คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
แม้ว่าประเทศไทยจะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ หลายระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล จนถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จนทำให้ประชาชนสุดจะอดทนได้ จึงได้ลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องจนกลายเป็น “มวลมหาประชาชน” และได้ประกาศเจตนารมณ์ให้มี การปฏิรูปประเทศไทย ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ แต่ในทุกด้าน และทุกระดับนั้นต้องมีลักษณะร่วมหรือเหมือนกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
คำถามก็คือ ลักษณะร่วมดังกล่าวคืออะไร และเราจะปฏิรูปไปสู่อะไร ในที่นี้ผมจะขอนำตัวอย่างเพียงด้านเดียว คือ ด้านพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ประชาชนถูกมอมเมา และถูกละเมิดอย่างไม่รู้สึกตัวมากล่าวถึงให้เป็นรูปธรรม
แต่ก่อนจะกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าว เรามาทำความเข้าใจกับ 2 ภาพซึ่งผมคิดว่ามีลักษณะที่สะท้อนความหมายในย่อหน้าแรกคื อลักษณะร่วมที่สำคัญ
ซ้ายมือเป็นภาพถ่ายจากของจริงจากธรรมชาติ (ชื่อ Romanesco broccoli) ส่วนขวามือเป็นภาพตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ามือคน
เราจะเห็นว่า แต่ละยอดเล็กๆ ของบร็อกโคลี มีลักษณะเหมือน หรือคล้ายกับภาพใหญ่ทั้งภาพ และถ้าเราตัดยอดที่ย่อยเล็กลงไปอีก จะพบว่าภาพย่อยเล็กก็ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับภาพใหญ่อีก
คำอธิบายดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเราพิจารณาฝ่ามือในภาพข้างต้น เมื่อตัดหัวแม่มือแรกที่ยื่นมาจากแขน เราจะได้ภาพที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิม เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุดเราก็จะได้ภาพเล็กที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิมทุกครั้ง
นักคณิตศาสตร์เรียกความเหมือนของภาพดังกล่าวว่า Fractal หรือ Self-Similarity
ลักษณะร่วมของระบอบการปกครองจากระดับสูงสุดคือ รัฐบาล กระทรวง กรม องค์กรต่างๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จนถึงองค์การบริหารส่วนตำบล ก็มีลักษณะเดียวกันกับภาพบร็อกโคลีและภาพฝ่ามือดังที่กล่าวมาแล้ว
ถ้าพูดถึงผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวม ลักษณะร่วมกันของแต่ละองค์กรแต่ละระดับก็คือ ความเน่าเฟะทุกระดับ จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ในระดับประเทศ
คราวนี้มากล่าวถึงสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ในทัศนะของผมแล้ว ถ้ากล่าวอย่างกว้างมากๆ และเป็นอุดมคติมากๆ ก็คือ เราไม่ได้ยึดตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของมนุษย์ทั่วโลก และเป็นข้อแรกด้วยคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเป็นอิสระ และเทียมเท่ากันในด้านของศักดิ์ศรี และสิทธิ” (ขอขยายความพร้อมกันในภายหลัง)
ถ้าขยายหลักการดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ และยุติธรรม
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมาย และกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ละเมิดหลักการประชาธิปไตยครบทุกข้อ ทั้งละเมิดสิทธิชุมชนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทด้วย โดยที่ฟางเส้นสุดท้ายคือการ “ลักหลับ” ออกกฎหมายไม่เอาโทษให้แก่คนโกงชาติ ขณะเดียวกัน ประชาชนเองก็ถูกมอมเมาให้หลับใหลจนลืมสิทธิของตนเอง เพิ่งมาตกใจตื่นก็ตอนนี้แหละ
ขอบทเรียนการตื่นรู้ของประชาชนในครั้งนี้ จงคุ้มครองประชาชนไทยตลอดไป
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่เป็นชื่อบทความนี้ครับ ถ้ากล่าวในภาพรวมก็เป็นเรื่องนโยบายพลังงาน ซึ่งมีลักษณะร่วมเดียวกันกับปัญหาใหญ่ของประเทศไทย หรือลักษณะของบร็อกโคลีดังที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาร่วมดังกล่าว คือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยตามหลักการ 4 ข้อ
