป็นสักขีพยานในการจัดเวทีเจรจาให้แก่คู่ขัดแย้ง แต่ยังไม่ได้ว่าผู้ใดที่มีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นทูต หรือคนกลางในการเจรจา กรอบเจรจา และประเด็นควรเป็นอย่างไร จึงได้มีการนัดประชุมในวันที่ 14 มี.ค. จนที่สุด ก็ได้กรอบเนื้อหาเจรจา 4 ประเด็น และแผนที่ความสำเร็จ 6 ขั้นตอนที่นำไปสู่การแถลงรายละเอียดในวันนี้
"เหลิม"ดักคออย่าเสนอนายกฯ ม.7
ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) กล่าวถึงกรณี กลุ่มองค์กรอิสระ จะแถลงเป็นตัวกลางและเสนอโรดแมปเพื่อหาทางออกประเทศในวันนี้ ว่า ตนมองในแง่ดีว่า อาจจะเจตนาดี หากคิดดีไม่เป็นไร แต่จริงๆ ไม่ใช่หน้าที่ และไม่มีหน้าที่ แล้วใน 6 องค์กรอิสระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ไม่มีใครเชื่อถือ ควรมองดูตัวเอง เพราะไม่มีเครดิต ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดิน หากมีการปฏิรูป ต้องยกเลิกองค์กรนี้ เพราะเปลืองเงินเดือน ไม่มีประโยชน์อะไรต่อบ้านเมืองเลย
ส่วนที่อ้างว่า อัยการเข้าร่วมประชุมนั้น เป็นอัยการที่เกษียณอายุราชการแล้ว บ้านอยู่ จ.นครปฐม พวกตนเอง ตัวองค์กรอัยการเองมาร่วมไม่ได้ ทั้งนี้ หากวันที่ 17 มี.ค. แถลงออกมาในลักษณะไม่ยึดบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำตัวเหมือนรับคำสั่ง นึกว่าคนอื่นจะเชื่อถือ หากเสนอนายกฯ คนกลางเมื่อไร เดือดร้อนทั้งครอบครัว เขาจะด่าโคตรพ่อโคตรแม่กลับไป ตนจะด่าด้วย หากคิดอย่างนั้นขอให้ยุติเสียเถอะ ไม่มีใครฟัง ต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และหากออกมาค้านสายตาประชาชน กระทบต่อความเชื่อถือในคดีที่พิจารณาอยู่ล้านเปอร์เซ็นต์
"ถ้าจะเอานายกฯ มาตรา 7 ผมยอมไม่ได้ คุณถูกด่าแหลก ครอบครัวเดือดร้อน บ้านเมืองไปไกลแล้ว ที่เสนอก็เพราะจะเอาพวกมันมาเป็นนายกฯ ไม่มีใครยอมใครแล้วล่ะ แล้วหากจะมาบอกให้ถอยคนละก้าว บอกเลยไม่ต้องถอย ถอยทำไม อย่าเกียร์ว่าง เดินหน้าอย่างเดียว ไปจัดเลือกตั้งให้ครบ มีรัฐบาลแล้วค่อยปฏิรูป”ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ส่วนเรื่องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหานายกฯว่า ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยมาตราดังกล่าวมี 2 ท่อน คือ ปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กับปฏิบัติ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าโดยทุจริต เรื่องทุจริตนายกฯหลุดไปแล้ว เพราะไม่ได้แสวงหาประโยชน์ จึงเหลือแค่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนายกฯ ตั้งตนเป็นประธานตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวแล้ว จึงรอทนายความติดต่อมาจนจะเป็นพยานให้ เพราะนายกฯ ไม่ได้ผิด
ปชป.ขอให้ฟังข้อเสนอ7องค์กรก่อน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโรดแมป แก้ปัญหาประเทศ ที่ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เตรียมนำเสนอต่อสังคม ในวันนี้( 17 มี.ค.) ว่า เป็นการช่วยหาทางออกแก้วิกฤตของประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องโดยทุกฝ่ายควรช่วยกันรับฟัง และร่วมกันหาทางออก อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าทางออกจะเป็นอย่างไร แต่กลับมีกลุ่มบุคคล และบางพรรคการเมืองออกมาตั้งข้อสังเกตในลักษณะไม่ยอมรับการหาทางออกให้กับประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งตนขอเรียกร้องไปยังทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ทุกพรรคการเมือง และทุกฝ่ายในสังคม ให้รับฟังข้อเสนอของ 7 องค์กรอิสระ ก่อนว่ามีเนื้อหาเป็นอย่างไร ไม่ควรติเรือทั้งโกลน เมื่อรับฟังแล้วจะยอมรับหรือไม่ เป็นสิทธิของแต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กร จะวินิจฉัยในข้อเสนอนั้น การรับฟังจะเป็นผลดีมากกว่าการไม่รับฟังข้อเสนอจากใครเลยทั้งสิ้น เพราะถ้าเดินหน้าเช่นนี้ บ้านเมืองจะหาทางออกร่วมกันลำบาก
"ขอเรียกร้องไปทุกภาคส่วน ควรจะรับฟังข้อเสนอแล้วพิจารณาดูว่า พร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้วิกฤตบ้านเมืองตามข้อเสนอ องค์กรอิสระหรือไม่ จะเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองมากกว่า" นายองอาจ กล่าว
องค์กรอิสระอย่าคาดหวังจากกปปส.
