แม้ว่าประเทศไทยจะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหลายด้านทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ หลายระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐบาลจนถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จนทำให้ประชาชนสุดจะอดทนได้ จึงได้ลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องจนกลายเป็น “มวลมหาประชาชน” และได้ประกาศเจตนารมณ์ให้มี การปฏิรูปประเทศไทย ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ แต่ในทุกด้านและทุกระดับนั้นต้องมีลักษณะร่วมหรือเหมือนกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
คำถามก็คือ ลักษณะร่วมดังกล่าวคืออะไรและเราจะปฏิรูปไปสู่อะไร ในที่นี้ผมจะขอนำตัวอย่างเพียงด้านเดียว คือด้านพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ประชาชนถูกมอมเมาและถูกละเมิดอย่างไม่รู้สึกตัวมากล่าวถึงให้เป็นรูปธรรม
แต่ก่อนจะกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าว เรามาทำความเข้าใจกับสองภาพซึ่งผมคิดว่ามีลักษณะที่สะท้อนความหมายในย่อหน้าแรกคือลักษณะร่วมที่สำคัญ
ซ้ายมือเป็นภาพถ่ายจากของจริงจากธรรมชาติ (ชื่อ Romanesco broccoli) ส่วนขวามือเป็นภาพตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ามือคน
เราจะเห็นว่า แต่ละยอดเล็กๆ ของบร็อกโคลี มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับภาพใหญ่ทั้งภาพ และถ้าเราตัดยอดที่ย่อยเล็กลงไปอีก จะพบว่าภาพย่อยเล็กก็ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับภาพใหญ่อีก
คำอธิบายดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเราพิจารณาฝ่ามือในภาพข้างต้น เมื่อตัดหัวแม่มือแรกที่ยื่นมาจากแขน เราจะได้ภาพที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิม เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุดเราก็จะได้ภาพเล็กที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิมทุกครั้ง
นักคณิตศาสตร์เรียกความเหมือนของภาพดังกล่าวว่า Fractal หรือ Self-Similarity
ลักษณะร่วมของระบอบการปกครองจากระดับสูงสุดคือรัฐบาล กระทรวง กรม องค์กรต่างๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จนถึงองค์การบริหารส่วนตำบล ก็มีลักษณะเดียวกันกับภาพบร็อกโคลีและภาพฝ่ามือดังที่กล่าวมาแล้ว
ถ้าพูดถึงผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวม ลักษณะร่วมกันของแต่ละองค์กรแต่ละระดับก็คือความเน่าเฟะทุกระดับ จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ในระดับประเทศ
คราวนี้มากล่าวถึงสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ในทัศนะของผมแล้ว ถ้ากล่าวอย่างกว้างมากๆ และเป็นอุดมคติมากๆ ก็คือเราไม่ได้ยึดตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของมนุษย์ทั่วโลก และเป็นข้อแรกด้วยคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเป็นอิสระและเทียมเท่ากันในด้านของศักดิ์ศรีและสิทธิ” (ขอขยายความพร้อมกันในภายหลัง)
ถ้าขยายหลักการดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ละเมิดหลักการประชาธิปไตยครบทุกข้อ ทั้งละเมิดสิทธิชุมชนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทด้วย โดยที่ฟางเส้นสุดท้ายคือการ “ลักหลับ” ออกกฎหมายไม่เอาโทษให้กับคนโกงชาติ ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ถูกมอมเมาให้หลับใหลจนลืมสิทธิของตนเอง เพิ่งมาตกใจตื่นก็ตอนนี้แหละ
ขอบทเรียนการตื่นรู้ของประชาชนในครั้งนี้ จงคุ้มครองประชาชนไทยตลอดไป
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่เป็นชื่อบทความนี้ครับ ถ้ากล่าวในภาพรวมก็เป็นเรื่องนโยบายพลังงาน ซึ่งมีลักษณะร่วมเดียวกันกับปัญหาใหญ่ของประเทศไทย หรือลักษณะของบร็อกโคลีดังที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาร่วมดังกล่าว คือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยตามหลักการ 4 ข้อ
