น่าคิดกันบ้างนะว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญเมื่อวันพุธที่ 12 มีนาคม 2557 ทำไมประเด็นเนื้อหาจึงเห็นชอบกันด้วยมติเอกฉันท์ 9 : 0
ถ้าไม่ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจนชนิดไร้ข้อโต้แย้งจะได้มติอย่างนี้หรือ?
นานทีปีหนจะได้เห็นกันสักที
เรื่องมันง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนเลย เป็นข้อกฎหมายล้วนๆ ไม่มีอื่นใดมาปะปนเลย เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ว่าด้วยการจ่ายเงินแผ่นดินโดยตรง ถ้าคนที่วิพากษ์วิจารณ์อ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่งเสียก่อนก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก
“การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทความยาว 18 มาตราฉบับนี้มีเนื้อหาว่าด้วยการกู้และการใช้จ่ายเงินกู้ ย้ำนะครับ ทั้งด้านกู้และด้านใช้จ่ายเงินกู้
ศาลไม่ได้ห้ามกู้เงิน!
และศาลก็ไม่ได้ห้ามทำโครงการใด!
ศาลเพียงแต่วินิจฉัยว่าการใช้จ่ายเงินกู้ที่ได้มาตามร่างกฎหมายฉบับนี้ที่กำหนดขึ้นมาใหม่เองไว้ในมาตรา 6, 12, 15 และ 17 มันขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่กำหนดให้การจ่ายเงินแผ่นดินกระทำได้โดยผ่านกฎหมาย 4 ลักษณะ คือ กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี กฎหมายวิธีการงบประมาณ กฎหมายโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลังเท่านั้น
แม้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา 6 จะกำหนดให้ไม่ต้องส่งเงินกู้ที่ได้มาเข้าคลังตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายเงินคงคลังก็ตาม แต่ก็หาเป็นเหตุยกเว้นให้การจ่ายเงินก้อนนี้ออกไปไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 169 ได้
เพราะมาตรา 170 โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรคสองกำหนดไว้ชัดเจนว่าเงินที่ไม่ต้องส่งคลังก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหมวด 8 นี้
“เงินรายได้ของหน่วยงานรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
“การใช้จ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังตามหมวดนี้ด้วย”
ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญ 2550
รัฐบาลตั้งแต่ปี 2552 โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 พยายามศรีธนญชัยว่าเงินกู้ตามกฎหมายพิเศษที่บัญญัติว่าไม่ต้องส่งเข้าคลังไม่เป็นเงินแผ่นดิน จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 169
เมื่อศาลไม่เห็นด้วยกับความเห็นพิลึกพิลั่นนั้น – ก็จบ
เงินกู้ตามร่างกฎหมายนี้เมื่อเป็นเงินแผ่นดินก็ต้องจ่ายตามกรอบมาตรา 169 เท่านั้น
ชัดเจนอย่างนี้จึงได้มติเอกฉันท์ 9 : 0 ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน
ขนาดประเด็นกระบวนการเรื่องกดบัตรแทนกันที่สังคมเห็นว่าเป็นความผิดที่เห็นชัด ศาลท่านยังมีมติ 6 : 2 ไม่ออกเสียง 1 เลย แสดงว่าความชัดเจนน้อยกว่าประเด็นเนื้อหาด้วยซ้ำ
นี่เป็นการบิดเบือนเรื่องที่ 1 ที่พยายามพูดว่าศาลเข้ามาก้าวก่ายนโยบายการพัฒนาประเทศ มาตัดสินว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อะไรเร่งด่วนอะไรไม่เร่งด่วน
การบิดเบือนเรื่องที่ 2 ก็คือการพยายามพูดว่าศาลท่านดับเบิ้ลสแตนดาร์ด 2 มาตรฐาน
ทำไมโครงการไทยเข้มแข็งเมื่อปี 2552 ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ที่กู้เงินมาใช้นอกงบประมาณแบบเดียวกันทำได้ พอครั้งนี้กลับทำไม่ได้
ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยวินิจฉัยว่าพ.ร.ก.ไทยเข้มแข็ง 2552 กู้ 4 แสนล้านบาทสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เลยนะครับ
เพราะไม่มีใครร้องไป
ศาลรัฐธรรมนูญเพียงแต่วินิจฉัยว่าพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ขัดมาตรา 184 ตามที่พรรคเพื่อไทยร้องไปเท่านั้น
เช่นเดียวกับที่วินิจฉัยว่าพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 2555 กู้ 3.5 แสนล้านบาทสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนี้เองไม่ขัดมาตรา 184 ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ร้องไป ไม่เคยวินิจฉัยว่าไม่ขัดมาตรา 169
เพราะไม่มีผู้ร้องเช่นกัน
ที่ไม่มีผู้ร้องในทั้ง 2 พ.ร.ก.นั้นเหตุผลหนึ่งคือไม่มีช่องทางไป เนื่องจากเป็นพ.ร.ก. มีช่องทางไปศาลได้ตามช่องมาตรา 185 ที่ให้วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญเฉพาะมาตรา 184 หรือไม่เท่านั้น
การออกกฎหมายในรูปแบบพ.ร.ก.นั้น เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่เมื่อออกแล้วมีผลบังคับใช้เลย แต่จะต้องมาขออนุมัติรัฐสภา ก่อนหน้านั้นสมาชิกรัฐสภามีสิทธิเสนอคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ว่าพ.ร.ก.นั้นขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กำหนดให้เฉพาะประเด็นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ว่าด้วยเกณฑ์การตราพ.ร.ก.เท่านั้น คือ เป็นเหตุวิกฤตหรือไม่ และเป็นความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ นั้นกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้เฉพาะประเด็นวิกฤตหรือไม่เท่านั้น ความจำเป็นเร่งด่วนถือเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
แต่ครั้งนี้ ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านเสนอเข้ามาเป็นร่างพ.ร.บ. ไม่ใช่พ.ร.ก. มีช่องทางโล่งให้ยื่นต่อศาลได้ตามมาตรา 154 ที่เปิดกว้างให้ร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตราไหนก็ได้ทั้งสิ้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะมาตราเดียวเหมือนกรณี พ.ร.ก.
จึงเป็นครั้งแรกที่มีการร้องต่อศาลว่าการออกกฎหมายพิเศษมากู้เงินและใช้จ่ายเงินกู้นั้นออกไปโดยช่องทางพิเศษขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169, 170 และ/หรือรัฐธรรมนูญหมวด 8 การเงินการคลังแลงบประมาณทั้งหมวด (มาตรา 166 – 170)
และศาลก็ได้ตัดสินวางบรรทัดฐานไว้สำหรับรัฐบาลต่อไปในอนาคต
ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนจริงๆ
พูดจาภาษาชาวบ้านอย่างนี้พี่น้องคงจะเห็นได้ว่าการบิดเบือนทั้ง 2 กรณีทำความเข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไปนัก
ถ้าไม่ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจนชนิดไร้ข้อโต้แย้งจะได้มติอย่างนี้หรือ?
นานทีปีหนจะได้เห็นกันสักที
เรื่องมันง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนเลย เป็นข้อกฎหมายล้วนๆ ไม่มีอื่นใดมาปะปนเลย เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ว่าด้วยการจ่ายเงินแผ่นดินโดยตรง ถ้าคนที่วิพากษ์วิจารณ์อ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่งเสียก่อนก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก
“การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทความยาว 18 มาตราฉบับนี้มีเนื้อหาว่าด้วยการกู้และการใช้จ่ายเงินกู้ ย้ำนะครับ ทั้งด้านกู้และด้านใช้จ่ายเงินกู้
ศาลไม่ได้ห้ามกู้เงิน!
และศาลก็ไม่ได้ห้ามทำโครงการใด!
ศาลเพียงแต่วินิจฉัยว่าการใช้จ่ายเงินกู้ที่ได้มาตามร่างกฎหมายฉบับนี้ที่กำหนดขึ้นมาใหม่เองไว้ในมาตรา 6, 12, 15 และ 17 มันขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่กำหนดให้การจ่ายเงินแผ่นดินกระทำได้โดยผ่านกฎหมาย 4 ลักษณะ คือ กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี กฎหมายวิธีการงบประมาณ กฎหมายโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลังเท่านั้น
แม้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา 6 จะกำหนดให้ไม่ต้องส่งเงินกู้ที่ได้มาเข้าคลังตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายเงินคงคลังก็ตาม แต่ก็หาเป็นเหตุยกเว้นให้การจ่ายเงินก้อนนี้ออกไปไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 169 ได้
เพราะมาตรา 170 โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรคสองกำหนดไว้ชัดเจนว่าเงินที่ไม่ต้องส่งคลังก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหมวด 8 นี้
“เงินรายได้ของหน่วยงานรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
“การใช้จ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังตามหมวดนี้ด้วย”
ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญ 2550
รัฐบาลตั้งแต่ปี 2552 โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 พยายามศรีธนญชัยว่าเงินกู้ตามกฎหมายพิเศษที่บัญญัติว่าไม่ต้องส่งเข้าคลังไม่เป็นเงินแผ่นดิน จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 169
เมื่อศาลไม่เห็นด้วยกับความเห็นพิลึกพิลั่นนั้น – ก็จบ
เงินกู้ตามร่างกฎหมายนี้เมื่อเป็นเงินแผ่นดินก็ต้องจ่ายตามกรอบมาตรา 169 เท่านั้น
ชัดเจนอย่างนี้จึงได้มติเอกฉันท์ 9 : 0 ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน
ขนาดประเด็นกระบวนการเรื่องกดบัตรแทนกันที่สังคมเห็นว่าเป็นความผิดที่เห็นชัด ศาลท่านยังมีมติ 6 : 2 ไม่ออกเสียง 1 เลย แสดงว่าความชัดเจนน้อยกว่าประเด็นเนื้อหาด้วยซ้ำ
นี่เป็นการบิดเบือนเรื่องที่ 1 ที่พยายามพูดว่าศาลเข้ามาก้าวก่ายนโยบายการพัฒนาประเทศ มาตัดสินว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อะไรเร่งด่วนอะไรไม่เร่งด่วน
การบิดเบือนเรื่องที่ 2 ก็คือการพยายามพูดว่าศาลท่านดับเบิ้ลสแตนดาร์ด 2 มาตรฐาน
ทำไมโครงการไทยเข้มแข็งเมื่อปี 2552 ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ที่กู้เงินมาใช้นอกงบประมาณแบบเดียวกันทำได้ พอครั้งนี้กลับทำไม่ได้
ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยวินิจฉัยว่าพ.ร.ก.ไทยเข้มแข็ง 2552 กู้ 4 แสนล้านบาทสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เลยนะครับ
เพราะไม่มีใครร้องไป
ศาลรัฐธรรมนูญเพียงแต่วินิจฉัยว่าพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ขัดมาตรา 184 ตามที่พรรคเพื่อไทยร้องไปเท่านั้น
เช่นเดียวกับที่วินิจฉัยว่าพ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำ 2555 กู้ 3.5 แสนล้านบาทสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนี้เองไม่ขัดมาตรา 184 ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ร้องไป ไม่เคยวินิจฉัยว่าไม่ขัดมาตรา 169
เพราะไม่มีผู้ร้องเช่นกัน
ที่ไม่มีผู้ร้องในทั้ง 2 พ.ร.ก.นั้นเหตุผลหนึ่งคือไม่มีช่องทางไป เนื่องจากเป็นพ.ร.ก. มีช่องทางไปศาลได้ตามช่องมาตรา 185 ที่ให้วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญเฉพาะมาตรา 184 หรือไม่เท่านั้น
การออกกฎหมายในรูปแบบพ.ร.ก.นั้น เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่เมื่อออกแล้วมีผลบังคับใช้เลย แต่จะต้องมาขออนุมัติรัฐสภา ก่อนหน้านั้นสมาชิกรัฐสภามีสิทธิเสนอคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ว่าพ.ร.ก.นั้นขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กำหนดให้เฉพาะประเด็นขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ว่าด้วยเกณฑ์การตราพ.ร.ก.เท่านั้น คือ เป็นเหตุวิกฤตหรือไม่ และเป็นความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ นั้นกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้เฉพาะประเด็นวิกฤตหรือไม่เท่านั้น ความจำเป็นเร่งด่วนถือเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร
แต่ครั้งนี้ ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านเสนอเข้ามาเป็นร่างพ.ร.บ. ไม่ใช่พ.ร.ก. มีช่องทางโล่งให้ยื่นต่อศาลได้ตามมาตรา 154 ที่เปิดกว้างให้ร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตราไหนก็ได้ทั้งสิ้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะมาตราเดียวเหมือนกรณี พ.ร.ก.
จึงเป็นครั้งแรกที่มีการร้องต่อศาลว่าการออกกฎหมายพิเศษมากู้เงินและใช้จ่ายเงินกู้นั้นออกไปโดยช่องทางพิเศษขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169, 170 และ/หรือรัฐธรรมนูญหมวด 8 การเงินการคลังแลงบประมาณทั้งหมวด (มาตรา 166 – 170)
และศาลก็ได้ตัดสินวางบรรทัดฐานไว้สำหรับรัฐบาลต่อไปในอนาคต
ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนจริงๆ
พูดจาภาษาชาวบ้านอย่างนี้พี่น้องคงจะเห็นได้ว่าการบิดเบือนทั้ง 2 กรณีทำความเข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไปนัก