ท่ามกลางกระบวนการต่อสู้กับรัฐบาลฉ้อฉลและคนขายชาติซึ่งดำเนินไปอย่างเข้มข้นอยู่ในขณะนี้ มีผู้เสนอให้รวมการปฏิรูปภาคพลังงานไว้ในกรอบการปฏิรูปประเทศด้วย เนื่องจากความมั่นคงทางพลังงานมีความสำคัญชั้นยุทธศาสตร์ของประเทศ ประเด็นนี้จึงไม่น่ามีข้อโต้แย้ง เป้าหมายในการปฏิรูปภาคพลังงานของผู้เสนอดูจะมีหลายอย่างรวมทั้งการมีน้ำมันราคาถูกไว้ใช้ ในฐานะผู้ติดตามดูวิวัฒนาการของประเทศที่มีน้ำมันปริมาณมากมาเป็นเวลานาน ขอนำข้อสังเกตเรื่องราคาน้ำมันมาเล่า
ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมศึกษาวิวัฒนาการของประเทศส่งออกน้ำมันชั้นนำ 13 ประเทศซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่ม “โอเป็ก” (OPEC = Organization of Petroleum Exporting Countries) และนำมาเล่าไว้ในหนังสือชื่อ “เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน” (พิมพ์มกราคม 2545) ขณะนี้หนังสือไม่มีวางขายแล้ว แต่ผู้สนใจอาจเข้าไปดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th แม้จะพิมพ์มากว่า 10 ปี แต่บทสรุปหลักของหนังสือยังไม่ตกยุค วันนี้จะเล่าเรื่องราวของเวเนซุเอลาซึ่งอยู่ในกลุ่ม “โอเป็ก” และนอร์เวย์ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนั้น
เวเนซุเอลามีน้ำมันปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วมากที่สุดในโลก มากกว่าซาอุดีอาระเบียเสียอีก ผลิตน้ำมันมาเป็นเวลานานและเคยส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุปัจจัยนั้น เวเนซุเอลาจึงมีบทาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ก่อตั้ง “โอเปก” ขึ้นมาเมื่อปี 2503 เพื่อหวังจะควบคุมการผลิตของสมาชิกและราคาในตลาดโลก สมาชิกในกลุ่มนี้มีความแกร่งมากในบางช่วงเวลาจนสามารถผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้มหาศาล แต่ความสำเร็จและรายได้แบบส้มหล่นนั้นมิได้ทำให้เวเนซุเอลาพัฒนาได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ตรงข้าม ทุกอย่างล้มลุกคลุกคลานจนดูเสมือนว่าประเทศตกอยู่ในสภาพ “ยิ่งพัฒนายิ่งจน” ในขณะนี้ เวเนซุเอลามีคนยากจนจำนวนมาก คนอดอยากนับได้ใกล้ 1 ใน 3 ของประชากร ด้วยเหตุนี้ เมืองหลวงของประเทศจึงมีแหล่งเสื่อมโทรมอยู่ทั่วไปรวมทั้งในโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ๆ ด้วย (ภาพ 1, 2 และ 3)
การมีน้ำมันปริมาณมากแต่มีอัตราความยากจนสูงเช่นนั้นบางทีนักวิชาการเรียกกันว่าเป็นผลของ “คำสาปของทรัพยากร” (Resource Curse) คำนี้อาจอธิบายได้จากหลายแง่มุม เช่น ผู้มีทรัพยากรมากมักเป็นที่หมายตาของมหาอำนาจซึ่งเข้าไปล่าเพื่อยึดเป็นอาณานิคมของตน เนื่องจากหลังได้เอกราชจากสเปนแล้วเวเนซุเอลาจึงพบน้ำมันและจากนั้นมาเวเนซุเอลามิได้ถูกยึดเป็นอาณานิคมอีก คำอธิบายนี้ย่อมไม่มีน้ำหนัก
เฉกเช่นบางส่วนของชาวละตินอเมริกัน ชาวเวเนซุเอลามักโทษสหรัฐอเมริกาว่าทำให้ประเทศของตนยากจน แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนละตินอเมริกันที่โต้แย้งว่า นั่นเป็นการใส่ความผู้อื่นทั้งที่ต้นตอของปัญหามาจากการกระทำของชาวละตินอเมริกันเองนั่นแหละ เกี่ยวกับประเด็นนี้มีชาวละตินอเมริกัน 3 คนอธิบายไว้ในหนังสือขายดีเล่มหนึ่งซึ่งได้รับการแปลจากภาษาสเปนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Guide to the Perfect Latin American Idiot หรือ “แนะนำละตินอเมริกันไร้ปัญญา” (ผู้สนใจจะอ่านแต่ไม่มีเวลาอาจไปอ่านบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.org)
จากมุมมองของหนังสือเล่มนั้น การพบน้ำมันปริมาณมหาศาลของเวเนซุเอลานำไปสู่การดำเนินนโยบายหลายอย่างที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายด้วย นโยบายเหล่านั้นนำไปสู่การผลาญทั้งน้ำมันและรายได้จากการขายน้ำมันจนยากแก่การอธิบาย ตัวอย่างของการใช้น้ำมันแบบล้างผลาญได้แก่การขายน้ำมันให้ชาวเวเนซุเอลาด้วยราคาชนิดหลุดโลกมาเป็นเวลานาน
ในขณะนี้ ชาวเวเนซุเอลาสามารถซื้อน้ำมันชั้นดีที่สุดได้ในราคาลิตรละไม่เกิน 35 สตางค์ ใช่แล้ว 35 สตางค์!
