การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้บ้านเมืองดีขึ้นในหลายสิบปีที่ผ่านมานั้นล้วนเป็นวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ระบบรัฐสภาหรือประท้วงอำนาจเผด็จการ แต่การเคลื่อนไหวเรียกร้องในวันนี้ไม่เหมือนคราวก่อน และไม่นึกว่าคราวนี้จะมีประชาชนออกมาเป็นจำนวนมากครอบคลุมทุกกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ กลุ่มอาชีพต่างๆ ประชาชนทั่วไป คราวนี้เป็นการประท้วงสภาผู้แทนราษฎรที่ออกกฎหมายขัดกับความรู้สึกและขัดกับหลักประชาธิปไตย
วิกฤตของประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานี้คือ
1. วิกฤตระบบการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก การเมืองและระบบรัฐสภาของไทยมีนานแล้ว และรัฐธรรมนูญก็ได้แก้ไขให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เหตุใดประชาชนจึงยังไม่พอใจ ทำอย่างไรประชาธิปไตยจึงจะเป็นระบอบการเมืองที่แก้ไขปัญหาสังคม แก้ปัญหาการซื้อเสียงและแก้ปัญหาพรรคการเมืองได้ ปกติแล้วสังคมเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของมัน แต่ตอนนี้พรรคการเมืองกลับมาทำให้ระบบการเมืองมีปัญหาซะเอง การเมืองเป็นตัวปัญหาของมันเองที่ก่อวิกฤต เราต้องมาคิดทบทวนกันดูว่าระบอบการเมืองที่เป็นอยู่นี้เหมาะสมหรือไม่ แต่เป็นเรื่องยากเพราะว่าระบบการเลือกตั้งที่เราบอกว่าเป็นความชอบธรรม แต่เราก็ไม่สามารถสกัดกั้นอำนาจเงินและการซื้อเสียงได้ และเราก็ไม่สามารถหาทางออกได้ แล้วเราจะสามารถปฏิรูปกันอย่างไร
2. วิกฤตทางภาวะผู้นำ จริงๆ แล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะว่าเรามีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้นำที่มีอำนาจมากที่สุดแต่ปัญญาน้อยที่สุด ในขณะนี้ภาวะทางการเมืองเป็นอำนาจที่ถูกอำนาจทางการเมืองอื่นแฝงอยู่ นายกฯ ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ แม้จะมีผู้แสดงความคิดเห็น คัดค้านต่างๆ มากมายแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ภาวะผู้นำขณะนี้เหมือนรถยนต์ที่ไม่มีเบรก ไม่มีการทบทวนความผิดพลาด ผิดซ้ำซากตลอดเวลา แล้วยังมีประชานิยมสุดกู่ เช่น จำนำข้าวที่ไม่ควรทำ ความจริงจำนำข้าวไม่ผิด ไม่ใช่ของไม่ดี แต่ที่ผิดปกติคือ ไม่มีการไถ่ถอนคืนและตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาด
3. การดำเนินนโยบายประชานิยมสุดกู่ จนเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจการคลังของประเทศ นโยบายประชานิยมนี้น่าจะขยายขอบเขตออกไปอีกเพราะมีผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้ง และขณะนี้ก็มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องสูง มีการตั้งเป็นวงการขนาดใหญ่และไม่มีการควบคุม
4. วิกฤตการคอร์รัปชันที่มีอย่างกว้างขวางมากกว่าสมัยใดๆ เป็นโครงการขนาดใหญ่และไม่มีมาตรการควบคุมได้อย่างชัดเจน การคอร์รัปชันทางนโยบายก็ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่สามารถแก้ไขได้มันควบคู่กับนโยบายของรัฐบาลอย่างแยกกันไม่ออก แม้แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็มีการเรียกเก็บเงินที่เรียกว่าการทอนเงิน
5. แนวโน้มการเป็นเผด็จการของรัฐ เผด็จการโดยการเลือกตั้ง โดยการปกครองของผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจมาก ประชาชนจะคัดค้านอย่างไรก็ไม่เป็นผล รัฐบาลก็ยังออกกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรมได้ เช่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต้น ลึกๆ แล้วอยู่ที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมระบบราชการ ด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ โดยให้ผู้ที่ต่อต้านไม่ก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ ทำให้กลไกราชการยอมสยบต่ออำนาจทางการเมือง ผมมีลูกศิษย์สอบได้ที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ เก่งกาจมาก ไปเป็นนักการทูตที่อเมริกา ถูกย้ายไปเกาหลี แล้วก็ถูกย้ายไปลิเบีย เหตุผลเขากระซิบบอกผมว่าเป็นคนหัวแข็งต่อต้านระบอบทักษิณ อำนาจเผด็จการอันนี้มันแทรกซึมเข้าระบบราชการ รวมทั้งระบบธุรกิจเศรษฐกิจ ถ้าใครไม่ยอมก็จะถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เหล่านี้ความจริงไม่ควรเกิดในระบอบประชาธิปไตย
6. วิกฤตความชอบธรรมของรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมสูง แต่ตอนนี้ประชาชนไม่เชื่อใจรัฐบาล รัฐบาลจะทำอะไรประชาชนสงสัยไปหมด เช่น พ.ร.บ.นิโทษกรรมตกไป แต่ยังเหลืออีก 180 วัน รัฐบาลบอกไม่เอากลับมาก็ไม่มีใครเชื่อยังคงชุมนุมกันต่อ ระบบการเมือง รัฐสภาเป็นไปโดยขัดกับหลักการของประชาธิปไตย ถูกกระทำให้กลายเป็นกลไกของเผด็จการ อำนาจฝ่ายบริหารคืบคลานเข้าสู่อำนาจนิติบัญญัติ เช่น มาตรา 190 ที่จะทำฝ่ายบริหารทำงานได้สะดวก กลไกเหล่านี้ทุกประเทศมีไว้ช่วยหากระบบใดมีปัญหา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเมืองนอกสภาฯ ที่ไม่มีใครอยากให้เป็น ส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ลาออกก็คงเหลืออดเช่นกัน
สิ่งที่น่าสังเกตคือคราวนี้พรรคการเมืองเป็นผู้เคลื่อนไหว ในอดีตจะมีสองกระแสคือ พรรคการเมืองหรือประชาชน ถ้าเป็นประชาชนก็จะบอกว่าไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งๆ ที่เคลื่อนไหวเรื่องการเมือง แต่คราวนี้ประชาชนสิ้นหวัง เพราะ ส.ส.ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พึ่งของประชาชน แล้วยังออกกฎหมายที่เอื้อต่อคนกลุ่มเดียว ที่ผิดกลับทำให้ไม่ผิด เผาบ้านเผาเมืองแล้วไม่ต้องรับโทษ ฝ่ายตุลาการกลายเป็นองค์กรที่ผู้คนให้ความหวังมากขึ้น ที่เราเรียกว่า “ตุลาการภิวัฒน์” และเราหวังว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
สมัยก่อนเราจะพึ่งทหาร คือการรัฐประหาร แก้รัฐธรรมนูญ ได้รัฐบาลใหม่ สภาฯ ใหม่ไม่ดีก็รัฐประหารอีก วนซ้ำอยู่อย่างนี้ แต่เวลานี้วิกฤตการเมืองก้าวขึ้นสู่การขัดแย้งภายในสังคมที่มีความแตกแยกไม่เพียงความคิด แต่เป็นการต่อต้านหรือสนับสนุนบุคคลออกเป็นสองขั้ว ไม่มีสมัยไหนที่ประชาชนถูกปลุกเร้ามากขนาดนี้ กลายเป็นการเมืองจัดตั้งมากกว่า คนชุมนุมถูกเกณฑ์มาจากชนบท คนในชนบทจึงเริ่มมีการตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มันเป็นไปในด้านลบและแนวโน้มรุนแรง การชุมนุมจะมีทั้งแบบนัดหมายกันกะทันหัน และแบบจัดตั้งมีวิทยุชุมชน มีการชักธงแดงต่างๆ
7. วิกฤตที่คนส่วนหนึ่งถูกปลุกระดมให้ปฏิปักษ์ต่อประมุขของรัฐ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ขยายขอบเขตที่เป็นอันตรายมาก ที่ผ่านมาเรามีศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ตอนนี้เป็นวิกฤตทางจิตวิญญาณ คนไทยเราเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ที่เคยมีมาอย่างยาวนานมันสั่นคลอน ความจงรักภักดีประเทศนั้นชาตินิยมไม่สำคัญเท่านับถือองค์พระประมุข เมื่อความรู้สึกทางจิตวิญญาณสั่นคลอนไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือพฤติกรรมทางการเมืองของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ที่กล่าวมาทั้งหมดปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนเป็นเรื่องที่เราต้องทบทวนคือ
1. ตัวแบบการปกครอง ควรได้รับการทบทวน เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด มีน้อยคนที่จะออกมาให้ความเห็น สิ่งที่เราทำกันคือ การถวายฎีกา แต่ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง เราควรเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นหรือไม่ ทำให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ระบบการเลือกตั้งควรมีระบบการป้องกันซื้อเสียงโดยการเลือกตั้ง 2 ประเภทหรือไม่ซึ่งก็ยังไม่มีประเทศไหนทำ คือ ประชาชนผู้มีรายได้เท่านี้บาทเลือกผู้แทนประเภทหนึ่ง มีรายได้ต่ำเลือกผู้แทนอีกประเภทหนึ่ง ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่คำตอบคือเรื่องเหล่านี้ทำไม่ได้ ไปๆ มาๆ เราก็กลับมาสู่การเลือกตั้งระบบเดิม แต่วิธีการก็คือเราก็ต้องมาหาทางป้องกันการซื้อเสียง และป้องกันการเข้ามาหาผลประโยชน์ การป้องกันนี้พยายามทำกันมามากแต่ก็ทำไม่ได้ เราก็พยายามมาแก้ที่ ส.ว. โดยให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งนึง แต่งตั้งครึ่งนึง ที่ผ่านมาก็ดีพอสมควรมีกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ยังพอเป็นตัวของตัวเองยับยั้งกฎหมายได้ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ระดับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนั้นเรายังต้องคิดกันต่อไป หลายประเทศก็มีตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง เช่น อินโดนีเซีย พม่า ของไทยเรายังไม่มีการคิดกันอย่างจริงจัง
2. ทบทวนอำนาจนิติบัญญัติ ขอบเขตของฝ่ายนิติบัญญัติมีมากตรงที่นึกจะออกกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรมก็ออกมาได้โดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง ต่อไปนิติบัญญัติอาจถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญบางมาตราให้ไม่สามารถออกกฎหมายบางเรื่องได้ ในขณะที่ฝ่ายบริหารมีข้อจำกัดอำนาจจะอยู่ที่กฎหมายและประชาชน ในขณะนี้เราเหลือความหวังเพียงประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว
3. เราจะป้องกันประชานิยมสุดขั้วได้อย่างไร ประเทศอื่นเขาป้องกันผ่านกลไกสถาบันนโยบายต่างๆ ด้วยการออกมาให้ความเห็นคัดค้าน ของเราก็มี TDRI เป็นต้น การป้องกันการคอร์รัปชันก็เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการให้การศึกษาแก่ประชาชน ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นทางการ เราเคยพูดว่าการเมืองไม่ดีเพราะประชาชนมีการศึกษาต่ำเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องนัก ปัจจุบันนี้เรามีสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยมากมายคนมีการศึกษาขนาดนี้แล้วแต่การเมืองกลับเลวลง เพราะแท้จริงแล้วประชาชนมีการศึกษาทางการเมืองต่ำ ประชาชนมีการศึกษาสูงแต่กลับมีการศึกษาทางการเมืองต่ำ แปลว่า คนไทยมีจิตสำนึก จิตสาธารณะทางการเมืองน้อย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมน้อยและได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นัก
