นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณี ทำหนังสือแจ้งมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่อ.ก.พ.กระทรวง ที่ให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ออกจากราชการ กรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหาย และส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ พร้อมทั้งส่งร่างคำสั่งหนังสือปลดออก หารือไปยังประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยคาดว่า ภายในสัปดาห์นี้กกต.จะมีหนังสือตอบกลับไปยังกระทรวง
ทั้งนี้ มั่นใจว่า กกต. จะพิจารณาไม่นาน เพราะไม่มีประเด็นจะต้องพิจารณาคำสั่งปลดครั้งนี้ เนื่องจากไม่ได้มีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นการแต่งตั้งโยกย้ายแทนตำแหน่งว่างในช่วงการเลือกตั้ง แต่เป็นการสอบสวนทางวินัยทาง โดย อ.ก.พ.สกศ. จึงไม่อยู่ในประเด็นที่ กกต.จะต้องพิจารณา
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ กกต. มีหนังสือตอบกลับมาแล้ว ถ้าไม่ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อขอความเห็นชอบ ตนในฐานะรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ก็สามารถลงนามในคำสั่งปลดออกจากข้าราชการได้ทันที ระหว่างนี้ได้ให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด (ศธ.) ทำหนังสือสอบถามไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ด้วยว่า กรณีปลดระดับ 11 ออกจากราชการ จำเป็นจะต้องทำเรื่องเข้าพิจารณาในครม.หรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณี น.ส.ศศิธารา ชี้แจงว่า กรณีเอกสารหายนั้น เจ้าตัวไม่ได้ทำผิดตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค.0526.7/ว.72 เพราะระเบียบดังกล่าว เป็นแนวปฏิบัติใช้ในกรณีเอกสารสูญหายหลังการเบิกจ่าย แต่กรณีนี้เป็นเอกสารสูญหายก่อนการเบิกจ่ายนั้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า โดยข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อพบว่าเอกสารหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่พัสดุ รองเลขาธิการ กอศ.ในขณะนั้น ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีเอกสารหายก่อนที่จะให้มีการเบิกจ่าย ซึ่งน.ส.ศศิธารา ก็อนุมัติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่กลับไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นจริง และปล่อยให้มีการอนุมัติเบิกจ่ายไปตามขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ แนบท้ายสัญญา หรือทีโออาร์ ที่ใช้ในการตรวจรับของ ซึ่งไม่ตรงกับทีโออาร์ ที่ใช้ในการประกวดราคา ทำให้ราชการต้องได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ อ.ก.พ.สกศ.เอง ก็มีการอภิปรายในประเด็นนี้เช่นกัน แต่ได้ข้อสรุปว่า คดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการทำเอกสารหาย แต่เป็นเรื่องที่น.ส.ศศิธารา ให้เบิกจ่ายเงินไปโดยที่ไม่มีการตรวจสอบก่อน โดยใช้เอกสารทีโออาร์ ที่ไม่ตรงกับของจริง ซึ่งก็เป็นผลจาการที่ไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ราชการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
"คดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการเอาผิด เพราะทำเอกสารหาย เรื่องของเอกสารหายเป็นเรื่องของคนทำเอกสาร ซึ่งก็ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดชอบต่อไป แต่กรณีนี้เป็นการเอาผิด ที่น.ส.ศศิธารา อนุมัติเบิกจ่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ ทั้งที่ก็รู้กันอยู่ว่าควรจะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนจึงจะมีการเบิกจ่าย ผลก็คือมีการเบิกจ่ายไปตามทีโออาร์ ที่ไม่ตรงกับทีโออาร์ ที่ประกวดราคา ส่งผลให้ข้าราชการเสียหาย และยังทำให้เกิดการส่งครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของวิทยาลัย ทั้งนี้น.ส.ศศิธารา ได้ทำเอกสารชี้แจงเรื่องทั้งหมดมายัง อ.ก.พ.สกศ. แล้ว และอ.ก.พ.สกศ. ทุกคนก็ได้อ่านคำชี้แจงนั้น ก่อนจะมาอภิปรายกันในที่ประชุม และมีมติให้เอาผิดร้ายแรงน.ส.ศศิธารา ปลดออกจากข้าราชการ"นายจาตุรนต์ กล่าว
