ASTVผู้จัดการรายวัน- ปชป.ร้องศาลรัฐธรรมนูญ สั่งเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ- ยุบพรรคเพื่อไทย หลังรัฐบาลดึงดันจัดเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่บริสุทธิ์ เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อ ถอดถอน"ยิ่งลักษณ์-ครม.ทั้งคณะ" ด้าน"พงศ์เทพ" บีบกกต. ต้องจัดเลือกตั้งแล้วเสร็จภายใน 7 วัน ขณะที่กกต. หวั่นการกำหนดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทน ทำให้ถูกฟ้อง สหรัฐฯ วอนเจรจาแก้ปัญหา หลังเลือกตั้งล่มไม่เป็นท่า
วานนี้ (4ก.พ.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ครั้งแรก หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง โดยในที่ประชุมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำชับภารกิจหลายประการ แม้ว่าพรรคจะไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม โดยประเด็นที่มีการดำเนินการในขณะนี้ คือ มีการยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้วันเดียวกันทั่วประเทศ จนไปถึง ไม่สามารถประกาศเลือกตั้งใน 28 เขต ที่ไม่สามรรถเลือกตั้งได้ รวมถึงการให้ข่าวของพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับคะแนนเสียง ทั้งที่หลายเขตยังไม่สามารถเลือกตั้งได้ อาจกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชน จนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือไม่
นายชวนนท์ กล่าวด้วยว่า เวลา 15.00 น. ฝ่ายกฎหมายของพรรค จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2 ประการ คือ ขัดรธน.มาตรา 68 เพื่อให้ได้อำนาจการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่รับฟังคำเตือนของกกต.ว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรมได้ และขอให้ยุบพรรคเพื่อไทย เพราะใช้อำนาจฝ่ายบริหารให้เกิดความได้เปรียบผู้สมัครรายอื่น เช่น การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดความได้เปรียบ ควบคุมคนอื่นในการแสดงออกทางการเมือง เพราะมีผู้บริหารพรรคเพื่อไทย ร่วมเป็นกรรมการในศรส. ด้วย
นอกจากนี้ พรรคจะยื่นถอดถอน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และครม.ทั้งหมด ที่ประพฤติผิดในการจัดการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยจะรวบรวมรายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นต่อป.ป.ช.ต่อไป
ทั้งนี้ยังมีการวิเคราะห์ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิว่า หากมีการรวมประชาชนที่ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว จำนวนผู้มาใช้สิทธิ น้อยกว่าที่มีการประกาศอยู่ในขณะนี้ และอย่างน้อยประชาชน 15 ล้านคน ปฏิเสธการเลือกตั้งครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
** ปชป.ยื่นเลือกตั้งโมฆะ-ยุบพท.
ต่อมาเวลา 15.45 น. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้การเลือกตั้งเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นโมฆะ พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย 5 ปี เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่ระบุให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนเวลา 15.00 น. ของวันเลือกตั้ง ดังนั้น การที่กกต.กำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบสอง ขึ้นในวันที่ 23 ก.พ.นั้น จึงขัดรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของความเสมอภาค เพราะจำนวนผูัมีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดอีก 2 ล้านคน จะไม่สามารถนำมานับรวมคะแนนได้เลย ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่นอกราชอาณาจักร ก็ไม่สามารถเลือกผู้แทนใน 28 เขต ที่ยังไม่มีผู้สมัครได้เช่นกัน
"ที่ผ่านมา รัฐบาลตั้งใจประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบที่เกิดจากพรรคการเมือง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ระบุว่า ถ้าเป็นการกระทำของพรรคการเมือง ให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจนอกวิธีที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลก็คือยุบพรรคการเมือง ดังนั้น หากศาลสั่งให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ คงต้องมีผู้รับผิดชอบแน่" นายวิรัตน์ กล่าว
