มติ อ.ก.พ.สกศ.เชือด “ศศิธารา” ปลดออกจากราชการ เซ่นคดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวะมีผลทันทีหลัง กกต.เห็นชอบ
วันนี้ (25 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักงานพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา (สสอ.) ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานประชุมเพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการ สกศ.อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
ต่อมาเมื่อเวลา 18.35 น.นายจาตุรนต์ กล่าวภายหลังการประชุมเกือบ 5 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีมติเสียงส่วนใหญ่ให้ปลด น.ส.ศศิธารา ออกจากราชการ กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2 (SP2) สูญหาย และส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ในการประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีผู้มาประชุมทั้งหมด 8 คน จาก 12 คน มีมติ 6:2 โดยเสียงข้างมาก 6 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ยืนตามผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่เสนอให้ปลดออกจากราชการ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า กรณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 น.ส.ศศิธารา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กอศ.ได้อนุมัติเบิกจ่ายเงินในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ สอศ.ให้แก่ผู้ขายตามสัญญา 12 ฉบับ จำนวนเงิน 122,468,400 บาท ขณะที่อนุมัติจ่ายเงินนั้นทีโออาร์และเอกสารที่ใช้ในการประกวดจัดซื้อครุภัณฑ์หลายรายการ ราคาสูญหาย โดยไม่มีการตรวจหาสาเหตุที่ทีโออาร์และเอกสารสูญหายเสียก่อน ตามรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงได้พบว่าก่อนการอนุมัติจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายตามสัญญาจัดซื้อครุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 31,500,000 บาท เจ้าหน้าที่พัสดุและนายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ อดีตรองเลขาธิการ กอศ.ได้ทักท้วงให้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนหาสาเหตุที่เอกสารสูญหาย โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลังก่อน หากพบว่าเกิดจากการทุจริตก็จะจ่ายเงินให้ผู้ขายไม่ได้ แต่ น.ส.ศศิธารา ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและอนุมัติให้จ่ายเงินไป โดยอ้างว่าต้นฉบับสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญารวมถึงทีโออาร์ไม่ได้สูญหาย แต่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสำเนาทีโออาร์ที่ใช้ในการประกวดราคาซึ่งต้นฉบับได้สูญหายไป เปรียบเทียบกับทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา ซึ่งใช้ในการตรวจรับครุภัณฑ์ ปรากฏว่าทีโออาร์ทั้ง 2 ฉบับไม่มีรายการ หรือรายละเอียดใดๆ เหมือนกันเลย ครุภัณฑ์ที่ได้ตรวจรับไว้ตามทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา จึงไม่เป็นไปตามทีโออาร์ที่ประกาศประกวดราคา
สำหรับสถานศึกษาที่ได้รับครุภัณฑ์ชุดปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมได้แก่วิทยาลัยเทคนิค(วท.) แพร่ วท.พิจิตร วท.สระบุรี วท.สัตหีบ วท.จุฬาลงกรณ์ (ลาดขวาง) วท.หนองคาย วท.ร้อยเอ็ด และ วท.ระยอง รวม 8 แห่ง ทุกแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากครุภัณฑ์ที่ น.ส.ศศิธารา ในฐานะเลขาธิการ กอศ.ได้ทำการจัดซื้อ เนื่องจากสถานศึกษาดังกล่าวไม่ได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาสิ่งแวดล้อม หรือรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์ที่จัดซื้อ โดยราคาครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาชุดละ 3,937,500 บาท ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเมินราคาแล้วเห็นว่าเมื่อเทียบราคาท้องตลาดรวมกำไรแล้วราคาเพียงชุดละ 1,250,000 บาท กรณีดังกล่าวทำให้ทางราชการเสียหายเป็นเงินจำนวน 31,500,000 บาท
