xs
xsm
sm
md
lg

"หลวงปู่"ถกพิมพ์เขียวพลังงาน เลิกสัมปทานใช้แบ่งปันผลผลิต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (23ก.พ.) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และภาคประชาชนติดตามเรื่องพลังงาน ประมาณ 10 ราย ได้เข้าหารือหลวงปู่พุทธะอิสระ ที่บ้านทรงไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เกี่ยวกับการสรุปพิมพ์เขียวปฏิรูปพลังงานไทยและพลังงานทดแทน โดยการหารือครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างหลากหลาย จากผู้ที่ทำงานติดตามแก้ปัญหาพลังงาน รวมทั้งการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ทั้งภาคครัวเรือน และภาค ขนส่ง
ทั้งนี้ การหารือได้ให้ความสนใจ ประเด็นที่จะให้การปิโตรเลียม กลับมาเป็นของรัฐ หลังจากที่รัฐบาลยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แปรรูปให้ บริษัท ปตท.จำกัด เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ภาคเอกชนเข้าครอบงำกิจการ ส่งผลกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องรับภาระการปรับขึ้นราคาน้ำมัน และก๊าซอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งการหารือได้มีการเสนอให้เปลี่ยนระบบลงทุนด้านการพลังงาน ปิโตรเลียม จากการให้สัมปทานเอกชนลงทุน แล้วรัฐเรียกเก็บ ค่าตอบแทนตามสัญญาเป็นเปอร์เซ็นต์นั้น ให้เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต คือ รัฐลงทุนทรัพยากร เอกชนลงทุนความรู้ขุดเจาะ - เครื่องมือ เมื่อได้ผลผลิตมาก็แบ่งรายได้กัน ขณะที่ทรัพยากรทั้งใต้ดิน-บนดินยังเป็นของรัฐ ซึ่งมีการเปรียบเทียบระบบบริหารจัดการกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ภายหลังใช้เวลาหารือ ประมาณ 1 ชั่วโมง หลวงปู่พุทธะอิสระได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า การเสนอพิมพ์เขียวปฏิรูปพลังงาน จะนำหลักการประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย มาเทียบเคียง โดยส่วนหนึ่งจะเสนอแก้ระบบการลงทุนด้านปิโตรเลียม-พลังงาน จากการเก็บค่าสัมปทาน เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ที่จะต้องการเสนอกฎหมายแก้ไขระบบการลงทุน ทั้งนี้จะได้มีการนัดหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างละเอียดในครั้งต่อไป หลังจากความเห็นเบื้องต้นที่ได้สรุปในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการหารือกับหลวงปู่พุทธะอิสระ ทางเครือข่ายปฎิรูปพลังงานไทย ได้จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง "ปฎิรูปพลังงานไทย : ใครได้ใครเสีย? " ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน มาก่อนแล้วเมื่อ วันที่ 22 ก.พ.
โดย มล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศไทย ต้องมีเงินทุน การปฏิรูปประเทศไทยจะสำเร็จได้ต้องมีพลังงาน ซึ่งพลังงานไม่ใช่อยู่ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อย่างเดียว แต่อยู่ใต้ดินบ่อน้ำมัน และบ่อก๊าซ ที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ ถ้ายังไม่ได้รับประโยชน์ ก็ยังไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งการสำรวจน้ำมันเกิดขึ้นมาเป็นร้อยปี เพื่อนำน้ำมันมาใช้ในระบบการรถไฟ ตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการสำรวจที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จ.กาฬสินธุ์ หรือที่ จ .สงขลา ก็พบน้ำมันซึ่งขณะนี้ยังมีน้ำมันไหลตลอดปี แต่คนที่ อ.ฝาง ก็ยังจนอยู่ ซึ่งตอนนี้มีแหล่งน้ำมันเกิดขึ้นทุกที่ แต่คนไทยไม่ทราบ โดยความโชติช่วงชัชวาลก็เกิดเฉพาะในบริษัทน้ำมัน แต่กลับไม่มีส่วนแบ่งให้แผ่นดิน ทั้งหมดเป็นความป่วยไข้ของนโยบายพลังงานในเรื่องราคาน้ำมันของประเทศไทย
" การฉ้อฉลพลังงานเป็นการทำลายชาติ ถ้าอยากมีชีวิตให้ดีขึ้น ตื่นเถอะชาวไทย เพราะเป็นทรัพย์ที่เป็นของแผ่นดินแต่ไม่ถึงมือเรา เพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอก ดังนั้น จึงอยากบอกว่าทรัพย์ในดินเป็นหัวใจของการปฏิรูปในการปฏิรูปเรื่องต่างๆ มากกมาย เพราะแผ่นดินนี้คือแผ่นดินที่ดีที่สุดที่บรรพบุรุษหามาแล้ว" มล.กรกสิวัฒน์ กล่าว
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศเราเป็นประเทศเดียวที่เป็นระบบสัมปทาน ไม่ใช่ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งปตท. ก็บอกมาแล้วว่าระบบนี้เหลืออยู่ประเทศเดียว ซึ่งเรื่องพลังงานเป็นยุ้งฉางของนักการเมือง แทนที่จะเป็นยุ้งข้าวของประชาชน เรื่องนโยบาย พ.ร.บ.ปิโตเลียม ไม่เคยเปลี่ยนอยู่มานานกว่า 40 ปี นานยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นระบบสัมปทานกรรมสิทธิ์ ก็เป็นของเอกชน นำมันดิบก็ส่งไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ถูกขายใน ราคาน้ำเข้า ซึ่งน้ำมันเป็นสินค้าชนิดเดียวที่ขายเทียบเท่าในราคานำเข้า ประเทศไทยก็สามารถผลิตน้ำมันเหลือจนสามารถส่งออกได้ แต่ทำไมคนไทยต้องซื้อในราคานำเข้าจากประเทศสิงค์โปร ทำให้คนไทยต้องแบกราคานำเข้า และสิ่งที่ยังไม่มองคือสิ่งที่อยู่ใต้ดินคือทรัพยากร แต่มาตีกันกับสิ่งที่อยู่ปลายน้ำคือราคาน้ำมัน แต่เรากลับไม่เคยมาดูตรงนี้
น.ส.รสนา กล่าวอีกว่า ถ้าจะปฏิรูปพลังงาน ต้องแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตเลียมจากสัมปทาน มาเป็นแบ่งปันผลผลิต และต้องคืนท่อก๊าซ ทั้งระบบของปตท.กลับมาให้เป็นสมบัติของชาติ เพราะปตท. ใช้อยู่ฝ่ายเดียวบนถนนนี้ ทั้งที่ทุกคนต้องใช้ถนนนี้ได้ จึงต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อมาดูแลผลประโยชน์ของรัฐบาลแทนปตท. เพราะปตท.แปรรูปไปแล้ว เรื่องก๊าซจึงปล่อยให้ปตท.ผูกขาดไม่ได้ และถ้านำท่อก๊าซกลับมาเป็นของส่วนกลางการคำนวนค่าผ่านท่อของก๊าซก็จะเกิดขึ้น ได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนกลางน้ำที่โรงกลั่นนน้ำมัน 4 โรงกลั่นนั้น เมื่อปตท.ถือหุ้นใหญ่ก็จะไม่มีการแข่งขัน เพราะปตท.ถือหุ้นใหญ่อยู่บริษัทเดียว ก็ไม่ต้องมาเปรียบเทียบกับราคาที่อื่น จึงต้องไม่มีการผูกขาดตรงนี้ ส่วนปลายน้ำเมื่อโรงกกลั่นน้ำมันไม่ผูกขาดก็ต้องมีการแข่งขัน เพื่อให้ราคาน้ำมันเป็นธรรมมากขึ้น และยกเลิกกองทุนน้ำมันด้วย
"อย่างรายได้ของ บ.ปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย ของปี 2555 เคยมีรายได้ 2,910,000 ล้านบาท มีกำไร 891,000 ล้านบาท ส่วนของปตท.มีรายได้ 2,845,000 ล้านบาท แต่กลับมีกำไล 172,132 ล้านบาท ทั้งที่บ.ปิโตรนาส ขายน้ำทันถูกกว่าประเทศไทย แต่ทำไมมีกำไรสูงกว่าปตท. 5 เท่า
ทั้งหมดจึงเป็นปัญหาของประสิทธิภาพของปตท.หรือไม่"น.ส.รสนา กล่าว
ขณะที่ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดเพราะเรามีปตท .ซื้อน้ำมันจากประเทศอื่นเจ้าเดียว ซึ่งพลังงานทั้งหมดเอื้อประโยชน์ให้คนไทยหรือไม่ ตอนนี้เราใช้พลังงานที่สะอาดหรือไม่ มีความมั่นคงทางพลังงานหรือไม่ ที่สำคัญราคาพลังเป็นธรรมหรือไม่ ที่มี ปตท.เป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะเรื่องราคานั้นใครก็รุ้ว่าธุรกิจพลังงานไทยผูกขาดโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่การผลิต การซื้อขาย การแยกก๊าซ หรือถึงการขาย ก็เป็นของปตท.ทั้งหมด ทำให้ตลาดไม่มีการแข่งขัน ซึ่งการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลคือ กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องขวนขวายในการประหยัดต้นทุน เพราะผ่านต้นทุนให้แก่ผู้บริโภคได้ทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานรัฐคุ้มครองประชาชนหรือผู้ประกอบการหรือไม่
ดร.เดือนเด่น กล่าวอีกว่า รัฐบาลพยายามรักษาผลประโยชน์จากปตท.ทุกรูปแบบ เพราะมีผลประโยชน์ไปด้วย ทั้งภาษี หรือการตั้งคนเข้าไปในปตท. ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่มีรัฐบาลไหนพยายามสลายการผูกขาดของปตท. ไม่เคยมีรัฐบาลไหนที่จะเข้าไปดำเนินการ ซึ่งในกรรมการปตท.ก็จะรู้ว่าใครเป็นคนกำหนดนโยบาย นอกจากนี้ พบว่ากรรมการปตท.มีตัวแทนของนโยบายในหน่วยงาน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนด้านการกำกับนโยบาย ตั้งแต่เลขาธิการสภาพัฒน์ ผู้ อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน เป็นต้น โดยในปี 2556 ปตท.มีกำไร 104,666 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คิดว่านโยบายพลังงานของประเทศยังสะท้อนผลประโยชน์ของปตท.มากกว่าผลประโยชน์ของประเทศ และของประชาชน ทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจพลังงาน บรษัทรายใหม่ รายย่อยเกิดไม่ได้
"หน่วยงงานกำกับดูแลก็ไม่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง มีการตอบสนองนโยบายรัฐบาลมากกว่าการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน หรือปตท.ใหญ่เกินไปจนกว่าใครจะแตะได้หรือไม่ ทำให้พลังของประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถยับยั้งการครองงำทางเศรษฐกิจของเครือข่ายยักษ์ใหญ่ทางพลังงานนี้ได้ ซึ่งกำไของปตท. 80 เปอร์เซ็นต์มาจากก๊าซ เหมือนอัฐยาย ซื้อขนมยาย แต่ไม่เป็นธรรม ทั้งที่ปตท. เป็นรัฐวิสากิจ ซึ่งประชาชนก็เป็นเจ้าของปตท. แต่กลับไม่สามารถรับรู้เรื่องของปตท.ได้เลย" ดร.เดือนเด่น กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น