รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเป็นเอกฉันท์ 3 เสียง ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นกรณี นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ และในช่วงบ่ายที่ผ่านมา(6มี.ค.) ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว โดยในวันนี้ (7มี.ค.) เวลา 10.30 น. นายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ทั้งนี้คำร้องที่ นายกิตติพงศ์ ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณานั้น นายกิตติพงศ์ เห็นว่าการดำเนินการจัดการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ของกกตงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะกรณียังไม่มีการเลือกตั้ง 28 เขตเลือกตั้งภาคใต้ในวันที่ 2 ก.พ. หากมีการจัดเลือกตั้งก็จะทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 การเปิดรับสมัครส.ส.ไม่เที่ยงธรรม มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครโดยไม่แจ้งล่วงหน้า การนับคะแนนเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ในทุกเขตเลือกตั้งที่สามารถเลือกตั้งได้ทำให้ทราบผู้ที่จะมาลงคะแนนเลือกตั้งในวันหลังทราบผลการเลือกตั้งแล้วก่อนการละแนน ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง รวมทั้งกกต.ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐ ก่อให้เกิดความได้เปรียบของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 4 จังหวัด โดยมีการออกประกาศหลายฉบับที่มีผลโดยตรง ต่อการทำให้เกิดความไม่เสมอภาคและความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
** ชี้นายกฯ-ครม.สิ้นสภาพรักษาการ
นายประเกียรติ นาสิมมา อดีต ส.ส. และอดีตคณะทำงานกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นข้อถกเถียงการจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ให้แล้วเสร็จว่า บุคคลใด องค์กรใด จะต้องทำหน้าที่ใดเพื่อการคานอำนาจถ่วงดุลอำนาจให้ได้ดุลยภาพซึ่งกันและกันมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว แต่เหตุการณ์วันนี้มีความไม่เข้าใจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งของ 28 เขต ที่ยังไม่ได้ดำเนินการเลือกตั้งนั้น จนนำไปสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความ เพราะครม.เห็นว่าพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้งทั่วไปจะตราขึ้นมาใหม่ ซ้ำกับวันที่ 2 ก.พ.57 ไม่ได้เพราะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 จึงให้ กกต.ไปออกระเบียบเองต่อไป
แต่ กกต.เห็นต่างว่า แม้จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็ต้องมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่จึงจะดำเนินการรับสมัครและเลือกตั้ง ส.ส.ใน 28 เขตนั้นได้ ส่วนการเลือกตั้งจะเป็นโมฆะหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย แนวคิดของ กกต.จึงเข้าหลักการที่บัญญัติไว้ว่า ต่างองค์กรต่างมีหน้าที่และต้องทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
นอกจากนี้ ยังมีอีกปัญหาหนึ่งคือ วันทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปของรัฐสภาตามมาตรา 127 และ 128 อันเป็นหน้าที่สำคัญของ ครม.และนายกรัฐมนตรีรักษาการ ต้องนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อตรา พ.ร.ฎ. ให้การทำรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้งทั่วไปคือ นับจากวันที่ 2 ก.พ.57 โดยให้นับวันที่ 2 ก.พ. เป็นวันแรก เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ครม.และนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ทำโดยอ้างเหตุผลว่า กกต.ยังทำหน้าที่ตามมาตรา 93 ยังไม่เสร็จ ยังไม่มี ส.ส.ที่จะเรียกให้มาประชุมเป็นครั้งแรก
