"ส.ว.คำนูณ"ชี้อย่าคาดหวังความรับผิดชอบจาก"ยิ่งลักษณ์" หลังกม.กู้เงิน 2 ล้านล้านขัดรธน. แนะต่อยอดคำวินิจฉัยมาใช้กับเงินกู้ 3.5 แสนล้าน ต้องเข้าระบบงบประมาณ พร้อมตรากฎหมายกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลัง "มาร์ค" จี้"ปู-ชัชชาติ" ไขก๊อก เย้ยเสียดายคนแกร่งสุดในปฐพี แต่ไปรับใช้ระบบเลวร้าย ด้าน"ยิ่งลักษณ์" บีบนำตา วอนคนไทยต้องรักกัน อย่าใช้กฎหมาย องค์กรอิสระ กระบวนการยุติธรรมมาตามห้ำหั่นเอาชนะกันทางการเมือง จนคนที่ถูกรังแกต้องหันมาฮึดสู้ ขอที่ยืนให้ตระกูลชินวัตร ด้วย
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะหนึ่งในผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ ร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า กระบวนการตรากฎหมาย และเนื้อหาของกฎหมาย ขัดกับรัฐธรรมนูญ ถือว่ากฎหมายดังกล่าวไม่สามารถมีผลบังคับใช้ได้ต่อไป
สำหรับช่องทางในการเอาผิดกับคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้เสนอกฎหมาย ส่วนตัวมองว่า ต้องไปยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาว่า เป็นการกระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ แต่การดำเนินการตามช่องทางนี้ จะใช้เวลาค่อนข้างนาน และอาจไม่มีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
"เช่นเดียวกับจะไปเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ก็คงทำได้ยาก เพราะรัฐบาลจะมีข้ออ้างออกมาว่า ตัวเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งคณะรัฐมนตรีแล้ว ด้วยผลจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร" นายคำนูณ กล่าว
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา นับว่าเป็นการปฏิรูประบบการเงินการคลังครั้งใหญ่ เพราะศาลฯได้วางแนวทางไว้ว่า การกู้เงินจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบงบประมาณ ที่ผ่านมาการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 และ 170 โดยจะไม่สามารถไปออกกฎหมายเพื่อกู้เงินที่เป็นเงินแผ่นดิน มาใช้นอกระบบงบประมาณได้
ขณะเดียวกันในประเด็นนี้ ทำให้เกิดการตีความต่อไปว่า การจะใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลได้กู้มาแล้ว ตามพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณ ตามรัฐธรรมนูญ 169 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเอาไว้แล้วว่า เงินกู้ ถือเป็นเงินแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไข มาตรา 169 ซึ่งมาตรา 169 บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดิน ต้องทำเป็นกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น
"ส่วนตัวไม่เคยขัดขวางการกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาประเทศ แต่การกู้เงินนั้น จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และตามระบบงบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นหากในอนาคตถ้ารัฐบาลใหม่จะกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ต้องดำเนินการผ่านการตั้งงบประมาณขาดดุลไว้ในงบประมาณประจำปี เพื่อไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน เรียกร้องให้มีการตรากฎหมายการเงินการคลังของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังด้วย หลังจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 167ได้บัญญัติเอาไว้ แต่ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนดำเนินการเสนอกฎหมายเข้าสภา" นายคำนูณ กล่าว
**รัฐบาลต้องรับผิดชอบทางการเมือง
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า การเอาผิดทางอาญากับรัฐบาลในเรื่องนี้ ผ่านคณะกรรมการ ป.ป.ช. คงทำได้ยาก เพราะเห็นว่า การเสนอกฎหมายการเงิน ถือเป็นอำนาจของรัฐบาลที่สามารถกระทำได้ แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเป็นโมฆะ แต่อีกด้านหนึ่งย่อมมองได้ว่าเป็นเรื่องของมุมมองทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ระหว่างรัฐบาล และศาลรัฐธรรมนูญ จึงคิดว่าการจะดำเนินการกับรัฐบาลต่อไป ควรเป็นไปในแนวทางของการเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความผิดชอบทางการเมืองมากกว่า
"จากพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นมองได้ยากว่า รัฐบาลได้กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เพราะการเสนอกฎหมายนั้น เป็นอำนาจของรัฐบาลอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญก็ตาม ซึ่งกรณีนี้ไม่เหมือนกับการเอาผิดอดีต ส.ส.และส.ว.จำนวน 308 คน ที่ร่วมกันเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว. โดยกรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า เป็นการใช้อำนาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย และนอกจากนี้ในมาตรา 68 ยังกำหนดให้สามารถเอาผิดทางอาญา กับผู้กระทำความผิดได้ด้วย" นายไพบูลย์ กล่าว