ทั้งนี้ มั่นใจว่า กกต. จะพิจารณาไม่นาน เพราะไม่มีประเด็นจะต้องพิจารณาคำสั่งปลดครั้งนี้ เนื่องจากไม่ได้มีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นการแต่งตั้งโยกย้ายแทนตำแหน่งว่างในช่วงการเลือกตั้ง แต่เป็นการสอบสวนทางวินัยทาง โดย อ.ก.พ.สกศ. จึงไม่อยู่ในประเด็นที่ กกต.จะต้องพิจารณา
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ กกต. มีหนังสือตอบกลับมาแล้ว ถ้าไม่ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อขอความเห็นชอบ ตนในฐานะรักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ก็สามารถลงนามในคำสั่งปลดออกจากข้าราชการได้ทันที ระหว่างนี้ได้ให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด (ศธ.) ทำหนังสือสอบถามไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ด้วยว่า กรณีปลดระดับ 11 ออกจากราชการ จำเป็นจะต้องทำเรื่องเข้าพิจารณาในครม.หรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณี น.ส.ศศิธารา ชี้แจงว่า กรณีเอกสารหายนั้น เจ้าตัวไม่ได้ทำผิดตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค.0526.7/ว.72 เพราะระเบียบดังกล่าว เป็นแนวปฏิบัติใช้ในกรณีเอกสารสูญหายหลังการเบิกจ่าย แต่กรณีนี้เป็นเอกสารสูญหายก่อนการเบิกจ่ายนั้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า โดยข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อพบว่าเอกสารหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่พัสดุ รองเลขาธิการ กอศ.ในขณะนั้น ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีเอกสารหายก่อนที่จะให้มีการเบิกจ่าย ซึ่งน.ส.ศศิธารา ก็อนุมัติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่กลับไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นจริง และปล่อยให้มีการอนุมัติเบิกจ่ายไปตามขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ แนบท้ายสัญญา หรือทีโออาร์ ที่ใช้ในการตรวจรับของ ซึ่งไม่ตรงกับทีโออาร์ ที่ใช้ในการประกวดราคา ทำให้ราชการต้องได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ อ.ก.พ.สกศ.เอง ก็มีการอภิปรายในประเด็นนี้เช่นกัน แต่ได้ข้อสรุปว่า คดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการทำเอกสารหาย แต่เป็นเรื่องที่น.ส.ศศิธารา ให้เบิกจ่ายเงินไปโดยที่ไม่มีการตรวจสอบก่อน โดยใช้เอกสารทีโออาร์ ที่ไม่ตรงกับของจริง ซึ่งก็เป็นผลจาการที่ไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ราชการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
"คดีนี้ไม่ใช่เรื่องของการเอาผิด เพราะทำเอกสารหาย เรื่องของเอกสารหายเป็นเรื่องของคนทำเอกสาร ซึ่งก็ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดชอบต่อไป แต่กรณีนี้เป็นการเอาผิด ที่น.ส.ศศิธารา อนุมัติเบิกจ่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ ทั้งที่ก็รู้กันอยู่ว่าควรจะต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนจึงจะมีการเบิกจ่าย ผลก็คือมีการเบิกจ่ายไปตามทีโออาร์ ที่ไม่ตรงกับทีโออาร์ ที่ประกวดราคา ส่งผลให้ข้าราชการเสียหาย และยังทำให้เกิดการส่งครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของวิทยาลัย ทั้งนี้น.ส.ศศิธารา ได้ทำเอกสารชี้แจงเรื่องทั้งหมดมายัง อ.ก.พ.สกศ. แล้ว และอ.ก.พ.สกศ. ทุกคนก็ได้อ่านคำชี้แจงนั้น ก่อนจะมาอภิปรายกันในที่ประชุม และมีมติให้เอาผิดร้ายแรงน.ส.ศศิธารา ปลดออกจากข้าราชการ"นายจาตุรนต์ กล่าว