ถ้าว่ากันตามกระแสสังคมที่ได้สะท้อนกันออกมาว่า “ราคาน้ำมันโคตรแพง” ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ และผมก็ได้เคยนำเสนอข้อมูลมาเสริมแล้วว่า “ราคาน้ำมันของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 สูงเป็นอันดับ 9 จากการสำรวจ 61 ประเทศทั่วโลก เมื่อเทียบกับรายได้ต่อวัน ในขณะที่ช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่อันดับ 10 คือแย่ลงๆ”
ความจริงแล้วเหตุผลเพียงแค่นี้ก็มากเกินพอที่จะต้องแก้ไขหรือปฏิรูปกันโดยด่วนแล้ว แต่พี่ไทยเราก็ “ทนได้” เรื่อยมา
จนเมื่อกำนันสุเทพได้ประกาศบนเวทีว่า “มวลมหาประชาชนต้องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง” คนไทยซึ่งมีความอดทนเป็นเลิศก็ดีอกดีใจกันยกใหญ่ ทำให้คนบางกลุ่มที่เกาะติดประเด็นมานานได้เรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปพลังงาน” เข้าไปด้วยเพราะราคามันโคตรแพงดังที่กล่าวแล้ว
ไม่เพียงแต่เรื่องราคาน้ำมันแพง ก๊าซแพงเท่านั้นที่ประชาชนรู้สึกไม่พอใจ แต่ความไม่พอใจได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่การแปรรูป “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” ที่เป็นของรัฐ 100% (ปี 2544) และได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนประชาชนเพื่อนำผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ แต่ได้กลายมาเป็นของประชาชนเพียงแค่ 51% เท่านั้น
กระแสความไม่พอใจของประชาชนได้กระพือออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากด้วยการใช้การสื่อสารออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย (ซึ่งก่อนหน้านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในสื่อกระแสหลัก) สาระสำคัญของการสื่อสารดังกล่าว ไม่ได้มีแค่ราคาน้ำมันโคตรแพงเท่านั้น แต่ประเด็นได้ขยายออกไปสู่ เรื่องการบริหารจัดการผลประโยชน์จากปิโตรเลียมของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ระหว่างประชาชนกับบริษัทรับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะ (ที่บริษัทรับสัมปทานได้กำไรสุทธิในปี 2554 ถึงร้อยละ 97 ของเงินลงทุน) ตลอดจนความไม่มีธรรมาภิบาล เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด ที่ได้ถูกแปรรูปไปแล้ว เป็นต้น
ผมชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนร่วมกันทำให้เกิดกระแสสังคมดังกล่าว ท่ามกลางเสียงแก้ตัว
ต่างๆ นานาของทั้งพ่อค้าพลังงาน นักการเมืองและข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้อง แต่…
ผมได้เรียนผ่านคอลัมน์ “โลกที่ซับซ้อน” (และสื่อออนไลน์อื่นๆ) มาตลอดเป็นเวลานานมาแล้วว่า ประเด็นพลังงานไม่ได้มีแค่ประเด็นที่ผมได้กล่าวมาในที่นี้เท่านั้น ยังมีเรื่องไฟฟ้าที่คนไทยต้องจ่ายเฉพาะค่าไฟฟ้าอย่างเดียวปีละกว่า 5-6 แสนล้านบาท ยังไม่นับค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีกปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท
ที่สำคัญมากก็คือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินมันกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ทั้งรอบๆ โรงไฟฟ้าและส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมของโลกทั้งใบด้วย
ในฐานะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ที่ชาวบ้านร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่หลายโรงในหลายจังหวัดของภาคใต้ และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ควรจะได้รับการส่งเสริม แต่ข้าราชการไทยก็เลี่ยงบาลีให้มีขนาด 9.9 เมกะวัตต์ เพราะกฎหมายระบุว่าถ้าเกิน 10 เมกะวัตต์แล้วจะต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ประเทศเยอรมนีโรงไฟฟ้าชีวมวลจะมีขนาดเล็กเพียง 0.5 ถึง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น (หมายเหตุ โรงไฟฟ้าในจังหวัดกระบี่ขนาด 0.4 เมกะวัตต์ สามารถขายไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 20 ล้านบาท!)
ประเด็นที่ผมนำเสนอนี้ไม่ได้เป็นข่าว ไม่เป็นกระแสสังคมครับ ถ้าเป็นบ้างก็แค่รายงานข่าวเพียงสั้นๆ พอให้รู้ว่าได้เกิดอะไรขึ้นเท่านั้น แต่สาระและเหตุผลที่ลึกๆ ที่เป็นทางออกไม่ได้มีการนำเสนอเลย
ที่สำคัญมากๆ สังคมไทยได้ถูกพ่อค้าพลังงานทำให้เชื่อเสียแล้วว่า “ถ่านหินสะอาด การพัฒนาก็ต้องได้อย่างเสียอย่าง ต้องมีผู้เสียสละ” เป็นต้น
แต่สื่อที่เกือบทั้งหมดได้รับเงินโฆษณาทางตรง (ไม่นับการรับเงินทางอ้อม) จากบริษัทพลังงานไม่ยอมบอกความจริงต่อสังคมว่า มีทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อประชาชนก็ได้
มุมมองต่อเรื่องพลังงานมันมีมากกว่าเรื่องถูกแพง หรือแม้แต่เรื่องความเป็นธรรมในแบ่งปันผลประโยชน์ดังที่กล่าวแล้ว
ก่อนที่จะกล่าวถึงบทเรียนจากประเทศเยอรมนี ผมขอตั้งประเด็นมุมมองที่สำคัญไว้ 7 ด้านหรือ ที่เรียกว่า “เจ็ดมุมมองสำคัญในการปฏิรูปพลังงาน” ซึ่งผมดัดแปลงมาจากแนวคิดของ World Future Council (WFC) แต่ไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ เพียงแต่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าต้องมองให้รอบทั้ง 7 ด้านพร้อมกัน คือ
1.ความยั่งยืนของทรัพยากร
2. ความเท่าเทียมและการขจัดความยากจน
3. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
4. การมีส่วนร่วมของประชาชน
5. ความมีธรรมาภิบาล
6. สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน
7. ความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีระดับความรับผิดชอบแตกต่างกัน
หากมีการยึดตามเจ็ดมุมมองดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว จะพบว่าแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นไปได้ก็คือพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ซึ่งใช้แล้วก็ไม่มีวันหมดเพราะสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ นอกจากนี้ยังกระจายตัวอยู่ทั่วไป ไม่รวมศูนย์เหมือนพลังงานฟอสซิล ว่าไปแล้วหลักการพลังงานกับหลักการประชาธิปไตยช่างสอดคล้องกันดีมาก ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ก็ต้องทำระบบพลังงานให้เป็นประชาธิปไตยด้วย
คราวนี้มาถึงประเด็นบทเรียนจากประเทศเยอรมนีครับ
บทเรียนที่จะกล่าวถึงนี้ถอดมาจากประสบการณ์ของ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ (Hermann Scheer) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศเยอรมนีและเป็นผู้เสนอกฎหมายที่ถือว่าเป็นการเปิดตลาดให้พลังงานหมุนเวียนสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคกิจการไฟฟ้าของประเทศได้สำเร็จ
นอกจากเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ ยังมีตำแหน่งเป็นประธานสมาคมพลังงานหมุนเวียนโลกและสมาคมพลังงานแสงอาทิตย์ยุโรปด้วย รวมทั้งมีผลงานเขียนด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวนมากด้วย น่าเสียดายที่เขาได้เสียชีวิตไปเมื่อปี 2553
ส่วนหนึ่งของบทเรียนที่เฮอร์มันน์สรุปได้เกี่ยวกับนักการเมืองทั่วๆ ไปได้แสดงดังแผ่นสไลด์นี้ครับ
ก่อนที่ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ จะสรุปดังกล่าวท่านได้อ้างถึงนักปรัชญาชื่อดังของเยอรมนี (Schopenhauer) ที่กล่าวถึงนิสัยของมนุษย์ทั่วๆ ไปเมื่อเจอกับคำตอบของสิ่งใหม่ ๆ หรือวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ว่า โดยปกติคนทั่วไปจะมีการตอบสนองเป็น 3 ขั้นตอน คือ ทีแรกจะเพิกเฉย ไม่สนใจต่อคำตอบใหม่ๆ ขั้นที่สอง จะคัดค้านอย่างรุนแรง และขั้นที่สาม คนที่เคยคัดค้านและสงสัยอย่างรุนแรงจะกลับมาเป็นผู้สนับสนุนคำตอบนั้น