“เรื่องการจะมีหรือไม่มี ส.ส.ตามมาตรา 93 เป็นหน้าที่ของ กกต. หน้าที่ ครม.คือการขอตรา พ.ร.ฎ. กำหนดวันเรียกให้สมาชิกไปประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรก และทำรัฐพิธีภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งวันสุดท้ายคือวันที่ 3 มี.ค.57 และ ครม.ต้องไม่ลืมว่าส.ว.ก็เป็นสมาชิกรัฐสภาและต้องประชุมทำหน้าที่ต่อไป หลังจากเปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป และส.ว.เหล่านั้นก็ยังรอทำหน้าที่ของเขาอยู่”นายประเกียรติ ระบุ
นายประเกียรติ กล่าวด้วยว่า เมื่อไม่มีการทำรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก จึงไม่มีวันเริ่มต้นให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 คือให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้เสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกตามมาตรา 127 โดยเวลาที่เหลือถึงวันที่ 2 เม.ย.57 กกต.คงจะไม่มีทางประกาศรับรองให้มี ส.ส.ตามมาตรา 93 ได้
“เมื่อใคร องค์กรใด มีหน้าที่โดยเฉพาะ ครม.และนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ทำดังที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ไม่ทำหน้าที่สำคัญนั้น ย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่รักษาการ ครม. และรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป และอาจเข้าข่ายการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรธน.นี้ได้”นายประเกียรติ ระบุ
**รัฐบาลตะแบง ยังไม่มีครม.ใหม่
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงอายุรัฐบาลว่า ยืนยันว่าอายุของรัฐบาลยังไม่หมด เรื่องนี้จะเอามาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องพ้นสภาพภายใน 30 วัน หลังการเลือกตั้ง มากำหนดไม่ได้ เพราะมาตรา 127 ต้องใช้ในกรณีที่เหตุการณ์ปกติ แต่ครั้งนี้แม้ว่าจะครบกำหนดในวันที่ 4 มี.ค. ก็ต้องถือว่ามันไม่ปกติ การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามกำหนด และยังไม่แล้วเสร็จ จึงเปิดสภาไม่ได้
ดังนั้น จึงถือว่านายกฯ มีความชอบธรรมที่จะรักษาการต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ และหากมีปัญหาเหมือนกับปี 54 ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ก็ให้ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรค 6 คือ ให้ใช้เสียง 95 เปอร์เซ็นต์หรือ 475 คน และถ้ายังไม่ครบอีก กกต. ก็ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 180 วัน
"มาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องรักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ดังนั้นผมเห็นว่าถ้าตีความตามกฎหมายแบบนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียังรักษาการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย 6 เดือน คือ ถึงเดือนก.ค. แต่ถ้าถึงเดือนก.ค. แล้วยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ครบอีก กกต.ก็สมควรไปผูกคอตายได้แล้ว" นายพีระพันธุ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อาจมีคนยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องนี้ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ก็มีสิทธิยื่น แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าตีความตรงไป ตรงมา เราไม่ห่วง เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าจะตีความอย่างไร วันนี้ยืนยันว่ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำงานได้ และไม่พ้นสภาพแต่อย่างใด
"ส่วนตัวไม่ห่วงการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ แต่เป็นห่วงว่าจะมีการบิดเบือนกฎหมายทุกเรื่องที่นายกฯกำลังโดนอยู่ วันนี้ถ้ากระบวนการยุติธรรมยังเชื่อถือไม่ได้ ประเทศจะเจ๊งแน่" นายพีระพันธุ์ กล่าว
**"ปู"ย้ำทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีครม.ใหม่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่หลายกลุ่ม พยายามยืนศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความสถานภาพของรัฐบาล หลังครบ 30 วันจากการเลือกตั้งแต่ยังเปิดสภาไม่ได้ ว่า ต้องรอฟังคำวินิจฉัย และเราได้ยึดถือตามหลักรัฐธรรมนูญ ที่เราต้องปฎิบัติหน้าที่ เพราะนายกรัฐมนตรีในฐานะรักษาการ ต้องปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าจะมีรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ต้องทำงานต่อไป ดังนั้นคงต้องรอ
ความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ
**มาร์คอัดรัฐบาลทำตัวเป็นอุปสรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าหลังวันที่ 3 เม.ย. จะไม่มีรัฐบาลรักษาการ ว่า ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการตีความทางกฎหมาย จะว่าอย่างไร เพราะถ้าจะรอให้ศาล หรือองค์กรอิสระจะชี้แต่ละคดีคงเป็นไปได้ยาก เพราะในที่สุดต้องมีการแก้ไขปัญหาทางการเมือง
เรื่องนี้ แทนที่รัฐบาลหรือนายกฯ จะช่วยนำการเมืองมาแก้ไขปัญหา กลับทำตัวเป็นอุปสรรคทุกด้าน แม้ในบทบาทที่ศาลทำได้ กลับเป็นว่ามีการไปปลุกระดมมวลชน ให้ไม่ยอมรับอำนาจศาล หรืออำนาจองค์กรอิสระ ขณะที่มวลชนชุมนุมโดยสงบ ก็กลับมีการสร้างสถานการณ์ใช้ความรุนแรง เอากำลังมาทำร้ายกัน จึงขอเรียกร้องว่าขบวนการทางการเมืองต้องไม่เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหา เพราะกฏหมายและมวลชนตอบทุกอย่างไม่ได้ ต้องมีการตกลงร่วมกันจึงจะเดินหน้าไปได้
"จากที่รัฐบาลเคยพูดว่า จะเปิดทุกประตู แต่วันนี้เขาปิดทุกประตู จึงต้องถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเปิดทุกประตู และระบุว่าหลายเรื่องจะเดินลำบาก แต่กลับไม่ช่วยแก้ปัญหาเลย กลับยืนขวางทุกทาง เพื่อรักษาอำนาจไปเรื่อยๆ และท้าทายว่า แน่จริงก็มาเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของคนส่วนใหญ่ ที่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าบนกติกาที่ทุกคนยอมรับ"
เมื่อถามว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ มีเจตนาที่ต้องการล้มกระดานหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลทำเหมือนกับว่า ถ้าตัวเองอยู่ได้ และทำในสิ่งที่ต้องการสำเร็จก็ทำ แต่ถ้าไม่สำเร็จ ก็หาทางให้ล้มแบบมีปัญหา เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่คิดว่าจะได้ประโยชน์ เพราะหากทำสำเร็จก็ได้สิ่งที่ต้องการ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็หวังพลิกสร้างสถานการณ์ว่าเป็นฝ่ายที่ถูกรังแก ถูกทำลาย โดยไม่คิดถึงประโยชน์ของบ้านเมืองที่ต้องหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน จึงเหมือนมีแผน 3 ขั้น ที่ ตอนนี้ยืนยันว่า ออกไม่ได้ ต้องเลือกตั้งให้เสร็จ ผู้ชุมนุมกลับบ้าน ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปได้ยาก แต่ก็ยื้อเอาไว้ เพราะระหว่างที่ไม่สำเร็จ ก็รักษาการต่อไป
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีปัญหาข้อกฏหมายที่ไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหารัฐบาลรักษาการว่า ยังคงมีสถานะ หรือสิ้นสภาพไปแล้วว่า หากจะนำประเพณีปฏิบัติมาอ้างเพื่อปรับใช้ ก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ถูกโต้แย้งได้ง่ายเช่นกัน ที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ฝ่ายการเมืองต้องทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ
การที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน เสนอตัวจะเป็นคนเจรจากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯกปปส. นั้น ตนเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เพราะร.ต.อ.เฉลิม ไม่ใช่ผู้นำรัฐบาล ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ก็ไม่ต่างจากกรณีที่นายกฯ ส่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ไปเจรจากับ กกต. เพื่อหาทางออกการเลือกตั้งก็ไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นที่ ร.ต.อ.เฉลิมจะไปคุยก็ไม่มีผลอะไร เพราะไม่มีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกา น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงควรมาเจรจาเอง แม้ว่าเบื้องหลังจะมีคนอื่นควบคุมอยู่ แต่เป็นผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมไม่มี ไม่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลถึงอยากจะเป็น ก็ไม่ใช่
เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยื้อไปได้อีกนานแค่ไหน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ห่วง น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ห่วงประเทศว่าเดือดร้อน หากยังยื้อเพื่อประโยชนของตัวเองก็มองไม่เห็นว่าจะยื้อได้ตลอดไป และไม่ได้ตามต้องการอย่างไร จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่รอให้กระบวนการทางกฎหมายคลี่คลายในแต่ละคดี เพราะจะมีการตีความเรื่องอื่นๆ เพิ่มตามมาอีก เช่น หากป.ป.ช.ชี้มูล แล้วต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องมีการส่งเรื่องตีความอีกเรื่อง การพ้นจากรักษาการ ต้องเถียงกันอีกว่าจะทำอย่างไรต่อ จะเป็นการเพิ่มคดีซ้ำขึ้นมาอีก
ดังนั้นการคลี่คลายทางกฎหมายในแต่ละเรื่อง ไม่ได้ให้คำตอบในขั้นต่อไป เพราะศาลไม่มีหน้าที่บอกว่าต้องทำอะไรต่อ แต่มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเวลานั้น เท่านั้น
เมื่อถามต่อว่า สถานะภาพของ ส.ว.ถือว่า เป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาได้ เฉพาะในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ถ้ามีเงื่อนไขที่ไม่มีการระบุในรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาก็อยู่ในสถานะใกล้เคียงที่สุดในการทำหน้าที่นิติบัญญัติ
เมื่อถามย้ำว่า ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกฯ ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีการถกเถียงกันอีก อย่างไรก็ตาม หากสามารถเสนอชื่อได้ ก็จะไม่มีปัญหา ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า นายกฯ ต้องมาจากส.ส. เพราะเวลานี้ไม่มีส.ส.อยู่แล้ว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่า ปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการเจรจากับสหภาพยุโรป(อียู) เพื่อแก้ปัญหาการถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี ว่า จีเอสพีจะหมดอายุในสิ้นปีนี้อยู่แล้ว และเป็นเรื่องที่รู้มานานแล้ว ซึ่งแนวทางก็คาดหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีเพื่อมาทดแทนหรือบรรเทาผลกระทบซึ่งผ่านสภา ซึ่งผ่านสภาไปแล้วแต่การเจรจาที่หยุดชงัก เพราะนายกฯ ไม่เร่งหาทางออกทางการเมืองปล่อยให้ยืดเยื้อ ก็ยุ่งยากที่จะเดินหน้าเจรจาต่อ เพราะประเทศไทยไม่แน่นอนทางการเมืองก็ไม่มีใครอยากเจรจาด้วย แต่เมื่อไหร่ที่บ้านเมืองไทยมีความแน่นอนเห็นจุดร่วมที่จะผลักดันได้ ก็เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นอียู หรือที่ใดก็มั่นใจจะเจรจากับเรา ดังนั่นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลสร้างขึ้นเอง เพราะถ้าเห็นแก่ประเทศ ไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็ไม่เกิดปัญหาลุกลาม
"คุณยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และคุณทักษิณ ยังมีความคิดที่จะเรียกร้องให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ถ้าแค่นี้ยังไม่ทบทวนจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร เพราะเป็นที่มาของปัญหาทั้งหมด ฉะนั้นอย่ามาอ้างสถานการณ์ ณ จุดใดจุดหนึ่งเพื่อโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องสร้างการเมืองที่ทุกฝ่ายยอมรับ ซึ่งไม่ได้สำคัญที่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่คนเป็นรัฐบาลต้องเคารพกฎหมาย ไม่คิดทำตัวอยู่เหนือกฎหมายล้างผิดให้ตัวเอง ส่วนกรณีที่นายชัยเกษม (นิติสิริ รมว.