คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
ทุกครั้งที่จะมีการขึ้นราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม หรือน้ำมันเชื้อเพลิงก็มักจะมีการเปรียบราคาของประเทศเรากับประเทศอื่นๆ ถ้ามาจากภาคราชการซึ่งต้องการจะขึ้นราคาก็มักจะอ้างถึงประเทศที่เขามีราคาแพงกว่าเราเพื่อให้ประชาชนยอมรับ เช่น ถ้าจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มก็จะอ้างประเทศลาวซึ่งนำเข้าจากไทย ถ้าเป็นพวกที่ไม่อยากให้ขึ้นราคาประเทศก็จะอ้างประเทศที่เขาถูกกว่าเรา ผมว่าวิธีการทั้งสองดังกล่าวไม่ถูกต้องทั้งสองฝ่าย
แท้ที่จริงแล้ว ถ้าจะมีการเปรียบเทียบจะต้องเปรียบเทียบระหว่างราคาพลังงานกับรายได้เฉลี่ย ของประชากรของแต่ละประเทศจึงจะเป็นธรรม นอกจากนี้ ถ้าจะศึกษาให้ละเอียดและเป็นธรรมมากกว่านี้ก็ควรจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนของเชื้อเพลิง ระบบภาษี สวัสดิการ รวมถึงการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจการพลังงานดังกล่าวด้วย
วันนี้ผมมีข้อมูล และวิธีคิดบางส่วนมานำเสนอครับ ผมเชื่อว่าในตอนท้ายของบทความนี้ ท่านผู้อ่านจะเข้าใจภาพรวมเป็นหลักการทั่วไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคา น้ำมันกับการคอร์รัปชันของแต่ละประเทศ
ผมได้ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bloomberg (http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/) เขียนโดยคุณ Tom Randall แม้จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ผมสงสัย (และผมมีข้อมูลของเมืองไทยบางตัวที่ผมมั่นใจว่าของผมมีความถูกต้องมากกว่า) แต่โดยภาพรวมแล้วก็ต้องถือว่าเป็นข้อมูลที่ดี และทันสมัยพอสมควร รวมทั้งวิธีคิดเปรียบเทียบ ตลอดจนการใช้ศัพท์ที่ทำให้สังคมเข้าใจง่ายขึ้น
เว็บไซต์นี้ได้เปรียบเทียบราคาน้ำมันของประเทศต่างๆ จำนวน 60 ประเทศ กระจายไปทั่วโลก ทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ในจำนวนนี้มีกลุ่มประเทศอาเซียนรวมอยู่ด้วย 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ในตารางข้างล่างนี้ผมคัดมาเพียง 19 ประเทศเท่านั้น
อ้อ จากแหล่งข้อมูลดังกล่าวพบว่า ประเทศมีราคาเฉลี่ยของน้ำมันแพงที่สุดคือ ประเทศตุรกี (ลิตรละ 296.70 บาท ไม่อยู่ในตารางนี้ ในตารางนี้ประเทศที่มีราคาเฉลี่ยแพงที่สุดคือ อิตาลี เกือบ 70 บาท) และประเทศที่มีราคาถูกที่สุดคือ เวเนซุเอลา (ลิตรละ 0.31 บาท) แต่ข้อมูลทั้งสองนี้ไม่สามารถบอกถึงความอยู่ดีกินดี หรือความเจ็บปวดของประชาชนเลย ดังที่ผมได้เกริ่นมาแล้วข้างต้น
คุณ Tom ได้ศึกษาเป็นรายไตรมาสของปี 2556 รวมสองไตรมาส โดยนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ 2 ตัว คือ ราคาน้ำมันเฉลี่ย และรายได้เฉลี่ยรายวันต่อหัวประชากร ในตารางนี้เป็นของไตรมาสที่สองของปีนี้ครับ (ดูตาราง)
ในกรณีประเทศไทย ข้อมูลของคุณ Tom ระบุว่า ราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ปั๊มลิตรละ 36.68 บาท (ข้อมูลนี้เป็นค่าเฉลี่ยทั้งเบนซิน และดีเซลซึ่งผมคิดว่าพอจะใกล้เคียงความจริง) โดยที่รายได้ต่อวันของคนไทยเท่ากับ 534.33 บาท (ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท)
ผมไม่ทราบว่าคุณ Tom ได้ตัวเลขรายได้ดังกล่าวนี้มาจากไหน เพราะผมค้นจาก wikipedia พบว่า ค่ารายได้เฉลี่ย (จีดีพีต่อหัว) ในปี 2555 ของคนไทยเท่ากับ 450 บาทเท่านั้น (ไม่ใช่ 534 บาทดังในตาราง) ในขณะเดียวกัน ผมก็ตรวจสอบของประเทศจีนซึ่งมีอันดับใกล้เคียงกับประเทศไทยด้วย พบว่า เท่ากับวันละ 501 บาท (ไม่ใช่ 539 บาท) ของประเทศอื่นๆ ก็มีความคลาดเคลื่อนไปจากตารางนี้พอสมควร
แต่เอาเถอะนะครับ สมมติว่าตัวเลขใน 3 คอลัมน์แรกของคุณ Tom มีความถูกต้อง และขอให้เราเชื่อตามนี้ไปก่อนก็แล้วกัน
เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ดังนั้น การนำราคาน้ำมันมาเปรียบเทียบกันจึงไม่ถูกต้อง และไม่สื่อความหมายที่ดีว่าราคาจะถูกหรือแพง
สิ่งที่คุณ Tom คิดต่อมาก็คือ ถ้าจะซื้อน้ำมัน 1 ลิตรจะต้องใช้เงินจำนวนคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ต่อวัน (คอลัมน์ที่ 4) เขาเรียกค่าที่ได้นี้ว่า “ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน”
ผลจากการคำนวณพบว่า ประเทศอินเดีย มีค่าความเจ็บปวดมากที่สุดในบรรดา 60 ประเทศคือต้องใช้เงินถึง 30.69% ของรายได้ในแต่ละวันจึงจะสามารถซื้อน้ำมันได้หนึ่งลิตร ในขณะที่ประเทศปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตามมาเป็นอันดับที่ 2, 3 และ 5 ตามลำดับ
ในขณะที่ประเทศไทยมีค่าความเจ็บปวดในอันดับที่ 11 ตามหลังประเทศจีนเพียงหนึ่งอันดับอย่างเฉียดฉิว (แสดงว่าราคาน้ำมันของจีนแพงกว่าของไทย-กรุณาอ่านช้าๆ) สำหรับประเทศมาเลเซีย แม้ราคาน้ำมันจะประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย แต่อันดับความเจ็บปวดอยู่ที่ 36
ประเทศที่มีอันดับค่าความเจ็บปวดเป็นอันดับสุดท้ายคือ เวเนซุเอลา เพราะราคาน้ำมันเฉลี่ยแค่ลิตรละ 31 สตางค์ (น้อยกว่า 1 ใน 100 ของราคาประเทศไทย) และมีรายได้เกือบสองเท่าของคนไทย ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงบางส่วนที่ปรากฏในเว็บไซต์ของ Bloomberg
อย่างไรก็ตาม การนำอันดับของค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันมาเรียงลำดับจากลำดับที่หนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเจ็บปวดมากที่สุด) ไปจนถึงลำดับสุดท้าย (ซึ่งหมายถึงเจ็บปวดน้อยที่สุด) แล้วจะสรุปว่าความสุขรวมทั้งความอยู่ดีกินดีของประชากรในแต่ละประเทศจะเป็นไปตามนั้นด้วยก็ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะความสุข และความอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าความเจ็บปวดในปั๊มน้ำมันเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความมีธรรมาภิบาลของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ระบบคุณค่าของสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จากตารางดังกล่าว เราจะพบว่า ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันของประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมมาก เช่น เวเนซุเอลา และคูเวต ก็ย่อมน้อยเป็นธรรมดา แต่มิได้หมายความค่าอื่นๆ จะดีตามไปด้วย มีคนเล่าว่าราคาน้ำดื่มแพงกว่าน้ำมันหลายเท่าตัว
ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้นำคะแนนความโปร่งใสประจำปี 2555 ซึ่งจัดโดยองค์กรความโปร่งใสสากล (International transparency) มาประกบ (คอลัมน์ที่ 6) เพื่อจะดูแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างอันดับความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน กับอันดับความโปร่งใสของแต่ละประเทศ
ค่าความโปร่งใสเขาจะให้คะแนนระหว่าง 0 (มีการคอร์รัปชันสูงมาก) ถึง 100 คะแนน (หมายถึงว่าประเทศนั้นไม่การคอร์รัปชันเลย) ในปี 2555 ประเทศที่มีคะแนนมากที่สุดมี 3 ประเทศคือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ ได้ 90 คะแนน (ถือว่าเป็นอันดับที่ 1) ในขณะที่ประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุดได้ 8 คะแนนเท่ากัน 3 ประเทศคือ อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ และโซมาเลีย โดยมีอันดับที่ 174
สำหรับประเทศไทยได้ 37 คะแนนครับ อยู่ในอันดับที่ 88 (เท่ากัน 6 ประเทศ)
ผมได้นำข้อมูลอันดับค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน (อันดับของประเทศที่ต้องใช้เงินคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ในแต่ละวัน เพื่อซื้อน้ำมันหนึ่งลิตร) กับอันดับความโปร่งใสในประเทศนั้นๆ (ตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 176) จำนวน 60 ประเทศมาเขียนกราฟ ผลที่ได้ทำให้เราเห็นแนวโน้มที่สำคัญครับ (ดูกราฟประกอบ ซึ่งต้องดูอย่างใจเย็นๆ ช้าๆ นะครับ)
พบว่า กลุ่มแรก ประเทศที่มีความโปร่งใสน้อย (หรือมีการคอร์รัปชันมาก) จะมีราคาน้ำมันแพงเมื่อเทียบกับรายได้ (หรือมีค่าความเจ็บปวดมาก) จากกราฟผมได้ล้อมอย่างคร่าวๆ เป็นกลุ่มไว้ทางขวามือมี 20 ประเทศ (เรียงจากประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยไปหามาก) คือ ตุรกี แอฟริกาใต้ จีน ไทย อินเดีย บราซิล ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย อียิปต์ ปากีสถาน และไนจีเรีย เป็นต้น)
ประเทศไทยเราก็ติดอยู่ในกลุ่มนี้ครับ
ไม่ทราบว่าผมมีความลำเอียงในการตีความหรือเปล่า แต่ถ้าเราติดตามสถานการณ์ของโลกเราจะพบว่า ประเทศที่ผมล้อมกลุ่มไว้นี้ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่กำลังมีปัญหาทั้งสิ้น เช่น กรีซ ที่ถือว่าล้มละลายไปแล้ว อียิปต์ ซึ่งกำลังเกิดจลาจล อาร์เจนตินา ปากีสถาน เป็นต้น
ประเทศไทยเราก็เถอะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในช่วงเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มที่สอง ในประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อย (หรือมีอันดับความโปร่งใสต่ำ) ประชาชนจะมีค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันสูง (แกนตั้ง) ผมได้ล้อมเป็นกลุ่มอย่างคร่าวๆ อยู่ทางซ้ายมือด้านบนของกราฟครับ
กลุ่มประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา เช่น สวีเดน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เบลเยียม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ลักแซมเบิร์ก และออสเตรเลีย มีประเทศในเอเชียเข้าไปผสมบ้าง เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง (เกาหลีใต้เฉียดๆ ในกลุ่มนี้)
เช่นเดียวกันครับ ด้วยความรู้ที่ได้รับมาก่อน กลุ่มประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ถูกจัดว่าพัฒนาแล้ว นั่นคือ ในประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อย ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันมีน้อยครับ
ประเทศเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่แปลกมากครับ คือ มีราคาน้ำมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับรายได้ แต่มีคะแนนความโปร่งใสน้อยที่สุดในตาราง ( 19 คะแนน) อยู่ในอันดับที่ 165 จากทั้งหมด 176 ประเทศ ที่เป็นเช่นนี้เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้พิจารณา
สำหรับประเทศอื่นๆ ที่อยู่นอกกลุ่มทั้งสองนั้น ถือว่ายังไม่ได้ข้อสรุป เพราะนี่เป็นเพียงการสรุปอย่างคร่าวๆ เท่านั้น
ผมยังไม่ได้ทำการทดสอบค่าทางสถิติว่า ความสัมพันธ์ที่ผมได้สรุปไปแล้วนั้นว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นเท่าใด
แม้ว่าโดยอาชีพแล้ว ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ทางสถิติพอสมควร แต่ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปทดสอบหาค่าทางสถิติเพื่อให้เป็นประเด็นโต้เถียง (ในเรื่องจำนวนทศนิยม ระดับความเชื่อมั่น เป็นต้น)
สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าคือ การค้นหาคำตอบทางสังคมว่า ทำไมในแต่ละประเทศจึงมีการคอร์รัปชันมากหรือน้อย
ทำไม ฮ่องกง ซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีการคอร์รัปชันสูงมากเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นประเทศ (หรือเขตเศรษฐกิจ) ที่มีความโปร่งใสเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ภาคประชาชนมีบทบาทอย่างไร
ในเรื่องราคาน้ำมัน ต้องมานั่งดูกันว่ามีกฎหมายใดบ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างข้าราชการกับบริษัทน้ำมัน การเก็บเงินและบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป็น เครื่องมือของนักการเมือง (มีบางช่วงก่อนการเลือกตั้งกองทุนน้ำมันติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องการขึ้นราคาให้เสียคะแนน)
รวมถึงการใช้เงินภาษีน้ำมัน และภาษีอื่นๆ ไปใช้บริหารประเทศนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน
ผมอยากจะสรุปบทความนี้ด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
หนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ว่า ราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับรายได้ของประชากรจะแปรผกผันกับ ความโปร่งใสของการบริหารประเทศ นั่นคือ ถ้ามีความโปร่งใสน้อย ราคาน้ำมันเทียบกับรายได้จะแพง ถ้ามีความโปร่งใสมาก ราคาน้ำมันต่อรายได้จะถูก
สอง ญาติผู้ใหญ่ของผมเลยเล่าให้ฟังโดยยกคำพูดของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ว่า “ประเทศไทยเรามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก หากไม่มีการคอร์รัปชันเสียอย่างเดียว เราสามารถเอาทองคำมาทำถนนยังได้เลย”
นี่คือบทสรุปของบทความที่ชื่อว่า ราคาน้ำมัน ความเจ็บปวด และการคอร์รัปชัน : ไทยติดอันดับเท่าใด?
โดย...ประสาท มีแต้ม
ทุกครั้งที่จะมีการขึ้นราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม หรือน้ำมันเชื้อเพลิงก็มักจะมีการเปรียบราคาของประเทศเรากับประเทศอื่นๆ ถ้ามาจากภาคราชการซึ่งต้องการจะขึ้นราคาก็มักจะอ้างถึงประเทศที่เขามีราคาแพงกว่าเราเพื่อให้ประชาชนยอมรับ เช่น ถ้าจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มก็จะอ้างประเทศลาวซึ่งนำเข้าจากไทย ถ้าเป็นพวกที่ไม่อยากให้ขึ้นราคาประเทศก็จะอ้างประเทศที่เขาถูกกว่าเรา ผมว่าวิธีการทั้งสองดังกล่าวไม่ถูกต้องทั้งสองฝ่าย
แท้ที่จริงแล้ว ถ้าจะมีการเปรียบเทียบจะต้องเปรียบเทียบระหว่างราคาพลังงานกับรายได้เฉลี่ย ของประชากรของแต่ละประเทศจึงจะเป็นธรรม นอกจากนี้ ถ้าจะศึกษาให้ละเอียดและเป็นธรรมมากกว่านี้ก็ควรจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนของเชื้อเพลิง ระบบภาษี สวัสดิการ รวมถึงการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจการพลังงานดังกล่าวด้วย
วันนี้ผมมีข้อมูล และวิธีคิดบางส่วนมานำเสนอครับ ผมเชื่อว่าในตอนท้ายของบทความนี้ ท่านผู้อ่านจะเข้าใจภาพรวมเป็นหลักการทั่วไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคา น้ำมันกับการคอร์รัปชันของแต่ละประเทศ
ผมได้ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bloomberg (http://www.bloomberg.com/visual-data/gas-prices/) เขียนโดยคุณ Tom Randall แม้จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ผมสงสัย (และผมมีข้อมูลของเมืองไทยบางตัวที่ผมมั่นใจว่าของผมมีความถูกต้องมากกว่า) แต่โดยภาพรวมแล้วก็ต้องถือว่าเป็นข้อมูลที่ดี และทันสมัยพอสมควร รวมทั้งวิธีคิดเปรียบเทียบ ตลอดจนการใช้ศัพท์ที่ทำให้สังคมเข้าใจง่ายขึ้น