รายการของ ASTV จึงได้รับความนิยม คนที่ไม่เคยสนใจทางการเมืองกลับมาเปิดรายการเหล่านี้ทั้งวันเพราะอะไร เพราะรายการเหล่านี้ให้การศึกษาทางการเมือง ยกตัวอย่างในประเทศเยอรมนี มี Civic Education เป็นการเน้นให้การศึกษาทางการเมืองโดยการตั้งเป็นมูลนิธิ รัฐบาลเป็นผู้ให้เงิน ในประเทศตะวันตกก็มีการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน
เราจะเห็นว่าวิกฤตทางการเมืองเรามีหลายด้านและพัวพันกันหลายด้าน วิกฤตผู้นำ เรามีผู้นำเหมือนไม่มี ผลงานก็คือการไปทัวร์ต่างประเทศ นอกนั้นไม่เห็นบทบาทเด่นชัดอะไร ไม่มีการแสดงความคิดเห็นวิสัยทัศน์อะไร แต่สังคมไทยก็อยู่ได้เพราะภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน การจะฝ่าวิกฤตออกไปนั้นเราต้องมาร่วมกันคิด อย่าเสนออย่างเดียว ตอนที่มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย คิดว่า ที่เป็นอย่างนี้คือความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม การแก้ไขจะต้องมีนโยบายที่ไม่ใช่ประชานิยมสุดกู่ หรือถ้ามีก็ต้องเป็นไปในรูปแบบรัฐสวัสดิการมากกว่า วันนี้เรามาพบกันเหมือนมาบ่นให้ฟัง ทุกวันนี้มองไม่เห็นว่าวิกฤตของประเทศจะแก้ยังไง อาจเป็นปัญหาของคนเรื่องกิเลส ความโลภ ถ้าคิดอย่างนี้ก็เป็นการยอมจำนน เราต้องมาดูระบบของเราแล้วช่วยกันแก้ไข เราก็คงจะอยู่ด้วยความหวังต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตายจากกันไป
วิกฤตของประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานี้คือ
1. วิกฤตระบบการเมืองและระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก การเมืองและระบบรัฐสภาของไทยมีนานแล้ว และรัฐธรรมนูญก็ได้แก้ไขให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เหตุใดประชาชนจึงยังไม่พอใจ ทำอย่างไรประชาธิปไตยจึงจะเป็นระบอบการเมืองที่แก้ไขปัญหาสังคม แก้ปัญหาการซื้อเสียงและแก้ปัญหาพรรคการเมืองได้ ปกติแล้วสังคมเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของมัน แต่ตอนนี้พรรคการเมืองกลับมาทำให้ระบบการเมืองมีปัญหาซะเอง การเมืองเป็นตัวปัญหาของมันเองที่ก่อวิกฤต เราต้องมาคิดทบทวนกันดูว่าระบอบการเมืองที่เป็นอยู่นี้เหมาะสมหรือไม่ แต่เป็นเรื่องยากเพราะว่าระบบการเลือกตั้งที่เราบอกว่าเป็นความชอบธรรม แต่เราก็ไม่สามารถสกัดกั้นอำนาจเงินและการซื้อเสียงได้ และเราก็ไม่สามารถหาทางออกได้ แล้วเราจะสามารถปฏิรูปกันอย่างไร
2. วิกฤตทางภาวะผู้นำ จริงๆ แล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะว่าเรามีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้นำที่มีอำนาจมากที่สุดแต่ปัญญาน้อยที่สุด ในขณะนี้ภาวะทางการเมืองเป็นอำนาจที่ถูกอำนาจทางการเมืองอื่นแฝงอยู่ นายกฯ ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ แม้จะมีผู้แสดงความคิดเห็น คัดค้านต่างๆ มากมายแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ภาวะผู้นำขณะนี้เหมือนรถยนต์ที่ไม่มีเบรก ไม่มีการทบทวนความผิดพลาด ผิดซ้ำซากตลอดเวลา แล้วยังมีประชานิยมสุดกู่ เช่น จำนำข้าวที่ไม่ควรทำ ความจริงจำนำข้าวไม่ผิด ไม่ใช่ของไม่ดี แต่ที่ผิดปกติคือ ไม่มีการไถ่ถอนคืนและตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาด
3. การดำเนินนโยบายประชานิยมสุดกู่ จนเกิดผลต่อภาวะเศรษฐกิจการคลังของประเทศ นโยบายประชานิยมนี้น่าจะขยายขอบเขตออกไปอีกเพราะมีผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้ง และขณะนี้ก็มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องสูง มีการตั้งเป็นวงการขนาดใหญ่และไม่มีการควบคุม
4. วิกฤตการคอร์รัปชันที่มีอย่างกว้างขวางมากกว่าสมัยใดๆ เป็นโครงการขนาดใหญ่และไม่มีมาตรการควบคุมได้อย่างชัดเจน การคอร์รัปชันทางนโยบายก็ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่สามารถแก้ไขได้มันควบคู่กับนโยบายของรัฐบาลอย่างแยกกันไม่ออก แม้แต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็มีการเรียกเก็บเงินที่เรียกว่าการทอนเงิน
5. แนวโน้มการเป็นเผด็จการของรัฐ เผด็จการโดยการเลือกตั้ง โดยการปกครองของผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจมาก ประชาชนจะคัดค้านอย่างไรก็ไม่เป็นผล รัฐบาลก็ยังออกกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรมได้ เช่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต้น ลึกๆ แล้วอยู่ที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมระบบราชการ ด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ โดยให้ผู้ที่ต่อต้านไม่ก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ ทำให้กลไกราชการยอมสยบต่ออำนาจทางการเมือง ผมมีลูกศิษย์สอบได้ที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ เก่งกาจมาก ไปเป็นนักการทูตที่อเมริกา ถูกย้ายไปเกาหลี แล้วก็ถูกย้ายไปลิเบีย เหตุผลเขากระซิบบอกผมว่าเป็นคนหัวแข็งต่อต้านระบอบทักษิณ อำนาจเผด็จการอันนี้มันแทรกซึมเข้าระบบราชการ รวมทั้งระบบธุรกิจเศรษฐกิจ ถ้าใครไม่ยอมก็จะถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง เหล่านี้ความจริงไม่ควรเกิดในระบอบประชาธิปไตย
6. วิกฤตความชอบธรรมของรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมสูง แต่ตอนนี้ประชาชนไม่เชื่อใจรัฐบาล รัฐบาลจะทำอะไรประชาชนสงสัยไปหมด เช่น พ.ร.บ.นิโทษกรรมตกไป แต่ยังเหลืออีก 180 วัน รัฐบาลบอกไม่เอากลับมาก็ไม่มีใครเชื่อยังคงชุมนุมกันต่อ ระบบการเมือง รัฐสภาเป็นไปโดยขัดกับหลักการของประชาธิปไตย ถูกกระทำให้กลายเป็นกลไกของเผด็จการ อำนาจฝ่ายบริหารคืบคลานเข้าสู่อำนาจนิติบัญญัติ เช่น มาตรา 190 ที่จะทำฝ่ายบริหารทำงานได้สะดวก กลไกเหล่านี้ทุกประเทศมีไว้ช่วยหากระบบใดมีปัญหา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเมืองนอกสภาฯ ที่ไม่มีใครอยากให้เป็น ส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ลาออกก็คงเหลืออดเช่นกัน