ร้ายยิ่งกว่านั้น ราคาดังกล่าวคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐบาล หากคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืด ราคาจะตกลงมาเหลือลิตรละไม่เกิน 5 สตางค์ ทั้งที่รู้ว่าราคาชนิดให้เปล่านั้นนำไปสู่การผลาญทรัพยากรน้ำมันแบบไร้เหตุผล แต่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาต่อต้านทุกครั้งที่รัฐบาลจะยอมให้ขึ้นราคา ในปีหนึ่งๆ รัฐบาลจึงต้องหาเงินจำนวนมากมาชดใช้ให้แก่ผู้ขายน้ำมัน เมื่อปีที่ผ่านมา ค่าชดใช้นั้นเป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการขายน้ำมันให้ชาวต่างประเทศ
นั่นเป็นการผลาญรายได้จากการขายน้ำมันเพียงส่วนเดียว ยังมีการผลาญในโครงการแนวประชานิยมอื่นๆ อีกมาก ด้วยเหตุนี้ การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนในด้านการสร้างความก้าวหน้าต่อไปจึงแทบไม่มี ทุกภาคของเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลาน หรือไม่ก็ถดถอยไปจนแทบไม่มีความสำคัญเหลืออยู่ เช่น การผลิตกาแฟและโกโก้ซึ่งเวเนซุเอลาเคยส่งออกได้มากเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม
เมื่อรายได้จากการขายน้ำมันถูกผลาญโดยเปล่าประโยชน์มาตลอด เวเนซุเอลาจึงไม่มีกองทุนน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งผู้ส่งออกมักใช้เป็นแหล่งสะสมสินทรัพย์ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงชนชั้นลูกหลาน ร้ายยิ่งกว่านั้น เวเนซุเอลายังหยิบยืมจากต่างประเทศมาผลาญจนถึงกับเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวอีกด้วย บางครั้งเวเนซุเอลาชำระหนี้ไม่ไหวจำเป็นต้องเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายและบากหน้าไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
เมื่อเปรียบกับเวเนซุเอลา นอร์เวย์เป็นน้องใหม่เพราะพบน้ำมันหลังเวเนซุเอลากว่า 50 ปีและมีน้ำมันนับได้ไม่ถึง 3% ของเวเนซุเอลา อย่างไรก็ดี นอร์เวย์ มีก๊าซธรรมชาติราว 50% ของเวเนซุเอลาและส่งออกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปีละมากกว่าเวเนซุเอลา ปัจจัยที่ทำให้นอร์เวย์ส่งออกได้มากเนื่องจากมีประชากรราว 17% ของเวเนซุเอลาและรัฐบาลมีนโยบายประหยัดการใช้น้ำมันชนิดเข้มงวดมาก ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลนอร์เวย์จึงเก็บภาษีและขายน้ำมันในราคาสูงกว่าในเวเนซุเอลาปานฟ้ากับดิน
ในปัจจุบัน น้ำมันชนิดเดียวกันกับที่ชาวเวเนซุเอลาหาซื้อได้ในราคาลิตรละ 35 สตางค์นั้น ชาวนอร์เวย์ต้องซื้อในราคากว่า 85 บาทซึ่งนับว่าเป็นราคาที่แพงที่สุดในโลก
นอกจากจะพยายามประหยัดน้ำมันที่ตนผลิตได้อย่างจริงจังแล้ว นอร์เวย์ยังพยายามออมรายได้ที่เกิดจากการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างจริงจังอีกด้วย เขาทำสิ่งเหล่านั้นบนฐานของแนวคิดที่ว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของทั้งคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อๆ ไปที่ยังไม่เกิด ฉะนั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่คนรุ่นหลังซึ่งยังไม่มีสิทธิ์มีเสียง คนรุ่นปัจจุบันควรสงวนรักษาส่วนหนึ่งของทรัพยากรไว้ให้พวกเขา ณ วันนี้ นอร์เวย์ จึงมีกองทุนสะสมจากรายได้ของการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติถึงกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์ซึ่งมากกว่าของซาอุดีอาระเบียเกิน 1 แสนล้านดอลลาร์ทั้งที่นอร์เวย์พบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลังซาอุดีอาระเบีย
นอร์เวย์ไม่ประสบปัญหาที่นักวิชาการมักเรียกกันว่า “โรคดัตช์” (Dutch Disease) นั่นคือ รายได้จากการขายทรัพยากรธรรมชาติมักนำไปสู่ความบิดเบือนทางนโยบายจนก่อให้เกิดปัญหาหนักหนาสาหัส หลังจากพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณมาก รัฐบาลนอร์เวย์ไม่ยอมให้เกิดการบิดเบือนทางนโยบาย ประเทศจึงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปในแนวเดิมได้จนในปัจจุบันนี้ชาวนอร์เวย์มีรายได้ต่อคนสูงเป็นลำดับ 3 ของโลก หรือราว 8 เท่าของชาวเวเนซุเอลา ทั้งประเทศแทบไม่มีคนจน มีความเหลื่อมล้ำต่ำมากและคนตกยากได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง
เรื่องที่เล่ามานี้อาจชี้ให้เห็นว่า การมีน้ำมันปริมาณมหาศาลและการเข้าถึงน้ำมันราคาถูกอาจมิใช่ปัจจัยที่จะทำให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง การตั้งเป้าหมายในการปฏิรูปภาคพลังงานว่าคนไทยต้องมีน้ำมันราคาถูกใช้อาจเป็นการวางกับดักไว้ล่วงหน้า ต่อไปกับดักนั้นจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาจนประเทศต้องประสบปัญหาหนักหนาสาหัสแบบไม่รู้จบ
ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมศึกษาวิวัฒนาการของประเทศส่งออกน้ำมันชั้นนำ 13 ประเทศซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่ม “โอเป็ก” (OPEC = Organization of Petroleum Exporting Countries) และนำมาเล่าไว้ในหนังสือชื่อ “เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน” (พิมพ์มกราคม 2545) ขณะนี้หนังสือไม่มีวางขายแล้ว แต่ผู้สนใจอาจเข้าไปดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของคลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th แม้จะพิมพ์มากว่า 10 ปี แต่บทสรุปหลักของหนังสือยังไม่ตกยุค วันนี้จะเล่าเรื่องราวของเวเนซุเอลาซึ่งอยู่ในกลุ่ม “โอเป็ก” และนอร์เวย์ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนั้น
เวเนซุเอลามีน้ำมันปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วมากที่สุดในโลก มากกว่าซาอุดีอาระเบียเสียอีก ผลิตน้ำมันมาเป็นเวลานานและเคยส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุปัจจัยนั้น เวเนซุเอลาจึงมีบทาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ก่อตั้ง “โอเปก” ขึ้นมาเมื่อปี 2503 เพื่อหวังจะควบคุมการผลิตของสมาชิกและราคาในตลาดโลก สมาชิกในกลุ่มนี้มีความแกร่งมากในบางช่วงเวลาจนสามารถผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้มหาศาล แต่ความสำเร็จและรายได้แบบส้มหล่นนั้นมิได้ทำให้เวเนซุเอลาพัฒนาได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ตรงข้าม ทุกอย่างล้มลุกคลุกคลานจนดูเสมือนว่าประเทศตกอยู่ในสภาพ “ยิ่งพัฒนายิ่งจน” ในขณะนี้ เวเนซุเอลามีคนยากจนจำนวนมาก คนอดอยากนับได้ใกล้ 1 ใน 3 ของประชากร ด้วยเหตุนี้ เมืองหลวงของประเทศจึงมีแหล่งเสื่อมโทรมอยู่ทั่วไปรวมทั้งในโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ๆ ด้วย (ภาพ 1, 2 และ 3)
