นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปรียบเทียบสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ว่า กำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะพิกลพิการ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่รู้รู้สากับสิ่งที่เกิดขึ้น ปล่อยให้สถานการณ์เดินหน้าสู่ความพิการ คือ
1. รัฐบาลพิการ โดยจะเห็นได้ว่า มีความพยายามที่จะให้วินิจฉัยการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำที่ให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่สามารถเปิดประชุมสภา และเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งรัฐบาลมีแนวโน้มจะอยู่ในลักษณะพิกลพิการไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้อีกต่อไป
2. นายกฯ พิการ เกิดจาก ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบโครงการทุจริตจำนำข้าว หากถูกชี้มูลจะกลายเป็นนายกฯที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ สถานะของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แม้จะยังเป็นนายกฯ แต่อยู่ในสภาพพิการ ดำเนินการอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น
3. การเลือกตั้งที่พิการ จากการที่รัฐบาลยุบสภาให้มีการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 มีแนวโน้มเป็นการเลือกตั้งที่โมฆะ พิการเพราะการดำเนินการเลือกตั้งในวันดังกล่าว เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน หากยังดำเนินการเลือกตั้งต่อไป ก็มีเหตุผลหลายประการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับ
"สถานะความพิกลพิการ สามประการนี้ จะยุติได้ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับปล่อยให้บ้านเมืองเดินหน้าเข้าสู่ความพิการ โดยที่ไม่พยายามแสวงหาทางออกให้กับชาติ แม้ปากจะบอกว่า พยายามหาทางออกแต่ความจริงคือ เป็นทางออกของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีมากกว่า แสวงหาทางออกเพื่อส่วนรวม ถ้ายังมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทย และนายกฯ อย่าปล่อยให้สถานการณ์อย่างนี้ดำรงอยู่อีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจให้ประเทศชาติเดินหน้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม" นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาวิจารณ์คำสัมภาษณ์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมามีการเจรจาเพื่อหาทางออกในหลายระดับ โดยอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยยื่นเงื่อนไขเจรจากับฝ่ายตรงกันข้าม และระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เจรจากับนายอภิสิทธิ์ เพราะไม่มีน้ำหนักใดๆ นั้น ตนเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รู้อยู่แก่ใจเองดีว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นเงื่อนไขเจรจาอะไรกับใครหรือไม่ อย่างไร เพราะพฤติกรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน เมื่อคิดว่าเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง จะมีเงื่อนไขเปิดการเจรจา หรือเงื่อนไขที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้นความเสียเปรียบทางการเมือง แต่ถ้าคิดว่าได้เปรียบทางการเมือง ก็จะล้มการเจรจาด้วยการเบี่ยงเบนประเด็น เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการเจรจา มีการยื่นเงื่อนไขให้ตัวเองคงความได้เปรียบต่อไป
"นายอภิสิทธิ์ไม่เคยเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะไม่สามารถเจรจากับนักโทษหนีคดีได้ ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมา ถ้าได้ทบทวนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผมเชื่อว่าคนที่พร้อมเจรจาเพื่อประโยชน์สุขของบ้านเมืองคือ นายอภิสิทธิ์ ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายปัญหาบ้านเมือง ในปี 53 ก็เจรจากับบุคคลที่มีส่วนทำให้ปัญหายุติลง โดยไม่คำนึงว่าจะมีน้ำหนักหรือไม่ แต่คำนึงถึงประโยชน์สุขของบ้านเมือง มากกว่าคำนึงถึงหน้าตา และความรู้สึกส่วนตัว แต่คำนึงถึงความรู้สึกสวนรวมมากกว่า วันนี้ถึงแม้ตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณ จะออกมาพูดอย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง ก็เชื่อมั่นว่ารัฐบาล พยายามที่จะหาหนทางในการเจรจา ซึ่งต้องไม่ทำตัวเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เช่นนี้น การเจรจาก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สุขของบ้านเมือง" นายองอาจ กล่าว
