นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ทางออกประเทศหลังการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ที่ยังมีปัญหาไม่ชอบด้วยกฎหมายเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญในหลายประเด็นว่า คงต้องรอการหารือของกกต. ว่าจะสรุปแนวทางออกมาอย่างไร ซึ่งตนยืนยันว่า การเลือกตั้งดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ต้องทบทวนเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ โดยมี ขั้นตอนที่ควรจะทำคือ
1.กระบวนการเลือกตั้ง จะผูกพันอยู่กับการปฏิรูปประเทศ จึงต้องทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นชัดเจนว่า การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้น และเรื่องไหน สามารถทำสำเร็จได้ ก่อนการเลือกตั้งจะดำเนินการอย่างไร
2. ให้ทุกคนมีความมั่นใจในกระบวนการเลือกตั้งว่า สุจริต เที่ยงธรรม เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ กกต.ก็ต้องตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรกับประชาชนที่ไปลงคะแนนไม่ได้ประมาณหมื่นหน่วยเลือกตั้ง กรณีคนไม่สามารถใช้สิทธินอกเขต กรณี 28 เขตไม่มีผู้สมัคร หากเดินต่อไม่ได้ ก็ต้องรายงานรัฐบาล ขึ้นอยู่กับว่าความเห็นของ กกต.จะขัดแย้งกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้าไม่กระบวนการ ก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าขัดแย้งกันก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ในข้อกฎหมาย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว รัฐบาลต้องยอมรับ เพราะมีผลผูกพันทุกองค์กร
ความพยายามของรัฐบาลที่จะดึงดันให้ กกต.จัดการเลือกตั้งต่อไปทั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพราะรู้อยู่แล้วว่าการเลือกตั้งไม่ชอบ แต่พยายามบังคับกกต.เพื่อแสวงหาอำนาจ เข้าข่ายตรงตามมาตรา 68 เลย นอกจากนี้ยังมีการข่มขู่กกต.ด้วย ซึ่งตนคิดว่าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่า พยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ยังเห็นว่าการที่รัฐบาลยังดึงดันที่จะรักษาการต่อไป ก็จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้เลย ทั้งปัญหาในข้อกฎหมาย และสภาพของรัฐบาลที่เป็นปัญหา ขณะเดียวกันความขัดแย้งจะยืดเยื้อ และอาจมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนเสนอมาโดยตลอดว่า ให้ยอมรับความจริง กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้ทุกฝ่ายพูดคุยกันในเงื่อนไขการเลือกตั้ง และการปฏิรูป หาทางออกร่วมกัน จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ส่วนที่รัฐบาลอ้างจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียง มาสร้างความชอบธรรมให้กับการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น ตนรู้สึกแปลกใจ เพราะการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ทำได้หลายวิธี จากสภาพบ้านเมืองที่เป็นอยู่ถ้าบอกว่า 20 ล้านคนไปเลือกตั้ง ความจริงมีคนจำนวนมากกว่าที่ตัดสินใจไม่ไป และใน 20 ล้านคน มีอีก 6 ล้านคน ที่ไม่แสดงเจตนาเลือกพรรคการเมืองไหนเลยที่ลงสมัครเลือกตั้ง ดังนั้นวันนี้จึงมีเพียงแค่ 14 ล้านคน ที่ไปเลือกพรรคการเมืองผ่านการเลือก ตั้งครั้งนี้ แต่มีคนมากกว่าเท่าตัว ที่ไม่ไปเลือกคนเหล่านี้ และถ้าจะบอกว่ามีคน 25 % โดยปกติที่จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ก็ต้องมองด้วยว่า มีคนที่ปกติไปเลือกตั้ง แต่คราวนี้ไม่ไปก็มีจำนวนไม่น้อย ซึ่งหากนำไปรวมกับบัตรเสีย โหวตโน ก็ยังมากกว่าคนที่ไปเลือกพรรคการเมือง ที่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้อยู่ดี