แต่ในกรณีพลังงานหมุนเวียน โชคดีมากที่คนทั่วไปชื่นชมและยอมรับ แต่คนที่คัดค้านและกีดกันขัดขวางคือผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิล
คนเหล่านี้ก็มี 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน คือ ขั้นแรก ทำเป็นยอมรับ ปากหวาน ไม่จริงใจ หรือดีแต่ปาก (ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Lip service) แต่แทบจะไม่ได้ปฏิบัติอะไรให้เป็นจริงเป็นจังเลย สถานการณ์เช่นนี้แสดงว่าพลังงานหมุนเวียนยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงโดยคนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
จากนั้นก็จะตามด้วยขั้นที่สองคือ แก้ตัว (Excuses) คือมีข้อแก้ตัวมากมายที่กล่าวอ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เทคโนโลยียังไม่พร้อม ตลาดจะไม่ยอมรับพลังงานหมุนเวียนและยังขาดความเห็นพ้องต้องกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียง นิสัยประจำตัวขั้นที่สามของนักการเมืองก็คือ การขาดภาวะผู้นำและขาดความกล้าหาญ (Lack of courage) ที่จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ถูกต้อง
ความเด็ดเดี่ยว ความรวดเร็วของการพัฒนา ล้วนแต่ต้องการพลังขับเคลื่อน ไม่มีผู้ใดจะกลายมาเป็นพลังขับเคลื่อนได้โดยปราศจากความคิดที่เป็นระบบ ที่กล้าหาญและพันธมิตรใหม่มาช่วยเสริมส่ง
เยอรมนีประสบผลสำเร็จในการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้ามากที่สุดในโลก โดยเพิ่มจากร้อยละ 3.4 (18,463 ล้านหน่วย) ของไฟฟ้าที่ใช้ ในปี 2532 เป็นร้อยละ 24.7 (147,100 ล้านหน่วย) ในปี 2556 (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าในปี 2556 ประมาณ 1.7 แสนล้านหน่วย)
ถ้าคิดเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียวที่ผลิตได้จากเยอรมนี สามารถป้อนไฟฟ้าได้มากกว่าทุกจังหวัดของภาคอีสานและภาคใต้รวมกัน
ความมั่นใจเพิ่มขึ้นแล้วหรือยังครับ
กุญแจสำคัญที่ทำให้เยอรมนีประสบผลสำเร็จคือกฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนก่อน (Law for the Priority of Renewable Energies)” โดยมีหลักการสำคัญง่ายๆ 3 ประการคือ ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน (เมืองไทยนำมาใช้แต่ก็เพี้ยนอีกเพราะไปจำกัดโควต้า) ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปีเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
ดร.เฮอร์มันน์ ได้สรุปว่า เยอรมนีประสบผลสำเร็จด้วยหลักการเคลื่อนไหวทางสังคม 4 ข้อ คือ
ข้อ 1 ความคิดที่ถูกต้อง คือการเปิดตลาดที่ผูกขาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ประกันราคาให้เกิดความมั่นคงในการลงทุน
ข้อ 2 ความกล้าหาญที่จะยกเลิกผลประโยชน์ของพลังงานแบบเดิม โดยการริเริ่มของรัฐสภา โดยการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ
ข้อ 3 ขับเคลื่อนไปกับประชาชนทั่วไป พันธมิตรที่ดีที่สุดก็คือประชาชนทั่วไป ทันทีที่ประชาชนทั่วไปเกิดความมั่นใจว่าพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นไปจริงๆ พวกเขาจะร่วมกันสนับสนุนและร่วมกันขับเคลื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของพลังงานหมุนเวียนซึ่งจะทำให้มนุษย์บรรลุในคุณค่าที่สำคัญ 2 ประการคือ
(1) ทำให้ตนเองและทุกคนเป็นอิสระจากพลังงาน และ
(2) ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ซึ่งคุณค่าทั้งสองนี้จะเป็นไปได้ก็ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่านั้น
ข้อ 4 การสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่
มีการรณรงค์ที่แข็งขันเพื่อต่อต้านกฎหมาย feed-in-tariff เกิดขึ้นในเยอรมนี กลุ่มของ ดร.เฮอร์มันน์ ได้ตอบโต้การรณรงค์เหล่านี้โดยการนำสมาคมพลังงานหมุนเวียนและผู้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในรัฐสภา รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งมองเห็นอนาคตของตนเองที่จะรวมเข้ากับพลังงานหมุนเวียนได้แก่ สมาคมชาวนา สมาคมนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สมาคมผู้ผลิตเครื่องจักร และสภาพแรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งไม่เคยมีการรวมกลุ่มพันธมิตรที่แตกต่างกันเช่นนี้มาก่อน
ผมจะจบบทความนี้ด้วยการนำเสนอภาพอีก 2 ภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับท่านผู้อ่าน (ตามคำแนะนำของชาวเยอรมัน) ว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ ภาพแรกเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Giant King Grass ซึ่งสามารถนำมาแทนถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าฐาน (base load) ได้และกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ขนาด 90 เมกะวัตต์ในจังหวัดนครราชสีมา ครับ
และอีกภาพเป็นรถไฟฟ้าในประเทศสวีเดนที่ใช้ไบโอก๊าซที่ทำมาจากการหมักขี้วัวที่คนไทยเรารู้สึกว่าเป็นของล้าสมัย
ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นการตอกย้ำว่า พลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ แล้ว ยังเป็นการตอกย้ำว่า สื่อกระแสหลักในประเทศไทยกำลังปิดกั้นสิ่งที่ดีๆ ให้ประชาชนทราบ เข้าตำราในหนังสือที่ผมเขียน “หนึ่งล้างสมองสองปล้น : รหัสลับแผนพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์” ครับผม
ความจริงแล้วเหตุผลเพียงแค่นี้ก็มากเกินพอที่จะต้องแก้ไขหรือปฏิรูปกันโดยด่วนแล้ว แต่พี่ไทยเราก็ “ทนได้” เรื่อยมา
จนเมื่อกำนันสุเทพได้ประกาศบนเวทีว่า “มวลมหาประชาชนต้องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง” คนไทยซึ่งมีความอดทนเป็นเลิศก็ดีอกดีใจกันยกใหญ่ ทำให้คนบางกลุ่มที่เกาะติดประเด็นมานานได้เรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูปพลังงาน” เข้าไปด้วยเพราะราคามันโคตรแพงดังที่กล่าวแล้ว
ไม่เพียงแต่เรื่องราคาน้ำมันแพง ก๊าซแพงเท่านั้นที่ประชาชนรู้สึกไม่พอใจ แต่ความไม่พอใจได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่การแปรรูป “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” ที่เป็นของรัฐ 100% (ปี 2544) และได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนประชาชนเพื่อนำผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ แต่ได้กลายมาเป็นของประชาชนเพียงแค่ 51% เท่านั้น
กระแสความไม่พอใจของประชาชนได้กระพือออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากด้วยการใช้การสื่อสารออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย (ซึ่งก่อนหน้านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในสื่อกระแสหลัก) สาระสำคัญของการสื่อสารดังกล่าว ไม่ได้มีแค่ราคาน้ำมันโคตรแพงเท่านั้น แต่ประเด็นได้ขยายออกไปสู่ เรื่องการบริหารจัดการผลประโยชน์จากปิโตรเลียมของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ระหว่างประชาชนกับบริษัทรับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะ (ที่บริษัทรับสัมปทานได้กำไรสุทธิในปี 2554 ถึงร้อยละ 97 ของเงินลงทุน) ตลอดจนความไม่มีธรรมาภิบาล เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด ที่ได้ถูกแปรรูปไปแล้ว เป็นต้น
ผมชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนร่วมกันทำให้เกิดกระแสสังคมดังกล่าว ท่ามกลางเสียงแก้ตัว
ต่างๆ นานาของทั้งพ่อค้าพลังงาน นักการเมืองและข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้อง แต่…
ผมได้เรียนผ่านคอลัมน์ “โลกที่ซับซ้อน” (และสื่อออนไลน์อื่นๆ) มาตลอดเป็นเวลานานมาแล้วว่า ประเด็นพลังงานไม่ได้มีแค่ประเด็นที่ผมได้กล่าวมาในที่นี้เท่านั้น ยังมีเรื่องไฟฟ้าที่คนไทยต้องจ่ายเฉพาะค่าไฟฟ้าอย่างเดียวปีละกว่า 5-6 แสนล้านบาท ยังไม่นับค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีกปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท
ที่สำคัญมากก็คือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าถ่านหินมันกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ทั้งรอบๆ โรงไฟฟ้าและส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมของโลกทั้งใบด้วย
ในฐานะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ที่ชาวบ้านร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่หลายโรงในหลายจังหวัดของภาคใต้ และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ควรจะได้รับการส่งเสริม แต่ข้าราชการไทยก็เลี่ยงบาลีให้มีขนาด 9.9 เมกะวัตต์ เพราะกฎหมายระบุว่าถ้าเกิน 10 เมกะวัตต์แล้วจะต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ประเทศเยอรมนีโรงไฟฟ้าชีวมวลจะมีขนาดเล็กเพียง 0.5 ถึง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น (หมายเหตุ โรงไฟฟ้าในจังหวัดกระบี่ขนาด 0.4 เมกะวัตต์ สามารถขายไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 20 ล้านบาท!)
ประเด็นที่ผมนำเสนอนี้ไม่ได้เป็นข่าว ไม่เป็นกระแสสังคมครับ ถ้าเป็นบ้างก็แค่รายงานข่าวเพียงสั้นๆ พอให้รู้ว่าได้เกิดอะไรขึ้นเท่านั้น แต่สาระและเหตุผลที่ลึกๆ ที่เป็นทางออกไม่ได้มีการนำเสนอเลย
ที่สำคัญมากๆ สังคมไทยได้ถูกพ่อค้าพลังงานทำให้เชื่อเสียแล้วว่า “ถ่านหินสะอาด การพัฒนาก็ต้องได้อย่างเสียอย่าง ต้องมีผู้เสียสละ” เป็นต้น
แต่สื่อที่เกือบทั้งหมดได้รับเงินโฆษณาทางตรง (ไม่นับการรับเงินทางอ้อม) จากบริษัทพลังงานไม่ยอมบอกความจริงต่อสังคมว่า มีทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อประชาชนก็ได้
มุมมองต่อเรื่องพลังงานมันมีมากกว่าเรื่องถูกแพง หรือแม้แต่เรื่องความเป็นธรรมในแบ่งปันผลประโยชน์ดังที่กล่าวแล้ว
ก่อนที่จะกล่าวถึงบทเรียนจากประเทศเยอรมนี ผมขอตั้งประเด็นมุมมองที่สำคัญไว้ 7 ด้านหรือ ที่เรียกว่า “เจ็ดมุมมองสำคัญในการปฏิรูปพลังงาน” ซึ่งผมดัดแปลงมาจากแนวคิดของ World Future Council (WFC) แต่ไม่ขอลงในรายละเอียดนะครับ เพียงแต่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าต้องมองให้รอบทั้ง 7 ด้านพร้อมกัน คือ
1.ความยั่งยืนของทรัพยากร
2. ความเท่าเทียมและการขจัดความยากจน
3. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
4. การมีส่วนร่วมของประชาชน
5. ความมีธรรมาภิบาล
6. สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน
7. ความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีระดับความรับผิดชอบแตกต่างกัน
หากมีการยึดตามเจ็ดมุมมองดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว จะพบว่าแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นไปได้ก็คือพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ซึ่งใช้แล้วก็ไม่มีวันหมดเพราะสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ นอกจากนี้ยังกระจายตัวอยู่ทั่วไป ไม่รวมศูนย์เหมือนพลังงานฟอสซิล ว่าไปแล้วหลักการพลังงานกับหลักการประชาธิปไตยช่างสอดคล้องกันดีมาก ประชาธิปไตยจะเป็นจริงได้ก็ต้องทำระบบพลังงานให้เป็นประชาธิปไตยด้วย
คราวนี้มาถึงประเด็นบทเรียนจากประเทศเยอรมนีครับ
บทเรียนที่จะกล่าวถึงนี้ถอดมาจากประสบการณ์ของ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ (Hermann Scheer) ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศเยอรมนีและเป็นผู้เสนอกฎหมายที่ถือว่าเป็นการเปิดตลาดให้พลังงานหมุนเวียนสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคกิจการไฟฟ้าของประเทศได้สำเร็จ
นอกจากเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ ยังมีตำแหน่งเป็นประธานสมาคมพลังงานหมุนเวียนโลกและสมาคมพลังงานแสงอาทิตย์ยุโรปด้วย รวมทั้งมีผลงานเขียนด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวนมากด้วย น่าเสียดายที่เขาได้เสียชีวิตไปเมื่อปี 2553
ส่วนหนึ่งของบทเรียนที่เฮอร์มันน์สรุปได้เกี่ยวกับนักการเมืองทั่วๆ ไปได้แสดงดังแผ่นสไลด์นี้ครับ
ก่อนที่ ดร.เฮอร์มันน์ เชียร์ จะสรุปดังกล่าวท่านได้อ้างถึงนักปรัชญาชื่อดังของเยอรมนี (Schopenhauer) ที่กล่าวถึงนิสัยของมนุษย์ทั่วๆ ไปเมื่อเจอกับคำตอบของสิ่งใหม่ ๆ หรือวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ว่า โดยปกติคนทั่วไปจะมีการตอบสนองเป็น 3 ขั้นตอน คือ ทีแรกจะเพิกเฉย ไม่สนใจต่อคำตอบใหม่ๆ ขั้นที่สอง จะคัดค้านอย่างรุนแรง และขั้นที่สาม คนที่เคยคัดค้านและสงสัยอย่างรุนแรงจะกลับมาเป็นผู้สนับสนุนคำตอบนั้น
แต่ในกรณีพลังงานหมุนเวียน โชคดีมากที่คนทั่วไปชื่นชมและยอมรับ แต่คนที่คัดค้านและกีดกันขัดขวางคือผู้สนับสนุนพลังงานฟอสซิล
คนเหล่านี้ก็มี 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน คือ ขั้นแรก ทำเป็นยอมรับ ปากหวาน ไม่จริงใจ หรือดีแต่ปาก (ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Lip service) แต่แทบจะไม่ได้ปฏิบัติอะไรให้เป็นจริงเป็นจังเลย สถานการณ์เช่นนี้แสดงว่าพลังงานหมุนเวียนยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงโดยคนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
จากนั้นก็จะตามด้วยขั้นที่สองคือ แก้ตัว (Excuses) คือมีข้อแก้ตัวมากมายที่กล่าวอ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เทคโนโลยียังไม่พร้อม ตลาดจะไม่ยอมรับพลังงานหมุนเวียนและยังขาดความเห็นพ้องต้องกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียง นิสัยประจำตัวขั้นที่สามของนักการเมืองก็คือ การขาดภาวะผู้นำและขาดความกล้าหาญ (Lack of courage) ที่จะจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ถูกต้อง
ความเด็ดเดี่ยว ความรวดเร็วของการพัฒนา ล้วนแต่ต้องการพลังขับเคลื่อน ไม่มีผู้ใดจะกลายมาเป็นพลังขับเคลื่อนได้โดยปราศจากความคิดที่เป็นระบบ ที่กล้าหาญและพันธมิตรใหม่มาช่วยเสริมส่ง
เยอรมนีประสบผลสำเร็จในการใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้ามากที่สุดในโลก โดยเพิ่มจากร้อยละ 3.4 (18,463 ล้านหน่วย) ของไฟฟ้าที่ใช้ ในปี 2532 เป็นร้อยละ 24.7 (147,100 ล้านหน่วย) ในปี 2556 (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าในปี 2556 ประมาณ 1.7 แสนล้านหน่วย)
ถ้าคิดเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียวที่ผลิตได้จากเยอรมนี สามารถป้อนไฟฟ้าได้มากกว่าทุกจังหวัดของภาคอีสานและภาคใต้รวมกัน
ความมั่นใจเพิ่มขึ้นแล้วหรือยังครับ
กุญแจสำคัญที่ทำให้เยอรมนีประสบผลสำเร็จคือกฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนก่อน (Law for the Priority of Renewable Energies)” โดยมีหลักการสำคัญง่ายๆ 3 ประการคือ ข้อที่ 1 ใครก็ตามที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ ให้สามารถป้อน (Feed In) กระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนและไม่จำกัดจำนวน (เมืองไทยนำมาใช้แต่ก็เพี้ยนอีกเพราะไปจำกัดโควต้า) ข้อที่ 2 เป็นสัญญาระยะยาวประมาณ 20-25 ปีเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ข้อที่ 3 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ
ดร.เฮอร์มันน์ ได้สรุปว่า เยอรมนีประสบผลสำเร็จด้วยหลักการเคลื่อนไหวทางสังคม 4 ข้อ คือ
ข้อ 1 ความคิดที่ถูกต้อง คือการเปิดตลาดที่ผูกขาดให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ประกันราคาให้เกิดความมั่นคงในการลงทุน
ข้อ 2 ความกล้าหาญที่จะยกเลิกผลประโยชน์ของพลังงานแบบเดิม โดยการริเริ่มของรัฐสภา โดยการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ
ข้อ 3 ขับเคลื่อนไปกับประชาชนทั่วไป พันธมิตรที่ดีที่สุดก็คือประชาชนทั่วไป ทันทีที่ประชาชนทั่วไปเกิดความมั่นใจว่าพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นไปจริงๆ พวกเขาจะร่วมกันสนับสนุนและร่วมกันขับเคลื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน ทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าของพลังงานหมุนเวียนซึ่งจะทำให้มนุษย์บรรลุในคุณค่าที่สำคัญ 2 ประการคือ
(1) ทำให้ตนเองและทุกคนเป็นอิสระจากพลังงาน และ
(2) ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ซึ่งคุณค่าทั้งสองนี้จะเป็นไปได้ก็ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่านั้น
ข้อ 4 การสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่
มีการรณรงค์ที่แข็งขันเพื่อต่อต้านกฎหมาย feed-in-tariff เกิดขึ้นในเยอรมนี กลุ่มของ ดร.เฮอร์มันน์ ได้ตอบโต้การรณรงค์เหล่านี้โดยการนำสมาคมพลังงานหมุนเวียนและผู้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในรัฐสภา รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งมองเห็นอนาคตของตนเองที่จะรวมเข้ากับพลังงานหมุนเวียนได้แก่ สมาคมชาวนา สมาคมนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สมาคมผู้ผลิตเครื่องจักร และสภาพแรงงานเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งไม่เคยมีการรวมกลุ่มพันธมิตรที่แตกต่างกันเช่นนี้มาก่อน
ผมจะจบบทความนี้ด้วยการนำเสนอภาพอีก 2 ภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับท่านผู้อ่าน (ตามคำแนะนำของชาวเยอรมัน) ว่าพลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ ภาพแรกเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Giant King Grass ซึ่งสามารถนำมาแทนถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าฐาน (base load) ได้และกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ขนาด 90 เมกะวัตต์ในจังหวัดนครราชสีมา ครับ
และอีกภาพเป็นรถไฟฟ้าในประเทศสวีเดนที่ใช้ไบโอก๊าซที่ทำมาจากการหมักขี้วัวที่คนไทยเรารู้สึกว่าเป็นของล้าสมัย
ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นการตอกย้ำว่า พลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นไปได้จริงๆ แล้ว ยังเป็นการตอกย้ำว่า สื่อกระแสหลักในประเทศไทยกำลังปิดกั้นสิ่งที่ดีๆ ให้ประชาชนทราบ เข้าตำราในหนังสือที่ผมเขียน “หนึ่งล้างสมองสองปล้น : รหัสลับแผนพัฒนาใต้เงาโลกาภิวัตน์” ครับผม