** จี้"ชัชชาติ"ไขก๊อก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่แปลกใจที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในรัฐบาลจะไม่แสดงความรับผิดชอบต่อ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2ล้านล้านบาท หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้หลายคนจะอ้างว่าไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าจะต้องแสดงความรับชอบอย่างไร แต่ในระบบรัฐสภาเกือบทั่วโลก แม้จะไม่มีการเขียนไว้ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ตามกฎหมาย อีกทั้งระบบสภากับรัฐบาล ไม่สามารถแยกกันได้โดยเด็ดขาด
" ผมไม่เคยได้ยินคุณยิ่งลักษณ์ ตอบประเด็นเหล่านี้เลย และผมไม่แน่ใจ คุณยิ่งลักษณ์รู้ประเด็นเหล่านี้หรือเปล่า ซึ่งตอนแรกไม่รู้ไม่เป็นไร ยังพอเข้าใจ ว่าทีมงานทำขึ้นมาว่า ต้องกู้ แต่เมื่อมีคนท้วงติงมา เคยใส่ใจที่จะดูบ้างมั้ย เคยให้เห็นผลหักล้างได้บ้างมั้ย โดยเฉพาะ คุณชัชชาติ (สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม) ที่อ้างว่ามีหน้าที่ปฏิบัติตามมติ ครม.เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง แต่ก็น่าเสียดายว่า ทำไมคุณชัชชาติ ไม่ดูภาพใหญ่กว่านั้น ไหนๆในเน็ตเขาก็บอก แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี แล้วทำไมเอาความแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ไปรับใช้ระบบซึ่งมันเลวร้าย เพราะในกรณีนี้ ถือเป็นการปล้นสิทธิ์ของประชาชนในการตรวจสอบ เพื่อนำเงินมาให้กระทรวงคมนาคมได้นำไปใช้ จึงควรจะมีจิตสำนึกรับผิดชอบด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ประเทศไทยก็ยังสามารถพัฒนาในแนวทางอื่น ที่สามารถบริหารจัดการเข้าสู่ระบบงบประมาณได้ หากสถานการณ์การเมืองเป็นปกติ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ การก่อสร้างท่าเรือ หรือถนน สามารถจัดสรรงบประมาณในปี 58 เริ่มต้นเดือนตุลานี้ อีก 6 เดือนข้างหน้านี้
ด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไทย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีของ น.สงยิ่งลักษณ์ จะต้องแสดงความรับชอบต่อผลที่เกิดขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 บัญญัติว่า คำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ทำให้ทุกองค์กรต้องดำเนินการตามคำวินิจฉัย ดังนั้น ครม.ต้องพิจารณาตนเอง เพราะได้ส่งกฎหมายที่ผิดพลาดเข้าสู่สภา นอกจากนี้นายชัชชาติ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.คมนาคม เพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพ และยังเป็นที่หวังของสังคมไทยต่อไปได้
** "ปู"โวยใช้กฎหมายตามห้ำหั่น
เมื่อเวลา 09.40 น. วานนี้ (13 มี.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญ ว่า จะมาอาศัยใช้ข้อกฎหมายไล่ล่ากันทุกวัน แล้วเราจะหาความสงบในบ้านเมืองนี้ได้อย่างไร เมื่อศาลตัดสินแล้ว รัฐบาลก็พร้อมที่จะเอาไปปรับ เป็นขั้นตอน แต่ละฝ่ายที่ต้องไปดำเนินการ คงไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งรัฐบาลต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับประชาชน
ส่วนที่หลายๆฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คงต้องไปศึกษาในกรณีอื่นๆ ด้วย หลังจากที่รัฐบาลได้รับฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่เป็นทางการ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
เมื่อถามว่า คิดว่าวันนี้รัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรอิสระหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ขอใช้คำว่า ขอความเห็นใจ หลายคนก็มีความตั้งใจ ตนก็ไม่ได้บอกว่าการที่เราขอความเห็นใจแล้วเราไม่ไดัปฏิบัติตามกฏหมาย อันนี้คนละประเด็นกัน แต่เป็นประเด็นว่า
"เราอย่าใช้กฏหมาย หรือใช้องค์กร มาทำงานเพื่อเรา จะเรียกว่าเราตัดสิทธิ์ ห่ำหันกันไปคนละข้างกันเลย เราเพิ่งผ่านพ้นสิ่งที่เราพูดว่า เราไม่อยากเห็นความรุนแรงของการปฏิวัติ แต่เราก็ไม่อยากเห็นการที่เราใช้กฏหมาย หรือใช้องค์กรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้คำตอบต่างๆ แต่จริงๆ แล้วคำตอบที่เราควรจะได้คือ ความสามัคคีของคนไทย การที่เราจะหาจุดหลักความสมดุลที่จะอยู่ร่วมกัน ถ้าบอกว่าต่างฝ่ายต่างบอกว่าแพ้ แล้วเราก็รุมกัน ในการที่จะห้ำหั่นกัน ไม่ว่าวิธีใดวิธีหนึ่ง เราคงอยู่กันลำบาก แต่ถ้าเรารู้จักการที่บอกว่า เหลือพื้นที่ให้กับทุกคนในสังคมได้อยู่เถอะ เพราะสุดท้ายเราก็คือคนไทยด้วยกัน เราต้องมองหน้า อยู่ในประเทศไทยด้วยกัน เราอยากเห็นทุกคนในสังคมไทยเดินไปไหนด้วยกันได้ ถามว่า เรามีการโต้แย้งความคิดเห็นต่าง ดิฉันก็เคารพในความคิดเห็นต่าง แต่เรามองว่าความเห็นต่างนั้นเป็นความเห็นต่างที่เราอยู่ด้วยกันในสังคมได้ ไม่ใช่ว่าไม่สามารถมองหน้ากันในสังคมได้เลย จากคนที่ไม่เคยรู้จักกัน สามารถที่จะโกรธเกลียดกันได้ขนาดนี้ และนี้คือสิ่งที่รู้สึกในความเศร้าใจของสังคม เราไม่อยากเห็นการแตกพวก แตกกลุ่ม ต่างคนต่างแตก เราคือคนไทยด้วยกัน มีพื้นที่ให้กับคนไทยทุกคนอยู่" นายกฯ กล่าว
**บีบน้ำตาขอตระกูลชินวัตรมีที่ยืน
เมื่อถามว่า คิดว่าการเมืองเล่นกันรุนแรงไปหรือไม่ จนไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราอย่าใช้การเมืองหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดการเอาชนะซึ่งกันและกัน เราน่าจะใช้เครื่องมือทางการเมืองให้เกิดความสามัคคี การอยู่ร่วมกันในสังคมให้ได้ สร้างสมดุล ขอกระบวนการตรวจสอบการทำงาน แต่อย่าสร้างสมดุลด้วยการห้ำหั่น จนไม่มีที่อยู่ ซึ่งคนที่ถูกรังแก ก็ต้องกลับมายืนสู้ ก็ไม่อยากเจอเหตุการณ์อย่างนี้ เราเจอเหตุการณ์อย่างนี้วน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มา 7-8 ปีแล้ว เราจะเป็นอย่างนี้กันอีกหรือ วงจรนี้ก็ไม่มีทางจบ ถ้าเราใช้หลักเมตตา เราใช้คำว่า ให้อภัยกัน และใช้คำว่าเหลือพื้นที่ให้กับบางคนได้อยู่ แล้วให้กลไกต่างๆ เดินไป เราเชื่อว่า สังคมจะเป็นพื้นที่ตรวจสอบ ถ้าใครไม่ทำดีในสังคม เป็นคนที่คิดร้ายในสังคม ตนเชื่อว่าประชาชนคนไทยจะประณามเขาเอง ให้เขาอยู่ไม่ได้ในสังคมด้วยตัวเขาเอง ดีกว่าเราใช้ขบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือ แล้วทำให้คนแตกแยก และมีแผลลึกในใจ