** คุย"เสื้อแดง"หนุนหลังรัฐบาล
ด้านนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่หลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรอิสระ ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยสถานภาพของรัฐบาลรักษาการ ว่า ถือเป็นการทำกันเป็นขบวนการ เพื่อล้มรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเรารู้มานานแล้ว แต่คงจะไม่ง่ายนัก เพราะเราก็มีมวลชนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงที่หนุนหลังรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยอยู่ เพราะคนเสื้อแดงรู้ว่า ความยุติธรรมค่อยๆเหือดหายไปจากแผ่นดินไทย ดังนั้นเราจะหันหลังพิงมวลชน ต่อสู้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายไม่ใช่ใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ นอกระบบความยุติธรรม เหมือนกับฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้จะยังรักษาการต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เพราะไม่อย่างนั้น เราจะเป็นฝ่ายกระทำการขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง และต้องขอชมท่านนายกฯ ที่มีความอดทน อดกลั้น ต่อสถานการณ์การเมืองที่ขัดแย้งอยู่ในขณะนี้ เพราะนายกฯ คงรู้ว่า หากตัดสินใจทำอะไรลงไปสักอย่าง บ้านเมืองคงจะฉิบหายแน่ๆ
นอกจากนี้หลายประเทศทั่วโลกที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง กระทั่งเกิดสงครามกลางเมือง มีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย แต่สุดท้ายเรื่องก็จะจบลงที่การเจรจา และเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ขณะที่ความขัดแย้งในบ้านเรา ทั้งบาดลึกและขยายวงกว้างมากขึ้น เพราะมีเงื่อนไขที่ต่างฝ่ายต่างรับกันไม่ได้ จะต้องรอให้เหตุการณ์ไปจบที่การใช้ความรุนแรงก่อนหรือไม่ ทำไมไม่ไปจบที่การเลือกตั้งเลย ซึ่งเป็นวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย ตนยืนยันว่า สุดท้ายแล้วทางออกของ ประเทศ คือต้องมีการเลือกตั้ง แต่น่าเสียใจที่ฝ่ายตรงข้ามยังมืดบอดด้วยทิฐิอยู่
**เย้ย"สุเทพ"เลิกหวังนายกฯม.7
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเรื่องการสิ้นสภาพของรัฐบาลรักษาการ เพราะไม่สามารถเปิดสภาได้ภายใน 30 วัน ภายหลังการเลือกตั้ง ถือเป็นการทำเป็นขบวนการ ทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกปปส. พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 40 ส.ว. นักวิชาการ ที่รุมกินโต๊ะรัฐบาล แต่ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย มองว่า แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 จะกำหนดให้เปิดสภาภายใน 30 วันหลังการเลือกตั้ง แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ไม่มีผลทางกฎหมายแต่ประการใด จึงไม่ส่งผลให้รัฐบาลรักษาการสิ้นสภาพ เพราะไม่ได้กำหนดบทลงโทษ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ระบุว่า หากรัฐบาลยุบสภา ก็ให้ทำหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ ดังนั้น หากยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องรักษาการต่อไป นายสุเทพ อย่าฝันกลางวันให้มีนายกฯ มาตรา 7 อย่ามาล้มรัฐบาลด้วยวิธีง่ายๆ นายสุเทพ เป็นม็อบหมดมุกแล้ว
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีนายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ว่า นายกิตติพงษ์ มีความเชื่อมโยงกับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล มักมีความเห็นต่างกับรัฐบาลมาตลอด ทั้งนี้การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่นั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะ มาตรา 245 (1) ระบุว่า การที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทำได้กรณีเดียวคือ กรณีมีบทบัญญัติใดขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่กรณีการฟ้องเลือกตั้งเป็นโมฆะ ไม่ใช่การขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ส่วนที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ กกต.ชะลอการเลือกตั้งออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาการเลือกตั้งเป็นโมฆะเสร็จนั้น อยากให้ไปเรียกร้องให้นายสุเทพ หยุดขัดขวางการเลือกตั้งดีกว่า ถ้าการเลือกตั้งเป็นโมฆะต้องถามว่า ใครเป็นต้นเหตุให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความสุจริตใจจริง ควรใช้มติพรรคขับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และ อดีต 8 ส.ส .พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นแกนนำกปปส. ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าไม่กล้า แสดงว่าปกป้องพวกเดียวกัน เล่นการเมืองสองหน้า