** ผู้ตรวจฯเร่งหาข้อมูลประกอบการพิจารณา
วานนี้ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงกรณีที่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้พิจารณาการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะเมื่อวันก่อนหน้านั้น ยังไม่มีการพิจารณา เพราะเพิ่งได้เรื่องมา ซึ่งทางผู้ตรวจฯ ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง น่าจะเสร็จในสัปดาห์นี้
"การพิจารณาเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ผู้ตรวจฯไม่ได้รับลูกใครมา เพราะว่าผู้ตรวจฯ เป็นสถาบันที่จะต้องให้ความเป็นธรรม เราไม่ได้อยู่ฝ่ายโจทย์ หรือจำเลย ถ้าเรื่องเดียวกัน อยู่ฝ่ายโจทย์พูดอย่าง ฝ่ายจำเลยพูดอย่าง คงทำอย่างนั้นไม่ได้" นายรักษเกชา กล่าว
** ยก กม.ต้องจัดเลือกตั้งใน 7 วัน
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวการจัดการเลือกตั้งที่มีปัญหาว่า กกต. ต้องกำหนดวันคะแนนเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ตามมาตรา 78 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ข้อ 203 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทำให้ลงคะแนนไม่ได้ สิ้นสุดลง
สำหรับเขตใดที่ไม่มีผู้สมัครแบบแบ่งเขต กกต.ต้องจัดการเปิดรับสมัครใหม่ และจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเลือกตั้ง มาตรา 88 มาใช้บังคับ ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว และได้คแนนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น หรือน้อยกว่าผูัที่ประสงค์ไม่ลงคะแนนนั้น กกต.ต้องประกาศรับสมัครใหม่ และลงคะแนนใหม่
สำหรับเขตที่ไม่มีผู้สมัครเลย หรือเขตที่มีผู้สมัครแล้วแต่ไม่ได้เปิดให้ลงคะแนนให้ครบ ตราบใดที่กกต.ยังไม่ประกาศผลเลือกตั้ง ว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ครบ 500 คน กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้ครบ 500 คน โดยไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ในอดีตไม่เคยมี ทั้งนี้เมื่อกกต.ประกาศผลผลการเลือกตั้งแล้ว จะไม่มีการเลือกตั้งส.ส.แแบบัญชีรายชื่ออีก ส่วนส.ส.แบบแบ่งเขต หากมีจะมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ต้องเป็นกรณีที่ ส.ส.เสียชีวิต หรือลาออก
ส่วนกรอบเวลาในการจัดการเลือกตั้ง กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งเพื่อให้มีส.ส.อย่างน้อย 475 คน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 2 ก.พ. ถึงวันที่ 4 มี.ค. เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 บัญญัติให้เรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง และมาตรา 93 วรรค 6 กำหนดให้ต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จึงจะประกอบเป็นสภาฯได้ สำหรับตำแหน่ง ส.ส.ที่ยังขาดอยู่นั้น ภายหลังวันที่ 4 มี.ค. กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งให้ได้ ส.ส.ครบภายใน 180 วัน
เมื่อถามว่า การพูดอย่างนี้เป็นการกดดัน กกต.หรือไม่ นายพงศ์เทพ ตอบว่าไม่ได้เป็นการกดดัน แต่เป็นการแถลงให้ทราบว่า กฎหมายเป็นอย่างไร ซึ่งกกต.ก็ทราบดีว่า มีกรอบเวลาในการดำเนินการอย่างไร
**ขอศาลรธน.วินิจฉัยกรณี 28 เขตภาคใต้
วานนี้ (4ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชียพัทยา จ.ชลบุรี นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานการประชุมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (ผอ.กต.จว.) 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรค ในการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา และเตรียมการสำหรับการจัดการเลือกตั้งส.ส.รอบใหม่ โดยก็มีกกต.อีก 4 คน เดินทางมารับฟังด้วยตัวเอง
นายศุภชัยกล่าวว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งให้กับผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และหน่วยเลือกตั้งที่ไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 23 ก.พ.
สำหรับกรณีของ 28 เขตเลือกตั้งภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น อาจถึงต้องออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ หรือ ใช้เพียงประกาศ กกต. โดยจะให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ในส่วนของเงินเดือนอัตราใหม่ ที่มีการตกเบิกนั้นในสิ้นเดือนนี้รับรองว่า กกต. จะได้รับเงินเดือนในอัตราใหม่อย่างแน่นอน
ส่วนกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อขอให้พิจารณาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะนั้น การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยกกต.พร้อมจัดการเลือกตั้งใหม่ หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า เรื่องร้องเรียนที่ได้รับในการจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นใน จ.ชลบุรี ปทุมธานี อุบลราชธานี สระบุรี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และ สุรินทร์ 2 เขต เป็นของพรรคพลังชล 2 คำร้อง พรรคเพื่อไทย 4 คำร้อง พรรครวมใจไทย 1 คำร้อง และพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คำร้อง ดังนั้นขอให้ ผอ.กกต.จังหวัดเหล่านี้พยามดูแลการสืบสวนสอบสวนด้วย
นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของไทย เป็นการเลือกตั้งที่สับสนมากที่สุด
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ถ้าการเมืองไม่นิ่ง ไม่คุยกัน ไม่เจรจา คงหาทางออกยาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน จะประกาศได้อย่างไร หากการเลือกตั้งไม่ครบทุกหน่วย ตอนนี้ขาด 1 หมื่นกว่าหน่วย กกต.จัดการเลือกตั้งได้ แต่ไม่รู้จะจบเมื่อไร ดังนั้นฝ่ายการเมืองต้องไปพูดคุยกัน หาทางออกร่วมกัน ให้สถานการณ์เย็นลง จุดยืนของ กกต. คือ ระมัดระวังจัดการเลือกตั้งที่ยังมีปัญหาโดยไม่ผิดกฎหมาย
** หวั่นถูกฟ้องเรื่องเลือกตั้ง 23 ก.พ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งได้เสนอปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยส่วนใหญ่ต่างแสดงความกังวลว่าการจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอก และในเขตจังหวัด ทดแทนที่เบื้องต้นกกต.มองว่า จะจัดในวันที่ 23 ก.พ.นั้น ไม่สามารถใช้ มาตรา 78 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งที่กำหนดให้กกต.เขตประกาศงดการลงคะแนนได้ หากเกิดเหตุสุดวิสัย และกำหนดให้มีการลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นใหม่โดยเร็ว มาเป็นหลักในการจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทนได้ เพราะมองมาตราดังกล่าวใช้ได้เฉพาะกับกรณีวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่มีการงดการลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งเท่านั้น อีกทั้งมาตรา 95 ของ พ.ร.บ.เดียวกัน ก็ได้กำหนดถึงกรณีที่ต้องการมีการจัดการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าว่า ก็เพื่อให้คนที่ติดธุระไม่สามารถใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ ให้บุคคลนั้นขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง
ดังนั้นการจะจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทน จึงน่าจะเรียกเป็นการลงคะแนนล่วงหลังมากกว่า และ มาตรา 102 ของพ.ร.บ.เดียวกันยังกำหนดว่า บัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ให้นำมานับที่สถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้ง หากมาภายหลังเริ่มนับคะแนนแล้วให้ถือว่าบัตรนั้นเสียไป แต่ขณะนี้มีการนับคะแนนในแต่ละหน่วยเลือกตั้งไปแล้ว เหลือเพียงการรวมเขตของแต่ละเขต นอกจากนี้การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทน ยังอาจกลายเป็นการทำให้คะแนนของพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร ที่ทราบผลคะแนนในวันเลือกตั้งแล้วเปลี่ยนไป ซึ่งก็อาจมีการกล่าวหาในภายหลังว่า เกิดจากการกระทำของกกต. ทำให้กกต. เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง และอาจต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง และอาญา
นอกจากนี้ยังเห็นว่ากรณีที่กกต. กำหนดให้มีการแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.-9 ก.พ. แต่ในข้อเท็จจริง ยังจะต้องมีการเลือกตั้งในบางเขต บางจังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่นที่ต้องการจะลงสมัคร ส.ว. จะต้องแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิตามระยะเวลาที่กกต.กำหนดหรือไม่
ส่วนการจะจัดการเลือกตั้งทดแทนที่จะเกิดขึ้น เห็นว่า หากปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ยังไม่คลี่คลาย การจัดการเลือกตั้งก็จะยังคงเผชิญกับปัญหา
***สหรัฐฯ วอนเจรจาแก้ปัญหา
เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวหลังศึกเลือกตั้งอันวุ่นวายเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาของไทยว่า เราไม่ต้องการเห็นรัฐประหารหรือความรุนแรงไม่ว่ากรณีใดๆ เรากำลังพูดคุยโดยตรงกับทุกองค์ประกอบพื้นฐานในสังคมไทย เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนว่าวิถีทางประชาธิปไตยอันสำคัญและตามกรอบรัฐธรรมนูญจะถูกใช้เพื่อคลี่คลายความเห็นต่างทางการเมือง
แม้การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ (2) เป็นไปอย่างสันติและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ก็มีเหตุการณ์ความรุนแรงก่อนหน้าการเลือกตั้ง
“เรายังคงมีความกังวลต่อความตึงเครียดทางการในเมืองไทย ซึ่งกำลังท้าทายกระบวนการและสถาบันประชาธิปไตยในไทย เราขอเรียกร้องอีกครั้งให้ทุกฝ่ายดำเนินการเจรจาด้วยน้ำใสใจจริงเพื่อคลี่คลายความเห็นต่างอย่างสันติและอย่างเป็นประชาธิปไตย”
ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองบอกว่า เหตุความวุ่นวายทางการเมืองยาวนานหลายสัปดาห์ ส่งผลให้รัฐบาลอยู่ในภาวะอ่อนแอ และเสี่ยงเจอแทรกแซงโดยศาลหรือแม้แต่รัฐประหาร
ซากีย้ำว่า “เราสนับสนุนคลี่คลายวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในไทยด้วยแนวทางประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงมีการประสานงานใกล้ชิดในพื้นที่จริงๆ และแน่นอน เราเชื่อว่าจำเป็นต้องมีแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้กระบวนการนั้นเกิดขึ้นได้”
วานนี้ (4ก.พ.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ครั้งแรก หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง โดยในที่ประชุมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กำชับภารกิจหลายประการ แม้ว่าพรรคจะไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม โดยประเด็นที่มีการดำเนินการในขณะนี้ คือ มีการยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้วันเดียวกันทั่วประเทศ จนไปถึง ไม่สามารถประกาศเลือกตั้งใน 28 เขต ที่ไม่สามรรถเลือกตั้งได้ รวมถึงการให้ข่าวของพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับคะแนนเสียง ทั้งที่หลายเขตยังไม่สามารถเลือกตั้งได้ อาจกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชน จนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือไม่
นายชวนนท์ กล่าวด้วยว่า เวลา 15.00 น. ฝ่ายกฎหมายของพรรค จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2 ประการ คือ ขัดรธน.มาตรา 68 เพื่อให้ได้อำนาจการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่รับฟังคำเตือนของกกต.ว่าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรมได้ และขอให้ยุบพรรคเพื่อไทย เพราะใช้อำนาจฝ่ายบริหารให้เกิดความได้เปรียบผู้สมัครรายอื่น เช่น การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดความได้เปรียบ ควบคุมคนอื่นในการแสดงออกทางการเมือง เพราะมีผู้บริหารพรรคเพื่อไทย ร่วมเป็นกรรมการในศรส. ด้วย
นอกจากนี้ พรรคจะยื่นถอดถอน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และครม.ทั้งหมด ที่ประพฤติผิดในการจัดการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยจะรวบรวมรายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นต่อป.ป.ช.ต่อไป
ทั้งนี้ยังมีการวิเคราะห์ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิว่า หากมีการรวมประชาชนที่ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว จำนวนผู้มาใช้สิทธิ น้อยกว่าที่มีการประกาศอยู่ในขณะนี้ และอย่างน้อยประชาชน 15 ล้านคน ปฏิเสธการเลือกตั้งครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
** ปชป.ยื่นเลือกตั้งโมฆะ-ยุบพท.
ต่อมาเวลา 15.45 น. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้การเลือกตั้งเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นโมฆะ พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย 5 ปี เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ที่ระบุให้วันเลือกตั้ง ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งกฎหมายยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนเวลา 15.00 น. ของวันเลือกตั้ง ดังนั้น การที่กกต.กำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ารอบสอง ขึ้นในวันที่ 23 ก.พ.นั้น จึงขัดรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของความเสมอภาค เพราะจำนวนผูัมีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดอีก 2 ล้านคน จะไม่สามารถนำมานับรวมคะแนนได้เลย ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่นอกราชอาณาจักร ก็ไม่สามารถเลือกผู้แทนใน 28 เขต ที่ยังไม่มีผู้สมัครได้เช่นกัน
"ที่ผ่านมา รัฐบาลตั้งใจประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบที่เกิดจากพรรคการเมือง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ระบุว่า ถ้าเป็นการกระทำของพรรคการเมือง ให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจนอกวิธีที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลก็คือยุบพรรคการเมือง ดังนั้น หากศาลสั่งให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ คงต้องมีผู้รับผิดชอบแน่" นายวิรัตน์ กล่าว
** ผู้ตรวจฯเร่งหาข้อมูลประกอบการพิจารณา
วานนี้ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงกรณีที่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องให้พิจารณาการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะเมื่อวันก่อนหน้านั้น ยังไม่มีการพิจารณา เพราะเพิ่งได้เรื่องมา ซึ่งทางผู้ตรวจฯ ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง น่าจะเสร็จในสัปดาห์นี้
"การพิจารณาเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง ผู้ตรวจฯไม่ได้รับลูกใครมา เพราะว่าผู้ตรวจฯ เป็นสถาบันที่จะต้องให้ความเป็นธรรม เราไม่ได้อยู่ฝ่ายโจทย์ หรือจำเลย ถ้าเรื่องเดียวกัน อยู่ฝ่ายโจทย์พูดอย่าง ฝ่ายจำเลยพูดอย่าง คงทำอย่างนั้นไม่ได้" นายรักษเกชา กล่าว
** ยก กม.ต้องจัดเลือกตั้งใน 7 วัน
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวการจัดการเลือกตั้งที่มีปัญหาว่า กกต. ต้องกำหนดวันคะแนนเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว ตามมาตรา 78 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ข้อ 203 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทำให้ลงคะแนนไม่ได้ สิ้นสุดลง
สำหรับเขตใดที่ไม่มีผู้สมัครแบบแบ่งเขต กกต.ต้องจัดการเปิดรับสมัครใหม่ และจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเลือกตั้ง มาตรา 88 มาใช้บังคับ ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว และได้คแนนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น หรือน้อยกว่าผูัที่ประสงค์ไม่ลงคะแนนนั้น กกต.ต้องประกาศรับสมัครใหม่ และลงคะแนนใหม่
สำหรับเขตที่ไม่มีผู้สมัครเลย หรือเขตที่มีผู้สมัครแล้วแต่ไม่ได้เปิดให้ลงคะแนนให้ครบ ตราบใดที่กกต.ยังไม่ประกาศผลเลือกตั้ง ว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ครบ 500 คน กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้ครบ 500 คน โดยไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ในอดีตไม่เคยมี ทั้งนี้เมื่อกกต.ประกาศผลผลการเลือกตั้งแล้ว จะไม่มีการเลือกตั้งส.ส.แแบบัญชีรายชื่ออีก ส่วนส.ส.แบบแบ่งเขต หากมีจะมี พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ต้องเป็นกรณีที่ ส.ส.เสียชีวิต หรือลาออก
ส่วนกรอบเวลาในการจัดการเลือกตั้ง กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งเพื่อให้มีส.ส.อย่างน้อย 475 คน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 2 ก.พ. ถึงวันที่ 4 มี.ค. เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 บัญญัติให้เรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง และมาตรา 93 วรรค 6 กำหนดให้ต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จึงจะประกอบเป็นสภาฯได้ สำหรับตำแหน่ง ส.ส.ที่ยังขาดอยู่นั้น ภายหลังวันที่ 4 มี.ค. กกต. ต้องจัดการเลือกตั้งให้ได้ ส.ส.ครบภายใน 180 วัน
เมื่อถามว่า การพูดอย่างนี้เป็นการกดดัน กกต.หรือไม่ นายพงศ์เทพ ตอบว่าไม่ได้เป็นการกดดัน แต่เป็นการแถลงให้ทราบว่า กฎหมายเป็นอย่างไร ซึ่งกกต.ก็ทราบดีว่า มีกรอบเวลาในการดำเนินการอย่างไร
**ขอศาลรธน.วินิจฉัยกรณี 28 เขตภาคใต้
วานนี้ (4ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชียพัทยา จ.ชลบุรี นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นประธานการประชุมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (ผอ.กต.จว.) 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรค ในการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา และเตรียมการสำหรับการจัดการเลือกตั้งส.ส.รอบใหม่ โดยก็มีกกต.อีก 4 คน เดินทางมารับฟังด้วยตัวเอง
นายศุภชัยกล่าวว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งให้กับผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และหน่วยเลือกตั้งที่ไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 23 ก.พ.
สำหรับกรณีของ 28 เขตเลือกตั้งภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น อาจถึงต้องออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ หรือ ใช้เพียงประกาศ กกต. โดยจะให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ในส่วนของเงินเดือนอัตราใหม่ ที่มีการตกเบิกนั้นในสิ้นเดือนนี้รับรองว่า กกต. จะได้รับเงินเดือนในอัตราใหม่อย่างแน่นอน
ส่วนกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อขอให้พิจารณาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะนั้น การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยกกต.พร้อมจัดการเลือกตั้งใหม่ หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า เรื่องร้องเรียนที่ได้รับในการจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นใน จ.ชลบุรี ปทุมธานี อุบลราชธานี สระบุรี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และ สุรินทร์ 2 เขต เป็นของพรรคพลังชล 2 คำร้อง พรรคเพื่อไทย 4 คำร้อง พรรครวมใจไทย 1 คำร้อง และพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คำร้อง ดังนั้นขอให้ ผอ.กกต.จังหวัดเหล่านี้พยามดูแลการสืบสวนสอบสวนด้วย
นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง และการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของไทย เป็นการเลือกตั้งที่สับสนมากที่สุด
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ถ้าการเมืองไม่นิ่ง ไม่คุยกัน ไม่เจรจา คงหาทางออกยาก ส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน จะประกาศได้อย่างไร หากการเลือกตั้งไม่ครบทุกหน่วย ตอนนี้ขาด 1 หมื่นกว่าหน่วย กกต.จัดการเลือกตั้งได้ แต่ไม่รู้จะจบเมื่อไร ดังนั้นฝ่ายการเมืองต้องไปพูดคุยกัน หาทางออกร่วมกัน ให้สถานการณ์เย็นลง จุดยืนของ กกต. คือ ระมัดระวังจัดการเลือกตั้งที่ยังมีปัญหาโดยไม่ผิดกฎหมาย
** หวั่นถูกฟ้องเรื่องเลือกตั้ง 23 ก.พ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งได้เสนอปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยส่วนใหญ่ต่างแสดงความกังวลว่าการจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอก และในเขตจังหวัด ทดแทนที่เบื้องต้นกกต.มองว่า จะจัดในวันที่ 23 ก.พ.นั้น ไม่สามารถใช้ มาตรา 78 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งที่กำหนดให้กกต.เขตประกาศงดการลงคะแนนได้ หากเกิดเหตุสุดวิสัย และกำหนดให้มีการลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นใหม่โดยเร็ว มาเป็นหลักในการจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทนได้ เพราะมองมาตราดังกล่าวใช้ได้เฉพาะกับกรณีวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่มีการงดการลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งเท่านั้น อีกทั้งมาตรา 95 ของ พ.ร.บ.เดียวกัน ก็ได้กำหนดถึงกรณีที่ต้องการมีการจัดการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าว่า ก็เพื่อให้คนที่ติดธุระไม่สามารถใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ ให้บุคคลนั้นขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง
ดังนั้นการจะจัดลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทน จึงน่าจะเรียกเป็นการลงคะแนนล่วงหลังมากกว่า และ มาตรา 102 ของพ.ร.บ.เดียวกันยังกำหนดว่า บัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ให้นำมานับที่สถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้ง หากมาภายหลังเริ่มนับคะแนนแล้วให้ถือว่าบัตรนั้นเสียไป แต่ขณะนี้มีการนับคะแนนในแต่ละหน่วยเลือกตั้งไปแล้ว เหลือเพียงการรวมเขตของแต่ละเขต นอกจากนี้การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทน ยังอาจกลายเป็นการทำให้คะแนนของพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร ที่ทราบผลคะแนนในวันเลือกตั้งแล้วเปลี่ยนไป ซึ่งก็อาจมีการกล่าวหาในภายหลังว่า เกิดจากการกระทำของกกต. ทำให้กกต. เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง และอาจต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่ง และอาญา
นอกจากนี้ยังเห็นว่ากรณีที่กกต. กำหนดให้มีการแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.-9 ก.พ. แต่ในข้อเท็จจริง ยังจะต้องมีการเลือกตั้งในบางเขต บางจังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่นที่ต้องการจะลงสมัคร ส.ว. จะต้องแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิตามระยะเวลาที่กกต.กำหนดหรือไม่
ส่วนการจะจัดการเลือกตั้งทดแทนที่จะเกิดขึ้น เห็นว่า หากปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ยังไม่คลี่คลาย การจัดการเลือกตั้งก็จะยังคงเผชิญกับปัญหา
***สหรัฐฯ วอนเจรจาแก้ปัญหา
เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวหลังศึกเลือกตั้งอันวุ่นวายเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาของไทยว่า เราไม่ต้องการเห็นรัฐประหารหรือความรุนแรงไม่ว่ากรณีใดๆ เรากำลังพูดคุยโดยตรงกับทุกองค์ประกอบพื้นฐานในสังคมไทย เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนว่าวิถีทางประชาธิปไตยอันสำคัญและตามกรอบรัฐธรรมนูญจะถูกใช้เพื่อคลี่คลายความเห็นต่างทางการเมือง
แม้การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ (2) เป็นไปอย่างสันติและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ก็มีเหตุการณ์ความรุนแรงก่อนหน้าการเลือกตั้ง
“เรายังคงมีความกังวลต่อความตึงเครียดทางการในเมืองไทย ซึ่งกำลังท้าทายกระบวนการและสถาบันประชาธิปไตยในไทย เราขอเรียกร้องอีกครั้งให้ทุกฝ่ายดำเนินการเจรจาด้วยน้ำใสใจจริงเพื่อคลี่คลายความเห็นต่างอย่างสันติและอย่างเป็นประชาธิปไตย”
ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองบอกว่า เหตุความวุ่นวายทางการเมืองยาวนานหลายสัปดาห์ ส่งผลให้รัฐบาลอยู่ในภาวะอ่อนแอ และเสี่ยงเจอแทรกแซงโดยศาลหรือแม้แต่รัฐประหาร
ซากีย้ำว่า “เราสนับสนุนคลี่คลายวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในไทยด้วยแนวทางประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงมีการประสานงานใกล้ชิดในพื้นที่จริงๆ และแน่นอน เราเชื่อว่าจำเป็นต้องมีแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้กระบวนการนั้นเกิดขึ้นได้”