ใครที่คิดว่าเรื่องนโยบายพลังงานเป็นเรื่องเล็กเกินกว่าที่จะให้ความสนใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ก็ลองมาดูสถิติกันก่อน
ในปี 2555 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในจำนวนนี้เป็นค่าไฟฟ้าถึง 5.6 แสนล้านบาท และถ้าย้อนหลังไป 20 ปี คือ ปี 2535 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของจีดีพีเท่านั้น
สถิตินี้สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยได้เพิ่มสูงเกือบ 2 เท่าตัวซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไทยต้องลดลงอย่างแน่นอน เพราะคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
ผมเคยนำเสนอผลการศึกษาของนักวิชาการต่างประเทศพบว่า จากการสุ่มตัวอย่าง 60 ประเทศทุกภูมิภาคของโลกพบว่า ราคาน้ำมัน (เฉพาะน้ำมัน) เมื่อเทียบกับรายได้ พบว่าของคนไทยเราสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
ในการจัดอันดับโลก ถ้าเป็นเรื่องแย่ๆ เลวๆ เรามักจะได้อันดับต้นๆ ของโลก แต่เรื่องดีๆ เช่น ความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เรามักจะได้อันดับโหล่ๆ เสมอและตกต่ำลงตลอดในช่วง 20 ปีมานี้
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นข่าวและคนไทยไม่ได้รับรู้ คือจากการสำรวจปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำจืดซึ่งได้แก่ในคลอง แม่น้ำ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเราได้อันดับบ๊วยจากการสำรวจ 141 ทั่วโลก ส่งผลให้คนไทยไม่ค่อยมีปลาน้ำจืดธรรมชาติที่อร่อยๆ ให้รับประทานกัน ยกเว้น ปลานิล ปลาทับทิม
กลับมาที่เรื่องพลังงานอีกทีครับ
เราจ่ายค่าไฟฟ้าปีละ 5.6 แสนล้านบาท โดยที่เชื้อเพลิงกว่าร้อยละ 99 มาจากแหล่งพลังงานผูกขาดคือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่
การผูกขาดมาจากนโยบายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นอิสระ (ทั้งผู้สมัครที่ต้องสังกัดพรรคและผู้เลือกที่ผูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร) และไม่เป็นธรรม(ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่หนึ่ง)
คนไทยถูกพ่อค้าพลังงานมอมเมาว่า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้กับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ) ว่า เป็นพลังงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่พลังงานมนุษย์ทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปีนั้นมีปริมาณเท่ากับพลังงานที่แสงอาทิตย์ส่องมาถึงผิวโลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคงและความเพียงพอครับ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ทั้งๆ ที่โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าประเทศเยอรมนีประมาณ 1.5 เท่า แต่ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นจำนวนมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
กล่าวคือ ในปี 2555 สามารถผลิตได้ถึง 28,500 ล้านหน่วย หรือคิดเป็น 18% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศในปีเดียวกันคือประมาณ 161,000 ล้านหน่วย ดังตารางที่แนบ (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php)
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูครับ ถ้าประเทศไทยเรามีนโยบายเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนเองตามที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้จะเกิดผลดีอย่างไร
นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ที่จะก่อสร้างใหม่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ และยังไม่นับในอีกหลายพื้นที่ที่กำลังผลิตอยู่ เช่น ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
แต่คำถามก็คือจะทำอย่างไร?