ใครที่คิดว่าเรื่องนโยบายพลังงานเป็นเรื่องเล็กเกินกว่าที่จะให้ความสนใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ก็ลองมาดูสถิติกันก่อน
ในปี 2555 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในจำนวนนี้เป็นค่าไฟฟ้าถึง 5.6 แสนล้านบาท และถ้าย้อนหลังไป 20 ปี คือ ปี 2535 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของจีดีพีเท่านั้น
สถิตินี้สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยได้เพิ่มสูงเกือบ 2 เท่าตัว ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไทยต้องลดลงอย่างแน่นอน เพราะคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
ผมเคยนำเสนอผลการศึกษาของนักวิชาการต่างประเทศพบว่า จากการสุ่มตัวอย่าง 60 ประเทศทุกภูมิภาคของโลกพบว่า ราคาน้ำมัน (เฉพาะน้ำมัน) เมื่อเทียบกับรายได้ พบว่าของคนไทยเราสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
ในการจัดอันดับโลก ถ้าเป็นเรื่องแย่ๆ เลวๆ เรามักจะได้อันดับต้นๆ ของโลก แต่เรื่องดีๆ เช่น ความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เรามักจะได้อันดับโหล่ๆ เสมอ และตกต่ำลงตลอดในช่วง 20 ปีมานี้
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นข่าว และคนไทยไม่ได้รับรู้ คือ จากการสำรวจปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำจืดซึ่งได้แก่ ในคลอง แม่น้ำ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเราได้อันดับบ๊วยจากการสำรวจ 141 ทั่วโลก ส่งผลให้คนไทยไม่ค่อยมีปลาน้ำจืดธรรมชาติที่อร่อยๆ ให้รับประทานกัน ยกเว้น ปลานิล ปลาทับทิม
กลับมาที่เรื่องพลังงานอีกทีครับ
เราจ่ายค่าไฟฟ้าปีละ 5.6 แสนล้านบาท โดยที่เชื้อเพลิงกว่าร้อยละ 99 มาจากแหล่งพลังงานผูกขาดคือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่
การผูกขาดมาจากนโยบายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นอิสระ (ทั้งผู้สมัครที่ต้องสังกัดพรรค และผู้เลือกที่ผูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร) และไม่เป็นธรรม (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่หนึ่ง)
คนไทยถูกพ่อค้าพลังงานมอมเมาว่า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้แก่มนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ) ว่า เป็นพลังงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่พลังงานมนุษย์ทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปีนั้นมีปริมาณเท่ากับพลังงานที่แสงอาทิตย์ส่องมาถึงผิวโลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคง และความเพียงพอครับ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ทั้งๆ ที่โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าประเทศเยอรมนี ประมาณ 1.5 เท่า แต่ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นจำนวนมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
กล่าวคือ ในปี 2555 สามารถผลิตได้ถึง 28,500 ล้านหน่วย หรือคิดเป็น 18% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศในปีเดียวกันคือ ประมาณ 161,000 ล้านหน่วย ดังตารางที่แนบ (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php)
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูครับ ถ้าประเทศไทยเรามีนโยบายเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนเองตามที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้จะเกิดผลดีอย่างไร
นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้ให้แก่คนทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างใหม่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ และยังไม่นับในอีกหลายพื้นที่ที่กำลังผลิตอยู่ เช่น ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
แต่คำถามก็คือจะทำอย่างไร?
จากบทเรียนของประเทศเยอรมนีพบว่า ได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตกระแสไฟฟ้า ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การเสนอกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ของรัฐบาล แต่มาจากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 2-3 คน ของพรรค Social Democrat Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กเท่านั้น
แต่ทำไมกฎหมายฉบับนี้จึงสามารถผ่านสภาได้ฉลุย และประเทศอื่นๆ อีก 40 กว่าประเทศนำไปเป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทยด้วย (แต่ประเทศไทยเรานำมาใช้อย่างบิดเบือน และผิดหลักการอย่างจงใจ)
คำตอบก็คือ เพราะการเมืองของภาคพลเมืองของชาวเยอรมันเข้มแข็งมาก (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่สอง) นอกจากเยอรมนี ต้องบอบช้ำกับการแพ้สงคราม ความกังวลกับการระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลแล้ว ความตื่นตัวของกระบวนการสีเขียว (จนเกิดเป็นพรรคกรีน) ในภาคประชาชนได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก ด้วยเหตุนี้นักการเมืองจึงต้องรับฟังเสียงของประชาชน
ล่าสุด จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นระเบิด จากกรณีสึนามิที่เมืองฟูกุชิมะ เมื่อปี 2553 ได้ทำให้ความคิดที่จะขยายอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดิมของรัฐบาลต้องล้มเลิกไป นี่เป็นการตอกย้ำถึงพลังการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ตรงกันข้ามกับประเทศไทยเราครับ
ลองแจงนับกันดูสิครับว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ในระบบรัฐสภาที่ความต่อเนื่อง มีกฎหมายผ่านไปได้กี่ฉบับ นี่ยังไม่นับว่าแต่ละฉบับเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลักหลับ หรือการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ตัวอย่างของความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่ดีตัวอย่างหนึ่งก็คือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61 ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ประชาชนได้เรียกร้องผลักดันโดยการลงชื่อเสนอกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 16 ปี กฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่คลอด
ทั้งๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 3 วาระใน 2 รัฐบาล ผ่านวุฒิสภามา 2 รอบ แทนที่สภาผู้แทนราษฎรจะใช้เวลาสัก 20 นาที (ก่อนปิดสมัยประชุม 28 พฤศจิกายน) ก็สามารถคลอดกฎหมายฉบับนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคทุกคนได้แล้ว
แต่เขาก็ไม่สนใจ กลับไปออกกฎหมายยกโทษให้คนโกงซึ่งไม่มีชาติใดในโลกเขาทำกันเสียนี่
เมื่อสถานการณ์การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ เราจะหวังอะไรจากการเมืองแบบเก่าครับ และถ้าไม่ปฏิรูปตอนนี้แล้วจะต้องให้รอถึง พ.ศ.ไหน หรือจะต้องรอจนกว่าพ่อค้าพลังงานได้รับโฉนดบนดวงอาทิตย์แบบผูกขาดเบ็ดเสร็จเสียก่อน
แต่ประชาชนไทยเขาสรุปแล้วว่า รอไม่ได้แล้วครับ และไม่ต้องการให้ความเน่าเฟะร่วมของสังคมต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น 81 ปีของการมีประชาธิปไตยจอมปลอมครับ
โดย...ประสาท มีแต้ม
แม้ว่าประเทศไทยจะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ หลายระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล จนถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จนทำให้ประชาชนสุดจะอดทนได้ จึงได้ลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องจนกลายเป็น “มวลมหาประชาชน” และได้ประกาศเจตนารมณ์ให้มี การปฏิรูปประเทศไทย ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ แต่ในทุกด้าน และทุกระดับนั้นต้องมีลักษณะร่วมหรือเหมือนกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
คำถามก็คือ ลักษณะร่วมดังกล่าวคืออะไร และเราจะปฏิรูปไปสู่อะไร ในที่นี้ผมจะขอนำตัวอย่างเพียงด้านเดียว คือ ด้านพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ประชาชนถูกมอมเมา และถูกละเมิดอย่างไม่รู้สึกตัวมากล่าวถึงให้เป็นรูปธรรม
แต่ก่อนจะกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าว เรามาทำความเข้าใจกับ 2 ภาพซึ่งผมคิดว่ามีลักษณะที่สะท้อนความหมายในย่อหน้าแรกคื อลักษณะร่วมที่สำคัญ
ซ้ายมือเป็นภาพถ่ายจากของจริงจากธรรมชาติ (ชื่อ Romanesco broccoli) ส่วนขวามือเป็นภาพตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ามือคน
เราจะเห็นว่า แต่ละยอดเล็กๆ ของบร็อกโคลี มีลักษณะเหมือน หรือคล้ายกับภาพใหญ่ทั้งภาพ และถ้าเราตัดยอดที่ย่อยเล็กลงไปอีก จะพบว่าภาพย่อยเล็กก็ยังคงมีลักษณะเดียวกันกับภาพใหญ่อีก
คำอธิบายดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเราพิจารณาฝ่ามือในภาพข้างต้น เมื่อตัดหัวแม่มือแรกที่ยื่นมาจากแขน เราจะได้ภาพที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิม เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุดเราก็จะได้ภาพเล็กที่เหมือนกับภาพใหญ่เดิมทุกครั้ง
นักคณิตศาสตร์เรียกความเหมือนของภาพดังกล่าวว่า Fractal หรือ Self-Similarity
ลักษณะร่วมของระบอบการปกครองจากระดับสูงสุดคือ รัฐบาล กระทรวง กรม องค์กรต่างๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด จนถึงองค์การบริหารส่วนตำบล ก็มีลักษณะเดียวกันกับภาพบร็อกโคลีและภาพฝ่ามือดังที่กล่าวมาแล้ว
ถ้าพูดถึงผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวม ลักษณะร่วมกันของแต่ละองค์กรแต่ละระดับก็คือ ความเน่าเฟะทุกระดับ จนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ในระดับประเทศ
