ปีนี้เป็นปีที่กรุงเทพฯ ได้เผชิญกับบรรยากาศที่เรียกว่าฤดูหนาวจริงๆ หลังจากไม่ได้เจอแบบนี้มานับสิบปี ก็ต้องคารวะไปยังมวลมหาประชาชนที่ออกไปนอนกันอยู่กลางถนนเพื่อขับไล่รัฐบาลชั่วช้า โดยเฉพาะมวลมหาประชาชนชาว คปท.ที่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวพันธมิตรฯ สู้และยืนหยัดมาก่อน กปปส.
ลมหนาวพัดมาสัมผัสร่างกายทีไรก็ส่งใจไปถึงมวลมหาประชาชนที่ยืนหยัดอยู่กลางถนนทุกครั้ง
ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นลูกไม้พิษของต้นไม้พิษที่ชื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์นับวันก็ยิ่งแสดงอาการทุรนทุรายออกมามากขึ้น ด้วยการให้อำนาจรัฐปล่อยให้คนไปสร้างสถานการณ์ปาระเบิดใส่ฝูงชนอย่างโหดเหี้ยมไม่สนว่าจะเกิดความสูญเสียแก่ใคร เพื่อหาเหตุผลมาประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)
ที่สรุปและจับใจความได้ว่ามันเป็นภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินของประเทศ เพราะมวลมหาประชาชนเขายังชุมนุมอย่างสงบและแสดงออกเพียงการอารยะขัดขืนต่างกับผู้ชุมนุมที่อ้างตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อปี 2552 และ 2553 ที่รัฐบาลในสมัยนั้นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพราะผู้ชุมนุมใช้อาวุธสงครามก่อเหตุรุนแรงไม่เว้นแต่ละวัน ต่างกับตอนนี้ที่ผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายถูกกระทำ
ยิ่งให้เฉลิม อยู่บำรุง มาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบด้วยแล้ว ก็ยิ่งบ่งบอกว่า นี่เป็นเฮือกสุดท้ายของรัฐบาลทรราชแล้ว
แต่รัฐบาลจะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ประกาศไป เพราะมวลมหาประชาชนที่เขาออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้นับว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมอีกแล้ว การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้จึงเป็นประกาศที่ไม่มีใครใส่ใจ รัฐบาลในขณะนี้เป็นเพียงรัฐบาลของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่รัฐบาลของคนไทยทั้งประเทศ มวลมหาประชาชนไม่ยอมรับอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลชุดนี้อีกแล้วการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลครั้งนี้ ยังถูกท้วงติงว่ามีอำนาจประกาศใช้หรือไม่ เพราะเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (4) ว่าด้วยการห้ามไม่ให้ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดๆ ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้รัฐบาลดำเนินการระหว่างที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ถามพวกรับใช้ทักษิณที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย เลือกตั้งในท่ามกลางประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ต่างกันตรงไหนที่พวกนี้เคยตะแบงเมื่อครั้งลงประชามติว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะอยู่ท่ามกลางการประกาศใช้กฎอัยการศึก
แต่ประเด็นสำคัญที่ไม่มีใครพูดถึงคือ มาตรา 16 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
นั่นคือการใช้อำนาจของรัฐบาลผ่าน พ.ร.ก.ฉบับนี้จะนำคดีไปสู่ศาลปกครองไม่ได้เท่ากับว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้ประกาศลบล้างอำนาจของศาลปกครองซึ่งจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งโดยหลักการแล้วกฎหมายจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และตามศักดิ์แห่งกฎหมายพระราชกำหนดจะไปลบล้างกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดไม่ได้
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับนี้ไม่สามารถลดทอนพลังของมวลมหาประชาชนลงได้แน่ แม้รู้ว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้ก็คือ ใบอนุญาตให้รัฐบาลใช้อำนาจเกินกว่าเหตุได้ และให้รัฐบาลละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนได้
นอกจากนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังช่วยให้การชุมนุมของมวลมหาประชาชนกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากกำนันชัตดาวน์กรุงเทพฯ มาเกือบ 2 อาทิตย์ แต่ยังไม่ส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม จนทำท่าว่าจะหมดมุก แต่ก็ได้ พ.ร.ก.ฉบับนี้นี่แหละที่ทำให้กำนันสุเทพกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลออกมาช่วยเรียกแขกให้กำนันมากขึ้น
ดูเหมือนว่า ตอนนี้รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ด้านหนึ่งมีการอธิบายว่ารัฐบาลออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาเพื่อคุ้มครองการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันมวลมหาประชาชนบุกเข้าไปยึดหน่วยเลือกตั้งแบบที่บังกลาเทศ
และเพื่อรัฐบาลจะเอาการเลือกตั้งมาอธิบายต่อชาวโลกว่า รัฐบาลยึดมั่นในประชาธิปไตยเคารพการตัดสินใจของประชาชน โดยไม่แคร์ว่า หลังการเลือกตั้งจะเปิดสภาฯ ได้หรือไม่ แม้จะมีแนวโน้มว่า ไม่สามารถเลือกตั้งให้ครบ 95% ตามกฎหมายได้ รัฐบาลก็ไม่สนใจ เพราะถ้าเปิดสภาฯ ไม่ได้อำนาจรักษาการก็ยังคงอยู่กับรัฐบาลอีกต่อไป
ในขณะที่กำนันเองก็ยังมั่นใจว่า สามารถยับยั้งการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แน่ แม้จะเขยิบใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาทุกทีก็ตาม ถึงตอนนี้จะมีเสียงถามกันว่า ถ้าไม่สามารถยับยั้งการเลือกตั้งได้แล้ว ฝ่ายมวลมหาประชาชนจะทำอย่างไร ระหว่างไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งกับการไปเลือกตั้งแล้วใช้สิทธิโหวตโนกาช่องไม่เลือกใคร ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับที่ชัดเจนออกมาจากปากของกำนัน
แต่ที่รัฐบาลประสบชัดเจนหลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินชัดก็คือ อำนาจรัฐในมือของรัฐบาลนั้นไม่ได้มีอยู่จริงอีกต่อไป เพราะนอกจากประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศไม่สนใจต่อประกาศดังกล่าวแล้ว ท่าทีของทหารซึ่งควรจะมีบทบาทภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็แสดงอาการแข็งขืนออกมาอย่างชัดเจนว่า ไม่ยอมรับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ครั้งนี้ และฝ่ายทหารก็พูดชัดว่า สถานการณ์ในขณะนี้แตกต่างกับปี 2553 เพราะปีนั้นประชาชนและสถานที่ราชการเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อความรุนแรง แต่ครั้งนี้ผู้ชุมนุมเป็นเหยื่อของพวกที่มีเป้าหมายสร้างความรุนแรง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.พูดชัดว่า รู้ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มไหน
เพียงแต่ต้องตั้งคำถามต่อพล.อ.ประยุทธ์ที่ออกมาพูดว่า “...เมื่อไรก็ตามที่ความขัดแย้งรุนแรงถึงระดับที่แก้ไขอะไรไม่ได้ทหารจำเป็นจะต้องแก้ไข...” นั้น ระดับความรุนแรงของพล.อ.ประยุทธ์อยู่แค่ไหน และทั้งที่ตนเองบอกว่ารู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ พล.อ.ประยุทธ์จะต้องให้ประชาชนเสียชีวิตอีกกี่คน
ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนจะต้องจับตาภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลนี้ก็คือ ท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์นี่แหละครับว่า วันนี้เขายังเป็นนายทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นทหารของประชาชนหรือทหารของระบอบทักษิณ พล.อ.ประยุทธ์ต้องพิสูจน์ตัวตนว่า จะยอมรับคำสั่งของรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่ และพิสูจน์ตัวเองท่ามกลางข้อครหาของคลิปถั่งเช่าที่ทักษิณพูดว่า “ไว้ใจ ไว้ใจ ไอ้ตู่มาก”
อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับนี้ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรที่จะยับยั้งมวลมหาประชาชนได้ นอกจากช่วยตอกย้ำสถานะของรัฐบาลนี้มากยิ่งขึ้นว่า ไม่สามารถปกครองประเทศนี้ได้อีกต่อไป
ลมหนาวพัดมาสัมผัสร่างกายทีไรก็ส่งใจไปถึงมวลมหาประชาชนที่ยืนหยัดอยู่กลางถนนทุกครั้ง
ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นลูกไม้พิษของต้นไม้พิษที่ชื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์นับวันก็ยิ่งแสดงอาการทุรนทุรายออกมามากขึ้น ด้วยการให้อำนาจรัฐปล่อยให้คนไปสร้างสถานการณ์ปาระเบิดใส่ฝูงชนอย่างโหดเหี้ยมไม่สนว่าจะเกิดความสูญเสียแก่ใคร เพื่อหาเหตุผลมาประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)
ที่สรุปและจับใจความได้ว่ามันเป็นภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินของประเทศ เพราะมวลมหาประชาชนเขายังชุมนุมอย่างสงบและแสดงออกเพียงการอารยะขัดขืนต่างกับผู้ชุมนุมที่อ้างตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อปี 2552 และ 2553 ที่รัฐบาลในสมัยนั้นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพราะผู้ชุมนุมใช้อาวุธสงครามก่อเหตุรุนแรงไม่เว้นแต่ละวัน ต่างกับตอนนี้ที่ผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายถูกกระทำ
ยิ่งให้เฉลิม อยู่บำรุง มาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบด้วยแล้ว ก็ยิ่งบ่งบอกว่า นี่เป็นเฮือกสุดท้ายของรัฐบาลทรราชแล้ว
แต่รัฐบาลจะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ประกาศไป เพราะมวลมหาประชาชนที่เขาออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้นับว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมอีกแล้ว การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้จึงเป็นประกาศที่ไม่มีใครใส่ใจ รัฐบาลในขณะนี้เป็นเพียงรัฐบาลของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่รัฐบาลของคนไทยทั้งประเทศ มวลมหาประชาชนไม่ยอมรับอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลชุดนี้อีกแล้วการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลครั้งนี้ ยังถูกท้วงติงว่ามีอำนาจประกาศใช้หรือไม่ เพราะเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (4) ว่าด้วยการห้ามไม่ให้ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดๆ ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้รัฐบาลดำเนินการระหว่างที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ถามพวกรับใช้ทักษิณที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย เลือกตั้งในท่ามกลางประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ต่างกันตรงไหนที่พวกนี้เคยตะแบงเมื่อครั้งลงประชามติว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะอยู่ท่ามกลางการประกาศใช้กฎอัยการศึก
แต่ประเด็นสำคัญที่ไม่มีใครพูดถึงคือ มาตรา 16 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
นั่นคือการใช้อำนาจของรัฐบาลผ่าน พ.ร.ก.ฉบับนี้จะนำคดีไปสู่ศาลปกครองไม่ได้เท่ากับว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้ประกาศลบล้างอำนาจของศาลปกครองซึ่งจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งโดยหลักการแล้วกฎหมายจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และตามศักดิ์แห่งกฎหมายพระราชกำหนดจะไปลบล้างกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดไม่ได้
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับนี้ไม่สามารถลดทอนพลังของมวลมหาประชาชนลงได้แน่ แม้รู้ว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้ก็คือ ใบอนุญาตให้รัฐบาลใช้อำนาจเกินกว่าเหตุได้ และให้รัฐบาลละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนได้
นอกจากนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังช่วยให้การชุมนุมของมวลมหาประชาชนกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากกำนันชัตดาวน์กรุงเทพฯ มาเกือบ 2 อาทิตย์ แต่ยังไม่ส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม จนทำท่าว่าจะหมดมุก แต่ก็ได้ พ.ร.ก.ฉบับนี้นี่แหละที่ทำให้กำนันสุเทพกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลออกมาช่วยเรียกแขกให้กำนันมากขึ้น
ดูเหมือนว่า ตอนนี้รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ด้านหนึ่งมีการอธิบายว่ารัฐบาลออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาเพื่อคุ้มครองการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันมวลมหาประชาชนบุกเข้าไปยึดหน่วยเลือกตั้งแบบที่บังกลาเทศ
และเพื่อรัฐบาลจะเอาการเลือกตั้งมาอธิบายต่อชาวโลกว่า รัฐบาลยึดมั่นในประชาธิปไตยเคารพการตัดสินใจของประชาชน โดยไม่แคร์ว่า หลังการเลือกตั้งจะเปิดสภาฯ ได้หรือไม่ แม้จะมีแนวโน้มว่า ไม่สามารถเลือกตั้งให้ครบ 95% ตามกฎหมายได้ รัฐบาลก็ไม่สนใจ เพราะถ้าเปิดสภาฯ ไม่ได้อำนาจรักษาการก็ยังคงอยู่กับรัฐบาลอีกต่อไป
ในขณะที่กำนันเองก็ยังมั่นใจว่า สามารถยับยั้งการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แน่ แม้จะเขยิบใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาทุกทีก็ตาม ถึงตอนนี้จะมีเสียงถามกันว่า ถ้าไม่สามารถยับยั้งการเลือกตั้งได้แล้ว ฝ่ายมวลมหาประชาชนจะทำอย่างไร ระหว่างไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งกับการไปเลือกตั้งแล้วใช้สิทธิโหวตโนกาช่องไม่เลือกใคร ก็ยังไม่มีเสียงตอบรับที่ชัดเจนออกมาจากปากของกำนัน
แต่ที่รัฐบาลประสบชัดเจนหลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินชัดก็คือ อำนาจรัฐในมือของรัฐบาลนั้นไม่ได้มีอยู่จริงอีกต่อไป เพราะนอกจากประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศไม่สนใจต่อประกาศดังกล่าวแล้ว ท่าทีของทหารซึ่งควรจะมีบทบาทภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็แสดงอาการแข็งขืนออกมาอย่างชัดเจนว่า ไม่ยอมรับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ครั้งนี้ และฝ่ายทหารก็พูดชัดว่า สถานการณ์ในขณะนี้แตกต่างกับปี 2553 เพราะปีนั้นประชาชนและสถานที่ราชการเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อความรุนแรง แต่ครั้งนี้ผู้ชุมนุมเป็นเหยื่อของพวกที่มีเป้าหมายสร้างความรุนแรง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.พูดชัดว่า รู้ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มไหน
เพียงแต่ต้องตั้งคำถามต่อพล.อ.ประยุทธ์ที่ออกมาพูดว่า “...เมื่อไรก็ตามที่ความขัดแย้งรุนแรงถึงระดับที่แก้ไขอะไรไม่ได้ทหารจำเป็นจะต้องแก้ไข...” นั้น ระดับความรุนแรงของพล.อ.ประยุทธ์อยู่แค่ไหน และทั้งที่ตนเองบอกว่ารู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ พล.อ.ประยุทธ์จะต้องให้ประชาชนเสียชีวิตอีกกี่คน
ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนจะต้องจับตาภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลนี้ก็คือ ท่าทีของพล.อ.ประยุทธ์นี่แหละครับว่า วันนี้เขายังเป็นนายทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นทหารของประชาชนหรือทหารของระบอบทักษิณ พล.อ.ประยุทธ์ต้องพิสูจน์ตัวตนว่า จะยอมรับคำสั่งของรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่ และพิสูจน์ตัวเองท่ามกลางข้อครหาของคลิปถั่งเช่าที่ทักษิณพูดว่า “ไว้ใจ ไว้ใจ ไอ้ตู่มาก”
อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับนี้ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรที่จะยับยั้งมวลมหาประชาชนได้ นอกจากช่วยตอกย้ำสถานะของรัฐบาลนี้มากยิ่งขึ้นว่า ไม่สามารถปกครองประเทศนี้ได้อีกต่อไป