วานนี้ (23 ธ.ค.) ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เครือข่าย 7 องค์กรภาคเอกชน ได้จัดเวทีกลาง ครั้งที่ 2 ภายหลังพบปะกับแกนนำกปปส. และแกนนำ นปช. เพื่อระดมความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวทางคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง โดยใช้ชื่อว่า "เวทีร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย หรือ Reform now Forum "มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย องค์กรเอกชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และผู้แทนจากพรรคการเมือง
นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะโฆษก 7 องค์กรภาคเอกชน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา 7 องค์กรภาคเอกชน ได้มีการหารือกับ กปปส. พบกับกลุ่ม นปช. รวมทั้งเข้าร่วมหารือในเวทีอื่นๆ ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไรออกมา ยังเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งบทบาทของ 7 องค์กรภาคเอกชน ก็จะทำหน้าที่เป็นเพียงเวทีกลาง ในการจัดอำนวยความสะดวกและประสานงานให้ทุกฝ่ายได้พบกัน และหารือร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น หรือเป็นเวทีหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธีเท่านั้น
ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยก่อนหารือว่า ภาคเอกชน 7 สถาบัน มองข้ามเรื่องการเลือกตั้งว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ โดยให้ความสำคัญเรื่องการหาทางออก และการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปประเทศ ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งมากกว่า ซึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาที่เหมาะสม และตกลงกันได้ของแต่ละพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองต้องทำสัตยาบันร่วมกัน ที่จะปฏิรูปการเมือง และปฏิรูปประเทศ
หากมีการปฏิรูปประเทศ และปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความพยายามคลี่คลายปัญหาการเมืองของทุกฝ่าย เพื่อให้เห็นว่าประเทศชาติจะเดินหน้าต่อไปได้
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติจับตามองสถานการณ์การเมืองไทย ได้ชะลอการลงทุน และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ หากไม่ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นแทน การบริโภคภายในปรเทศมีกำลังซื้อที่ลดลงอย่างชัดเจน และหากเหตุการณ์ไม่สงบ ประชาชนจะไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย ส่งผลกระทบต่อยอดขายและยอดผลิตลดลง การท่องเที่ยว ยังต้องเฝ้าจับตา ว่าส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด ต้องสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการส่งออก ยังไม่มีผลกระทบ เพราะการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ยังไม่มีเหตุปะทะแรง หรือความรุนแรงเกิดขึ้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในระยะต่อไป หากสถานการณ์ยืดเยื้อและทำให้เกิดความกังวลในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ว่าจะสามารถส่งสินค้าได้ตามกำหนดหรือไม่ หรืออาจมีผลกระทบต่อการส่งออกไตรมาสที่สองปีหน้า
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าแห่งประเทศ แถลงผลสรุปของการหารือในครั้งนี้ ว่า ประเทศไทยจะต้องมีการเดินหน้าปฏิรูปโดยทันที โดยมีการจัดตั้งองค์กรปฏิรูป ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง โดยมีการฝ่ายการเมือง และทุกภาคส่วนเข้าร่วม โดยอาจจะออกมาในรูปของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ทั้งนี้องค์กรปฏิรูป จะต้องปราศจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง เป็นการดำเนินการเป็นวาระแห่งชาติ
ขณะที่กรอบการปฏิรูป 7 องค์กร ได้เสนอดังนี้ กติกาที่เข้าสู่อำนาจทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้งปราศจากการซื้อเสียง ความโปร่งใสในการสรรหาผู้เข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ การถ่วงดุลอำนาจรัฐ ของผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้แทนประชาชน องค์กรอิสระ และสถาบันการเมืองต่างๆ รวมไปถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
การร่วมขจัดทุจริตประพฤติมอบชอบของราชการและเอกชน รวมถึงทุกภาคส่วนในสังคม ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจจะต้องมีความชอบธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรภายในสังคม และลดความเลื่อมล้ำ รวมถึงประสิทธิภาพของประชาชนเพื่อให้ได้พึ่งพาตัวเอง
ส่วนโครงการที่เป็นผลกระทบต่อประชาชน จะต้องเป็นโครงการที่มีวินัยทางการเงิน การคลัง มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยยึดถึงผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก มีกระบวนการที่ยุติธรรม เสมอภาค เท่าเทียมกัน
"7 องค์กร ยังมีความเห็นว่า การปฏิรูป จะต้องทำทันที เพราะมีความจำเป็น ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร โดยทุกภาคส่วนจะต้อง เข้ามามีส่วนร่วม ขอวิงวอนทุกฝ่าย มีความสุขุม รอบคอบ และใช้วิจารณญานที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาชาติ"
นายอิสระ กล่าวต่อว่า 7 องค์กร ขอเสนอว่า นักการเมือง คู่ขัดแย้งทางการเมือง ทุกฝ่ายต้องตะหนัก และหันมาเจรจาร่วมกันบนพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องมีความจริงใจเข้าสู่กระบวนการปฏิรูป ที่ต้องปฎิรูปเพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสิ้นหวัง และมองเห็นสถานการณ์เป็นโอกาส และหนทางแห่งทางเลือก การปฏิรูปต้องเกิดขึ้นทันที ไม่ว่าจะเลือกตั้งเมื่อไร และภารกิจหลักรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ต้องสนับสนุนการปฏิรูปและทำให้เสร็จใน 1 ปี
นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะโฆษก 7 องค์กรภาคเอกชน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา 7 องค์กรภาคเอกชน ได้มีการหารือกับ กปปส. พบกับกลุ่ม นปช. รวมทั้งเข้าร่วมหารือในเวทีอื่นๆ ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไรออกมา ยังเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งบทบาทของ 7 องค์กรภาคเอกชน ก็จะทำหน้าที่เป็นเพียงเวทีกลาง ในการจัดอำนวยความสะดวกและประสานงานให้ทุกฝ่ายได้พบกัน และหารือร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น หรือเป็นเวทีหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธีเท่านั้น
ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยก่อนหารือว่า ภาคเอกชน 7 สถาบัน มองข้ามเรื่องการเลือกตั้งว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ โดยให้ความสำคัญเรื่องการหาทางออก และการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปประเทศ ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งมากกว่า ซึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาที่เหมาะสม และตกลงกันได้ของแต่ละพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองต้องทำสัตยาบันร่วมกัน ที่จะปฏิรูปการเมือง และปฏิรูปประเทศ
หากมีการปฏิรูปประเทศ และปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความพยายามคลี่คลายปัญหาการเมืองของทุกฝ่าย เพื่อให้เห็นว่าประเทศชาติจะเดินหน้าต่อไปได้
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติจับตามองสถานการณ์การเมืองไทย ได้ชะลอการลงทุน และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ หากไม่ย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นแทน การบริโภคภายในปรเทศมีกำลังซื้อที่ลดลงอย่างชัดเจน และหากเหตุการณ์ไม่สงบ ประชาชนจะไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย ส่งผลกระทบต่อยอดขายและยอดผลิตลดลง การท่องเที่ยว ยังต้องเฝ้าจับตา ว่าส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด ต้องสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการส่งออก ยังไม่มีผลกระทบ เพราะการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ยังไม่มีเหตุปะทะแรง หรือความรุนแรงเกิดขึ้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในระยะต่อไป หากสถานการณ์ยืดเยื้อและทำให้เกิดความกังวลในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ว่าจะสามารถส่งสินค้าได้ตามกำหนดหรือไม่ หรืออาจมีผลกระทบต่อการส่งออกไตรมาสที่สองปีหน้า
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าแห่งประเทศ แถลงผลสรุปของการหารือในครั้งนี้ ว่า ประเทศไทยจะต้องมีการเดินหน้าปฏิรูปโดยทันที โดยมีการจัดตั้งองค์กรปฏิรูป ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง โดยมีการฝ่ายการเมือง และทุกภาคส่วนเข้าร่วม โดยอาจจะออกมาในรูปของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ทั้งนี้องค์กรปฏิรูป จะต้องปราศจากอิทธิพลของฝ่ายการเมือง เป็นการดำเนินการเป็นวาระแห่งชาติ
ขณะที่กรอบการปฏิรูป 7 องค์กร ได้เสนอดังนี้ กติกาที่เข้าสู่อำนาจทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้งปราศจากการซื้อเสียง ความโปร่งใสในการสรรหาผู้เข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ การถ่วงดุลอำนาจรัฐ ของผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้แทนประชาชน องค์กรอิสระ และสถาบันการเมืองต่างๆ รวมไปถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
การร่วมขจัดทุจริตประพฤติมอบชอบของราชการและเอกชน รวมถึงทุกภาคส่วนในสังคม ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจจะต้องมีความชอบธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรภายในสังคม และลดความเลื่อมล้ำ รวมถึงประสิทธิภาพของประชาชนเพื่อให้ได้พึ่งพาตัวเอง
ส่วนโครงการที่เป็นผลกระทบต่อประชาชน จะต้องเป็นโครงการที่มีวินัยทางการเงิน การคลัง มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยยึดถึงผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก มีกระบวนการที่ยุติธรรม เสมอภาค เท่าเทียมกัน
"7 องค์กร ยังมีความเห็นว่า การปฏิรูป จะต้องทำทันที เพราะมีความจำเป็น ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร โดยทุกภาคส่วนจะต้อง เข้ามามีส่วนร่วม ขอวิงวอนทุกฝ่าย มีความสุขุม รอบคอบ และใช้วิจารณญานที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาชาติ"
นายอิสระ กล่าวต่อว่า 7 องค์กร ขอเสนอว่า นักการเมือง คู่ขัดแย้งทางการเมือง ทุกฝ่ายต้องตะหนัก และหันมาเจรจาร่วมกันบนพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องมีความจริงใจเข้าสู่กระบวนการปฏิรูป ที่ต้องปฎิรูปเพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสิ้นหวัง และมองเห็นสถานการณ์เป็นโอกาส และหนทางแห่งทางเลือก การปฏิรูปต้องเกิดขึ้นทันที ไม่ว่าจะเลือกตั้งเมื่อไร และภารกิจหลักรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ต้องสนับสนุนการปฏิรูปและทำให้เสร็จใน 1 ปี