เมื่อถามว่า นายกฯไม่ท้อใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ท้อ อย่าพูดคำว่าท้อ หรือไม่ท้อ แต่เราพูดว่า เราต้องช่วยกัน ต้องใช้ความพยายามด้วยกัน ไม่อยากให้ทุกคนลดความพยายาม และทำให้สังคมไทยสงบไม่ได้ เราต้องไม่ลดความพยายาม ที่จะทำให้สันติภาพ เกิดขึ้นในประเทศไทย
เมื่อถามว่า เคยตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมคนที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ถึงได้เกลียดชังคนตระกูลชินวัตร เหลือเกิน นายกฯ หยุดไปสักครู่ ก่อนตอบด้วยน้ำเสียงที่สั่นเครือ และตาแดงว่า คงต้องถามคนถามด้วยมั้งคะ ตนคงไม่ขอตอบ เชื่อว่าสังคมที่อยู่ คนไทยจะเป็นคนพิจารณา ตระกูลชินวัตร เป็นอย่างนี้เชียวหรือ ตนคิดว่าเราอย่าพูดกันอย่างนี้เลย เราพูดกันอย่างนี้ เดี๋ยวก็มีตระกูลนั้น ตระกูลนี้ แล้วคุณะจะไม่ใหัคนไทยอยู่ด้วยกันแลัวหรือ คุณจะเป็นอย่างนี้กันแล้วหรือ นี้คือสิ่งที่ต้องถาม
** ทวงงบประชาสัมพันธ์ 240ล้าน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคำพูดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุว่า อย่าใช้กฎหมายลิดรอนสิทธิ ขอให้ดูที่เจตนา หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ ว่า กฎหมายลิดรอนสิทธิคนชั่ว เท่านั้น แสดงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จงใจละเมิดกฎหมาย และโจมตีกฎหมายประเทศว่าเป็นเครื่องมือขัดขวาง ลิดรอนสิทธิของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นคำพูดที่ต้องถอน เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำลายระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยังทำลายระบบคุณธรรม ยับเยิน เมื่อระบุว่า กฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอาย เพราะต่างชาติจะต้องตั้งคำถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีจริยธรรม และหลักในการทำงานอย่างไร เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำคือ การขัดรัฐธรรมนูญและขัดกฎหมาย ตนขอเรียกร้องความรับผิดชอบจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดังนี้
1. กรณี ส.ส.เพื่อไทย กดบัตรแทนกัน จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร 2. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ลงนามเสนอกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่จงใจทำผิดรัฐธรรมนูญจะรับผิดชอบอย่างไร เพราะ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ ระบุว่า ถ้าเป็นนายกฯ ปกติจะต้องลาออก แต่ตอนนี้แค่ปฏิบัติหน้าที่นายกฯไม่ต้องลาออก 3. โอกาสในการพัฒนาประเทศที่สูญเสียไปจากความพยายามเดินหน้าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ด้วยกฎหมายที่ไม่เป็นไปตามระบบงบประมาณ จะรับผิดชอบอย่างไร เพราะหากดำเนินการตามระบบปกติ สามารถเดินหน้าได้ แต่ประเทศต้องสูญเสียโอกาสไปกว่า 2 ปี เพราะความละโมบโลภมากของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ต้องการเหมารวมโครงการ หลีกเลี่ยงการตรวจสอบ จึงอยากให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง รวมทั้ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ต้องทำความเข้าใจด้วย และ 4. จะรับผิดชอบอย่างไร กับเงินงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่เป็นโมฆะ
ด้าน น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความรับผิดชอบของนายกฯ เกี่ยวกับกรณีนี้ จากการกระทำความผิดในหลายวาระ ทั้งการเซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จำนวน 240 ล้านบาท ในการโรดโชว์ ตามต่างจังหวัด ว่า สำนักเลขาธิการนายกฯ และสำนักปลัดฯ ต้องรับผิดชอบ และจะมีการดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วย เพราะเงินสองก้อน ที่จ้างสื่อมวลชนบางสังกัด สังกัดละ 100 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านนั้น เป็นเรื่องที่ทีมกฎหมายกำลังพิจารณาดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะมีการดำเนินการต่อเนื่อง แม้จะมีการส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ก็ไม่มีการระงับแผน ทำให้รัฐเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นผู้ที่เซ็นอนุมัติงบประมาณคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ด้วย
นอกจากนี้ ยังเห็นว่า เป็นการอนุมัติงบประมาณที่ขัดต่อระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัสดุ และไม่มีการยับยั้งการกระทำผิด ทั้งที่มีการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