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนได้เสนอความเห็นว่า การกระทำของ น.ส.ศศิธารา เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ และไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีและไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกจากราชการ ตามมาตรา 82(2) และ (3) ประกอบกับมาตรา 85(7) แห่ง พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่ง อ.ก.พ.สำนักงานสภาการศึกษาในฐานะ อ.ก.พ.กระทรวงได้พิจารณาและมีมติให้ปลดออกจากราชการ
“หลังจากนี้จะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาก่อน มติปลดออกจึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือคำสั่งปลดออก เพื่อให้ กกต.พิจารณาและจะต้องหารือกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่าจะต้องนำคำสั่งปลดออกให้ ครม.พิจารณาก่อนหรือไม่ เพราะเป็นระดับ 11 และจะต้องหารือกับ สลค.ด้วยว่าจะต้องนำความกราบบังคมทูลฯหรือไม่ ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่คำสั่งปลดจะมีผลล่วงหน้าไปก่อนแล้วทันทีที่ กกต.ให้ความเห็นชอบ ขณะเดียวกัน ถ้า กกต.ให้ความเห็นชอบก็สามารถแต่งตั้งระดับ 11 ทดแทน”นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 2 คดี ได้แก่ เรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทำสัญญากำหนดค่าปรับในสัญญาที่แตกต่างกันบางฉบับกำหนดค่าปรับร้อยละ 0.02 บางฉบับ ร้อยละ 0.2 ทั้งที่เป็นการจัดซื้อในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และเรื่องการมีพฤติการณ์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ กระบวนการจัดซื้อ เป็นต้นว่า การประกวดราคา การทำสัญญา และการตรวจรับครุภัณฑ์เป็นไปโดยมิชอบ ทั้งนี้ หากทั้ง 2 กรณีปรากฎพบว่าเป็นความผิดซึ่งมีโทษสูงกว่าคดีนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษใหม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมครั้งนี้ มีกรรมการเข้าร่วมประชุม รวม 8 คน จากทั้งหมด 12 คน โดยเป็นผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานภายในของ สกศ.แต่ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ขณะที่การประชุมครั้งนี้ยังคงมี นายนภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม ทำหน้าที่เลขานุการ อ.ก.พ.สกศ.เช่นเดิม
วันนี้ (25 ก.พ.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักงานพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา (สสอ.) ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานประชุมเพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการ สกศ.อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
ต่อมาเมื่อเวลา 18.35 น.นายจาตุรนต์ กล่าวภายหลังการประชุมเกือบ 5 ชั่วโมง ว่า ที่ประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีมติเสียงส่วนใหญ่ให้ปลด น.ส.ศศิธารา ออกจากราชการ กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่2 (SP2) สูญหาย และส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ ในการประชุม อ.ก.พ.สกศ.มีผู้มาประชุมทั้งหมด 8 คน จาก 12 คน มีมติ 6:2 โดยเสียงข้างมาก 6 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ยืนตามผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่เสนอให้ปลดออกจากราชการ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า กรณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 น.ส.ศศิธารา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กอศ.ได้อนุมัติเบิกจ่ายเงินในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ สอศ.ให้แก่ผู้ขายตามสัญญา 12 ฉบับ จำนวนเงิน 122,468,400 บาท ขณะที่อนุมัติจ่ายเงินนั้นทีโออาร์และเอกสารที่ใช้ในการประกวดจัดซื้อครุภัณฑ์หลายรายการ ราคาสูญหาย โดยไม่มีการตรวจหาสาเหตุที่ทีโออาร์และเอกสารสูญหายเสียก่อน ตามรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงได้พบว่าก่อนการอนุมัติจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายตามสัญญาจัดซื้อครุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 31,500,000 บาท เจ้าหน้าที่พัสดุและนายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ อดีตรองเลขาธิการ กอศ.