ASTVผู้จัดการรายวัน-"ศศิธารา" ไม่ยอมแพ้ จ่อฟ้องกราวรูด ทั้งรัฐมนตรี กรรมการที่มติปลดออกจากราชการ ทั้งทางแพ่งและอาญา พร้อมร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ศาลปกครอง หลังถูกให้ออกจากราชการ กรณีจ่ายเงินจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ทั้งที่เอกสารสูญหาย ยันไม่มีระเบียบห้ามไว้ ตอกหน้ารัฐมนตรีรักษาการไม่มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย
จากกรณีที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2557 เพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา (กกศ.) อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยที่ประชุมได้พิจารณามีมติเสียงส่วนใหญ่ 6 ต่อ 2 ให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ
วานนี้ (26 ก.พ.) น.ส.ศศิธาราได้ชี้แจงในกรณีดังกล่าวว่า ตนได้ไปแจ้งความไว้เรียบร้อยแล้ว และจะฟ้องศาลอาญา ทั้งตัวผู้ออกคำสั่งโดยมิชอบ และคณะกรรมการสอบสวน เพราะกระบวนการสอบวินัยร้ายแรง ไม่ถูกต้อง ไม่มีการตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน หรือหลังจากที่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงแล้ว โดยปกติจะต้องแจ้งคำสั่ง แจ้งว่าผิดอย่างไร ผิดเรื่องอะไร และให้แก้ข้อกล่าวหา ก็จะมีเวลาไว้ให้เสร็จว่ากี่วัน เสร็จแล้วต้องนำเข้า อ.ก.พ.กระทรวง นี่แต่ละขั้นตอนไม่ได้ตรงตามนั้นเลย
"การออกคำสั่ง ออกไม่ชอบ กระบวนการสอบสวนก็ไม่ชอบ แต่ก็มีการสอบสวนกันมาเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าคำสั่งชอบหรือไม่ชอบ วิธีปฏิบัติถูกหรือไม่ นอกจากนั้น ในเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจ้งข้อกล่าวหา ก็ถามมาให้ตอบแต่เพียงเรื่องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือเปล่า ดำเนินการอย่างไร ก็ตอบไปเพียงแค่นี้"
น.ส.ศศิธารากล่าวว่า กรณีการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างกรณีเอกสารสูญหาย เรื่องนี้กระทรวงการคลังก็ไม่มีระเบียบปฏิบัติกรณีเอกสารสูญหายก่อนการจ่ายเงิน จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบ และนำไปสู่ความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงได้ แต่ก็ได้มีความพยายามเพื่อให้ผิดระเบียบกระทรวงการคลัง เพราะไม่เช่นนั้น จะกล่าวหาว่าทำผิดวินัยร้ายแรงไม่ได้
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ในการเบิกจ่ายเงิน เอกสารสำคัญตัวจริงยังอยู่ โดยตามระเบียบกระทรวงการคลังเอกสารสำคัญที่สูญหายไม่ได้ คือ หนังสือสัญญา และขอบเขตงาน หรือทีโออาร์กำหนดคุณลักษณะ ผลการตรวจรับครุภัณฑ์ ซึ่งเคยถามกรมบัญชีกลางไปก็ยันยันว่าทั้งหมดนี้ต้องมี ซึ่งก็มีครบ แต่เอกสารที่สูญหายไปมี 4 รายการ คือ รายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์, เอกสารประกวดราคา ,บันทึกส่งเอกสารโฆษณา 5 หน่วยงานประชาสัมพันธ์ และขอบเขตงาน ส่วนเอกสารที่ยังอยู่ครบ อาทิ ต้นฉบับสัญญา 21 ฉบับ เอกสารประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา , คณะกรรมการดำเนินงาน , ประกาศเชิญชวน , คุณลักษณะสเป็คเฉพาะครุภัณฑ์ , สรุปคณะกรรมการพิจารณาซอง , สรุปคณะกรรมการเสนอราคา , ประกาศผู้ชนะจัดซื้อจัดจ้าง และเอกสารอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างโดยเลขาธิการ เป็นต้น
สำหรับประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ โดยคณะกรรมการสอบสวนวินัยนำร่างทีโออาร์ไปให้หน่วยงานอื่นประเมินราคา และระบุว่าครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาแพงกว่าราคาท้องตลาดนั้น เป็นคนละประเด็นกับเอกสารสูญหาย ต้องตั้งกรรมการสอบสวนใหม่อีกเรื่องหนึ่ง และไม่ใช่กรรมการชุดเดิม จึงไม่สามารถนำประเด็นนี้มาสรุปว่าตนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และผิดวินัยร้ายแรงได้ ถือเป็นการกลั่นแกล้งอย่างชัดเจน
"ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน รัฐมนตรีรักษาการ ไม่สามารถใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการได้ นายจาตุรนต์ จึงไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ ซึ่งจากนี้จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เริ่มจากการร้องทุกข์กับคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ฟ้องศาลปกครอง และฟ้อง อ.ก.พ.สกศ. ที่ลงคะแนนปลดตนออกจากราชการทั้ง 6 คน ทั้งทางแพ่งและอาญา"น.ส.ศศิธารากล่าว
จากกรณีที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 25 ก.พ.2557 เพื่อหาข้อยุติในการสอบวินัยร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา (กกศ.) อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรณีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) สูญหายและส่อว่าอาจมีความไม่โปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยที่ประชุมได้พิจารณามีมติเสียงส่วนใหญ่ 6 ต่อ 2 ให้ปลด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ออกจากราชการ
วานนี้ (26 ก.พ.) น.ส.ศศิธาราได้ชี้แจงในกรณีดังกล่าวว่า ตนได้ไปแจ้งความไว้เรียบร้อยแล้ว และจะฟ้องศาลอาญา ทั้งตัวผู้ออกคำสั่งโดยมิชอบ และคณะกรรมการสอบสวน เพราะกระบวนการสอบวินัยร้ายแรง ไม่ถูกต้อง ไม่มีการตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน หรือหลังจากที่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงแล้ว โดยปกติจะต้องแจ้งคำสั่ง แจ้งว่าผิดอย่างไร ผิดเรื่องอะไร และให้แก้ข้อกล่าวหา ก็จะมีเวลาไว้ให้เสร็จว่ากี่วัน เสร็จแล้วต้องนำเข้า อ.ก.พ.กระทรวง นี่แต่ละขั้นตอนไม่ได้ตรงตามนั้นเลย
"การออกคำสั่ง ออกไม่ชอบ กระบวนการสอบสวนก็ไม่ชอบ แต่ก็มีการสอบสวนกันมาเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าคำสั่งชอบหรือไม่ชอบ วิธีปฏิบัติถูกหรือไม่ นอกจากนั้น ในเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจ้งข้อกล่าวหา ก็ถามมาให้ตอบแต่เพียงเรื่องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือเปล่า ดำเนินการอย่างไร ก็ตอบไปเพียงแค่นี้"
น.ส.ศศิธารากล่าวว่า กรณีการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างกรณีเอกสารสูญหาย เรื่องนี้กระทรวงการคลังก็ไม่มีระเบียบปฏิบัติกรณีเอกสารสูญหายก่อนการจ่ายเงิน จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบ และนำไปสู่ความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงได้ แต่ก็ได้มีความพยายามเพื่อให้ผิดระเบียบกระทรวงการคลัง เพราะไม่เช่นนั้น จะกล่าวหาว่าทำผิดวินัยร้ายแรงไม่ได้
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ในการเบิกจ่ายเงิน เอกสารสำคัญตัวจริงยังอยู่ โดยตามระเบียบกระทรวงการคลังเอกสารสำคัญที่สูญหายไม่ได้ คือ หนังสือสัญญา และขอบเขตงาน หรือทีโออาร์กำหนดคุณลักษณะ ผลการตรวจรับครุภัณฑ์ ซึ่งเคยถามกรมบัญชีกลางไปก็ยันยันว่าทั้งหมดนี้ต้องมี ซึ่งก็มีครบ แต่เอกสารที่สูญหายไปมี 4 รายการ คือ รายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์, เอกสารประกวดราคา ,บันทึกส่งเอกสารโฆษณา 5 หน่วยงานประชาสัมพันธ์ และขอบเขตงาน ส่วนเอกสารที่ยังอยู่ครบ อาทิ ต้นฉบับสัญญา 21 ฉบับ เอกสารประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคา , คณะกรรมการดำเนินงาน , ประกาศเชิญชวน , คุณลักษณะสเป็คเฉพาะครุภัณฑ์ , สรุปคณะกรรมการพิจารณาซอง , สรุปคณะกรรมการเสนอราคา , ประกาศผู้ชนะจัดซื้อจัดจ้าง และเอกสารอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างโดยเลขาธิการ เป็นต้น
สำหรับประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ โดยคณะกรรมการสอบสวนวินัยนำร่างทีโออาร์ไปให้หน่วยงานอื่นประเมินราคา และระบุว่าครุภัณฑ์ที่จัดซื้อราคาแพงกว่าราคาท้องตลาดนั้น เป็นคนละประเด็นกับเอกสารสูญหาย ต้องตั้งกรรมการสอบสวนใหม่อีกเรื่องหนึ่ง และไม่ใช่กรรมการชุดเดิม จึงไม่สามารถนำประเด็นนี้มาสรุปว่าตนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และผิดวินัยร้ายแรงได้ ถือเป็นการกลั่นแกล้งอย่างชัดเจน
"ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน รัฐมนตรีรักษาการ ไม่สามารถใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการได้ นายจาตุรนต์ จึงไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ ซึ่งจากนี้จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เริ่มจากการร้องทุกข์กับคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ฟ้องศาลปกครอง และฟ้อง อ.ก.พ.สกศ. ที่ลงคะแนนปลดตนออกจากราชการทั้ง 6 คน ทั้งทางแพ่งและอาญา"น.ส.ศศิธารากล่าว