ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพาษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
30 ธันวาคม 2556
ข้อ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 235 บัญญัติว่า “ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง…. ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม” นั่นหมายถึงว่านายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ไม่อาจเข้าไปเกี่ยงข้องในการเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้เลย และคณะกรรมการ กกต. จะให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในการเป็นผู้ควบคุม และดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะการกระทำดังกล่าว ย่อมเข้าข่ายที่จะทำให้การเลือกตั้งนั้น เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรมได้ และเข้าข่ายของการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้
รัฐธรรมนูญมาตรา 235 วรรค 2 ได้บัญญัติ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พรบ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พรบ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติและ กฎหมายว่าด้ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเลย ดังนั้นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กกต จึงเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ กกต. จึงเป็นผู้มีอำนาจโดยอำนาจของตนเอง ที่จะเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดตั้งหรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้ ภายใต้เงื่อนไขเพื่อให้การเลือกตั้งนั้นต้องเป็นไปได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และโดยที่คณะกรรมการ กกต. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยออกเป็นประกาศ ระเบียบ และมาตรการอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยไม่ผ่านรัฐสภา จึงเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักประกันให้ไว้กับประชาชนว่า เป็นองค์กรที่จะต้องกระทำการให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ตามที่ได้ประกาศไว้ในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 26 ซึ่งประกาศว่า “ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย….” และมาตรา 26 บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
การทำหน้าที่ของคณะกรรมการ กกต. ในกรณีที่ไม่สามารถ นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับกับกรณีใดได้ คณะกรรมการ กกต. ก็จะต้องใช้อำนาจหน้าที่ โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามหลักรัฐธรรมนูญ มาใช้บังคับแก่กรณีนั้น โดยคณะกรรมการ กกต. ในฐานะเป็นปวงชนชาวไทย จะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ และธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย โดยต้องตระหนักว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย โดยจะปฏิบัติหน้าที่อันเป็นหนทางนำไป เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ และไม่รักษาไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่อาจกระทำได้โดยเด็ดขาด
ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมาตรา 5 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานั้น หาได้มีผลทำให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 หรือเป็นผู้มีอำนาจเข้าไปรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใด นายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับประธานกรรมการการเลือกตั้งได้แต่เฉพาะในการให้บริการในการเลือกตั้ง เช่นการอนุมัติงบประมาณและเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกตั้งเท่านั้น หาได้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้ และไม่มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในการที่คณะกรรมการ กกต. จะเลื่อนการเลือกตั้งได้แต่อย่างใด ทั้งจะทำการขัดขวางการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ กกต. ในการเลื่อนการเลือกตั้งได้เลย
การที่คณะกรรมการ กกต. ไม่นำหลักรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ โดยหลงเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายแล้ว และนำเรื่องไปเสนอและปรึกษากับนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีรักษาการ แล้วนำมาดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของคณะรัฐมนตรีรักษาการนั้น การกระทำดังกล่าวจะเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และทำให้การเลือกตั้ง ที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
ข้อ 2 การชุมนุมของมวลมหาประชาชนได้เกิดขึ้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะดำเนินการยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป โดยเป็นการชุมนุมเพื่อต่อต้านโดยสันติวิธี ในการกระทำของรัฐสภาและรัฐบาล ซึ่งได้กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป้นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลและรัฐสภาโดยพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ใช้รัฐสภากระทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบบรัฐสภาเสียงข้างมาก อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีพฤติการณ์เป็นการแก้ไขเพื่อรวบอำนาจให้เป็นเผด็จการทางรัฐสภาโดยสมบูรณ์ อันเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีการใช้เสียงข้างมากมาใช้ออกกฎหมายบังคับ โดยขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ มีพฤติการณ์เป็นการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพรรคพวก ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดอาญา ไม่ให้ต้องมีความผิด และไม่ต้องรับโทษ จนศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 15-18/2556 ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า “การแก้ไขที่มาและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภาให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษรได้ ย่อมทำให้หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันของระบบสองสภาต้องสูญเสียไปอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถควบคุมอำนาจเหนือรัฐสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อันเป็นการกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเปิดทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในครั้งนี้ ได้อำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้……ในเรื่องกระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่จะบัญญัติขึ้นใหม่โดยรวบรัด ให้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 141 ที่จะต้องส่งร่างกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเสียก่อน ซึ่งขัดกับหลักดุลและคานอำนาจอันเป็นหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ โดยอาศัยเสียงข้างมากปราศจากการตรวจสอบ…… การดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 126 วรรคสาม มาตรา 291 (1)(2) และ (4) และมาตรา 3 วรรคสอง…… มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง”
แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองดังกล่าว โดยเห็นว่ากรณีดังกล่าวยังไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสามและวรรคสี่ และให้ยกคำร้อง
การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ยุบพรรคการเมือง ไม่ได้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคนั้น ไม่กระทบกระเทือนในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ซึ่งได้มีการร้องขอให้ ปปช. ดำเนินการอยู่ในขณะนี้แล้ว
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการรับรองและยืนยัน ถึงสิทธิและเสรีภาพของการชุมนุมของมวลมหาประชาชน ว่าเป็นการชุมนุมโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68,69 ที่มีสิทธิที่จะชุมนุมได้ (บัญญัติไว้ในหมวด3ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) และเมื่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของชนชาวไทย ไว้ในหมวด4 มาตรา 70, 71, 72 โดยบัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย กับบัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว มวลมหาประชาชนจึงมีทั้งสิทธิและมีอำนาจหน้าที่ ที่จะเรียกร้องให้ระงับการเลือกตั้งที่ได้กำหนดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนมีการเลือกตั้งได้
การเรียกร้องให้มี “การปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง” จึงเป็นทั้งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคณะกรรมการ กกต. จึงผูกพันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 โดยจะเดินหน้าเลือกตั้งหรือดำเนินกระบวนการเพื่อให้มีการเลือกตั้งต่อไปนั้น จะต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของมวลมหาประชาชนด้วย การจะใช้อำนาจขององค์กรในฐานะที่เป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไปนั้น จะต้องมีเหตุผลของการใช้ดุลยพินิจที่จะให้มีการเลือกตั้ง โดยผู้ที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า เป็นบุคคลที่ได้กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้ไปใช้สิทธิเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ยังคงเป็นผู้มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เหนือกว่ามวลมหาประชาชนที่จะมอบอำนาจการปกครองได้หรือไม่ และมีความเที่ยงธรรมกับมวลมหาประชาชน ที่บุคคลกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญจะมาเป็นผู้ปกครองหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการ กกต. ไม่ได้มีมาตรการในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมกับมวลมหาประชาชนแต่อย่างใด
ข้อ 3 การที่ผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวเองว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ยังไม่มีความพร้อมที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ เพราะการกำหนดกลไกของสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ได้ผ่านการเลือกตั้งครั้งก่อนมานั้น ไม่มีดุลยภาพและประสิทธิภาพ ที่จะก่อให้เกิดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ และองค์กรอิสระคือคณะกรรมการ กกต. ไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรมจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งให้ก่อให้เกิดการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ที่ได้รวบอำนาจให้การใช้อำนาจทางรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นระบบเผด็จการทางรัฐสภาไปได้ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ดังกล่าว
การเรียกร้องของมวลมหาประชาชนที่ต้องการจะให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนมีการเลือกตั้ง จากเหตุการณ์ที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว [ไม่รวมเหตุการณ์อื่นที่ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการ ปปช.] เป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการเลือกตั้งขององค์กรคณะกรรมการ กกต. เป็นสำคัญ เพราะการเลือกตั้งที่จะเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรมตามรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีความเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญหลายบทหลายมาตรา เช่นคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คณะกรรมการ กกต. จึงมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบข้อบังคับของพรรคการเมือง ในฐานะประธาน กกต. เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ประชาชน โดยพรรคการเมืองจะต้องมีเจตนารมณ์ อุดมการณ์ และนโยบายที่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ โดยคณะกรรมการ กกต. สามารถออกประกาศ ระเบียบ เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง หรือการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ซึ่งต้องไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในหมวด 5 ได้ ทั้งนี้ตามอำนาจรัฐธรรมนูญมาตรา 236 ซึ่งก็จะไม่เกิดการหาเสียงตามนโยบายของพรรคการเมืองในระบบประชานิยม หรือทุนนิยม หรือระบบคนอื่นคิดพรรคการเมืองทำให้เกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการ กกต. สามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 236 ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 99, 100, 101, 102 ออกประกาศ ระเบียบ เกี่ยวกับคุณสมบัติทางคุณภาพของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ หรือกำหนดมาตรการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงได้อย่างครอบคลุม และ ฯลฯ การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งเฉพาะกิจในเวลาเลือกตั้งเท่านั้น มิใช่เป็นการเลือกตั้งโดยมีการควบคุมกระบวนการเลือกตั้ง และวีธีการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมแต่อย่างใด ซึ่งถือได้ว่ามาตรการการเลือกตั้งของคณะกรรมการ กกต. ยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การมีการเลือกตั้งนั้น บุคคลที่ถูกบังคับให้มีหน้าที่โดยรัฐธรรมนูญ จะต้องมีความพร้อมที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีข้อบกพร่องในความไม่พร้อมของผู้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่พร้อมที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้ง ในการเลือกผู้ปกครองของตนเองได้ เมื่อผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ร้องขอต่อคณะกรรมการ กกต. ให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพื่อให้ทำการปฏิรูปประเทศก่อนนั้น เป็นการขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพราะกระบวนการเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้งที่ได้ใช้ในการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งได้เกิดขึ้นไปแล้วนั้น คณะกรรมการ กกต. จะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง ตามรัฐธรรมนูญ 236 (5) ให้ได้ความจริงเสียก่อน มิใช่ดำเนินการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ได้แต่อย่างใด เพราะในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวันเริ่มต้นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วตามรัฐธรรมนูญมาตรา 105
การดำเนินการสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการ กกต. ในขณะนี้นั้น จึงเป็นการกระทำของคณะกรรมการ กกต. ที่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายของการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อมีการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การกระทำหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการ กกต. บรรลุผลโดยมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ไม่ว่าโดยการรู้เห็นของคณะกรรมการ กกต. ด้วยหรือไม่นั้น คณะกรรมการ กกต. ย่อมตกที่นั่งลำบากในผลของความตายและความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวด้วย
อดีตผู้พิพาษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
30 ธันวาคม 2556
ข้อ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 235 บัญญัติว่า “ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง…. ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม” นั่นหมายถึงว่านายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ไม่อาจเข้าไปเกี่ยงข้องในการเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้เลย และคณะกรรมการ กกต. จะให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในการเป็นผู้ควบคุม และดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพราะการกระทำดังกล่าว ย่อมเข้าข่ายที่จะทำให้การเลือกตั้งนั้น เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรมได้ และเข้าข่ายของการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้
รัฐธรรมนูญมาตรา 235 วรรค 2 ได้บัญญัติ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พรบ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พรบ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติและ กฎหมายว่าด้ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเลย ดังนั้นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กกต จึงเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ กกต. จึงเป็นผู้มีอำนาจโดยอำนาจของตนเอง ที่จะเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดตั้งหรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้ ภายใต้เงื่อนไขเพื่อให้การเลือกตั้งนั้นต้องเป็นไปได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
และโดยที่คณะกรรมการ กกต. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยออกเป็นประกาศ ระเบียบ และมาตรการอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยไม่ผ่านรัฐสภา จึงเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักประกันให้ไว้กับประชาชนว่า เป็นองค์กรที่จะต้องกระทำการให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ตามที่ได้ประกาศไว้ในบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และมาตรา 26 ซึ่งประกาศว่า “ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย….” และมาตรา 26 บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
การทำหน้าที่ของคณะกรรมการ กกต. ในกรณีที่ไม่สามารถ นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับกับกรณีใดได้ คณะกรรมการ กกต. ก็จะต้องใช้อำนาจหน้าที่ โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามหลักรัฐธรรมนูญ มาใช้บังคับแก่กรณีนั้น โดยคณะกรรมการ กกต. ในฐานะเป็นปวงชนชาวไทย จะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ และธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย โดยต้องตระหนักว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย โดยจะปฏิบัติหน้าที่อันเป็นหนทางนำไป เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ และไม่รักษาไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่อาจกระทำได้โดยเด็ดขาด
ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมาตรา 5 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานั้น หาได้มีผลทำให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 หรือเป็นผู้มีอำนาจเข้าไปรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใด นายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับประธานกรรมการการเลือกตั้งได้แต่เฉพาะในการให้บริการในการเลือกตั้ง เช่นการอนุมัติงบประมาณและเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกตั้งเท่านั้น หาได้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งได้ และไม่มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบในการที่คณะกรรมการ กกต. จะเลื่อนการเลือกตั้งได้แต่อย่างใด ทั้งจะทำการขัดขวางการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ กกต. ในการเลื่อนการเลือกตั้งได้เลย
การที่คณะกรรมการ กกต. ไม่นำหลักรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ โดยหลงเข้าใจผิดคิดว่าตนเองไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายแล้ว และนำเรื่องไปเสนอและปรึกษากับนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีรักษาการ แล้วนำมาดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของคณะรัฐมนตรีรักษาการนั้น การกระทำดังกล่าวจะเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และทำให้การเลือกตั้ง ที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม
ข้อ 2 การชุมนุมของมวลมหาประชาชนได้เกิดขึ้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะดำเนินการยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป โดยเป็นการชุมนุมเพื่อต่อต้านโดยสันติวิธี ในการกระทำของรัฐสภาและรัฐบาล ซึ่งได้กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป้นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลและรัฐสภาโดยพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ใช้รัฐสภากระทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบบรัฐสภาเสียงข้างมาก อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีพฤติการณ์เป็นการแก้ไขเพื่อรวบอำนาจให้เป็นเผด็จการทางรัฐสภาโดยสมบูรณ์ อันเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีการใช้เสียงข้างมากมาใช้ออกกฎหมายบังคับ โดยขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ มีพฤติการณ์เป็นการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพรรคพวก ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดอาญา ไม่ให้ต้องมีความผิด และไม่ต้องรับโทษ จนศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 15-18/2556 ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า “การแก้ไขที่มาและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภาให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษรได้ ย่อมทำให้หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันของระบบสองสภาต้องสูญเสียไปอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถควบคุมอำนาจเหนือรัฐสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อันเป็นการกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเปิดทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในครั้งนี้ ได้อำนาจปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้……ในเรื่องกระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่จะบัญญัติขึ้นใหม่โดยรวบรัด ให้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 141 ที่จะต้องส่งร่างกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเสียก่อน ซึ่งขัดกับหลักดุลและคานอำนาจอันเป็นหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ โดยอาศัยเสียงข้างมากปราศจากการตรวจสอบ…… การดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 126 วรรคสาม มาตรา 291 (1)(2) และ (4) และมาตรา 3 วรรคสอง…… มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง”
แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองดังกล่าว โดยเห็นว่ากรณีดังกล่าวยังไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสามและวรรคสี่ และให้ยกคำร้อง
การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ยุบพรรคการเมือง ไม่ได้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคนั้น ไม่กระทบกระเทือนในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว ซึ่งได้มีการร้องขอให้ ปปช. ดำเนินการอยู่ในขณะนี้แล้ว
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการรับรองและยืนยัน ถึงสิทธิและเสรีภาพของการชุมนุมของมวลมหาประชาชน ว่าเป็นการชุมนุมโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68,69 ที่มีสิทธิที่จะชุมนุมได้ (บัญญัติไว้ในหมวด3ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) และเมื่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของชนชาวไทย ไว้ในหมวด4 มาตรา 70, 71, 72 โดยบัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย กับบัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว มวลมหาประชาชนจึงมีทั้งสิทธิและมีอำนาจหน้าที่ ที่จะเรียกร้องให้ระงับการเลือกตั้งที่ได้กำหนดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนมีการเลือกตั้งได้
การเรียกร้องให้มี “การปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง” จึงเป็นทั้งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคณะกรรมการ กกต. จึงผูกพันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 26 โดยจะเดินหน้าเลือกตั้งหรือดำเนินกระบวนการเพื่อให้มีการเลือกตั้งต่อไปนั้น จะต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของมวลมหาประชาชนด้วย การจะใช้อำนาจขององค์กรในฐานะที่เป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไปนั้น จะต้องมีเหตุผลของการใช้ดุลยพินิจที่จะให้มีการเลือกตั้ง โดยผู้ที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า เป็นบุคคลที่ได้กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้ไปใช้สิทธิเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ยังคงเป็นผู้มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เหนือกว่ามวลมหาประชาชนที่จะมอบอำนาจการปกครองได้หรือไม่ และมีความเที่ยงธรรมกับมวลมหาประชาชน ที่บุคคลกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญจะมาเป็นผู้ปกครองหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการ กกต. ไม่ได้มีมาตรการในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมกับมวลมหาประชาชนแต่อย่างใด