สิ่งที่น่าสังเกตคือคราวนี้พรรคการเมืองเป็นผู้เคลื่อนไหว ในอดีตจะมีสองกระแสคือ พรรคการเมืองหรือประชาชน ถ้าเป็นประชาชนก็จะบอกว่าไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งๆ ที่เคลื่อนไหวเรื่องการเมือง แต่คราวนี้ประชาชนสิ้นหวัง เพราะ ส.ส.ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พึ่งของประชาชน แล้วยังออกกฎหมายที่เอื้อต่อคนกลุ่มเดียว ที่ผิดกลับทำให้ไม่ผิด เผาบ้านเผาเมืองแล้วไม่ต้องรับโทษ ฝ่ายตุลาการกลายเป็นองค์กรที่ผู้คนให้ความหวังมากขึ้น ที่เราเรียกว่า “ตุลาการภิวัฒน์” และเราหวังว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
สมัยก่อนเราจะพึ่งทหาร คือการรัฐประหาร แก้รัฐธรรมนูญ ได้รัฐบาลใหม่ สภาฯ ใหม่ไม่ดีก็รัฐประหารอีก วนซ้ำอยู่อย่างนี้ แต่เวลานี้วิกฤตการเมืองก้าวขึ้นสู่การขัดแย้งภายในสังคมที่มีความแตกแยกไม่เพียงความคิด แต่เป็นการต่อต้านหรือสนับสนุนบุคคลออกเป็นสองขั้ว ไม่มีสมัยไหนที่ประชาชนถูกปลุกเร้ามากขนาดนี้ กลายเป็นการเมืองจัดตั้งมากกว่า คนชุมนุมถูกเกณฑ์มาจากชนบท คนในชนบทจึงเริ่มมีการตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มันเป็นไปในด้านลบและแนวโน้มรุนแรง การชุมนุมจะมีทั้งแบบนัดหมายกันกะทันหัน และแบบจัดตั้งมีวิทยุชุมชน มีการชักธงแดงต่างๆ
7. วิกฤตที่คนส่วนหนึ่งถูกปลุกระดมให้ปฏิปักษ์ต่อประมุขของรัฐ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ขยายขอบเขตที่เป็นอันตรายมาก ที่ผ่านมาเรามีศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ตอนนี้เป็นวิกฤตทางจิตวิญญาณ คนไทยเราเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ที่เคยมีมาอย่างยาวนานมันสั่นคลอน ความจงรักภักดีประเทศนั้นชาตินิยมไม่สำคัญเท่านับถือองค์พระประมุข เมื่อความรู้สึกทางจิตวิญญาณสั่นคลอนไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือพฤติกรรมทางการเมืองของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ที่กล่าวมาทั้งหมดปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนเป็นเรื่องที่เราต้องทบทวนคือ
1. ตัวแบบการปกครอง ควรได้รับการทบทวน เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด มีน้อยคนที่จะออกมาให้ความเห็น สิ่งที่เราทำกันคือ การถวายฎีกา แต่ยังไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง เราควรเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นหรือไม่ ทำให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ระบบการเลือกตั้งควรมีระบบการป้องกันซื้อเสียงโดยการเลือกตั้ง 2 ประเภทหรือไม่ซึ่งก็ยังไม่มีประเทศไหนทำ คือ ประชาชนผู้มีรายได้เท่านี้บาทเลือกผู้แทนประเภทหนึ่ง มีรายได้ต่ำเลือกผู้แทนอีกประเภทหนึ่ง ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่คำตอบคือเรื่องเหล่านี้ทำไม่ได้ ไปๆ มาๆ เราก็กลับมาสู่การเลือกตั้งระบบเดิม แต่วิธีการก็คือเราก็ต้องมาหาทางป้องกันการซื้อเสียง และป้องกันการเข้ามาหาผลประโยชน์ การป้องกันนี้พยายามทำกันมามากแต่ก็ทำไม่ได้ เราก็พยายามมาแก้ที่ ส.ว. โดยให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งนึง แต่งตั้งครึ่งนึง ที่ผ่านมาก็ดีพอสมควรมีกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ยังพอเป็นตัวของตัวเองยับยั้งกฎหมายได้ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ระดับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนั้นเรายังต้องคิดกันต่อไป หลายประเทศก็มีตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง เช่น อินโดนีเซีย พม่า ของไทยเรายังไม่มีการคิดกันอย่างจริงจัง
2. ทบทวนอำนาจนิติบัญญัติ ขอบเขตของฝ่ายนิติบัญญัติมีมากตรงที่นึกจะออกกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรมก็ออกมาได้โดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง ต่อไปนิติบัญญัติอาจถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญบางมาตราให้ไม่สามารถออกกฎหมายบางเรื่องได้ ในขณะที่ฝ่ายบริหารมีข้อจำกัดอำนาจจะอยู่ที่กฎหมายและประชาชน ในขณะนี้เราเหลือความหวังเพียงประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว
3. เราจะป้องกันประชานิยมสุดขั้วได้อย่างไร ประเทศอื่นเขาป้องกันผ่านกลไกสถาบันนโยบายต่างๆ ด้วยการออกมาให้ความเห็นคัดค้าน ของเราก็มี TDRI เป็นต้น การป้องกันการคอร์รัปชันก็เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการให้การศึกษาแก่ประชาชน ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นทางการ เราเคยพูดว่าการเมืองไม่ดีเพราะประชาชนมีการศึกษาต่ำเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องนัก ปัจจุบันนี้เรามีสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยมากมายคนมีการศึกษาขนาดนี้แล้วแต่การเมืองกลับเลวลง เพราะแท้จริงแล้วประชาชนมีการศึกษาทางการเมืองต่ำ ประชาชนมีการศึกษาสูงแต่กลับมีการศึกษาทางการเมืองต่ำ แปลว่า คนไทยมีจิตสำนึก จิตสาธารณะทางการเมืองน้อย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมน้อยและได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นัก
รายการของ ASTV จึงได้รับความนิยม คนที่ไม่เคยสนใจทางการเมืองกลับมาเปิดรายการเหล่านี้ทั้งวันเพราะอะไร เพราะรายการเหล่านี้ให้การศึกษาทางการเมือง ยกตัวอย่างในประเทศเยอรมนี มี Civic Education เป็นการเน้นให้การศึกษาทางการเมืองโดยการตั้งเป็นมูลนิธิ รัฐบาลเป็นผู้ให้เงิน ในประเทศตะวันตกก็มีการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน
เราจะเห็นว่าวิกฤตทางการเมืองเรามีหลายด้านและพัวพันกันหลายด้าน วิกฤตผู้นำ เรามีผู้นำเหมือนไม่มี ผลงานก็คือการไปทัวร์ต่างประเทศ นอกนั้นไม่เห็นบทบาทเด่นชัดอะไร ไม่มีการแสดงความคิดเห็นวิสัยทัศน์อะไร แต่สังคมไทยก็อยู่ได้เพราะภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน การจะฝ่าวิกฤตออกไปนั้นเราต้องมาร่วมกันคิด อย่าเสนออย่างเดียว ตอนที่มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย คิดว่า ที่เป็นอย่างนี้คือความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม การแก้ไขจะต้องมีนโยบายที่ไม่ใช่ประชานิยมสุดกู่ หรือถ้ามีก็ต้องเป็นไปในรูปแบบรัฐสวัสดิการมากกว่า วันนี้เรามาพบกันเหมือนมาบ่นให้ฟัง ทุกวันนี้มองไม่เห็นว่าวิกฤตของประเทศจะแก้ยังไง อาจเป็นปัญหาของคนเรื่องกิเลส ความโลภ ถ้าคิดอย่างนี้ก็เป็นการยอมจำนน เราต้องมาดูระบบของเราแล้วช่วยกันแก้ไข เราก็คงจะอยู่ด้วยความหวังต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตายจากกันไป