ในวงการนักวิชาการเขามักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “ตลกวิชาชีพ (Professional Joke)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความขบขันของคนในวงการ วิธีการผูกเรื่องราวก็มักจะมาจากคำที่มีหลายความหมาย สองแง่สองง่าม หรือจากความเข้าใจผิดไปจากแนวคิดพื้นฐานของวิชาชีพนั้นๆ เป็นต้น เนื้อหาสาระอาจจะเป็นความจริง ถูกหรือผิดก็ได้ หรืออาจจะสะท้อนลักษณะเฉพาะของคนในวิชาชีพนั้นๆ ด้วยก็ได้ ข้อเสียของตลกวิชาชีพก็คือ บางครั้งคนนอกวิชาชีพซึ่งถูกฝึกมาแตกต่างกัน หรืออาจต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน จึงมักจะตามมุกไม่ทันและไม่ขำ
ในวงการนักคณิตศาสตร์ก็มีตลกคณิตศาสตร์ (Mathematical Joke) ซึ่งมักจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาเล่าสู่กันฟัง และถ้าเป็นเรื่องราวการสนทนา ผู้ร่วมสนทนาก็มักจะเป็นคนในวิชาชีพที่ใช้คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานเพราะจะได้คุยกันรู้เรื่อง ซึ่งมักจะเป็นนักฟิสิกส์ วิศวกร เป็นต้น ครั้งหนึ่งชาวนาเดินทางมาขอคำปรึกษาจากสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง โดยมีโจทย์ว่า “ผมมีเส้นลวดยาว 100 เมตร ต้องการจะนำลวดมาล้อมทำเป็นคอกวัว ผมควรจะทำรั้วเป็นรูปเรขาคณิตอะไรดีจึงจะสามารถขังวัวไว้ในคอกได้จำนวนมากที่สุด”
นักวิชาการของสถาบันวิจัยดังกล่าวซึ่งมีนักฟิสิกส์ วิศวกรและนักคณิตศาสตร์นั่งอยู่พร้อมหน้า
นักฟิสิกส์เสนอว่า “ทำคอกวัวเป็นรูปวงกลมซิ เพราะจะได้พื้นที่มากที่สุด มากกว่าสี่เหลี่ยมจตุรัสเสียอีก” (ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่าลำต้นของพืชเกือบทุกชนิดมักจะมีลักษณะภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลม)
วิศวกรผู้ช่ำชองทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติเสริมว่า “อืม์ แต่ถ้าจะให้ขังวัวได้มากกว่านี้ก็ต้องต้อนวัวเข้าไปเยอะๆ ให้วัวยืนกันอย่างแน่นๆ ก็จะสามารถขังวัวได้มากขึ้น”
นักคณิตศาสตร์ผู้ซึ่งถูกฝึกฝนมาอย่างเป็นกระบวนการ คือ การตั้งนิยาม การอาศัยสัจพจน์ (ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์) การสร้างทฤษฎีบท และการพิสูจน์ทฤษฎีบท หลังจากได้ฟังมาพักหนึ่งนักคณิตศาสตร์จึงเสนอว่า “เราสร้างนิยามใหม่ว่า ข้างนอกรั้วคือข้างในรั้ว ดังนั้นเราก็จะสามารถขังวัวไว้ในคอกได้จำนวนมากที่สุด”
เรื่องที่เล่ามานี้จะทำให้ผู้อ่านขำหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เป็นเรื่องการสะท้อนให้เห็นถึงหลักการทางวิชาการที่บริสุทธิ์ของนักวิชาชีพกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายแต่ประการใดต่อสาธารณะ แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีผู้เฉโก นำเรื่องการสร้างนิยามใหม่ไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนตัวเท่านั้น
การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เป็นต้นเหตุให้เกิด “มวลมหาประชาชน” ลุกขึ้นมาคัดค้านก็เป็นเพราะการสร้างนิยามใหม่นั่นเอง คือการสร้างนิยามว่า การทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจรัฐฆ่าคน ทั้งที่ศาลได้ตัดสินแล้วหรือยังไม่ได้ตัดสินนั้นต้องได้รับการยกโทษหรือไม่เอาความผิดทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักการนิติรัฐ นิติธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของหลักการของ “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ชาวโลกให้การยอมรับ
คราวนี้มาถึงเรื่องการจำนำข้าวตามที่ได้จั่วหัวไว้ครับ
ผมเชื่อว่าคนไทยเรามีความเข้าใจคำว่า “จำนำ” เป็นอย่างดี คือการนำทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ทองคำ นาฬิกา รวมถึงครกตำเครื่องแกง เพื่อค้ำประกันแล้วนำเงินมาใช้ก่อน เมื่อผู้จำนำมีเงินในช่วงเวลาที่สัญญากำหนดก็สามารถนำเงินไปไถ่ถอนเอาทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมาพร้อมจ่ายดอกเบี้ยตอบแทน หลักการสำคัญของการ “จำนำ” ซึ่งผมไม่ทราบว่าได้มีการบัญญัติไว้หรือไม่ นั่นคือ ในการจำนำที่สุจริตนั้นมูลค่าของทรัพย์สินต้องมากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไป มิฉะนั้นจะไม่มีการไถ่ถอนคืนแต่โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้เป็นไปตามนิยามของคำว่าจำนำแต่อย่างใด กล่าวคือในขณะที่ราคาข้าวที่เป็นไปตามกลไกการตลาดทั้งระดับภายในประเทศและตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 9 พันถึง 1 หมื่นบาทต่อเกวียนเท่านั้น แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็รับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ชาวนาจะนำเงินมาคืนรัฐบาลเพื่อนำข้าวกลับคืนไปตามความหมายของการจำนำ
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลครั้งนี้แท้ที่จริงแล้วก็คือการซื้อข้าวโดยรัฐบาลเป็นผู้รับซื้อรายเดียวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดถึง 50% นอกจากรัฐบาลจะต้องขาดทุนในเรื่องราคาแล้ว ยังต้องขาดทุนในเรื่องของการเช่าโกดังเก็บข้าวด้วย
ผมเคยนำเรื่องการทุจริตในโครงการนี้มาเล่าให้ฟังในคอลัมน์นี้ครั้งหนึ่งแล้ว คือ เรื่องของคุณยายคนหนึ่งในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในขณะที่มูลค่าข้าวของเธอมีแค่ 27,000 บาท แต่เวลาไปรับเงินเธอกลับได้ 2.7 แสนบาท เมื่อเธอตกใจตอนที่รับเงิน ก็มีชายคนแปลกหน้าคนหนึ่งบอกว่า “รับๆ ไปเถอะ” แต่พอออกจากธนาคารชายคนนั้นเอาเกินส่วนเกินไปทั้งหมด
ผมจึงขอสรุปว่า โครงการรับจำนำข้าว ก็คือการสร้างนิยามใหม่เพื่อจะได้ทุจริตกันอย่างมโหฬารและเพื่อตบตาองค์การการค้าโลกที่ห้ามไม่ให้รัฐบาลอุดหนุนสินค้าเกษตรนั่นเอง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำนิติกรรมอำพรางนั่นเอง
ประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจต่อโครงการรับจำนำข้าวนี้มี 2 ประการ คือ (1) รัฐเกิดความสูญเสียกี่แสนล้านกันแน่ และ (2) ที่รัฐบาลอ้างว่าการระบายข้าวเป็นการซื้อขายแบบจีทูจีหรือแบบจากรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้มีการเปิดเผยว่าส่งไปขายให้รัฐบาลประเทศใด
บางกระแสก็ว่าขายไปให้รัฐบาลจีน แต่ก็มีกระแสปฏิเสธมาจากรัฐบาลจีนเช่นกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าอะไรเป็นจริงและอะไรเป็นเท็จ
ผมได้พยายามติดตามจากเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ก็ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ แม้ไม่สามารถตอบคำถามในประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจ แต่ก็ทำให้เราทราบอะไรบางอย่างที่สังคมไทยควรได้รับทราบ ผมได้นำมาสรุปไว้ในตารางที่ผมทำขึ้นมาเองดังข้างล่างนี้ครับ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 (ซึ่งเพิ่งรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้)
ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวในปี 2551 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาทเล็กน้อย คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 2.24 ของจีดีพี (ประมาณ 3.4% ของมูลค่าส่งออก) โดยมีอันดับมูลค่าส่งออกสูงเป็นอันดับเจ็ด (อันดับ 1, 2, 3 คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, รถยนต์และอุปกรณ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามลำดับ-ท่านอาจจะไม่เชื่อว่านี่เป็นข้อมูลของประเทศไทย!) โดยประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย(ไม่ใช่ประเทศใหญ่ๆ เช่น จีน ดังที่หลายคนคิด)
ในปี 2554 ซึ่งนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่มีผลบังคับใช้ มูลค่าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 1.93 แสนล้านบาท แต่ในช่วงปี 2555 และ 2556 (นับจากเดือนมกราคมถึงธันวาคม) มูลค่าการส่งออกกลับลดลงอย่างฮวบฮาบ คือ 1.43 และ 1.33 แสนล้านบาทตามลำดับ มันหายไปไหนถึง 6 หมื่นล้านบาท
โดยประเทศที่นำเข้ามากที่สุดคือประเทศเบนิน (มูลค่า 14,174 ล้านบาท โดยที่อันดับ 2 และ 3 คือ สหรัฐอเมริกา และ อิรัก ตามลำดับ) ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงจะไม่รู้จักประเทศนี้
ประเทศเบนิน (Banin) เป็นประเทศยากจนในแอฟริกาตะวันตก มีประชากร 10.3 ล้านคน โดยมีรายได้ต่อหัวในปี 2556 เฉลี่ยเท่ากับ 1,666 ดอลลาร์สหรัฐ (วิกิพีเดียอ้างถึงจากกองทุนไอเอ็มเอฟ)
ผมไม่สามารถค้นคว้าเรื่องความสูญเสียจากการรับจำนำข้าวที่ฉาวโฉ่ของรัฐบาลได้ไปมากว่านี้ครับ แต่ประเด็นที่นำเสนอก็คือการสร้างนิยามใหญ่ของรัฐบาลของระบอบทักษิณซึ่งเขาจะรื้อกติกาใหม่เกือบทุกครั้งเมื่อเขาต้องการจะทุจริตเพื่อตนเองและพวกพ้อง ไม่ว่าจะเป็นการลดสัดส่วนการถือครองธุรกิจโทรคมนาคมของชาวต่างชาติ อัตราการเสียภาษีการซื้อขายที่ดิน เป็นต้น
ความจริงกระแสการสร้างนิยามใหญ่ใหม่กำลังเกิดขึ้นกับองค์กรที่ก้าวหน้าหลายองค์กรในโลกครับ แต่เขาสร้างนิยามใหม่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของสาธารณะหรือประโยชน์ของโลก (Planet) ซึ่งแตกต่างจากระบอบทักษิณที่ทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง
เช่น กลุ่ม New Economic Foundation เขาสร้างนิยามของ “การพัฒนา” เพื่อ “ความสุขร่วมกันของมนุษยชาติและโลกใบนี้” โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทั้งยุคปัจจุบันและอนาคตโดยไม่เบียดเบียนทำลายสุขภาพของโลก ไม่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน ไม่ใช่เน้นการเติบโตของจีดีพีเพียงอย่างเดียว
“ถ่านหินสะอาด” ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งการสร้างนิยามใหม่ของกลุ่มพ่อค้าถ่านหินทั่วโลก แต่ก็เป็นนิยามบนผลประโยชน์ของตนเองอีกเช่นกัน
การเรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีของมวลมหาประชาชนไทยในคราวนี้ก็เป็นความพยายามจะสร้างนิยามใหม่ เช่น “สภาประชาชน” ซึ่งคนไทยจะต้องเรียนรู้อย่างรู้เท่าทันครับ
ในวงการนักคณิตศาสตร์ก็มีตลกคณิตศาสตร์ (Mathematical Joke) ซึ่งมักจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาเล่าสู่กันฟัง และถ้าเป็นเรื่องราวการสนทนา ผู้ร่วมสนทนาก็มักจะเป็นคนในวิชาชีพที่ใช้คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานเพราะจะได้คุยกันรู้เรื่อง ซึ่งมักจะเป็นนักฟิสิกส์ วิศวกร เป็นต้น ครั้งหนึ่งชาวนาเดินทางมาขอคำปรึกษาจากสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง โดยมีโจทย์ว่า “ผมมีเส้นลวดยาว 100 เมตร ต้องการจะนำลวดมาล้อมทำเป็นคอกวัว ผมควรจะทำรั้วเป็นรูปเรขาคณิตอะไรดีจึงจะสามารถขังวัวไว้ในคอกได้จำนวนมากที่สุด”
นักวิชาการของสถาบันวิจัยดังกล่าวซึ่งมีนักฟิสิกส์ วิศวกรและนักคณิตศาสตร์นั่งอยู่พร้อมหน้า
นักฟิสิกส์เสนอว่า “ทำคอกวัวเป็นรูปวงกลมซิ เพราะจะได้พื้นที่มากที่สุด มากกว่าสี่เหลี่ยมจตุรัสเสียอีก” (ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่าลำต้นของพืชเกือบทุกชนิดมักจะมีลักษณะภาคตัดขวางเป็นรูปวงกลม)
วิศวกรผู้ช่ำชองทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติเสริมว่า “อืม์ แต่ถ้าจะให้ขังวัวได้มากกว่านี้ก็ต้องต้อนวัวเข้าไปเยอะๆ ให้วัวยืนกันอย่างแน่นๆ ก็จะสามารถขังวัวได้มากขึ้น”
นักคณิตศาสตร์ผู้ซึ่งถูกฝึกฝนมาอย่างเป็นกระบวนการ คือ การตั้งนิยาม การอาศัยสัจพจน์ (ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์) การสร้างทฤษฎีบท และการพิสูจน์ทฤษฎีบท หลังจากได้ฟังมาพักหนึ่งนักคณิตศาสตร์จึงเสนอว่า “เราสร้างนิยามใหม่ว่า ข้างนอกรั้วคือข้างในรั้ว ดังนั้นเราก็จะสามารถขังวัวไว้ในคอกได้จำนวนมากที่สุด”
เรื่องที่เล่ามานี้จะทำให้ผู้อ่านขำหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เป็นเรื่องการสะท้อนให้เห็นถึงหลักการทางวิชาการที่บริสุทธิ์ของนักวิชาชีพกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายแต่ประการใดต่อสาธารณะ แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีผู้เฉโก นำเรื่องการสร้างนิยามใหม่ไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนตัวเท่านั้น
การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เป็นต้นเหตุให้เกิด “มวลมหาประชาชน” ลุกขึ้นมาคัดค้านก็เป็นเพราะการสร้างนิยามใหม่นั่นเอง คือการสร้างนิยามว่า การทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจรัฐฆ่าคน ทั้งที่ศาลได้ตัดสินแล้วหรือยังไม่ได้ตัดสินนั้นต้องได้รับการยกโทษหรือไม่เอาความผิดทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักการนิติรัฐ นิติธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของหลักการของ “ระบอบประชาธิปไตย” ที่ชาวโลกให้การยอมรับ
คราวนี้มาถึงเรื่องการจำนำข้าวตามที่ได้จั่วหัวไว้ครับ
ผมเชื่อว่าคนไทยเรามีความเข้าใจคำว่า “จำนำ” เป็นอย่างดี คือการนำทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ทองคำ นาฬิกา รวมถึงครกตำเครื่องแกง เพื่อค้ำประกันแล้วนำเงินมาใช้ก่อน เมื่อผู้จำนำมีเงินในช่วงเวลาที่สัญญากำหนดก็สามารถนำเงินไปไถ่ถอนเอาทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมาพร้อมจ่ายดอกเบี้ยตอบแทน หลักการสำคัญของการ “จำนำ” ซึ่งผมไม่ทราบว่าได้มีการบัญญัติไว้หรือไม่ นั่นคือ ในการจำนำที่สุจริตนั้นมูลค่าของทรัพย์สินต้องมากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไป มิฉะนั้นจะไม่มีการไถ่ถอนคืนแต่โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้เป็นไปตามนิยามของคำว่าจำนำแต่อย่างใด กล่าวคือในขณะที่ราคาข้าวที่เป็นไปตามกลไกการตลาดทั้งระดับภายในประเทศและตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 9 พันถึง 1 หมื่นบาทต่อเกวียนเท่านั้น แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็รับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ชาวนาจะนำเงินมาคืนรัฐบาลเพื่อนำข้าวกลับคืนไปตามความหมายของการจำนำ
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลครั้งนี้แท้ที่จริงแล้วก็คือการซื้อข้าวโดยรัฐบาลเป็นผู้รับซื้อรายเดียวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดถึง 50% นอกจากรัฐบาลจะต้องขาดทุนในเรื่องราคาแล้ว ยังต้องขาดทุนในเรื่องของการเช่าโกดังเก็บข้าวด้วย
ผมเคยนำเรื่องการทุจริตในโครงการนี้มาเล่าให้ฟังในคอลัมน์นี้ครั้งหนึ่งแล้ว คือ เรื่องของคุณยายคนหนึ่งในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในขณะที่มูลค่าข้าวของเธอมีแค่ 27,000 บาท แต่เวลาไปรับเงินเธอกลับได้ 2.7 แสนบาท เมื่อเธอตกใจตอนที่รับเงิน ก็มีชายคนแปลกหน้าคนหนึ่งบอกว่า “รับๆ ไปเถอะ” แต่พอออกจากธนาคารชายคนนั้นเอาเกินส่วนเกินไปทั้งหมด
ผมจึงขอสรุปว่า โครงการรับจำนำข้าว ก็คือการสร้างนิยามใหม่เพื่อจะได้ทุจริตกันอย่างมโหฬารและเพื่อตบตาองค์การการค้าโลกที่ห้ามไม่ให้รัฐบาลอุดหนุนสินค้าเกษตรนั่นเอง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำนิติกรรมอำพรางนั่นเอง
ประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจต่อโครงการรับจำนำข้าวนี้มี 2 ประการ คือ (1) รัฐเกิดความสูญเสียกี่แสนล้านกันแน่ และ (2) ที่รัฐบาลอ้างว่าการระบายข้าวเป็นการซื้อขายแบบจีทูจีหรือแบบจากรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้มีการเปิดเผยว่าส่งไปขายให้รัฐบาลประเทศใด
บางกระแสก็ว่าขายไปให้รัฐบาลจีน แต่ก็มีกระแสปฏิเสธมาจากรัฐบาลจีนเช่นกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าอะไรเป็นจริงและอะไรเป็นเท็จ
ผมได้พยายามติดตามจากเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ก็ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ แม้ไม่สามารถตอบคำถามในประเด็นที่สังคมไทยให้ความสนใจ แต่ก็ทำให้เราทราบอะไรบางอย่างที่สังคมไทยควรได้รับทราบ ผมได้นำมาสรุปไว้ในตารางที่ผมทำขึ้นมาเองดังข้างล่างนี้ครับ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 (ซึ่งเพิ่งรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้)
ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวในปี 2551 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาทเล็กน้อย คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 2.24 ของจีดีพี (ประมาณ 3.4% ของมูลค่าส่งออก) โดยมีอันดับมูลค่าส่งออกสูงเป็นอันดับเจ็ด (อันดับ 1, 2, 3 คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, รถยนต์และอุปกรณ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามลำดับ-ท่านอาจจะไม่เชื่อว่านี่เป็นข้อมูลของประเทศไทย!) โดยประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย(ไม่ใช่ประเทศใหญ่ๆ เช่น จีน ดังที่หลายคนคิด)
ในปี 2554 ซึ่งนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังไม่มีผลบังคับใช้ มูลค่าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 1.93 แสนล้านบาท แต่ในช่วงปี 2555 และ 2556 (นับจากเดือนมกราคมถึงธันวาคม) มูลค่าการส่งออกกลับลดลงอย่างฮวบฮาบ คือ 1.43 และ 1.33 แสนล้านบาทตามลำดับ มันหายไปไหนถึง 6 หมื่นล้านบาท
โดยประเทศที่นำเข้ามากที่สุดคือประเทศเบนิน (มูลค่า 14,174 ล้านบาท โดยที่อันดับ 2 และ 3 คือ สหรัฐอเมริกา และ อิรัก ตามลำดับ) ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงจะไม่รู้จักประเทศนี้
ประเทศเบนิน (Banin) เป็นประเทศยากจนในแอฟริกาตะวันตก มีประชากร 10.3 ล้านคน โดยมีรายได้ต่อหัวในปี 2556 เฉลี่ยเท่ากับ 1,666 ดอลลาร์สหรัฐ (วิกิพีเดียอ้างถึงจากกองทุนไอเอ็มเอฟ)
ผมไม่สามารถค้นคว้าเรื่องความสูญเสียจากการรับจำนำข้าวที่ฉาวโฉ่ของรัฐบาลได้ไปมากว่านี้ครับ แต่ประเด็นที่นำเสนอก็คือการสร้างนิยามใหญ่ของรัฐบาลของระบอบทักษิณซึ่งเขาจะรื้อกติกาใหม่เกือบทุกครั้งเมื่อเขาต้องการจะทุจริตเพื่อตนเองและพวกพ้อง ไม่ว่าจะเป็นการลดสัดส่วนการถือครองธุรกิจโทรคมนาคมของชาวต่างชาติ อัตราการเสียภาษีการซื้อขายที่ดิน เป็นต้น
ความจริงกระแสการสร้างนิยามใหญ่ใหม่กำลังเกิดขึ้นกับองค์กรที่ก้าวหน้าหลายองค์กรในโลกครับ แต่เขาสร้างนิยามใหม่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของสาธารณะหรือประโยชน์ของโลก (Planet) ซึ่งแตกต่างจากระบอบทักษิณที่ทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง
เช่น กลุ่ม New Economic Foundation เขาสร้างนิยามของ “การพัฒนา” เพื่อ “ความสุขร่วมกันของมนุษยชาติและโลกใบนี้” โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทั้งยุคปัจจุบันและอนาคตโดยไม่เบียดเบียนทำลายสุขภาพของโลก ไม่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน ไม่ใช่เน้นการเติบโตของจีดีพีเพียงอย่างเดียว
“ถ่านหินสะอาด” ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งการสร้างนิยามใหม่ของกลุ่มพ่อค้าถ่านหินทั่วโลก แต่ก็เป็นนิยามบนผลประโยชน์ของตนเองอีกเช่นกัน
การเรียกร้องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีของมวลมหาประชาชนไทยในคราวนี้ก็เป็นความพยายามจะสร้างนิยามใหม่ เช่น “สภาประชาชน” ซึ่งคนไทยจะต้องเรียนรู้อย่างรู้เท่าทันครับ