เว็บไซต์นี้ได้เปรียบเทียบราคาน้ำมันของประเทศต่างๆ จำนวน 60 ประเทศ กระจายไปทั่วโลก ทั้งเอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ในจำนวนนี้มีกลุ่มประเทศอาเซียนรวมอยู่ด้วย 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ในตารางข้างล่างนี้ผมคัดมาเพียง 19 ประเทศเท่านั้น
อ้อ จากแหล่งข้อมูลดังกล่าวพบว่า ประเทศมีราคาเฉลี่ยของน้ำมันแพงที่สุดคือ ประเทศตุรกี (ลิตรละ 296.70 บาท ไม่อยู่ในตารางนี้ ในตารางนี้ประเทศที่มีราคาเฉลี่ยแพงที่สุดคือ อิตาลี เกือบ 70 บาท) และประเทศที่มีราคาถูกที่สุดคือ เวเนซุเอลา (ลิตรละ 0.31 บาท) แต่ข้อมูลทั้งสองนี้ไม่สามารถบอกถึงความอยู่ดีกินดี หรือความเจ็บปวดของประชาชนเลย ดังที่ผมได้เกริ่นมาแล้วข้างต้น
คุณ Tom ได้ศึกษาเป็นรายไตรมาสของปี 2556 รวมสองไตรมาส โดยนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ 2 ตัว คือ ราคาน้ำมันเฉลี่ย และรายได้เฉลี่ยรายวันต่อหัวประชากร ในตารางนี้เป็นของไตรมาสที่สองของปีนี้ครับ (ดูตาราง)
ในกรณีประเทศไทย ข้อมูลของคุณ Tom ระบุว่า ราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ปั๊มลิตรละ 36.68 บาท (ข้อมูลนี้เป็นค่าเฉลี่ยทั้งเบนซิน และดีเซลซึ่งผมคิดว่าพอจะใกล้เคียงความจริง) โดยที่รายได้ต่อวันของคนไทยเท่ากับ 534.33 บาท (ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท)
ผมไม่ทราบว่าคุณ Tom ได้ตัวเลขรายได้ดังกล่าวนี้มาจากไหน เพราะผมค้นจาก wikipedia พบว่า ค่ารายได้เฉลี่ย (จีดีพีต่อหัว) ในปี 2555 ของคนไทยเท่ากับ 450 บาทเท่านั้น (ไม่ใช่ 534 บาทดังในตาราง) ในขณะเดียวกัน ผมก็ตรวจสอบของประเทศจีนซึ่งมีอันดับใกล้เคียงกับประเทศไทยด้วย พบว่า เท่ากับวันละ 501 บาท (ไม่ใช่ 539 บาท) ของประเทศอื่นๆ ก็มีความคลาดเคลื่อนไปจากตารางนี้พอสมควร
แต่เอาเถอะนะครับ สมมติว่าตัวเลขใน 3 คอลัมน์แรกของคุณ Tom มีความถูกต้อง และขอให้เราเชื่อตามนี้ไปก่อนก็แล้วกัน
เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ดังนั้น การนำราคาน้ำมันมาเปรียบเทียบกันจึงไม่ถูกต้อง และไม่สื่อความหมายที่ดีว่าราคาจะถูกหรือแพง
สิ่งที่คุณ Tom คิดต่อมาก็คือ ถ้าจะซื้อน้ำมัน 1 ลิตรจะต้องใช้เงินจำนวนคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ต่อวัน (คอลัมน์ที่ 4) เขาเรียกค่าที่ได้นี้ว่า “ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน”
ผลจากการคำนวณพบว่า ประเทศอินเดีย มีค่าความเจ็บปวดมากที่สุดในบรรดา 60 ประเทศคือต้องใช้เงินถึง 30.69% ของรายได้ในแต่ละวันจึงจะสามารถซื้อน้ำมันได้หนึ่งลิตร ในขณะที่ประเทศปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตามมาเป็นอันดับที่ 2, 3 และ 5 ตามลำดับ
ในขณะที่ประเทศไทยมีค่าความเจ็บปวดในอันดับที่ 11 ตามหลังประเทศจีนเพียงหนึ่งอันดับอย่างเฉียดฉิว (แสดงว่าราคาน้ำมันของจีนแพงกว่าของไทย-กรุณาอ่านช้าๆ) สำหรับประเทศมาเลเซีย แม้ราคาน้ำมันจะประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย แต่อันดับความเจ็บปวดอยู่ที่ 36
ประเทศที่มีอันดับค่าความเจ็บปวดเป็นอันดับสุดท้ายคือ เวเนซุเอลา เพราะราคาน้ำมันเฉลี่ยแค่ลิตรละ 31 สตางค์ (น้อยกว่า 1 ใน 100 ของราคาประเทศไทย) และมีรายได้เกือบสองเท่าของคนไทย ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงบางส่วนที่ปรากฏในเว็บไซต์ของ Bloomberg
