ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผลหาดใหญ่โพล โดย ม.หาดใหญ่ ประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เห็นด้วยต้องปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง สนับสนุนแนวคิด กปปส.ในการตั้งสภาประชาชน และไม่สนับสนุนที่จะให้นายกรัฐมนตรีรักษาการบริหารประเทศต่อ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการเมือง และการปฏิรูปประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 602 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2556 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.0) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 34.1) รองลงมา อายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 25.6) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 20.5) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 22.9) รองลงมา คือ นักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 22.8) ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 20.5) และพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 12.5) ตามลำดับ
ผศ.ดร.กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง (ร้อยละ 46.0) ในขณะที่ร้อยละ 29.0 เห็นว่าควรมีการเลือกตั้ง และการปฏิรูปการเมืองไปพร้อมๆ กัน โดยมีเพียงร้อยละ 25.0 ที่เห็นว่าควรปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทั้งนี้ ประชาชนเชื่อว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม (ร้อยละ 57.0) ในขณะที่ร้อยละ 43.0 เห็นว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
โดยประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดในการตั้งสภาประชาชนของ กปปส. (ร้อยละ 79.7) ทั้งนี้ประชาชนต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองมากที่สุด (ร้อยละ 40.3) รองลงมา คือ การปฏิรูประบบยุติธรรม (ร้อยละ 37.2) การปฏิรูประบบตรวจสอบอันเข้มข้นจากภาคประชาชน (ร้อยละ 35.1) การปฏิรูปการศึกษา (ร้อยละ 33.8) การปฏิรูปสื่อมวลชน (ร้อยละ 31.3) และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม (ร้อยละ 29.3) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามประเด็นย่อยในการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติ มากที่สุด (ร้อยละ 71.1) รองลงมา คือการสร้างกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ (ร้อยละ 69.6) การสร้างโอกาสในการศึกษาของเยาวชนอย่างเท่าเทียม (ร้อยละ 67.6) การให้สิทธิประชาชนในการฟ้องคดีทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ 66.2) การกำหนดให้มีบทลงโทษในการคอร์รัปชันที่รุนแรง (ร้อยละ 65.4) การปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 64.9) และปฏิรูปการขยายระบบประกันสังคมและบำนาญที่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 64.6) อีกทั้งจากผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีให้บริหารประเทศต่อ (ร้อยละ 93.2)
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการเมือง และการปฏิรูปประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 602 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2556 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.0) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 34.1) รองลงมา อายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 25.6) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 20.5) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 22.9) รองลงมา คือ นักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 22.8) ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 20.5) และพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 12.5) ตามลำดับ
ผศ.ดร.กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง (ร้อยละ 46.0) ในขณะที่ร้อยละ 29.0 เห็นว่าควรมีการเลือกตั้ง และการปฏิรูปการเมืองไปพร้อมๆ กัน โดยมีเพียงร้อยละ 25.0 ที่เห็นว่าควรปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทั้งนี้ ประชาชนเชื่อว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม (ร้อยละ 57.0) ในขณะที่ร้อยละ 43.0 เห็นว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
โดยประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดในการตั้งสภาประชาชนของ กปปส. (ร้อยละ 79.7) ทั้งนี้ประชาชนต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองมากที่สุด (ร้อยละ 40.3) รองลงมา คือ การปฏิรูประบบยุติธรรม (ร้อยละ 37.2) การปฏิรูประบบตรวจสอบอันเข้มข้นจากภาคประชาชน (ร้อยละ 35.1) การปฏิรูปการศึกษา (ร้อยละ 33.8) การปฏิรูปสื่อมวลชน (ร้อยละ 31.3) และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม (ร้อยละ 29.3) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามประเด็นย่อยในการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิติบัญญัติ มากที่สุด (ร้อยละ 71.1) รองลงมา คือการสร้างกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ (ร้อยละ 69.6) การสร้างโอกาสในการศึกษาของเยาวชนอย่างเท่าเทียม (ร้อยละ 67.6) การให้สิทธิประชาชนในการฟ้องคดีทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ 66.2) การกำหนดให้มีบทลงโทษในการคอร์รัปชันที่รุนแรง (ร้อยละ 65.4) การปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 64.9) และปฏิรูปการขยายระบบประกันสังคมและบำนาญที่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 64.6) อีกทั้งจากผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีให้บริหารประเทศต่อ (ร้อยละ 93.2)