" ผมถามว่า ถ้าอ้างสิทธิของคน 14 ล้านคน แล้วสิทธิของคนที่เหลือที่เยอะกว่าไม่ฟังเลยหรือว่า เขาได้แสดงออกแล้วในทางการเมืองว่า ไม่เห็นพ้องด้วยกับพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าคิดว่าคนเท่ากัน ก็แปลว่าคนที่ไม่เอาพรรคการเมืองเหล่านี้มากกว่า ทำไมไม่ฟัง ผมคิดว่าปัญหาทั้งในทางข้อกฎหมายและความเป็นจริงวันนี้ รัฐบาลต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งไปไม่ได้ ก็ต้องหาแนวทางที่จะให้สังคมทำข้อตกลงกันให้การเลือกตั้งไปได้ จะต้องทำอย่างไร และเลือกตั้งเมื่อไหร่ ซึ่งผมคิดว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้เปรียบเสมือนกับการทำประชามติกลายๆ ว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และผมก็เป็นคนหนึ่งที่แสดงออกว่าไม่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลพยายามจะเอาการเลือกตั้ง มาสร้างความชอบธรรมจบลงแล้ว ตรงกันข้ามกลับเป็นการประจานตัวเองมากกว่า เพราะวันที่ 2 ก.พ.57 ได้บ่งบอกแล้วว่า ข้ออ้างของรัฐบาลใช้ไม่ได้ จึงต้องหันมาฟังเสียงทุกฝ่ายที่ปฏิเสธสิ่งที่รัฐบาลทำ รัฐบาลต้องแสวงหาคำตอบให้ประเทศเดินหน้าได้ แต่ถ้ารัฐบาลยังยืนยันท่าทีเดิม ก็อยู่ที่ กกต.ว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร ถ้าเห็นว่าไปไม่ได้ จะเกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ก็ต้องกลับไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ อีกครั้ง เพราะอำนาจเลื่อนเลือกตั้งเป็นของนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่มีทางอื่น
ส่วนความเห็นของ นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ระบุว่า การขัดขวางการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้นั้น ตนเห็นว่า เป็นการพูดในหลักการ และตนเข้าใจว่า การขัดขวางการเลือกตั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ใครทำก็ต้องยอมรับผลทางกฎหมาย แต่ปัญหาของประเทศไทยไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น แต่อยู่ที่ปัญหาความไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกระบวนการทั้งหลายได้ คำตอบที่ทุกคนมองตรงกันคือ การปฏิรูป ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนการเลือกตั้งก็ต้องมาถกกัน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะใช้ยุทธศาตร์โลกล้อมประเทศด้วยการบิดเบือนข้อมูลต่อนานาชาตินั้น ตนคิดว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเท่าที่สัมผัสกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และผู้แทนจากต่างประเทศ แม้กระทั่งนักวิชาการในต่างประเทศ ก็เริ่มเข้าใจปัญหาประเทศไทยอย่างรอบด้านมากขึ้น ไม่ได้เป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ จึงเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่ถูกบีบโดยนานาชาติ
1.กระบวนการเลือกตั้ง จะผูกพันอยู่กับการปฏิรูปประเทศ จึงต้องทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นชัดเจนว่า การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้น และเรื่องไหน สามารถทำสำเร็จได้ ก่อนการเลือกตั้งจะดำเนินการอย่างไร
2. ให้ทุกคนมีความมั่นใจในกระบวนการเลือกตั้งว่า สุจริต เที่ยงธรรม เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ กกต.ก็ต้องตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรกับประชาชนที่ไปลงคะแนนไม่ได้ประมาณหมื่นหน่วยเลือกตั้ง กรณีคนไม่สามารถใช้สิทธินอกเขต กรณี 28 เขตไม่มีผู้สมัคร หากเดินต่อไม่ได้ ก็ต้องรายงานรัฐบาล ขึ้นอยู่กับว่าความเห็นของ กกต.จะขัดแย้งกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้าไม่กระบวนการ ก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าขัดแย้งกันก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ในข้อกฎหมาย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว รัฐบาลต้องยอมรับ เพราะมีผลผูกพันทุกองค์กร
ความพยายามของรัฐบาลที่จะดึงดันให้ กกต.จัดการเลือกตั้งต่อไปทั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุผลที่พรรคประชาธิปัตย์ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพราะรู้อยู่แล้วว่าการเลือกตั้งไม่ชอบ แต่พยายามบังคับกกต.เพื่อแสวงหาอำนาจ เข้าข่ายตรงตามมาตรา 68 เลย นอกจากนี้ยังมีการข่มขู่กกต.ด้วย ซึ่งตนคิดว่าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่า พยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ยังเห็นว่าการที่รัฐบาลยังดึงดันที่จะรักษาการต่อไป ก็จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้เลย ทั้งปัญหาในข้อกฎหมาย และสภาพของรัฐบาลที่เป็นปัญหา ขณะเดียวกันความขัดแย้งจะยืดเยื้อ และอาจมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนเสนอมาโดยตลอดว่า ให้ยอมรับความจริง กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ให้ทุกฝ่ายพูดคุยกันในเงื่อนไขการเลือกตั้ง และการปฏิรูป หาทางออกร่วมกัน จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ส่วนที่รัฐบาลอ้างจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียง มาสร้างความชอบธรรมให้กับการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น ตนรู้สึกแปลกใจ เพราะการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ทำได้หลายวิธี จากสภาพบ้านเมืองที่เป็นอยู่ถ้าบอกว่า 20 ล้านคนไปเลือกตั้ง ความจริงมีคนจำนวนมากกว่าที่ตัดสินใจไม่ไป และใน 20 ล้านคน มีอีก 6 ล้านคน ที่ไม่แสดงเจตนาเลือกพรรคการเมืองไหนเลยที่ลงสมัครเลือกตั้ง ดังนั้นวันนี้จึงมีเพียงแค่ 14 ล้านคน ที่ไปเลือกพรรคการเมืองผ่านการเลือก ตั้งครั้งนี้ แต่มีคนมากกว่าเท่าตัว ที่ไม่ไปเลือกคนเหล่านี้ และถ้าจะบอกว่ามีคน 25 % โดยปกติที่จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ก็ต้องมองด้วยว่า มีคนที่ปกติไปเลือกตั้ง แต่คราวนี้ไม่ไปก็มีจำนวนไม่น้อย ซึ่งหากนำไปรวมกับบัตรเสีย โหวตโน ก็ยังมากกว่าคนที่ไปเลือกพรรคการเมือง ที่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้อยู่ดี
" ผมถามว่า ถ้าอ้างสิทธิของคน 14 ล้านคน แล้วสิทธิของคนที่เหลือที่เยอะกว่าไม่ฟังเลยหรือว่า เขาได้แสดงออกแล้วในทางการเมืองว่า ไม่เห็นพ้องด้วยกับพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าคิดว่าคนเท่ากัน ก็แปลว่าคนที่ไม่เอาพรรคการเมืองเหล่านี้มากกว่า ทำไมไม่ฟัง ผมคิดว่าปัญหาทั้งในทางข้อกฎหมายและความเป็นจริงวันนี้ รัฐบาลต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งไปไม่ได้ ก็ต้องหาแนวทางที่จะให้สังคมทำข้อตกลงกันให้การเลือกตั้งไปได้ จะต้องทำอย่างไร และเลือกตั้งเมื่อไหร่ ซึ่งผมคิดว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้เปรียบเสมือนกับการทำประชามติกลายๆ ว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และผมก็เป็นคนหนึ่งที่แสดงออกว่าไม่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลพยายามจะเอาการเลือกตั้ง มาสร้างความชอบธรรมจบลงแล้ว ตรงกันข้ามกลับเป็นการประจานตัวเองมากกว่า เพราะวันที่ 2 ก.พ.57 ได้บ่งบอกแล้วว่า ข้ออ้างของรัฐบาลใช้ไม่ได้ จึงต้องหันมาฟังเสียงทุกฝ่ายที่ปฏิเสธสิ่งที่รัฐบาลทำ รัฐบาลต้องแสวงหาคำตอบให้ประเทศเดินหน้าได้ แต่ถ้ารัฐบาลยังยืนยันท่าทีเดิม ก็อยู่ที่ กกต.ว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร ถ้าเห็นว่าไปไม่ได้ จะเกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ก็ต้องกลับไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ อีกครั้ง เพราะอำนาจเลื่อนเลือกตั้งเป็นของนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่มีทางอื่น
ส่วนความเห็นของ นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ระบุว่า การขัดขวางการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้นั้น ตนเห็นว่า เป็นการพูดในหลักการ และตนเข้าใจว่า การขัดขวางการเลือกตั้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ใครทำก็ต้องยอมรับผลทางกฎหมาย แต่ปัญหาของประเทศไทยไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น แต่อยู่ที่ปัญหาความไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกระบวนการทั้งหลายได้ คำตอบที่ทุกคนมองตรงกันคือ การปฏิรูป ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนการเลือกตั้งก็ต้องมาถกกัน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะใช้ยุทธศาตร์โลกล้อมประเทศด้วยการบิดเบือนข้อมูลต่อนานาชาตินั้น ตนคิดว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเท่าที่สัมผัสกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และผู้แทนจากต่างประเทศ แม้กระทั่งนักวิชาการในต่างประเทศ ก็เริ่มเข้าใจปัญหาประเทศไทยอย่างรอบด้านมากขึ้น ไม่ได้เป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ จึงเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่ถูกบีบโดยนานาชาติ