ทำไมเราต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งหรือ ?
ทำใจเบา ๆ สบาย ๆ ค่อย ๆ คิดไปไกล ๆ ให้พ้นจากสถานการณ์บ้านเมืองเฉพาะหน้าที่วิกฤตสุด ๆ ในขณะนี้แล้วลองช่วยกันคิดตาม ผมเคยเขียนเรื่องทำนองนี้มาหลายครั้งมากตั้งแต่ปี 2535 แต่พอจะสรุปด้วยภาษาง่าย ๆ ที่แอบนำมาจากบางประโยคของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลมาประยุกต์ใหม่เพื่ออรรถาธิบายสั้น ๆ ว่าช่วงการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลไม่ใช่อะไรอื่นเลย หากแต่เป็น...
การทอนเงินระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมือง !
โดยพื้นฐานแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย หากจะนับจากปี 2475 อันเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา เรายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองมากมายนัก การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดของโครงสร้างการเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2435 ที่ก่อตั้งกลไกการปกครองสมัยใหม่ และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ในสมัยนั้นมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม อีกทั้งยังได้สลายอำนาจของขุนนาง และสร้างรูปแบบของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย พร้อม ๆ ไปกับการปฏิรูปสังคมในทุก ๆ ด้าน ถือว่าเป็นการปฏิวัติหรือปฏิรูปอย่างแท้จริงของการเมืองไทย โดยมีมูลเหตุสำคัญจากการป้องกันภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม โดยมหาอำนาจตะวันตก
การปรับตัวของโครงสร้าง เป็นการลอกเลียนแบบจากการปกครองอาณานิคมของประเทศตะวันตก ที่ตอบสนองอย่างดีกับระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นการปกครองแบบบังคับบัญชาควบคุมจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงสู่ระดับล่าง และเป็นการปกครองแบบใช้กลไกและเครื่องมือรัฐมาควบคุมประชาชนให้ทำตาม
ในช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นปัญหาอะไรมากมายนัก กลับสร้างความเจริญด้วยซ้ำ
เพราะผู้ปกครองยังยึดถือการปกครองโดยมี “ทศพิธราชธรรม” เป็นหลัก
แต่เมื่อสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ทางการเมืองการปกครอง โดยนำโครงสร้างรูปแบบทางการเมืองใหม่มาสวมครอบทับลงไปบนโครงสร้างพื้นฐานระบอบเดิม อันได้แก่โครงสร้างอำนาจนิยม และระบบอุปถัมภ์
กลายเป็นรัฐราชการรวมศูนย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์มาสู่กลุ่มขุนนาง และต่อมาก็เป็นการเปลี่ยนถ่ายจากขุนนางพลเรือนไปสู่ขุนนางทหารในการปฏิวัติหลายครั้ง
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักการเมืองพลเรือนจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น แต่ใจความหลักก็ยังเป็นการเปลี่ยนหน้า เปลี่ยนชุดของชนชั้นปกครอง ที่ขึ้นมาสวมทับบนโครงสร้างเดิมของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5
ความหมายของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็คือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “พ่อค้า” หรือ “ทุน” เข้ามาสู่การเมืองได้มากขึ้น
แทนที่พวกเขาจะจ่ายส่วนเกินทางเศรษฐกิจให้ขุนนางทหารเพื่ออภิสิทธิ์ ในการทำมาหากิน พวกเขาก็หันมาจ่ายนักการเมืองอาชีพแทน หรือไม่ก็เดินเข้ามาสู่การเมืองเสียเอง
การเปลี่ยนผู้กุมอำนาจจากทหารเป็นนักการเมือง-พรรคการเมือง ไม่ได้มีความหมายใหม่อะไรเลย นอกจากการเปลี่ยนให้คนกลุ่มใหญ่ขึ้นมาครองอำนาจการเมือง แทนที่จะเป็นนายพลนายพัน ก็เป็นนักการเมืองและพรรคการเมือง
แต่คนกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้นก็ยังเป็นคนส่วนน้อยของสังคมไทยอยู่ดี
และคนกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้น ก็คงยังทำมาหากินด้วยอภิสิทธิ์อยู่ดี แต่เป็นอภิสิทธิ์ที่แนบเนียนขึ้น แยบยลขึ้น และมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้น
สังคมไทยมักจะแก้ไขโครงสร้างส่วนบน แต่โครงสร้างส่วนล่างหรือรากฐานของสังคมไทยกลับเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งออก ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการดึงทรัพยากรจากชนบทเข้ามาสู่เมือง เป็นการขยายระบบอุปถัมภ์ในเชิงวัฒนธรรมเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ คนในเมืองคือผู้ที่ได้อรรถประโยชน์ในทรัพยากร ซึ่งต่อจากนั้นทรัพยากรก็ถูกดูดไปต่างประเทศ ส่วนคนในภาคชนบทกลับเป็นเหยื่อที่ถูกทำร้าย ถูกเอาเปรียบตลอด ทั้งยังถูกมองว่ามีความล้าหลังทางแนวคิดประชาธิปไตย เพราะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก
ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เรานำเข้ามาจากตะวันตกไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปแล้วก็ตาม
การปฏิรูปการเมืองก็คือการใช้มาตรการทางกฎหมายในการลิขิตให้การเมืองบริสุทธิ์
แต่ไม่สำเร็จ !
เพราะวัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับวัฒนธรรมในระบอบประชาธิปไตยตะวันตก
การก่อกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกมาจากรากฐานการดิ้นรนของชนชั้นใหม่ในสังคมที่เติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ให้หลุดพ้นจากอำนาจการปกครองของกษัตริย์ พระ และขุนนาง แล้วสร้างกฎเกณฑ์ใหม่เป็น “ตัวหนังสือ” ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว
การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญของคนตะวันตกจึงเป็นไปด้วยจิตสำนึก เป็นหลัก ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวถูกลงโทษ แต่ของบ้านเราเป็นการนำเอากรอบความคิด กรอบโครงสร้าง ที่เขาพัฒนามาแล้ว มาครอบทับกับสังคมที่มันมีพื้นฐานแตกต่าง การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญโดยจิตสำนึกนอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังมีแต่การพยายามหลีกเลี่ยงหาช่องว่างช่องโหว่ในทุกทาง
ในตะวันตกมีการเมืองท้องถิ่นก่อน มีรัฐบาลท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ในขณะที่บ้านเรายังไม่มีการเมืองท้องถิ่นและรัฐบาลท้องถิ่นเลย
วัฒนธรรมของสังคมไทยจึงยังเป็นแบบวัฒนธรรมตะวันออก
วัฒนธรรมระบบศักดินา ผู้น้อยพึ่งผู้ใหญ่ เป็นวัฒนธรรมที่เห็นพวกพ้องสำคัญกว่าเรื่องของความถูกต้อง เป็นวัฒนธรรมที่เห็นความสำคัญของ “พรรคพวก” มากกว่า “พรรค” เป็นวัฒนธรรมที่คนในระดับรากหญ้าหรือแม้กระทั่งคนชั้นกลางส่วนใหญ่เรียกร้องความเด็ดขาด ความรวดเร็ว โดยไม่คำนึงกระบวนการทางนิติรัฐเท่าที่ควร พูดง่ายๆ ว่าต้องการ “ผล” มากกว่า “วิธีการ” เสียงเรียกร้องผู้นำแบบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แบบจอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือแม้กระทั่งแบบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงมีมาโดยตลอด
นี่คือโครงสร้างสังคมพื้นฐานที่ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญของเรารับใช้ !
แม้การปฏิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นในปี 2539-2540 แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็ทำให้พันธมิตรกลุ่มทุนที่ร่วมกันก่อตั้งพรรคไทยรักไทยได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีมาตรการเพิ่มความเข้มแข็งให้ผู้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนพัฒนามาเป็นการรวมศูนย์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจไว้ที่คนคนเดียวจนต้องเกิดวิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ขึ้น และวิกฤตนี้ยังดำรงมาจนถึงปัจจุบัน
การเลือกตั้งแต่ละครั้ง การจัดตั้งรัฐบาลแต่ละครั้ง กระทั่งความปรองดองความสมานฉันท์ที่เป็นวาทกรรมใหม่ในรอบหลายปีมานี้แท้จริงแล้วก็คือการทอนเงินระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมือง หลังจากนั้นเมื่อจัดตั้งรัฐบาลเสร็จก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นการตั้งโต๊ะเก็บเงินของกลุ่มอำนาจทางการเมือง
คนหย่อนบัตรเลือกก็แค่องค์ประกอบสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้สมตามแบบพิธีเท่านั้น ?
เราจึงไม่ต้องการเดินซ้ำรอยเดิม !
ทำใจเบา ๆ สบาย ๆ ค่อย ๆ คิดไปไกล ๆ ให้พ้นจากสถานการณ์บ้านเมืองเฉพาะหน้าที่วิกฤตสุด ๆ ในขณะนี้แล้วลองช่วยกันคิดตาม ผมเคยเขียนเรื่องทำนองนี้มาหลายครั้งมากตั้งแต่ปี 2535 แต่พอจะสรุปด้วยภาษาง่าย ๆ ที่แอบนำมาจากบางประโยคของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลมาประยุกต์ใหม่เพื่ออรรถาธิบายสั้น ๆ ว่าช่วงการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลไม่ใช่อะไรอื่นเลย หากแต่เป็น...
การทอนเงินระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมือง !
โดยพื้นฐานแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย หากจะนับจากปี 2475 อันเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา เรายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองมากมายนัก การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดของโครงสร้างการเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2435 ที่ก่อตั้งกลไกการปกครองสมัยใหม่ และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ในสมัยนั้นมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม อีกทั้งยังได้สลายอำนาจของขุนนาง และสร้างรูปแบบของรัฐชาติสมัยใหม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย พร้อม ๆ ไปกับการปฏิรูปสังคมในทุก ๆ ด้าน ถือว่าเป็นการปฏิวัติหรือปฏิรูปอย่างแท้จริงของการเมืองไทย โดยมีมูลเหตุสำคัญจากการป้องกันภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม โดยมหาอำนาจตะวันตก
การปรับตัวของโครงสร้าง เป็นการลอกเลียนแบบจากการปกครองอาณานิคมของประเทศตะวันตก ที่ตอบสนองอย่างดีกับระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นการปกครองแบบบังคับบัญชาควบคุมจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงสู่ระดับล่าง และเป็นการปกครองแบบใช้กลไกและเครื่องมือรัฐมาควบคุมประชาชนให้ทำตาม
ในช่วงแรกๆ ยังไม่เป็นปัญหาอะไรมากมายนัก กลับสร้างความเจริญด้วยซ้ำ
เพราะผู้ปกครองยังยึดถือการปกครองโดยมี “ทศพิธราชธรรม” เป็นหลัก
แต่เมื่อสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาส่วนใหญ่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ทางการเมืองการปกครอง โดยนำโครงสร้างรูปแบบทางการเมืองใหม่มาสวมครอบทับลงไปบนโครงสร้างพื้นฐานระบอบเดิม อันได้แก่โครงสร้างอำนาจนิยม และระบบอุปถัมภ์
กลายเป็นรัฐราชการรวมศูนย์
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์มาสู่กลุ่มขุนนาง และต่อมาก็เป็นการเปลี่ยนถ่ายจากขุนนางพลเรือนไปสู่ขุนนางทหารในการปฏิวัติหลายครั้ง
เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักการเมืองพลเรือนจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น แต่ใจความหลักก็ยังเป็นการเปลี่ยนหน้า เปลี่ยนชุดของชนชั้นปกครอง ที่ขึ้นมาสวมทับบนโครงสร้างเดิมของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5
ความหมายของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็คือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “พ่อค้า” หรือ “ทุน” เข้ามาสู่การเมืองได้มากขึ้น
แทนที่พวกเขาจะจ่ายส่วนเกินทางเศรษฐกิจให้ขุนนางทหารเพื่ออภิสิทธิ์ ในการทำมาหากิน พวกเขาก็หันมาจ่ายนักการเมืองอาชีพแทน หรือไม่ก็เดินเข้ามาสู่การเมืองเสียเอง
การเปลี่ยนผู้กุมอำนาจจากทหารเป็นนักการเมือง-พรรคการเมือง ไม่ได้มีความหมายใหม่อะไรเลย นอกจากการเปลี่ยนให้คนกลุ่มใหญ่ขึ้นมาครองอำนาจการเมือง แทนที่จะเป็นนายพลนายพัน ก็เป็นนักการเมืองและพรรคการเมือง
แต่คนกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้นก็ยังเป็นคนส่วนน้อยของสังคมไทยอยู่ดี
และคนกลุ่มใหญ่ขึ้นนั้น ก็คงยังทำมาหากินด้วยอภิสิทธิ์อยู่ดี แต่เป็นอภิสิทธิ์ที่แนบเนียนขึ้น แยบยลขึ้น และมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้น
สังคมไทยมักจะแก้ไขโครงสร้างส่วนบน แต่โครงสร้างส่วนล่างหรือรากฐานของสังคมไทยกลับเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งออก ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการดึงทรัพยากรจากชนบทเข้ามาสู่เมือง เป็นการขยายระบบอุปถัมภ์ในเชิงวัฒนธรรมเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ คนในเมืองคือผู้ที่ได้อรรถประโยชน์ในทรัพยากร ซึ่งต่อจากนั้นทรัพยากรก็ถูกดูดไปต่างประเทศ ส่วนคนในภาคชนบทกลับเป็นเหยื่อที่ถูกทำร้าย ถูกเอาเปรียบตลอด ทั้งยังถูกมองว่ามีความล้าหลังทางแนวคิดประชาธิปไตย เพราะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก
ทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เรานำเข้ามาจากตะวันตกไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปแล้วก็ตาม
การปฏิรูปการเมืองก็คือการใช้มาตรการทางกฎหมายในการลิขิตให้การเมืองบริสุทธิ์
แต่ไม่สำเร็จ !
เพราะวัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับวัฒนธรรมในระบอบประชาธิปไตยตะวันตก
การก่อกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยในโลกตะวันตกมาจากรากฐานการดิ้นรนของชนชั้นใหม่ในสังคมที่เติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ให้หลุดพ้นจากอำนาจการปกครองของกษัตริย์ พระ และขุนนาง แล้วสร้างกฎเกณฑ์ใหม่เป็น “ตัวหนังสือ” ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว
การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญของคนตะวันตกจึงเป็นไปด้วยจิตสำนึก เป็นหลัก ไม่ใช่เพราะเกรงกลัวถูกลงโทษ แต่ของบ้านเราเป็นการนำเอากรอบความคิด กรอบโครงสร้าง ที่เขาพัฒนามาแล้ว มาครอบทับกับสังคมที่มันมีพื้นฐานแตกต่าง การเคารพกฎหมายเคารพรัฐธรรมนูญโดยจิตสำนึกนอกจากจะไม่เกิดแล้ว ยังมีแต่การพยายามหลีกเลี่ยงหาช่องว่างช่องโหว่ในทุกทาง
ในตะวันตกมีการเมืองท้องถิ่นก่อน มีรัฐบาลท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ในขณะที่บ้านเรายังไม่มีการเมืองท้องถิ่นและรัฐบาลท้องถิ่นเลย
วัฒนธรรมของสังคมไทยจึงยังเป็นแบบวัฒนธรรมตะวันออก
วัฒนธรรมระบบศักดินา ผู้น้อยพึ่งผู้ใหญ่ เป็นวัฒนธรรมที่เห็นพวกพ้องสำคัญกว่าเรื่องของความถูกต้อง เป็นวัฒนธรรมที่เห็นความสำคัญของ “พรรคพวก” มากกว่า “พรรค” เป็นวัฒนธรรมที่คนในระดับรากหญ้าหรือแม้กระทั่งคนชั้นกลางส่วนใหญ่เรียกร้องความเด็ดขาด ความรวดเร็ว โดยไม่คำนึงกระบวนการทางนิติรัฐเท่าที่ควร พูดง่ายๆ ว่าต้องการ “ผล” มากกว่า “วิธีการ” เสียงเรียกร้องผู้นำแบบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แบบจอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือแม้กระทั่งแบบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จึงมีมาโดยตลอด
นี่คือโครงสร้างสังคมพื้นฐานที่ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญของเรารับใช้ !
แม้การปฏิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นในปี 2539-2540 แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็ทำให้พันธมิตรกลุ่มทุนที่ร่วมกันก่อตั้งพรรคไทยรักไทยได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีมาตรการเพิ่มความเข้มแข็งให้ผู้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนพัฒนามาเป็นการรวมศูนย์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจไว้ที่คนคนเดียวจนต้องเกิดวิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ขึ้น และวิกฤตนี้ยังดำรงมาจนถึงปัจจุบัน
การเลือกตั้งแต่ละครั้ง การจัดตั้งรัฐบาลแต่ละครั้ง กระทั่งความปรองดองความสมานฉันท์ที่เป็นวาทกรรมใหม่ในรอบหลายปีมานี้แท้จริงแล้วก็คือการทอนเงินระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมือง หลังจากนั้นเมื่อจัดตั้งรัฐบาลเสร็จก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นการตั้งโต๊ะเก็บเงินของกลุ่มอำนาจทางการเมือง
คนหย่อนบัตรเลือกก็แค่องค์ประกอบสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้สมตามแบบพิธีเท่านั้น ?
เราจึงไม่ต้องการเดินซ้ำรอยเดิม !