นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงบทบาทของรัฐบาล ที่พยายามดึงต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยว่า ในส่วนของพรรคก็พยายามทำความเข้าใจ ชี้แจงข้อเท็จจริงกับต่างประเทศมากขึ้น และตนเพิ่งทราบว่า การสนทนาระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกับ นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ รอบแรกก่อนที่จะคุยกับตน และนายกรัฐมนตรีอีกรอบนั้น น.ส,ยิ่งลักษณ์ บอกกับเลขาสหประชาชาติว่า ผู้ชุมนุมติดยาเสพติด มีอาวุธ และลากองค์กรอิสระเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย พยายามให้ข้อมูลผิด และมีทีมงานล็อบบี้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี ทำงานเต็มที่ ทั้งการที่มีบทวิเคราห์สื่อต่างชาติ และนักการเมืองต่างประเทศ ล้วนแต่สอดคล้องกันเป็นกระบวนการเชื่อมโยงได้ถึง บริษัทล็อบบี้
ทั้งนี้ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับทูต และตัวแทนระหว่างประเทศ เพื่อช่วยทำความเข้าใจสถานการณ์การเมืองไทย ถึงเหตุผลที่ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาล ทำให้การนำเสนอข่าวสารในต่างชาติมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"เชื่อว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะดึงนานาชาติมาไว้เป็นแนวร่วม เพราะอาจคาดการณ์ว่าอาจมีอะไรขึ้นต่อไป จึงเอานานาชาติมาเป็นเกราะกำบังไว้ก่อน ต้องขอบคุณที่ได้เอกสารกระทรวงการต่างประเทศว่า นายกฯ คุยอะไรกับเลขาธิการสหประชาชาติบ้าง ทำให้ผมมีโอกาสชี้แจง ถ้าไม่ได้เอกสารดังกล่าว และผมไม่ได้ชี้แจง สหประชาชาติอาจใช้ข้อมูลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นหลักไปแล้ว"
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าต่างประเทศต้องระมัดระวังในเรื่องท่าทีของรัฐบาล และอยากใหัคนไทยเข้าใจว่า อย่าไปเข้าใจต่างชาติผิดหมดด้วย เพราะว่าบางครั้งเวลา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ แถลง ก็พยายามชี้นำว่า ต่างประเทศสนับสนุนรัฐบาลนั้น ความจริงเพียงแค่เป็นการพูดถึงหลักการกว้างๆ เท่านั้นว่า อย่าให้มีความรุนแรง และให้อิงกับประชาธิปไตย แต่รมว.ต่างประเทศเข้าใจว่า ต่างประเทศหนุนทุกอย่างที่รัฐบาลต้องการจะทำ และผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ก็เข้าใจสถานการณ์มากขึ้น
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์รุนแรงที่มีต่อผู้ชุมนุม แต่นายกรัฐมนตรี เพิ่งมาแสดงท่าทีหลังเกิดเหตุหลายวัน จึงต้องการให้ต่างประเทศได้รับรู้ในแง่มุมนี้ด้วย ยิ่งนายกรัฐมนตรี บอกต่างประเทศว่า ที่ชุมนุมมีอาวุธ ยาเสพติด ก็ยิ่งจำเป็นต้องชี้แจงว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำกับผู้ชุมนุม ไม่ใช่จากผู้ชุมนุม ซึ่งจะได้ทำหนังสือยื่นไปถึงองค์กรนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดึงนานาชาติเข้ามาเช่นนี้ เป็นการปูทางเรื่องรัฐบาลพลัดถิ่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าจะถึงขั้นนั้นหรือไม่ แต่รัฐบาลพยายามดิ้นรน เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันอย่างเดียวว่า ต้องเดินหน้าไม่มีการพิจารณาในเรื่องเลือกตั้ง หรือรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเด็ดขาด ก็ต้องดู เพราะเป็นแนวทางการเผชิญหน้าเต็มที่
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังตอบยากว่ามีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดรัฐบาลพลัดถิ่นได้หรือไม่ เพราะสถานการณ์ยังนิ่งอยู่ รัฐบาลปักหลักยืนยันเดินหน้าเลือกตั้ง แต่มวลชนก็ไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงลง แต่ยังหวังว่าจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง เพราะแกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง เพราะจะสูญเสียความชอบธรรม โดยในขณะนี้ฝ่ายผู้ชุมนุมถูกโจมตีเพียงข้างเดียว แต่แกนนำ ก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่ยอมให้ถูกยั่วยุใช้ความรุนแรง หรืออาวุธ
"การตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ผมยังไม่มองไกลไปถึงขั้นนั้น แต่ก็มีความพยายามมาโดยตลอดว่า รัฐบาลต้องเป็นตัวแทนของความชอบธรรม จึงหาแนวร่วม น่าจะอยู่ในขั้นนี้มากกว่า"
ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น นายอภิสิทธิ์ คิดว่ารัฐบาลคงกำลังพิจารณาอยู่ แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็พูดชัดว่า สถานการณ์ไม่เหมือนปี 53 อย่างไรก็ตาม และความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เป็นการกระทำกับผู้ชุมนุมซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งจับกุมคลี่คลายคดี ศอ.รส. ต้องหามาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน และนายกฯ เขียนถึงเลขาสหประชาชาติว่า ไม่ใช้่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไม่คิดที่จะใช้กำลัง หากมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แสดงว่า ต้องการใช้กำลังใช่หรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าพูดเท็จกับเลขาสหประชาชาติ ซ้ำอีก
นายอภิสิทธิ์ ยังเรียกร้องให้ทหารมีบทบาทในการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนมากขึ้น เพราะมีศักยภาพ และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ที่จะช่วยอำนวยให้เกิดความปลอดภัยได้มากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะไม่สั่งการ กองทัพก็สามารถดำเนินการได้เอง เหมือนกรณีที่รามคำแหง ที่ในขณะนั้นรัฐบาลวางเฉย ดังนั้นในขณะนี้มีเหตุรุนแรงเกิดกับผู้ชุมนุมแล้ว ก็ต้องป้องกันไม่ให้ลุกลามบานปลาย โดยผู้บังคับบัญชาสามารถตัดสินใจได้ รวมถึง ศอ.รส. ต้องแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่า จะดูแลความปลอดภัยอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะต้องการข่มขู่ฝ่ายชุมนุม หรือประชาชน
เมื่อถามว่า มีการวิเคราะห์ว่ารัฐบาลกำลังสร้างเงื่อนไขให้เกิดรัฐประหาร เพราะกำลังจนแต้มทางการเมือง มองอย่างไร นาอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอบยาก เพราะถ้ารัฐประหารแล้วก็ไม่มีกติกา แต่ถ้ารัฐประหารแล้วยึดทรัพย์รัฐบาล ก็คงไม่เป็นประโยชน์กับรัฐบาล
ทั้งนี้ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับทูต และตัวแทนระหว่างประเทศ เพื่อช่วยทำความเข้าใจสถานการณ์การเมืองไทย ถึงเหตุผลที่ประชาชนออกมาต่อต้านรัฐบาล ทำให้การนำเสนอข่าวสารในต่างชาติมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"เชื่อว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะดึงนานาชาติมาไว้เป็นแนวร่วม เพราะอาจคาดการณ์ว่าอาจมีอะไรขึ้นต่อไป จึงเอานานาชาติมาเป็นเกราะกำบังไว้ก่อน ต้องขอบคุณที่ได้เอกสารกระทรวงการต่างประเทศว่า นายกฯ คุยอะไรกับเลขาธิการสหประชาชาติบ้าง ทำให้ผมมีโอกาสชี้แจง ถ้าไม่ได้เอกสารดังกล่าว และผมไม่ได้ชี้แจง สหประชาชาติอาจใช้ข้อมูลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นหลักไปแล้ว"
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าต่างประเทศต้องระมัดระวังในเรื่องท่าทีของรัฐบาล และอยากใหัคนไทยเข้าใจว่า อย่าไปเข้าใจต่างชาติผิดหมดด้วย เพราะว่าบางครั้งเวลา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ แถลง ก็พยายามชี้นำว่า ต่างประเทศสนับสนุนรัฐบาลนั้น ความจริงเพียงแค่เป็นการพูดถึงหลักการกว้างๆ เท่านั้นว่า อย่าให้มีความรุนแรง และให้อิงกับประชาธิปไตย แต่รมว.ต่างประเทศเข้าใจว่า ต่างประเทศหนุนทุกอย่างที่รัฐบาลต้องการจะทำ และผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ก็เข้าใจสถานการณ์มากขึ้น