จากบทเรียนของประเทศเยอรมนีพบว่า ได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตกระแสไฟฟ้า ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การเสนอกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ของรัฐบาล แต่มาจากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 2-3 คนของพรรค Social Democrat Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กเท่านั้น
แต่ทำไมกฎหมายฉบับนี้จึงสามารถผ่านสภาได้ฉลุย และประเทศอื่นๆ อีก 40 กว่าประเทศนำไปเป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทยด้วย (แต่ประเทศไทยเรานำมาใช้อย่างบิดเบือนและผิดหลักการอย่างจงใจ)
คำตอบก็คือเพราะการเมืองของภาคพลเมืองของชาวเยอรมันเข้มแข็งมาก (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่สอง) นอกจากเยอรมนีต้องบอบช้ำกับการแพ้สงคราม ความกังวลกับการระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลแล้ว ความตื่นตัวของกระบวนการสีเขียว (จนเกิดเป็นพรรคกรีน) ในภาคประชาชนได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก ด้วยเหตุนี้นักการเมืองจึงต้องรับฟังเสียงของประชาชน
ล่าสุด จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นระเบิดจากกรณีสึนามิที่เมืองฟูกุชิมะ เมื่อปี 2553 ได้ทำให้ความคิดที่จะขยายอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดิมของรัฐบาลต้องล้มเลิกไป นี่เป็นการตอกย้ำถึงพลังการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ตรงกันข้ามกับประเทศไทยเราครับ
ลองแจงนับกันดูซิครับว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมาในระบบรัฐสภาที่ความต่อเนื่อง มีกฎหมายผ่านไปได้กี่ฉบับ นี่ยังไม่นับว่าแต่ละฉบับเป็นประโยชน์กับประชาชนแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลักหลับ หรือการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตัวอย่างของความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่ดีตัวอย่างหนึ่งก็คือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61 ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ประชาชนได้เรียกร้องผลักดันโดยการลงชื่อเสนอกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 16 ปีกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่คลอด
ทั้งๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 3 วาระใน 2 รัฐบาล ผ่านวุฒิสภามา 2 รอบ แทนที่สภาผู้แทนราษฎรจะใช้เวลาสัก 20 นาที (ก่อนปิดสมัยประชุม 28 พฤศจิกายน) ก็สามารถคลอดกฎหมายฉบับนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคทุกคนได้แล้ว
แต่เขาก็ไม่สนใจ กลับไปออกกฎหมายยกโทษให้คนโกงซึ่งไม่มีชาติใดในโลกเขาทำกันเสียนี่
เมื่อสถานการณ์การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ เราจะหวังอะไรจากการเมืองแบบเก่าครับ และถ้าไม่ปฎิรูปตอนนี้แล้วจะต้องให้รอถึง พ.ศ.ไหน หรือจะต้องรอจนกว่าพ่อค้าพลังงานได้รับโฉนดบนดวงอาทิตย์แบบผูกขาดเบ็ดเสร็จเสียก่อน
แต่ประชาชนไทยเขาสรุปแล้วว่า รอไม่ได้แล้วครับ และไม่ต้องการให้ความเน่าเฟะร่วมของสังคมต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น 81 ปีของการมีประชาธิปไตยจอมปลอมครับ
คำถามก็คือ ลักษณะร่วมดังกล่าวคืออะไรและเราจะปฏิรูปไปสู่อะไร ในที่นี้ผมจะขอนำตัวอย่างเพียงด้านเดียว คือด้านพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ประชาชนถูกมอมเมาและถูกละเมิดอย่างไม่รู้สึกตัวมากล่าวถึงให้เป็นรูปธรรม
แต่ก่อนจะกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าว เรามาทำความเข้าใจกับสองภาพซึ่งผมคิดว่ามีลักษณะที่สะท้อนความหมายในย่อหน้าแรกคือลักษณะร่วมที่สำคัญ
ซ้ายมือเป็นภาพถ่ายจากของจริงจากธรรมชาติ (ชื่อ Romanesco broccoli) ส่วนขวามือเป็นภาพตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ามือคน
เราจะเห็นว่า แต่ละยอดเล็กๆ ของบร็อกโคลี มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับภาพใหญ่ทั้งภาพ และถ้าเราตัดยอดที่ย่อยเล็กลงไปอีก จะพบว่าภาพย่อยเล็กก็ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับภาพใหญ่อีก
คำอธิบายดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเราพิจารณาฝ่ามือในภาพข้างต้น เมื่อตัดหัวแม่มือแรกที่ยื่นมาจากแขน เราจะได้ภาพที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิม เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุดเราก็จะได้ภาพเล็กที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิมทุกครั้ง
นักคณิตศาสตร์เรียกความเหมือนของภาพดังกล่าวว่า Fractal หรือ Self-Similarity
ลักษณะร่วมของระบอบการปกครองจากระดับสูงสุดคือรัฐบาล กระทรวง กรม องค์กรต่างๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จนถึงองค์การบริหารส่วนตำบล ก็มีลักษณะเดียวกันกับภาพบร็อกโคลีและภาพฝ่ามือดังที่กล่าวมาแล้ว
ถ้าพูดถึงผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวม ลักษณะร่วมกันของแต่ละองค์กรแต่ละระดับก็คือความเน่าเฟะทุกระดับ จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ในระดับประเทศ