เวลา 20.00 น. วานนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณเลขาธิการกปปส. ได้ปราศรัย ที่เวทีสวนลุมพินี ถึงกรณี 6 องค์กรอิสระ ต้องการให้ กปปส. เจรจากับรัฐบาลว่า เข้าใจเจตนาที่ดีขององค์กรเหล่านี้ คงต้องฟังข้อเสนอ ของ 6 องค์กรก่อน แต่ทางฝ่ายรัฐบาลพูดมาชัดว่าไม่ยอมรับข้อเสนอ อย่างเช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช.คนใหม่ พูดออกมาเลยว่า ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรอิสระที่จะมาเป็นคนกลาง เพราะรู้ว่าพวกนี้ต้องการนายกฯ คนกลาง ซึ่งเป็นไปไม่ได้
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ที่องค์กรอิสระอยากให้ถอยคนละก้าว ก็อยากรู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหน ถ้ายิ่งลักษณ์ยอมถอย โดยออกจากนายกฯรักษาการ แล้วให้มีการเลือกตั้ง เรายอมรับได้ แต่ถ้าให้เราถอยโดยให้กลับบ้าน ยิ่งลักษณ์ยังอยู่ต่อ แล้วบอกว่าเลือกตั้งก่อนแล้วปฏิรูป อันนี้เรายอมรับไม่ได้
อยากให้ตัวแทนองค์กรอิสระมาดูการชุมนุมของพวกเรา ว่าเป็นไปโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เราทุท่มเททุกอย่าง มาสู้เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน เพื่ออนาคตของลูกหลาน ด้วยการขจัดระบอบทักษิณ ที่โกงชาติ โกงแผ่นดิน ให้พ้นแผ่นดินไทย เพราะถ้ามีรัฐบาลที่ดีอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องมาชุมนุม จึงอยากให้เข้าใจเจตนารมย์ของผู้ที่มาชุมนุม
ดังนั้น คนที่จะมาเป็นคนกลาง จึงต้องเข้าใจในจุดนี้ และขอให้เตรียมตัวเตรียมใจ เพราะแกนนำกปปส. ต้องทำตามความคิดเห็นของมวลมหาประชาชน ถ้ามีขอเสนอที่ประชาชนรับได้ ก็ยินดีรับข้อเสนอ แต่ถ้าประชาชนรับไม่ได้ ตนก็ต้องปฏิเสธ เพราะตนทำหน้าที่รับใช้มวลมหาประชาชน
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ส่งที่แกนนำเสื้อแดงกล่าวหาว่า กปปส. สู้เพื่ออำมาตย์นั้น ขอปฏิเสธ เพราะเราเป็นประชาชนที่มีความจริงใจ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมอะไรทั้งสิ้น สู้มา 4 เดือน ไม่เห็นมีอำมาตย์มาดูแล มาบงการใดใดทั้งสิ้น แต่ศัตรูของเรา คือ ระบอบทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอันตรายต่อชาติต่อบ้านเมือง พูดอย่าง ทำอีกอย่าง ทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่เคยยอมรับการตรวจสอบ การถ่วงดุลอำนาจ แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร พอทำผิด ใช้อำนาจเกินขอบเขต แล้วถูกศาลตัดสิน ก็หาว่าถูกกลั่นแกล้ง ไม่ยอมรับอำนาจศาล อ้างอย่างเดียวว่าประชาชนเลือกมา
ดังนั้น พวกโลกสวย ที่อยากเห็นการเจรจา อยากให้จบ อาจจะผิดหวังก็ได้ เพราะกปปส.และรัฐบาลมีจุดยืนคนละขั้ว เพราะจุดยืนเราชัดเจนว่า ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ถ้ายิ่งลักษณ์ยอมออกไป ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยว ให้คนกลางมาทำหน้าที่ปฏิรูป แล้วเลือกตั้ง จะให้เรากลับบ้านเราก็ยินดี ถ้านอกเหนือจากนี้ เรายอมรับไม่ได้เด็ดขาด
สำหรับกิจกรรมของกปปส. ในวันนี้ (17 มี.ค.) จะมีเวทีเสวนาแนวทางปฏิรูปการทำงานของตำรวจไทย.