อย่างไรก็ตาม การนำอันดับของค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันมาเรียงลำดับจากลำดับที่หนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเจ็บปวดมากที่สุด) ไปจนถึงลำดับสุดท้าย (ซึ่งหมายถึงเจ็บปวดน้อยที่สุด) แล้วจะสรุปว่าความสุขรวมทั้งความอยู่ดีกินดีของประชากรในแต่ละประเทศจะเป็นไปตามนั้นด้วยก็ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะความสุข และความอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าความเจ็บปวดในปั๊มน้ำมันเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความมีธรรมาภิบาลของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ระบบคุณค่าของสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จากตารางดังกล่าว เราจะพบว่า ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันของประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมมาก เช่น เวเนซุเอลา และคูเวต ก็ย่อมน้อยเป็นธรรมดา แต่มิได้หมายความค่าอื่นๆ จะดีตามไปด้วย มีคนเล่าว่าราคาน้ำดื่มแพงกว่าน้ำมันหลายเท่าตัว
ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้นำคะแนนความโปร่งใสประจำปี 2555 ซึ่งจัดโดยองค์กรความโปร่งใสสากล (International transparency) มาประกบ (คอลัมน์ที่ 6) เพื่อจะดูแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างอันดับความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน กับอันดับความโปร่งใสของแต่ละประเทศ
ค่าความโปร่งใสเขาจะให้คะแนนระหว่าง 0 (มีการคอร์รัปชันสูงมาก) ถึง 100 คะแนน (หมายถึงว่าประเทศนั้นไม่การคอร์รัปชันเลย) ในปี 2555 ประเทศที่มีคะแนนมากที่สุดมี 3 ประเทศคือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ ได้ 90 คะแนน (ถือว่าเป็นอันดับที่ 1) ในขณะที่ประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุดได้ 8 คะแนนเท่ากัน 3 ประเทศคือ อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ และโซมาเลีย โดยมีอันดับที่ 174
สำหรับประเทศไทยได้ 37 คะแนนครับ อยู่ในอันดับที่ 88 (เท่ากัน 6 ประเทศ)
ผมได้นำข้อมูลอันดับค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมัน (อันดับของประเทศที่ต้องใช้เงินคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ในแต่ละวัน เพื่อซื้อน้ำมันหนึ่งลิตร) กับอันดับความโปร่งใสในประเทศนั้นๆ (ตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 176) จำนวน 60 ประเทศมาเขียนกราฟ ผลที่ได้ทำให้เราเห็นแนวโน้มที่สำคัญครับ (ดูกราฟประกอบ ซึ่งต้องดูอย่างใจเย็นๆ ช้าๆ นะครับ)
พบว่า กลุ่มแรก ประเทศที่มีความโปร่งใสน้อย (หรือมีการคอร์รัปชันมาก) จะมีราคาน้ำมันแพงเมื่อเทียบกับรายได้ (หรือมีค่าความเจ็บปวดมาก) จากกราฟผมได้ล้อมอย่างคร่าวๆ เป็นกลุ่มไว้ทางขวามือมี 20 ประเทศ (เรียงจากประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยไปหามาก) คือ ตุรกี แอฟริกาใต้ จีน ไทย อินเดีย บราซิล ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย อียิปต์ ปากีสถาน และไนจีเรีย เป็นต้น)
ประเทศไทยเราก็ติดอยู่ในกลุ่มนี้ครับ
ไม่ทราบว่าผมมีความลำเอียงในการตีความหรือเปล่า แต่ถ้าเราติดตามสถานการณ์ของโลกเราจะพบว่า ประเทศที่ผมล้อมกลุ่มไว้นี้ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่กำลังมีปัญหาทั้งสิ้น เช่น กรีซ ที่ถือว่าล้มละลายไปแล้ว อียิปต์ ซึ่งกำลังเกิดจลาจล อาร์เจนตินา ปากีสถาน เป็นต้น
ประเทศไทยเราก็เถอะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในช่วงเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มที่สอง ในประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อย (หรือมีอันดับความโปร่งใสต่ำ) ประชาชนจะมีค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันสูง (แกนตั้ง) ผมได้ล้อมเป็นกลุ่มอย่างคร่าวๆ อยู่ทางซ้ายมือด้านบนของกราฟครับ