ได้ทักท้วงให้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนหาสาเหตุที่เอกสารสูญหาย โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลังก่อน หากพบว่าเกิดจากการทุจริตก็จะจ่ายเงินให้ผู้ขายไม่ได้ แต่ น.ส.ศศิธารา ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและอนุมัติให้จ่ายเงินไป โดยอ้างว่าต้นฉบับสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญารวมถึงทีโออาร์ไม่ได้สูญหาย แต่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสำเนาทีโออาร์ที่ใช้ในการประกวดราคาซึ่งต้นฉบับได้สูญหายไป เปรียบเทียบกับทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา ซึ่งใช้ในการตรวจรับครุภัณฑ์ ปรากฏว่าทีโออาร์ทั้ง 2 ฉบับไม่มีรายการ หรือรายละเอียดใดๆ เหมือนกันเลย ครุภัณฑ์ที่ได้ตรวจรับไว้ตามทีโออาร์ที่แนบท้ายสัญญา จึงไม่เป็นไปตามทีโออาร์ที่ประกาศประกวดราคา
สำหรับสถานศึกษาที่ได้รับครุภัณฑ์ชุดปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมได้แก่วิทยาลัยเทคนิค(วท.) แพร่ วท.พิจิตร วท.สระบุรี วท.สัตหีบ วท.จุฬาลงกรณ์ (ลาดขวาง) วท.หนองคาย วท.ร้อยเอ็ด และ วท.ระยอง รวม 8 แห่ง ทุกแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากครุภัณฑ์ที่ น.ส.ศศิธารา ในฐานะเลขาธิการ กอศ.ได้ทำการจัดซื้อ เนื่องจากสถานศึกษาดังกล่าวไม่ได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาสิ่งแวดล้อม หรือรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์ที่จัดซื้อ โดยราคาครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาชุดละ 3,937,500 บาท ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเมินราคาแล้วเห็นว่าเมื่อเทียบราคาท้องตลาดรวมกำไรแล้วราคาเพียงชุดละ 1,250,000 บาท กรณีดังกล่าวทำให้ทางราชการเสียหายเป็นเงินจำนวน 31,500,000 บาท
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนได้เสนอความเห็นว่า การกระทำของ น.ส.ศศิธารา เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ และไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีและไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกจากราชการ ตามมาตรา 82(2) และ (3) ประกอบกับมาตรา 85(7) แห่ง พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่ง อ.ก.พ.สำนักงานสภาการศึกษาในฐานะ อ.ก.พ.กระทรวงได้พิจารณาและมีมติให้ปลดออกจากราชการ
“หลังจากนี้จะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาก่อน มติปลดออกจึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหนังสือคำสั่งปลดออก เพื่อให้ กกต.พิจารณาและจะต้องหารือกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่าจะต้องนำคำสั่งปลดออกให้ ครม.พิจารณาก่อนหรือไม่ เพราะเป็นระดับ 11 และจะต้องหารือกับ สลค.ด้วยว่าจะต้องนำความกราบบังคมทูลฯหรือไม่ ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) แต่คำสั่งปลดจะมีผลล่วงหน้าไปก่อนแล้วทันทีที่ กกต.ให้ความเห็นชอบ ขณะเดียวกัน ถ้า กกต.ให้ความเห็นชอบก็สามารถแต่งตั้งระดับ 11 ทดแทน”นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ น.ส.ศศิธารา ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนอีก 2 คดี ได้แก่ เรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทำสัญญากำหนดค่าปรับในสัญญาที่แตกต่างกันบางฉบับกำหนดค่าปรับร้อยละ 0.02 บางฉบับ ร้อยละ 0.2 ทั้งที่เป็นการจัดซื้อในคราวเดียวกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง และเรื่องการมีพฤติการณ์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ กระบวนการจัดซื้อ เป็นต้นว่า การประกวดราคา การทำสัญญา และการตรวจรับครุภัณฑ์เป็นไปโดยมิชอบ ทั้งนี้ หากทั้ง 2 กรณีปรากฎพบว่าเป็นความผิดซึ่งมีโทษสูงกว่าคดีนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษใหม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุมครั้งนี้ มีกรรมการเข้าร่วมประชุม รวม 8 คน จากทั้งหมด 12 คน โดยเป็นผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานภายในของ สกศ.แต่ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม ขณะที่การประชุมครั้งนี้ยังคงมี นายนภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม ทำหน้าที่เลขานุการ อ.ก.พ.สกศ.เช่นเดิม