1. รัฐบาลพิการ โดยจะเห็นได้ว่า มีความพยายามที่จะให้วินิจฉัยการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำที่ให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่สามารถเปิดประชุมสภา และเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งรัฐบาลมีแนวโน้มจะอยู่ในลักษณะพิกลพิการไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้อีกต่อไป
2. นายกฯ พิการ เกิดจาก ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบโครงการทุจริตจำนำข้าว หากถูกชี้มูลจะกลายเป็นนายกฯที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ สถานะของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แม้จะยังเป็นนายกฯ แต่อยู่ในสภาพพิการ ดำเนินการอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น
3. การเลือกตั้งที่พิการ จากการที่รัฐบาลยุบสภาให้มีการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 มีแนวโน้มเป็นการเลือกตั้งที่โมฆะ พิการเพราะการดำเนินการเลือกตั้งในวันดังกล่าว เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน หากยังดำเนินการเลือกตั้งต่อไป ก็มีเหตุผลหลายประการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับ
"สถานะความพิกลพิการ สามประการนี้ จะยุติได้ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับปล่อยให้บ้านเมืองเดินหน้าเข้าสู่ความพิการ โดยที่ไม่พยายามแสวงหาทางออกให้กับชาติ แม้ปากจะบอกว่า พยายามหาทางออกแต่ความจริงคือ เป็นทางออกของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีมากกว่า แสวงหาทางออกเพื่อส่วนรวม ถ้ายังมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทย และนายกฯ อย่าปล่อยให้สถานการณ์อย่างนี้ดำรงอยู่อีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจให้ประเทศชาติเดินหน้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม" นายองอาจ กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาวิจารณ์คำสัมภาษณ์ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมามีการเจรจาเพื่อหาทางออกในหลายระดับ โดยอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยยื่นเงื่อนไขเจรจากับฝ่ายตรงกันข้าม และระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เจรจากับนายอภิสิทธิ์ เพราะไม่มีน้ำหนักใดๆ นั้น ตนเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รู้อยู่แก่ใจเองดีว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นเงื่อนไขเจรจาอะไรกับใครหรือไม่ อย่างไร เพราะพฤติกรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน เมื่อคิดว่าเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง จะมีเงื่อนไขเปิดการเจรจา หรือเงื่อนไขที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้นความเสียเปรียบทางการเมือง แต่ถ้าคิดว่าได้เปรียบทางการเมือง ก็จะล้มการเจรจาด้วยการเบี่ยงเบนประเด็น เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการเจรจา มีการยื่นเงื่อนไขให้ตัวเองคงความได้เปรียบต่อไป
"นายอภิสิทธิ์ไม่เคยเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะไม่สามารถเจรจากับนักโทษหนีคดีได้ ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมา ถ้าได้ทบทวนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผมเชื่อว่าคนที่พร้อมเจรจาเพื่อประโยชน์สุขของบ้านเมืองคือ นายอภิสิทธิ์ ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายปัญหาบ้านเมือง ในปี 53 ก็เจรจากับบุคคลที่มีส่วนทำให้ปัญหายุติลง โดยไม่คำนึงว่าจะมีน้ำหนักหรือไม่ แต่คำนึงถึงประโยชน์สุขของบ้านเมือง มากกว่าคำนึงถึงหน้าตา และความรู้สึกส่วนตัว แต่คำนึงถึงความรู้สึกสวนรวมมากกว่า วันนี้ถึงแม้ตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณ จะออกมาพูดอย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำทางการเมือง ก็เชื่อมั่นว่ารัฐบาล พยายามที่จะหาหนทางในการเจรจา ซึ่งต้องไม่ทำตัวเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เช่นนี้น การเจรจาก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สุขของบ้านเมือง" นายองอาจ กล่าว
** คุย"เสื้อแดง"หนุนหลังรัฐบาล
ด้านนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่หลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรอิสระ ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยสถานภาพของรัฐบาลรักษาการ ว่า ถือเป็นการทำกันเป็นขบวนการ เพื่อล้มรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเรารู้มานานแล้ว แต่คงจะไม่ง่ายนัก เพราะเราก็มีมวลชนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงที่หนุนหลังรัฐบาล และพรรคเพื่อไทยอยู่ เพราะคนเสื้อแดงรู้ว่า ความยุติธรรมค่อยๆเหือดหายไปจากแผ่นดินไทย ดังนั้นเราจะหันหลังพิงมวลชน ต่อสู้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายไม่ใช่ใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ นอกระบบความยุติธรรม เหมือนกับฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้จะยังรักษาการต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เพราะไม่อย่างนั้น เราจะเป็นฝ่ายกระทำการขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง และต้องขอชมท่านนายกฯ ที่มีความอดทน อดกลั้น ต่อสถานการณ์การเมืองที่ขัดแย้งอยู่ในขณะนี้ เพราะนายกฯ คงรู้ว่า หากตัดสินใจทำอะไรลงไปสักอย่าง บ้านเมืองคงจะฉิบหายแน่ๆ
นอกจากนี้หลายประเทศทั่วโลกที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง กระทั่งเกิดสงครามกลางเมือง มีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย แต่สุดท้ายเรื่องก็จะจบลงที่การเจรจา และเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ขณะที่ความขัดแย้งในบ้านเรา ทั้งบาดลึกและขยายวงกว้างมากขึ้น เพราะมีเงื่อนไขที่ต่างฝ่ายต่างรับกันไม่ได้ จะต้องรอให้เหตุการณ์ไปจบที่การใช้ความรุนแรงก่อนหรือไม่ ทำไมไม่ไปจบที่การเลือกตั้งเลย ซึ่งเป็นวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย ตนยืนยันว่า สุดท้ายแล้วทางออกของ ประเทศ คือต้องมีการเลือกตั้ง แต่น่าเสียใจที่ฝ่ายตรงข้ามยังมืดบอดด้วยทิฐิอยู่
**เย้ย"สุเทพ"เลิกหวังนายกฯม.7
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเรื่องการสิ้นสภาพของรัฐบาลรักษาการ เพราะไม่สามารถเปิดสภาได้ภายใน 30 วัน ภายหลังการเลือกตั้ง ถือเป็นการทำเป็นขบวนการ ทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกปปส. พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 40 ส.ว. นักวิชาการ ที่รุมกินโต๊ะรัฐบาล แต่ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย มองว่า แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 จะกำหนดให้เปิดสภาภายใน 30 วันหลังการเลือกตั้ง แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ไม่มีผลทางกฎหมายแต่ประการใด จึงไม่ส่งผลให้รัฐบาลรักษาการสิ้นสภาพ เพราะไม่ได้กำหนดบทลงโทษ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ระบุว่า หากรัฐบาลยุบสภา ก็ให้ทำหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่ ดังนั้น หากยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องรักษาการต่อไป นายสุเทพ อย่าฝันกลางวันให้มีนายกฯ มาตรา 7 อย่ามาล้มรัฐบาลด้วยวิธีง่ายๆ นายสุเทพ เป็นม็อบหมดมุกแล้ว
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีนายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ว่า นายกิตติพงษ์ มีความเชื่อมโยงกับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล มักมีความเห็นต่างกับรัฐบาลมาตลอด ทั้งนี้การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่นั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะ มาตรา 245 (1) ระบุว่า การที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทำได้กรณีเดียวคือ กรณีมีบทบัญญัติใดขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่กรณีการฟ้องเลือกตั้งเป็นโมฆะ ไม่ใช่การขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ส่วนที่ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ กกต.ชะลอการเลือกตั้งออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาการเลือกตั้งเป็นโมฆะเสร็จนั้น อยากให้ไปเรียกร้องให้นายสุเทพ หยุดขัดขวางการเลือกตั้งดีกว่า ถ้าการเลือกตั้งเป็นโมฆะต้องถามว่า ใครเป็นต้นเหตุให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความสุจริตใจจริง ควรใช้มติพรรคขับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และ อดีต 8 ส.ส .พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นแกนนำกปปส. ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าไม่กล้า แสดงว่าปกป้องพวกเดียวกัน เล่นการเมืองสองหน้า