กลุ่มประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา เช่น สวีเดน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เบลเยียม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ลักแซมเบิร์ก และออสเตรเลีย มีประเทศในเอเชียเข้าไปผสมบ้าง เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง (เกาหลีใต้เฉียดๆ ในกลุ่มนี้)
เช่นเดียวกันครับ ด้วยความรู้ที่ได้รับมาก่อน กลุ่มประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ถูกจัดว่าพัฒนาแล้ว นั่นคือ ในประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อย ค่าความเจ็บปวดที่ปั๊มน้ำมันมีน้อยครับ
ประเทศเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่แปลกมากครับ คือ มีราคาน้ำมันถูกที่สุดเมื่อเทียบกับรายได้ แต่มีคะแนนความโปร่งใสน้อยที่สุดในตาราง ( 19 คะแนน) อยู่ในอันดับที่ 165 จากทั้งหมด 176 ประเทศ ที่เป็นเช่นนี้เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่ได้พิจารณา
สำหรับประเทศอื่นๆ ที่อยู่นอกกลุ่มทั้งสองนั้น ถือว่ายังไม่ได้ข้อสรุป เพราะนี่เป็นเพียงการสรุปอย่างคร่าวๆ เท่านั้น
ผมยังไม่ได้ทำการทดสอบค่าทางสถิติว่า ความสัมพันธ์ที่ผมได้สรุปไปแล้วนั้นว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นเท่าใด
แม้ว่าโดยอาชีพแล้ว ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ทางสถิติพอสมควร แต่ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปทดสอบหาค่าทางสถิติเพื่อให้เป็นประเด็นโต้เถียง (ในเรื่องจำนวนทศนิยม ระดับความเชื่อมั่น เป็นต้น)
สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าคือ การค้นหาคำตอบทางสังคมว่า ทำไมในแต่ละประเทศจึงมีการคอร์รัปชันมากหรือน้อย
ทำไม ฮ่องกง ซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีการคอร์รัปชันสูงมากเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นประเทศ (หรือเขตเศรษฐกิจ) ที่มีความโปร่งใสเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ภาคประชาชนมีบทบาทอย่างไร
ในเรื่องราคาน้ำมัน ต้องมานั่งดูกันว่ามีกฎหมายใดบ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างข้าราชการกับบริษัทน้ำมัน การเก็บเงินและบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป็น เครื่องมือของนักการเมือง (มีบางช่วงก่อนการเลือกตั้งกองทุนน้ำมันติดลบกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องการขึ้นราคาให้เสียคะแนน)
รวมถึงการใช้เงินภาษีน้ำมัน และภาษีอื่นๆ ไปใช้บริหารประเทศนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน
ผมอยากจะสรุปบทความนี้ด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
หนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ว่า ราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับรายได้ของประชากรจะแปรผกผันกับ ความโปร่งใสของการบริหารประเทศ นั่นคือ ถ้ามีความโปร่งใสน้อย ราคาน้ำมันเทียบกับรายได้จะแพง ถ้ามีความโปร่งใสมาก ราคาน้ำมันต่อรายได้จะถูก
สอง ญาติผู้ใหญ่ของผมเลยเล่าให้ฟังโดยยกคำพูดของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ว่า “ประเทศไทยเรามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก หากไม่มีการคอร์รัปชันเสียอย่างเดียว เราสามารถเอาทองคำมาทำถนนยังได้เลย”
นี่คือบทสรุปของบทความที่ชื่อว่า ราคาน้ำมัน ความเจ็บปวด และการคอร์รัปชัน : ไทยติดอันดับเท่าใด?