** ย้ำสามารถใช้งบประมาณปกติได้
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวจับโกหก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับการทำผิดรัฐธรรมนูญ ในการออกกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทว่า มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงระบบตรวจสอบ ทั้งที่อยู่ในระบบงบประมาณได้ แต่ต้องการหลีกเลี่ยงการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ เพราะเมื่อออกกฎหมายเงินกู้ จะมีระเบียบต่างหาก จึงเป็นเจตนาเลว ตั้งแต่ต้น เพราะงบปี 2557 ขาดดุลที่ 2.5 แสนล้านบาท ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณสามารถขาดดุลได้ที่ 5.4 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลเลือกขาดดุลที่ 2.5 แสนล้านบาท ขณะที่เงินก้อนแรก ที่จะใช้อยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท จึงสามารถจัดในงบปกติได้
นอกจากนี้ยังมีการโกหกว่า ถ้าอยู่ในงบประมาณ จะทำให้ต่างชาติไม่เชือมั่น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะสามารถทำงบประมาณผูกพันได้ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ซึ่งโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านของรัฐบาล ใช้เวลาถึง 7 ปี สามารถทำงบผูกพันได้
ส่วนที่อ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำให้โอกาสในการพัฒนาประเทศสะดุดลงนั้น ไม่เป็นความจริง แต่เป็นเพราะรัฐบาลมีเจตนาที่เลวมาตั้งแต่ต้น เพราะแม้ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินการกู้เงินก้อนแรกได้ โดยพิจารณาได้จากแผนการก่อหนี้สาธารณะประจำปี 2557 โดยครม.มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 57 ตัดเม็ดเงิน 1.2 แสนล้านบาท ของโครงการเงินกู้ออก แล้วนำเงินที่ต้องใช้จ่ายหนี้จำนำข้าว 1.3 แสนล้านเข้าไปแทน เพราะถังแตก ดังนั้นการกู้เงินทำไม่ได้ เพราะรัฐบาลบริหารห่วยทำให้เกิดความเสียหายไม่ได้เกิดจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติว่ากฎหมายกู้เงินได้ รัฐบาลก็กู้ไม่ได้อยู่ดี เพราะมีการนำยอดเงินออกจากแผนบริหารหนี้สาธารณะในปี 2557 ไปแล้ว
"โครงการรถไฟความเร็วสูงมีปัญหา เฉพาะราคาต่อกิโลเมตรสูงกว่าความจริงทุกรายการ ไม่ให้ความสำคัญในเส้นทางจำเป็นเช่น กทม.-หนองคาย แต่ให้ความสำคัญกับเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน มีภาระดอกเบี้ยราว 4 หมื่นล้านต่อปี สูงกว่างบสำหรับการสร้างโรงพยาบาลที่รัฐบาลจัดสรรไว้ จึงเป็นบุญของประเทศ ที่กฎหมายนี้ไม่ผ่าน แต่ประชาชนไม่ต้องเสียดาย เพราะการพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้ตามระบบงบประมาณปกติ และสามารถออกงบเพิ่มเติมได้หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ" นายอรรถวิชช์ กล่าว
** กู้ 2 ล้านล้านล่มเพราะความโลภ
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า ถือว่าน่าเสียดายที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ต้องล่มลง สาเหตุมาจากความโลภของคนในรัฐบาล ที่อยากได้เงินก้อนใหญ่แบบไร้การตรวจสอบ หากใช้กระบวนการปกติ ตามครรลองของกฎหมายประเทศชาติก็จะเดินหน้าได้ ที่ประเทศชาติต้องเสียโอกาสมาจากความโลภของคนในรัฐบาลชุดนี้
อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นกติการ่วมกัน หากไม่ยอมรับกฎกติกา จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย สุดท้ายหากไม่เหลือกติกาให้ยึดถือ ก็ต้องอาศัยอำนาจกองทัพเข้ามาเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมรับ
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หัวหน้าคณะทำงานของนายกฯทักษิณ ชินวัตร บอกว่าไม่ควรยึดกฎหมายให้มากนัก ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่อันตราย คนเป็นผู้นำประเทศ ต้องเป็นตัวอย่างในการเคารพกติกา แต่ตัวเองกลับไม่เข้าใจกติกาเสียเอง จะให้ประชาชนยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ สุดท้ายผู้คนจะใช้กำลังตัดสิน บ้านเมืองจะไม่มีขื่อมีแปและจะเป็นหนทางไปสู่ความรุนแรง
**วอนอย่านำคำตัดสินศาลเป็นเงื่อนไขขัดแย้ง
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ในช่วงนี้มีการดำเนินการในเรื่องคดีต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ทั้งศาล และองค์กรอิสระในหลายคดี ซึ่งทางทหารไม่มีความคิดเห็นใดในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม โดยทั่วไปผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ถูกร้องยังสามารถชี้แจงแก้ต่าง หรือต่อสู้คดีได้ ตามช่องทางของกฎหมาย จึงไม่อยากให้นำคำตัดสิน หรือผลการพิจารณาขององค์กรอิสระ มาใช้เป็นเงื่อนไข ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น อยากให้ทุกฝ่ายเคารพในกระบวนการ และสนับสนุนให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามขั้นตอนปกติภายใต้กรอบกติกาของกฎหมาย
พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า สำหรับการตั้งด่านตรวจจุดสกัด และจุดให้บริการประชาชน ทั้งในกทม. และในต่างจังหวัด ของเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อมุ่งเน้นเฝ้าระวังเหตุ ลดการใช้ความรุนแรง สกัดกั้นอาวุธสงคราม และช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะสกัดกั้น หรือเลือกปฏิบัติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นการเคลื่อนไหวโดยสงบ ขอให้ประชาชนระมัดระวังต่อการเคลื่อนไหวใดๆ อย่าได้ละเมิดสิทธิของบุคคลผู้อื่น โดยเฉพาะการพูดจาไปพาดพิงให้ร้ายดูหมิ่นบุคคลอื่น หรือการแสดงถึงความเกลียดชังบุคคล หรือองค์กรด้วยการข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะหนึ่งในผู้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ ร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท กล่าวว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า กระบวนการตรากฎหมาย และเนื้อหาของกฎหมาย ขัดกับรัฐธรรมนูญ ถือว่ากฎหมายดังกล่าวไม่สามารถมีผลบังคับใช้ได้ต่อไป
สำหรับช่องทางในการเอาผิดกับคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้เสนอกฎหมาย ส่วนตัวมองว่า ต้องไปยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาว่า เป็นการกระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ แต่การดำเนินการตามช่องทางนี้ จะใช้เวลาค่อนข้างนาน และอาจไม่มีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
"เช่นเดียวกับจะไปเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ก็คงทำได้ยาก เพราะรัฐบาลจะมีข้ออ้างออกมาว่า ตัวเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งคณะรัฐมนตรีแล้ว ด้วยผลจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร" นายคำนูณ กล่าว
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา นับว่าเป็นการปฏิรูประบบการเงินการคลังครั้งใหญ่ เพราะศาลฯได้วางแนวทางไว้ว่า การกู้เงินจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบงบประมาณ ที่ผ่านมาการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 และ 170 โดยจะไม่สามารถไปออกกฎหมายเพื่อกู้เงินที่เป็นเงินแผ่นดิน มาใช้นอกระบบงบประมาณได้
ขณะเดียวกันในประเด็นนี้ ทำให้เกิดการตีความต่อไปว่า การจะใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ที่รัฐบาลได้กู้มาแล้ว ตามพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณ ตามรัฐธรรมนูญ 169 หรือไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเอาไว้แล้วว่า เงินกู้ ถือเป็นเงินแผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไข มาตรา 169 ซึ่งมาตรา 169 บัญญัติให้การจ่ายเงินแผ่นดิน ต้องทำเป็นกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น
"ส่วนตัวไม่เคยขัดขวางการกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาประเทศ แต่การกู้เงินนั้น จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และตามระบบงบประมาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นหากในอนาคตถ้ารัฐบาลใหม่จะกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ต้องดำเนินการผ่านการตั้งงบประมาณขาดดุลไว้ในงบประมาณประจำปี เพื่อไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน เรียกร้องให้มีการตรากฎหมายการเงินการคลังของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังด้วย หลังจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 167ได้บัญญัติเอาไว้ แต่ยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนดำเนินการเสนอกฎหมายเข้าสภา" นายคำนูณ กล่าว
**รัฐบาลต้องรับผิดชอบทางการเมือง
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า การเอาผิดทางอาญากับรัฐบาลในเรื่องนี้ ผ่านคณะกรรมการ ป.ป.ช. คงทำได้ยาก เพราะเห็นว่า การเสนอกฎหมายการเงิน ถือเป็นอำนาจของรัฐบาลที่สามารถกระทำได้ แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเป็นโมฆะ แต่อีกด้านหนึ่งย่อมมองได้ว่าเป็นเรื่องของมุมมองทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ระหว่างรัฐบาล และศาลรัฐธรรมนูญ จึงคิดว่าการจะดำเนินการกับรัฐบาลต่อไป ควรเป็นไปในแนวทางของการเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความผิดชอบทางการเมืองมากกว่า
"จากพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นมองได้ยากว่า รัฐบาลได้กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เพราะการเสนอกฎหมายนั้น เป็นอำนาจของรัฐบาลอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญ แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญก็ตาม ซึ่งกรณีนี้ไม่เหมือนกับการเอาผิดอดีต ส.ส.และส.ว.จำนวน 308 คน ที่ร่วมกันเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว. โดยกรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า เป็นการใช้อำนาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย และนอกจากนี้ในมาตรา 68 ยังกำหนดให้สามารถเอาผิดทางอาญา กับผู้กระทำความผิดได้ด้วย" นายไพบูลย์ กล่าว
** จี้"ชัชชาติ"ไขก๊อก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่แปลกใจที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในรัฐบาลจะไม่แสดงความรับผิดชอบต่อ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2ล้านล้านบาท หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้หลายคนจะอ้างว่าไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าจะต้องแสดงความรับชอบอย่างไร แต่ในระบบรัฐสภาเกือบทั่วโลก แม้จะไม่มีการเขียนไว้ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ตามกฎหมาย อีกทั้งระบบสภากับรัฐบาล ไม่สามารถแยกกันได้โดยเด็ดขาด
" ผมไม่เคยได้ยินคุณยิ่งลักษณ์ ตอบประเด็นเหล่านี้เลย และผมไม่แน่ใจ คุณยิ่งลักษณ์รู้ประเด็นเหล่านี้หรือเปล่า ซึ่งตอนแรกไม่รู้ไม่เป็นไร ยังพอเข้าใจ ว่าทีมงานทำขึ้นมาว่า ต้องกู้ แต่เมื่อมีคนท้วงติงมา เคยใส่ใจที่จะดูบ้างมั้ย เคยให้เห็นผลหักล้างได้บ้างมั้ย โดยเฉพาะ คุณชัชชาติ (สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม) ที่อ้างว่ามีหน้าที่ปฏิบัติตามมติ ครม.เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง แต่ก็น่าเสียดายว่า ทำไมคุณชัชชาติ ไม่ดูภาพใหญ่กว่านั้น ไหนๆในเน็ตเขาก็บอก แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี แล้วทำไมเอาความแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ไปรับใช้ระบบซึ่งมันเลวร้าย เพราะในกรณีนี้ ถือเป็นการปล้นสิทธิ์ของประชาชนในการตรวจสอบ เพื่อนำเงินมาให้กระทรวงคมนาคมได้นำไปใช้ จึงควรจะมีจิตสำนึกรับผิดชอบด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ประเทศไทยก็ยังสามารถพัฒนาในแนวทางอื่น ที่สามารถบริหารจัดการเข้าสู่ระบบงบประมาณได้ หากสถานการณ์การเมืองเป็นปกติ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ การก่อสร้างท่าเรือ หรือถนน สามารถจัดสรรงบประมาณในปี 58 เริ่มต้นเดือนตุลานี้ อีก 6 เดือนข้างหน้านี้
ด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไทย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า คณะรัฐมนตรีของ น.สงยิ่งลักษณ์ จะต้องแสดงความรับชอบต่อผลที่เกิดขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 บัญญัติว่า คำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ทำให้ทุกองค์กรต้องดำเนินการตามคำวินิจฉัย ดังนั้น ครม.ต้องพิจารณาตนเอง เพราะได้ส่งกฎหมายที่ผิดพลาดเข้าสู่สภา นอกจากนี้นายชัชชาติ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.คมนาคม เพื่อแสดงให้เห็นว่า เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่มีคุณภาพ และยังเป็นที่หวังของสังคมไทยต่อไปได้
** "ปู"โวยใช้กฎหมายตามห้ำหั่น
เมื่อเวลา 09.40 น. วานนี้ (13 มี.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญ ว่า จะมาอาศัยใช้ข้อกฎหมายไล่ล่ากันทุกวัน แล้วเราจะหาความสงบในบ้านเมืองนี้ได้อย่างไร เมื่อศาลตัดสินแล้ว รัฐบาลก็พร้อมที่จะเอาไปปรับ เป็นขั้นตอน แต่ละฝ่ายที่ต้องไปดำเนินการ คงไม่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งรัฐบาลต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนกับประชาชน
ส่วนที่หลายๆฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คงต้องไปศึกษาในกรณีอื่นๆ ด้วย หลังจากที่รัฐบาลได้รับฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่เป็นทางการ ซึ่งได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
เมื่อถามว่า คิดว่าวันนี้รัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรอิสระหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ขอใช้คำว่า ขอความเห็นใจ หลายคนก็มีความตั้งใจ ตนก็ไม่ได้บอกว่าการที่เราขอความเห็นใจแล้วเราไม่ไดัปฏิบัติตามกฏหมาย อันนี้คนละประเด็นกัน แต่เป็นประเด็นว่า
"เราอย่าใช้กฏหมาย หรือใช้องค์กร มาทำงานเพื่อเรา จะเรียกว่าเราตัดสิทธิ์ ห่ำหันกันไปคนละข้างกันเลย เราเพิ่งผ่านพ้นสิ่งที่เราพูดว่า เราไม่อยากเห็นความรุนแรงของการปฏิวัติ แต่เราก็ไม่อยากเห็นการที่เราใช้กฏหมาย หรือใช้องค์กรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้คำตอบต่างๆ แต่จริงๆ แล้วคำตอบที่เราควรจะได้คือ ความสามัคคีของคนไทย การที่เราจะหาจุดหลักความสมดุลที่จะอยู่ร่วมกัน ถ้าบอกว่าต่างฝ่ายต่างบอกว่าแพ้ แล้วเราก็รุมกัน ในการที่จะห้ำหั่นกัน ไม่ว่าวิธีใดวิธีหนึ่ง เราคงอยู่กันลำบาก แต่ถ้าเรารู้จักการที่บอกว่า เหลือพื้นที่ให้กับทุกคนในสังคมได้อยู่เถอะ เพราะสุดท้ายเราก็คือคนไทยด้วยกัน เราต้องมองหน้า อยู่ในประเทศไทยด้วยกัน เราอยากเห็นทุกคนในสังคมไทยเดินไปไหนด้วยกันได้ ถามว่า เรามีการโต้แย้งความคิดเห็นต่าง ดิฉันก็เคารพในความคิดเห็นต่าง แต่เรามองว่าความเห็นต่างนั้นเป็นความเห็นต่างที่เราอยู่ด้วยกันในสังคมได้ ไม่ใช่ว่าไม่สามารถมองหน้ากันในสังคมได้เลย จากคนที่ไม่เคยรู้จักกัน สามารถที่จะโกรธเกลียดกันได้ขนาดนี้ และนี้คือสิ่งที่รู้สึกในความเศร้าใจของสังคม เราไม่อยากเห็นการแตกพวก แตกกลุ่ม ต่างคนต่างแตก เราคือคนไทยด้วยกัน มีพื้นที่ให้กับคนไทยทุกคนอยู่" นายกฯ กล่าว
**บีบน้ำตาขอตระกูลชินวัตรมีที่ยืน
เมื่อถามว่า คิดว่าการเมืองเล่นกันรุนแรงไปหรือไม่ จนไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราอย่าใช้การเมืองหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดการเอาชนะซึ่งกันและกัน เราน่าจะใช้เครื่องมือทางการเมืองให้เกิดความสามัคคี การอยู่ร่วมกันในสังคมให้ได้ สร้างสมดุล ขอกระบวนการตรวจสอบการทำงาน แต่อย่าสร้างสมดุลด้วยการห้ำหั่น จนไม่มีที่อยู่ ซึ่งคนที่ถูกรังแก ก็ต้องกลับมายืนสู้ ก็ไม่อยากเจอเหตุการณ์อย่างนี้ เราเจอเหตุการณ์อย่างนี้วน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มา 7-8 ปีแล้ว เราจะเป็นอย่างนี้กันอีกหรือ วงจรนี้ก็ไม่มีทางจบ ถ้าเราใช้หลักเมตตา เราใช้คำว่า ให้อภัยกัน และใช้คำว่าเหลือพื้นที่ให้กับบางคนได้อยู่ แล้วให้กลไกต่างๆ เดินไป เราเชื่อว่า สังคมจะเป็นพื้นที่ตรวจสอบ ถ้าใครไม่ทำดีในสังคม เป็นคนที่คิดร้ายในสังคม ตนเชื่อว่าประชาชนคนไทยจะประณามเขาเอง ให้เขาอยู่ไม่ได้ในสังคมด้วยตัวเขาเอง ดีกว่าเราใช้ขบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือ แล้วทำให้คนแตกแยก และมีแผลลึกในใจ
เมื่อถามว่า นายกฯไม่ท้อใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ท้อ อย่าพูดคำว่าท้อ หรือไม่ท้อ แต่เราพูดว่า เราต้องช่วยกัน ต้องใช้ความพยายามด้วยกัน ไม่อยากให้ทุกคนลดความพยายาม และทำให้สังคมไทยสงบไม่ได้ เราต้องไม่ลดความพยายาม ที่จะทำให้สันติภาพ เกิดขึ้นในประเทศไทย
เมื่อถามว่า เคยตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมคนที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล ถึงได้เกลียดชังคนตระกูลชินวัตร เหลือเกิน นายกฯ หยุดไปสักครู่ ก่อนตอบด้วยน้ำเสียงที่สั่นเครือ และตาแดงว่า คงต้องถามคนถามด้วยมั้งคะ ตนคงไม่ขอตอบ เชื่อว่าสังคมที่อยู่ คนไทยจะเป็นคนพิจารณา ตระกูลชินวัตร เป็นอย่างนี้เชียวหรือ ตนคิดว่าเราอย่าพูดกันอย่างนี้เลย เราพูดกันอย่างนี้ เดี๋ยวก็มีตระกูลนั้น ตระกูลนี้ แล้วคุณะจะไม่ใหัคนไทยอยู่ด้วยกันแลัวหรือ คุณจะเป็นอย่างนี้กันแล้วหรือ นี้คือสิ่งที่ต้องถาม
** ทวงงบประชาสัมพันธ์ 240ล้าน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคำพูดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระบุว่า อย่าใช้กฎหมายลิดรอนสิทธิ ขอให้ดูที่เจตนา หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ ว่า กฎหมายลิดรอนสิทธิคนชั่ว เท่านั้น แสดงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จงใจละเมิดกฎหมาย และโจมตีกฎหมายประเทศว่าเป็นเครื่องมือขัดขวาง ลิดรอนสิทธิของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นคำพูดที่ต้องถอน เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำลายระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยังทำลายระบบคุณธรรม ยับเยิน เมื่อระบุว่า กฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอาย เพราะต่างชาติจะต้องตั้งคำถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีจริยธรรม และหลักในการทำงานอย่างไร เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำคือ การขัดรัฐธรรมนูญและขัดกฎหมาย ตนขอเรียกร้องความรับผิดชอบจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดังนี้
1. กรณี ส.ส.เพื่อไทย กดบัตรแทนกัน จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร 2. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ลงนามเสนอกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่จงใจทำผิดรัฐธรรมนูญจะรับผิดชอบอย่างไร เพราะ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ ระบุว่า ถ้าเป็นนายกฯ ปกติจะต้องลาออก แต่ตอนนี้แค่ปฏิบัติหน้าที่นายกฯไม่ต้องลาออก 3. โอกาสในการพัฒนาประเทศที่สูญเสียไปจากความพยายามเดินหน้าเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ด้วยกฎหมายที่ไม่เป็นไปตามระบบงบประมาณ จะรับผิดชอบอย่างไร เพราะหากดำเนินการตามระบบปกติ สามารถเดินหน้าได้ แต่ประเทศต้องสูญเสียโอกาสไปกว่า 2 ปี เพราะความละโมบโลภมากของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ต้องการเหมารวมโครงการ หลีกเลี่ยงการตรวจสอบ จึงอยากให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.คลัง รวมทั้ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ต้องทำความเข้าใจด้วย และ 4. จะรับผิดชอบอย่างไร กับเงินงบประมาณกว่า 200 ล้านบาท ที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ที่เป็นโมฆะ
ด้าน น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความรับผิดชอบของนายกฯ เกี่ยวกับกรณีนี้ จากการกระทำความผิดในหลายวาระ ทั้งการเซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จำนวน 240 ล้านบาท ในการโรดโชว์ ตามต่างจังหวัด ว่า สำนักเลขาธิการนายกฯ และสำนักปลัดฯ ต้องรับผิดชอบ และจะมีการดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วย เพราะเงินสองก้อน ที่จ้างสื่อมวลชนบางสังกัด สังกัดละ 100 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านนั้น เป็นเรื่องที่ทีมกฎหมายกำลังพิจารณาดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะมีการดำเนินการต่อเนื่อง แม้จะมีการส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ก็ไม่มีการระงับแผน ทำให้รัฐเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นผู้ที่เซ็นอนุมัติงบประมาณคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ด้วย
นอกจากนี้ ยังเห็นว่า เป็นการอนุมัติงบประมาณที่ขัดต่อระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัสดุ และไม่มีการยับยั้งการกระทำผิด ทั้งที่มีการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
** ย้ำสามารถใช้งบประมาณปกติได้
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวจับโกหก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับการทำผิดรัฐธรรมนูญ ในการออกกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทว่า มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงระบบตรวจสอบ ทั้งที่อยู่ในระบบงบประมาณได้ แต่ต้องการหลีกเลี่ยงการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ เพราะเมื่อออกกฎหมายเงินกู้ จะมีระเบียบต่างหาก จึงเป็นเจตนาเลว ตั้งแต่ต้น เพราะงบปี 2557 ขาดดุลที่ 2.5 แสนล้านบาท ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณสามารถขาดดุลได้ที่ 5.4 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลเลือกขาดดุลที่ 2.5 แสนล้านบาท ขณะที่เงินก้อนแรก ที่จะใช้อยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท จึงสามารถจัดในงบปกติได้
นอกจากนี้ยังมีการโกหกว่า ถ้าอยู่ในงบประมาณ จะทำให้ต่างชาติไม่เชือมั่น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะสามารถทำงบประมาณผูกพันได้ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ซึ่งโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านของรัฐบาล ใช้เวลาถึง 7 ปี สามารถทำงบผูกพันได้
ส่วนที่อ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำให้โอกาสในการพัฒนาประเทศสะดุดลงนั้น ไม่เป็นความจริง แต่เป็นเพราะรัฐบาลมีเจตนาที่เลวมาตั้งแต่ต้น เพราะแม้ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินการกู้เงินก้อนแรกได้ โดยพิจารณาได้จากแผนการก่อหนี้สาธารณะประจำปี 2557 โดยครม.มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 57 ตัดเม็ดเงิน 1.2 แสนล้านบาท ของโครงการเงินกู้ออก แล้วนำเงินที่ต้องใช้จ่ายหนี้จำนำข้าว 1.3 แสนล้านเข้าไปแทน เพราะถังแตก ดังนั้นการกู้เงินทำไม่ได้ เพราะรัฐบาลบริหารห่วยทำให้เกิดความเสียหายไม่ได้เกิดจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติว่ากฎหมายกู้เงินได้ รัฐบาลก็กู้ไม่ได้อยู่ดี เพราะมีการนำยอดเงินออกจากแผนบริหารหนี้สาธารณะในปี 2557 ไปแล้ว
"โครงการรถไฟความเร็วสูงมีปัญหา เฉพาะราคาต่อกิโลเมตรสูงกว่าความจริงทุกรายการ ไม่ให้ความสำคัญในเส้นทางจำเป็นเช่น กทม.-หนองคาย แต่ให้ความสำคัญกับเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน มีภาระดอกเบี้ยราว 4 หมื่นล้านต่อปี สูงกว่างบสำหรับการสร้างโรงพยาบาลที่รัฐบาลจัดสรรไว้ จึงเป็นบุญของประเทศ ที่กฎหมายนี้ไม่ผ่าน แต่ประชาชนไม่ต้องเสียดาย เพราะการพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้ตามระบบงบประมาณปกติ และสามารถออกงบเพิ่มเติมได้หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ" นายอรรถวิชช์ กล่าว
** กู้ 2 ล้านล้านล่มเพราะความโลภ
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า ถือว่าน่าเสียดายที่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ต้องล่มลง สาเหตุมาจากความโลภของคนในรัฐบาล ที่อยากได้เงินก้อนใหญ่แบบไร้การตรวจสอบ หากใช้กระบวนการปกติ ตามครรลองของกฎหมายประเทศชาติก็จะเดินหน้าได้ ที่ประเทศชาติต้องเสียโอกาสมาจากความโลภของคนในรัฐบาลชุดนี้
อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการวินิจฉัย เพราะถือว่าเป็นกติการ่วมกัน หากไม่ยอมรับกฎกติกา จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย สุดท้ายหากไม่เหลือกติกาให้ยึดถือ ก็ต้องอาศัยอำนาจกองทัพเข้ามาเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมรับ
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หัวหน้าคณะทำงานของนายกฯทักษิณ ชินวัตร บอกว่าไม่ควรยึดกฎหมายให้มากนัก ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่อันตราย คนเป็นผู้นำประเทศ ต้องเป็นตัวอย่างในการเคารพกติกา แต่ตัวเองกลับไม่เข้าใจกติกาเสียเอง จะให้ประชาชนยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ สุดท้ายผู้คนจะใช้กำลังตัดสิน บ้านเมืองจะไม่มีขื่อมีแปและจะเป็นหนทางไปสู่ความรุนแรง
**วอนอย่านำคำตัดสินศาลเป็นเงื่อนไขขัดแย้ง
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ในช่วงนี้มีการดำเนินการในเรื่องคดีต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม ทั้งศาล และองค์กรอิสระในหลายคดี ซึ่งทางทหารไม่มีความคิดเห็นใดในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม โดยทั่วไปผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ถูกร้องยังสามารถชี้แจงแก้ต่าง หรือต่อสู้คดีได้ ตามช่องทางของกฎหมาย จึงไม่อยากให้นำคำตัดสิน หรือผลการพิจารณาขององค์กรอิสระ มาใช้เป็นเงื่อนไข ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น อยากให้ทุกฝ่ายเคารพในกระบวนการ และสนับสนุนให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามขั้นตอนปกติภายใต้กรอบกติกาของกฎหมาย
พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า สำหรับการตั้งด่านตรวจจุดสกัด และจุดให้บริการประชาชน ทั้งในกทม. และในต่างจังหวัด ของเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อมุ่งเน้นเฝ้าระวังเหตุ ลดการใช้ความรุนแรง สกัดกั้นอาวุธสงคราม และช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะสกัดกั้น หรือเลือกปฏิบัติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นการเคลื่อนไหวโดยสงบ ขอให้ประชาชนระมัดระวังต่อการเคลื่อนไหวใดๆ อย่าได้ละเมิดสิทธิของบุคคลผู้อื่น โดยเฉพาะการพูดจาไปพาดพิงให้ร้ายดูหมิ่นบุคคลอื่น หรือการแสดงถึงความเกลียดชังบุคคล หรือองค์กรด้วยการข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจากฝ่ายไหนก็ตาม อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น