ข้อ 3 การที่ผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวเองว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ยังไม่มีความพร้อมที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ เพราะการกำหนดกลไกของสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่ได้ผ่านการเลือกตั้งครั้งก่อนมานั้น ไม่มีดุลยภาพและประสิทธิภาพ ที่จะก่อให้เกิดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ และองค์กรอิสระคือคณะกรรมการ กกต. ไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรมจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งให้ก่อให้เกิดการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ที่ได้รวบอำนาจให้การใช้อำนาจทางรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นระบบเผด็จการทางรัฐสภาไปได้ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ดังกล่าว
การเรียกร้องของมวลมหาประชาชนที่ต้องการจะให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนมีการเลือกตั้ง จากเหตุการณ์ที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว [ไม่รวมเหตุการณ์อื่นที่ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการ ปปช.] เป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการเลือกตั้งขององค์กรคณะกรรมการ กกต. เป็นสำคัญ เพราะการเลือกตั้งที่จะเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรมตามรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีความเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญหลายบทหลายมาตรา เช่นคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คณะกรรมการ กกต. จึงมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบข้อบังคับของพรรคการเมือง ในฐานะประธาน กกต. เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ประชาชน โดยพรรคการเมืองจะต้องมีเจตนารมณ์ อุดมการณ์ และนโยบายที่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ โดยคณะกรรมการ กกต. สามารถออกประกาศ ระเบียบ เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง หรือการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ซึ่งต้องไม่ขัดต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในหมวด 5 ได้ ทั้งนี้ตามอำนาจรัฐธรรมนูญมาตรา 236 ซึ่งก็จะไม่เกิดการหาเสียงตามนโยบายของพรรคการเมืองในระบบประชานิยม หรือทุนนิยม หรือระบบคนอื่นคิดพรรคการเมืองทำให้เกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการ กกต. สามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 236 ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 99, 100, 101, 102 ออกประกาศ ระเบียบ เกี่ยวกับคุณสมบัติทางคุณภาพของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ หรือกำหนดมาตรการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงได้อย่างครอบคลุม และ ฯลฯ การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งเฉพาะกิจในเวลาเลือกตั้งเท่านั้น มิใช่เป็นการเลือกตั้งโดยมีการควบคุมกระบวนการเลือกตั้ง และวีธีการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมแต่อย่างใด ซึ่งถือได้ว่ามาตรการการเลือกตั้งของคณะกรรมการ กกต. ยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรมได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การมีการเลือกตั้งนั้น บุคคลที่ถูกบังคับให้มีหน้าที่โดยรัฐธรรมนูญ จะต้องมีความพร้อมที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีข้อบกพร่องในความไม่พร้อมของผู้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ความไม่พร้อมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่พร้อมที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้ง ในการเลือกผู้ปกครองของตนเองได้ เมื่อผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ร้องขอต่อคณะกรรมการ กกต. ให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพื่อให้ทำการปฏิรูปประเทศก่อนนั้น เป็นการขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพราะกระบวนการเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้งที่ได้ใช้ในการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งได้เกิดขึ้นไปแล้วนั้น คณะกรรมการ กกต. จะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง ตามรัฐธรรมนูญ 236 (5) ให้ได้ความจริงเสียก่อน มิใช่ดำเนินการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ได้แต่อย่างใด เพราะในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวันเริ่มต้นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วตามรัฐธรรมนูญมาตรา 105
การดำเนินการสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการ กกต. ในขณะนี้นั้น จึงเป็นการกระทำของคณะกรรมการ กกต. ที่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายของการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อมีการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การกระทำหน้าที่โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการ กกต. บรรลุผลโดยมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ไม่ว่าโดยการรู้เห็นของคณะกรรมการ กกต. ด้วยหรือไม่นั้น คณะกรรมการ กกต. ย่อมตกที่นั่งลำบากในผลของความตายและความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวด้วย