การมีน้ำมันปริมาณมากแต่มีอัตราความยากจนสูงเช่นนั้นบางทีนักวิชาการเรียกกันว่าเป็นผลของ “คำสาปของทรัพยากร” (Resource Curse) คำนี้อาจอธิบายได้จากหลายแง่มุม เช่น ผู้มีทรัพยากรมากมักเป็นที่หมายตาของมหาอำนาจซึ่งเข้าไปล่าเพื่อยึดเป็นอาณานิคมของตน เนื่องจากหลังได้เอกราชจากสเปนแล้วเวเนซุเอลาจึงพบน้ำมันและจากนั้นมาเวเนซุเอลามิได้ถูกยึดเป็นอาณานิคมอีก คำอธิบายนี้ย่อมไม่มีน้ำหนัก
เฉกเช่นบางส่วนของชาวละตินอเมริกัน ชาวเวเนซุเอลามักโทษสหรัฐอเมริกาว่าทำให้ประเทศของตนยากจน แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนละตินอเมริกันที่โต้แย้งว่า นั่นเป็นการใส่ความผู้อื่นทั้งที่ต้นตอของปัญหามาจากการกระทำของชาวละตินอเมริกันเองนั่นแหละ เกี่ยวกับประเด็นนี้มีชาวละตินอเมริกัน 3 คนอธิบายไว้ในหนังสือขายดีเล่มหนึ่งซึ่งได้รับการแปลจากภาษาสเปนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Guide to the Perfect Latin American Idiot หรือ “แนะนำละตินอเมริกันไร้ปัญญา” (ผู้สนใจจะอ่านแต่ไม่มีเวลาอาจไปอ่านบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.org)
จากมุมมองของหนังสือเล่มนั้น การพบน้ำมันปริมาณมหาศาลของเวเนซุเอลานำไปสู่การดำเนินนโยบายหลายอย่างที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายด้วย นโยบายเหล่านั้นนำไปสู่การผลาญทั้งน้ำมันและรายได้จากการขายน้ำมันจนยากแก่การอธิบาย ตัวอย่างของการใช้น้ำมันแบบล้างผลาญได้แก่การขายน้ำมันให้ชาวเวเนซุเอลาด้วยราคาชนิดหลุดโลกมาเป็นเวลานาน
ในขณะนี้ ชาวเวเนซุเอลาสามารถซื้อน้ำมันชั้นดีที่สุดได้ในราคาลิตรละไม่เกิน 35 สตางค์ ใช่แล้ว 35 สตางค์!
ร้ายยิ่งกว่านั้น ราคาดังกล่าวคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐบาล หากคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืด ราคาจะตกลงมาเหลือลิตรละไม่เกิน 5 สตางค์ ทั้งที่รู้ว่าราคาชนิดให้เปล่านั้นนำไปสู่การผลาญทรัพยากรน้ำมันแบบไร้เหตุผล แต่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาต่อต้านทุกครั้งที่รัฐบาลจะยอมให้ขึ้นราคา ในปีหนึ่งๆ รัฐบาลจึงต้องหาเงินจำนวนมากมาชดใช้ให้แก่ผู้ขายน้ำมัน เมื่อปีที่ผ่านมา ค่าชดใช้นั้นเป็นเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการขายน้ำมันให้ชาวต่างประเทศ
นั่นเป็นการผลาญรายได้จากการขายน้ำมันเพียงส่วนเดียว ยังมีการผลาญในโครงการแนวประชานิยมอื่นๆ อีกมาก ด้วยเหตุนี้ การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนในด้านการสร้างความก้าวหน้าต่อไปจึงแทบไม่มี ทุกภาคของเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลาน หรือไม่ก็ถดถอยไปจนแทบไม่มีความสำคัญเหลืออยู่ เช่น การผลิตกาแฟและโกโก้ซึ่งเวเนซุเอลาเคยส่งออกได้มากเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม
เมื่อรายได้จากการขายน้ำมันถูกผลาญโดยเปล่าประโยชน์มาตลอด เวเนซุเอลาจึงไม่มีกองทุนน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งผู้ส่งออกมักใช้เป็นแหล่งสะสมสินทรัพย์ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดถึงชนชั้นลูกหลาน ร้ายยิ่งกว่านั้น เวเนซุเอลายังหยิบยืมจากต่างประเทศมาผลาญจนถึงกับเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวอีกด้วย บางครั้งเวเนซุเอลาชำระหนี้ไม่ไหวจำเป็นต้องเดินเข้าสู่ภาวะล้มละลายและบากหน้าไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
เมื่อเปรียบกับเวเนซุเอลา นอร์เวย์เป็นน้องใหม่เพราะพบน้ำมันหลังเวเนซุเอลากว่า 50 ปีและมีน้ำมันนับได้ไม่ถึง 3% ของเวเนซุเอลา อย่างไรก็ดี นอร์เวย์ มีก๊าซธรรมชาติราว 50% ของเวเนซุเอลาและส่งออกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปีละมากกว่าเวเนซุเอลา ปัจจัยที่ทำให้นอร์เวย์ส่งออกได้มากเนื่องจากมีประชากรราว 17% ของเวเนซุเอลาและรัฐบาลมีนโยบายประหยัดการใช้น้ำมันชนิดเข้มงวดมาก ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลนอร์เวย์จึงเก็บภาษีและขายน้ำมันในราคาสูงกว่าในเวเนซุเอลาปานฟ้ากับดิน
ในปัจจุบัน น้ำมันชนิดเดียวกันกับที่ชาวเวเนซุเอลาหาซื้อได้ในราคาลิตรละ 35 สตางค์นั้น ชาวนอร์เวย์ต้องซื้อในราคากว่า 85 บาทซึ่งนับว่าเป็นราคาที่แพงที่สุดในโลก
นอกจากจะพยายามประหยัดน้ำมันที่ตนผลิตได้อย่างจริงจังแล้ว นอร์เวย์ยังพยายามออมรายได้ที่เกิดจากการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างจริงจังอีกด้วย เขาทำสิ่งเหล่านั้นบนฐานของแนวคิดที่ว่า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของทั้งคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อๆ ไปที่ยังไม่เกิด ฉะนั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่คนรุ่นหลังซึ่งยังไม่มีสิทธิ์มีเสียง คนรุ่นปัจจุบันควรสงวนรักษาส่วนหนึ่งของทรัพยากรไว้ให้พวกเขา ณ วันนี้ นอร์เวย์ จึงมีกองทุนสะสมจากรายได้ของการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติถึงกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์ซึ่งมากกว่าของซาอุดีอาระเบียเกิน 1 แสนล้านดอลลาร์ทั้งที่นอร์เวย์พบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลังซาอุดีอาระเบีย
นอร์เวย์ไม่ประสบปัญหาที่นักวิชาการมักเรียกกันว่า “โรคดัตช์” (Dutch Disease) นั่นคือ รายได้จากการขายทรัพยากรธรรมชาติมักนำไปสู่ความบิดเบือนทางนโยบายจนก่อให้เกิดปัญหาหนักหนาสาหัส หลังจากพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณมาก รัฐบาลนอร์เวย์ไม่ยอมให้เกิดการบิดเบือนทางนโยบาย ประเทศจึงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปในแนวเดิมได้จนในปัจจุบันนี้ชาวนอร์เวย์มีรายได้ต่อคนสูงเป็นลำดับ 3 ของโลก หรือราว 8 เท่าของชาวเวเนซุเอลา ทั้งประเทศแทบไม่มีคนจน มีความเหลื่อมล้ำต่ำมากและคนตกยากได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง
เรื่องที่เล่ามานี้อาจชี้ให้เห็นว่า การมีน้ำมันปริมาณมหาศาลและการเข้าถึงน้ำมันราคาถูกอาจมิใช่ปัจจัยที่จะทำให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง การตั้งเป้าหมายในการปฏิรูปภาคพลังงานว่าคนไทยต้องมีน้ำมันราคาถูกใช้อาจเป็นการวางกับดักไว้ล่วงหน้า ต่อไปกับดักนั้นจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาจนประเทศต้องประสบปัญหาหนักหนาสาหัสแบบไม่รู้จบ