คราวนี้มากล่าวถึงสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ในทัศนะของผมแล้ว ถ้ากล่าวอย่างกว้างมากๆ และเป็นอุดมคติมากๆ ก็คือ เราไม่ได้ยึดตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของมนุษย์ทั่วโลก และเป็นข้อแรกด้วยคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเป็นอิสระ และเทียมเท่ากันในด้านของศักดิ์ศรี และสิทธิ” (ขอขยายความพร้อมกันในภายหลัง)
ถ้าขยายหลักการดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ และยุติธรรม
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมาย และกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
กล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ละเมิดหลักการประชาธิปไตยครบทุกข้อ ทั้งละเมิดสิทธิชุมชนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทด้วย โดยที่ฟางเส้นสุดท้ายคือการ “ลักหลับ” ออกกฎหมายไม่เอาโทษให้แก่คนโกงชาติ ขณะเดียวกัน ประชาชนเองก็ถูกมอมเมาให้หลับใหลจนลืมสิทธิของตนเอง เพิ่งมาตกใจตื่นก็ตอนนี้แหละ
ขอบทเรียนการตื่นรู้ของประชาชนในครั้งนี้ จงคุ้มครองประชาชนไทยตลอดไป
คราวนี้มาถึงเรื่องสุดท้ายที่เป็นชื่อบทความนี้ครับ ถ้ากล่าวในภาพรวมก็เป็นเรื่องนโยบายพลังงาน ซึ่งมีลักษณะร่วมเดียวกันกับปัญหาใหญ่ของประเทศไทย หรือลักษณะของบร็อกโคลีดังที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาร่วมดังกล่าว คือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยตามหลักการ 4 ข้อ
ใครที่คิดว่าเรื่องนโยบายพลังงานเป็นเรื่องเล็กเกินกว่าที่จะให้ความสนใจในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ก็ลองมาดูสถิติกันก่อน
ในปี 2555 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในจำนวนนี้เป็นค่าไฟฟ้าถึง 5.6 แสนล้านบาท และถ้าย้อนหลังไป 20 ปี คือ ปี 2535 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของจีดีพีเท่านั้น
สถิตินี้สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยได้เพิ่มสูงเกือบ 2 เท่าตัว ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไทยต้องลดลงอย่างแน่นอน เพราะคนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
ผมเคยนำเสนอผลการศึกษาของนักวิชาการต่างประเทศพบว่า จากการสุ่มตัวอย่าง 60 ประเทศทุกภูมิภาคของโลกพบว่า ราคาน้ำมัน (เฉพาะน้ำมัน) เมื่อเทียบกับรายได้ พบว่าของคนไทยเราสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก
ในการจัดอันดับโลก ถ้าเป็นเรื่องแย่ๆ เลวๆ เรามักจะได้อันดับต้นๆ ของโลก แต่เรื่องดีๆ เช่น ความโปร่งใสในการบริหารประเทศ เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เรามักจะได้อันดับโหล่ๆ เสมอ และตกต่ำลงตลอดในช่วง 20 ปีมานี้
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นข่าว และคนไทยไม่ได้รับรู้ คือ จากการสำรวจปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำจืดซึ่งได้แก่ ในคลอง แม่น้ำ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเราได้อันดับบ๊วยจากการสำรวจ 141 ทั่วโลก ส่งผลให้คนไทยไม่ค่อยมีปลาน้ำจืดธรรมชาติที่อร่อยๆ ให้รับประทานกัน ยกเว้น ปลานิล ปลาทับทิม
กลับมาที่เรื่องพลังงานอีกทีครับ
เราจ่ายค่าไฟฟ้าปีละ 5.6 แสนล้านบาท โดยที่เชื้อเพลิงกว่าร้อยละ 99 มาจากแหล่งพลังงานผูกขาดคือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่
การผูกขาดมาจากนโยบายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่มีความเป็นอิสระ (ทั้งผู้สมัครที่ต้องสังกัดพรรค และผู้เลือกที่ผูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร) และไม่เป็นธรรม (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่หนึ่ง)
คนไทยถูกพ่อค้าพลังงานมอมเมาว่า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้แก่มนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ) ว่า เป็นพลังงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่พลังงานมนุษย์ทั้งโลกใช้ตลอดทั้งปีนั้นมีปริมาณเท่ากับพลังงานที่แสงอาทิตย์ส่องมาถึงผิวโลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคง และความเพียงพอครับ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ทั้งๆ ที่โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าประเทศเยอรมนี ประมาณ 1.5 เท่า แต่ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นจำนวนมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
กล่าวคือ ในปี 2555 สามารถผลิตได้ถึง 28,500 ล้านหน่วย หรือคิดเป็น 18% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งประเทศในปีเดียวกันคือ ประมาณ 161,000 ล้านหน่วย ดังตารางที่แนบ (ที่มา http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php)
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูครับ ถ้าประเทศไทยเรามีนโยบายเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านของตนเองตามที่ธรรมชาติได้จัดสรรให้จะเกิดผลดีอย่างไร
นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้ให้แก่คนทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 1 หมื่นเมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างใหม่กระจายอยู่ในหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ และยังไม่นับในอีกหลายพื้นที่ที่กำลังผลิตอยู่ เช่น ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
แต่คำถามก็คือจะทำอย่างไร?
จากบทเรียนของประเทศเยอรมนีพบว่า ได้มีการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตกระแสไฟฟ้า ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การเสนอกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ของรัฐบาล แต่มาจากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 2-3 คน ของพรรค Social Democrat Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็กเท่านั้น
แต่ทำไมกฎหมายฉบับนี้จึงสามารถผ่านสภาได้ฉลุย และประเทศอื่นๆ อีก 40 กว่าประเทศนำไปเป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทยด้วย (แต่ประเทศไทยเรานำมาใช้อย่างบิดเบือน และผิดหลักการอย่างจงใจ)
คำตอบก็คือ เพราะการเมืองของภาคพลเมืองของชาวเยอรมันเข้มแข็งมาก (ตามหลักการประชาธิปไตยข้อที่สอง) นอกจากเยอรมนี ต้องบอบช้ำกับการแพ้สงคราม ความกังวลกับการระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลแล้ว ความตื่นตัวของกระบวนการสีเขียว (จนเกิดเป็นพรรคกรีน) ในภาคประชาชนได้ขึ้นสู่กระแสสูงมาก ด้วยเหตุนี้นักการเมืองจึงต้องรับฟังเสียงของประชาชน
ล่าสุด จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นระเบิด จากกรณีสึนามิที่เมืองฟูกุชิมะ เมื่อปี 2553 ได้ทำให้ความคิดที่จะขยายอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดิมของรัฐบาลต้องล้มเลิกไป นี่เป็นการตอกย้ำถึงพลังการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ตรงกันข้ามกับประเทศไทยเราครับ
ลองแจงนับกันดูสิครับว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ในระบบรัฐสภาที่ความต่อเนื่อง มีกฎหมายผ่านไปได้กี่ฉบับ นี่ยังไม่นับว่าแต่ละฉบับเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายลักหลับ หรือการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ตัวอย่างของความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่ดีตัวอย่างหนึ่งก็คือ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61 ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ประชาชนได้เรียกร้องผลักดันโดยการลงชื่อเสนอกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันผ่านมาแล้ว 16 ปี กฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่คลอด
ทั้งๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมา 3 วาระใน 2 รัฐบาล ผ่านวุฒิสภามา 2 รอบ แทนที่สภาผู้แทนราษฎรจะใช้เวลาสัก 20 นาที (ก่อนปิดสมัยประชุม 28 พฤศจิกายน) ก็สามารถคลอดกฎหมายฉบับนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคทุกคนได้แล้ว
แต่เขาก็ไม่สนใจ กลับไปออกกฎหมายยกโทษให้คนโกงซึ่งไม่มีชาติใดในโลกเขาทำกันเสียนี่
เมื่อสถานการณ์การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ เราจะหวังอะไรจากการเมืองแบบเก่าครับ และถ้าไม่ปฏิรูปตอนนี้แล้วจะต้องให้รอถึง พ.ศ.ไหน หรือจะต้องรอจนกว่าพ่อค้าพลังงานได้รับโฉนดบนดวงอาทิตย์แบบผูกขาดเบ็ดเสร็จเสียก่อน
แต่ประชาชนไทยเขาสรุปแล้วว่า รอไม่ได้แล้วครับ และไม่ต้องการให้ความเน่าเฟะร่วมของสังคมต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น 81 ปีของการมีประชาธิปไตยจอมปลอมครับ