ยุติธรรม )ระบุว่า จำเป็นต้องรับคำวินิจฉัยของศาลแม้บางครั้ง จะตัดสินว่า สุกรเป็นสุนัขก็ตามนั้น ผมว่า ก็ยังดีที่เคารพศาล แต่ไม่รุ้ว่าเขาสมมุติด้วยเหตุผลใด ซึ่งที่ผ่านมา ศาลชี้ว่า สุกร เป็น สุกร พรรคเพื่อไทยยังบอกว่าเป็นสุนัขเลย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้คำร้องที่ นายกิตติพงศ์ ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณานั้น นายกิตติพงศ์ เห็นว่าการดำเนินการจัดการเลือกตั้งส.ส.เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ของกกตงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะกรณียังไม่มีการเลือกตั้ง 28 เขตเลือกตั้งภาคใต้ในวันที่ 2 ก.พ. หากมีการจัดเลือกตั้งก็จะทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 การเปิดรับสมัครส.ส.ไม่เที่ยงธรรม มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครโดยไม่แจ้งล่วงหน้า การนับคะแนนเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ในทุกเขตเลือกตั้งที่สามารถเลือกตั้งได้ทำให้ทราบผู้ที่จะมาลงคะแนนเลือกตั้งในวันหลังทราบผลการเลือกตั้งแล้วก่อนการละแนน ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง รวมทั้งกกต.ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐ ก่อให้เกิดความได้เปรียบของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 4 จังหวัด โดยมีการออกประกาศหลายฉบับที่มีผลโดยตรง ต่อการทำให้เกิดความไม่เสมอภาคและความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
** ชี้นายกฯ-ครม.สิ้นสภาพรักษาการ
นายประเกียรติ นาสิมมา อดีต ส.ส. และอดีตคณะทำงานกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงประเด็นข้อถกเถียงการจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ให้แล้วเสร็จว่า บุคคลใด องค์กรใด จะต้องทำหน้าที่ใดเพื่อการคานอำนาจถ่วงดุลอำนาจให้ได้ดุลยภาพซึ่งกันและกันมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว แต่เหตุการณ์วันนี้มีความไม่เข้าใจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งของ 28 เขต ที่ยังไม่ได้ดำเนินการเลือกตั้งนั้น จนนำไปสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความ เพราะครม.เห็นว่าพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้งทั่วไปจะตราขึ้นมาใหม่ ซ้ำกับวันที่ 2 ก.พ.57 ไม่ได้เพราะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 จึงให้ กกต.ไปออกระเบียบเองต่อไป
แต่ กกต.เห็นต่างว่า แม้จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็ต้องมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่จึงจะดำเนินการรับสมัครและเลือกตั้ง ส.ส.ใน 28 เขตนั้นได้ ส่วนการเลือกตั้งจะเป็นโมฆะหรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย แนวคิดของ กกต.จึงเข้าหลักการที่บัญญัติไว้ว่า ต่างองค์กรต่างมีหน้าที่และต้องทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
นอกจากนี้ ยังมีอีกปัญหาหนึ่งคือ วันทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปของรัฐสภาตามมาตรา 127 และ 128 อันเป็นหน้าที่สำคัญของ ครม.และนายกรัฐมนตรีรักษาการ ต้องนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อตรา พ.ร.ฎ. ให้การทำรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้งทั่วไปคือ นับจากวันที่ 2 ก.พ.57 โดยให้นับวันที่ 2 ก.พ. เป็นวันแรก เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ครม.และนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ทำโดยอ้างเหตุผลว่า กกต.ยังทำหน้าที่ตามมาตรา 93 ยังไม่เสร็จ ยังไม่มี ส.ส.ที่จะเรียกให้มาประชุมเป็นครั้งแรก
“เรื่องการจะมีหรือไม่มี ส.ส.ตามมาตรา 93 เป็นหน้าที่ของ กกต. หน้าที่ ครม.คือการขอตรา พ.ร.ฎ. กำหนดวันเรียกให้สมาชิกไปประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรก และทำรัฐพิธีภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งวันสุดท้ายคือวันที่ 3 มี.ค.57 และ ครม.ต้องไม่ลืมว่าส.ว.ก็เป็นสมาชิกรัฐสภาและต้องประชุมทำหน้าที่ต่อไป หลังจากเปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป และส.ว.เหล่านั้นก็ยังรอทำหน้าที่ของเขาอยู่”นายประเกียรติ ระบุ
