สะเก็ดไฟ
ตามที่นายกออกมาแถลงว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนได้อย่างไร โดยรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจหรือรองรับไว้ความจริงอำนาจบริหารที่เจ้าของอำนาจมอบให้นายกฯ ใช้ นั่นคือหนึ่งในอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3
เมื่อนายกรัฐมนตรีประสงค์จะคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงย่อมทำได้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ขออธิบายประกอบความเห็นดังนี้
โดยที่ผมได้เรียนเสนอไว้แล้วในฉบับก่อนแล้วว่าหากผู้ใช้อำนาจบริหารว่างลงรวมทั้งการตั้งสภามหาประชาชนแทนรัฐสภาแต่ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญนั้นจะทำอย่างไรไปแล้วในกรณีนายกรัฐมนตรีคืนอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทยต้องย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จบลงโดยจอมพลถนอม กิตติขจร คืนอำนาจให้ประชาชน
แล้วพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของปวงชนชาวไทยได้ประกาศให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ทันทีเพื่อให้การใช้อำนาจบริหารเกิดความต่อเนื่อง
กรณีนี้เป็นประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นเหตุการณ์ปรากฏในประวัติศาสตร์การปกครองของไทยและได้นำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 7
เมื่อนายกฯ จะคืนอำนาจโดยวิธีการสละอำนาจ เช่น การหนีไปหรือประกาศสละอำนาจโดยตรงจะต้องนำกระบวนการในการของดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่น มาตรา 171 และมาตรา 172 มาประกอบกับการใช้มาตรา7
และ กปปส. จำเป็นต้องดำเนินการเป็นผู้เสนอและเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นสำคัญในเกิดความสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ
ประวัติศาสตร์ปี 2516 เป็นประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นอย่างดีมาประกอบในการตัดสินใจดำเนินการโดย “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)” ต้องมีมติงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราได้และให้มติ กปปส.แต่งตั้งบุคคลขึ้นมารับสนองพระบรมราชโองการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐสภาปัจจุบันสมคบกับฝ่ายบริหารกระทำผิดรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่20 พฤศจิกายน 2556 ก็สมควรที่ กปปส.จะต้องขออำนาจนิติบัญญัติโดยการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเช่น มาตรา 94, 95, 112 และ 113 เป็นต้นเพื่อประกาศตั้งสภามหาประชาชนอันประกอบด้วยสมาชิกของสภาตามความต้องการในการปฏิรูปประเทศไทยต่อไปได้
ทั้งนี้ ให้นำประเพณีการปกครองของไทยในเหตุการณ์ปี 2549 เป็นข้ออ้างเพื่อดำเนินการจัดตั้งสภามหาประชาชนแทนรัฐสภา
และสำคัญที่สุด คือ การใช้รัฐธรรมนูญ 2550 สำหรับการนี้ต้องทำความเข้าใจในการใช้มาตรา 2 มาตรา 3 และมาตรา 7 ให้ดีด้วย