คราวนี้มากล่าวถึงสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ในทัศนะของผมแล้ว ถ้ากล่าวอย่างกว้างมากๆ และเป็นอุดมคติมากๆ ก็คือเราไม่ได้ยึดตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของมนุษย์ทั่วโลก และเป็นข้อแรกด้วยคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเป็นอิสระและเทียมเท่ากันในด้านของศักดิ์ศรีและสิทธิ” (ขอขยายความพร้อมกันในภายหลัง)
ถ้าขยายหลักการดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ละเมิดหลักการประชาธิปไตยครบทุกข้อ ทั้งละเมิดสิทธิชุมชนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทด้วย โดยที่ฟางเส้นสุดท้ายคือการ “ลักหลับ” ออกกฎหมายไม่เอาโทษให้กับคนโกงชาติ ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ถูกมอมเมาให้หลับใหลจนลืมสิทธิของตนเอง เพิ่งมาตกใจตื่นก็ตอนนี้แหละ
ขอบทเรียนการตื่นรู้ของประชาชนในครั้งนี้ จงคุ้มครองประชาชนไทยตลอดไป
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่เป็นชื่อบทความนี้ครับ ถ้ากล่าวในภาพรวมก็เป็นเรื่องนโยบายพลังงาน ซึ่งมีลักษณะร่วมเดียวกันกับปัญหาใหญ่ของประเทศไทย หรือลักษณะของบร็อกโคลีดังที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาร่วมดังกล่าว คือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยตามหลักการ 4 ข้อ
ใครที่คิดว่าเรื่องนโยบายพลังงานเป็นเรื่องเล็กเกินกว่าที่จะให้ความสนใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ก็ลองมาดูสถิติกันก่อน
ในปี 2555 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในจำนวนนี้เป็นค่าไฟฟ้าถึง 5.6 แสนล้านบาท และถ้าย้อนหลังไป 20 ปี คือ ปี 2535 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของจีดีพีเท่านั้น
สถิตินี้สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยได้เพิ่มสูงเกือบ 2 เท่าตัวซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไทยต้องลดลงอย่างแน่นอน เพราะคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
ผมเคยนำเสนอผลการศึกษาของนักวิชาการต่างประเทศพบว่า จากการสุ่มตัวอย่าง 60 ประเทศทุกภูมิภาคของโลกพบว่า ราคาน้ำมัน (เฉพาะน้ำมัน) เมื่อเทียบกับรายได้ พบว่าของคนไทยเราสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
ในการจัดอันดับโลก ถ้าเป็นเรื่องแย่ๆ เลวๆ เรามักจะได้อันดับต้นๆ ของโลก แต่เรื่องดีๆ เช่น ความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เรามักจะได้อันดับโหล่ๆ เสมอและตกต่ำลงตลอดในช่วง 20 ปีมานี้
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นข่าวและคนไทยไม่ได้รับรู้ คือจากการสำรวจปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำจืดซึ่งได้แก่ในคลอง แม่น้ำ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเราได้อันดับบ๊วยจากการสำรวจ 141 ทั่วโลก ส่งผลให้คนไทยไม่ค่อยมีปลาน้ำจืดธรรมชาติที่อร่อยๆ ให้รับประทานกัน ยกเว้น ปลานิล ปลาทับทิม
กลับมาที่เรื่องพลังงานอีกทีครับ
เราจ่ายค่าไฟฟ้าปีละ 5.6 แสนล้านบาท โดยที่เชื้อเพลิงกว่าร้อยละ 99 มาจากแหล่งพลังงานผูกขาดคือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่
การผูกขาดมาจากนโยบายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นอิสระ (ทั้งผู้สมัครที่ต้องสังกัดพรรคและผู้เลือกที่ผูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร) และไม่เป็นธรรม(ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่หนึ่ง)
คนไทยถูกพ่อค้าพลังงานมอมเมาว่า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้กับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ) ว่า เป็นพลังงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่พลังงานมนุษย์ทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปีนั้นมีปริมาณเท่ากับพลังงานที่แสงอาทิตย์ส่องมาถึงผิวโลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคงและความเพียงพอครับ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ทั้งๆ ที่โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าประเทศเยอรมนีประมาณ 1.5 เท่า แต่ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นจำนวนมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
กล่าวคือ ในปี 2555 สามารถผลิตได้ถึง 28,500 ล้านหน่วย หรือคิดเป็น 18% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศในปีเดียวกันคือประมาณ 161,000 ล้านหน่วย ดังตารางที่แนบ (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php)
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูครับ ถ้าประเทศไทยเรามีนโยบายเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนเองตามที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้จะเกิดผลดีอย่างไร
นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ที่จะก่อสร้างใหม่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ และยังไม่นับในอีกหลายพื้นที่ที่กำลังผลิตอยู่ เช่น ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
แต่คำถามก็คือจะทำอย่างไร?