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์รุนแรงที่มีต่อผู้ชุมนุม แต่นายกรัฐมนตรี เพิ่งมาแสดงท่าทีหลังเกิดเหตุหลายวัน จึงต้องการให้ต่างประเทศได้รับรู้ในแง่มุมนี้ด้วย ยิ่งนายกรัฐมนตรี บอกต่างประเทศว่า ที่ชุมนุมมีอาวุธ ยาเสพติด ก็ยิ่งจำเป็นต้องชี้แจงว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำกับผู้ชุมนุม ไม่ใช่จากผู้ชุมนุม ซึ่งจะได้ทำหนังสือยื่นไปถึงองค์กรนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดึงนานาชาติเข้ามาเช่นนี้ เป็นการปูทางเรื่องรัฐบาลพลัดถิ่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าจะถึงขั้นนั้นหรือไม่ แต่รัฐบาลพยายามดิ้นรน เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันอย่างเดียวว่า ต้องเดินหน้าไม่มีการพิจารณาในเรื่องเลือกตั้ง หรือรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเด็ดขาด ก็ต้องดู เพราะเป็นแนวทางการเผชิญหน้าเต็มที่
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังตอบยากว่ามีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดรัฐบาลพลัดถิ่นได้หรือไม่ เพราะสถานการณ์ยังนิ่งอยู่ รัฐบาลปักหลักยืนยันเดินหน้าเลือกตั้ง แต่มวลชนก็ไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงลง แต่ยังหวังว่าจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง เพราะแกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง เพราะจะสูญเสียความชอบธรรม โดยในขณะนี้ฝ่ายผู้ชุมนุมถูกโจมตีเพียงข้างเดียว แต่แกนนำ ก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่ยอมให้ถูกยั่วยุใช้ความรุนแรง หรืออาวุธ
"การตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ผมยังไม่มองไกลไปถึงขั้นนั้น แต่ก็มีความพยายามมาโดยตลอดว่า รัฐบาลต้องเป็นตัวแทนของความชอบธรรม จึงหาแนวร่วม น่าจะอยู่ในขั้นนี้มากกว่า"
ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น นายอภิสิทธิ์ คิดว่ารัฐบาลคงกำลังพิจารณาอยู่ แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็พูดชัดว่า สถานการณ์ไม่เหมือนปี 53 อย่างไรก็ตาม และความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็เป็นการกระทำกับผู้ชุมนุมซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งจับกุมคลี่คลายคดี ศอ.รส. ต้องหามาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน และนายกฯ เขียนถึงเลขาสหประชาชาติว่า ไม่ใช้่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไม่คิดที่จะใช้กำลัง หากมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แสดงว่า ต้องการใช้กำลังใช่หรือไม่ ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าพูดเท็จกับเลขาสหประชาชาติ ซ้ำอีก
นายอภิสิทธิ์ ยังเรียกร้องให้ทหารมีบทบาทในการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนมากขึ้น เพราะมีศักยภาพ และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ที่จะช่วยอำนวยให้เกิดความปลอดภัยได้มากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะไม่สั่งการ กองทัพก็สามารถดำเนินการได้เอง เหมือนกรณีที่รามคำแหง ที่ในขณะนั้นรัฐบาลวางเฉย ดังนั้นในขณะนี้มีเหตุรุนแรงเกิดกับผู้ชุมนุมแล้ว ก็ต้องป้องกันไม่ให้ลุกลามบานปลาย โดยผู้บังคับบัญชาสามารถตัดสินใจได้ รวมถึง ศอ.รส. ต้องแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่า จะดูแลความปลอดภัยอย่างไร ซึ่งตนคิดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะต้องการข่มขู่ฝ่ายชุมนุม หรือประชาชน
เมื่อถามว่า มีการวิเคราะห์ว่ารัฐบาลกำลังสร้างเงื่อนไขให้เกิดรัฐประหาร เพราะกำลังจนแต้มทางการเมือง มองอย่างไร นาอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอบยาก เพราะถ้ารัฐประหารแล้วก็ไม่มีกติกา แต่ถ้ารัฐประหารแล้วยึดทรัพย์รัฐบาล ก็คงไม่เป็นประโยชน์กับรัฐบาล