ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดรฟม.เห็นชอบเพิ่มค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) อีก 30 ล้านบาทพร้อมขยายเวลาศึกษาอีก 4 เดือน เหตุเนื้องานเพิ่มหลังย้ายเดปโป้จากบางผึ้งมาอยู่ที่วงแหวนใต้และเพิ่มอีก 2 สถานี ยังทันเสนอเสนอครม.ในปี57 โดยรฟม.กู้เงินเอง ไม่เกี่ยว พ.ร.บ.2 ล้านล้าน
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้างกลุ่ม BMTP ซึ่งเป็นที่ปรึกษาความเหมาะสม ออกแบบ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะอีก 30 ล้านบาทจากวงเงินเดิมที่ 137.61 ล้านบาทและขยายระยะเวลาการศึกษาออกไปอีก 4 เดือน จากสัญญาเดิมจะต้องสรุปการศึกษาในเดือนธันวาคม 2556 เป็นแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้องานที่ต้องศึกษาเพิ่ม เนื่องจากมีการปรับย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) จากเดิมที่บางผึ้ง(ใต้สะพานภูมพล) ไปที่ริมถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนใต้ (ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ ด้านขาเข้าเมือง) พื้นที่ประมาณ120-130ไร่ และขยายเส้นทางออกไปอีกประมาณ 5 กม.โดยมีสถานีเพิ่มอีก 2 สถานี คือ พระประแดง และครุใ น(สุขสวัสดิ์ 70) เพื่อลดผลกระทบเรื่องการเวนคืนลง และเพิ่มงานขุดค้นโบราณคดีที่สถานีผ่านฟ้าและวังบูรพา
"ที่ปรึกษาต้องทำงานเพิ่ม เช่น ออกแบบสถานีใหม่ 2 แห่ง ,ย้ายศูนย์ซ่อม ,ออกแบบทางวิ่งเพิ่มอีก 5 กม.และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมงานที่เพิ่มด้วย เป็นต้น ต้องเพิ่มค่าจ้างและขยายเวลาให้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้การนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการล่าช้าไปจากเดิมเล็กน้อย"แหล่งข่าวกล่าว
โดยแผนเดิมคาดว่าภายในดือนมกราคม 2557 ที่ปรึกษาจะสรุปแนวเส้นทาง รูปแบบโครงสร้าง ผลการศึกษาออกแบบทางสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอ บอร์ด รฟม. และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการได้ประมาณกลางปี 2557 และคาดว่าจะประกวดราคาและสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างเริ่มงานก่อสร้างได้กลางปี 2558 และเปิดให้บริการในปี 2562
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 1.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าที่ปรึกษาประมาณ 12,600 ล้านบาท ค่างานโยธาประมาณ 71,800 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (M&E) ประมาณ 10,000 ล้านบาท งานระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock) ประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผือขาด (Provisional sum) ประมาณ 5,400 ล้นบาท และค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมวงแหวนใต้ และ 2 สถานีที่เพิ่ม (พระประแดง,ครุใน) อีกประมาณ6,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้อยู่ในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจาก รฟม.จะกู้เงินมาลงทุนเอง
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้างกลุ่ม BMTP ซึ่งเป็นที่ปรึกษาความเหมาะสม ออกแบบ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะอีก 30 ล้านบาทจากวงเงินเดิมที่ 137.61 ล้านบาทและขยายระยะเวลาการศึกษาออกไปอีก 4 เดือน จากสัญญาเดิมจะต้องสรุปการศึกษาในเดือนธันวาคม 2556 เป็นแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้องานที่ต้องศึกษาเพิ่ม เนื่องจากมีการปรับย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) จากเดิมที่บางผึ้ง(ใต้สะพานภูมพล) ไปที่ริมถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนใต้ (ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ ด้านขาเข้าเมือง) พื้นที่ประมาณ120-130ไร่ และขยายเส้นทางออกไปอีกประมาณ 5 กม.โดยมีสถานีเพิ่มอีก 2 สถานี คือ พระประแดง และครุใ น(สุขสวัสดิ์ 70) เพื่อลดผลกระทบเรื่องการเวนคืนลง และเพิ่มงานขุดค้นโบราณคดีที่สถานีผ่านฟ้าและวังบูรพา
"ที่ปรึกษาต้องทำงานเพิ่ม เช่น ออกแบบสถานีใหม่ 2 แห่ง ,ย้ายศูนย์ซ่อม ,ออกแบบทางวิ่งเพิ่มอีก 5 กม.และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมงานที่เพิ่มด้วย เป็นต้น ต้องเพิ่มค่าจ้างและขยายเวลาให้เพื่อความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้การนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการล่าช้าไปจากเดิมเล็กน้อย"แหล่งข่าวกล่าว
โดยแผนเดิมคาดว่าภายในดือนมกราคม 2557 ที่ปรึกษาจะสรุปแนวเส้นทาง รูปแบบโครงสร้าง ผลการศึกษาออกแบบทางสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอ บอร์ด รฟม. และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการได้ประมาณกลางปี 2557 และคาดว่าจะประกวดราคาและสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างเริ่มงานก่อสร้างได้กลางปี 2558 และเปิดให้บริการในปี 2562
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 1.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าที่ปรึกษาประมาณ 12,600 ล้านบาท ค่างานโยธาประมาณ 71,800 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (M&E) ประมาณ 10,000 ล้านบาท งานระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock) ประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผือขาด (Provisional sum) ประมาณ 5,400 ล้นบาท และค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมวงแหวนใต้ และ 2 สถานีที่เพิ่ม (พระประแดง,ครุใน) อีกประมาณ6,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้อยู่ในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจาก รฟม.จะกู้เงินมาลงทุนเอง