จากบทเรียนของประเทศเยอรมนีพบว่า ได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตกระแสไฟฟ้า ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การเสนอกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ของรัฐบาล แต่มาจากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 2-3 คนของพรรค Social Democrat Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กเท่านั้น
แต่ทำไมกฎหมายฉบับนี้จึงสามารถผ่านสภาได้ฉลุย และประเทศอื่นๆ อีก 40 กว่าประเทศนำไปเป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทยด้วย (แต่ประเทศไทยเรานำมาใช้อย่างบิดเบือนและผิดหลักการอย่างจงใจ)
คำตอบก็คือเพราะการเมืองของภาคพลเมืองของชาวเยอรมันเข้มแข็งมาก (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่สอง) นอกจากเยอรมนีต้องบอบช้ำกับการแพ้สงคราม ความกังวลกับการระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลแล้ว ความตื่นตัวของกระบวนการสีเขียว (จนเกิดเป็นพรรคกรีน) ในภาคประชาชนได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก ด้วยเหตุนี้นักการเมืองจึงต้องรับฟังเสียงของประชาชน
ล่าสุด จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นระเบิดจากกรณีสึนามิที่เมืองฟูกุชิมะ เมื่อปี 2553 ได้ทำให้ความคิดที่จะขยายอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดิมของรัฐบาลต้องล้มเลิกไป นี่เป็นการตอกย้ำถึงพลังการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ตรงกันข้ามกับประเทศไทยเราครับ
ลองแจงนับกันดูซิครับว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมาในระบบรัฐสภาที่ความต่อเนื่อง มีกฎหมายผ่านไปได้กี่ฉบับ นี่ยังไม่นับว่าแต่ละฉบับเป็นประโยชน์กับประชาชนแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลักหลับ หรือการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตัวอย่างของความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่ดีตัวอย่างหนึ่งก็คือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61 ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ประชาชนได้เรียกร้องผลักดันโดยการลงชื่อเสนอกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 16 ปีกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่คลอด
ทั้งๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 3 วาระใน 2 รัฐบาล ผ่านวุฒิสภามา 2 รอบ แทนที่สภาผู้แทนราษฎรจะใช้เวลาสัก 20 นาที (ก่อนปิดสมัยประชุม 28 พฤศจิกายน) ก็สามารถคลอดกฎหมายฉบับนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคทุกคนได้แล้ว
แต่เขาก็ไม่สนใจ กลับไปออกกฎหมายยกโทษให้คนโกงซึ่งไม่มีชาติใดในโลกเขาทำกันเสียนี่
เมื่อสถานการณ์การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ เราจะหวังอะไรจากการเมืองแบบเก่าครับ และถ้าไม่ปฎิรูปตอนนี้แล้วจะต้องให้รอถึง พ.ศ.ไหน หรือจะต้องรอจนกว่าพ่อค้าพลังงานได้รับโฉนดบนดวงอาทิตย์แบบผูกขาดเบ็ดเสร็จเสียก่อน
แต่ประชาชนไทยเขาสรุปแล้วว่า รอไม่ได้แล้วครับ และไม่ต้องการให้ความเน่าเฟะร่วมของสังคมต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น 81 ปีของการมีประชาธิปไตยจอมปลอมครับ