ในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนกระต่ายขาเดียวว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านให้เหตุผลว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรมเพราะรัฐบาลนี้ได้ใช้เสียงข้างมากออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกง คนก่อคดีอาญา และตามด้วยการไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย
ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ จริงๆ แล้วระบอบประชาธิปไตยมันหมายถึงอะไรกันแน่ ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างจึงจะเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย ทำไมความหมายของประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบการปกครองที่มีข้อเสียน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ จึงได้ถูกลดทอนความหมายลงมาแค่จำนวนมือของคนในสภาผู้แทนเท่านั้น
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือประชาธิปไตยได้ถูกลดทอนความหมายลงมาแค่เป็นจำนวนในวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์มาตลอด ผมรู้สึกเจ็บปวดซ้ำสอง เพราะแท้ที่จริงแล้วคณิตศาสตร์ไม่ได้มีความหมายเป็นแค่เรื่องของตัวเลข แต่มันมีองค์ประกอบสำคัญที่มากกว่าตัวเลขด้วย เช่นเดียวกับระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์ประกอบที่สำคัญมากกว่าการเลือกตั้ง
แต่ก่อนจะกล่าวถึงความหมายที่แท้จริงของ “ประชาธิปไตย” และ “คณิตศาสตร์” ผมขอนำคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ มาชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของการเรียนรู้อย่างผิวเผินของสังคมไทยที่ผ่านมา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า “Everything should be made as simple as possible, but not simpler.” ซึ่งผมขอแปลว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำ (หรืออธิบาย) ให้ง่ายที่สุด เท่าที่จะสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ง่ายกว่านี้”
ประเด็นที่ชวนคิดก็ตรงท่อนหลังสุดของประโยคนี้ที่ว่า “แต่ต้องไม่ง่ายกว่านี้” ว่ามันมีความหมายอะไรและสำคัญอย่างไร
คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าวิชาคณิตศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณหรือการคิดเลข ใครที่คิดเลขได้เร็วและถูกต้องจะได้รับคำชมเชยว่า “เก่งคณิตศาสตร์” หรือ “เก่งเลข” ดังนั้น ผู้ปกครองจำนวนมากจึงส่งลูกไปเรียนพิเศษเพื่อให้คิดเลขได้เร็ว แล้วเด็กๆ ก็สามารถทำได้เร็วจริงตามตั้งใจ (ประเทศนิวซีแลนด์ ไม่มีการกวดวิชา นักเรียนไม่มีการเข้าแถวเคารพธงชาติ บ้านเราเคารพธงชาติวันละ 2 เวลา แต่ทั้งโกงชาติและทะเลาะกันเองอย่างอุตลุด)
แต่ความจริงแล้ว วิชาคณิตศาสตร์ไม่ได้มีเฉพาะการคำนวณเท่านั้น แต่ประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ว่าด้วยเรื่อง ปริมาณ (quantity - ว่าด้วยจำนวน ซึ่งไม่ใช่แค่การคำนวณเท่านั้น) โครงสร้าง (structure- หรือรูปแบบ (pattern) ทั้งที่เป็นโครงสร้างจับต้องได้ เช่น เรขาคณิต และโครงสร้างนามธรรม เช่น พีชคณิตนามธรรม) สเปส (space-บริเวณ) และการเปลี่ยนแปลง (change) ในบางวิชาของคณิตศาสตร์ชั้นสูงแทบจะไม่มีการคำนวณเลยดังที่เราเข้าใจเสียด้วยซ้ำ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของโลกบางคนไม่สามารถคิดเงินทอนเวลาซื้อของได้
นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกถึงกับกล่าวว่า ถ้าโลกนี้ปราศจากวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง (ในวิชาคณิตศาสตร์) เทคโนโลยีของโลกก็ไม่มีทางก้าวหน้าดังทุกวันนี้
ดังนั้น ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนต่อวิชาคณิตศาสตร์จึงนำไปสู่การอบรมบุตรหลานที่ไม่ถูกต้อง และในบางกรณีอาจนำไปสู่การปิดกั้นความสามารถทางการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นเสียด้วยซ้ำ
ในเบื้องต้น ผมว่าแทนที่จะสอนบุตรหลานให้คิดเลขเร็วอย่างเดียว เราน่าจะเน้นที่การสอนให้เด็กรู้จักสังเกต หารูปแบบทั้งที่เป็นธรรมชาติ สิ่งก่อสร้าง และตัวเลขด้วย สอนให้รู้จักประมาณการหรือคาดหมายการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นต้น
เพื่อขยายคำอธิบายที่สั้นและย่อมากดังกล่าว ผมขอนำภาพมาประกอบด้วย ภาพซ้ายมือนอกจากจะเป็นการคำนวณให้ได้ผลลัพธ์แล้ว ยังแสดงถึงการจัดรูปแบบ (pattern) ด้วย ถ้าจะฝึกให้เด็กๆ คิดก็ลองตั้งคำถามว่า ถ้า 11X11 (ซึ่งเป็นจำนวน 2 หลัก) จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 121 โดยมี 2 อยู่ตรงกลาง และถ้าเป็นจำนวน 3 หลัก คือ 111X111 = 12,321 โดยมี 3 อยู่ตรงกลางและขนาบด้วยเลข 2 ต่อไปก็ลองตั้งคำถามไปเรื่อยๆ จนถึงจำนวน 9 หลัก (ดังรูป) และถ้าเป็นจำนวน 10 หลักจะได้อะไร เป็นต้น สำหรับอีกสองภาพที่เหลือมาจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปแบบการเรียงตัวที่แปลกและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ซึ่งก็มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ซ่อนอยู่อย่างสวยงามและซับซ้อน หากส่วนย่อยถูกเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่อย่างลงตัวที่สวยงามได้
ประเด็นที่จะขอสรุปในเบื้องต้นก็คือ เพราะเราเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์น้อยกว่าความเป็นจริงที่มีอยู่ (หรือที่ไอน์สไตน์ได้เตือนไว้ว่าต้องไม่ง่ายกว่านี้) จึงนำไปสู่การให้การศึกษาอย่างไม่สมบูรณ์แบบทั้งการพัฒนาของสมองและการนำไปใช้ประโยชน์จริง
ต่อไปผมจะกล่าวถึงคำอธิบายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นคำที่มีความซับซ้อนทั้งความหมายและกระบวนการ คำอธิบายที่โด่งดังที่สุดในโลกและเราต่างก็ท่องจำกันจนขึ้นใจคือ “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” (คำพูดของประธานาธิบดีลินคอล์น ของสหรัฐอเมริกา)
ถ้าเรานำคำพูดของไอน์สไตน์มาจับ ก็ต้องตั้งคำถามว่า เป็นคำอธิบายที่ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แล้วหรือยัง แล้วถ้าจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้แล้ว เมื่อนำไปปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความเสียหายไหม
ผมว่าคำอธิบายนี้ได้กล่าวถึงทั้งความหมาย ทั้งกระบวนการโดยประชาชนและมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประชาชน แต่มันมีองค์ประกอบที่จำเป็นครบถ้วนแล้วหรือ?กลับมาที่ความหมายที่ครบถ้วนและจำเป็นของ “ประชาธิปไตย” อีกทีครับ แล้วมาช่วยกันดูซิว่า หากความหมายที่น้อยกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ (อย่างที่ไอน์สไตน์เตือน) แล้วจะเกิดปัญหาอะไร
ผมลองค้นคำว่า “What is Democracy” ในกูเกิล ก็ได้พบความหมายที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นมาจาก Stanford University บอกว่า “คือระบบการปกครองที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ” คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม (ผู้ลงคะแนนต้องสามารถกระทำได้อย่างเป็นความลับ ปราศจากการข่มขู่คุกคามและความรุนแรง-ไม่ยักบอกว่าปราศจากการซื้อเสียง เพราะคงคิดไม่ถึงว่าเมืองไทยมีเยอะ)
ถ้าเอาความหมายนี้มาส่องดูในบ้านเรา พบว่าเราขาดความเป็นอิสระตั้งแต่การบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคการเมืองแล้ว ซึ่งนักวิชาการบางคนบอกว่ามีแค่ 2 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีข้อกำหนดดังกล่าว ยังไม่จำเป็นต้องพูดถึงการต้องยกมือในสภาฯ
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง ทั้งในทางการเมืองและวิถีชีวิตของพลเมือง
ในประเด็นนี้ ผมเห็นว่า การลุกขึ้นมา “ขอคืนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย” ครั้งนี้ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเมื่อเทียบกับระยะ 81 ปีของการมีประชาธิปไตย แต่นอกจากนั้นเรามักจะถูกมอมเมาให้หลงลืมการทำหน้าที่ต่อสาธารณะ ถูกมอมเมาโดยสื่อมวลชนที่ตกอยู่ใต้อำนาจทุน โชคดีที่เรามีการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ อำนาจของปัจเจกชนจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน (ซึ่งสิทธิดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ) คำว่า “สิทธิ” ตามตัวหนังสือหมายถึง “อำนาจอันชอบธรรม” ซึ่งต้องถือเป็น “หน้าที่” ของรัฐที่ต้องคุ้มครองดูแลไม่ให้ใครมาละเมิด
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้คนโกงชาติของรัฐบาลนี้ได้ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยที่มิอาจให้อภัยได้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงการไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ
ในทัศนะของผมแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 4 นี้ไม่สามารถตัดออกไปจากคำอธิบายของคำว่า”ประชาธิปไตย” ได้เลย
ไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว
แต่เราได้รับคำอธิบายอย่างผิวเผินแบบง่ายๆ สั้นๆ ว่า “คือระบบที่ถือมติตามเสียงข้างมาก” โดยไม่คำนึงถึงอีก 3 องค์ประกอบคือ (1) การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของพลเมือง (2) การเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึงส่วนน้อยเท่านั้น แต่หมายรวมถึงปัจเจกชนเป็นรายๆ ด้วย และ (3) ต้องใช้หลักนิติธรรมอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่ได้ทำงานเป็นอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาเกือบสองปีพบว่า ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐทั่วประเทศต่างขอเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสังคม ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการขุดแม่น้ำสายใหม่ (Flood Way) ยาวร่วม 300 กิโลเมตร ที่ประชาชนในแต่ละจังหวัดได้รวมตัวกันแสดงออกว่า “ไม่เอา” และได้ล้มเวทีรับฟังความคิดเห็นไปเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดทางปลายๆ น้ำ
ในการลุกขึ้นสู้ของประชาชนจำนวนมหาศาลคราวนี้ได้เกิดประเด็นใหม่ที่น่าสนใจศึกษาให้ลึกซึ้ง เช่น สันติวิธีเชิงรุก ซึ่งไม่ใช่การนั่งนิ่งๆ จนก้นเปื่อยอย่างที่เราเคยเข้าใจกัน แต่สามารถยึดสถานที่ราชการอย่างสงบและปราศจากอาวุธและการข่มขู่ให้หวาดกลัว
นอกจากนี้ยังมีคำว่า “สภาประชาชน” ซึ่งนักกฎหมายมหาชนที่มีประสบการณ์จากหลายๆ ประเทศบอกว่าสามารถทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนกำลังเรียกหาความกระหายใคร่รู้อย่างลึกซึ้งและครบถ้วนของสังคมไทยทุกคนครับ มิเช่นนั้นเราอาจจะผิดพลาดซ้ำรอยเดิมอีกไปอีกนาน
โดยสรุป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่การคิดเลข ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้งโดยใช้จำนวนเลขคณิตเป็นตัวตัดสิน และนักการตลาดที่มีความจำเป็นต้องแปลงเนื้อหาวิชาการที่ซับซ้อนมาเป็นภาษาตลาดที่เข้าใจได้ง่ายๆ จนถึงง่ายที่สุด แต่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ทำให้ง่ายกว่านี้ จนกลายเป็นเรื่องชุ่ยและสร้างปัญหาต่อประเทศและสังคมไทยในขณะนี้
ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ จริงๆ แล้วระบอบประชาธิปไตยมันหมายถึงอะไรกันแน่ ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างจึงจะเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย ทำไมความหมายของประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบการปกครองที่มีข้อเสียน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ จึงได้ถูกลดทอนความหมายลงมาแค่จำนวนมือของคนในสภาผู้แทนเท่านั้น
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือประชาธิปไตยได้ถูกลดทอนความหมายลงมาแค่เป็นจำนวนในวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์มาตลอด ผมรู้สึกเจ็บปวดซ้ำสอง เพราะแท้ที่จริงแล้วคณิตศาสตร์ไม่ได้มีความหมายเป็นแค่เรื่องของตัวเลข แต่มันมีองค์ประกอบสำคัญที่มากกว่าตัวเลขด้วย เช่นเดียวกับระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์ประกอบที่สำคัญมากกว่าการเลือกตั้ง
แต่ก่อนจะกล่าวถึงความหมายที่แท้จริงของ “ประชาธิปไตย” และ “คณิตศาสตร์” ผมขอนำคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ มาชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของการเรียนรู้อย่างผิวเผินของสังคมไทยที่ผ่านมา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า “Everything should be made as simple as possible, but not simpler.” ซึ่งผมขอแปลว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำ (หรืออธิบาย) ให้ง่ายที่สุด เท่าที่จะสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ง่ายกว่านี้”
ประเด็นที่ชวนคิดก็ตรงท่อนหลังสุดของประโยคนี้ที่ว่า “แต่ต้องไม่ง่ายกว่านี้” ว่ามันมีความหมายอะไรและสำคัญอย่างไร
คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าวิชาคณิตศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณหรือการคิดเลข ใครที่คิดเลขได้เร็วและถูกต้องจะได้รับคำชมเชยว่า “เก่งคณิตศาสตร์” หรือ “เก่งเลข” ดังนั้น ผู้ปกครองจำนวนมากจึงส่งลูกไปเรียนพิเศษเพื่อให้คิดเลขได้เร็ว แล้วเด็กๆ ก็สามารถทำได้เร็วจริงตามตั้งใจ (ประเทศนิวซีแลนด์ ไม่มีการกวดวิชา นักเรียนไม่มีการเข้าแถวเคารพธงชาติ บ้านเราเคารพธงชาติวันละ 2 เวลา แต่ทั้งโกงชาติและทะเลาะกันเองอย่างอุตลุด)
แต่ความจริงแล้ว วิชาคณิตศาสตร์ไม่ได้มีเฉพาะการคำนวณเท่านั้น แต่ประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ว่าด้วยเรื่อง ปริมาณ (quantity - ว่าด้วยจำนวน ซึ่งไม่ใช่แค่การคำนวณเท่านั้น) โครงสร้าง (structure- หรือรูปแบบ (pattern) ทั้งที่เป็นโครงสร้างจับต้องได้ เช่น เรขาคณิต และโครงสร้างนามธรรม เช่น พีชคณิตนามธรรม) สเปส (space-บริเวณ) และการเปลี่ยนแปลง (change) ในบางวิชาของคณิตศาสตร์ชั้นสูงแทบจะไม่มีการคำนวณเลยดังที่เราเข้าใจเสียด้วยซ้ำ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของโลกบางคนไม่สามารถคิดเงินทอนเวลาซื้อของได้
นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกถึงกับกล่าวว่า ถ้าโลกนี้ปราศจากวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง (ในวิชาคณิตศาสตร์) เทคโนโลยีของโลกก็ไม่มีทางก้าวหน้าดังทุกวันนี้
ดังนั้น ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนต่อวิชาคณิตศาสตร์จึงนำไปสู่การอบรมบุตรหลานที่ไม่ถูกต้อง และในบางกรณีอาจนำไปสู่การปิดกั้นความสามารถทางการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นเสียด้วยซ้ำ
ในเบื้องต้น ผมว่าแทนที่จะสอนบุตรหลานให้คิดเลขเร็วอย่างเดียว เราน่าจะเน้นที่การสอนให้เด็กรู้จักสังเกต หารูปแบบทั้งที่เป็นธรรมชาติ สิ่งก่อสร้าง และตัวเลขด้วย สอนให้รู้จักประมาณการหรือคาดหมายการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นต้น
เพื่อขยายคำอธิบายที่สั้นและย่อมากดังกล่าว ผมขอนำภาพมาประกอบด้วย ภาพซ้ายมือนอกจากจะเป็นการคำนวณให้ได้ผลลัพธ์แล้ว ยังแสดงถึงการจัดรูปแบบ (pattern) ด้วย ถ้าจะฝึกให้เด็กๆ คิดก็ลองตั้งคำถามว่า ถ้า 11X11 (ซึ่งเป็นจำนวน 2 หลัก) จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 121 โดยมี 2 อยู่ตรงกลาง และถ้าเป็นจำนวน 3 หลัก คือ 111X111 = 12,321 โดยมี 3 อยู่ตรงกลางและขนาบด้วยเลข 2 ต่อไปก็ลองตั้งคำถามไปเรื่อยๆ จนถึงจำนวน 9 หลัก (ดังรูป) และถ้าเป็นจำนวน 10 หลักจะได้อะไร เป็นต้น สำหรับอีกสองภาพที่เหลือมาจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปแบบการเรียงตัวที่แปลกและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ซึ่งก็มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์ซ่อนอยู่อย่างสวยงามและซับซ้อน หากส่วนย่อยถูกเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่อย่างลงตัวที่สวยงามได้
ประเด็นที่จะขอสรุปในเบื้องต้นก็คือ เพราะเราเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์น้อยกว่าความเป็นจริงที่มีอยู่ (หรือที่ไอน์สไตน์ได้เตือนไว้ว่าต้องไม่ง่ายกว่านี้) จึงนำไปสู่การให้การศึกษาอย่างไม่สมบูรณ์แบบทั้งการพัฒนาของสมองและการนำไปใช้ประโยชน์จริง
ต่อไปผมจะกล่าวถึงคำอธิบายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นคำที่มีความซับซ้อนทั้งความหมายและกระบวนการ คำอธิบายที่โด่งดังที่สุดในโลกและเราต่างก็ท่องจำกันจนขึ้นใจคือ “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” (คำพูดของประธานาธิบดีลินคอล์น ของสหรัฐอเมริกา)
ถ้าเรานำคำพูดของไอน์สไตน์มาจับ ก็ต้องตั้งคำถามว่า เป็นคำอธิบายที่ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แล้วหรือยัง แล้วถ้าจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้แล้ว เมื่อนำไปปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความเสียหายไหม
ผมว่าคำอธิบายนี้ได้กล่าวถึงทั้งความหมาย ทั้งกระบวนการโดยประชาชนและมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประชาชน แต่มันมีองค์ประกอบที่จำเป็นครบถ้วนแล้วหรือ?กลับมาที่ความหมายที่ครบถ้วนและจำเป็นของ “ประชาธิปไตย” อีกทีครับ แล้วมาช่วยกันดูซิว่า หากความหมายที่น้อยกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ (อย่างที่ไอน์สไตน์เตือน) แล้วจะเกิดปัญหาอะไร
ผมลองค้นคำว่า “What is Democracy” ในกูเกิล ก็ได้พบความหมายที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นมาจาก Stanford University บอกว่า “คือระบบการปกครองที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ” คือ
หนึ่ง คือระบบการเมืองสำหรับการเลือกหารัฐบาลโดยการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม (ผู้ลงคะแนนต้องสามารถกระทำได้อย่างเป็นความลับ ปราศจากการข่มขู่คุกคามและความรุนแรง-ไม่ยักบอกว่าปราศจากการซื้อเสียง เพราะคงคิดไม่ถึงว่าเมืองไทยมีเยอะ)
ถ้าเอาความหมายนี้มาส่องดูในบ้านเรา พบว่าเราขาดความเป็นอิสระตั้งแต่การบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคการเมืองแล้ว ซึ่งนักวิชาการบางคนบอกว่ามีแค่ 2 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีข้อกำหนดดังกล่าว ยังไม่จำเป็นต้องพูดถึงการต้องยกมือในสภาฯ
สอง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในฐานะพลเมือง ทั้งในทางการเมืองและวิถีชีวิตของพลเมือง
ในประเด็นนี้ ผมเห็นว่า การลุกขึ้นมา “ขอคืนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย” ครั้งนี้ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเมื่อเทียบกับระยะ 81 ปีของการมีประชาธิปไตย แต่นอกจากนั้นเรามักจะถูกมอมเมาให้หลงลืมการทำหน้าที่ต่อสาธารณะ ถูกมอมเมาโดยสื่อมวลชนที่ตกอยู่ใต้อำนาจทุน โชคดีที่เรามีการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ อำนาจของปัจเจกชนจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
สาม การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน (ซึ่งสิทธิดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ) คำว่า “สิทธิ” ตามตัวหนังสือหมายถึง “อำนาจอันชอบธรรม” ซึ่งต้องถือเป็น “หน้าที่” ของรัฐที่ต้องคุ้มครองดูแลไม่ให้ใครมาละเมิด
สี่ การใช้หลักนิติธรรม (Rule of Law) ซึ่งกฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อพลเมืองทุกคน
การออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้คนโกงชาติของรัฐบาลนี้ได้ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยที่มิอาจให้อภัยได้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงการไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ
ในทัศนะของผมแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 4 นี้ไม่สามารถตัดออกไปจากคำอธิบายของคำว่า”ประชาธิปไตย” ได้เลย
ไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว
แต่เราได้รับคำอธิบายอย่างผิวเผินแบบง่ายๆ สั้นๆ ว่า “คือระบบที่ถือมติตามเสียงข้างมาก” โดยไม่คำนึงถึงอีก 3 องค์ประกอบคือ (1) การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของพลเมือง (2) การเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึงส่วนน้อยเท่านั้น แต่หมายรวมถึงปัจเจกชนเป็นรายๆ ด้วย และ (3) ต้องใช้หลักนิติธรรมอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่ได้ทำงานเป็นอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาเกือบสองปีพบว่า ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐทั่วประเทศต่างขอเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสังคม ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ โครงการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการขุดแม่น้ำสายใหม่ (Flood Way) ยาวร่วม 300 กิโลเมตร ที่ประชาชนในแต่ละจังหวัดได้รวมตัวกันแสดงออกว่า “ไม่เอา” และได้ล้มเวทีรับฟังความคิดเห็นไปเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดทางปลายๆ น้ำ
ในการลุกขึ้นสู้ของประชาชนจำนวนมหาศาลคราวนี้ได้เกิดประเด็นใหม่ที่น่าสนใจศึกษาให้ลึกซึ้ง เช่น สันติวิธีเชิงรุก ซึ่งไม่ใช่การนั่งนิ่งๆ จนก้นเปื่อยอย่างที่เราเคยเข้าใจกัน แต่สามารถยึดสถานที่ราชการอย่างสงบและปราศจากอาวุธและการข่มขู่ให้หวาดกลัว
นอกจากนี้ยังมีคำว่า “สภาประชาชน” ซึ่งนักกฎหมายมหาชนที่มีประสบการณ์จากหลายๆ ประเทศบอกว่าสามารถทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ สิ่งเหล่านี้ต่างล้วนกำลังเรียกหาความกระหายใคร่รู้อย่างลึกซึ้งและครบถ้วนของสังคมไทยทุกคนครับ มิเช่นนั้นเราอาจจะผิดพลาดซ้ำรอยเดิมอีกไปอีกนาน
โดยสรุป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่การคิดเลข ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้งโดยใช้จำนวนเลขคณิตเป็นตัวตัดสิน และนักการตลาดที่มีความจำเป็นต้องแปลงเนื้อหาวิชาการที่ซับซ้อนมาเป็นภาษาตลาดที่เข้าใจได้ง่ายๆ จนถึงง่ายที่สุด แต่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ทำให้ง่ายกว่านี้ จนกลายเป็นเรื่องชุ่ยและสร้างปัญหาต่อประเทศและสังคมไทยในขณะนี้