นายประเกียรติ กล่าวด้วยว่า เมื่อไม่มีการทำรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก จึงไม่มีวันเริ่มต้นให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 คือให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้เสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกตามมาตรา 127 โดยเวลาที่เหลือถึงวันที่ 2 เม.ย.57 กกต.คงจะไม่มีทางประกาศรับรองให้มี ส.ส.ตามมาตรา 93 ได้
“เมื่อใคร องค์กรใด มีหน้าที่โดยเฉพาะ ครม.และนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ทำดังที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ไม่ทำหน้าที่สำคัญนั้น ย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่รักษาการ ครม. และรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป และอาจเข้าข่ายการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรธน.นี้ได้”นายประเกียรติ ระบุ
**รัฐบาลตะแบง ยังไม่มีครม.ใหม่
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงอายุรัฐบาลว่า ยืนยันว่าอายุของรัฐบาลยังไม่หมด เรื่องนี้จะเอามาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องพ้นสภาพภายใน 30 วัน หลังการเลือกตั้ง มากำหนดไม่ได้ เพราะมาตรา 127 ต้องใช้ในกรณีที่เหตุการณ์ปกติ แต่ครั้งนี้แม้ว่าจะครบกำหนดในวันที่ 4 มี.ค. ก็ต้องถือว่ามันไม่ปกติ การเลือกตั้งไม่เป็นไปตามกำหนด และยังไม่แล้วเสร็จ จึงเปิดสภาไม่ได้
ดังนั้น จึงถือว่านายกฯ มีความชอบธรรมที่จะรักษาการต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ และหากมีปัญหาเหมือนกับปี 54 ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ก็ให้ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 93 วรรค 6 คือ ให้ใช้เสียง 95 เปอร์เซ็นต์หรือ 475 คน และถ้ายังไม่ครบอีก กกต. ก็ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 180 วัน
"มาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ต้องรักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ดังนั้นผมเห็นว่าถ้าตีความตามกฎหมายแบบนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียังรักษาการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย 6 เดือน คือ ถึงเดือนก.ค. แต่ถ้าถึงเดือนก.ค. แล้วยังไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ครบอีก กกต.ก็สมควรไปผูกคอตายได้แล้ว" นายพีระพันธุ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อาจมีคนยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเรื่องนี้ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ก็มีสิทธิยื่น แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถ้าตีความตรงไป ตรงมา เราไม่ห่วง เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าจะตีความอย่างไร วันนี้ยืนยันว่ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำงานได้ และไม่พ้นสภาพแต่อย่างใด
"ส่วนตัวไม่ห่วงการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ แต่เป็นห่วงว่าจะมีการบิดเบือนกฎหมายทุกเรื่องที่นายกฯกำลังโดนอยู่ วันนี้ถ้ากระบวนการยุติธรรมยังเชื่อถือไม่ได้ ประเทศจะเจ๊งแน่" นายพีระพันธุ์ กล่าว
**"ปู"ย้ำทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีครม.ใหม่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่หลายกลุ่ม พยายามยืนศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความสถานภาพของรัฐบาล หลังครบ 30 วันจากการเลือกตั้งแต่ยังเปิดสภาไม่ได้ ว่า ต้องรอฟังคำวินิจฉัย และเราได้ยึดถือตามหลักรัฐธรรมนูญ ที่เราต้องปฎิบัติหน้าที่ เพราะนายกรัฐมนตรีในฐานะรักษาการ ต้องปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าจะมีรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ต้องทำงานต่อไป ดังนั้นคงต้องรอ
ความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ
**มาร์คอัดรัฐบาลทำตัวเป็นอุปสรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าหลังวันที่ 3 เม.ย. จะไม่มีรัฐบาลรักษาการ ว่า ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการตีความทางกฎหมาย จะว่าอย่างไร เพราะถ้าจะรอให้ศาล หรือองค์กรอิสระจะชี้แต่ละคดีคงเป็นไปได้ยาก เพราะในที่สุดต้องมีการแก้ไขปัญหาทางการเมือง
เรื่องนี้ แทนที่รัฐบาลหรือนายกฯ จะช่วยนำการเมืองมาแก้ไขปัญหา กลับทำตัวเป็นอุปสรรคทุกด้าน แม้ในบทบาทที่ศาลทำได้ กลับเป็นว่ามีการไปปลุกระดมมวลชน ให้ไม่ยอมรับอำนาจศาล หรืออำนาจองค์กรอิสระ ขณะที่มวลชนชุมนุมโดยสงบ ก็กลับมีการสร้างสถานการณ์ใช้ความรุนแรง เอากำลังมาทำร้ายกัน จึงขอเรียกร้องว่าขบวนการทางการเมืองต้องไม่เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหา เพราะกฏหมายและมวลชนตอบทุกอย่างไม่ได้ ต้องมีการตกลงร่วมกันจึงจะเดินหน้าไปได้
"จากที่รัฐบาลเคยพูดว่า จะเปิดทุกประตู แต่วันนี้เขาปิดทุกประตู จึงต้องถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเปิดทุกประตู และระบุว่าหลายเรื่องจะเดินลำบาก แต่กลับไม่ช่วยแก้ปัญหาเลย กลับยืนขวางทุกทาง เพื่อรักษาอำนาจไปเรื่อยๆ และท้าทายว่า แน่จริงก็มาเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของคนส่วนใหญ่ ที่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าบนกติกาที่ทุกคนยอมรับ"
เมื่อถามว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ มีเจตนาที่ต้องการล้มกระดานหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลทำเหมือนกับว่า ถ้าตัวเองอยู่ได้ และทำในสิ่งที่ต้องการสำเร็จก็ทำ แต่ถ้าไม่สำเร็จ ก็หาทางให้ล้มแบบมีปัญหา เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่คิดว่าจะได้ประโยชน์ เพราะหากทำสำเร็จก็ได้สิ่งที่ต้องการ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็หวังพลิกสร้างสถานการณ์ว่าเป็นฝ่ายที่ถูกรังแก ถูกทำลาย โดยไม่คิดถึงประโยชน์ของบ้านเมืองที่ต้องหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน จึงเหมือนมีแผน 3 ขั้น ที่ ตอนนี้ยืนยันว่า ออกไม่ได้ ต้องเลือกตั้งให้เสร็จ ผู้ชุมนุมกลับบ้าน ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปได้ยาก แต่ก็ยื้อเอาไว้ เพราะระหว่างที่ไม่สำเร็จ ก็รักษาการต่อไป
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีปัญหาข้อกฏหมายที่ไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหารัฐบาลรักษาการว่า ยังคงมีสถานะ หรือสิ้นสภาพไปแล้วว่า หากจะนำประเพณีปฏิบัติมาอ้างเพื่อปรับใช้ ก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ถูกโต้แย้งได้ง่ายเช่นกัน ที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ฝ่ายการเมืองต้องทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ
การที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน เสนอตัวจะเป็นคนเจรจากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯกปปส. นั้น ตนเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เพราะร.ต.อ.เฉลิม ไม่ใช่ผู้นำรัฐบาล ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ก็ไม่ต่างจากกรณีที่นายกฯ ส่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ไปเจรจากับ กกต. เพื่อหาทางออกการเลือกตั้งก็ไม่สามารถหาทางออกได้ ดังนั้นที่ ร.ต.อ.เฉลิมจะไปคุยก็ไม่มีผลอะไร เพราะไม่มีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกา น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงควรมาเจรจาเอง แม้ว่าเบื้องหลังจะมีคนอื่นควบคุมอยู่ แต่เป็นผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมไม่มี ไม่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลถึงอยากจะเป็น ก็ไม่ใช่
เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยื้อไปได้อีกนานแค่ไหน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ห่วง น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ห่วงประเทศว่าเดือดร้อน หากยังยื้อเพื่อประโยชนของตัวเองก็มองไม่เห็นว่าจะยื้อได้ตลอดไป และไม่ได้ตามต้องการอย่างไร จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่รอให้กระบวนการทางกฎหมายคลี่คลายในแต่ละคดี เพราะจะมีการตีความเรื่องอื่นๆ เพิ่มตามมาอีก เช่น หากป.ป.ช.ชี้มูล แล้วต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องมีการส่งเรื่องตีความอีกเรื่อง การพ้นจากรักษาการ ต้องเถียงกันอีกว่าจะทำอย่างไรต่อ จะเป็นการเพิ่มคดีซ้ำขึ้นมาอีก
ดังนั้นการคลี่คลายทางกฎหมายในแต่ละเรื่อง ไม่ได้ให้คำตอบในขั้นต่อไป เพราะศาลไม่มีหน้าที่บอกว่าต้องทำอะไรต่อ แต่มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเวลานั้น เท่านั้น
เมื่อถามต่อว่า สถานะภาพของ ส.ว.ถือว่า เป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาได้ เฉพาะในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ถ้ามีเงื่อนไขที่ไม่มีการระบุในรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาก็อยู่ในสถานะใกล้เคียงที่สุดในการทำหน้าที่นิติบัญญัติ
เมื่อถามย้ำว่า ส.ว.สามารถเสนอชื่อนายกฯ ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีการถกเถียงกันอีก อย่างไรก็ตาม หากสามารถเสนอชื่อได้ ก็จะไม่มีปัญหา ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า นายกฯ ต้องมาจากส.ส. เพราะเวลานี้ไม่มีส.ส.อยู่แล้ว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ โพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่า ปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการเจรจากับสหภาพยุโรป(อียู) เพื่อแก้ปัญหาการถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี ว่า จีเอสพีจะหมดอายุในสิ้นปีนี้อยู่แล้ว และเป็นเรื่องที่รู้มานานแล้ว ซึ่งแนวทางก็คาดหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีเพื่อมาทดแทนหรือบรรเทาผลกระทบซึ่งผ่านสภา ซึ่งผ่านสภาไปแล้วแต่การเจรจาที่หยุดชงัก เพราะนายกฯ ไม่เร่งหาทางออกทางการเมืองปล่อยให้ยืดเยื้อ ก็ยุ่งยากที่จะเดินหน้าเจรจาต่อ เพราะประเทศไทยไม่แน่นอนทางการเมืองก็ไม่มีใครอยากเจรจาด้วย แต่เมื่อไหร่ที่บ้านเมืองไทยมีความแน่นอนเห็นจุดร่วมที่จะผลักดันได้ ก็เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นอียู หรือที่ใดก็มั่นใจจะเจรจากับเรา ดังนั่นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลสร้างขึ้นเอง เพราะถ้าเห็นแก่ประเทศ ไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็ไม่เกิดปัญหาลุกลาม
"คุณยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย และคุณทักษิณ ยังมีความคิดที่จะเรียกร้องให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ถ้าแค่นี้ยังไม่ทบทวนจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร เพราะเป็นที่มาของปัญหาทั้งหมด ฉะนั้นอย่ามาอ้างสถานการณ์ ณ จุดใดจุดหนึ่งเพื่อโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องสร้างการเมืองที่ทุกฝ่ายยอมรับ ซึ่งไม่ได้สำคัญที่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่คนเป็นรัฐบาลต้องเคารพกฎหมาย ไม่คิดทำตัวอยู่เหนือกฎหมายล้างผิดให้ตัวเอง ส่วนกรณีที่นายชัยเกษม (นิติสิริ รมว.ยุติธรรม )ระบุว่า จำเป็นต้องรับคำวินิจฉัยของศาลแม้บางครั้ง จะตัดสินว่า สุกรเป็นสุนัขก็ตามนั้น ผมว่า ก็ยังดีที่เคารพศาล แต่ไม่รุ้ว่าเขาสมมุติด้วยเหตุผลใด ซึ่งที่ผ่านมา ศาลชี้ว่า สุกร เป็น สุกร พรรคเพื่อไทยยังบอกว่าเป็นสุนัขเลย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว